เครื่องสาย | น. เครื่องดนตรีชนิดที่มีสาย เช่น จะเข้ ซอ พิณ ไวโอลิน |
เครื่องสาย | ชื่อเรียกวงดนตรีซึ่งใช้เครื่องดนตรีที่มีสายเป็นหลัก. |
วงเครื่องสาย | น. ชื่อวงดนตรีไทยประเภทหนึ่ง ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่ใช้สายเป็นต้นกำเนิดของเสียง เช่น ซอ จะเข้ คุมจังหวะด้วยโทน ฉิ่ง และรำมะนา. |
วงเครื่องสายผสม | น. ชื่อวงดนตรีประเภทหนึ่ง ใช้เครื่องสายยืนพื้น แต่นำเอาเครื่องดนตรีชนิดอื่นมาผสมด้วย เช่น นำออร์แกนมาผสมเรียกว่า เครื่องสายผสมออร์แกน นำเปียโนมาผสม เรียกว่า เครื่องสายผสมเปียโน. |
กล่อม ๓ | (กฺล่อม) น. ชื่อเพลงเครื่องปี่พาทย์ ทำตอนพระเข้าหานาง ซึ่งเรียกว่า โลม หรือตอนขับบำเรอ เรียกว่า กล่อมมโหรี อันใช้เป็นเครื่องสายประสมในภายหลัง และมีชื่อเป็นชนิดต่าง ๆ คือ กล่อมช้าง กล่อมพระยา กล่อมนารี และกล่อมในพิธีพราหมณ์ เรียกว่า ช้าหงส์ หรือ ช้าเจ้าหงส์, ชาวบ้านมักเรียกว่า กล่อมหงส์. |
กีตาร์ | น. เครื่องสายประเภทดีดชนิดหนึ่ง มักมี ๖ สาย ใช้กระดีดหรือนิ้วมือดีดสายที่ทำด้วยไนลอนหรือโลหะ. |
ขลุ่ยกรวด | น. ชื่อขลุ่ยชนิดหนึ่ง ลักษณะคล้ายขลุ่ยเพียงออแต่เล็กกว่า มีระดับเสียงเทียบโน้ตสากล จึงใช้ร่วมบรรเลงกับวงเครื่องสายผสมเครื่องดนตรีสากล. |
ขลุ่ยเพียงออ | น. ชื่อขลุ่ยชนิดหนึ่ง ขนาดกลาง ใช้เป่าและเป็นหลักเทียบเสียงในวงเครื่องสาย. |
ขลุ่ยหลีบ | น. ชื่อขลุ่ยชนิดหนึ่ง ขนาดเล็ก มีเสียงสูงแหลม ใช้เป่าเข้าคู่กับขลุ่ยเพียงออในวงเครื่องสายเครื่องคู่. |
ขึ้นเสียง | เทียบเสียงเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย. |
ฆ้องโหม่ง | น. ฆ้องขนาดใหญ่รองลงมาจากฆ้องชัย มีเชือกร้อยรูทั้ง ๒ ที่ใบฉัตร แขวนห้อยในแนวดิ่งกับขาหยั่งหรือคานไม้ หัวไม้ที่ใช้ตีพันด้วยผ้าหรือเชือกให้เป็นปุ่มโตอ่อนนุ่ม เวลาตีจะมีเสียงดังโหม่ง ๆ ใช้ตีกำกับจังหวะในวงปี่พาทย์ วงเครื่องสาย วงมโหรี และวงเถิดเทิง, สมัยโบราณใช้ตีในเวลากลางวันเป็นสัญญาณบอกเวลา “โมง” คู่กับกลองที่ตีเป็นสัญญาณในเวลากลางคืนบอกเวลา “ทุ่ม”. |
จระเข้หางยาว | น. ชื่อเพลงไทย อัตรา ๓ ชั้น นิยมใช้เป็นเพลงเริ่มฝึกการหัดเรียนดนตรีประเภทเครื่องสายและขับร้อง |
จะเข้ ๑ | น. เครื่องดนตรีไทยชนิดหนึ่ง มีรูปร่างคล้ายตัวจระเข้ ตัวเป็นโพรง วางยาวไปกับพื้น มีสาย ๓ สาย มีนม ๑๑ นมเป็นฐานรองรับสายเมื่อกดนิ้วขณะดีดทำให้มีเสียงสูงตํ่า มีขา ๕ ขา ใช้บรรเลงผสมอยู่ในวงเครื่องสายและมโหรี, ลักษณนามเรียก ตัว. |
ซอด้วง | น. ชื่อซอชนิดหนึ่ง กระบอกมักทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ลักษณะคล้ายด้วงดักสัตว์ ขึงหนังด้านหนึ่งด้วยหนังสัตว์ มีหย่องและสาย ๒ สายพาดข้าม ปลายบนผูกติดกับลูกบิด คันชักส่วนที่เป็นหางม้าอยู่ระหว่างสายทั้ง ๒ สาย ขนาดค่อนข้างเล็กเพื่อให้มีเสียงสูงเวลาสี บรรเลงนำในวงเครื่องสาย วงมโหรี หรือใช้เดี่ยวเพลงก็ได้. |
ซออู้ | น. ชื่อซอชนิดหนึ่ง มีสาย ๒ สาย กะโหลกซอตัดจากกะโหลกมะพร้าว มีเสียงทุ้มกังวาน ใช้บรรเลงรวมอยู่ในวงเครื่องสาย วงมโหรี วงปี่พาทย์ไม้นวม และวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์. |
ดีด ๑ | เล่นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายโดยใช้ปลายนิ้วมือหรืออุปกรณ์สะกิดให้เกิดเสียง เช่น ดีดจะเข้ ดีดพิณ ดีดกีตาร์, เอานิ้วมือแตะแล้วเขี่ยให้เลื่อนไป เช่น ดีดลูกคิด, เอาปลายนิ้วกดแล้วปล่อย เช่น ดีดพิมพ์ดีด ดีดเปียโน, (โบ) ทำห่างเหินผู้ใหญ่ ไม่เข้าหน้า เช่น หมู่นี้ชักดีดไปไม่เข้าหน้า. |
โทน ๑ | น. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง ด้านหนึ่งป่องขึงหนังเพียงหน้าเดียว ด้านปลายเป็นปากเปิดคล้ายดอกลำโพง โบราณเรียกว่า ทับ ใช้ตีคุมจังหวะคู่กับรำมะนาในวงเครื่องสาย วงมโหรี เป็นต้น |
มโหรี ๑ | น. วงดนตรี ๑ ใน ๓ วงหลักของดนตรีไทย คือ ปี่พาทย์ เครื่องสาย และมโหรี ใช้เครื่องดนตรีครบทั้งดีด สี ตี เป่า (ขลุ่ย) และขับร้อง ระดับเสียงที่ใช้สูงกว่าระดับเสียงวงปี่พาทย์. |
วง | ลักษณนามใช้เรียกของที่เป็นวง เช่น แหวนวงหนึ่ง หรืออาการที่คนหลาย ๆ คนนั่งหรือยืนล้อมกันเป็นวง เช่น ไพ่วงหนึ่ง ระบำชาวไร่ ๒ วง นั่งล้อมวงกินข้าว ๓ วง หรือการเล่นที่มีคนหลาย ๆ คนร่วมกันเป็นชุดเป็นคณะ เช่น เครื่องสายวงหนึ่ง แตรวงวงหนึ่ง ดนตรี ๒ วงประชันกัน. |
หย่อง | ส่วนประกอบของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย เช่น ซอสามสาย ซอด้วง ขิม ไวโอลิน ใช้รองรับสายพาดผ่าน เพื่อรับแรงสั่นสะเทือนจากสายลงสู่กล่องเครื่องดนตรีให้เสียงกังวานขึ้น, ส่วนประกอบของจะเข้ ใช้หนุนสายเพื่อมิให้แตะนมจะเข้ เรียกว่า ซุ้ม. |