Hyperlink | จุดเชื่อมโยงหลายมิติ [เทคโนโลยีการศึกษา] |
Wireless LAN | ระบบที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายภายในพื้นที่แบบไร้สาย [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Knowledge broker | นายหน้าความรู้, นายหน้าความรู้ ทำหน้าที่เชื่อมโยงคน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ต่อกัน อันจะก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ประสบการณ์อย่างแคล่วคล่องมากขึ้น ซึ่งความรู้ได้นี้จะเป็นความรู้ในคนหรือความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) เป็นหลัก [การจัดการความรู้] |
Node | ๑. บัพ, จุดต่อ, ปม, ข้อ ๒. สถานีเชื่อมโยง, ๑. บัพ, จุดต่อ, ปม, ข้อ ๒. สถานีเชื่อมโยง [คอมพิวเตอร์] |
protein | โปรตีน, โปรตีน [ โปฺร- ] น. สารประกอบอินทรีย์เชิงซ้อนของไนโตรเจน มีโมเลกุลขนาดใหญ่ประกอบด้วยกรดแอมิโนหลายชนิดเชื่อมโยงกัน เป็น สารประกอบที่สำคัญยิ่งต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิดซึ่งจําเป็นต้องใช้เพื่อสร้างเนื้อเยื่อของร่างกาย. (อ. protein)., Example: <p>ลำดับเบสภายในดีเอ็นเอเป็นตัวกำหนดชนิดของโปรตีนที่สร้าง โดยลำดับเบสถอดรหัสเป็น messenger RNA (mRNA) โดยกระบวนการที่เรียกว่า transcription หลังจากนั้นลำดับเบสทีละ 3 เบสที่เรียงติดกันของ mRNA แปลรหัสเป็นกรดอะมิโนแต่ละตัวกระบวนการนี้เรียกว่า translation ในกระบวนการนี้อาศัย ribosome (จับกับ mRNA ในขณะเกิดการแปลรหัส) transfer RNA (RNA ที่มีหน้าที่ลำเลียงกรดอะมิโนเข้าสู่ ribosome เพื่อมาเชื่อมต่อเป็นโปรตีนตามรหัสของ mRNA) หลังจากผ่านกระบวนการแปลรหัสได้โปรตีนที่เซลล์ต้องการ <br> <br>แหล่งข้อมูล<br> สุดสงวน ชูสกุลธนะชัย. “ดีเอ็นเอ: รหัสแห่งชีวิต” ในดีเอ็นเอ : ปริศนาลับรหัสชีวิต. หน้า 19-38. ปทุมธานี : ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ, 2546. [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Cohesion (Linguistics) | การเชื่อมโยงข้อความ (ภาษาศาสตร์) [TU Subject Heading] |
Intertextuality | การเชื่อมโยงเนื้อหา [TU Subject Heading] |
Asia Cooperation Dialogue | ความร่วมมือเอเชีย เวทีความร่วมมือในระดับทวีปเอเชีย โดยเป็นความคิดริเริ่มของไทยในการสร้างกรอบความร่วมมือที่ครอบคลุมทุกอนุ ภูมิภาคของเอเชีย มีวัตถุประสงค์ที่จะเชื่อมโยงจุดแข็งและต่อยอดความร่วมมือต่าง ๆ ของประเทศเอเชีย โดยอาศัยความแตกต่างหลากหลายและทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งเอเชียมีอยู่มา ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมุ่งสร้างความร่วมมือในวงกว้างทั้งทวีปเอเชีย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ซึ่งจะทำให้ภูมิภาคเอเชียแข็งแกร่งและเป็นหุ้นส่วนที่เข้มแข็งสำหรับภูมิภาค อื่น ๆ เอซีดีได้มีการประชุมครั้งแรกเมื่อ 18-19 มิถุนายน 2545 โดยมีผู้แทนระดับรัฐมนตรีจาก 18 ประเทศเข้าร่วม ที่ประชุมได้แบ่งกรอบความร่วมมือเป็น 2 มิติ ได้แก่ มิติการหารือ (dialogue dimension) และมิติโครงการความร่วมมือ (project dimension) เช่น การท่องเที่ยว ความมั่นคงทางพลังงาน และการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Market) [การทูต] |
Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy | ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี ? เจ้าพระยา ? แม่โขง ACMECS หรือชื่อเดิม ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า และไทย (ECS : Economic Cooperation Strategy among Cambodia, Lao PDR, Myanmar and Thailand) คือ กรอบความร่วมมือระหว่าง 5 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม ACMECS เป็นแนวคิดที่ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้หยิบยกขึ้นหารือกับผู้นำกัมพูชา ลาว และพม่า ในช่วงการประชุมผู้นำอาเซียนสมัยพิเศษว่าด้วยโรค SARS เมื่อ 29 เมษายน 2546 ที่กรุงเทพฯ และได้มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วต่อเนื่องจนถึงการประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 1 ที่เมืองพุกาม สหภาพพม่า เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2546 โดยผู้นำทั้ง 4 ประเทศร่วมกันออกปฏิญญาพุกาม (Bagan Declaration) รวมทั้งแผนปฏิบัติการ (Plan of Action) ครอบคลุมความร่วมมือ 5 สาขา ได้แก่ การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการ ลงทุน ความร่วมมือทางด้านเกษตรและอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บนหลักการที่เน้นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและยกระดับความ เป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งเปิดกว้างให้นานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศได้มีส่วนร่วมเป็น หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Development Partner) ในโครงการต่างๆ ของ ACMECS ด้วย * เวียดนามร่วมเป็นสมาชิก ACMECS เมื่อ 10 พฤษภาคม 2547 สถานะล่าสุด ระหว่างวันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2547 ที่จังหวัดกระบี่ ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสสมัยพิเศษและการประชุม รัฐมนตรี ACMECS อย่างไม่เป็นทางการ รวมทั้งการประชุมร่วมกับ Development Partners (ผู้แทนจากออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย) ซึ่งการประชุมประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง สมาชิก ACMECS ทั้ง 5 ประเทศได้ร่วมกันแสดงความเป็น เอกภาพ โดยยืนยันเจตนารมณ์ที่จะดำเนินการตามกรอบความร่วมมือ ACMECS อย่าง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันต่อผู้แทนของ Development Partners รวมทั้งมีการหารือถึงความคืบหน้าของการดำเนินโครงการระหว่างกันอย่างเป็น รูปธรรม นอกจากนี้ ยังสามารถมีข้อสรุปที่สำคัญๆ เกี่ยวกับกลไกการประสานงานระหว่างกันซึ่งจะช่วยให้การดำเนินกิจกรรมความร่วม มือของ ACMECS มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป * ไทยมีกำหนดเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 2 ในเดือนธันวาคม 2548 ที่กรุงเทพฯ [การทูต] |
East-West Economic Corridor | การพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจเฉพาะฝั่งตะวันออก-ตะวันตก เชื่อมโยงพม่า-ไทย-ลาว-เวียดนาม [การทูต] |
Forum for Comprehensive Development of Indochina | เวทีเพื่อการพัฒนาอย่างสมบูรณ์แบบในอินโดจีน เป็นความริเริ่มโดยกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นที่จะให้มีเวทีปรึกษาหารือ เพื่อช่วยพัฒนาประเทศลาว กัมพูชา และเวียดนาม กลไกประกอบด้วยคณะทำงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คณะที่ปรึกษาภาคเอกชนโดยเน้นบทบาทในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาภาค เอกชนตลอดจนการสร้างความเชื่อมโยงกับกรอบความร่วมมือ (GMS) [การทูต] |
Flexible Engagement | ความเกี่ยวพันอย่างยืดหยุ่น " ความเกี่ยวพันอย่างยืดหยุ่นเป็นข้อเสนอของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยที่เสนอในการประชุมรัฐมนตรีต่าง ประเทศอาเซียน (ASEAN Ministerial Meeting : AMM) ครั้งที่ 31 เมื่อเดือนกรกฎาคม 2541 ณ กรุงมะนิลา ฟิลิปปินส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกอาเซียนมีการหารือและแลก เปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างสร้างสรรค์ เปิดกว้างและเป็นกันเองในเรื่องหรือประเด็นต่าง ๆ ที่เห็นว่าเป็นผลประโยชน์ร่วมกันหรือที่จะมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์และความ มั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจของนานาประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันสืบเนื่องจากการที่อาเซียนมีสมาชิกครบ 10 ประเทศ และอยู่ในภาวะที่เผชิญปัญหาท้าทายต่าง ๆ ซึ่งมีความเชื่อมโยงและเกี่ยวพันกัน " [การทูต] |
Mekong - Ganga Cooperation | ความร่วมมือแม่นำโขง - คงคา ริเริ่มขึ้นเมื่อกรกฎาคม พ.ศ.2543 ที่กรุงเทพฯ มีสมาชิก 6 ประเทศ คือกัมพูชา อินเดีย ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสร้างความเชื่อมโยง ระหว่างประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงกับประเทศในลุ่มแม่น้ำคงคาในด้านการ ท่องเที่ยว การศึกษาวัฒนธรรม และคมนาคมขนส่งโดยอาศัยปัจจัยทางเศรษฐกิจที่เกื้อกูลกันและความสัมพันธ์ที่ ดีระหว่างกัน และเป็นยุทธศาสตร์เชื่อมโยง GMS (จีน) ไปสู่อินเดีย [การทูต] |
Plan Puebla-Panama | สมาชิก เม็กซิโก เบลิซ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส เอลซัลวาดอร์ นิการากัว คอสตาริกา และปานามา วัตถุประสงค์ ริเริ่มโดยประธานาธิบดี Vicente Fox ของเม็กซิโก เมื่อปี พ.ศ. 2543 เพื่อแสวงหาความร่วมมือและให้การสนับสนุนด้านเงินทุนแก่ประเทศภูมิภาค อเมริกากลางในการเชื่อมโยงเครือข่ายคมนาคมและสาธารณูปโภค เช่น ถนน สายส่งไฟฟ้า ท่อก๊าซ ฯลฯ ทั้งนี้ เพื่อกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจจากเม็กซิโกลงไปยังประเทศทางตอนใต้ ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศร่วมกัน และเพื่อแก้ไขปัญหาการอพยพของแรงงานผิดกฎหมายจากประเทศในแถบอเมริกากลางเข้า สู่เม็กซิโก หมายเหตุ Puebla เป็นชื่อเมืองทางตะวันตกเฉียงใต้ของเม็กซิโก และเป็นจุดเริ่มต้นโครงการ ซึ่งสิ้นสุดที่ปานามา [การทูต] |
Regional Operate Center | ศูนย์ปฏิบัติการร่วม กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ROC เป็นโครงการนำร่อง ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศกระทรวงมหาดไทย สำนักงาน ก.พ.ร. และ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ร่วมกันจัดตั้งขึ้น เปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2549 เพื่อพัฒนาการทำงานร่วมกันระหว่างเอกอัครราชทูตในประเทศเพื่อนบ้านกับผู้ว่า ราชการจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยทำหน้าที่ประสานเชื่อมโยงการทำงานระหว่างเอกอัครราชทูตกับผู้ว่าราชการ จังหวัด เพื่อบูรณาการยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ให้สอดคล้องกับนโยบายต่างประเทศ รวมทั้งให้บริการข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านและจังหวัดในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรและงานวิจัยในท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนนโยบายต่างประเทศ [การทูต] |
Thailand ? Cambodia Joint Development Study for Economic Cooperation Plan | โครงการจัดทำแผนความร่วมมือทางเศรษฐกิจและแผน ปฏิบัติการระหว่างไทย-กัมพูชา มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนา ตลอดจนสาขาทางเศรษฐกิจที่ควรมีความร่วมมือต่อกันเพื่อกระตุ้นให้เกิดความ ร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-กัมพูชาในระยะสั้น ระยะปานกลางและระยะยาว รวม 5 สาขา ได้แก่ โครงสร้างทางกายภาพ (ถนนและไฟฟ้า) อุตสาหกรรมการเกษตรและประมง อุตสาหกรรมเบา การพัฒนาการท่องเที่ยว และการเชื่อมโยงทางการค้า โดยจะส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทและลงทุนในกิจกรรมทางเศรษฐกิจดัง กล่าว ทั้งนี้ โครงการและกิจกรรมต่าง ๆ จะใช้ระยะเวลาดำเนินการ 15 ปี เริ่ม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป [การทูต] |
The Great Wonders of Suwannabhumi | โครงการสิ่งมหัศจรรย์แห่งสุวรรณภูมิ หมายถึง โครงการพัฒนาการท่องเที่ยวระหว่างกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคที่นับถือศาสนาพุทธ อันประกอบด้วย ไทย ลาว กัมพูชา และพม่า โดยร่วมกันจัดรายการนำเที่ยวในโบราณสถานที่สำคัญต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของ 4 ประเทศ ได้แก่ วัดพระศรีรัตนศาสดารามในกรุงเทพฯ นครวัดในกัมพูชา โบราณสถานในพุกาม/มัณฑะเลย์ในพม่า และแขวงหลวงพระบางในลาว เพื่อที่จะดึงดูดชาวต่างชาติให้มาสนใจในดินแดนแห่งนี้ และนำมาซึ่งการพัฒนาสถานที่ดังกล่าว รวมทั้งยังจะเป็นการเชื่อมโยงการเดินทางระหว่าง 4 ประเทศอย่างสมบูรณ์ โครงการนี้เสนอโดย ฯพณฯ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลาว กัมพูชา และพม่า เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2542 ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 3 ที่กรุงมะนิลา [การทูต] |
Backbone | Backbone, เส้นทางหลักของสายสัญญาณของเครือข่าย ที่เชื่อมโยงอุปกรณ์การสื่อสาร และเครื่องคอมพิวเตอร์หลักเข้าไว้ด้วยกัน สายสัญญาณที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นเส้นใยแก้วนำแสง (Fiber Optics) [คอมพิวเตอร์] |
Knowledge audit | เป็นวิธีการทบทวนและเชื่อมโยงความรู้ในองค์กร รวมทั้งวิเคราะห์ความรู้ที่จำเป็น ทรัพยากร ช่องว่าง ผู้ใช้ และการใช้ [การจัดการความรู้] |
Coupling agent | สารเติมแต่งที่ทำหน้าที่เพิ่มอันตรกิริยา (เกิดการเชื่อมโยง) ระหว่างยางกับสารเสริมแรงประเภทซิลิกาให้มีแรงยึดเหนี่ยวเพิ่มสูงขึ้น โดยหมู่อัลคอกซีบนสารคู่ควบจะทำปฏิกิริยาเคมีกับหมู่ไซลานอลที่อยู่บนพื้น ผิวของซิลิกาเกิดเป็นพันธะไซลอกเซนที่เสถียร ทำให้หมู่ไซลานอลลดลง อันตรกิริยาระหว่างอนุภาคของซิลิกาจึงลดลงด้วย ตัวอย่างของสารคู่ควบ ได้แก่ ไทรเอทอกซีไซลีลโพรพีลเททระซัลไฟด์ (Si-69) เมอร์แคปโตโพรพีลไทรเมทอกซีไซเลน (A-189) ไทโอไซยาเนโตโพรพีลไทเอทอกซีไซเลน (Si-264) เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Crosslinking | การทำให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างโมเลกุลของพอลิเมอร์ เช่น การเติมกำมะถันในยางธรรมชาติ (กระบวนการเรียกว่า vulcanization) ทำให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างโมเลกุลของยางโดยกำมะถัน ได้ยางที่มีโครงสร้างแบบเชื่อมโยง (crosslink) หรือร่างแห (network) ทำให้ยางเปลี่ยนสมบัติจากอ่อนนิ่ม เป็นยางที่มีสมบัติแข็งและเหนียวขึ้น เหมาะแก่การใช้งาน [เทคโนโลยียาง] |
Cyclised or cyclized rubber | ยางไซไคลส์เป็นยางธรรมชาติที่ปรับสภาพโครงสร้างโมเลกุลยางให้มีสัดส่วน ของพันธะที่ไม่อิ่มตัวในโมเลกุลยางลดลง โดยการทำให้โมเลกุลของยางธรรมชาติเกิดการเชื่อมโยงกันเอง เป็นแบบวงแหวน (cyclize) ทำให้สมบัติของยางเปลี่ยนไป มีความแข็งแรงมากกว่าปกติ สามารถเตรียมได้ทั้งในรูปของน้ำยางและยางแห้ง [เทคโนโลยียาง] |
Peroxide | สารเคมีที่มี –O-O- ในโมเลกุล เช่น H2O2, Na2O2, benzoyl peroxide [ (C6H5CO)2O2 ] ออกซิเจนในเพอร์ออกไซด์มีเลขออกซิเดชัน -1 ทำให้เพอร์ออกไซด์โดยทั่วไปไม่เสถียร เมื่อให้ความร้อนจะสลายตัวให้อนุมูลอิสระ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงของโมเลกุลขึ้นได้ด้วยพันธะคาร์บอน-คาร์บอน นิยมใช้เพอร์ออกไซด์เป็นสารทำให้ยางคงรูปในยางที่ไม่มีพันธะคู่ เช่น EPM, EVA, CPE, Q หรือยางที่มีปริมาณพันธะคู่ในโมเลกุลต่ำมากเท่านั้น เช่น HNBR, EPDM [เทคโนโลยียาง] |
Storage hardening | ปรากฏการณ์ที่ความหนืดของยางดิบหรือยางที่ยังไม่ได้ผ่านการคงรูปเพิ่ม ขึ้นระหว่างการเก็บ เนื่องจากหมู่อัลดีไฮด์ (aldehyde group) ที่มีอยู่ในยางธรรมชาติเข้าไปทำปฏิกิริยาควบแน่นกัน เกิดเป็นโครงสร้างสามมิติที่มีการเชื่อมโยง (crosslink) ระหว่างโมเลกุลยางมีผลทำให้ยางแข็งขึ้น [เทคโนโลยียาง] |
Sulphur or Sulfur | กำมะถัน (หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่ายาสุก) เป็นสารเคมีที่รู้จักกันดีในอุตสาหกรรมยาง เนื่องจากใช้เป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างโมเลกุลของยาง ทำให้ยางเกิดการคงรูป มีลักษณะเป็นผลึกของแข็งสีเหลืองที่อุณหภูมิห้อง [เทคโนโลยียาง] |
Vulcanisation or Vulcanization | วัลคาไนเซชัน คือ กระบวนการทางเคมีที่ก่อให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างโมเลกุลของยาง เกิดเป็นโครงสร้างตาข่ายสามมิติ (โครงสร้างร่างแห) ทำให้ยางคงรูปและมีความยืดหยุ่นสูงขึ้น ซึ่งกระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่ไม่สามารถผันกลับได้ (irreversible process) ดังนั้น จึงเป็นสาเหตุทำให้ยางไม่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ [เทคโนโลยียาง] |
Vulcanizing agent | สารเคมีสำหรับผสมในยางเพื่อทำให้ยางเกิดการเชื่อมโยงระหว่างโมเลกุล เกิดเป็นโครงสร้างตาข่ายสามมิติ (โครงสร้างร่างแห) ขึ้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระบบใหญ่ๆ ได้แก่ ระบบที่ใช้กำมะถัน ระบบที่ใช้เพอร์ออกไซด์ และระบบที่ใช้สารเคมีอื่นๆ เช่น โลหะออกไซด์ [เทคโนโลยียาง] |
Anaplasmosis | ประสานกัน, การเชื่อมโยงกัน, การเชื่อมกัน, เส้นเลือดฝอยประสานติดต่อ, การติดต่อระหว่างหลอดเลือด, การเชื่อมติดต่อถึงกัน, โรคเกิดจากอานาพลาสมา [การแพทย์] |
Anastomosis | การเชื่อมโยงกัน, เส้นเลือดฝอยประสานติดต่อ, ประสานกัน, การเชื่อมกัน [การแพทย์] |
Anastomosis, Portacaval | การเชื่อมโยงกันระหว่างเลือดดำทั้งสองระบบ, การเชื่อมโยงกันระหว่างเลือดดำทั้ง 2 ระบบ [การแพทย์] |
Association Theories | ทฤษฎีการเชื่อมโยง [การแพทย์] |
Chaining | การเชื่อมโยง [การแพทย์] |
Continuity | การเชื่อมโยง [การแพทย์] |
Cross Linking | การเชื่อมโยงกัน [การแพทย์] |
Cross-Link | เชื่อมโยง [การแพทย์] |
cardiac muscle | กล้ามเนื้อหัวใจ, เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อที่ประกอบด้วยเซลล์รูปทรงกระบอก มีลายตอนปลายของเซลล์ มีการแตกแขนงและเชื่อมโยงติดต่อกันกับเซลล์ข้างเคียง ทำงานนอกอำนาจจิตใจ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
association neuron | เซลล์ประสาทประสานงาน, เซลล์ประสาทชนิดหนึ่งมีอยู่ในสมองและไขสันหลัง ทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างเซลล์ประสาทภายในไขสันหลังหรือภายในสมอง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
mitotic spindle | เส้นใยสปินเดิล, เส้นใยที่เชื่อมโยงระหว่างขั้วเซลล์กับไคนีโทคอร์ของแต่ละโครโมโซมในระหว่างการแบ่งเซลล์ เกิดขึ้นในระยะโพรเฟสของการแบ่งเซลล์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
nerve net | ร่างแหประสาท, ระบบประสาทในสัตว์ในไฟลัมไนดาเรีย มีลักษณะเป็นเซลล์ประสาทที่เชื่อมโยงกันทั่วตัวเป็นร่างแห เมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นที่จุดใดจุดหนึ่ง การตอบสนองจะเป็นไปทุกทิศทาง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
coordinating fibre | เส้นใยประสานงาน, เส้นใยใต้ผิวเซลล์ที่เชื่อมโยงระหว่างโคนของซิเลีย ในโพรโทซัวพวกซิลิเอต เส้นใยนี้ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของซิเลีย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Campus Area Network(CAN) | เครือข่ายแคมปัส, เครือข่ายที่ใช้เชื่อมโยงแลนที่อยู่ห่างไกลออกไปที่ใช้ในสถานศึกษา โดยการเชื่อมต่อเครือข่ายใช้สายไฟเบอร์ออพติก หรือไมโครเวฟ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
database | ฐานข้อมูล, การรวมของตารางข้อมูลหลายๆ ตารางเข้าไว้ด้วยกัน ตารางแต่ละตารางจะมีความสัมพันธ์กันโดยใช้เขตข้อมูลที่เก็บข้อมูลซึ่งเหมือนกันเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างกัน บางตารางอาจเป็นตารางที่เก็บข้อมูลไว้เฉพาะของตนเองโดยไม่เกี่ยวข้องกับตารางอื่น ในขณะที่บางตาราง อาจต้องเชื่อ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
hardware | ฮาร์ดแวร์, ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆรวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
home network | เครือข่ายที่พักอาศัย, เครือข่ายที่ใช้ในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆที่อยู่ภายในบ้าน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
hyperlink | การเชื่อมโยงหลายมิติหรือไฮเปอร์ลิงค์, การเชื่อมโยงไปยังส่วนอื่นในเว็บเพจเดียวกันหรือเว็บเพจอื่นได้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Internet | อินเทอร์เน็ต, เครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรธุรกิจ หน่วยงานของรัฐบาล สถานศึกษา ตลอดจนเชื่อมโยงบุคคลต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน ทำให้ข้อมูล สารสนเทศ สินค้า และบริการที่นำเสนอผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์เหล่านี้สามารถเข้าถึงได้จากคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Local Area Network( LAN) | เครือข่ายเฉพาะที่ หรือแลน, เครือข่ายที่ใช้ในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆที่อยู่ในพื้นที่เดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ซึ่งอาจใช้การเชื่อมต่อแบบมีสายหรือไร้สาย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Metropolitan Area Network( MAN) | เครือข่ายนครหลวง หรือแมน, เครือข่ายที่ใช้เชื่อมโยงแลนที่อยู่ห่างไกลออกไป เช่นการเชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างสำนักงานที่อาจอยู่คนละอาคารและมีระยะทางไกลกัน การเชื่อมต่อเครือข่ายชนิดนี้อาจใช้สายไฟเบอร์ออพติก หรือบางครั้งอาจใช้ไมโครเวฟเชื่อมต่อ เครือข่ายแบบนี้ที่ใช้ในสถานศึกษามีชื่อเรียก [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
network topology | รูปร่างเครือข่าย, การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์รับส่งข้อมูลที่ประกอบกันเป็นเครือข่ายมีการเชื่อมโยงถึงกันในรูปแบบต่างๆ ตามลักษณะทางกายภาพ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
wide area network (WAN) | เครือข่ายวงกว้าง หรือแวน, เครือข่ายที่ใช้ในการเชื่อมโยงกับเครือข่ายอื่นที่อยู่ไกลจากกันมาก เช่น เครือข่ายระหว่างจังหวัด หรือระหว่างภาค รวมไปถึงเครือข่ายระหว่างประเทศ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
associate | (vt) เชื่อมโยง, See also: เชื่อม, Syn. connect, join together |
association | (n) ความคิดที่เชื่อมโยง, See also: ความเห็นที่เชื่อมโยง, Syn. train of thought, chain of ideas |
bridgeable | (adj) ที่เชื่อมโยงได้ |
connect with | (phrv) เชื่อมโยงเข้ากับ, See also: เชื่อมกับ |
couple with | (phrv) เชื่อมโยง (บางสิ่ง) เข้ากับ (บางสิ่ง), Syn. associate with |
discern between | (phrv) มองเห็น, See also: เข้าใจ, สังเกตเห็น ความแตกต่าง, ความเหมือน, ความเชื่อมโยง |
get of | (phrv) เชื่อมโยงข้อเสียเปรียบสองอย่างไว้ด้วยกัน, Syn. make of |
incoherence | (n) ความไม่เชื่อมโยงกัน, See also: ความไม่สัมพันธ์กันอย่างมีเหตุผล, Syn. disjointedness, incongruity, imperspicuity |
incoherent | (adj) ซึ่งไม่ต่อเนื่อง, See also: ซึ่งไม่เชื่อมโยงกัน, ซึ่งไม่เป็นเนื้อเดียวกัน, Syn. disjointed, rambling, Ant. coherent |
incoherently | (adv) อย่างไม่ต่อเนื่อง, See also: อย่างไม่เชื่อมโยงกัน, อย่างไม่เป็นเนื้อเดียวกัน, Syn. disjointedly, ramblingly, Ant. coherently |
Internet | (n) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระหว่างองค์กรต่างๆ, See also: อินเทอร์เนต |
isotherm | (n) เส้นลากเชื่อมโยงจุดที่มีอุณหภูมิเท่ากันบนแผนที่อากาศ, See also: เส้นที่ลากผ่านจุดที่มีอุณหภูมิเท่ากัน |
link up | (phrv) เชื่อมโยง, See also: เชื่อม |
linked | (adj) ที่เชื่อมต่อกัน, See also: ที่เชื่อมโยงกัน, Syn. connected, combined, Ant. disconnected, separated |
network | (vt) เชื่อมโยงเครือข่าย, See also: ติดต่อกับเครือข่าย |
relate to | (phrv) เชื่อมโยงกับ, See also: สัมพันธ์กับ |
think | (vi) นึกออก, See also: คิดเชื่อมโยง, คิดได้, นึกขึ้นมาได้, Syn. recall |
think | (vt) นึกออก, See also: คิดเชื่อมโยง, คิดได้, นึกขึ้นมาได้, Syn. recall |
together | (adv) อย่างเชื่อมโยงกัน, See also: อย่างสัมพันธ์กัน |
take together | (phrv) นำมาโยงใยกัน, See also: นำมาเชื่อมโยงกัน |
tie in | (phrv) เชื่อมโยงกับ, See also: เชื่อมต่อ |
tie in with | (phrv) เชื่อมโยงกับ, See also: เข้ากันกับ |
zodiac | (n) จักรราศรี, See also: แผนภูมิวงกลมแสดงความเชื่อมโยงของหมู่ดาวกับราศีทั้งสิบสองราศีของนักพยากรณ์หรือหมอดู, Syn. celestial meridian, signs of the zodiac |
agonic line | เส้นสมมุติบนผิวหน้าของพื้นโลกที่เชื่อมโยงทุกจุดที่การเอนลงของสนามแม่เหล้กโลกเท่ากับศูนย์ (an imaginary line) |
arpanet | (อาร์ปาเน็ต) ARPA นั้นย่อมาจาก Advanced Research Project Agency เป็นชื่อหน่วยงานที่ทำการวิจัยและทดลองเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วประเทศของกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา ที่เชื่อมโยงสถาบันวิจัยและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เข้าด้วยกัน โดยมีจุดประสงค์ที่จะเพิ่มศักยภาพทางการทหารให้แก่กระทรวงกลาโหม ปัจจุบัน เครือข่ายอาร์ปาเน็ต ได้ไปผนวกเข้ากับเครือข่ายอื่น ๆ อีกหลายเครือข่าย เป็นเครือข่ายรวมใหญ่ในชื่อว่า "อินเตอร์เน็ต" (Internet) |
associationism | (อะโซชีเอ'เชินนิสซึม) n. ลัทธิเชื่อมโยง -associationist adj., n. |
associative | (อะโซ'ชิเอทิฟว) adj. ร่วมกันเชื่อมโยง (pertaining to association) |
cascade | (แคส'เคด) { cascaded, cascading, cascades } n. น้ำตกเล็กที่ตกจากหน้าผาที่สูงชัน, น้ำตกเป็นหลั่น ๆ , การต่อไฟฟ้าเป็นหลั่น ๆ , การเชื่อมโยง, ใบพะเนียด vt., vi. ตกลงมาเหมือนน้ำตก, ต่อเนื่องกันเป็นขั้นบันได, Syn. cataract แบบต่อเรียงการจัดเรียงวินโดว์บนจอภาพนั้น สามารถทำได้ 2 แบบ คือให้เป็นแบบต่อเรียง ซึ่งจะทำให้สามารถมองเห็นชื่อของแต่ละวินโดว์ที่เรียงต่อกัน หรือแบบแผ่เรียง tile ซึ่งจะทำให้มองเห็นทุกวินโดว์บนจอพร้อม ๆ กันในขนาดเล็ก ๆ ก็ได้ ทั้งนี้แล้วแต่คำสั่งของผู้ใช้เครื่อง คอมพิวเตอร์ ว่าจะสั่งให้เป็นแบบ cascade หรือ tileดู tile เปรียบเทียบ |
cohere | (โคเฮียร์') { cohered, cohering, coheres } vi. เกาะติด, เกาะกัน, สอดคล้อง, เชื่อมโยง, เห็นด้วย., Syn. adhere |
coherence | (โคเฮีย'เรินซฺ) n. การเกาะติด, การเกาะกัน, การเกี่ยวพัน, การเชื่อมโยง, ความสอดคล้อง |
coherent | (โคเฮีย'เรินทฺ) adj. เชื่อมโยงกัน, เกาะติดกัน, เกี่ยวข้องกัน, สอดคล้องกัน, มีเหตุผล |
concatenate | (คอนแคท 'ทะเนท) vt, เชื่อมเข้าด้วยกัน ต่อกันหมายถึง การเชื่อมโยงสายอักขระ (string) สองสายเข้าเป็นสายเดียวกัน เช่น เชื่อม "ABC" และ "DEF" เป็น "ABCDEF" เป็นต้น เราอาจนำมาใช้กับการนำแฟ้มข้อมูลมาต่อกันก็ได้ |
darpanet | (ดาร์พาเน็ต) ย่อมาจาก Defense Advanced Research Projects Agency Network (แปลว่า เครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยขั้นสูงของกระทรวงกลาโหม) เป็นชื่อหน่วยงานที่เป็นเครือข่ายสำนักงานที่ทำโครงการวิจัยขั้นสูงทั่วประเทศของกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา ที่เชื่อมโยงสถาบันวิจัยและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เข้าด้วยกัน โดยมีจุดประสงค์ที่จะเพิ่มศักยภาพทางการทหารให้แก่กระทรวงกลาโหม ปัจจุบันเครือข่ายดาร์ปาเน็ต ได้ไปผนวกเข้ากับเครือข่ายอื่น ๆ อีกหลายเครือข่าย เป็นเครือข่ายรวมใหญ่ในชื่อว่า "อินเตอร์เน็ต" (internet) ดู internet ประกอบ |
intranet | (อิน' เทอเนท) n. ระบบเครือข่ายระบบหนึ่งที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก เป็นประโยชน์ที่ให้บริการแก่คนทั่วไป ข้อมูลข่าวสารนั้น มีหลากหลายตั้งแต่สาระบันเทิงจนถึงข้อมูลความรู้ระดับสถาบันทางวิทยาศาสตร์ ศูนย์การแพทย์ และหน่วยราชการต่าง ๆ |
local area network | (LAN) โครงข่ายคอมพิวเตอร์เฉพาะบริเวณ, การเชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเป็นข่ายงานเฉพาะบริเวณที่ไม่กว้างขวางนัก : ย่อว่า LAN, ข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ ใช้ตัวย่อว่า LAN หมายถึง คอมพิวเตอร์หลาย ๆ ระบบ หรือหลาย ๆ เครื่องที่มีการทำงานเชื่อมกันเป็นเครือข่าย แต่ละเครื่องอยู่ในบริเวรใกล้ ๆ กัน เช่นในอาคารเดียวกันเป็นต้น คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันเหล่านี้จะทำงานร่วมกันได้ ดึงโปรแกรมหรือข้อมูลจากกันและกันได้ แต่การทำเช่นนี้จะต้องใช้ซอฟทืแวรืช่วยด้วย หากเป็นเครือข่ายเครื่องอยู่ห่างกัน เรียกว่า wan (wide area network ดู wan) |
network | (เนท'เวิร์ค) n. ตาข่าย, ร่างแห, แผนประสานซึ่งกันและกัน, เครือข่าย การเชื่อมโยงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการสื่อสารข้อมูลหรือใช้โปรแกรมร่วมกัน, ระบบการนำเครื่องคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่อง หรือเครื่องปลายทาง (terminal) หลาย ๆ เครื่อง มาทำงานร่วมกันโดยอาจใช้อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องร่วมกัน เช่น สื่อนำข้อมูลเข้า/ออก, เครื่องพิมพ์ เป็นต้น |
object language | ภาษาจุดหมายหมายถึง ชุดคำสั่งที่เป็นภาษาเครื่อง (machine language) หรือภาษาที่คอมพิวเตอร์เข้าใจและปฏิบัติตามได้ทันที่ถ้าผ่านการเชื่อมโยง (link) โดยปกติ ในการเขียนโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง เรามักจะเขียนคำสั่งให้เครื่องปฏิบัติตามเป็นภาษาระดับสูง (high level language) หรือที่เรียกว่าภาษาต้นฉบับ (source language) ซึ่งคอมพิวเตอร์ไม่เข้าใจและจะต้องนำไปแปลให้เป็นภาษาเครื่องหรือภาษาจุดหมายก่อน คอมพิวเตอร์จึงจะทำงานตามคำสั่งที่ต้องการได้ |
object linking and embedd | การเชื่อมโยงและการฝังตัวของวัตถุใช้ตัวย่อว่า OLE (อ่านว่า โอเล) เท่ากับการแทรกเอกสาร หรือ ภาพ หรือบางส่วนของเอกสาร ที่ได้สร้างขึ้นไว้ในโปรแกรมหนึ่ง (เรียกว่า วัตถุ) เข้าไปในแฟ้มเอกสาร หรือส่วนของเอกสารที่สร้างขึ้นมาจากอีกโปรแกรมหนึ่ง แถมด้วยการที่สามารถยึดโยงหรือเชื่อมโยงความผูกพันระหว่างเอกสารทั้งสองไว้ให้อีกด้วย การยึดโยงดังกล่าวมีความหมายว่า การแก้ใขแฟ้มหนึ่งจะทำให้อีกแฟ้มหนึ่งถูกแก้ไปด้วยโดยอัตโนมัติ วิธีการนี้นิยมใช้มากในระบบวินโดว์ |
ole | (โอเล') n. การตะโกน, เปล่งเสียงที่แสดงถึงการเห็นด้วย โอเล <คำอ่าน>ย่อมาจาก object linking and embedding (แปลว่า การเชื่อมโยงและการฝังตัวของวัตถุ) เท่ากับการแทรกเอกสาร หรือภาพหรือบางส่วนของเอกสาร ที่ได้สร้างขึ้นไว้ในโปรแกรมหนึ่ง (เรียกว่า วัตถุ) เข้าไปในแฟ้มเอกสาร หรือส่วนของเอกสาร ที่สร้างขึ้นมาจากอีกโปรแกรมหนึ่ง แถมด้วยการที่สามารถเชื่อมโยงหรือยึดโยงความผูกพันระหว่างเอกสารทั้งสองไว้ให้อีกด้วย การยึดโยงดังกล่าวมีความหมายว่า การแก้ใขแฟ้มหนึ่งจะทำให้อีกแฟ้มหนึ่งถูกแก้ไปด้วยโดยอัตโนมัติ วิธีการนี้นิยมใช้มากในระบบวินโดว์ |
pipeline | การทำงานแบบสายท่อหมายถึง วิธีการเชื่อมโยงสองโปรแกรมหรือกว่านั้นเข้าด้วยกัน โดยกำหนดให้ผลที่เกิดจากการประมวลผลในโปรแกรมแรก เป็นตัวกำหนดเรียกโปรแกรมที่สอง (หมายความว่า โปรแกรมที่สองจะเป็นโปรแกรมใด ขึ้นกับผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลในโปรแกรมแรก) การประมวลผลในโปรแกรมที่สองก็จะเรียกโปรแกรมต่อไป วิธีการนี้ใช้ในระบบยูนิกซ์ (UNIX) และ ดอส (DOS) |
relational database | ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์หมายถึง ฐานข้อมูลแบบหนึ่ง ที่ประกอบด้วยแฟ้มข้อมูลที่แยกต่างหากออกจากกันเป็นหลาย ๆ แฟ้ม แต่ละแฟ้มเหล่านั้นมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอยู่ การเรียกหาข้อมูลในแฟ้มหนึ่งจะโยงไปหาแฟ้มอื่นได้ เช่น เราอาจมีแฟ้มข้อมูลที่เก็บสินค้า และอีกแฟ้มข้อมูลหนึ่งเก็บรายชื่อลูกค้า เราอาจสร้างแฟ้มข้อมูลใหม่ แล้วเลือกเฉพาะข้อมูลที่ต้องการจากแต่ละแฟ้มให้มาสัมพันธ์กัน เพื่อจะรู้ได้ว่า ลูกค้าคนใดสั่งสินค้าใดไปจำนวนเท่าใด ทั้งสิ้นขึ้นกับการออกแบบระบบให้แฟ้มเหล่านั้นสัมพันธ์กันด้วย |
remote console | ส่วนเฝ้าคุมระยะไกลจอเฝ้าคุมระยะไกลหมายถึง จอภาพหรืออุปกรณ์อื่นที่ผู้ควบคุมการดำเนินการของเครื่อง ใช้สั่งงาน เช่น ส่งข้อมูลเข้าเครื่อง หรือสั่งให้เครื่องเริ่มกระทำการ (execute) แต่เนื่องจากอุปกรณ์นี้อยู่ห่างจากตัวเครื่อง การควบคุมจึงต้องมีสายการสื่อสารเชื่อมโยงติดต่อกัน |
wan | (วอน) adj. ซีด, ซีดขาว, อมโรค, อ่อนแอ, ไม่มีความสุข, ขาดกำลัง, ขาดสมรรถภาพ, มืด, สลัว vi. vt. ทำให้หรือกลายเป็นซีด แวน <คำอ่าน>ย่อมาจาก wide area network (แปลว่า ข่ายงานบริเวณกว้าง) หมายถึง ข่ายงานคอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมโยงกันเป็นบริเวณกว้าง (ถ้าเป็นบริเวณแคบ ๆ เรียกว่า LAN หรือ local area network) เช่น ระหว่างจังหวัด ระหว่างประเทศ เป็นต้น คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันเหล่านี้ จะทำงานร่วมกันได้ ดึงโปรแกรมจากกันและกันได้ การกระทำเช่นนี้จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์เป็นตัวการสำคัญด้วยตัวหนึ่ง การเชื่อมโยงนั้น อาจใช้สายโทรศัพท์ สายเคเบิล เส้นใยนำแสง (optical fibre) หรือดาวเทียม ก็ได้ดู LAN เปรียบเทียบ, See also: wanly adv. wanness n., Syn. pale, faint, livid |
wide area network | wide area network ข่ายงานบริเวณกว้างใช้ตัวย่อว่า WAN (อ่านว่า แวน) หมายถึง ข่ายงานคอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมโยงกันเป็นบริเวณกว้าง (ถ้าเป็นบริเวณแคบ ๆ เรียกว่า LAN หรือ local area network) เช่น ระหว่างจังหวัด ระหว่างประเทศ เป็นต้น คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันเหล่านี้ จะทำงานร่วมกันได้ ดึงโปรแกรมจากกันและกันได้ ซึ่งจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์เป็นตัวการสำคัญด้วยตัวหนึ่ง การเชื่อมโยงนั้น อาจใช้สายโทรศัพท์ สายเคเบิล เส้นใยนำแสง (optical fibre) หรือดาวเทียม ก็ได้ดู local area network เปรียบเทียบ |