กระบือ | น. ควาย (มักใช้เป็นทางการ) เช่น รูปพรรณโคกระบือ. |
ข้าพเจ้า | (ข้าพะเจ้า) ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด มักใช้อย่างเป็นทางการ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. |
โค ๑ | น. วัว (มักใช้เป็นทางการ) เช่น สั่งซื้อแม่โคพันธุ์ใหม่จากต่างประเทศ. |
เจรจา | (เจนระจา, เจระจา) ก. พูด, พูดจากัน, พูดจากันเป็นทางการ. |
ชื่อจริง | น. ชื่อของบุคคลที่ใช้เป็นทางการ ปรากฏอยู่ในทะเบียนสำมะโนครัวเป็นต้น. |
ชื่อสกุล | น. ชื่อประจำวงศ์สกุลซึ่งสืบเนื่องจากบิดาถึงบุตร หรือซึ่งได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนเป็นทางการแล้ว, นามสกุล |
ถ้อยแถลง | (-ถะแหฺลง) น. คำชี้แจง, คำประกาศ, คำอธิบายเป็นทางการ. |
แถลง | (ถะแหฺลง) ก. บอก เล่า อธิบาย หรือแจ้งให้ทราบเป็นทางการ เช่น ส่วนรายละเอียดรองประธานจะแถลงให้ทราบต่อไป. |
แถลงข่าว | ก. ให้ข่าวเป็นทางการ. |
ประพาสต้น | ก. เที่ยวไปเป็นการส่วนพระองค์, เที่ยวไปอย่างไม่เป็นทางการ, ใช้ว่า เสด็จประพาสต้น. |
ภาษาแบบแผน | น. ภาษาที่ถือเป็นแบบฉบับที่จะต้องใช้เป็นแบบเดียวกันในโอกาสอย่างเดียวกัน เช่น คำกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขึ้นต้นว่า “ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม...” และลงท้ายว่า “ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า...”, ภาษาที่ใช้เป็นทางการในโอกาสสำคัญ หรือใช้แก่บุคคลสำคัญ หรือบุคคลสำคัญเป็นผู้ใช้ เช่น คำประกาศเกียรติคุณในการประสาทปริญญาบัตรกิตติมศักดิ์ คำปราศรัยของนายกรัฐมนตรีในวันขึ้นปีใหม่, ภาษาระดับพิธีการ ก็เรียก. |
ร้องขอ | ก. ขอเป็นทางการ. |
รายงานการประชุม | น. รายละเอียดหรือสาระของการประชุมที่จดไว้เป็นทางการ. |
วิดพื้น | น. ท่ากายบริหารอย่างหนึ่งมี ๒ แบบ แบบหนึ่งเริ่มด้วยท่านอนทอดตัวลงเกือบถึงพื้น มือและปลายเท้าทั้ง ๒ ข้างยันพื้นไว้ งอแขนให้ศอกแนบลำตัว หน้าเงย แล้วเหยียดแขนพร้อมกับยกตัวขึ้น แล้วงอแขนพร้อมทั้งลดตัวลงกลับไปอยู่ในท่าเดิม อีกแบบหนึ่งเริ่มด้วยท่านอน มือและปลายเท้าทั้ง ๒ ข้างยันพื้นไว้ แขนเหยียดตรง หน้าเงย แล้วงอแขนให้ศอกแนบลำตัวพร้อมกับทอดตัวลงเกือบถึงพื้น แล้วเหยียดแขนพร้อมทั้งยกตัวขึ้นกลับไปอยู่ในท่าเดิม, เรียกเป็นทางการว่า ยุบข้อ. |
ศักราช | (สักกะหฺราด) น. อายุเวลาซึ่งกำหนดตั้งขึ้นเป็นทางการ เริ่มแต่จุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นที่หมายเหตุการณ์สำคัญ เรียงลำดับกันเป็นปี ๆ ไป เช่น พุทธศักราช ๑, ๒, ๓, ... จุลศักราช ๑, ๒, ๓, ... (ตามความนิยมที่ใช้เป็นธรรมเนียมกันมา คำ ศักราช ในคำเช่น พุทธศักราช คริสต์ศักราช จะใช้ว่า ศก เป็น พุทธศก คริสต์ศก ก็ได้ แต่คำเช่น มหาศักราช จุลศักราช ไม่นิยมใช้ว่า มหาศก จุลศก ส่วนคำว่า รัตนโกสินทรศก ไม่นิยมใช้ว่า รัตนโกสินทรศักราช), (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า ช่วงใดช่วงหนึ่งซึ่งเริ่มต้นเหตุการณ์สำคัญในชีวิตบุคคล เช่น เริ่มศักราชแห่งชีวิตใหม่ พอเรียนหนังสือจบก็เริ่มศักราชของการทำงาน. |
สุกร | (สุกอน) น. หมู (มักใช้เป็นทางการ) เช่น เนื้อสุกร สุกรชำแหละ. |
สุนัข | น. หมา (มักใช้เป็นทางการ) เช่น สุนัขตำรวจ. |
สุรา | น. เหล้า, น้ำเมาที่ได้จากการกลั่น, (มักใช้เป็นทางการ), เช่น ร้านนี้ขายแต่สุราต่างประเทศ. |
Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy | ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี ? เจ้าพระยา ? แม่โขง ACMECS หรือชื่อเดิม ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า และไทย (ECS : Economic Cooperation Strategy among Cambodia, Lao PDR, Myanmar and Thailand) คือ กรอบความร่วมมือระหว่าง 5 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม ACMECS เป็นแนวคิดที่ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้หยิบยกขึ้นหารือกับผู้นำกัมพูชา ลาว และพม่า ในช่วงการประชุมผู้นำอาเซียนสมัยพิเศษว่าด้วยโรค SARS เมื่อ 29 เมษายน 2546 ที่กรุงเทพฯ และได้มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วต่อเนื่องจนถึงการประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 1 ที่เมืองพุกาม สหภาพพม่า เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2546 โดยผู้นำทั้ง 4 ประเทศร่วมกันออกปฏิญญาพุกาม (Bagan Declaration) รวมทั้งแผนปฏิบัติการ (Plan of Action) ครอบคลุมความร่วมมือ 5 สาขา ได้แก่ การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการ ลงทุน ความร่วมมือทางด้านเกษตรและอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บนหลักการที่เน้นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและยกระดับความ เป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งเปิดกว้างให้นานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศได้มีส่วนร่วมเป็น หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Development Partner) ในโครงการต่างๆ ของ ACMECS ด้วย * เวียดนามร่วมเป็นสมาชิก ACMECS เมื่อ 10 พฤษภาคม 2547 สถานะล่าสุด ระหว่างวันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2547 ที่จังหวัดกระบี่ ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสสมัยพิเศษและการประชุม รัฐมนตรี ACMECS อย่างไม่เป็นทางการ รวมทั้งการประชุมร่วมกับ Development Partners (ผู้แทนจากออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย) ซึ่งการประชุมประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง สมาชิก ACMECS ทั้ง 5 ประเทศได้ร่วมกันแสดงความเป็น เอกภาพ โดยยืนยันเจตนารมณ์ที่จะดำเนินการตามกรอบความร่วมมือ ACMECS อย่าง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันต่อผู้แทนของ Development Partners รวมทั้งมีการหารือถึงความคืบหน้าของการดำเนินโครงการระหว่างกันอย่างเป็น รูปธรรม นอกจากนี้ ยังสามารถมีข้อสรุปที่สำคัญๆ เกี่ยวกับกลไกการประสานงานระหว่างกันซึ่งจะช่วยให้การดำเนินกิจกรรมความร่วม มือของ ACMECS มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป * ไทยมีกำหนดเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 2 ในเดือนธันวาคม 2548 ที่กรุงเทพฯ [การทูต] |
Aide-memoire หรือ Memoire | แปลตามตัวอักษรว่า ช่วยความจำ เป็นหนังสือโต้ตอบทางการทูตประเภทหนึ่ง คือ บันทึกสังเขปของการเจรจาที่ได้กระทำกันเสร็จสิ้นแล้ว บันทึกช่วยจำเช่นนี้ไม่มีการกล่าวนำเป็นทางการและไม่มีการลงชื่อ ซึ่งจะมอบให้แก่กันเมื่อเสร็จการเจรจากันแล้ว ความมุ่งหมายของบันทึกนี้คือ เพื่อบันทึกข้อเท็จจริงไว้เป็นหลักฐานซึ่งผู้รับบันทึกทราบดีแล้วบันทึกช่วย จำก็คือ บันทึกสรุปการสนทนาทางการทูตอย่างไม่เป็นทางการ ระหว่างผู้แทนหรือพนักงานทางการทูตกับหัวหน้าหรือพนักงานของกระทรวงการต่าง ประเทศ จุดประสงค์ตามที่ชื่อบ่งอยู่แล้วว่า เป็นการสรุปประเด็นต่าง ๆ ในการสนทนาเพื่อเตือนความจำนั้นเอง ในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่ทางการทูตจะมอบบันทึกนี้ไว้กับกระทรวงการต่างประเทศ ในบันทึกนั้นบรรทัดแรกจะระบุว่าใครเป็นผู้ส่งและใครเป็นผู้รับบันทึก ผู้ส่งบันทึกจะต้องลงชื่อย่อกำกับบันทึกไว้ด้วยบันทึกช่วยจำอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า pro memoria โดยปกติภาษาที่ใช้ใน pro memoria จะมีลักษณะถ้อยคำเป็นทางการมากกว่า aide-memoire [การทูต] |
ASEAN Ministerial Meeting on Science and Technology | การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี " จัดขึ้นเป็นประจำทุก 3 ปี เพื่อหารือ กำหนดนโยบาย และติดตามผลความคืบหน้าของการดำเนินงานความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี โดยในช่วงกลางระหว่างสามปีดังกล่าวจะมีการประชุม รัฐมนตรีอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างไม่เป็นทางการด้วย " [การทูต] |
ASEAN Regional Forum | การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก " เป็นการประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรี ต่างประเทศของประเทศคู่เจรจาของอาเซียน (Dialogue Partners) ได้แก่ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย จีน รัสเซีย และสหภาพยุโรป ผู้สังเกตการณ์ (Observers) ของอาเซียน ได้แก่ ปาปัวนิวกินี และประเทศอื่น ๆ ที่มีบทบาทสำคัญในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เช่น มองโกเลียและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) โดย ARF ได้ใช้ ""geographical footprint"" หรือขอบเขตทางภูมิศาสตร์ เป็นปัจจัยสำคัญเพื่อประกอบการพิจารณารับสมาชิกใหม่ ปัจจุบัน ARF มีประเทศสมาชิก 22 ประเทศ กับ 1 กลุ่ม (สหภาพยุโรป) โดยมีการประชุมเป็นประจำทุกปีในช่วงต่อเนื่องกับการประชุมรัฐมนตรี ต่างประเทศอาเซียน (ASEAN Ministerial Meeting - AMM) เป็นเวทีปรึกษาหารือเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ระดับพหุภาคีในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และพัฒนาแนวทางการ ดำเนินการทางการทูตเชิงป้องกัน (Preventive Diplomacy) ที่มุ่ง ป้องกันการเกิดและขยายตัวของความขัดแย้ง โดยใช้มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (Confidence Building Measures - CBMs) ระหว่างกัน ทั้งนี้ ARF มีการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2537 และไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ARF ระดับรัฐมนตรีอีกครั้ง ซึ่งเป็นครั้งที่ 7 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2543 นอกจากการประชุม ARF ประจำปีแล้วยังมีการดำเนินกิจกรรมระหว่างปี (Inter-sessional Activities) ในสองระดับ คือ กิจกรรมที่เป็นทางการ (Track I) และกิจกรรมที่ไม่เป็นทางการ (Track II) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดร่วมกันระหว่างรัฐบาลกับสถาบันวิชาการของ ประเทศผู้เข้าร่วม ARF ได้แก่ (1) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมกลุ่มสนับสนุนว่าด้วยมาตรการสร้างความไว้เนื้อ เชื่อใจของ ARF (ARF Inter-sessional Support Group on Confidence Building Measures - ARF ISG on CBMs) (2) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการบรรเทาภัยพิบัติของ ARF (ARF Inter-sessional Meeting on Disaster Relief - ARF ISM on DR) (3) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการรักษาสันติภาพของ ARF (Inter-sessional Meeting on Peace-keeping Operations - ARF ISM on PKO) และ (4) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการประสานและร่วมมือด้านการค้นหาและกู้ภัย ของ ARF (ARF Inter-sessional Meeting on Search and Rescue Coordination - ARF ISM on SAR) " [การทูต] |
ASEAN Troika | กลุ่มผู้ประสานงานของอาเซียน " เป็นข้อเสนอของไทยในการประชุมสุดยอดอย่างไม่เป็นทางการ ณ กรุงมะนิลา เมื่อ 28 พฤศจิกายน 2542 ซึ่งได้รับความเห็นชอบจาก ผู้นำประเทศ/รัฐบาลอาเซียน เป็นกลไกเฉพาะกิจในระดับรัฐมนตรี มีวัตถุประสงค์เพื่อให้อาเซียนสามารถแก้ไขและร่วมมือกันได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ทันท่วงทีและใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น ในเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อสันติภาพ และในเรื่องที่อาเซียนมีความห่วงกังวลร่วมกันว่ามี แนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อสันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาค ทั้งนี้ กลุ่มผู้ประสานงานอาเซียนจะปฏิบัติงานโดยยึดหลักการที่สำคัญของอาเซียน คือ หลักฉันทามติ และการไม่แทรกแซงกิจการภายใน กลุ่มผู้ประสานงานอาเซียนประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ ประเทศที่เป็นประธานคณะกรรมการประจำของ อาเซียนในปัจจุบัน อดีต และอนาคต " [การทูต] |
Bangkok Process | เป็นการประชุมอย่างไม่เป็นทางการในระดับรัฐมนตรี เพื่อแลกเปลี่ยน ข้อคิดเห็นระหว่างกันอย่างตรงไปตรงมาและสร้างสรรค์เกี่ยวกับแนวทางในการสนับ สนุนกระบวนการสร้างความปรองดองภายในชาติและการพัฒนาประชาธิปไตยในพม่าตาม ?Roadmap towards Democracy in Myanmar? เดิมเรียกว่า Forum on International Support for National Reconciliation in Myanmar ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Bangkok Process ครั้งแรกเมื่อ 15 ธันวาคม 2546 ที่กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนพิเศษของรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศจาก 12 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย ออสเตรีย จีน ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดีย อินโดนีเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น พม่า สิงคโปร์ และไทย รวมทั้งนาย Razali Ismail เป็นผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติว่าด้วยพม่าเข้าร่วม [การทูต] |
Bangladesh-India-Myanmar- Sri Lanka and Thailand Economic Cooperation | กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างบังกลาเทศ อินเดีย พม่า ศรีลังกา และไทย " ในช่วงแรกบังกลาเทศ-อินเดีย-พม่า-ไทย ได้ร่วมลงนามในปฏิญญากรุงเทพ เพื่อจัดตั้งความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างบังกลาเทศ-อินเดีย-ศรีลังกา-ไทย (BIST-EC) เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2540 ต่อมา ได้รับพม่าเข้าเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการ และเปลี่ยนชื่อจาก BIST-EC เป็น BIMST-EC เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2540 " [การทูต] |
black tie | ชุดราตรีสโมสร เสื้อสูทสีดำ ปกหุ้มต่วนแพรหรือไหมสีดำ หรือเสื้อสูทสีขาว ปกไม่หุ้มต่วนแพร เสื้อเชิ้ตสีขาว อกตีเกล็ดหรือมีระบายลูกไม้ที่สาบอก ผ้าผูกคอหูกระต่าย (bow-tie) สีดำ กางเกงสีดำมีแถบดิ้นไหมสีดำ มีผ้าคาดเอวสีดำ ใช้สำหรับงานเลี้ยงอาหารค่ำหรืองานกลางคืนที่จัดขึ้นอย่างเป็นทางการ ทั้งงานของราชการและงานสังคมของบุคคลธรรมดาที่จัดอย่างหรู black tie เรียกชื่ออื่นได้อีก เช่น tuxedo หรือ smoking jacket หรือ dinner jacket [การทูต] |
Commencement of the Functions of the Head of Diplomatic Mission | การเริ่มต้นรับหน้าที่ของหัวหน้าคณะผู้แทนทางการ ทูต กล่าวคือ เมื่อหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตเดินทางไปถึงนครหลวงของประเทศผู้รับแล้ว ควรรีบแจ้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศทราบว่า ตนได้เดินทางมาถึงแล้วและขอนัดเยี่ยมคารวะ ตามปกติกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นหน้าที่ของอธิบดีกรมพิธีการทูตจะดำเนินการตระเตรียมให้หัวหน้าคณะ ผู้แทนทางการทูตได้เข้ายื่นสารตราตั้งต่อไประหว่างนั้น หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตจะต้องไม่ไปพบเยี่ยมผู้ใดเป็นทางการ จนกว่าจะได้ยื่นสารตราตั้งเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ดี หัวหน้าคณะผู้แทนอาจขอพบเป็นการภายในกับหัวหน้าของคณะทูตานุทูต (Dean หรือ Doyen of the Diplomatic Corps) ได้ เพื่อขอทราบพิธีการปฏิบัติในการเข้ายื่นสารตราตั้งต่อประมุขของประเทศผู้รับ เกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนา ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 13 ว่า1. พึงถือได้ว่าหัวหน้าคณะผู้แทนได้เข้ารับภารกิจหน้าที่ของตนในรัฐผู้รับ เมื่อตนได้ยื่นสารตราตั้งหรือเมื่อตนได้บอกกล่าวการมาถึงของตน พร้อมทั้งได้เสนอสำเนาที่ถูกต้องของสารตราตั้งต่อกระทรวงการต่างประเทศของ รัฐผู้รับ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกันในแนวปฏิบัติที่มีอยู่ในรัฐผู้รับ ซึ่งจะต้องใช้ในทำนองอันเป็นเอกรูป2. ลำดับของการยื่นสารตราตั้ง หรือสำเนาที่ถูกต้องของสารตราตั้ง จะได้พิจารณากำหนดตามวันและเวลาของการมาถึงของหัวหน้าคณะผู้แทน [การทูต] |
Communiqué | คำประกาศทางการหรือแถลงการณ์ทางการ ซึ่งรายงานให้ทราบผลของการประชุม หรือการเจรจาเป็นทางการระหว่างเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ในรัฐบาล เช่น ประมุขของรัฐ หัวหน้ารัฐบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ เอกอัครราชทูต หรือบุคคลอื่นในระดับนั้น คำแถลงการณ์ที่เรียกว่า Communiqué นี้ไม่มีรูปแบบโดยเฉพาะแต่อย่างใด โดยปกติอะไรที่ได้ตกลงกันไว้ในการเจรจาจะบรรจุไว้ด้วยถ้อยคำกว้างๆ ส่วนอะไรที่มิได้ระบุไว้ในแถลงการณ์มักจะมีความสำคัญยิ่งกว่าถ้อยคำที่เขียน ไว้เสียด้วย [การทูต] |
Conciliation | การไกล่เกลี่ย คือ กระบวนการของการส่งเรื่องกรณีพิพาทไปให้คณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยบุคคลผู้ได้รับมอบอำนาจเป็นทางการ เพื่อทำหน้าที่พิจารณาข้อเท็จจริง แล้วเสนอรายงาน ซึ่งประกอบด้วยข้อเสนอแนะในอันที่จะระงับกรณีพิพาทนั้น อย่างไรก็ดี ข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการนี้ไม่มีผลบังคับแก่คู่พิพาทแต่อย่างใด ไม่เหมือนกับคำวินิจฉัยในการตัดสินชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ (Arbitration) [การทูต] |
Council for Security and Cooperation in the Asia-Pacific | ชมรมด้านความมั่นคงและความร่วมมือในเอเชียแปซิฟิก เป็นสถาบันเอกชนก่อตั้งขึ้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2536 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยมีสถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ (Institute of Security and International Studies : ISIS) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันก่อตั้งร่วมกับสถาบันอื่น ๆ จากประเทศอาเซียนและประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก CSCAP เป็นกลไกที่ไม่ใช่เป็นทางการ เพื่อให้นักวิชาการ เจ้าหน้าที่รัฐบาลในฐานะส่วนตัวและบุคคลอื่นได้อภิปรายปัญหาทางการเมืองและ ความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก [การทูต] |
dark suit | ชุดสากลสีเข้ม (สีดำหรือสีน้ำเงินเข้ม) " ใช้ในโอกาสไปร่วมงานทางการ เช่น งานเลี้ยงอย่างเป็นทางการ การ เข้าพบบุคคลสำคัญ การไปร่วมงานสำคัญทางการที่มิได้มีการระบุใน บัตรเชิญหรือกำหนดการให้เป็นการแต่งกายแบบอื่น " [การทูต] |
Diplomatic Language | ภาษาการทูต ในสมัยโบราณจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 รัฐทั้งหลายในสมัยนั้นได้นิยมใช้ภาษาละตินเป็นภาษาการทูตและก็เป็นภาษาเดียว ที่ใช้กันในยุโรปภาคกลางและภาคตะวันตก ต่อมาในราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ได้ใช้ภาษาฝรั่งเศสแทนภาษาละตินเป็นภาษาการทูต และใช้กันตลอดมาจนถึงสมัยสงครามโลกครั้งแรก หลังจากเสร็จสงครามโลกครั้งแรกจนถึงสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐต่างๆ เริ่มนิยมใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้น และใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้ แต่ก็ยังไม่มีการรับรองเป็นทางการกันว่าให้ใช้ภาษาใดเป็นภาษาทางการทูตใน องค์กรทั้งหมดของสหประชาชาติยกเว้นศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ใช้ 5 ภาษาเป็นภาษาราชการ คือ ภาษาจีน รัสเซีย สเปน อังกฤษ และฝรั่งเศส ดังนั้น ในการประชุมใด ๆ ณ องค์การสหประชาชาติ หากมีการแถลงเป็นภาษาหนึ่ง ก็จะมีการแปลเป็นอีก 4 ภาษาเกือบพร้อมกันในทันที (Simultaneous Translation) สำหรับศาลยุติธรรมระหว่างประเทศนั้น ภาษาที่ใช้เป็นภาษาราชการคือ ภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส เพียงสองภาษา [การทูต] |
Excellency | เป็นคำแสดงตำแหน่งที่ใช้เรียกตัวเอกอัครราชทูต ทั้งโดยวาจาและโดยลายลักษณ์อักษร เป็นคำที่เริ่มใช้กันตั้งแต่สมัยทำสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย (Treaty of Westphalia) เมื่อ ค.ศ. 1648 และได้นำมาใช้ทั่วทวีปยุโรปหลังจากการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนา (ค.ศ. 1815) แต่ถ้าบังเอิญเอกอัครราชทูตของประเทศหนึ่งใดเป็นบุคคลเชื้อพระวงศ์ แทนที่จะเรียกเอกอัครราชทูตผู้นั้นด้วยคำว่า Excellency ก็ให้เรียกด้วยคำว่า ?Royal Highness? แทนแต่เดิมคำ ?Excellency? ซึ่งเป็นคำเติมหน้าชื่อแสดงตำแหน่งนี้ใช้เรียกเฉพาะตัวเอกอัครราชทูตเท่า นั้น แต่ในทางปฏิบัติ ทุกวันนี้ได้นิยมใช้เรียกตัวอัครราชทูต (Ministers) เช่นกัน ส่วนภริยาของเอกอัครราชทูตนั้นก็ได้รับการยกย่องโดยใช้คำ Excellency ด้วย แต่สำหรับเอกอัครราชทูตที่เป็นสตรี สามีของเธอจะไม่ได้รับเรียกเช่นนั้น นอกจากนั้น คำแสดงตำแหน่งนี้ยังใช้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และมีหลายประเทศได้นำไปใช้เรียกประมุขของรัฐบาลหรือรัฐมนตรีด้วย แต่การปฏิบัติดังนี้ย่อมแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ส่วนเลขาธิการสหประชาชาตินั้น ใช้เรียกกันเป็นทางการว่า Excellency และสำหรับกรณีที่ไม่เป็นทางการก็เรียกว่า Mr. Secretary-General [การทูต] |
Forum for East Asia - Latin America Cooperation | เวทีความร่วมมือระหว่างเอเชียตะวันออกและลาตินอเม ริกา สมาชิก 32 ประเทศ จากภูมิภาคเอเชียและลาตินอเมริกา โดยมีสมาชิก จากฝ่ายเอเชีย 15 ประเทศ คือ กลุ่ม ASEAN (10 ประเทศ) จีน สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ และจากฝ่ายลาตินอเมริกา 17 ประเทศ ได้แก่ เม็กซิโก กัวเตมาลา เอลซัลวาดอร์ คอสตาริกา นิการากัว คิวบา ปานามา เปรู โคลอมเบีย เวเนซุเอลา บราซิล โบลิเวีย เอกวาดอร์ ปารากวัย อุรุกวัย อาร์เจนตินา และชิลี วัตถุประสงค์ จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2542 มีการประชุมระดับรัฐมนตรีต่าง -ประเทศทุก 2 ปี ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ปีละ 2 ครั้ง และคณะทำงาน 3 คณะ ปีละ 2 ครั้ง (คณะทำงานด้านการเมือง วัฒนธรรม และการศึกษา / ด้านเศรษฐกิจและสังคม / และด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นเวทีปรึกษาหารือและร่วมมือกันอย่างไม่เป็นทางการระหว่างประเทศเอเชียและ ลาตินอเมริกา โดยมีเป้าหมายไปที่การดำเนินโครงการความร่วมมือในทุกสาขาที่ประเทศสมาชิกมี ความสนใจร่วมกัน [การทูต] |
Final Act | กรรมสารสุดท้าย คือคำแถลงหรือคำสรุปอย่างเป็นทางการจากเรื่องราวการ ประชุม คำแถลงนี้จะระบุสนธิสัญญาและอนุสัญญาที่ได้มีการลงนามกันอันเป็นผลจากการ ประชุม และในบางกรณีจะผนวกความเห็นหรือข้อเสนอแนะหรือความปรารถนาจากที่ประชุมไว้ ด้วย ผู้แทนที่มีอำนาจเต็มเท่านั้นจะเป็นผู้ลงนามในกรรมสารสุดท้าย ในตอนสุดท้ายของการประชุม [การทูต] |
Hanoi Plan of Action | แผนปฏิบัติการฮานอย เป็นแผนงานระยะ 6 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2542-2547 ซึ่งที่ประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 2 ที่กรุงฮานอย เมื่อเดือนธันวาคม 2541 ได้ให้ความเห็นชอบเพื่อใช้เป็นแผนงานฉบับแรกของอาเซียนสำหรับการสร้างเสริม ความร่วมมือของอาเซียนในด้านต่าง ๆ ซึ่งจะนำไปสู่วิสัยทัศน์อาเซียนปี พ.ศ. 2563 [การทูต] |
International Conferences | คือการประชุมระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการระหว่าง ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็มจากหลาย ๆ ประเทศ เพื่อพิจารณาหาทางระงับปัญหาระหว่างประเทศ การประชุมเช่นนี้บางทีเรียกว่า คองเกรสระหว่างประเทศ แม้จะเรียกต่างกัน แต่ก็ไม่มีอะไรแตกต่างกันที่สำคัญระหว่างสองคำนี้ บ้างมีความเห็นว่า ใช้คำคองเกรส ดูจะมีความสำคัญและมีลักษณะเป็นทางการมากกว่าใช้คำ คอนเฟอเรนซ์ผู้แทนจากประเทศที่ร่วมการประชุมในบางโอกาส ได้แก่บุคคลในระดับนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือเอกอัครราชทูต แล้วแต่ว่าการประชุมนั้น ๆ มีความสำคัญระดับใดในการประชุมระหว่างประเทศ แต่เดิมใช้ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสกันมากทั้งสองภาษา มาในภายหลังมักนิยมใช้ภาษาอังกฤษเกือบทั้งหมด ส่วนการประชุมระหว่างประเทศที่องค์การสหประชาชาติเป็นผู้จัด จะใช้ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน รัสเซีย และจีน รวม 5 ภาษาตามปกติ มักจะเลือกหัวหน้าคณะผู้แทนของประเทศเจ้าภาพให้ทำหน้าที่ประธานการประชุม ส่วนเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ของการประชุม ได้แก่ รองประธาน เลขานุการของการประชุม ประธานกรรมการ และผู้บันทึกรายงานสำหรับรายงานการประชุม ข้อมติของที่ประชุมและข้อเสนอแนะนั้น จะรวมเข้าไว้ในเอกสารที่เรียกว่า กรรมสารสุดท้าย (Final Act) ซึ่งผู้แทนประเทศผู้มีอำนาจเต็มจะเป็นผู้ลงนามในเอกสารนั้นในการประชุมครั้ง สุดท้าย [การทูต] |
International Court of Justice | ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า ศาลโลก ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1945 ตามกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ กฎข้อบังคับ (Statute) ของศาลโลกนั้นได้ผนวกอยู่ท้ายกฎบัตรของสหประชาชาติ และถือเป็นส่วนสำคัญอย่างแยกจากกันมิได้ของกฎบัตร ศาลนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ถือเป็นองค์กรแห่งศาลหรือแห่งตุลาการสำคัญที่สุดขององค์การสหประชาชาติ ประเทศใดที่เข้าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลก ย่อมมีสิทธิที่จะส่งคดีใดก็ตามไปให้ศาลโลกพิจารณาได้ ภายใต้เงื่อนไขที่คณะมนตรีความมั่นคงได้จัดวางไว้ นอกจากนั้น คณะมนตรีความมั่นคงก็อาจจะส่งกรณีพิพาททางกฎหมายไปให้ศาลพิจารณาได้ทั้ง สมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงสามารถขอคำปรึกษาหรือความเห็นจากศาลเกี่ยวกับ ปัญหาข้อกฎหมายใดๆ และองค์กรอื่น ๆ ของสหประชาชาติ อันรวมถึงองค์การชำนัญพิเศษ ก็สามารถขอคำปรึกษา หรือความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางกฎหมายใดๆ ที่อยู่ภายในกรอบของงานที่ปฏิบัติอยู่ แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติเห็นชอบจากสมัชชาสหประชาชาติก่อน สมัชชาเคยมอบอำนาจเช่นนี้แก่คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะมนตรีภาวะทรัสตี คณะกรรมาธิการระหว่างกาล (Interim Committee) ของสมัชชา รวมทั้งองค์กรระหว่างรัฐบาลบางแห่งด้วยรัฐทั้งหมดที่เป็นสมาชิกของสหประชา ชาติถือว่าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกไปในตัว ส่วนประเทศใดที่มิใช่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ก็อาจเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกได้ ตามเงื่อนไขที่สมัชชาสหประชาชาติเป็นผู้กำหนดเป็นราย ๆ ไป ตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง ศาลโลกมีอำนาจที่จะพิจารณาปัญหาทั้งหลายที่รัฐสมาชิกขอให้พิจารณา รวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ทั้งหลายที่ระบุอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติ และตามสนธิสัญญาหรืออนุสัญญาที่ใช้บังคับอยู่ รัฐสมาชิกย่อมยอมผูกพันตนล่วงหน้าได้ที่จะยอมรับอำนาจศาลในกรณีพิเศษต่าง ๆ โดยจะต้องลงนามในสนธิสัญญา หรืออนุสัญญาซึ่งยอมให้ส่งเรื่องไปที่ศาลได้ หรือออกประกาศเป็นพิเศษว่าจะปฏิบัติเช่นนั้น ในคำประกาศเช่นนั้นจะต้องระบุว่ายอมรับอำนาจบังคับของศาลโลก และอาจจะยกเว้นคดีบางประเภทมิให้อยู่ในอำนาจของศาลได้ ในการวินิจฉัยลงมติ ศาลโลกจะอาศัยแหล่งที่มาของกฎหมายต่าง ๆ ดังนี้ คือ- สัญญาหรืออนุสัญญาระห่างประเทศซึ่งวางกฎข้อบังคับที่รัฐคู่กรณียอมรับ- ขนบธรรมเนียมระหว่างประเทศซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นหลักปฏิบัติทั่วไปตามที่ กฎหมายรับรองศาลโลกอาจจะตัดสินชี้ขาดว่าสิ่งใดยุติธรรมและดี โดยรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องตกลงเห็นชอบด้วยคณะมนตรีความมั่นคงอาจจะรับการขอ ร้องจากรัฐภาคีหนึ่งใดในกรณีพิพาท ให้กำหนดมาตรการที่จะใช้เพื่อให้คำตัดสินของศาลมีผลบังคับ ถ้าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมปฏิบัติตามข้อผูกพันภายใต้อำนาจศาลศาลโลก ประกอบด้วยผู้พิพากษารวม 15 ท่าน ซึ่งถือกันว่าเป็น ?สมาชิก? ของศาล และได้รับเลือกตั้งจากสมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ผู้พิพากษาเหล่านี้จะมีอำนาจออกเสียงลงคะแนนอย่างอิสระเสรีหลักเกณฑ์การคัด เลือกผู้พิพากษาศาลโลกจะถือตามคุณสมบัติขอผู้พิพากษานั้น ๆ มิใช่ถือตามสัญชาติของบุคคลดังกล่าว อย่างไรก็ดี จะมีการระมัดระวังด้วยว่า กฎหมายที่นำมาใช้ในศาลจะต้องมาจากระบบกฎหมายที่สำคัญ ๆ ของโลก ในศาลโลกจะมีผู้พิพากษาที่เป็นชาติเดียวกันมากกว่าหนึ่งคนไม่ได้ ผู้พิพากษาทั้งหลายจะมีสิทธิ์ดำรงอยู่ในตำแหน่งได้ เป็นเวลา 9 ปี มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งซ้ำได้ และระหว่างที่ดำรงอยู่ในตำแหน่ง จะต้องไม่ประกอบอาชีพการงานอื่นใดทั้งสิ้น [การทูต] |
Legation | คือสถานที่ทำงานทางการทูตชั้นสอง ต่างกับคำว่า Embassy ซึ่งถือว่าเป็นที่ทำงานของทูตชั้นหนึ่ง หัวหน้า Legation (สถานอัครราชทูต) มีตำแหน่งเป็นทางการเรียกว่า Envoy Extraordinary and Minister Plenipotentiary ในปัจจุบันไม่มีประเทศใดตั้งสถานที่ทำงานทางการทูตชั้นสองกันแล้ว [การทูต] |
lounge suit | ชุดสากล ใช้ในโอกาสที่ไม่เป็นทางการทั่วไป เช่น การพบปะสังสรรค์ งานเลี้ยงที่ไม่เป็นทางการ [การทูต] |
Minister-in-Attendance | รัฐมนตรีเกียรติยศที่จัดให้ประจำบุคคลสำคัญระดับหัวหน้ารัฐบาลขึ้นไปที่มา เยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาล [การทูต] |
Official Development Assistance | ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ " เป็นความช่วยเหลือของภาครัฐบาลที่ประเทศพัฒนาแล้วให้กับประเทศกำลังพัฒนา เพื่อการปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจ มาตรฐานความ เป็นอยู่ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสถาบันต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาประกอบด้วยความช่วยเหลือ 3 ด้านหลัก คือ ความช่วยเหลือให้เปล่า ความร่วมมือทางวิชาการ และเงินกู้ " [การทูต] |
Order of Precedence | หมายถึง ลำดับอาวุโสทางการทูต โดยถือยศหรือตำแหน่งเป็นบรรทัดฐาน โดยเฉพาะในโอกาสที่ไปร่วมพิธีต่าง ๆ ตลอดจนการเลี้ยงอาหารอย่างเป็นทางการ นักการทูตทั่วโลกต่างถือลำดับอาวุโสเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิถีพิถันกันไม่ น้อย เพราะในฐานะที่เป็นตัวแทนของประเทศ หากมีการจัดลำดับอาวุโสไม่ถูกต้อง เขาผู้นั้นซึ่งคำนึงถึงศักดิ์ศรีในฐานะตัวแทนของประเทศย่อมต้องรู้สึกว่า นอกจากจะไม่ได้รับความถูกต้องแล้ว ยังเป็นการดูแคลนประเทศของตนด้วยในสมัยก่อน ผู้ที่ทำหน้าที่ชี้ขาดในเรื่องลำดับอาวุโสของบรรดาประมุขของรัฐทั้งหลาย คือสมเด็จพระสันตะปาปา ต่อมาในการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนาเมื่อปี ค.ศ. 1815 ที่ประชุมได้ตกลงกันให้ถือวันที่เดินทางมาถึงประเทศผู้รับ และได้แจ้งให้ทราบเป็นทางการว่าเป็นเรื่องลำดับอาวุโส ผู้ที่มาถึงก่อนย่อมมีอาวุโสกว่าผู้ทีมาทีหลัง อย่างไรก็ดี มาในทุกวันนี้มีหลายประเทศถือหลักว่า ผู้แทนทางการทูตที่ยื่นสารตราตั้งก่อนจะมีอาวุโสกว่าผู้ยื่นสารตราตั้งที หลัง และในกรณีที่เกิดความเห็นไม่ลงรอยกันระหว่างบุคคลในคณะทูตเรื่องลำดับอาวุโส ประเทศเจ้าภาพหรือประเทศผู้รับจะเป็นผู้ตัดสินชี้ขาดอนุสัญญากรุงเวียนนาว่า ด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติเกี่ยวกับลำดับอาวุโสของผู้แทนทางการ ทูตไว้ดังนี้ ?ข้อ 16 1. ให้หัวหน้าคณะผู้แทนมีลำดับอาวุโสในแต่ละชั้นของตนตามลำดับวันและเวลาที่ เข้ารับการหน้าที่ของตนในรัฐผู้รับ เมื่อตนได้ยื่นสารตราตั้ง หรือเมื่อได้บอกกล่าวการมาถึงของตนและได้เสนอสำเนาที่ถูกต้องของสารตราตั้ง ต่อกระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงตามแนวปฏิบัติที่มีอยู่ในรัฐผู้รับ ซึ่งจะต้องใช้ในทำนองอันเป็นเอกรูป 2. การเปลี่ยนแปลงในสารตราตั้งของหัวหน้าคณะผู้แทน ซึ่งไม่เกี่ยวพันกับการเปลี่ยนแปลงชั้นใด ๆ จะไม่กระทบกระเทือนลำดับอาวุโสของหัวหน้าคณะผู้แทน 3. ข้อนี้ไม่เป็นที่เสื่อมเสียแก่ทางปฏิบัติใด ซึ่งมีอยู่ในรัฐผู้รับ ในเรื่องลำดับอาวุโสของผู้แทนของโฮลี่ซี ข้อ 17 ลำดับอาวุโสของสมาชิกคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายทูตของคณะผู้แทนนั้น ให้หัวหน้าคณะผู้แทนเป็นผู้บอกกล่าวแก่กระทรวงการต่างประเทศ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกัน? [การทูต] |
Parliamentary Diplomacy | การทูตแบบรัฐสภา หรือบางครั้งเรียกว่า Organization Diplomacy เช่น การทูตในองค์การสหประชาชาติ การทูตแบบนี้ต่างกับการทูตตามปกติที่ดำเนินกันในนครหลวงของประเทศ กล่าวคือ1. นักการทูตมีโอกาสติดต่อโดยใกล้ชิดกับสื่อมวลชนและกับนัการทูตด้วยกันจาก ประเทศอื่น ๆ รวมทั้งจากประเทศที่ไม่เป็นมิตรภายในองค์การสหประชาติ มากกว่าในนครหลวงของประเทศ แต่มีโอกาสน้อยกว่าที่จะติดต่อกับคนชาติของตนอย่างใกล้ชิด2. การพบปะติดต่อกับบรรดานักการทูตด้วยกันในองค์การสหประชาชาติ จะเป็นไปอย่างเป็นกันเองมากกว่าในนครหลวงของประเทศ3. ในองค์การสหประชาติ ประเทศเล็ก ๆ สามารถมีอิทธิพลในการเจรจากับประเทศใหญ่ ๆ ได้มากกว่าในนครของตน เพราะตามปกติ นักการทูตในนครหลวงมักจะติดต่ออย่างเป็นทางการกับนักการทูตในระดับเดียวกัน เท่านั้น แต่ข้อนี้มิได้ปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดนักในสหประชาชาติ ในแง่การปรึกษาหารือกันระหว่างกลุ่ม ในสมัยก่อนที่สงครามเย็นจะสิ้นสุดในสหประชาชาติได้แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม (Blocs) ด้วยกัน คือกลุ่มเอเชียอัฟริกา กลุ่มเครือจักรภพ (Commonwealth) กลุ่มคอมมิวนิสต์ กลุ่มละตินอเมริกัน กลุ่มยุโรปตะวันตก กลุ่มสแกนดิเนเวีย และกลุ่มอื่น ๆ ได้แก่ ประเทศที่มิได้ผูกพันเป็นทางการกับกลุ่มใด ๆ ที่กล่าวมา อนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับสงครามเย็น สมาชิกประเทศในสหประชาชาติจะรวมกลุ่มกันตามแนวนี้ คือ ประเทศนิยมฝักใฝ่กับประเทศฝ่ายตะวันตก (Pro-West members) ประเทศที่นิยมค่ายประเทศคอมมิวนิสต์ (Pro-Communist members) และประเทศที่ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายใด (Non-aligned members)เกี่ยวกับเรื่องการทูตในการประชุมสหประชาชาติ ในสมัยสงครามเย็น นักการทูตชั้นนำของอินเดียผู้หนึ่งให้ข้อวิจารณ์ว่า ไม่ว่าจะเป็นการประชุมพิจารณากัน การทะเลาะเบาะแว้งด้วยคำผรุสวาทหรือการแถลงโผงผางต่อกันนั้น ล้วนเป็นลักษณะที่ตรงกันข้ามกับลักษณะวิสัยของการทูตทั้งสิ้น ดังนั้น สิ่งที่เป็นไปในการประชุมสหประชาชาติ จึงแทบจะเรียกไม่ได้เลยว่าเป็นการทูต เพราะการทูตที่แท้จริงจะกระทำกันด้วยอารมณ์สงบ ใช้ความสุขุมคัมภีรภาพ ปราศจากกามุ่งโฆษณาตนแต่อย่างใด การแสดงต่าง ๆ เช่น สุนทรพจน์และภาพยนตร์นั้นจะต้องมีผู้ฟังหรือผู้ชม แต่สำหรับการทูตจะไม่มีผู้ฟังหรือผู้ชม (Audience) หากกล่าวเพียงสั้น ๆ ก็คือ ผู้พูดในสหประชาชาติมุ่งโฆษณาหาเสียง หรือคะแนนนิยมจากโลกภายนอก แต่ในการทูตนั้น ผู้พูดมุ่งจะให้มีการตกลงกันให้ได้ในเรื่องที่เจรจากันเป็นจุดประสงค์สำคัญ [การทูต] |
Persona non grata | เป็นศัพท์ที่ใช้กับนักการทูตหรือผู้แทนทางการทูต ที่ประจำอยู่ในประเทศซึ่งรัฐบาลของประเทศนั้นไม่ปรารถนาให้อยู่ต่อไปอีกแล้ว หลังจากที่ได้ไปประจำทำงานในตำแหน่งอยู่ในประเทศนั้น หรือก่อนหน้าที่นักการทูตผู้นั้นจะเดินทางไปถึงดินแดนของประเทศผู้รับ (Receiving State) นักการทูตที่ถูกประกาศเป็น persona non grata หรือ บุคคลที่ไม่พึงปรารถนานั้น เป็นเพราะสาเหตุดังต่อไปนี้ คือ กล่าวคำดูหมิ่นรัฐบาลของประเทศที่ตนไปประจำอยู่ ละเมิดกฎหมายของบ้านเมืองนั้น แทรกแซงในการเมืองภายในของเขา เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในประเทศของเขา ใช้ถ้อยคำก้าวร้าวต่อประเทศนั้น วิพากษ์ประมุขแห่งประเทศของเขากระทำการอันเป็นที่เสียหายต่อประโยชน์หรือต่อ ความมั่นคงของประเทศ และกระทำการอื่น ๆ ในทำนองนั้นตามปกติรัฐบาลของประเทศเจ้าภาพที่เป็นฝ่ายเสียหายจะขอร้องให้ รัฐบาลผู้ส่ง (Sending government) เรียกตัวนักการทูตผู้กระทำผิดกลับประเทศ ซึ่งตามปกติรัฐบาลผู้ส่งมักจะปฏิบัติตาม รัฐบาลของประเทศผู้เสียหายจะแจ้งให้นักการทูตผู้นั้นทราบว่า รัฐบาลจะไม่ทำการติดต่อเกี่ยวข้องเป็นทางการกับเขาอีกต่อไป หรืออาจจะบอกให้นักการทูตผู้นั้นออกไปจากประเทศโดยไม่เกรงใจแต่อย่างใดก็ได้ เกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 9 ดังต่อไปนี้ ?1. รัฐผู้รับอาจบอกกล่าวแก่รัฐผู้ส่งในเวลาใดก็ได้ และโดยมิต้องชี้แจงถึงการวินิจฉัยของตนว่า หัวหน้าคณะผู้แทนหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ไม่พึงโปรด หรือว่าบุคคลอื่นใดในคณะเจ้าหน้าที่ของคณะผู้แทนเป็นที่ไม่พึงยอมรับได้ ในกรณีใดเช่นว่านี้ ให้รัฐผู้ส่งเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นกลับ หรือเลิกการหน้าที่ของผู้นั้นกับคณะผู้แทนเสียก็ได้ตามที่เหมาะสมบุคคลอาจจะ ถูกประกาศให้เป็นผู้ไม่พึงโปรด หรือไม่พึงยอกรับได้ก่อนที่จะมาถึงอาณาเขตของรัฐผู้รับก็ได้ 2. ถ้ารัฐผู้ส่งปฏิเสธ หรือไม่นำพาภายในระยะเวลาอันสมควร ที่จะปฏิบัติตามข้อผูกพันของคนภายใต้วรรค 1 ของข้อนี้ รัฐผู้รับสามารถปฏิเสธที่จะยอมรับนับถือบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นว่าเป็นบุคคล ในคณะผู้แทนก็ได้? [การทูต] |
Regional Operate Center | ศูนย์ปฏิบัติการร่วม กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ROC เป็นโครงการนำร่อง ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศกระทรวงมหาดไทย สำนักงาน ก.พ.ร. และ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ร่วมกันจัดตั้งขึ้น เปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2549 เพื่อพัฒนาการทำงานร่วมกันระหว่างเอกอัครราชทูตในประเทศเพื่อนบ้านกับผู้ว่า ราชการจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยทำหน้าที่ประสานเชื่อมโยงการทำงานระหว่างเอกอัครราชทูตกับผู้ว่าราชการ จังหวัด เพื่อบูรณาการยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ให้สอดคล้องกับนโยบายต่างประเทศ รวมทั้งให้บริการข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านและจังหวัดในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรและงานวิจัยในท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนนโยบายต่างประเทศ [การทูต] |
South Asian Association for Regional Cooperation | สมาคมความร่วมมือแห่งภูมิภาคเอเชียใต้ จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนธันวาคม 2528 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและวิชาการระหว่างกัน โดยมีสมาชิกประกอบด้วยประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ 7 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย ปากีสถาน เนปาล ศรีลังกา ภูฏาน บังกลาเทศ และมัลดีฟส์ [การทูต] |
sanction | การคว่ำบาตร (ในกรอบสหประชาชาติ) " หมายถึง มาตรการลงโทษที่คณะมนตรีความมั่นคง ใช้ต่อประเทศสมาชิกที่มีการกระทำที่ละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติ รวมทั้งเป็นภัยต่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศโดยการจำกัด หรือห้ามประเทศสมาชิกอื่น ๆ ติดต่อในด้านต่าง ๆ (เช่น ด้านการค้า การคมนาคมขนส่ง) อย่างเป็นทางการกับประเทศนั้น ๆ เพื่อบีบบังคับให้มีการปฏิบัติตามข้อมติของคณะมนตรีความมั่นคง มาตรการห้ามการ ติดต่อเหล่านี้ บางครั้งเรียกว่า ปิดล้อม (embargo) เช่น ปิดล้อมด้านอาวุธ ปิดล้อมด้านการค้า เป็นต้น " [การทูต] |
suite of honour | คณะผู้ติดตามเกียรติยศ - สำหรับการเยือนอย่างเป็นทางการระดับประมุขของรัฐ จะประกอบด้วย ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ประมุขของรัฐจัดให้มาประจำประมุขของรัฐผู้มาเยือน - สำหรับการเยือนอย่างเป็นทางการระดับหัวหน้ารัฐบาล จะประกอบด้วย รัฐมนตรีเกียรติยศ เอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศผู้มาเยือน อธิบดีกรมพิธีการทูต พร้อมทั้งนายทหารเกียรติยศ ในกรณีที่ผู้มาเยือนมีคู่สมรส ก็จะเพิ่มคู่สมรสของคณะผู้ติดตามเกียรติยศ และนายตำรวจหญิงประจำ ตลอดการเยือน [การทูต] |
State Banquet | งานเลี้ยงอาหารค่ำที่ประมุขของรัฐผู้รับจัดขึ้นอย่างเป็นทางการ เพื่อเป็นเกียรติแก่ประมุขของรัฐผู้มาเยือน สำหรับงานเลี้ยงอาหารค่ำซึ่งประมุขของรัฐผู้มาเยือนอย่างเป็นทางการ จัดขึ้นเพื่อเป็นการตอบแทนแก่ประมุขของรัฐผู้รับ เรียกว่า Return Banquet [การทูต] |
The Great Wonders of Suwannabhumi | โครงการสิ่งมหัศจรรย์แห่งสุวรรณภูมิ หมายถึง โครงการพัฒนาการท่องเที่ยวระหว่างกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคที่นับถือศาสนาพุทธ อันประกอบด้วย ไทย ลาว กัมพูชา และพม่า โดยร่วมกันจัดรายการนำเที่ยวในโบราณสถานที่สำคัญต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของ 4 ประเทศ ได้แก่ วัดพระศรีรัตนศาสดารามในกรุงเทพฯ นครวัดในกัมพูชา โบราณสถานในพุกาม/มัณฑะเลย์ในพม่า และแขวงหลวงพระบางในลาว เพื่อที่จะดึงดูดชาวต่างชาติให้มาสนใจในดินแดนแห่งนี้ และนำมาซึ่งการพัฒนาสถานที่ดังกล่าว รวมทั้งยังจะเป็นการเชื่อมโยงการเดินทางระหว่าง 4 ประเทศอย่างสมบูรณ์ โครงการนี้เสนอโดย ฯพณฯ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลาว กัมพูชา และพม่า เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2542 ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 3 ที่กรุงมะนิลา [การทูต] |
To Remind | เป็นคำที่ระบุในบัตรเชิญเข้าร่วมงานต่าง ๆ ในกรณีที่ การเชิญนั้นผู้ได้รับเชิญได้ตอบรับการเชิญอย่างไม่เป็นทางการแล้ว การส่งบัตรเชิญโดยระบุคำว่า "To Remind" เป็นการส่งมาเตือนอีกครั้งหนึ่ง [การทูต] |
visit | การเยือน " - State Visit การเยือนอย่างเป็นทางการในระดับประมุขของรัฐ หมายถึง การเยือนของบุคคลสำคัญของต่างประเทศในระดับประมุขของรัฐ ที่มีสถานะเป็นกษัตริย์หรือประธานาธิบดี โดยเป็นการเยือนอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐผู้รับ รัฐผู้รับจะจัดพิธีการต้อนรับอย่างเป็นทางการเต็มรูปแบบ - Official Visit การเยือนอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของ รัฐบาล หมายถึง การเยือนเป็นทางการของประมุขของรัฐ มกุฎราชกุมาร หัวหน้ารัฐบาล หรือหัวหน้าองค์การระหว่างประเทศที่มีตำแหน่ง เทียบเท่า โดยเป็นแขกรับเชิญของรัฐบาล และจัดพิธีการรับรองต่าง ๆ อย่างเป็นทางการเต็มรูปแบบ - Visit as Guest of the Royal Thai Government การเยือนในฐานะแขกของรัฐบาล หมายถึง การเยือนของประมุขของรัฐ หัวหน้ารัฐบาลและหัวหน้า องค์การระหว่างประเทศที่มีตำแหน่งเทียบเท่าซึ่งไม่ได้เดินทางมาเยือนอย่าง เป็นทางการหรือเพื่อเจรจาทำงาน รวมทั้งการเสด็จฯ เยือนของพระราชวงศ์ รองประธานาธิบดีและบุคคลสำคัญอื่น ๆ ที่มีตำแหน่งเทียบเท่า ซึ่งรัฐบาลไทยปรารถนาที่จะแสดงไมตรีจิตโดยเชิญให้มาเยือนประเทศไทยในฐานะแขก ของรัฐบาล และจัดการต้อนรับให้ เหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการเยือนในแต่ละกรณี - Working Visit การเยือนเพื่อเจรจาทำงาน หมายถึง การเยือนของบุคคลสำคัญจากต่างประเทศในระดับประมุขของรัฐ หัวหน้ารัฐบาล และหัวหน้าองค์การระหว่างประเทศที่มีตำแหน่งเทียบเท่าที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อ เจรจาในปัญหาหรือประเด็นใดเป็นการเฉพาะในระยะเวลาอันสั้น - Visit as Guest of Their Majesties the King and Queen of Thailand การเยือนในฐานะพระราชอาคันตุกะส่วนพระองค์ หมายถึง การเสด็จเยือนของพระราชวงศ์ต่างประเทศ หรือการเยือนของบุคคลสำคัญจากต่างประเทศ ในฐานะพระราชอาคันตุกะส่วน พระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ - Private Visit การเยือนส่วนตัวหรือแวะผ่าน หมายถึง การเยือนของบุคคลสำคัญจากต่างประเทศในระดับประมุขของรัฐ พระราชวงศ์ หัวหน้ารัฐบาล หรือผู้นำองค์การระหว่างประเทศที่มีตำแหน่งเทียบเท่า และบุคคลสำคัญอื่น ๆ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเยือนเป็นการส่วนตัวหรือการแวะผ่านประเทศในระยะเวลา อันสั้น รัฐผู้รับจะจัดการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้ตามความเหมาะสม " [การทูต] |
white tie | ชุดราตรีสโมสร " เสื้อสูทหางยาวสีดำ กางเกงสีดำมีผ้าผูกคอหูกระต่าย (bow-tie) สีขาว เสื้อเชิ้ตสีขาว แถบดิ้นไหมสีดำ ใช้ในโอกาสงานกลางคืนที่จัดอย่างเป็นทางการ (งานราตรีสโมสร-formal evening entertainments) เช่น งานพระราชทานเลี้ยงกระยาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่ประธานาธิบดี ซึ่งมาเยือนไทยอย่างเป็นทางการ งานแสดงอุปรากร งานเต้นรำ " [การทูต] |
Education, Formal or Nonformal | ความรู้ความเข้าใจไม่ว่าทางการหรือไม่เป็นทางการ [การแพทย์] |
Evaluation, Informal | การประเมินแบบไม่เป็นทางการ [การแพทย์] |
Formal And Informal Channels | การให้การศึกษาอย่างเป็นทางการและอย่างไม่เป็นทาง [การแพทย์] |
abjure | (vt) บอกเลิกอย่างเป็นทางการ, See also: สละ, Syn. repudiate, abrogate |
ace | (n) ตัวเอก (คำไม่เป็นทางการ), See also: ผู้ที่มีความสามารถมาก |
acoustic | (n) เครื่องดนตรีซึ่งไม่ได้ผ่านการขยายเสียง (ไม่เป็นทางการ) |
act | (n) บันทึกที่เป็นทางการ |
act | (n) พฤติกรรมส่วนตัว (คำไม่เป็นทางการ), See also: ลักษณะนิสัย |
adore | (vt) ชอบมาก (คำไม่เป็นทางการ) |
advice | (n) ข้อมูลอย่างเป็นทางการ, See also: ข่าวสารอย่างเป็นทางการ |
afternoon | (int) สวัสดีตอนบ่าย (คำไม่เป็นทางการ) |
agent | (n) สายลับ (คำไม่เป็นทางการ) |
alibi | (n) ข้อแก้ตัว (ไม่เป็นทางการ) |
all | (adj) มาก (คำไม่เป็นทางการ), See also: อย่างยิ่ง |
allergic | (adj) ไม่ชอบ (ไม่เป็นทางการ), See also: ไม่พอใจ |
alright | (adv) ดี (คำที่ไม่เป็นทางการ), See also: น่าพอใจ, Syn. all right |
anatomy | (n) ร่างกายมนุษย ์(คำไม่เป็นทางการ) |
antenna | (n) ความอยากรู้อยากเห็น(ไม่เป็นทางการ) |
ape | (n) คนที่งุ่มง่าม (คำไม่เป็นทางการ) |
ape | (n) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตระกูลมนุษย์และลิง (คำไม่เป็นทางการ) |
appear | (vi) ปรากฏตัวอย่างเป็นทางการในศาล |
arrive | (vi) ประสบความสำเร็จ (ไม่เป็นทางการ), See also: ถึง, Syn. achieve success, grow famous |
auto | (n) รถ (คำไม่เป็นทางการ), Syn. automobile, car, vehicle |
act up | (phrv) มีอาการมากขึ้น (คำไม่เป็นทางการ), See also: เจ็บมากขึ้น, ปวดยิ่งขึ้น, Syn. play up |
add up | (phrv) น่าเชื่อถือ (คำไม่เป็นทางการ), See also: น่าจะเป็นจริง, สมเหตุสมผล |
alive and kicking | (idm) แข็งแรงดี (คำไม่เป็นทางการ), See also: แข็งแกร่ง |
all in | (idm) เหน็ดเหนื่อย (คำไม่เป็นทางการ), See also: อ่อนล้า, หมดแรง |
all over bar the shouting | (idm) จบสิ้นอย่างไม่เป็นทางการ |
and the like | (idm) สิ่งอื่นที่คล้ายกัน (คำไม่เป็นทางการ) |
and then some | (idm) มากกว่านั้น (คำไม่เป็นทางการ), See also: มากกว่าที่กล่าวมา |
ante up | (phrv) วางเงิน (คำไม่เป็นทางการ), See also: จ่ายเงิน |
as easy as falling off a log | (idm) ง่ายมาก (คำไม่เป็นทางการ) |
at a loose end | (idm) อยู่ไม่สุข (คำไม่เป็นทางการ) |
at a loose end | (idm) ว่างงาน (คำไม่เป็นทางการ) |
at any rate | (idm) ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม (คำไม่เป็นทางการ), See also: อย่างไรก็ตาม |
at home with | (idm) (รู้สึก) สุขสบาย (มักใช้คำกริยา be หรือ feel) (คำไม่เป็นทางการ) |
at sixes and sevens | (idm) ไม่เป็นระเบียบ (คำไม่เป็นทางการ), See also: เละเทะ |
babe | (n) เด็กสาวมีเสน่ห์ (คำไม่เป็นทางการ), Syn. girl, suckling, wench |
baby grand | (n) เปียโนขนาดใหญ่ (คำไม่เป็นทางการ), Syn. piano |
bach | (vi) (ผู้ชาย) ทำอาหาร&ดูแลบ้านเอง (คำไม่เป็นทางการ), See also: ใช้ชีวิตอย่างชายโสด, อยู่เป็นโสด |
backside | (n) ก้น (คำไม่เป็นทางการ), See also: บั้นท้าย, Syn. bottom, buttocks |
ball game | (n) กีฬาเบสบอล (คำไม่เป็นทางการ), Syn. baseball |
ball park | (n) สนามเบสบอล (คำไม่เป็นทางการ), Syn. stadium |
ballpark | (n) สนามเบสบอล (คำไม่เป็นทางการ) |
ballyhoo | (n) การทำเสียงเอะอะ (คำไม่เป็นทางการ), See also: การส่งเสียงอึกทึก, Syn. advertise, advertisement, propaganda |
banana skin | (n) สถานการณ์ที่ทำให้เหมือนคนโง่หรือตัวตลก (คำไม่เป็นทางการ), See also: สิ่งที่ทำให้อับอายในที่สาธารณะ |
bang-on | (adj) ถูกต้องอย่างมาก (คำไม่เป็นทางการ), See also: ถูกเผง |
bang-up (Informal) | (adj) เก่งมาก (คำไม่เป็นทางการ), See also: ดีมาก, Syn. excellent |
barf | (vi) อาเจียน (คำไม่เป็นทางการ), Syn. vomit |
barf | (vt) อาเจียน (คำไม่เป็นทางการ), Syn. vomit |
barfly | (n) ผู้ใช้เวลาดื่มเหล้าอยู่แต่ในบาร์ / ร้านเหล้า (คำไม่เป็นทางการ), Syn. soak, drinker |
barking | (adj) บ้ามากๆ (คำไม่เป็นทางการ), See also: เพี้ยนมาก |
barmy | (adj) ติ๊งต๊อง (คำไม่เป็นทางการ), See also: เพี้ยนๆ, Syn. crazy |
annalist | (แอน' นะลิสทฺ) n. ผู้บันทึกเหตุการณ์ประจำปี, บันทึกประวัติศาสตร์, หนังสือรายงานเป็นทางการของหน่วยงาน (a record of events) |
annals | (แอน' นัลซฺ) บันทึกเหตุการณ์ประจำปี, บันทึกประวัติศาสตร์, หนังสือรายงานเป็นทางการของหน่วยงาน (a record of events) |
audience | (ออ'เดียนซฺ) n. ผู้ชม, ผู้ฟัง, ผู้อ่าน, การได้ยิน, การสัมภาษณ์อย่างเป็นทางการ, การเข้าพบเป็นทางการ, Syn. congregation, assembly, public, readership |
casual | (แคส' ชวล) adj. โดยบังเอิญ, จร, ประจวบเหมาะ, ไม่แน่นอน, ตามอารมณ์, ไม่เป็นทางการ, ธรรมดา ๆ (ชุดแต่งกาย) -n. คนทำงานที่ให้มาทำงานในเวลาที่ไม่แน่นอน, Syn. haphazard |
cathedral | (คะธี'ดรัล) n. โบสถ์ใหญ่ adj. เกี่ยวกับโบสถ์ใหญ่, เกียรติคุณ, บารมี, เป็นทางการ |
ceremonious | (เซอริโม'เนียส) adj. เป็นพิธีรีตองมาก, เป็นทางการ, โอ่อ่า, คร่ำครึ, Syn. formal |
colloquium | (คะโล'เควียม) n. การประชุม หรือปรึกษาหารืออย่าง ๆ ไม่เป็นทางการ, การอภิปรายกลุ่ม |
concordat | (คอนคอร์'แดท) n. ข้อตกลงเป็นทางการ, สัญญา, สนธิสัญญาระหว่างสันตะปาปากับรัฐบาลที่เกี่ยวกับเรื่องของสงฆ์, See also: concordatory adj., Syn. concord |
exemplify | (เอคเซม'พละไฟ) { exemplified, exemplifying, exemplifies } vt. เป็นตัวอย่างอธิบาย, ทำสำเนา (ที่ได้รับการรับรองถูกต้องเป็นทางการ), See also: exemplifiable adj. exemplifier n., Syn. typify, depict |
formalise | (ฟอร์'มะไลซ) v. ทำให้เป็นระเบียบแบบแผน, ทำให้มีระเบียบ, ทำให้มีพิธี, ทำให้เป็นทางการ., See also: formalization, formalisation, formalizer, formaliser n., Syn. plan, organize |
formalize | (ฟอร์'มะไลซ) v. ทำให้เป็นระเบียบแบบแผน, ทำให้มีระเบียบ, ทำให้มีพิธี, ทำให้เป็นทางการ., See also: formalization, formalisation, formalizer, formaliser n., Syn. plan, organize |
formally | (ฟอร์'เมิลลี) adv. อย่างเป็นทางการ, ตามรูปแบบ, เป็นพิธีรีตอง |
inaugural | (อินออ' กิวเริล) adj. เกี่ยวกับการเข้ารับตำแหน่งเป็นทางการ, เกี่ยวกับการริเริ่ม, เกี่ยวกับการเปิดฉาก, เกี่ยวกับการสถาปนา, เกี่ยวกับการเปิดทำการ. -n. คำปราศรัยในการเข้ารับตำแหน่ง, พิธีเข้ารับตำแหน่ง |
inaugurate | (อินออ' กิวเรท) vt. เริ่มเป็นทางการ, เปิดฉาก, เข้ารับตำแหน่งเป็นทางการ, เปิดทำการ, See also: inauguration n. inaugurator n., Syn. install, begin, initiate |
inauguration day | วันเข้ารับตำแหน่งเป็นทางการของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา (วันที่ 20 มกราคม หลังจากได้รับเลือกตั้ง) |
informal | (อินฟอร์'เมิล) adj. ไม่มีพิธีรีตอง, ไม่เป็นทางการ, กันเอง, ไม่เคร่งครัด., See also: informally adv., Syn. unceremonious, Ant. formal |
informality | (อินฟอร์แมล'ลิที) n. การไม่มีพิธีรีตรอง, ความไม่เป็นทางการ, ความกันเอง, ความไม่เคร่งครัด, Syn. familliarity, laxity, ease |
instal | (อินสทอล') vt. ติดตั้ง, สถาปนา, ประกอบ, แต่งตั้ง, นำไปนั่ง, ทำให้เข้ารับตำแหน่งเป็นทางการ, Syn. place |
install | (อินสทอล') vt. ติดตั้ง, สถาปนา, ประกอบ, แต่งตั้ง, นำไปนั่ง, ทำให้เข้ารับตำแหน่งเป็นทางการ, Syn. place |
memorandum | (เมมมะแรน'ดัม) n. บันทึกความจำ, บันทึก, หนังสือบริคณห์สนธิ, ข้อความที่บันทึกไว้, เอกสารข้อสัญญา, จดหมายเหตุ, สารหรือหนังสือไม่เป็นทางการ (โดยเฉพาะระหว่างพนักงานบริษัท) pl. memorandums, memoranda, Syn. note, reminder |
motion | (โม'เชิน) n. การเคลื่อนที่, อำนาจการเคลื่อนที่หรือเคลื่อนไหว, วิธีการหรือท่าทางในการเดิน, กิริยาท่าทาง, ข้อเสนอเป็นทางการ, การขอร้องต่อศาล, แรงดลใจ, ความโน้มน้าว -Phr. (in motion กำลังเคลื่อนที่) vt. โบกไม้โบกมือหรือให้สัญญาณเคลื่อนที่, See also: motioner n. |
official | (อะฟิช'เชิล) n. ข้าราชการ, เจ้าพนักงาน adj. เป็นทางการ |
sanction | (แซงคฺ'เชิน) n. การลงโทษ, การอนุญาตเป็นทางการ, สิ่งที่สนับสนุนการกระทำ, บทลงโทษ, การให้สัตยาบัน. vt. ลงโทษ, อนุญาต, อนุมัติ, เห็นด้วย, ยอมให้, ให้สัตยาบัน., See also: sanctionable adj. sanctioner n. |
secede | (ซีซีด') vt. ถอนตัว (อย่างเป็นทางการจากการเป็นพันธมิตร จากองค์การ จากสมาคมหรืออื่น ๆ) , แบ่งแยกดินแดน., See also: seceder n. |
stated | (สเท'ทิด) adj. กำหนดไว้, แน่นอน, ไม่เปลี่ยนแปลง, แถลงไว้, ประกาศไว้, ยอมรับ, เป็นทางการ |
valid | (แวล'ลิด) adj. มีเหตุผล, มีมูล, มีหลักฐาน, มีผล, ให้ผลที่ต้องการ, เป็นทางการ, ใช้ได้, ฟังขึ้น, ชอบด้วยกฎหมาย, แข็งแรง, มีสุขภาพดี., See also: validly adv. validness n., Syn. cogent |
variance | (แว'ริเอินซฺ) n. การเปลี่ยนแปลง, ลักษณะที่เปลี่ยนแปลง, การผันแปร, ลักษณะที่ผันแปร, (สถิติ) จำนวนกำลังสองของคำเปลี่ยนแปลงมาตรฐาน (standard deviation) , ดีกรีของความอิสระของระบบหนึ่ง, ความแตกต่างระหว่างสองขั้นตอนทางกฎหมาย, การอนุญาตเป็นทางการให้กระทำสิ่งใดที่ต้องห้าม |
white paper | n. เอกสารทางราชการ, รายงานเป็นทางการของหน่วยงาน, กระดาษสีขาว |
'bout | (slang) คำย่อของ about ;เป็นภาษาไม่เป็นทางการมักใช้บนอินเทอร์เน็ต ( * w *m iiiita), Syn. about |
'scuse me | (slang) คำย่อของ excuse me; เป็นภาษาไม่เป็นทางการมักใช้ในการสนทนาบนอินเทอรืเน็ต ( * w *m iiiita) |
dress down | (vt) แต่งตัวสบายๆ ไม่เป็นทางการ ตรงกันข้าม กับ dress up คือแต่งตัวสวยงามเต็มที่ |
dunno | (phrase, colloq) ผมไม่รู้ (มาจากคำว่า I don't know) เป็นภาษาที่ไม่เป็นทางการอย่างมากของ British English |
enuff | (slang) เพียงพอ ;คำย่อของ enough เป็นภาษาไม่เป็นทางการมักใช้ในการสนทนาบนอินเทอร์เน็ต ( * w *m iiiita) |
folksonomy | (n) การจัดกลุ่ม หรือ แบ่งกลุ่ม อย่างไม่เป็นทางการ มีที่มาจากคำว่า folk + taxonomy |
get a move on | (คำไมเป็นทางการ) เร็วเข้า |
girls' generation | [เกิล'ส เจเนอเรชั่น] (name, uniq) ศิลปินกลุ่มหญิงสัญชาติเกาหลีใต้จากสังกัดค่าย SM Entertainment มีสมาชิกทั้งหมด 9 คน ประกอบด้วย แทยอน, เจสสิก้า, ซันนี่, ทิฟฟานี่, ฮโยยอน, ยูริ, ซูยอง, ยุนอา และ ซอฮยอน เริ่มต้นเปิดตัวเข้าสู่วงการเพลงเกาหลีใต้อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ด้วยซิงเกิ้ลเปิดตัว Into the New World (다시 만난 세계, Dasi Mannan Segye) ในรายการเพลง Inkigayo ทางสถานีโทรทัศน์ SBS |
manufacturing facility | (n, countable, noun) โรงงาน สถานที่ผลิต (เป็นคำที่ใช้กล่าวถึงโรงงานอย่างเป็นทางการ) |
official-looking | [ออฟฟิ้เชียล ลุ้กกิ่ง] (adj) ดูเป็นทางการ, เหมือนจะเป็นทางการ, ท่าทางเป็นทางการ, คล้ายทางการ, ออกจะเป็นทางการ |
panegyric | (n) บทสดุดี คือสุนทรพจน์อย่างเป็นทางการหรือต่อมาเป็นบทเขียนที่ใช้ในการสรรเสริญบุคคลหรือสิ่งของ เป็นคำที่มาจากภาษากรีกที่หมายถึงสุนทรพจน์ที่เหมาะแก่ที่ประชุม (panegyris) ในเอเธนส์การกล่าวบทสดุดีจะทำกันในเทศกาลระดับชาติหรือในการแข่งขันกีฬาโดยมีจุดประสงค์ในการเร้าใจผู้ที่มาร่วมเพื่อให้ปฏิบัติตนเช่นตัวอย่างอันดีของบรรพบุรุษ (Source:wikipedia.org), See also: eulogy |
polymath | [โพลีแม็ธ] (n) คือผู้ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่างๆ ในการใช้อย่างเป็นทางการเท่าใดนักจะหมายถึงผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญสูง นักวิทยาศาสตร์สมัยโบราณมักจะเป็น “ผู้รู้รอบด้าน” โดยมาตรฐานที่ใช้กันในปัจจุบัน ผู้รู้รอบด้านมีความหมายต่างจากคำว่าอัจฉริยบุคคล (ข้อมูลแปลจาก wikipedia.org) |
smarty-pants | (n) [ ไม่เป็นทางการ ] พ่อคนฉลาด! (ใช้ในทำนองประชดประชันบุคคลผู้ต้องการแสดงความฉลาดของตนให้ผู้อื่นเห็น) |
SNSD | [โซ นยอ ชิ แด] (abbrev, uniq) ศิลปินกลุ่มหญิงสัญชาติเกาหลีใต้จากสังกัดค่าย SM Entertainment มีสมาชิกทั้งหมด 9 คน ประกอบด้วย แทยอน, เจสสิก้า, ซันนี่, ทิฟฟานี่, ฮโยยอน, ยูริ, ซูยอง, ยุนอา และ ซอฮยอน เริ่มต้นเปิดตัวเข้าสู่วงการเพลงเกาหลีใต้อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ด้วยซิงเกิ้ลเปิดตัว Into the New World (다시 만난 세계, Dasi Mannan Segye) ในรายการเพลง Inkigayo ทางสถานีโทรทัศน์ SBS, See also: 소녀시대, Syn. Girls' Generation |
teste | (n) พยานที่เป็นทางการ |
創開 | [そうかい] (n) พิธีเปิดงานอย่างเป็นทางการ |