กุแล | น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล Sardinella และ Herklotsichthys วงศ์ Clupeidae ลำตัวยาว แบนข้างมาก สันท้องบางคล้ายคมมีด เกล็ดบางหลุดง่าย เกล็ดในแนวสันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ปากเล็กเชิดขึ้นเล็กน้อย ฟันเล็กมาก ซี่เหงือกมีจำนวนมาก ไม่มีก้านครีบแข็งหรือเงี่ยง ลำตัวสีเงิน เฉพาะด้านหลังสีนํ้าเงินเข้ม บนลำตัวที่ใกล้มุมแผ่นปิดเหงือกมักมีแต้มสีดำคลํ้า ๑ จุด ครีบหลังและครีบหางสีดำคลํ้าอมเหลือง ขนาดยาวได้ถึง ๑๘ เซนติเมตร, อกรา หรือ อกแล ก็เรียก, ส่วน กุแลกลม หรือ กุแลกล้วย หมายถึงชนิดในสกุล Dussumieria ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน ลักษณะทั่วไปคล้ายกัน เว้นแต่มีลำตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวแหลม ท้องกลม ไม่มีเกล็ดที่เรียงกันเป็นฟันเลื่อย ซี่เหงือกมีจำนวนน้อยและสั้น ขนาดยาวได้ถึง ๒๒ เซนติเมตร, อกรากล้วย หรือ อกแลกล้วย ก็เรียก |
ข้าหลวง ๓ | น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กชนิด Scolopsis ciliatus (Lacepéde) ในวงศ์ Nemipteridae ลำตัวป้อม แบนข้างปานกลาง พื้นลำตัวสีเขียวหม่น มีแถบสีขาวเด่นพาดตามยาวใกล้แนวสันหลังข้างละเส้น ระหว่างตาและแผ่นกระดูกใต้ตามีหนามแหลม ๑ อัน ชี้ไปทางด้านหน้า ขอบด้านนอกของขากรรไกรบนจักเป็นฟันเลื่อย พบอาศัยอยู่ตามแนวหินปะการัง ขนาดยาวได้ถึง ๑๓ เซนติเมตร. |
ฉลามเสือ | น. ชื่อปลาฉลามขนาดใหญ่ชนิด Galeocerdo cuvieri (Peron & Le Sueur) ในวงศ์ Carcharinidae มีฟันใหญ่เป็นรูปสามเหลี่ยม ขอบจักเป็นฟันเลื่อย พื้นลำตัวและครีบสีน้ำตาลหม่น มีลายพาดขวางตลอดข้างลำตัวถึงปลายหาง ซึ่งอาจแตกเป็นจุดเห็นกระจายอยู่ทั่วไปหรือจางหมดไปเมื่อโตขึ้น หางยาว ดุร้ายมาก ขนาดยาวได้ถึง ๗ เมตร, ตะเพียนทอง พิมพา หรือ เสือทะเล ก็เรียก. |
ตุ่ม ๓ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Puntius bulu (Bleeker) ในวงศ์ Cyprinidae มีรูปร่างคล้ายปลาตะเพียน ไม่มีหนวด กระโดงครีบหลังแข็งและหยักเป็นฟันเลื่อย ลำตัวมีลายพาดสีดำ ขนาดยาวได้ถึง ๓๖ เซนติเมตร เคยพบชุกชุมมากในเขตทะเลสาบสงขลาตอนในที่เรียกทะเลน้อย. |
เสือสุมาตรา | น. ชื่อปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิด Systomus partipentazona (Fowler) ในวงศ์ Cyprinidae มีรูปทรงคล้ายปลาตะเพียน แต่ครีบหลังมีก้านครีบแข็งก้านสุดท้ายมีขอบจักเป็นฟันเลื่อยละเอียด มีหนวดเพียงที่ขากรรไกรบน เกล็ดใหญ่ เส้นข้างตัวไปสุดที่แนวใต้ครีบหลังเท่านั้น พื้นลำตัวทั่วไปสีเหลืองเทา โดยเฉพาะใกล้แนวสันหลัง ที่สำคัญคือมีแถบสีดำเด่นพาดขวางจากสันหลังถึงหรือเกือบถึงสันท้อง ๔ แถบ คือ ที่บนหัว ที่แนวหน้า หลังครีบหลัง และที่คอดหาง ฐานครีบหลังและครีบก้นมีสีดำ ที่จะงอยปาก ขอบปลายครีบหลัง ครีบท้อง และครีบหางมีสีแดง ขนาดยาวไม่เกิน ๕ เซนติเมตร, ปักษ์ใต้เรียก เสือ หรือ ข้างลาย. |