เป็นไป | ก. ดำเนินไป. |
อันเป็น, อันเป็นไป | น. ผลร้ายที่เกิดขึ้น, เหตุร้ายที่เกิดขึ้น, เช่น เขาแช่งคนชั่วให้มีอันเป็นไปต่าง ๆ นานา. |
กฎธรรมชาติ | น. ความเป็นไปตามธรรมชาติของสิ่งทั้งหลาย. |
กฎธรรมดา | น. ความเป็นไปตามปรกติวิสัยของมนุษย์และสังคม. |
กฎหมู่ | น. การกดดันที่บุคคลจำนวนมากนำมาใช้บีบบังคับให้อีกฝ่ายหนึ่งกระทำหรือเว้นกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง (มักไม่เป็นไปตามตัวบทกฎหมาย). |
กระทำ ๒ | ก. ใช้เวทมนตร์ทำให้ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นไปตามต้องการของตน มีให้รักหรือให้ป่วยเจ็บเป็นต้น เช่นว่า กระทำยำเยีย, การถูกเวทมนตร์เช่นนี้ เรียกว่า ถูกกระทำ. |
กระบวนการยุติธรรม | น. ขั้นตอนและวิธีดำเนินการในการบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายเพื่ออำนวยความยุติธรรม คุ้มครองสิทธิ และเสรีภาพของบุคคล. |
กลั้วเกลี้ย | พอเป็นไปได้, พอประทังไปได้, เช่น หากินกลั้วเกลี้ยไป วัน ๆ หนึ่ง. |
กะพรวดกะพราด | (-พฺรวด-พฺราด) ว. พรวดพราด, อาการที่เป็นไปอย่างรวดเร็วโดยไม่ยับยั้ง. |
กาลสมุตถาน | (กาละสะหฺมุด-) น. กองโรคที่เกิดขึ้นเพราะธาตุไม่เป็นไปตามเวลาปรกติ. |
กำกับ | ก. ดูแลอย่างใกล้ชิดและชี้นำให้เป็นไปตามต้องการ เช่น กำกับรายการ กำกับการแสดง |
ขลัง | (ขฺลัง) ว. มีกำลังหรืออำนาจที่อาจบันดาลให้เป็นไปได้, มีอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อกันว่า อาจบันดาลให้สำเร็จได้ดังประสงค์. |
ข้อเท็จจริง | เรื่องหรือประเด็นที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ พฤติกรรม หรือสิ่งใด ๆ ที่เกิดขึ้น ที่มีอยู่ หรือที่เป็นไป. |
ขึ้น ๒ | เป็นไปตามคำที่ยอหรือยุเป็นต้น เช่น ยกขึ้น ยุขึ้น หนุนขึ้น |
ขืน | ก. ยั้งไว้หรือบังคับไว้ไม่ให้เป็นไปตาม เช่น ขืนตัว ขืนเรือ |
เข้าแบบ, เข้าแบบเข้าแผน | ก. ถูกต้องตามแบบแผน, เป็นไปตามแบบ, เช่น ตัวละครเข้าแบบ. |
เข้าล็อก | ก. เป็นไปตามที่คาดหมาย. |
คติ ๑ | ความเป็นไป. |
ครอบงำ | ก. มีอำนาจเหนือ บังคับให้เป็นไปตาม เช่น กิเลสครอบงำ. |
คล่องตัว | ว. เคลื่อนไหวไปได้สะดวก, เป็นไปได้โดยสะดวกไม่ติดขัด. |
ควบคุม | ก. กวดขันให้เป็นไปตามระเบียบกฎเกณฑ์ที่ตั้งไว้ เช่น ควบคุมเวลา ควบคุมเสียง ควบคุมราคาสินค้า |
คาดไม่ถึง | ก. ไม่คิดว่าจะเป็นไปได้เช่นนั้น. |
คาดคั้น | ก. แสดงกิริยาวาจาเป็นเชิงบังคับให้เป็นไปตามความประสงค์. |
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ | น. โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแนวทางแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับพระราชดำริไปพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการร่วมกันดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน หรือบรรเทาปัญหาต่าง ๆ ตามสภาพสังคมและภูมิประเทศ เดิมเรียกว่า โครงการตามพระราชดำริ มีสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เรียกย่อว่า กปร. มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการประสานงานโครงการ. |
งาม | ดี, มาก, มีลักษณะที่เป็นไปตามต้องการ, เช่น กำไรงาม ธนาคารนี้จ่ายดอกเบี้ยงาม. |
จดหมายเหตุ | น. หนังสือบอกข่าวคราวที่เป็นไป, รายงานหรือบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น, เอกสารที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน ผลิตขึ้นเพื่อใช้เป็นหลักฐานและเครื่องมือในการปฏิบัติงาน. |
จริง, จริง ๆ | เป็นอย่างนั้นแน่แท้ ไม่กลับเป็นอย่างอื่น เช่น ข้อนี้เป็นความจริง, ไม่เท็จ, ไม่โกหก, ไม่หลอกลวง, เช่น เรื่องจริง พูดจริง, เป็นไปตามนั้น เช่น ความฝันกลายเป็นความจริง. |
จับพลัดจับผลู | บังเอิญเป็นไปโดยไม่ตั้งใจ. |
เจตสิก | (เจตะ-, เจดตะ-) ว. เป็นไปในจิต เช่น สุขหรือทุกข์ที่เกิดในจิต. |
ฉุกเฉิน | ว. ที่เป็นไปโดยปัจจุบันทันด่วนและจะต้องรีบแก้ไขโดยฉับพลัน เช่น เหตุฉุกเฉิน, ที่อาจเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร เช่น ภาวะฉุกเฉิน สถานการณ์ฉุกเฉิน. |
ชะตากรรม | ความเป็นไป, ความเป็นตายร้ายดี, มักใช้ในทางไม่ดี เช่น เขาหายไปนาน ไม่มีใครรู้ชะตากรรม. |
ชะตาชีวิต | น. ความเป็นไปในชีวิตที่เชื่อว่าถูกกำหนดไว้แล้ว เช่น ชะตาชีวิตเขาลุ่ม ๆ ดอน ๆ มาตลอด, ความเป็นไปในชีวิต เช่น พ่อแม่บางคนชอบกำหนดชะตาชีวิตลูก. |
เชื้อไม่ทิ้งแถว | ว. เป็นไปตามบรรพบุรุษ. |
โชคชะตา | น. ความเป็นไปของชีวิต. |
ฐิติ | การเป็นไป, ความมีชีวิตอยู่ |
ดล ๓ | (ดน) ก. ให้เป็นไป, บันดาลให้เป็นไป, เผอิญให้เป็นไป, ทำให้แล้ว, ตั้งขึ้น. |
ดวง | ผังที่แสดงตำแหน่งของดาวพระเคราะห์ต่าง ๆ ในท้องฟ้าขณะที่เกิดเหตุการณ์บางอย่าง โดยเฉพาะดวงชะตากำเนิด ซึ่งกำหนดความเป็นไปในชีวิตของบุคคลต่าง ๆ ตามความเชื่อทางโหราศาสตร์ เช่น ผูกดวง, เรียกเต็มว่า ดวงชะตา, ความเป็นไปในชีวิตตามกำหนดของดวงชะตา เช่น ดวงขึ้น ดวงตก. |
ดวงชะตา | น. ผังที่แสดงตำแหน่งของดาวพระเคราะห์ต่าง ๆ ในท้องฟ้าขณะที่เกิดเหตุการณ์บางอย่าง โดยเฉพาะดวงชะตากำเนิด ซึ่งกำหนดความเป็นไปในชีวิตของบุคคลต่าง ๆ ตามความเชื่อทางโหราศาสตร์, เรียกสั้น ๆ ว่า ดวง. |
ดำเนิน ๑ | เป็นไป เช่น การประชุมดำเนินไปด้วยดี, ทำให้เป็นไป, เช่น ดำเนินงาน ดำเนินการ ดำเนินชีวิต. |
ดี ๒ | ว. มีลักษณะที่เป็นไปในทางที่ต้องการ น่าปรารถนา น่าพอใจ ใช้ในความหมายที่ตรงข้ามกับลักษณะบางอย่างแล้วแต่กรณี คือ ตรงข้ามกับชั่ว เช่น คนดี ความดี, ตรงข้ามกับร้าย เช่น โชคดี เคราะห์ดี |
ดูแล | ก. เอาใจใส่ให้เป็นไปด้วยดี เช่น พ่อแม่ดูแลลูก พยาบาลดูแลคนไข้ |
ดูหรือ | อ. เสียงที่เปล่งออกมาแสดงความไม่พอใจ เช่น ดูหรือมาเป็นไปได้. |
ต่อว่า | ก. ตำหนิว่าทำไม่ถูกต้อง, ตำหนิว่าไม่เป็นไปตามที่พูดหรือที่ให้สัญญาไว้. |
ตัดต่อ | ก. ตัดฟิล์มภาพยนตร์ เทปบันทึกภาพ เป็นต้น ที่ไม่ติดต่อกัน แล้วนำมาต่อกันเพื่อให้เป็นไปตามที่ต้องการ. |
ตัวสะกด | น. พยัญชนะท้ายคำหรือพยางค์ที่ทำหน้าที่บังคับเสียงให้เป็นไปตามมาตราต่าง ๆ เช่น น เป็นตัวสะกดในมาตรากน. |
ตามที | ว. แล้วแต่จะเป็นไป. |
ตามบุญตามกรรม | ว. ตามแต่จะเป็นไป. |
ตามเพลง | ว. สุดแต่จะเป็นไป, ตามเรื่องตามราว. |
ตามยถากรรม | ว. เป็นไปตามกรรม, สุดแต่จะเป็นไป. |
ตามเรื่องตามราว | ว. ปล่อยให้เป็นไปเอง, สุดแต่จะเป็นไป. |
Possible Reserves | ปริมาณสำรองปิโตรเลียมที่เป็นไปได้ว่าจะมีอยู่, Example: โดยมีข้อมูลทางธรณีวิทยาและวิศวกรรมปิโตรเลียมบ่งชี้ว่าน่าจะสามารถผลิตปิโตรเลียมได้ ซึ่งจะมีความมั่นใจน้อยกว่า Proved และ probable reserves (ดูคำ Proved และ Probable reserves) [ปิโตรเลี่ยม] |
Economic feasibility | ความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจ [เศรษฐศาสตร์] |
As Low As Reasonably Achievable | อะลารา, การดำเนินการใดๆ ในทางปฏิบัติที่ทำให้งานสำเร็จตามวัตถุประสงค์โดยได้รับรังสีชนิดก่อไอออนน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ [นิวเคลียร์] |
Disposal, waste | การขจัดกากกัมมันตรังสี, การดำเนินการเก็บกากกัมมันตรังสีไว้ในสถานที่ที่เหมาะสม โดยไม่มีการนำกลับมาใช้งานอีก รวมถึงการระบายน้ำและแก๊สจากสถานปฏิบัติการทางรังสีออกสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดโดยคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ (ดู radioactive discharge ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Waste package | หีบห่อกากกัมมันตรังสี, ภาชนะที่มีกากกัมมันตรังสีในรูปแบบต่างๆ หลังการปรับสภาพบรรจุอยู่ รวมทั้งวัสดุดูดซับ และ/หรือ วัสดุบุผนังภาชนะ ซึ่งต้องจัดเตรียมให้เป็นไปตามข้อกำหนดว่าด้วยการปฏิบัติงาน การเก็บรักษา การขนส่ง และการขจัดกากกัมมันตรังสี เช่น ถังเหล็กขนาด 200 ลิตร ที่มีกากแก้วกัมมันตรังสีหลังจากปรับสภาพแล้วบรรจุอยู่ [นิวเคลียร์] |
Waste disposal | การขจัดกากกัมมันตรังสี, การดำเนินการเก็บกากกัมมันตรังสีไว้ในสถานที่ที่เหมาะสม โดยไม่มีการนำกลับมาใช้งานอีก รวมถึงการระบายน้ำและแก๊สจากสถานปฏิบัติการทางรังสีออกสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดโดยคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ (ดู radioactive discharge ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Unsealed source | ต้นกำเนิดรังสีชนิดไม่ปิดผนึก, วัสดุกัมมันตรังสีที่ไม่เป็นไปตามคำนิยามของต้นกำเนิดรังสีชนิดปิดผนึก เช่น วัสดุกัมมันตรังสีไม่ว่าจะอยู่ในสถานะใดๆ ที่ไม่ได้มีการบรรจุหรือห่อหุ้มปิดผนึกด้วยโลหะหรือวัสดุอื่นใดอย่างมิดชิดถาวร การใช้ต้นกำเนิดรังสีชนิดนี้ อาจเกิดการแพร่กระจาย ฟุ้งกระจาย หกเปรอะเปื้อน ซึมรั่ว ออกจากภาชนะที่บรรจุได้ [นิวเคลียร์] |
Routine monitoring | การเฝ้าสังเกตประจำ, การตรวจติดตามปริมาณรังสีอย่างต่อเนื่อง โดยมีความมุ่งหมายเพื่อแสดงว่า สภาพการปฏิบัติงาน รวมทั้งระดับของปริมาณรังสีรายบุคคล เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด การเฝ้าสังเกตประจำ อาจเป็นการเฝ้าสังเกตรายบุคคล หรือการเฝ้าสังเกตสถานปฏิบัติการ, Example: [นิวเคลียร์] |
Nuclear safeguards | การพิทักษ์ทางนิวเคลียร์, มาตรการป้องกัน ยับยั้ง และตรวจสอบ มิให้วัสดุนิวเคลียร์สูญหาย แปรสภาพ หรือนำไปใช้ในทางที่ไม่เป็นไปตามข้อตกลงกับทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ, Example: [นิวเคลียร์] |
Feasibility studies | การศึกษาความเป็นไปได้ [TU Subject Heading] |
Amnesty International | องค์การนิรโทษกรรมสากล องค์การนี้เริ่มต้นจากเป็นขบวนการเล็ก ๆ ก่อน เพื่อทำหน้าที่ประท้วง (Protest) แต่ภายในเวลาไม่นานนัก ได้ขยายตัวออกเป็นองค์การ เพื่อให้สมกับเป้าหมายและภารกิจที่ต้องปฏิบัติเพิ่มขึ้นมากมาย คติดั้งเดิมของการรณรงค์ระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนบรรดาบุคคลที่ต้องถูกคุม ขังอยู่ทั่วโลก ด้วยข้อหาเกี่ยวกับความเชื่อถือทางการเมืองและการศาสนานั้น ได้บังเกิดจากความคิดของบุคคลหนึ่งชื่อปีเตอร์ เบเนนสันปีเตอร์ เบเนนสัน ได้เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ประจำวันอาทิตย์ของอังกฤษชื่อ Sunday Observer เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1961 โดยให้หัวเรื่องบทความว่า ?นักโทษที่ถูกลืม? (The Forgotten Prisoners) บทความนี้ได้ประทับใจมติมหาชนทั่วโลกทันที และภายในปีเดียว องค์การได้รับเรื่องร้องเรียนในนามของนักโทษกว่า 200 รายองค์การนิรโทษกรรมสากลมีเป้าหมายนโยบายกว้างๆ อยู่ 3 ข้อ คือ ต้องการให้ปล่อยนักโทษผู้มีนโนธรรม (Prisoners of Conscience) ทั้งหมด ให้มีการยุติการทรมานนักโทษไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ รวมทั้งการลงโทษประหารชีวิตและให้มีการพิจารณาพิพากษาคดีนักโทษการเมืองทั้ง หมดอย่างเป็นธรรมและไม่รอช้า องค์การนี้นอกจากจะมีชื่อเสียงว่าเป็นผู้ดำรงความเป็นกลางไม่เข้ากับฝ่ายใด และเป็นที่น่าเชื่อถือไว้วางใจได้อย่างแท้จริงแล้ว ยังเป็นเสมือนศูนย์ข้อมูลและข้อสนเทศที่สำคัญ ซึ่งบรรดาบุคคลสำคัญๆ ทางการเมืองทั่วโลกได้ใช้อ้างอิงอีกด้วยในปัจจุบัน องค์การนิรโทษกรรมมีสมาชิกและผู้สนับสนุนเป็นจำนวนกว่า 1 ล้านคน จากประเทศต่างๆ กว่า 150 ประเทศ องค์การอยู่ภายใต้การบริหารของคณะกรรมการบริหารจำนวน 9 คน รวมทั้งตัวเลขาธิการอีกผู้หนึ่ง ทำหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อมติเกี่ยวกับนโยบาย และเป็นหัวหน้าของสำนักเลขาธิการขององค์การด้วย มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ องค์การมีผู้แทนของตนประจำอยู่กับองค์การสหประชาชาติ เมื่อปี ค.ศ. 1978 ได้รับรางวัลเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ และในปี ค.ศ. 1977 ก็ได้รับรางวัลสันติภาพโนเบลมาแล้ว [การทูต] |
Conference Diplomacy | กระบวนการเจรจาระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาลในรูปของการ ประชุม แทนที่จะกระทำโดยวิถีทางการทูตตามปกติ คือ โดยทางเอกอัครราชทูต หรือผู้แทนทางการทูตถาวร การประชุมแบบหนึ่งซึ่งเรียกว่า การประชุมโต๊ะกลม เพื่อทำหน้าที่ระงับปัญหาระหว่างประเทศนั้น เริ่มนิยมกระทำกันหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 การประชุมระหว่างประเทศนี้จะประกอบด้วยคณะผู้แทน ซึ่งมีหัวหน้าคณะที่ได้รับมอบอำนาจเต็ม และรัฐบาลของประเทศที่ร่วมประชุมเป็นผู้ส่งไป ในเรื่องนี้มีความเห็นแตกต่างกันอยู่บ้าง บ้างเห็นว่า ควรเป็นการประชุมทางการทูตตามประเพณีที่กระทำกันโดยใช้ผู้เชี่ยวชาญโดยอาชีพ ซึ่งเป็นไปตามวิถีทางการทูตตามปกติมากกว่า [การทูต] |
Departure of Diplomatic Agents | การออกไปจากรัฐผู้รับของเจ้าหน้าที่ทางการทูต ข้อ 44 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติได้ว่า ?แม้ในกรณีการขัดกันด้วยอากร รัฐผู้รับต้องอำนวยความสะดวก เพื่อให้บุคคลซึ่งอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกัน นอกจากคนชาติของรัฐผู้รับและคนในครอบครัวของบุคคลเช่นว่านี้ โดยไม่คำนึงถึงสัญชาติของบุคคลเหล่านั้น ออกไปในขณะที่เร็วที่สุดที่จะเป็นไปได้ ในกรณีที่จำเป็นโดยเฉพาะ รัฐผู้รับต้องจัดพาหนะเดินทางในการขนส่งสำหรับตัวบุคคลเหล่านั้น และทรัพย์สินของบุคคลเหล่านั้นให้ด้วย? [การทูต] |
Exercise of Consular Functions in a Third State | การปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลในรัฐที่สาม (A Third State) ในเรื่องนี้ข้อ 7 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้ระบุว่า?เมื่อได้บอกกล่าวให้รัฐที่เกี่ยวข้องทราบ แล้ว รัฐูผู้ส่งอาจมอบหมายให้สถานีที่ทำการทางกงสุลที่ได้ตั้งอยู่ในรัฐหนึ่งโดย เฉพาะปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลในอีกรัฐหนึ่งได้ นอกจากจะมีการคัดค้านอย่างชัดเจนโดยรัฐหนึ่งในบรรดารัฐที่เกี่ยวข้อง?นอกจาก นี้ สถานที่ทำการทางกงสุลยังอาจปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลแทนรัฐที่สามได้ เรื่องนี้ข้อ 8 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้กำหนดว่า เมื่อบอกกล่าวอย่างเหมาะสมแก่รัฐผู้รับแล้ว สถานที่ทำการทางกงสุลของรัฐผู้ส่งอาจปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลในรัฐผู้รับ แทนรัฐที่สามได้ นอกจากรัฐผู้รับนั้นจะคัดค้าน และพนักงานฝ่ายกงสุลอาจปฏิบัติการหน้าที่ของตนนอกเขตกงสุลได้ในพฤติการณ์ พิเศษ และด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ ทั้งนี้เป็นไปตามข้อ 6 แห่งอนุสัญญากรุงเวียนนา อย่างไรก็ดี ยังไม่มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ที่จะให้พนักงานฝ่ายกงสุลปฏิบัติการหน้าที่ทาง กงสุลนอกเขตกงสุล ฝ่ายที่เห็นด้วยว่าควรปฏิบัติการนอกเขตกงสุลได้ อ้างว่า การใช้เอกสิทธิ์เช่นนั้นเป็นการชอบแล้ว ด้วยเหตุผลที่ว่า อาจจะมีภาวะฉุกเฉินเกิดขึ้นในสถานที่นอกเขตกงสุล ซึ่งเป็นความจำเป็นที่พนักงานฝ่ายกงสุลจะได้ให้บริการในทันที่ที่มีการแจ้ง โดยกะทันหัน [การทูต] |
Exequatur | คำนี้แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า ?let him perform? เป็นหนังสือหรืออนุมัติบัตรแสดงการรับรองผู้ที่ดำรงตำแหน่งกงสุลโดยประมุข หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของรัฐซึ่งกงสุลผู้นั้นได้ถูกส่งไป ประจำ Exequatur เป็นอนุมัติบัตรที่มอบให้กงสุล แสดงว่ามีอำนาจที่จะปฏิบัติตามหน้าที่ของกงสุลทั้งหมด สามารถเป็นหลักฐานที่ใช้แสดงต่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นภายในเขตอาณัติของกงสุล ด้วย รัฐที่ปฏิเสธไม่ออก Exequatur ให้นั้น ไม่จำเป็นต้องบอกเหตุผลแก่รัฐผู้ส่งว่าเพราะเหตุผลใดจึงปฏิเสธ ในเรื่องนี้ข้อ 12 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลได้บัญญัติไว้ว่า?1. หัวหน้า สถานที่ทำการทางกงสุล จะเข้าปฏิบัติการหน้าที่ของตนได้ โดยอนุมัติจากรัฐผู้รับเรียกว่า อนุมัติบัตรไม่ว่าการให้อนุมัติจะเป็นไปในรูปใดก็ตาม 2. รัฐซึ่งปฏิเสธไม่ให้อนุมัติบัตรไม่มีพันธะที่จะต้องให้เหตุผลในการปฏิเสธ เช่นว่านั้นแก่รัฐผู้ส่ง 3. ภายในข้อบังคับแห่งบทของข้อ 13 และ 15 หัวหน้าสถานที่ทำการทางกงสุลจะไม่เข้ารับหน้าที่ของตนจนกว่าจะได้รับอนุมัติ บัตรแล้ว? [การทูต] |
Geneva Conference on the Problem of Restoring Peace in Indo-China | การประชุม ณ นครเจนีวา ว่าด้วยปัญหาการนำสันติภาพกลับคืนสู่อินโดจีน ในการประชุมนี้ มีการทำความตกลงกันเกี่ยวกับการหยุดสู้รบระหว่างกำลังทหารในประเทศเวียดนาม กัมพูชา และลาว กับกำลังทหารฝรั่งเศส ความตกลงดังกล่าวได้กระทำกันในนครเจนีวา เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1954 มีผู้แทนจากประเทศกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ฝรั่งเศส ลาว สาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐเวียดนาม (เวียดนามใต้) สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมการประชุมตามข้อตกลงนี้ให้มีการยุติการสู้รบในกัมพูชา ลาว และเวียดนาม และการปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติในความตกลงดังกล่าว ให้อยู่ใต้ความควบคุมและดูแลระหว่างประเทศ ที่ประชุมเจนีวาได้แสดงความมั่นใจว่า ในการปฏิบัติตามข้อตกลงจะปล่อยให้กัมพูชา ลาว และเวียดนาม ได้แสดงบทบาทภายใต้ความเป็นเอกราชและอำนาจอธิปไตยของตนอย่างสมบูรณ์ภายใน ประชาคมนานาชาติ สำหรับความตกลงเกี่ยวกับเวียดนามใด้ห้ามมิให้นำกองทหารและเจ้าหน้าที่ฝ่าย ทหารของต่างชาติ รวมทั้งอาวุธและอุปกรณ์ทางทหารทุกชนิดเข้าไปในประเทศนั้น ที่ประชุมยังได้รับรองว่า วัตถุประสงค์สำคัญยิ่งของความตกลงเกี่ยวกับเวียดนามคือ ต้องการระงับปัญหาต่าง ๆ ทางทหาร เพื่อยุติการสู้รบ และการปักปันเส้นเขตแดนทางทหารนั้น ให้ถือเป็นการชั่วคราว มิได้หมายความว่าเป็นแนวแบ่งเขตทางการเมืองหรือทางดินแดนแต่ประการใดทั้งสิ้น [การทูต] |
International Law Enforcement Academy | สถาบันฝึกอบรมระหว่างประเทศว่าด้วยการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย จัดตั้งขึ้นในประเทศไทยเมื่อเดือนกันยายน 2541 เป็นโครงการ 3 ปี (ระหว่าง 2541-2544) โดยสหรัฐอเมริกาให้เงินสนับสนุน 3 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยจัดการฝึกอบรมแก่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจีน เพื่อเสริมศักยภาพการดำเนินการตามกฎหมายในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ระหว่างประเทศ [การทูต] |
International Development Association | เป็นองค์การให้กู้เงิน ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ.1960 อยู่ภายใต้การบริหารควบคุมของธนาคารระหว่างประเทศ ทุกประเทศที่เป็นสมาชิกของธนาคารระหว่างประเทศหรือธนาคารโลก ย่อมสามารถสมัครเป็นสมาชิกของสมาคมพัฒนาระหว่างประเทศนี้ได้วัตถุประสงค์ สำคัญของไอดีเอ คือ ให้ประเทศที่ด้อยพัฒนาทำการกู้ยืมเงินเพื่อนำไปพัฒนาประเทศของตน โดยกำหนดเงื่อนไขการกู้ยืมที่ยืดหยุ่นมากกว่าเงื่อนไขของการกู้ยืมทั่ว ๆ ไป ช่วยให้มีผลกระทบต่อดุลแห่งการชำระเงินของประเทศนั้น ๆ ไม่มากนัก ซึ่งเป็นไปตามแนววัตถุประสงค์การให้กู้ยืมของธนาคารโลก อันเท่ากับเสริมการดำเนินงานของธนาคารโลก ที่มีต่อประเทศเหล่านั้นอีกด้วยไอดีเอมีโครงสร้างการดำเนินงานที่คล้ายคลึง กับของธนาคารโลก คณะผู้ว่าการและผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทั้งหมดเป็นคนคนเดียวกับที่มีตำแหน่ง หน้าที่อยู่ในธนาคารโลก จึงเท่ากับเข้าไปทำงานมีหน้าที่ในไอดีเอโดยตำแหน่ง (Ex officio) นั่นเอง ไอดีเอมีสำนักงานตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซี [การทูต] |
International Telecommunica-tion Union | สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1865 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในตอนนั้นมีชื่อว่าสหภาพโทรเลขระหว่างประเทศ ต่อมาในปี ค.ศ.1932 จึงมีการรับรองอนุสัญญาโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ณ กรุงมาดริด ประเทศสเปน และหลังจากนั้นอีก 2 ปี คือ ค.ศ.1934 ก็ได้มีการเปลี่ยนชื่ออนุสัญญาโทรเลขและวิทยุโทรเลข เป็นอนุสัญญาโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ต่อมาในปี ค.ศ. 1947 ได้มีการปรับปรุงใหม่ ณ เมืองแอตแลนติกซิตี้ สหรัฐอเมริกา แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ.1954 เป็นต้นมา สหภาพดังกล่าวหรือที่เรียกโดยย่อว่า ITU อยู่ภายใต้การบริหารปกครองตามอนุสัญญา ซึ่งได้รับการรับรองจากการประชุมเต็มคณะ ณ กรุงบุเอนอสไอเรส เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 1952วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การไอทียูคือ ต้องการวางระเบียบข้อบังคับระหว่างประเทศสำหรับโทรเลข โทรศัพท์และบริการทางวิทยุ เพื่อที่จะส่งเสริมและขยับขยายให้ประชาชนได้มีโอกาสใช้บริการเหล่านี้ให้ กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยต้องการให้อัตราค่าบริการต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ กล่าวโดยทั่วไปองค์การไอทียูนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมความร่วมมือ ระหว่างประเทศ เพื่อปรับปรุงการใช้โทรคมนาคมทุกชนิดให้เป็นประโยชน์ก้าวหน้าขึ้น พัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือทางเทคนิคให้นำออกใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้และพยายามประสานการปฏิบัติของชาติต่าง ๆ ให้กลมกลืนกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน หัวหน้าของสหโทรคมนาคมระหว่างประเทศมีตำแหน่งเรียกว่า เลขาธิการ องค์การนี้ตั้งอยู่ในนครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ [การทูต] |
International Trade Organization | องค์การการค้าระหว่างประเทศ มีหน้าที่ดำเนินงานเกี่ยวกับความตกลงทั้วไปว่าด้วยภาษี ศุลกากรและการค้าระหว่างประเทศ วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การคือ ต้องการขยายการค้าของโลกให้กว้างขวางขึ้น ซึ่งเป็นการช่วยให้มีมาตรฐานการครองชีพสูงขึ้น ขจัดการกีดกันการค้า หรือพยายามลดให้เหลือน้อยที่สุด เช่น การตั้งข้อจำกัดโควต้า เป็นต้น ตัดทอนภาษีศุลกากรทั่วโลกให้ต่ำลง ดูแลตลาดวัตถุดิบให้เป็นไปอย่างยุติธรรม และพยายามควบคุมด้านการค้าของการร่วมมือกันทางธุรกิจ (Cartels) จุดมุ่งหมายสำคัญที่สุดคือ ป้องกันมิให้กลับไปสู่การดำเนินการทางการค้าที่ตัดราคากันอย่างหั่นแหลก เหมือนเมื่อระยะปี ค.ศ. 1930 ถึง 1939 นั่นเองอย่างไรก็ดี ตั้งแต่มีการปฏิบัติใช้ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้ามาจนบัด นี้ ก็ได้รับผลสำเร็จตามแนววัตถุประสงค์อย่างมากมาย เช่น มีประเทศสมาชิกหลายสิบประเทศลดภาษีศุลกากรและรักษาระดับภาษีอย่างมีเสรีภาพ แต่ละปี ประเทศสมาชิกจะได้ยินได้ฟังเสียงร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติทางการค้า ละเมิดกฎเกณฑ์ของความตกลงทั่วไป แล้วเสียงร้องเรียนดังกล่าวก็ได้รับการแก้ไขจนเป็นที่พึงพอใจของทุกฝ่าย เป็นต้น นอกจากนี้ ได้มีการปรับปรุงและดัดแปลงข้อกำหนดของความตกลงทั่วไป ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา [การทูต] |
Palestine Question | ปัญหาปาเลสไตน์ เมื่อวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1947 ประเทศอังกฤษได้ขอให้สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ทำการประชุมสมัยพิเศษเพื่อพิจารณาปัญหาปาเลสไตน์ สมัชชาได้ประชุมกันระหว่างวันที่ 28 เมษายน ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1947 และที่ประชุมได้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษเกี่ยวกับปาเลสไตน์ขึ้น ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิกรวม 11 ประเทศ ซึ่งหลังจากที่เดินทางไปตรวจสถานการณ์ในภาคตะวันออกกลาง ก็ได้เสนอรายงานเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว รายงานนี้ได้ตั้งข้อเสนอแนะรวม 12 ข้อ รวมทั้งโครงการฝ่ายข้างมาก (Majority Plan) และโครงการฝ่ายข้างน้อย (Minority Plan) ตามโครงการข้างมาก กำหนดให้มีการแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ออกเป็นรัฐอาหรับแห่งหนึ่ง รัฐยิวแห่งหนึ่ง และให้นครเยรูซาเล็มอยู่ภายใต้ระบบการปกครองระหว่างประเทศ รวมทั้งให้ดินแดนทั้งสามแห่งนี้มีความสัมพันธ์ร่วมกันในรูปสหภาพเศรษฐกิจ ส่วนโครงการฝ่ายข้างน้อย ได้เสนอให้ตั้งรัฐสหพันธ์ที่เป็นเอกราชขึ้น ประกอบด้วยรัฐอาหรับและรัฐยิว อันมีนครเยรูซาเล็มเป็นนครหลวงต่อมาในวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1947 สมัชชาสหประชาชาติได้ประชุมลงมติรับรองข้อเสนอของโครงการฝ่ายข้างมาก ซึ่งฝ่ายยิวได้รับรองเห็นชอบด้วย แต่ได้ถูกคณะกรรมาธิการฝ่ายอาหรับปฏิเสธไม่รับรอง โดยต้องการให้มีการจัดตั้งรัฐอาหรับแต่เพียงแห่งเดียว และทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิของคนยิวที่เป็นชนกุล่มน้อย อนึ่ง ตามข้อมติของสมัชชาสหประชาชาติได้กำหนดให้อำนาจอาณัติเหนือดินแดนปาเลสไตน์ สิ้นสุดลงและให้กองทหารอังกฤษถอนตัวออกไปโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และอย่างช้าไม่เกินวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1948 นอกจากนั้นยังให้คณะมนตรีภาวะทรัสตีของสหประชาชาติจัดทำธรรมนูญการปกครองโดย ละเอียดสำหรับนครเยรูซาเล็มจากนั้น สมัชชาสหประชาชาติได้ตั้งคณะกรรมาธิการปาเลสไตน์แห่งสหประชาชาติขึ้น ประกอบด้วยประเทศโบลิเวีย เช็คโกสโลวาเกีย เดนมาร์ก ปานามา และฟิลิปปินส์ ทำหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อเสนอแนะของสมัชชา ส่วนคณะมนตรีความมั่นคงก็ได้รับการขอร้องให้วางมาตรการที่จำเป็น เพื่อวินิจฉัยว่า สถานการณ์ในปาเลสไตน์จักถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพหรือไม่ และถ้าหากมีการพยายามที่จะใช้กำลังเพื่อเปลี่ยนแปลงความตกลงตามข้อมติของ สมัชชาเมื่อใด ให้ถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพ โดยอาศัยข้อ 39 ของกฎบัติสหประชาชาติเป็นบรรทัดฐาน [การทูต] |
Parliamentary Diplomacy | การทูตแบบรัฐสภา หรือบางครั้งเรียกว่า Organization Diplomacy เช่น การทูตในองค์การสหประชาชาติ การทูตแบบนี้ต่างกับการทูตตามปกติที่ดำเนินกันในนครหลวงของประเทศ กล่าวคือ1. นักการทูตมีโอกาสติดต่อโดยใกล้ชิดกับสื่อมวลชนและกับนัการทูตด้วยกันจาก ประเทศอื่น ๆ รวมทั้งจากประเทศที่ไม่เป็นมิตรภายในองค์การสหประชาติ มากกว่าในนครหลวงของประเทศ แต่มีโอกาสน้อยกว่าที่จะติดต่อกับคนชาติของตนอย่างใกล้ชิด2. การพบปะติดต่อกับบรรดานักการทูตด้วยกันในองค์การสหประชาชาติ จะเป็นไปอย่างเป็นกันเองมากกว่าในนครหลวงของประเทศ3. ในองค์การสหประชาติ ประเทศเล็ก ๆ สามารถมีอิทธิพลในการเจรจากับประเทศใหญ่ ๆ ได้มากกว่าในนครของตน เพราะตามปกติ นักการทูตในนครหลวงมักจะติดต่ออย่างเป็นทางการกับนักการทูตในระดับเดียวกัน เท่านั้น แต่ข้อนี้มิได้ปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดนักในสหประชาชาติ ในแง่การปรึกษาหารือกันระหว่างกลุ่ม ในสมัยก่อนที่สงครามเย็นจะสิ้นสุดในสหประชาชาติได้แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม (Blocs) ด้วยกัน คือกลุ่มเอเชียอัฟริกา กลุ่มเครือจักรภพ (Commonwealth) กลุ่มคอมมิวนิสต์ กลุ่มละตินอเมริกัน กลุ่มยุโรปตะวันตก กลุ่มสแกนดิเนเวีย และกลุ่มอื่น ๆ ได้แก่ ประเทศที่มิได้ผูกพันเป็นทางการกับกลุ่มใด ๆ ที่กล่าวมา อนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับสงครามเย็น สมาชิกประเทศในสหประชาชาติจะรวมกลุ่มกันตามแนวนี้ คือ ประเทศนิยมฝักใฝ่กับประเทศฝ่ายตะวันตก (Pro-West members) ประเทศที่นิยมค่ายประเทศคอมมิวนิสต์ (Pro-Communist members) และประเทศที่ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายใด (Non-aligned members)เกี่ยวกับเรื่องการทูตในการประชุมสหประชาชาติ ในสมัยสงครามเย็น นักการทูตชั้นนำของอินเดียผู้หนึ่งให้ข้อวิจารณ์ว่า ไม่ว่าจะเป็นการประชุมพิจารณากัน การทะเลาะเบาะแว้งด้วยคำผรุสวาทหรือการแถลงโผงผางต่อกันนั้น ล้วนเป็นลักษณะที่ตรงกันข้ามกับลักษณะวิสัยของการทูตทั้งสิ้น ดังนั้น สิ่งที่เป็นไปในการประชุมสหประชาชาติ จึงแทบจะเรียกไม่ได้เลยว่าเป็นการทูต เพราะการทูตที่แท้จริงจะกระทำกันด้วยอารมณ์สงบ ใช้ความสุขุมคัมภีรภาพ ปราศจากกามุ่งโฆษณาตนแต่อย่างใด การแสดงต่าง ๆ เช่น สุนทรพจน์และภาพยนตร์นั้นจะต้องมีผู้ฟังหรือผู้ชม แต่สำหรับการทูตจะไม่มีผู้ฟังหรือผู้ชม (Audience) หากกล่าวเพียงสั้น ๆ ก็คือ ผู้พูดในสหประชาชาติมุ่งโฆษณาหาเสียง หรือคะแนนนิยมจากโลกภายนอก แต่ในการทูตนั้น ผู้พูดมุ่งจะให้มีการตกลงกันให้ได้ในเรื่องที่เจรจากันเป็นจุดประสงค์สำคัญ [การทูต] |
South Asian Free Trade Area | เขตการค้าเสรีในเอเชียใต้ ภายใต้ SAARC เป็นไปตามมติของที่ประชุมสุดยอดของ SAARC ครั้งที่ 10 ที่กรุงโคลัมโบ เมื่อปี พ.ศ. 2541 [การทูต] |
Sanctions | การบังคับตามกฎระหว่างประเทศ หมายถึงการที่หลาย ๆ ชาติได้ลงมติใช้มาตรการบังคับหรือจูงใจพร้อม ๆกันเพื่อบังคับให้ชาติหนึ่งที่ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ ทำการยับยั้ง (Desist) หรือยินยอมให้มีการชี้ขาดตัดสิน (Adjudication) หรือกล่าวอย่างสั้น ๆ แซ็งชั่นก็คือ หนทางที่บังคับพันธกรณีทางกฎหมายให้เป็นไปตามกฎหมายเรื่องแซ็งชั่นนี้ กฎบัตรสหประชาชาติได้กล่าวไว้ในบทที่ 7 ข้อ 41 และ 42 มีข้อความดังนี้ ?ข้อ 41 คณะมนตรีความมั่นคงอาจวินิจฉัยว่า จะต้องใช้มาตรการอันใดอันไม่มีการใช้กำลังอาวุธ เพื่อยังผลให้เกิดแก่คำวินิจฉัยของคณะมนตรี และอาจเรียกร้องให้สมาชิกแห่งสหประชาชาติใช้มาตรการเช่นว่านั้น มาตรการเหล่านี้อาจรวมถึงการตัดสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และการคมนาคมทางรถไฟ ทางทะเล ทางอากาศ ทางไปรษณีย์โทรเลข ทางวิทยุ และวิถีทางคมนาคมอย่างอื่นโดยสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วน และการตัดความสัมพันธ์ทางการทูต ข้อ 42 หากคณะมนตรีความมั่นคงพิจารณาเห็นว่ามาตรการที่บัญญัติไว้ในข้อ 41 น่าจะไม่เพียงพอ หรือได้พิสูจน์แล้วว่าไม่เพียงพอ คณะมนตรีก็อาจดำเนินการใช้กำลังทางอากาศ ทางทะเล หรือทางพื้นดินเช่นที่เห็นจำเป็น เพื่อธำรงไว้ หรือสถาปนากลับคืนมาซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ การดำเนินการเช่นว่านี้ อาจรวมถึงการแสดงแสนยานุภาพ การปิดล้อม และการปฏิบัติอย่างอื่นโดยกำลังทางอากาศ ทางทะเล หรือทางพื้นดินของบรรดาสมาชิกแห่งสหประชาชาติ [การทูต] |
South Asia's Preferentral Trading Agreement | ความตกลงพิเศษทางการค้าในภูมิภาคเอเชียใต้ ของ SAARC เป็นไปตามมติของที่ประชุมสุดยอดของ SAARC ครั้งที่ 8 ที่กรุงนิวเดลี เมื่อปี พ.ศ. 2538 [การทูต] |
Subcommittee on Neighbouring Countries Economic Development Cooperation | คณะอนุกรรมการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับ ประเทศเพื่อนบ้าน มติคณะรัฐมนตรีเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2546 ให้จัดตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (อพบ.) ซึ่งคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ได้มีคำสั่งที่ 4 / 2547 เมื่อ 6 พฤษภาคม 2547 จัดตั้ง อพบ. แล้ว โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธาน ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากภาครัฐและเอกชนเป็นอนุกรรมการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกับกรมเศรษฐกิจระหว่าง ประเทศ กระทรวงการต่างประเทศเป็นอนุกรรมการและฝ่ายเลขานุการ อพบ. มีหน้าที่พิจารณากลั่นกรองเสนอแนะนโยบาย แผนงานและโครงการตามแผนงานการจัดระบบเศรษฐกิจตามแนวชายแดนและการพัฒนาความ ร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งครอบคลุมการดำเนินงาน ACMECS ด้วย ทั้งนี้ ในส่วนของ ACMECS มีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทำหน้าที่เป็นหน่วย งานหลักในการประสานกับหน่วยงานภายในของไทยให้ดำเนินงานเป็นไปตามแผนปฏิบัติ การ และกระทรวงการต่างประเทศทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักในการประสานกับประเทศ สมาชิก ACMECS [การทูต] |
State Peace and Development Council | สภาเพื่อสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ เป็นองค์กรปกครองสูงสุดของพม่าในปัจจุบัน เดิมมีชื่อว่าสภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ (SLORC - State Law and Order Restoration Council) อันเป็น กลุ่มทหารพม่าที่เข้ายึดอำนาจการปกครองในวันที่ 18 กันยายน 2531 ภายหลังจากที่ประชาชนชาวพม่าได้ออกมาเดินขบวนประท้วงรัฐบาลภายใต้การนำของ พรรคโครงการสังคมนิยมพม่า การเข้ายึดอำนาจรัฐในครั้งนั้นเป็นไปอย่างนองเลือดและคณะทหารดังกล่าวได้ให้ สัญญาว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้ง แต่ภายหลังการเลือกตั้งในวันที่ 27 พฤษภาคม 2533 SLORC กลับปฏิเสธที่จะมอบอำนาจการปกครองให้แก่พรรค National League for Democracy (NLD) และเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2540 SLORC ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น SPDC [การทูต] |
Team Thailand | ทีมประเทศไทย หมายถึง รูปแบบของการทำงานที่เป็นเอกภาพของหน่วยราชการไทยในการปกป้อง รักษา และส่งเสริมผลประโยชน์ของไทยในต่างประเทศ ตลอดจนเพื่อช่วยประหยัดงบประมาณ ขจัดความซ้ำซ้อน ลดการทำงานที่ไม่จำเป็นให้หมดไป และช่วยให้มีการประสานงานระหว่างหน่วยงานมากยิ่งขึ้น อันจะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพ และเพิ่มประสิทธิผลของการทำงาน แนวคิดเรื่องทีมประเทศไทยเป็นการสร้างวัฒนธรรมใหม่ในการทำงานของหน่วยงานไทย ในต่างประเทศ โดยเน้นให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่มีภารกิจในต่างประเทศทำงานร่วมกัน อย่างมีเอกภาพ ไม่ซ้ำซ้อน มีทิศทางเดียวกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายร่วมกันบนพื้นฐานของแผน งานรวมที่เป็นเอกภาพ (unified work plan) มีสำนักงานที่เป็นเอกภาพ (unified structure) และมีกรอบการประสานงานที่เป็นเอกภาพ (unified command) โดยมีกระทรวงการต่างประเทศซึ่งรับผิดชอบภาพรวมของการดำเนินความสัมพันธ์กับ ต่างประเทศทำหน้าที่เป็นหัวหน้าทีมในการประสานงาน ทั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายการปฏิรูประบบราชการในต่างประเทศ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2541 [การทูต] |
The Foreign Office | ในสมัยก่อน เมื่อสังคมนานาชาติมีสมาชิกประเทศอยู่เพียงไม่กี่แห่ง และการเจริญความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก็ไม่มีอะไรที่ยุ่งยากซับซ้อน ดังนั้น ประมุขของรัฐหรือหัวหน้าของรัฐบาลจะเป็นผู้บริหารกิจการต่างประเทศด้วยตนเอง แต่มาในปัจจุบันเป็นไปไม่ได้ที่จะกระทำเช่นนี้ ดังนั้นทุกวันนี้ รัฐบาลของประเทศเกือบจะทุกแห่งจะมีสำนักงานในระดับกระทรวงแยกออกต่างหาก เพื่อดำเนินกิจการต่างประเทศโดยเฉพาะสำนักงานนี้จะมีชื่อเรียกแตกต่างกันใน แต่ละประเทศ เช่นเรียกว่า The Ministry of (หรือ for) Foreign Affairs, The Ministry of External Affairs, The Department of State หรือ The Department of Foreign Affairs หรือ Gaimusho เป็นต้น ส่วนหัวหน้าสำนักงานหรือเจ้ากระทรวงนั้น จะเป็นบุคคลในคณะรัฐมนตรี และเรียกชื่อตำแหน่งต่างๆ กัน เช่น The Secretary of Foreign Affairs, The Minister of External Affairs, The Secretary of State หรือ Foreign Minister หรือ Foreign Secretary ตัวรัฐมนตรีนี้จะมีผู้ช่วย ซึ่งบางตำแหน่งเรียกว่า ปลัดกระทรวง (Under-Secretaries), ผู้ช่วยปลัดกระทรวง (Assistant Under-Secretaries) พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่หรือข้าราชการที่ได้ผ่านการฝึกอบรมมาแล้วงาน ของกระทรวงการต่างประเทศ โดยทั่วไปมักจะแบ่งออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายแรกเรียกว่าฝ่ายธุรการ (Home Service) ทำหน้าที่บริหารกิจการต่าง ๆ ภายในประเทศ ซึ่งเกี่ยวกันกับกิจการต่างประเทศ รวมทั้งการติดต่อเกี่ยวข้องกับคณะทูตานุทูต และฝ่ายที่สองเรียกว่า Foreign Service เป็นฝ่ายดำเนินงานเกี่ยวกับกิจการต่างประเทศ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในต่างแดน อันมีสถานทูต สถานกงสุล และสำนักงานอื่น ๆ เป็นตัวแทน ประกอบด้วยข้าราชการฝ่ายการทูตและฝ่ายวิชาการ ซึ่งประจำทำงานในสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลและสำนักงานระหว่างประเทศอื่น ๆ แต่ประเทศไทยเรายังมิได้แบ่งออกเป็นสองฝ่ายดังกล่าวตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศเป็นตัวกลาง ทำหน้าที่ติดต่อระหว่างประเทศ ส่วนหัวหน้าคณะทูตภายในนครหลวงของแต่ละประเทศจะทำการติดต่อใด ๆ ทั้งหมดกับกระทวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับงานภายในกระทรวงการต่างประเทศ โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็นกรม กอง โดยถือตามเขตภูมิศาสตร์ต่าง ๆ เช่น กรมหรือกองการเอเชีย กรมการแอฟริกา กรมการอเมริกัน กรมการยุโรป และอื่น ๆ เป็นต้น นอกจากนั้น ยังมีกรมกองอื่น ๆ ที่ทำหน้าที่ด้านธุรการ และด้านการสื่อสารติดต่อ การประชุม การประสานงานความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การคลัง การบริการในต่างประเทศ การสารนิเทศ การกฎหมาย การห้องสมุด การหนังสือเดินทาง การบุคลากร การพิธีการทูต การวิจัย การสนธิสัญญา การตรวจลงตรา (Visa) และการสหประชาชาติในปัจจุบันในหลาย ๆ ประเทศ ผู้ที่สมัครขอรับราชการในกระทรวงการต่างประเทศจะต้องมีคุณวุฒิตามที่กระทรวง กำหนด เช่น จะต้องผ่านการสอบไล่ ทั้งในภาคปากเปล่า และข้อเขียน ตลอดจนจะต้องปรากฏตัวต่อหน้าคณะกรรมการสอบไล่ (Board) ซึ่งจะเป็นฝ่ายให้คะแนนบุคลิกและคุณภาพส่วนตัว แล้วนำคะแนนไปบวกกับคะแนนสอบข้อเขียน ในบางแห่งต้องการให้ผู้สมัครสอบเข้ารับการฝึกอบรม และให้อยู่ในระหว่างการทดลองดูความประพฤติ (Probationary period) อีกด้วย [การทูต] |
The League of Nations | สันนิบาตชาติ เป็นองค์การที่ตั้งขึ้นตามสนธิสัญญาแวร์ซาย และสนธิสัญญาอื่น ๆ ที่ทำขึ้นตอนเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และสถาปนาเป็นองค์การระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 10 มกราคม ค.ศ. 1920 สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ นครเจนีวา สันนิบาตชาติมีหน้าที่สำคัญสองประการ คือ1. ดูแลให้มีการปฏิบัติเป็นไปตามสนธิสัญญา2. ให้โลกมีสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศแต่สันนิบาตชาติมีอายุอยู่ได้ ไม่นาน อุปสรรคสำคัญที่สุดอันหนึ่ง คือ ไม่มีสหรัฐอเมริการ่วมเป็นสมาชิกขององค์การด้วย สันนิบาตชาติประชุมกันเป็นสมัยประชุมครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1939 และหมดสภาพเป็นองค์การระหว่างประเทศลงเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1946 ทรัพย์สินที่มีอยู่ทั้งหมดได้โอนไปให้แก่องค์การสหประชาชาติ [การทูต] |
Vientiane Action Programme | แผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ เป็นแนวปฏิบัติการอาเซียนฉบับที่ 2 ต่อจากแผนปฏิบัติการฮานอย ซึ่งจะช่วยกำหนดกรอบความร่วมมือระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2547 ? 2553) เพื่อการอนุวัติให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์อาเซียน ค.ศ. 2020 และปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียนฉบับที่ 2 [การทูต] |
Work of the United Nations for the Independence of Colonial Peoples | งานขององค์การสหประชาชาติ ในการช่วยให้ชาติอาณานิคมทั้งหลายได้รับความเป็นเอกราช นับตั้งแต่เริ่มตั้งองค์การสหประชาชาติเมื่อปี ค.ศ.1945 เป็นต้นมา มีชนชาติของดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเอง รวมทั้งดินแดนในภาวะทรัสตีตามส่วนต่าง ๆ ของโลก ได้รับความเป็นเอกราชไปแล้วไม่น้อยกว่า 170 ล้านคน ดินแดนที่แต่ก่อนยังไม่มีฐานะปกครองตนเองราว 50 แห่งได้กลายฐานะเป็นรัฐเอกราช มีอธิปไตยไปแล้ว ขณะนี้ยังเหลือดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเองอีกไม่มาก กำลังจะได้รับฐานะเป็นประเทศเอกราชต่อไปแม้ว่าปัจจัยสำคัญที่สุดซึ่งทำให้ เกิดวิวัฒนาการอันมีความสำคคัญทางประวัติศาสตร์ จะได้แก่ความปรารถนาอย่างแรงกล้าของประชาชนในดินแดนเมืองขึ้นทั้งหลาย แต่องค์การสหประชาชาติก็ได้แสดงบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนชนชาติ ที่ยังมิได้เป็นเอกราช และชาติที่ยังปกครองดินแดนเหล่านั้นอยู่ ให้รีบเร่งที่จะให้ชาชาติในดินแดนเหล่านั้นได้รับฐานะเป็นเอกราชโดยเร็วที่ สุดเท่าที่จะเป็นไปได้การที่องค์การสหประชาชาติมีบทบาทหน้าที่ดังกล่าวเพราะ ถือตามหลักแห่งความเชื่อศรัทธาที่ว่า มนุษย์ไม่ว่าชายหรือหญิง และชาติทั้งหลายไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก ย่อมมีสิทธิเท่าเทียมกัน และได้ยืนยันความตั้งใจอันแน่วแน่ของประเทศสมาชิกที่จะใช้กลไกระหว่างประเทศ ส่งเสริมให้ชนชาติทั้งหลายในโลกได้ประสบความก้าวหน้าทั้งในทางเศรษฐกิจและ สังคมนอกจากนั้น เพื่อเร่งรัดให้ชนชาติที่ยังอยูใต้การปกครองแบบอาณานิคมได้ก้าวหน้าไปสู่ เอกราช สมัชชาของสหประชาชาติ (General Assembly of the United Nations) ก็ได้ออกปฏิญญา (Declaration) เกี่ยวกับการให้ความเป็นเอกราชแก่ประเทศและชนชาติอาณานิคม เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1960 ซึ่งในปฏิญญานั้น ได้ประกาศยืนยันความจำเป็นที่จะให้ลัทธิอาณานิคมไม่ว่าในรูปใด สิ้นสุดลงโดยเร็วและปราศจากเงื่อนไขใด ๆ สมัชชายังได้ประกาศด้วยว่า การที่บังคับชนชาติอื่นให้ตกอยู่ใต้อำนาจการปกครอง แล้วเรียกร้องประโยชน์จากชนชาติเหล่านั้น ถือว่าเป็นการปฏิเสธไม่ยอมรับสิทธิมนุษยชนขั้นมูลฐาน เป็นการขัดกับกฎบัตรของสหประชาชาติ เป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมสันติภาพและความร่วมมือของโลกสมัชชาสหประชาชาติ ยังได้ประกาศต่อไปว่า จะต้องมีการดำเนินการโดยด่วนที่สุด โดยไม่มีเงื่อนไขหรือข้อสงวนใด ๆ ตามเจตนารมณ์ ซึ่งแสดงออกอย่างเสรี โดยไม่จำกัดความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ หลักความเชื่อถือ หรือผิว เพื่อให้ดินแดนทั้งหลายที่ยังไม่ได้มีการปกครองของตนเองเหล่านั้นได้รับความ เป็นเอกราชและอิสรภาพโดยสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1961 สมัชชาสหประชาชาติก็ได้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อตรวจดูและให้มีการปฏิบัติให้เป็นตามคำปฏิญญาของสหประชาชาติ และถึงสิ้นปี ค.ศ. 1962 คณะกรรมการดังกล่าวได้ประชุมกันหลายต่อหลายครั้งทั้งในและนอกสำนักงานใหญ่ ขององค์การสหประชาชาติ แล้วรวบรวมเรื่องราวหลักฐานจากบรรดาตัวแทนของพรรคการเมืองทั้งหลาย จากดินแดนที่ยังไม่ได้รับการปกครองตนเอง แล้วคณะกรรมการได้ตั้งข้อเสนอแนะต่าง ๆ โดยมุ่งจะเร่งรัดให้การปกครองอาณานิคมสิ้นสุดลงโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ [การทูต] |
Positron Emission Tomography | เป็นเทคนิคการถ่ายภาพอวัยวะในร่างกายที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน โดยการตรวจวัดสารกัมมันตรังสีบางชนิด ซึ่งให้แก่ร่างกายในรูปของสารเภสัชรังสี เพื่อใช้ในการตรวจวัดเชิงปริมาณของขบวนการทางชีวเคมีในร่างกายของสิ่งมีชีวิต ไอโซโทปรังสีที่ใช้จะเป็นชนิดที่ปลดปล่อยโพซิตรอนออกมา เช่น ออกซิเจน-15 ไนโตรเจน-13 และคาร์บอน-11 โพซิตรอนที่ปล่อยออกมานี้จะเข้าทำปฏิกิริยาประลัย (annihilation) เกือบจะทันทีทันใดกับอิเล็กตรอนที่โคจรอยู่รอบนิวเคลียสในอะตอมของสาร ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสารเภสัชรังสีนั้น และมีรังสีแกมมาพลังงาน 511 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ ปลดปล่อยออกมาพร้อมกันในสองทิศทางตรงกันข้าม สามารถตรวจวัดได้ด้วยหัววัดรังสีที่อยู่ตรงข้ามกัน จากหัววัดหลายๆ หัวที่ล้อมรอบคนไข้ ทำให้ทราบตำแหน่งที่ผิดปกติในร่างกายได้ โดยการแปลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ เนื่องจากส่วนใหญ่ของไอโซโทปรังสีที่ใช้กับเทคนิคนี้ เป็นไอโซโทปของธาตุที่เป็นส่วนประกอบของอินทรีย์วัตถุ จึงทำให้ PET มีประโยชน์ในการศึกษากระบวนการทางสรีรวิทยาและชีวเคมีที่ผิดปกติด้วย ในทางปฏิบัติ PET จำเป็นต้องใช้ไอโซโทปรังสีที่ผลิตขึ้นจากการระดมยิงที่เป้า ด้วยโปรตรอนพลังงานสูงภายในเครื่องไซโคลตรอน การศึกษาโดยใช้ PET จะมุ่งเน้นไปยังระบบประสาทส่วนกลางเป็นหลัก ด้วยการวัดตัวแปรเสริมอื่นๆ ประกอบ เช่น การไหลเวียนของเลือด กระบวนการสร้างและสลายน้ำตาลกลูโคส และการเผาผลาญออกซิเจน จึงมีความเป็นไปได้ที่จะหาสมุฏฐานของโรคลมบ้าหมู หรือหาขนาดที่แน่นอนของบริเวณที่พิการในสมองได้ ในการศึกษาที่เกี่ยวกับหัวใจและหน้าที่ของหัวใจ การตรวจโดยใช้ PET จะเป็นวิธีที่เฉพาะเจาะจง และให้ผลดีกว่าการตรวจสอบโดยวิธีอื่นๆ [พลังงาน] |
unsealed source | ต้นกำเนิดรังสีชนิดไม่ปิดผนึก, หมายถึง วัสดุกัมมันตรังสีที่ไม่เป็นไปตามคำนิยามของต้นกำเนิดรังสีชนิดปิดผนึก ได้แก่ วัสดุกัมมันตรังสี ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะใดๆ ที่ไม่ได้มีการบรรจุหรือห่อหุ้มปิดผนึกด้วยโลหะ หรือวัสดุอื่นใดอย่างมิดชิดถาวร การใช้ต้นกำเนิดรังสีชนิดนี้ อาจเกิดการแพร่กระจาย ฟุ้งกระจายหกเปรอะเปื้อน ซึมรั่วออกจากภาชนะบรรจุได้ [พลังงาน] |
Processing aid | สารช่วยในกระบวนการผลิต คือ สารตัวเติมที่ใส่ลงไปในยางเพื่อช่วยให้กระบวนการผลิตในขั้นตอนต่างๆ เช่น การผสม (mixing) หรือการขึ้นรูป (shape forming) เป็นไปได้ง่ายยิ่งขึ้น สารบางตัวในกลุ่มนี้ช่วยลดความหนืดของยางคอมพาวด์ ทำให้ยางไหลได้ง่ายยิ่งขึ้น จึงลดระยะเวลาและพลังงานที่ใช้ในการผลิต [เทคโนโลยียาง] |
Softener | สารทำให้ยางนิ่ม คือ วัสดุที่เติมลงไปในยางปริมาณเล็กน้อยแล้วทำให้ความแข็งของยางผสมหรือยางคง รูปลดลงหรือทำให้กระบวนการผลิตเป็นไปได้ง่ายขึ้น (ปรับความหนืดของยางให้ลดลง ทำให้ยางไหลได้ง่ายขึ้น) หรือทำให้สารตัวเติมสามารถเข้าไปผสมกับยางได้ง่ายยิ่งขึ้น [เทคโนโลยียาง] |
Biological Plausibility | ความรู้ทางชีววิทยา, ความเป็นไปได้ทางชีวภาพ [การแพทย์] |
Errors, Maximum Potential | ความผิดพลาดที่จะเป็นไปได้สูงสุด [การแพทย์] |
Family Dynamic | ความเป็นไปในครอบครัว [การแพทย์] |
Fate | ความเป็นไป [การแพทย์] |
Feasibility | ความเป็นไปได้ [การแพทย์] |
Feasibility Determination | การพิจารณาความเป็นไปของแผนงาน [การแพทย์] |
การปรับตัว | การปรับตัว, การกระทำหรือจัดการให้สามารถอยู่ในสมดุลย์ตนเอง หรือคงอยู่ในสังคมรอบข้าง หรืออยู่รอดในสภาวะแวดล้อม หรืออยู่ร่วมกับเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลง ถือเป็นความเป็นจริงของชีวิต ไม่ว่าทั้งสี่สิ่งจะมีสถานการณ์ที่ปรารถนาหรือทำให้ลำบากใจ อันเป็นไปเพื่อสนองตอบความต้อง [สุขภาพจิต] |
nerve net | ร่างแหประสาท, ระบบประสาทในสัตว์ในไฟลัมไนดาเรีย มีลักษณะเป็นเซลล์ประสาทที่เชื่อมโยงกันทั่วตัวเป็นร่างแห เมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นที่จุดใดจุดหนึ่ง การตอบสนองจะเป็นไปทุกทิศทาง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
grouped data | ข้อมูลแบ่งกลุ่ม, ข้อมูลที่แจกแจงความถี่ตามค่าที่เป็นไปได้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
cumulative frequency | ความถี่สะสม, ความถี่สะสมของค่าที่เป็นไปได้ค่าใด หมายถึงผลรวมของความถี่ของค่านั้น กับความถี่ของค่าที่ต่ำกว่าทั้งหมดหรือสูงกว่าทั้งหมดอย่างใดอย่างหนึ่ง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
sample space | ปริภูมิตัวอย่าง, เซตที่มีสมาชิกเป็นผลลัพธ์ที่อาจเป็นไปได้ทั้งหมดของการทดลองสุ่ม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
frequency table | ตารางความถี่, ตารางทางสถิติที่สร้างขึ้นเพื่อเปรียบเทียบความถี่ของค่าจากการสังเกตทั้งหมดที่ตกอยู่ในแต่ละค่าที่เป็นไปได้หรือในแต่ละอันตรภาคชั้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
plus-minus bar chart | แผนภูมิแท่งบวก-ลบ, แผนภูมิแท่งที่ใช้แสดงการเปรียบเทียบข้อมูลที่มีค่าเป็นไปได้ทั้งค่าบวกค่าลบ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
class interval | อันตรภาคชั้น, ช่วงของค่าที่เป็นไปได้ของข้อมูลสถิติในตารางแจกแจงความถี่ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
alternative | (adj) ซึ่งไม่ตามประเพณี, See also: ซึ่งไม่เป็นไปตามแผนเดิม |
anechoic | (adj) ซึ่งมีเสียงก้องต่ำที่สุดที่จะเป็นไปได้ |
apt | (adj) เป็นไปได้, See also: มีความโน้มเอียง, Syn. likely |
artificial | (adj) ซึ่งไม่เป็นไปตามธรรมชาติ, Syn. unnatural |
automatic | (adj) อัตโนมัติ, See also: เป็นไปโดยอัตโนมัติ, Syn. self-operating, automated, self-acting |
awry | (adj) ผิดพลาด, See also: ผิด, ซึ่งไม่เป็นไปตามที่คาด, Syn. wrong, amiss, astray |
at best | (idm) ที่น่าเป็นไปได้มากที่สุด, See also: ที่สำคัญที่สุด |
at most | (idm) ที่น่าเป็นไปได้มากที่สุด, See also: ที่สำคัญที่สุด |
by | (prep) เป็นผลเนื่องจาก, See also: เป็นไปตาม |
be in line with | (idm) เป็นไปตาม (ความคิด, หลักการ, กฎเกณฑ์), See also: ยึดตาม, Syn. be out of, Ant. be out of |
beg for the moon | (idm) ขอในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้, Syn. cry for |
build castles in Spain | (idm) ฝันกลางวัน, See also: คิดในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ |
build castles in the air | (idm) ฝันกลางวัน, See also: คิดในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ |
chance | (n) ความเป็นไปได้, See also: ความน่าจะเป็น, Syn. possibility, probability |
cliffhanger | (n) เรื่องราวที่น่าตื่นเต้น (เนื่องจากคาดเดาความเป็นไปไม่ได้) |
constructive | (adj) ที่ช่วยให้พัฒนาขึ้น, See also: ที่เป็นไปในทางสร้างสรรค์, Syn. formative, positive |
cry for the moon | (idm) ต้องการหรือขอในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้, Syn. beg for |
fall short | (phrv) ไม่เป็นไปตามที่คาด, See also: ต่ำกว่าที่หวังไว้ |
fall short of | (phrv) (จำนวน) ต่ำกว่าที่คาดไว้, See also: จำนวน ไม่เป็นไปตามที่หวังไว้, ไม่เพียงพอ, Syn. come short of |
fat chance | (idm) ไม่มีทางเป็นไปได้ (คำไม่เป็นทางการ), See also: ดูเหมือนจะน้อยมาก |
derail | (vt) ทำให้สิ่งต่างๆ ไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้, See also: ทำให้หยุดชะงัก |
derail | (vi) หยุดชะงัก, See also: ไม่เป็นไปตามคาด |
destructively | (adv) เป็นไปในทางทำลาย |
earthly | (adj) ที่เป็นไปได้, See also: ที่อาจเกิดขึ้นได้, Syn. possible, Ant. unearthly, unnatural |
enable | (vt) ทำให้เป็นไปได้, See also: สามารถ, Syn. empower |
fabulous | (adj) เหลือเชื่อ, See also: ไม่น่าเป็นไปได้, Syn. incredible, amazing |
far-fetched | (adj) ซึ่งไม่น่าเชื่อ, See also: ซึ่งไม่น่าเป็นไปได้, Syn. incredible, Ant. credible |
feasible | (adj) ซึ่งเป็นไปได้, See also: ซึ่งเหมาะสม, Syn. imaginable, possible, practicable, Ant. impossible |
get down to brass tacks | (phrv) พูดถึงสิ่งที่เป็นจริงหรือเป็นไปไม่ได้, Syn. come down to |
get on with | (phrv) ปล่อยให้เป็นไป, See also: ปล่อยเถอะ, ช่างเถอะ |
go off | (phrv) ประสบความสำเร็จ, See also: เป็นไปตามที่คาด, Syn. bring off, carry off |
go right | (phrv) เป็นไปตามที่วางแผน, See also: ทำได้ถูกต้อง, Syn. go wrong |
hinge on | (phrv) ขึ้นอยู่กับ, See also: เปลี่ยนแปลงไปตาม, เป็นไปตาม, Syn. depend on, hang on, pivot on, rely on |
hinge upon | (phrv) ขึ้นอยู่กับ, See also: เปลี่ยนแปลงไปตาม, เป็นไปตาม, Syn. depend on, hang on, pivot on, rely on |
it's not on | (idm) ไม่สามารถพิจารณาได้ (คำไม่เป็นทางการ), See also: เป็นไปไม่ได้ที่จะพิจารณา, ไม่อาจยอมรับได้ |
ghost of a chance | (idm) มีโอกาสน้อยมาก, See also: เป็นไปได้น้อย |
go the whold hog | (idm) ทำทุกสิ่งที่เป็นไปได้, See also: ทำมากเกินไป |
have eyes in the back of one's head | (idm) มีตาหลัง (รู้เห็นทุกสิ่งที่เกิดขึ้น สิ่งที่ไม่น่าจะรู้ หรือสิ่งที่เป็นไปไม่ได้), See also: มีตาทิพย์ |
hope against hope | (idm) มีความหวังแม้ว่าจะไม่มีทางเป็นไปได้ |
horse sense | (idm) สามัญสำนึก, See also: ความสามารถคิดและตัดสินใจได้อย่างสมเหตุผล / เป็นไปได้ |
make the grade | (idm) พอใจ, See also: เป็นไปตามคาด |
mention something in passing | (idm) เอ่ยถึงบางสิ่งอย่างน่าเป็นไปได้ |
on the off chance | (idm) อย่างเป็นไปได้เล็กน้อย, See also: ด้วยความหวัง, อย่างเสี่ยงดวง |
out of the question | (idm) เป็นไปไม่ได้, See also: ไม่ได้รับอนุมัติ, ไม่ได้รับอนุญาต |
pigs might fly | (idm) ไม่มีทางเป็นไปได้ |
promise someone the moon | (idm) ให้สัญญาในสิ่งที่มากเกินไป, See also: ให้สัญญาในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ |
ring true | (idm) เป็นไปได้, See also: น่าจะเป็นจริง, ค่อนข้างจริง |
ideally | (adv) ถ้าสมบูรณ์แบบ, See also: ถ้าเป็นไปตามที่นึกฝันไว้ |
implausible | (adj) เหลือเชื่อ, See also: ซึ่งไม่น่าเชื่อ, ซึ่งเชื่อได้ยาก, ซึ่งไม่น่าเป็นไปได้, Syn. inconceivable, unreasonable, Ant. conceivable, plausible |
impossibility | (n) ความเป็นไปไม่ได้, See also: สิ่งที่ไม่น่าเชื่อ, สิ่งที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น, ความเหลือเชื่อ, Syn. inconceivability, Ant. possibility |
anechoic | (แอนนิโค' อิค) adj. ซึ่งมีเสียงก้องต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้, ไม่มีเสียงสะท้อนกลัย |
anomalistic | (อะนอม' มะลิสทิค) adj. ซึ่งผิดปกติวิปริต, ไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์, ผิดหลัก, ผิดที่ |
anomalous | (อะนอม' มะเลิส) adj. ผิดปกติ, ผิดหลัก, ผิดที่, ผิดปกติ, วิปริต, ไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์. -anamalousness n., Syn. irregular, abnormal, Ant. regular, normal |
artificial | (อาร์ทิฟิช'เชิล) adj. เทียม, ปลอม, ไม่แท้, ประดิษฐ์ขึ้นเอง, ทำขึ้นเอง, ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ. -artificiality n. |
casualism | (แคซ'ซวลลิสซึม) n. ความเชื่อหรือลัทธิที่เชื่อว่าสิ่งต่าง ๆ เป็นไปโดยบังเอิญ, See also: casualist n. |
chance | (ชานซฺ) n. โอกาส, หนทาง, ลักษณะที่เป็นไปได้, หนทางสำเร็จ, ความเป็นไปได้, การเสี่ยง, ช่องทาง, ท่าทาง, โชค, วาสนา, เคราะห์, ยถากรรม, ความบังเอิญ. -vi. ถือโอกาส, เสี่ยง, พบโดยบังเอิญ -vt. เกิดขึ้นโดยบังเอิญ, Syn. happening, risk, opening, happen |
civilly | (ซิฟ'วิลลี) adv. เป็นไปตามกฎหมายแพ่ง, สุภาพ, มีอัธยาศัย, มีใจเอื้อเฟื้อ |
cline | (ไคลน) n. การเปลี่ยนแปลงของลักษณะที่ค่อย ๆ เป็นไป., See also: clinal adj. |
conceivable | (คันซีฟ'วะเบิล) adj. พอที่จะคิดออก, พอจะนึกภาพออก, เป็นไปได้, นึกเห็นได้ |
concrete poetry | n. โคลงกลอน ฉันท์ กาพย์ ที่ประพันธ์โดยวิธีจัดหรือลำดับคำเป็นแบบแผน แทนที่จะเป็นไปตามประเพณีดั้งเดิม |
consecution | (คอนซิคิว'เชิน) n. การต่อเนื่องกัน, การเป็นไปตามลำดับ, การต่อเนื่องกันของเหตุผล |
constitutional | (คอนสทิทิว'เชินเนิล) adj. เป็นรากฐาน, เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ, เป็นส่วนสำคัญ, ถูกต้องหรือเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ, เกี่ยวกับระเบียบข้อบังคับ. n. การเดินหรือการออกกำลังกายที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ, Syn. basic |
control panel | แผงควบคุมเป็นชื่อโปรแกรมอรรถประโยชน์ (utility program) กลุ่มหนึ่ง เป็นตัวกำหนดเกี่ยวกับอุปกรณ์ หรือส่วนต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้เป็นไปตามที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น จอภาพ, เมาส์ , แป้นพิมพ์, หน่วยความจำ ระบบเครือข่าย ฯ control panel นี้จะมีให้ใช้ทั้งในแมคอินทอช และระบบวินโดว์บนพีซี หรือ Presentation Manager ของ โอเอสทู (OS 2) |
control unit | หน่วยควบคุมเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit) หน่วยควบคุม มีหน้าที่ควบคุมการทำงานทั้งหมด กล่าวคือ ควบคุมการทำงานของหน่วยคำนวณและตรรกะ ควบคุมการรับ/ส่งข้อมูลระหว่างหน่วยความจำหลัก (main memory) กับหน่วยความจำในหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ติตต่อและควบคุมการทำงานของหน่วยรับข้อมูลและแสดงผล (input/output unit) เป็นต้นว่า รับข้อมูลเข้ามาเก็บในหน่วยความจำ ปฏิบัติตามคำสั่งในโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง รวมทั้งจัดการให้การทำงานเป็นไปตามขั้นตอน และแสดงผลตามคำสั่งด้วยดู central processing unit ประกอบ |
disciplinarian | (ดิสซะพลิเน'เรียน) n. ผู้ยึดถือระเบียบวินัย, ผู้ควบคุมหรือบังคับให้เป็นไปตามระเบียบวินัย. adj. เกี่ยวกับระเบียบวินัย |
disnature | (ดิสเน'เชอะ) vt. ทำให้ไม่เป็นไปตามสภาพหรือลักษณะตามธรรมชาติ |
earthly | (เอิร์ธ'ลี) adj. เกี่ยวกับโลก, เกี่ยวกับโลกีย์วิสัย, เป็นไปได้, แห่งมนุษย์, Syn. worldly |
easily | (อี'ซีลี) adv. อย่างง่ายดาย, อย่างไม่ต้องสงสัย, อย่างราบรื่น, ดีกว่ามาก, ซึ่งมีทางเป็นไปได้, Syn. readily |
enforce | (เอนฟอร์ส') vt. ทำให้ปฎิบัติตาม, ใช้กำลังบังคับ, บังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย, See also: enforceability n. ดูenforce enforcer n. ดูenforce enforcive adj. ดูenforce enforcement n. ดูenforce |
error messsage | ข้อความระบุความผิดพลาดหมายถึงข้อความที่เตือนบนจอภาพเพื่อบอกให้รู้ว่า โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่กำลังใช้งานอยู่ในขณะนั้นมีอะไรผิด อาจเป็นไปได้ว่า ผู้ใช้ใช้คำสั่งผิด หรือทำผิดขั้นตอน สำหรับเครื่องแมคอินทอช ถ้าเป็นความผิดรุนแรง อาจเห็นเป็นลูกระเบิดบนจอภาพ ในกรณีที่เป็นเช่นนี้ จะต้องเริ่มต้นใหม่หมด |
feasibility studies | การศึกษาความเป็นไปได้ในวิชาคอมพิวเตอร์หมายถึง การศึกษาเพื่อชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการมีหรือใช้คอมพิวเตอร์ โดยคำนึงถึงกำไรและต้นทุน ช่วงเวลา กำลังเงินและกำลังคน เพื่อให้ทำงานตามโครงการใด ๆ ที่กำหนด โดยปรกติในการศึกษาความเป็นไปได้ จะมีข้อเสนอแนะทางเลือกอื่นที่เหมาะสมไว้ด้วยเสมอ |
feasible | (ฟี'ซะเบิล) adj. กระทำได้, เป็นไปได้, ดำเนินการได้, เหมาะสม., See also: fessability, feasibleness n. feasibly adv., Syn. practicable, Ant. unworkable |
fishy | (ฟิช'ชี) adj. คล้ายปลา (กลิ่น, รสหรืออื่น ๆ) , ซึ่งประกอบด้วยปลา, ซึ่งมีปลาอุดมสมบูรณ์, เหลือเชื่อ, ไม่น่าเป็นไปได้, น่าสงสัย, ทื่อ, ปราศจากความรู้สึก |
forbid | (ฟอร์บิด') vt. ห้าม, ยับยั้ง, ไม่อนุญาต, ป้องกัน, ขัดขวาง, ทำให้เป็นไปไม่ได้., See also: forbiddance n. -forbidder n. |
forced | (ฟอร์ซฺทฺ) adj. ซึ่งถูกบังคับ, ซึ่งถูกบีบบังคับ, ใช้แรง, ฝืนใจ, ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ., See also: forcedly adv. ness n. |
free-hearted | (ฟรีเฮาร์ท'ทิด) adj. เป็นไปเอง, โดยธรรมชาติ, ใจกว้าง, เปิดเผย, ตรงไปตรงมา |
heterodox | adj. ไม่เป็นไปตามทฤษฎี, นอกคอก |
horseshit | n. ความไร้สาระ, การโกหก, การพูดสุ่มสี่สุ่มห้า interj. คำอุทานที่แสดงความไม่เชื่อ, ความไม่น่าเป็นไปได้, Syn. common sense |
ideology | (ไอดิออล'ละจี) n. มโนคติวิทยา, ความคิดที่เป็นไปไม่ได้, ระบบความนึกคิด |
imaginable | (อิแมจ'จะนะเบิล) adj. เท่าที่จะนึกภาพได้, เท่าที่จะเป็นไปได้, เท่าที่จะคิดคะนึงได้., See also: imaginableness n. imaginably adv., Syn. unreal, visiionary, fanciful |
impossibility | (อิมพอสซิบิล' ลิที) n. ความเป็นไปไม่ได้, สิ่งที่เป็นไปไม่ได้, Syn. unreality |
impossible | (อิมพอส' ซะเบิล) adj. เป็นไปไม่ได้, ทำไม่ได้, ไม่มีทางจะบังเกิดขึ้น., See also: impossibleness n., Syn. inconceivable |
impossibly | (อิมพอส' ซะบลี) adv. อย่างเป็นไปไม่ได้, ซึ่งทำไม่ได้ |
improbability | (อิมพรอบอะบิล' ลิที) n. ความเป็นไปไม่ได้, สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ |
improbable | (อิมพรอบ' อะเบิล) n. ไม่น่าจะเป็นไปได้, ไม่น่าจะเกิดขึ้น., See also: improbably adv. improbableness n., Syn. rare, unlikely |
inconsistence | (อินคันซิส' เทินซฺ) n. ความไม่สอดคล้องกัน, ความไม่ลงรอยกัน, ความขัดกัน, ความไม่เป็นไปตามที่ว่า, สิ่งที่ไม่สอดคล้องกัน., Syn. inconsistency |
inconsistent | (อินคันซิส' เทินทฺ) n. ไม่สอดคล้องกัน, ไม่ลงรอยกัน, เข้ากันไม่ได้, ขัดกัน, ไม่เป็นไปตามที่ว่า., See also: inconsistently adv., Syn. incompatible, incongruent |
infeasible | (อินฟี'ซะเบิล) adj. ปฏิบัติไม่ได้, เป็นไปไม่ได้, See also: infeasibility, infeasibleness n. |
likelihood | (ไลคฺ'ลิฮูด) n. ความเป็นไปได้, ความน่าจะเป็นไปได้, Syn. possibility |
likely | (ไลคฺ'ลี) adj. เป็นไปได้, น่าจะเป็นไปได้, เหมาะสม, สมควร, มีหวัง., See also: likeliness n. ดูlikely |
marvellous | (มาร์'เวิลลัส) adj. น่าประหลาดใจ, น่าพิศวง, ดีเลิศ, ดีเด่น, ยิ่งใหญ่, เหลือเชื่อ, ไม่น่าเป็นไปได้., See also: marvelousness n. marvellousness n., Syn. wondrous |
marvelous | (มาร์'เวิลลัส) adj. น่าประหลาดใจ, น่าพิศวง, ดีเลิศ, ดีเด่น, ยิ่งใหญ่, เหลือเชื่อ, ไม่น่าเป็นไปได้., See also: marvelousness n. marvellousness n., Syn. wondrous |
maybe | (เม'บี) adv. บางที, อาจจะ, เป็นไปได้ |
mode | (โมด) n. วิธีการ, แบบ, ลักษณะการกระทำ (เกี่ยวกับปรัชญาKant) , ความเป็นจริงหรือการเป็นอยู่หรือความเป็นไปได้, แบบนิยม, แฟชั่น, สมัยนิยม |
modish | (โม'ดิช) adj. เป็นไปตามสมัยนิยม, ทันสมัย., See also: modishness n., Syn. stylish, Ant. dated |
odds | (ออดซ) n., pl. ความเป็นต่อในการพนัน, โอกาสที่จะเป็นไปได้มากกว่า, ความได้เปรียบ, ปริมาณที่ดีกว่าหรือเหนือกว่า. -at odds ไม่ลงรอยกัน, ไม่เห็นด้วย. -Phr. (by all odds, by long odds, by odds อย่างไม่ต้องสงสัย, แน่นอน, ในทุกกรณี) |
off chance | n. ความเป็นไปได้เล็กน้อยมาก |
off-season | (ออฟ'ซีเซิน) adj., adv. ในระยะเวลาหนึ่งของปี, เกี่ยวกับฤดูว่าง. n. ความเป็นไปหรือเกิดการปรากฎขึ้นในระยะเวลาหนึ่งของปี, ฤดูว่าง |
overwrought | (โอ'เวอะรอท) adj. เหน็ดเหนื่อยเกินไป, พิถีพิถันเกินไป, ประณีตเกินไป, เคร่งเครียดเกินไป, ตกใจง่าย, ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ vi. กริยาช่อง 3 ของ overwork |
perhaps | (เพอแฮพซฺ') adv. บางที, อย่างเป็นไปได้, กระมัง, Syn. possibly |
automatic | (adj) โดยอัตโนมัติ, เป็นไปเอง |
belike | (adv) อาจจะ, บางที, น่าเป็นไปได้ |
conceivable | (adj) พอจะคิดได้, เป็นไปได้ |
conformable | (adj) คล้อยตาม, เป็นไปตาม, ตรงกัน, ลงรอยกัน |
contingency | (n) ความเป็นไปได้, ความไม่แน่นอน, อุปัทวเหตุ |
fabulous | (adj) เกี่ยวกับนิยาย, ซึ่งคิดขึ้น, ไม่น่าเชื่อถือ, ไม่น่าเป็นไปได้ |
fare | (vi) ปรากฏ, มีประสบการณ์, เป็นไป, เกิดขึ้น, ท่องเที่ยวไป, จินตนาการ |
feasible | (adj) อาจกระทำได้, เป็นไปได้, อาจปฏิบัติได้ |
imaginable | (adj) ที่นึกฝันได้, เท่าที่จะเป็นไปได้ |
impossibility | (n) ความเป็นไปไม่ได้, ความเหลือทน |
impossible | (adj) เป็นไปไม่ได้, เหลือทน |
improbability | (n) ความเป็นไปไม่ได้ |
liability | (n) ความเป็นไปได้, ความรับผิดชอบ, ข้อบกพร่อง, หนี้, พันธกรรม, ความโน้มเอียง |
liable | (adj) อาจเป็นไปได้, รับผิดชอบ, มีแนวโน้ม, โน้มเอียง |
likelihood | (n) ความเป็นไปได้, ความน่าจะเป็น |
likely | (adj) อาจเป็นไปได้, น่าจะ, มีทีท่าว่า |
likely | (adv) อาจเป็นไปได้, อาจจะ, น่าจะ |
literally | (adv) เป็นไปตามตัวอักษร, อย่างแท้จริง |
pint | (n) น้ำหนักเป็นไปนต์ |
plausible | (adj) มีเหตุผล, น่าเชื่อถือ, เป็นไปได้ |
possibility | (n) ความเป็นไปได้ |
possible | (adj) เป็นไปได้, บางที, อาจจะ |
possibly | (adv) น่าจะเป็นไปได้, บางที, อาจจะ |
potential | (adj) ศักยะ, อาจเป็นไปได้, สามารถเป็นได้ |
potentiality | (n) ศักยภาพ, ความเป็นไปได้, ขีดความสามารถ |
presumable | (adj) โดยสมมุติ, น่าจะเป็นไปได้, พอจะสันนิษฐานได้ |
presumably | (adv) อย่างสมมุติ, อย่างน่าจะเป็นไปได้, อย่างสันนิษฐานได้ |
probable | (adj) น่าจะเป็น, น่าเชื่อ, เป็นไปได้ |
probably | (adv) บางที, น่า, คง, เป็นไปได้มาก |
unlikely | (adv) ไม่น่าจะเป็นไปได้, ไม่แน่, เชื่อไม่ได้ |