เพี้ยง | ว. เท่า, เสมอ, เหมือน. (ใช้ในโคลงแทน เพียง). |
เพี้ยง | อ. คำที่เปล่งออกมาเมื่ออธิษฐานให้เป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง. |
โฉมยง | น. รูปร่างงามสง่า เช่น หนุ่มน้อยโสภาน่าเสียดาย ควรจะนับว่าชายโฉมยง (อิเหนา), หญิงงามสง่า เช่น พระเพื่อนโฉมยงหย้อง อยู่เพี้ยงดวงเดือน (ลอ). |
แช่มช้า | ว. มีกิริยาเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ และสง่างาม เช่น นาคีมีพิษเพี้ยง สุริโย เลื้อยบ่ทำเดโช แช่มช้า (โลกนิติ). |
นาคี ๑ | น. งู เช่น นาคีมีพิษเพี้ยง สุริโย (โลกนิติ). |
เพียง | ว. เท่า เช่น เพียงใด เพียงนี้ เพียงนั้น, แค่, เสมอ, เช่น ศาลเพียงตา สูงเพียงหู, เหมือน เช่น งามเพียงจันทร์ รักเพียงดวงตาดวงใจ, พอ, ในคำโคลงใช้ เพี้ยง ก็มี. |
สัมผัสใน | น. สัมผัสที่อยู่ภายในวรรคเพื่อเพิ่มเสียงไพเราะ มีได้ทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษร เช่น ถึงโคกฆ้องหนองสะพานบ้านกะเหรี่ยง เห็นโรงเรียงไร่ฝ้ายทั้งซ้ายขวา (ขุนช้างขุนแผน), ในโคลงหมายรวมถึงสัมผัสสระและสัมผัสอักษรที่อยู่ระหว่างวรรคในบาทเดียวกันด้วย คือ คำสุดท้ายของวรรคแรกสัมผัสกับคำแรกของวรรคหลัง เช่น อ้าศรีเสาวภาคย์เพี้ยง เพ็ญแข (ตะเลงพ่าย). |
หอมหื่น | ก. หอมยวนใจ เช่น หอมหื่นรื่นรสเพี้ยง กลิ่นเนื้อนวลนางฯ (เห่ชมไม้). |