กงพัด ๒ | น. ไม้เหลี่ยมสอดในรูซึ่งเจาะที่โคนเสาเรือน ปลายทั้ง ๒ ยื่นออกมาวางอยู่บนหมอน (ซึ่งเรียกว่า งัว) ข้างละต้น, หรือถ้าไม่เจาะรู ก็ใช้เป็น ๒ อัน ตีขวางขนาบโคนเสาข้างละอันวางอยู่บนหมอนเหมือนกัน เพื่อกันทรุด. |
ดั้ง ๑ | เรียกเสาเรือนเครื่องสับที่ตั้งอยู่บนหลังรอดตรงกึ่งกลางความยาวของตัวรอดขึ้นไปรับอกไก่ ว่า เสาดั้ง, เรียกเสาที่ตั้งบนขื่อสำหรับรับอกไก่ ว่า ดั้งแขวน |
ตอม่อ | เสาชาน เสาแคร่ หรือเสาช่วยค้ำจุนเรือนโดยปักแนบกับเสาเรือน, เสาตอม่อ หรือ เสาหมอ ก็ว่า |
ตะเข้ ๒ | ไม้ยึดเสาเรือนหรือเสาเขื่อน. |
เต้า ๑ | น. เครื่องบนของเรือนลักษณะเป็นไม้ท่อนสี่เหลี่ยมแบน สอดโคนไว้ที่ช่องต่ำกว่าปลายเสาเรือน ตอนปลายใช้รับเชิงกลอน, ถ้าอยู่ตามเสารายข้างเรือน เรียกว่า เต้าราย, ถ้าอยู่ที่เสามุมเรือน มีเต้ายื่นออกไปอย่างน้อย ๒ ตัว เรียกว่า เต้ารุม. |
ไม้คอสอง | น. ไม้กำกับปลายเสาเรือนอยู่ถัดจากอเสลงมา. |
ระแนะ | น. เครื่องสำหรับรองรากตึกและเสาเรือน, แระ ก็เรียก |
แระ ๒ | น. เครื่องสำหรับรองรากตึกและเสาเรือน, ระแนะ ก็เรียก. |
เสา ๑ | น. ท่อนไม้สำหรับใช้เป็นหลักหรือเป็นเครื่องรองรับสิ่งอื่นมีเรือนเป็นต้น เช่น เสาเรือน เสาโทรเลข, เรียกสิ่งอื่น ๆ ที่ใช้ในลักษณะเช่นนั้น. |
เสาดั้ง | น. เสาเรือนเครื่องสับ ตั้งอยู่บนหลังรอดตรงกึ่งกลางความยาวของตัวรอดขึ้นไปรับอกไก่, ดั้ง ก็ว่า. |
เสาโด่ | น. เสาเรือนเครื่องผูก มักใช้ไม้ไผ่ ตั้งอยู่กึ่งกลางบนหลังรอดขึ้นไปรับอกไก่. |
เสาตรี | น. เสาเรือนที่ตั้งถัดเสาโทไปทางทิศตะวันตก. |
เสาตอม่อ | เสาชาน เสาแคร่ หรือเสาช่วยค้ำจุนเรือนโดยปักแนบกับเสาเรือน, ตอม่อ หรือ เสาหมอ ก็ว่า. |
เสาโท | น. เสาเรือนที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเสาเอก. |
เสาพล | น. เสาเรือนทั้งหมดที่มิใช่เสาเอก เสาโท และเสาตรี. |
เสาหมอ | เสาชาน เสาแคร่ หรือเสาช่วยค้ำจุนเรือนโดยปักแนบกับเสาเรือน, ตอม่อ หรือ เสาตอม่อ ก็ว่า |
เสาเอก | น. เสาเรือนต้นแรกที่ยกขึ้นตามฤกษ์ในการปลูกเรือน มักนิยมตั้งไว้ทางทิศตะวันออก. |
หมูสี ๒ | น. เรียกตาไม้เสาเรือนที่สูงจากพื้นดินประมาณศอกหนึ่ง ถือว่าเป็นเสามีลักษณะไม่ดี |