ซ่อมแซม | ก. แก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติมของที่ชำรุดให้กลับคืนสู่สภาพเดิม. |
แซม | ก. แทรกขึ้นมาในระหว่าง เช่น ฟันแซม ขนแซม, เสียบเข้าไปในระหว่าง เช่น เด็ดดอกไม้แซมผม, เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งเหน็บแทรกหรือสอดเข้าไปเพื่อแทนสิ่งที่ชำรุดให้ดีขึ้น เช่น แซมกระบุง แซมหลังคา. |
แซม | น. เรียกม้าที่มีขนสีอื่นแทรกขึ้นมาในระหว่างขนที่เป็นพื้น ว่า ม้าแซม. |
กระทิง ๑ | น. ชื่อวัวป่าขนาดใหญ่ที่สุดชนิด Bos gaurus Smith ในวงศ์ Bovidae ขนสีดำหรือดำแกมน้ำตาลแซมด้วยขนยาวสีเทาหรือเทาอมดำ ยกเว้นบริเวณหน้าผากมีขนสีเทา และครึ่งล่างของขาทั้ง ๔ เป็นขนสีขาวอมเหลือง ขนเหล่านี้อาจเห็นเป็นสีเหลืองทอง เนื่องจากเหงื่อที่เป็นน้ำมันที่ขับออกมา. |
กว่าง | (กฺว่าง) น. ชื่อแมลงพวกด้วงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Scarabaeidae ตัวผู้มีเขาที่หลังอก ตัวเมียไม่มีเขา เช่น ชนิด Xylotrupes gideon Linn. ตัวผู้ที่มีขนาดใหญ่เรียกว่า กว่างโซ้งหรือกว่างชน มีเขาที่หลังอกยื่นยาวเป็นจะงอยเรียวไปทางด้านหน้าและโค้งลง ตรงปลายเป็น ๒ แฉก กับที่หัวมีเขาเล็กยื่นออกไปเป็นเขาเดี่ยว โค้งขึ้นคล้ายนอแรด แต่ปลายแยกเป็น ๒ แฉก ตัวผู้ที่มีขนาดย่อมมีเขาสั้นเรียก กว่างกิหรือกว่างแซม ตัวเมียไม่มีเขาเรียก กว่างแม่หรือกว่างอีลุ่ม. |
เก้ง | น. ชื่อกวางในสกุล Muntiacusวงศ์ Cervidae เป็นกวางขนาดเล็ก ขนสีนํ้าตาลอมเหลืองจนถึงนํ้าตาลเข้ม หน้าผากเป็นสันเห็นได้ชัดเจน ตัวผู้มีเขาและเขี้ยว ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ อีเก้งหรือฟาน [ M. muntjak (Zimmermann) ] และเก้งหม้อ เก้งดำ ฟานดำ หรือกวางจุก [ M. Feae (Tomas & Doria) ] ตัวโตกว่าชนิดแรก ขนสีนํ้าตาลแก่เกือบดำ หัวมีขนลักษณะคล้ายจุกสีเหลืองแซมดำ. |
ข้าวละมาน | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Oryza minuta J. Presl et C. Presl ในวงศ์ Gramineae เป็นข้าวป่าชนิดหนึ่ง มักขึ้นแซมต้นข้าว, หญ้าละมาน ก็เรียก. |
ขุนทอง | น. ชื่อนกขนาดกลางชนิด Gracula religiosa Linn. ในวงศ์ Sturnidae ปากสีส้ม ที่ท้ายทอยและหางตาทั้ง ๒ ข้างมีแผ่นเนื้อสีเหลือง ขนลำตัวสีดำเลื่อมเป็นมัน ที่ปีกมีขนสีขาวแซม ตีนสีเหลืองจัด ร้องเลียนเสียงคนหรือเสียงอื่น ๆ บางอย่างได้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิดย่อย คือ ขุนทองเหนือ ( G. r. intermediaHay) แผ่นเนื้อต่อเนื่องกัน และขุนทองใต้หรือขุนทองควาย ( G. r. religiosa Linn.) ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าชนิดย่อยแรก และแผ่นเนื้อไม่ต่อเนื่องกัน, พายัพเรียก เอี้ยงคำ. |
งวง ๒ | น. ชื่อไก่ขนาดใหญ่ชนิด Meleagris gallopavo Linn. ในวงศ์ Meleagrididae ปากสั้นเรียวบาง หัวสีฟ้า หัวและคอเปลือยมีหนังตะปุ่มตะป่ำ ตัวผู้บริเวณหน้าผากเหนือจะงอยปากบนมีหนังสีแดงอมส้มห้อยยาวคล้ายงวงช้าง ยืดหดได้ ขนลำตัวสีเขียวอมน้ำเงินแซมด้วยสีเหลืองทอง ตัวเมียหนังที่ห้อยอยู่บริเวณหน้าผากเล็กและสั้นกว่าตัวผู้ ขนลำตัวสีน้ำตาลเรียงกันคล้ายเกล็ดปลา กินเมล็ดพืช ใบไม้ และสัตว์เล็ก ๆ มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ. |
ฐาปน-, ฐาปนา | (ถาปะนะ-, ถาปะนา) น. การก่อสร้าง, การแต่งตั้ง, การซ่อมแซม, การตั้งขึ้น. |
ตั้วสิว | ก. ซ่อมแซม เช่น ต้องตั้วสิวสำเภาเอาเข้าอู่ (เพลงยาวของกรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์). |
ทะนุบำรุง | ซ่อมแซมรักษา, อุดหนุนให้เจริญขึ้น, เช่น ทะนุบำรุงวัด |
ทำนุบำรุง | ซ่อมแซมรักษา, อุดหนุนให้เจริญขึ้น, เช่น ทำนุบำรุงวัด |
นาคราช ๒ | น. ชื่อเฟินหลายชนิดในสกุล Davallia วงศ์ Davalliaceae ลำต้นสีนํ้าตาลแซมดำเป็นเกล็ดคล้ายเกล็ดงู ใช้ทำยาได้ เช่น ชนิด D. denticulata (Burm.f.) Mett. ex Kuhn. |
แนม | แทรกแซมหรือแซงเข้าไป เช่น เอาลิ่มแนมให้แน่น, เรือตะเข้แนมทังสองข้าง (สามดวง) |
บุรณะ | (บุระ-) ก. บูรณะ, ซ่อมแซมทำให้กลับคืนดีเหมือนเดิม เช่น บุรณะวัด, มักใช้เข้าคู่กับ ปฏิสังขรณ์ เป็น บุรณปฏิสังขรณ์. |
บูรณะ | ก. ซ่อมแซมทำให้กลับคืนดีเหมือนเดิม เช่น บูรณะวัด, มักใช้เข้าคู่กับ ปฏิสังขรณ์ เป็น บูรณปฏิสังขรณ์. |
ปฏิการ-, ปฏิการะ | การซ่อมแซม. |
ปฏิสังขรณ์ | ก. ซ่อมแซมทำให้กลับคืนดีเหมือนเดิม (มักใช้เฉพาะวัดวาอาราม) เช่น ปฏิสังขรณ์วัด. |
โป๊ | ก. ส่งเสริมสิ่งที่บกพร่อง เช่น ยาโป๊, ทำสิ่งยังบกพร่องอยู่ให้สมบูรณ์ เช่น เอาสีโป๊ตรงที่เป็นช่องเป็นรู ก่อนทาสีเอาปูนโป๊รอยที่ชำรุด. (จ. โป้ว ว่า ปะชุนเสื้อผ้า, ซ่อมแซม, บำรุงร่างกาย). |
เลา ๑ | เรียกผมที่หงอกขาวและมีสีดำแซมอยู่บ้าง ว่า ผมสีดอกเลา. |
เลียงผา ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Capricornis sumatraensis (Bechstein) ในวงศ์ Bovidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง รูปร่างคล้ายแพะ ขนสีดำ บางตัวมีสีขาวแซม มีต่อมนํ้ามันตรงส่วนหน้าของตาทั้ง ๒ ข้าง มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย ขายาวและแข็งแรง อาศัยอยู่ตามภูเขาหรือหน้าผาสูง ๆ เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย, กูรำ โครำ เยือง หรือ เยียงผา ก็เรียก. |
อู | น. ชื่อไก่ชนิด Gallus gallus (Linn.) ตัวผู้บริเวณหน้า หงอน และเหนียงสีแดงจัด ขนคอยาว สีน้ำตาลแดง ขนปีกสีดำเหลือบเขียวเป็นมัน ขนตะโพกสีเหลือง ขนหางยาวเป็นมันสีดำเหลือบเขียว อาจมีขนสีเหลืองหรือขาวแซม ลำตัวล่ำ ช่วงไหล่ใหญ่ น่องใหญ่ล่ำ แข้งกลมเรียวมีเกล็ดขนาดใหญ่สีเหลืองอ่อน เทา หรือเหลืองอมแดง มีเดือยข้างละ ๑ อัน ลักษณะยาวปลายโค้งแหลม ตัวเมียรูปร่างเล็กกว่า ขนตามลำตัวส่วนมากมีสีดำ หรือดำประขาว มีหลายพันธุ์ เช่น ประดู่หางดำ เหลืองหางขาว. |
Barrel per Day | ปริมาณน้ำมันที่กลั่นออกมาได้ในรอบปี หารด้วยจำนวนวันที่ปฏิบัติงานจริง, ปริมาณน้ำมันที่กลั่นออกมาได้ในรอบปี หารด้วยจำนวนวันที่ปฏิบัติงานจริง (ไม่นับวันที่หยุดและซ่อมแซมอุปกรณ์) (ความหมายในแง่การกลั่น) [ปิโตรเลี่ยม] |
Intercropping | การปลูกพืชแซม [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Spontaneous mutations | การกลายพันธุ์เกิดเอง, การเปลี่ยนแปลงของสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ (DNA) ของเซลล์สิ่งมีชีวิต ที่เกิดขึ้นจากปัจจัยต่างๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติ เช่น แสงแดด อุณหภูมิ หรือเกิดจากความผิดพลาดในกระบวนการสร้างและซ่อมแซมดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตนั้น [นิวเคลียร์] |
Art, Zambian | ศิลปะแซมเบีย [TU Subject Heading] |
Clemens, Samuel Langhorne, 1835-1910 | คลีเมนส์, แซมมวล แลงฮอร์น, ค.ศ. 1835-1910 [TU Subject Heading] |
Maintenance and repair | การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม [TU Subject Heading] |
Repair and reconstruction | การซ่อมแซมและการสร้างใหม่ [TU Subject Heading] |
Repairing | การซ่อมแซม [TU Subject Heading] |
Saemaul Undong | แซมาอึล อุนดง [TU Subject Heading] |
Samba (Dance) | แซมบ้า (การเต้นรำ) [TU Subject Heading] |
Sambas | ดนตรีแซมบ้า [TU Subject Heading] |
Repair | การซ่อมแซม, Example: การซ่อมแซมสิ่งของเพื่อให้อยู่ในสภาพที่ใช้งาน ได้อีก [สิ่งแวดล้อม] |
Common Market for Eastern and Southern Africa | ตลาดร่วมแห่งภูมิภาคแอฟริกาตะวันออกและแอฟริกาตอนใต้ " จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม 2537 มีประเทศสมาชิกรวม 20 ประเทศ ได้แก่ แองโกลา บุรุนดี คอโมโรส สาธารณรัฐประชาธิปไตย คองโก จิบูตี อียิปต์ เอริเทรีย เอธิโอเปีย เคนยา มาดากัสการ์ มาลาวี มอริเชียส นามิเบีย รวันดา เซเชลส์ ซูดาน สวาซิแลนด์ แซมเบีย ซิมบับเว และยูกันดา " [การทูต] |
Commonwealth of Nations | การรวมตัวของชาติต่าง ๆ เข้าเป็นสมาคมทางการเมือง ประกอบด้วยประเทศสหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย แคนาดา ลังกา ไซปรัส แกมเบีย กาน่า อินเดีย จาไมก้า คีเนีย มาเลเซีย มาลาวี มอลต้า นิวซีเแลนด์ ไนจีเรีย ปากีสถาน ซิเอร่าเลโอน แทนเซียเนีย ทรินิแดด-โทเบโก ยูแกนดา และแซมเบียตามทรรศนะของ Oppenheim ศาสตราจารย์นักกฎหมายระหว่างประเทศในระดับโลก สมาคมทางการเมืองแห่งนี้ก็คือกลุ่มของรัฐที่รวมกันโดยไม่มีพื้นฐานการรวมตัว ทางกฎหมายที่เคร่งครัดแต่อย่างใด หากแต่มีความผูกพันร่วมกันในด้านประวัติศาสตร์ จารีตประเพณี กฎหมาย และมีผลประโยชน์ร่วมกันอย่างแน่นแฟ้นมากกว่า [การทูต] |
Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] |
North Atlanitc Treaty Organization | องค์การนาโต้ หรือองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ซึ่งได้ลงนามกันเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1949 ประเทศสมาชิกขณะเริ่มตั้งองค์การครั้งแรก ได้แก่ ประเทศเบลเยี่ยม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ต่อมาประเทศกรีซและตรุกีได้เข้าร่วมเป็นภาคีของสนธิสัญญาเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952 และเยอรมนีตะวันตก ( ในขณะนั้น) เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1955 สนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1949ในภาคอารัมภบทของสนธิสัญญา ประเทศภาคีได้ยืนยันเจตนาและความปรารถนาของตน ที่จะอยู่ร่วมกันโดยสันติกับประเทศและรัฐบาลทั้งหลาย ที่จะปกป้องคุ้มครองเสรีภาพมรดกร่วม และอารยธรรมของประเทศสมาชิกทั้งมวล ซึ่งต่างยึดมั่นในหลักการของระบอบประชาธิปไตย เสรีภาพส่วนบุคคลหลักนิติธรรม ตลอดจนจะใช้ความพยายามร่วมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อป้องกันประเทศ และเพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงในสนธิสัญญาดังกล่าว บทบัญญัติที่สำคัญที่สุดคือข้อ 5 ซึ่งระบุว่า ประเทศภาคีสนธิสัญญาทั้งหลายต่างเห็นพ้องต้องกันว่า หากประเทศภาคีหนึ่งใดหรือมากกว่านั้น ในทวีปยุโรปหรือในอเมริกาเหนือ ถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธ จักถือว่าเป็นการโจมตีต่อประเทศภาคีทั้งหมด ฉะนั้น ประเทศภาคีจึงตกลงกันว่า หากมีการโจมตีด้วยกำลังอาวุธเช่นนั้นเกิดขึ้นจริง ประเทศภาคีแต่ละแห่งซึ่งจะใช้สิทธิในการป้องกันตนโดยลำพังหรือร่วมกัน อันเป็นที่รับรองตามข้อ 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติ จะเข้าช่วยเหลือประเทศภาคีแห่งนั้นหรือหลายประเทศซึ่งถูกโจมตีด้วยกำลัง อาวุธในทันทีองค์กรสำคัญที่สุดในองค์การนาโต้เรียกว่า คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศภาคีสนธิสัญญานาโต้ คณะมนตรีนี้จะจัดตั้งองค์กรย่อยอื่น ๆ หลายแห่ง รวมทั้งกองบัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรภาคพื้นยุโรปและภาคพื้น แอตแลนติก สำนักงานใหญ่ขององค์การนาโต้ตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส [การทูต] |
Organization of European Economic Cooperation | คือองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจของยุโรป สัญญาที่ก่อตั้งองค์การนี้ได้มีการลงนามกัน ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.ศ.1948 โดยรัฐบาลของประเทศออสเตรีย เบลเยี่ยม เดนมาร์ก ฝรั่งเศส กรีซ ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ตุรกี โดยแม่ทัพของฝรั่งเศส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกาที่ประจำอยู่ในเขตยึดครองในเยอรมนี (หลังเสร็จสงครามโลกครั้งที่สอง)จุดประสงค์สำคัญที่สุดขององค์การนี้คือ ต้องการให้ทวีปยุโรปมีภาวะเศรษฐกิจกลับคืนมาใหม่อย่างมั่นคง ด้วยการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิก สำนักงานใหญ่ขององค์การนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสอย่างไรก็ดี บัดนี้ได้มีองค์การตั้งขึ้นใหม่แทนองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจของยุโรป เรียกว่า องค์การร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organization for Economic Cooperation and Development ) หรือ OECD สำหรับสัญญาจัดตั้งองค์การโอดีซีดีนี้ ได้มีการลงนามกัน ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1960 โดยรัฐบาลของประเทศออสเตรีย เบลเยี่ยม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ สเปน สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ตุรกี อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา สัญญาดังกล่าวมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1961จุดประสงค์สำคัญขององค์การโออีซีดี มีดังนี้1. เพื่อให้บรรดาประเทศสมาชิกได้มีความเติบโตทางเศรษฐกิจ มีแรงงาน อาชีพ และมาตรฐานการครองชีพให้มากที่สุด ขณะเดียวกันก็พยายามรักษาเสถียรภาพทางการคลังไว้เพื่อเป็นการเกื้อกูลต่อการ พัฒนาเศรษฐกิจของโลก2. ระหว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ให้ประเทศสมาชิกมีโอกาสขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคง รวมทั้งในประเทศที่มิได้เป็นสมาชิกด้วย3. ต้องการมีส่วนเกื้อกูลต่อการขยายตัวทางการค้าในรูปพหุภาคี และปราศจากการกีดกันแต่อย่างใด ตามพันธกรณีระหว่างประเทศองค์การสำคัญในองค์การโออีซีดีคือคณะมนตรี ( Council ) ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมด มีคณะกรรมการบริหารรวมทั้งเลขาธิการ สำนักงานใหญ่ขององค์การตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส [การทูต] |
Southern African Development Community | ประชาคมเพื่อการพัฒนาแอฟริกาตอนใต้ " จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2535 ประกอบด้วย 14 ประเทศ คือ อังโกลา บอตสวานา เลโซโธ มาลาวี มอริเชียส โมซัมบิก นามิเบีย แอฟริกาใต้ สวาซิแลนด์ แทนซาเนีย แซมเบีย ซิมบับเว สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และเซเชลส์ " [การทูต] |
Repair | ค่าซ่อมแซม [การบัญชี] |
Bone, Repair of | การซ่อมแซมของกระดูก [การแพทย์] |
Dark Repair | การซ่อมแซมในที่มืด [การแพทย์] |
Excision Repair | การซ่อมแซมในที่มืด [การแพทย์] |
probability | ความน่าจะเป็น, อัตราส่วนระหว่างจำนวนสมาชิกของเหตุการณ์ที่น่าสนใจกับจำนวนสมาชิกของแซมเปิลสเปซที่เป็นเซตจำกัดและสมาชิกเหล่านั้นมีโอกาสเกิดขึ้นได้เท่า ๆ กัน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
complement of an event | คอมพลีเมนต์ของเหตุการณ์, ถ้า E เป็นเหตุการณ์ที่อยู่ในแซมเปิลสเปซ S แล้ว คอมพลีเมนต์ของเหตุการณ์ E (E') คือเหตุการณ์ที่ประกอบด้วยสมาชิกที่อยู่ใน S แต่ไม่อยู่ใน E [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
event | เหตุการณ์, สับเซตของแซมเปิลสเปซ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
protein | โปรตีน, สารอาหารประเภทที่ให้พลังงาน เป็นพอลิเพปไทด์ที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนจำนวนมากเรียงต่อกัน สารอาหารชนิดนี้จำเป็นต่อสิ่งมีชีวิต คือช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตและเสริมสร้างซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอให้คงสภาพปกติ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
multiple cropping | การปลูกพืชแซม, การปลูกพืชที่มีรากตื้นสลับกับพืชที่มีรากหยั่งลึกลงไปในดิน เช่น การปลูกถั่วหรือสับปะรด แซมระหว่างแถวของต้นยางพารา [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Gels, Sample | แซมเปิลเจล [การแพทย์] |
Molding Process | การซ่อมแซมปรับแต่งตามธรรมชาติ [การแพทย์] |
bodge | (vt) ทำหรือซ่อมแซมได้ไม่ดีเท่าที่ควรจะเป็น, Syn. botch |
botch | (vt) ซ่อมแซมอย่างลวกๆ, See also: งานหยาบ |
catch crop | (n) พืชโตเร็วที่ปลูกแซมระหว่างแถวของพืชอื่น, Syn. quick-growing crop |
do over | (phrv) ซ่อมแซม |
do up | (phrv) ซ่อมแซม (คำไม่เป็นทางการ) |
fit up | (phrv) ตระเตรียมให้พร้อมสำหรับ, See also: ซ่อมแซม, แก้ไขให้พร้อมสำหรับ |
fix over | (phrv) ซ่อมแซม, See also: ปรับปรุง |
fix up | (phrv) ซ่อมแซม, See also: ปรับปรุง |
fix with | (phrv) ซ่อมแซมด้วย, See also: ซ่อมด้วย |
disrepair | (n) ความชำรุดทรุดโทรม, See also: การขาดการซ่อมแซม, สภาพชำรุดทรุดโทรม, Syn. collapse, ruination |
doctor | (vt) ซ่อม, See also: ซ่อมแซม |
fix | (vt) ซ่อมแซม, See also: ซ่อม, แก้, Syn. repair, mend, correct, Ant. damage, spoil |
go over | (phrv) ทำความสะอาด, See also: ซ่อมแซม |
hatter | (n) คนที่ทำ ขาย และซ่อมแซมหมวก |
hoarding | (n) รั้วไม้ที่กั้นรอบตึกเป็นการชั่วคราวเมื่อมีการก่อสร้างหรือซ่อมแซมตึก |
under construction | (idm) กำลังซ่อมแซม, See also: กำลังสร้าง |
imp | (vt) ซ่อมแซมขนปีกให้นกอินทรีหรือเหยี่ยว |
insert | (vt) แซม, See also: แทรก, แทรกเข้า, Syn. enter, include |
knit up | (phrv) ซ่อมแซม, See also: ทำให้เข้าคืนสู่สภาพที่ดี, ทำให้ใช้การได้ |
lie up | (phrv) (เรือ) จอดเทียบท่า (เพื่อซ่อมแซม, ใช้งาน), Syn. put up |
mend | (vt) แก้ไข, See also: ปะชุน, ซ่อมแซม, Syn. repair, improve, correct |
mendable | (adj) ซึ่งซ่อมแซมได้, Syn. curable |
mender | (n) ผู้ซ่อมแซม, Syn. repairer |
mending | (n) เสื้อผ้าซึ่งเย็บซ่อมแซม, Syn. restoring, renovating, repairing |
patch up | (phrv) ซ่อมแซม |
piece up | (phrv) ซ่อมแซม, See also: ซ่อม, ปะ |
put right | (phrv) ซ่อมแซม, Syn. set right |
recondition | (vt) ซ่อมแซม, See also: ปรับปรุง, Syn. repair, renovate |
rehabilitate | (vt) ทำให้ตึกหรืออาคารกลับสู่สภาพเดิม, See also: ซ่อมแซม, ปฏิสังขรณ์, Syn. reestablish, restitue |
renew | (vt) เปลี่ยนใหม่, See also: ซ่อมแซม, Syn. repair, upgrade |
renovate | (vt) ปฏิสังขรณ์, See also: ทำให้มีสภาพดีเหมือนเดิม, ซ่อมแซมใหม่, บูรณะ, Syn. rebuild, repair, restore |
renovation | (n) การปฏิสังขรณ์, See also: การทำให้มีสภาพดีเหมือนเดิม, การบูรณะ, การซ่อมแซมใหม่, Syn. renewal, reparation |
repair | (vt) ซ่อมแซม, See also: แก้ไข, Syn. fix, heal, mend |
repair | (n) การซ่อมแซม, See also: การแก้ไข, Syn. amendment, mend |
repairable | (adj) ซึ่งซ่อมแซมใหม่ |
repairer | (n) ผู้ซ่อมแซมใหม่ |
reparation | (n) การซ่อมแซม, Syn. repair, mend |
reparative | (adj) ซึ่งซ่อมแซมได้, Syn. remedial |
restore | (vt) ซ่อมแซม, See also: ปฏิสังขรณ์, Syn. fix, mend, repair |
retrieve | (vt) ทำให้กลับสู่สภาพเดิม, See also: ซ่อมแซม, Syn. recover, restore |
revamp | (vt) ปรับปรุงใหม่, See also: ซ่อมแซม, แก้ไข, Syn. alter, modify, recondition |
revamp | (n) การปรับปรุงใหม่, See also: การซ่อมแซม, การแก้ไข, Syn. alteration |
right | (vt) แก้ไข, See also: ซ่อมแซม, Syn. amend, correct, fix |
samba | (n) จังหวะเต้นรำแซมบ้าของบราซิล |
samba | (vi) เต้นรำจังหวะแซมบ้า |
Samson | (n) แซมซัน (ชาวยิวกำลังมหาศาลในพระคัมภีร์ไบเบิล), See also: ผู้มีกำลังมหาศาล |
service station | (n) แผนกซ่อมบำรุง, See also: สถานีบริการซ่อมเครื่องล้างและอัดฉีดรถยนต์, สถานีซ่อมแซม, Syn. filling station, gas station |
serviceman | (n) ทหารช่าง, See also: เจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุง, เจ้าหน้าที่ซ่อมแซม |
sew | (vi) เย็บ, See also: เย็บผ้า, ปะชุน, ซ่อมแซม, Syn. bind, embroider, seam, stitch, Ant. ravel, rip |
sew | (vt) เย็บ, See also: เย็บผ้า, ปะชุน, ซ่อมแซม, Syn. bind, embroider, seam, stitch, Ant. ravel, rip |
air station l | นามบินที่มีเครื่องบินซ่อมแซมและบริการสำหรับเครื่องบิน |
armorer | n. ผู้สร้างและซ่อมแซมอาวุธ, ทหารฝ่ายสรรพาวุธ, ผู้ผลิตอาวุธ |
armourer | n. ผู้สร้างและซ่อมแซมอาวุธ, ทหารฝ่ายสรรพาวุธ, ผู้ผลิตอาวุธ |
assam | (แอสแซม') n. รัฐอัสสัมในอินเดีย |
basophils | เป็นเม็ดเลือดขาวที่มีแกรนูล มีจำนวนน้อยมากประมาณ 0-1.6 % มีหน้าที่ในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ เกี่ยวกับการอักเสบ มีความสำคัญต่อปฏิกริยา antigen antibody คือจะทำให้ basophils แตกออกแล้วปล่อย histamine ออกมา |
blink | (บลิงคฺ) vi., vt. กะพริบตา, หยีตา, เมินเฉย, ส่องแสงเป็นระยะ, ให้สัญญาณไฟกะพริบ -n. การกะพริบตา, การมองแวบเดียว, แสงริบหรี่ -Phr. (on the blinkใช้การไม่ได้ ต้องการซ่อมแซม) |
botch | (บอทชฺ) { botched, botching, botches } vt., vi. ทำเสียอย่างลวก ๆ , ซ่อมแซมอย่างลวก -n. งานลวก, งานหยาบ, งานปุปะ , ตุ่มบนผิวหนัง |
clout | (เคลาทฺ) { clouted, clouting, clouts } n. การตี, การต่อย, การตบ, การตีลูกไกล, อิทธิพลของความคิด, ปาฏิหาริย์, เป้า, ลูกกระสุนที่ถูกเป้า, เศษผ้าปะ, เศษของที่ใช้ซ่อมแซม, เศษผ้า, ผ้าขี้ริ้ว. vt. พันผ้า, ปะ, ซ่อมแซม, ตอกตะปูเสริม, ตี, ต่อย, Syn. blow, wal |
connective tissue | เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เนื้อเยื่อชนิดนี้มีเซลล์น้อยแต่มี matrix มาก เนื้อเยื่อชนิดนี้พบได้ทั่วไปใปมากกว่าเนื้อเยื่อชนิดอื่นทำหน้าที่ให้เนื้อเยื่ออื่นยึดเกาะติดกัน รองรับและห่อหุ้มเนื้อเยื่ออื่น ๆ ช่วยให้อาหารให้แก่เนื่อเยื่อที่เกาะอยู่ ป้องกันและให้ความปลอดภัยแก่ร่างกายโดยทำหน้าที่ซึม ทำลายวัตถุที่แปลกปลอม ยังช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อทีสึกหรอ แบ่งออกเป็น สองชนิดคือ 1.embryonic 1.1 mesenchyme เจริญมาจากชั้น mesoderm จะพบใน embryo และเจริญขึ้นอย่างรวดเร็วเป็น connective tissue ชนิดต่าง ๆ 1.2 mucous connective tissue ลักษณะคล้ายเมือกข้นที่ขับจากต่อมน้ำมูก (mucin) มีกลุ่มของอเส้นใยละเอียดสีขาว พบได้ที่สายสะดือเด็กเรียกว่า wharton's jelly 2. adult 2.1 เนื้อเยื่อเกี่ยวพันแท้ 2.2 เลือดและน้ำเหลือง 2.3 กระดูกอ่อน 2.4 กระดูกแข็ง |
cross-examine | (ครอส'อิกแซม'มิน) vi. ตรวจสอบโดยคำถาม, ตรวจสอบอย่างละเอียด, ซักถามพยานฝ่ายตรงข้าม, See also: cross-examination n. ดูcross-examine cross-examiner n. ดูcross-examine |
disrepair | (ดิสรีแพร์') n. ความชำรุดทรุดโทรม, สภาพที่ขาดการซ่อมแซม, Syn. decay |
docter | (ดอค'เทอะ) n. นายแพทย์, หมอ, ดอกเตอร์ vt. รักษา, ซ่อมแซม, ปลอม, ปรับปรุง, มอบปริญญาเอกให้ vi. รักษา, รับยา., See also: doctoral adj. ดูdocter doctorial adj. ดูdocter doctorship n. ดูdocter |
exam | (อิกแซม') n. ดูexamination |
examination | (อิกแซมมะเน'เชิน) n. การสอบ, การทดสอบ, การตรวจสอบ, Syn. inspection |
examine | (อิกแซม'มิน) { examined, examining, examines } vt. สอบ, ทดสอบ, ตรวจสอบ, See also: examinable adj. ดูexamine examiner n. ดู examine examingly adv ดูexamine, Syn. scrutinize |
examinee | (อิกแซม'มะนี) n. ผู้ถูกทดสอบ, ผู้เข้าสอบ, นักเรียน |
examiner | (อิกแซม'มะเนอะ) n. ผู้ตรวจสอบ, ผู้ทดสอบ, |
example | (อิกแซม'เพิล) { exampled, exampling, examples } n. ตัวอย่าง, อุทาหรณ์, แบบอย่าง vt. ยกตัวอย่าง. -Id. (set (give) a (good) example (to) เป็นแบบอย่างแก่), Syn. model, lesson |
fencer | n. ผู้ล้อมรั้ว, ผู้ฟันดาบ, นักดาบ, ม้าที่ได้รับการฝึกฝนกระโดดข้ามรั้ว, นักวิ่งกระโดดข้ามเครื่องกีดขวาง, ผู้มีอาชีพซ่อมแซมและสร้างรั้ว |
fettle | (เฟท'เทิล) n. ภาวะ, สภาพ, ท่าทาง. vt. เอาทรายออก, ซ่อมแซมพื้นที่ตั้งเตาไฟ, Syn. state |
fix | (ฟิคซฺ) { fixed, fixing, fixes } vt. ทำให้แน่น, ติด, ติดแน่น, กำหนดแน่นอน, เพ่งมอง, เพ่งความสนใจ, ป้ายความผิด, ซ่อมแซม, จัดให้เรียบร้อย, จัดให้เป็นระเบียบ, เตรียมอาหาร, แก้แค้น, ลงโทษ, จัดการ, เปลี่ยนไนโตรเจนในอากาศให้เป็นสารประกอบที่มีประโยชน์ (เช่นปุ๋ย) , ทำให้ภาพเกาะแน่นโด |
fixing | (ฟิค'ซิง) n. การยึดติด, การเกาะติด, การเกาะแน่น, การซ่อมแซม, อุปกรณ์, เครื่องประกอบ, เครื่องตกแต่ง, การปรุงแต่ง |
flotsam | (โฟลท'แซม) n. ซากเรืออับปางที่ลอยอยู่ |
indexed sequential access | วิธีการเข้าถึงลำดับดรรชนีใช้ตัวย่อว่า ISAM (อ่านว่า ไอแซม) เป็นเทคนิคที่ใช้ในการเก็บข้อมูลอย่างหนึ่ง เพื่อให้สามารถเรียกมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง ใช้ในโปรแกรมประเภทคลังข้อมูล |
irredeemable | (เออริดี'มะเบิล) adj. เอาเงินคืนไม่ได้, เปลี่ยนแปลงไม่ได้, เอากลับไม่ได้, ไม่สามารถจะซ่อมแซมได้, ไร้ความหวัง., See also: irredeemilltiy, irredeembleness n. irredeemably adv. |
irremediable | (เออริมี'เดียเบิล) adj. ไม่มีทางรักษา, ไม่สามารถจะรักษาได้, แก้ไขไม่ได้, ซ่อมแซมไม่ได้., See also: irremediableness n. irremediably adv., Syn. incurable |
irretrievable | (เออริทรีฟ'วะเบิล) adj. เอาคืนไม่ได้, แก้ไขไม่ได้, ซ่อมแซมไม่ได้, See also: irretrieva- bility, irretrievableness n. irretrievably adv. |
isam | (ไอแซม) ย่อมาจาก indexed sequential access method (แปลว่า วิธีการเข้าถึงลำดับดรรชนี) เป็นเทคนิคที่ใช้ในการเก็บข้อมูลอย่างหนึ่ง เพื่อให้สามารถเรียกมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง ใช้ในโปรแกรมประเภทคลังข้อมูล |
lineman | (ไลนฺ'เมิน) n. ช่างติดตั้งหรือซ่อมแซมโทรศัพท์ โทรเลขหรือสายอื่น ๆ , ผู้เล่นฟุตบอลริมสนาม pl. linemen, Syn. linesman |
manhole | (แมน'โฮล) n. รูหรือปากทางเข้าท่อขนาดใหญ่, ช่องสำหรับเข้าไปตรวจหรือซ่อมแซม |
mend | (เมนดฺ) vt. ซ่อมแซม, แก้ไข, ปะ, แก้, ทำให้ถูกต้อง, ปรับปรุง. vi. ดีขึ้น, เจริญขึ้น. n. การซ่อมแซม, การแก้ไข, การแก้, การปะ, การทำให้ถูกต้อง, ที่ที่ ซ่อมแซมหรือแก้ไขแล้ว. -Phr. (on the mend กำลังฟื้นแก้ไข) ., See also: mendable adj. คำที่มีความหมายเหมือนกั |
piece | (พีส) n. ชิ้น, อัน, แผ่น, ท่อน, ก้อน, ผืน, ตอน, พับ, ม้วน, ผลงาน, รายการ, อย่าง, ปืนของทหาร, ปืนใหญ่, ระยะทาง, เหรียญกษาปณ์, ตัวหมากรุก, เม็ดละมุด (clitoris) ของหญิง vt. ซ่อม, ซ่อมแซม, ปะ, ต่อ, รวบรวม -Phr. (go to pieces ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้) -Phr. (of a piece ชนิดเดียวกัน ] |
re-dress | (รีเดรส') vt. แต่งตัวใหม่, ซ่อมแซมใหม่, ทายาบนบาดแผลใหม่ |
rebuild | (รีบิลดฺ') { rebuilt, rebuilding, rebuilds } vt. ซ่อมแซม, สร้างใหม่, ปรับปรุงใหม่, ทำให้คืนสภาพเดิม, Syn. repair |
recondition | (รีเคินดิช'เชิน) vt. ซ่อมแซม, สภาพดีขึ้น, ปรับปรุง, Syn. repair, make over |
reexamine | (รีอิกแซม'มิน) vt. ตรวจสอบใหม่, สอบพยานใหม่, adj., See also: reexamination n. re-examiner n. |
remediless | (เรม'มิดีลิส) adj. แก้ไขไม่ได้, รักษาไม่ได้, เยียวยาไม่ได้, ไม่อาจซ่อมแซมได้ |
renew | (รีนิว') vt., vi. เริ่มใหม่, ทำใหม่, เปลี่ยนใหม่, ซ่อมแซม, เสริม, เติม, ฟื้นฟู, สร้างใหม่, ทำให้เป็นหนุ่มใหม่, ทำให้มีพลังใหม่, ต่อสัญญา, ทำให้กลับสู่สภาพเดิม, See also: renewability n. renewable adj. renewably adv. renewedly adv. renewer n. ค |
renovate | (เรน'นะเวท) vt. ทำใหม่, ปรับปรุงใหม่, ซ่อมแซม, ทำให้มีพลังใหม่, ทำให้มีชีวิตชีวาใหม่, ทำให้กลับสู่สภาพเดิม adj. ทำใหม่, ปรับปรุงใหม่, See also: renovation n. renovative adj. renovator n., Syn. make new, revive, refurbish |
repair | (รีแพรฺ') vt. ซ่อมแซม, ซ่อมปะ, แก้ไข, ปฏิสังขรณ์, ฟื้นฟู, รักษา, เยียวยา, ชดเชย, ชดใช้ n. การซ่อมแซม, งานซ่อมแซม, ส่วนที่ซ่อมแซม, See also: repairs ค่าซ่อมแซม repairability n. repairable adj. repairableness n. repairer n. คำที่มีความหมายเหมื |
reparable | (เรพ'พะระเบิล) adj. ซ่อมแซมได้, แก้ไขได้, ปรับปรุงได้, ปฏิสังขรณ์ได้, รักษาหรือเยียวยาได้, ชดเชยได้, See also: reparably adv. |
reparation | (เรพพะเร'เชิน) n. การซ่อมแซม, การแก้ไข, ปรับปรุง, การปฏิสังขรณ์, การฟื้นฟู, การชดเชย, การรักษาการเยียวยา, See also: reparative adj., Syn. atonement, amends |
restitute | (เรส'ทิทิวทฺ) vt. ซ่อมแซม, ทำให้กลับสู่สภาพเดิม, พักฟื้น, ชดใช้, ใช้คืน, ล้างบาป, See also: restitutive adj. restitutory adj. |
restitution | (เรสทิทิว'เชิน) n. การซ่อมแซม, การทำให้กลับสู่สภาพเดิม, การพักฟื้น, การชดใช้, การใช้คืน, การล้างบาป, Syn. recompense, amends, restoration |
restoration | (เรสทะเร'เชิน) n. การซ่อมแซม, การปฏิสังขรณ์, การทำให้คืนสู่สภาพหรือรูปเดิม, การทำให้คืนชีพ, การทำให้กลับคืนดี, การส่งคืน, การสร้างขึ้นใหม่, Syn. renewal, replacement |
restorative | (ริสทอ'ระทิฟว) adj. เป็นการซ่อมแซม, การฟื้นฟู, เป็นการปฏิสังขรณ์, บำรุงเลี้ยง n. ยาบำรุงกำลัง, สิ่งที่ทำให้คืนสู่สภาพเดิม, สิ่งที่ทำให้ฟื้นสติ, See also: restorativeness n. |
restore | (รีสทอร์') vt. ฟื้นฟู, ซ่อมแซม, ปฏิสังขรณ์, ทำให้แข็งแรง, บำรุงกำลัง, บำรุงร่างกาย, ส่งคืน, สร้างใหม่, See also: restorable adj. restorer n., Syn. reinstitute, repair |
retrieval | (รีทรี'เวิล) n. การเอากลับคืนมา, การทำให้คืนสู่สภาพเดิม, การแก้ไข, การซ่อมแซม, การช่วยชีวิต, การกอบกู้ |
retrieve | (รีทรีฟว') vt., vi. (การ) เอาคืนมา, ทำให้คืนสู่สภาพเดิม, ซ่อมแซม, กู้, ช่วยชีวิต, กอบกู้, (คอมพิวเตอร์) เก็บข้อมูลไว้ในความทรงจำของเครื่องคอมพิวเตอร์. n., See also: retrievable adj. |
retriever | (รีทรี'เอะ) n. ผู้เอาคืนมา, ผู้ซ่อมแซม, ผู้กอบกู้, ผู้ช่วยชีวิต, สุนัขจำพวกหนึ่งที่สามารถคาบสัตว์ที่ถูกยิงกลับคืนมา |