ขะแถก | ก. กระแทก, กระทบโดยแรง, กระทุ้ง, เช่น ขะแถกแทงทอท่ยว เขาส้ยมส่ยวยงงมี (ม. คำหลวง มหาราช). |
แถก | ก. ถ่าง, กาง, เช่น ปลาแถกเหงือก |
แถก | เสือกไป, ไถไป, ดิ้นรน, เช่น บพิตรพณเกล้า ข้าเห็นพราหมณ์เถ้าแถกมาถึง ชาวกาลึงคราษฎร์ฦๅ (ม. คำหลวง กุมาร) |
แถก | ถาก, ปาด |
แถก | กัดถลาก ๆ เช่น หมาแถกเอา |
แถก | แทะด้วยหน้าฟัน เช่น หมาแถกกะลามะพร้าว |
แถก | โกนผมโดยใช้มีดกดลงอย่างแรงและลากไปเป็นทางยาวอย่างไม่ประณีต ในคำว่า แถกผม |
แถก | กระเสือกกระสน เช่น ปลาช่อนก็ดิ้นแถกโผล่ขึ้นมาอาศัยอยู่ในหนองน้ำนั้นต่อไปใหม่ (สารคดีชีวิตสัตว์ของนายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล). |
แถกขวัญ | ก. ทำลายขวัญ, ทำให้กลัว, เช่น นกเอ๋ยนกแสก จับจ้องร้องแจ๊กเพียงแถกขวัญ (กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า พระยาอุปกิตศิลปสาร). |
ปลาหมอแถกเหงือก | ก. กระเสือกกระสนดิ้นรน. |
หมอ ๓ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Anabas testudineus (Bloch) ในวงศ์ Anabantidae ลำตัวป้อม แนวสันหลังโค้งพอ ๆ กับแนวสันท้อง แบนข้าง ท้องกลม คอดหางกว้าง ตาอยู่ค่อนไปทางปลายหัว ปากกว้างเชิดขึ้นเล็กน้อย ฟันเล็กแต่แข็งแรง ขอบกระดูกแผ่นปิดเหงือกหยักเป็นหนามแข็ง ใช้แถกเพื่อช่วยยึดยันให้เคลื่อนไปบนบกได้ดี ขอบครีบต่าง ๆ กลม ลำตัวและครีบมีสีดำคลํ้า ส่วนปลาขนาดเล็กมีสีจางกว่าและมีลายบั้งพาดลำตัวเป็นระยะ ๆ อาศัยอยู่ในแหล่งนํ้าแทบทุกประเภท พบขึ้นมาบนบกในฤดูฝนเสมอ ซึ่งเป็นธรรมชาติการย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยแบบหนึ่ง และยังแสดงให้เห็นความสามารถในการหายใจในที่ดอนได้อีกด้วย ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, หมอไทย หรือ สะเด็ด ก็เรียก, อีสานเรียก เข็ง. |