น้ำทรง | น. นํ้าในแม่น้ำลำคลองที่หยุดขึ้นหรือหยุดลงช่วงเวลาหนึ่ง ขณะที่นํ้ากำลังจะเปลี่ยนระดับจากนํ้าขึ้นเต็มที่มาเป็นนํ้าลง หรือจากน้ำลงเต็มที่มาเป็นน้ำขึ้น. |
เบ็ดราว | น. เบ็ดที่ผูกไว้กับเชือกหรือแท่งไม้ยาวประมาณ ๑ ศอก แล้วนำไปผูกห้อยไว้กับเชือกราว โดยเว้นระยะห่างกันเป็นตอน ๆ เพื่อนำไปหย่อนลงในแม่น้ำลำคลอง. |
ปลาแดง | น. ชื่อปลานํ้าจืดไม่มีเกล็ด พวกปลาเนื้ออ่อน ชนิด Phalacronotus bleekeri (Günther)หรือ Micronema bleekeri (Günther) ปากเชิดขึ้น มีหนวด ๒ คู่ หนวดที่ขากรรไกรบนยาวไม่ถึงขอบแผ่นปิดเหงือก หนวดที่ขากรรไกรล่างสั้นมากคล้ายปลาน้ำเงิน แต่มีกลุ่มฟันที่กระดูกฐานจมูกเรียงเป็นแถบมีมุมแหลมคล้ายหัวลูกศร ลำตัวมีสีเงินอมแดงหรือชมพู ไม่มีครีบหลัง ครีบก้นใสไม่มีสี อาศัยอยู่ตามแม่น้ำลำคลองหรือแหล่งน้ำนิ่งขนาดใหญ่ที่มีความเป็นธรรมชาติ กินสัตว์อื่น, เนื้ออ่อน นาง ชะโอน หรือ เกด ก็เรียก. |
มอง ๒ | น. เครื่องจับปลาชนิดหนึ่งจำพวกอวน แต่เล็กสั้น และตาถี่กว่าอวน ใช้ในแม่น้ำลำคลอง. |
เร่ | ว. ที่ไม่อยู่ประจำเป็นตำแหน่งแห่งที่ เช่น พ่อค้าเร่, เรียกละครที่มิได้อยู่แสดงประจำที่ ว่า ละครเร่, เรียกเรือที่ตระเวนขายของต่าง ๆ ไปตามแม่น้ำลำคลอง ว่า เรือเร่, เรียกพ่อค้าแม่ค้าที่หาบของขายไปเรื่อย ๆ ไม่อยู่ประจำที่ ว่า พ่อค้าหาบเร่ แม่ค้าหาบเร่, เรียกสั้น ๆ ว่า หาบเร่. |
เรือไฟ | น. เรือโดยสารที่ใช้ฟืนเป็นต้นเป็นเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อน มีขนาดเล็กกว่าเรือกลไฟ นิยมใช้แล่นในแม่น้ำลำคลอง. |
เรือส่ง | น. เรือบรรทุกสินค้านานาชนิดขึ้นล่องส่งสินค้าขายเรื่อยไปตามแม่น้ำลำคลอง. |
วางเบ็ด, วางเบ็ดราว | ก. นำเบ็ดราวที่เกี่ยวเหยื่อแล้วไปหย่อนลงในแม่น้ำลำคลอง. |
สงกรานต์ ๒ | (-กฺราน) น. สัตว์พวกหนอนทะเล มีหลายวงศ์ เช่น วงศ์ Phyllodocidae ชั้น Polychaeta ลำตัวยาวเป็นปล้อง แต่ละปล้องมีรยางค์ ๑ คู่อยู่ข้างลำตัว อาศัยอยู่ในทะเล ช่วงประมาณกลางเดือนเมษายนใกล้วันสงกรานต์จะพบอยู่ในบริเวณน้ำกร่อยหรือแม่น้ำลำคลองที่ติดต่อกับทะเลเพื่อผสมพันธุ์ จึงเรียกว่า ตัวสงกรานต์. |