โกสินทร์ | (-สิน) น. พระอินทร์. |
รัตนโกสินทร์ | น. นามส่วนหนึ่งของกรุงเทพมหานครฯ ที่มีชื่อเต็มว่า กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์. |
กฎหมายตราสามดวง | น. ประมวลกฎหมายโบราณของไทยซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดเกล้าฯ ให้ชำระและปรับปรุงแก้ไขตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงต้นรัตนโกสินทร์ เมื่อทำเสร็จแล้วได้ประทับดวงตราพระราชสีห์ พระคชสีห์ และบัวแก้ว ไว้เป็นสำคัญ จึงเรียกว่า กฎหมายตราสามดวง. |
กระจับปี่ | น. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีด ลักษณะคล้ายพิณ มี ๔ สาย ตั้งเสียงต่างกันเป็น ๒ คู่ เดิมใช้บรรเลงในวงมโหรีเครื่อง ๔ และมโหรีเครื่อง ๖ ในสมัยอยุธยา ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ใช้จะเข้บรรเลงแทน. |
จินดามณี | ชื่อตำราแบบเรียนหนังสือไทยโบราณ เช่น จินดามณีฉบับพระโหราธิบดีแต่งในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จินดามณีฉบับไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ในรัชกาลสมเด็จพระบรมโกศ จินดามณีฉบับกรมหลวงวงษาธิราชสนิทแต่งในสมัยรัตนโกสินทร์. |
พงศาวดาร | (-สาวะดาน) น. เรื่องราวของเหตุการณ์เกี่ยวกับประเทศชาติหรือพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของประเทศชาตินั้น เช่น พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์. |
รัตนโกสินทรศก | (รัดตะนะโกสินสก) น. ปีนับตั้งแต่วันตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มตั้งภายหลังพุทธศักราช ๒๓๒๔ ปี (พุทธศักราชลบด้วย ๒๓๒๔ เท่ากับรัตนโกสินทรศก). |
วรรณกรรม | น. งานหนังสือ, งานประพันธ์, บทประพันธ์ทุกชนิดทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง, เช่น วรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ วรรณกรรมของเสฐียรโกเศศ วรรณกรรมฝรั่งเศส วรรณกรรมประเภทสื่อสารมวลชน. |
วังหลวง | น. วังที่ประทับของพระมหากษัตริย์ ในสมัยอยุธยาเรียกว่า พระราชวังหลวง, ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔ ทรงบัญญัติให้เรียกว่า พระบรมมหาราชวัง. |
ศก ๒ | น. ระบบการคำนวณนับเวลาเรียงลำดับกันเป็นปี ๆ โดยถือเอาเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งเป็นจุดเริ่มต้น ดังในคำว่า รัตนโกสินทรศก ซึ่งถือเอาปีเริ่มสร้างกรุงรัตนโกสินทร์เป็นจุดเริ่มต้น, บางทีก็ใช้เป็นคำย่อของศักราช เช่น พุทธศก คริสต์ศก |
สมโภช | งานเลี้ยง, งานฉลองในพิธีมงคลเพื่อความยินดีร่าเริง เช่น งานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี งานสมโภชพระสุพรรณบัฏ (ใช้เฉพาะแต่ในงานพระราชพิธี). |
อุปฮาด | (อุปะ-, อุบปะ-) น. ตำแหน่งรองจากเจ้าเมืองในภาคอีสานสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เช่น พระยาก่ำได้ตั้งให้ท้าวแก้วผู้น้องชายเป็นอุปฮาดอยู่บ้านหนึ่งต่างหาก (ลัทธิธรรมเนียมต่าง ๆ : ว่าด้วยชนชาติภูไทย) |