Annihilation | ประลัย, ปฏิกิริยาระหว่างอนุภาคกับปฏิยานุภาคของอนุภาคนั้นๆ แล้วอนุภาคทั้งสองหายไปกลายเป็นรังสีแกมมาพลังงานเท่ากันเคลื่อนที่ออกไปในทิศทางตรงข้ามกัน เช่นการรวมตัวของอิเล็กตรอนกับโพซิตรอน ได้รังสีแกมมาพลังงานรวม 1.02 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ (ดู Antimatter ประกอบ), Example: [นิวเคลียร์] |
Betatron | บีตาทรอน, เครื่องเร่งอิเล็กตรอน ที่มีลักษณะเป็นรูปโดนัต อิเล็กตรอนถูกเร่งให้วิ่งเป็นวงกลมรัศมีคงที่โดยการเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็ก เครื่องที่มีรัศมีประมาณ 0.75-1.00 เมตร สามารถเร่งอิเล็กตรอนให้มีพลังงานสูงถึง 340 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ บีตาทรอนเครื่องแรกสร้างโดย Donald W. Kerst ในปี พ.ศ. 2483 ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา สามารถเร่งอิเล็กตรอนให้มีพลังงาน 2.5 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ [นิวเคลียร์] |
Electron linear accelerator | เครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้น, เครื่องเร่งอิเล็กตรอน ที่อิเล็กตรอนถูกเร่งให้วิ่งเป็นเส้นตรงด้วยสนามไฟฟ้า มีสองแบบคือ แบบที่อิเล็กตรอนถูกควบคุมด้วยสนามไฟฟ้าสถิต และแบบที่ควบคุมด้วยสนามไฟฟ้าย่านความถี่คลื่นวิทยุ สามารถเร่งลำอิเล็กตรอนให้มีพลังงานระหว่าง 0.1-10 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ แบบแรกให้พลังงานของอิเล็กตรอนต่ำกว่าแบบหลัง เครื่องเร่งชนิดนี้เหมาะสำหรับงานวิจัยทางฟิสิกส์ และการปรับปรุงคุณภาพวัสดุหรือผลิตภัณฑ์ เช่น งานเคลือบผิววัตถุและงานผลิตเวชภัณฑ์ปลอดเชื้อ, Example: [นิวเคลียร์] |
Electron volt | อิเล็กตรอนโวลต์, หน่วยหนึ่งของพลังงานหรืองาน 1 อิเล็กตรอนโวลต์ คือ พลังงานจลน์ของอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่ผ่านความต่างศักย์ไฟฟ้าขนาด 1 โวลต์ มีค่าเท่ากับ 1.603 x 10<sup>-12</sup> เอิร์ก [นิวเคลียร์] |
Epithermal neutron | เอพิเทอร์มัลนิวตรอน, นิวตรอนที่มีพลังงานสูงกว่าเทอร์มัลนิวตรอนแต่ต่ำกว่านิวตรอนเร็ว มีพลังงานในช่วง 0.5 อิเล็กตรอนโวลต์ ถึง 1 แสนอิเล็กตรอนโวลต์ คำนี้มีความหมายเหมือนกับ intermediate neutron [นิวเคลียร์] |
Van de Graaff generator | เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแวนเดอแกรฟฟ์, เครื่องผลิตประจุไฟฟ้าสถิตศักย์สูง โดยประจุไฟฟ้าจากเครื่องกำเนิดประจุถูกส่งผ่านโลหะปลายแหลมไปยังสายพานซึ่งทำหน้าที่พาประจุขึ้นไปสะสมไว้ที่ผิวทรงกลมจนได้ศักย์ไฟฟ้าสูง เครื่องนี้สามารถสะสมประจุจนกระทั่งมีศักย์ไฟฟ้าสูงถึง 20 ล้านโวลต์ เครื่องนี้สามารถใช้เป็นเครื่องเร่งอนุภาคที่มีประจุ มักใช้เร่งอนุภาคก่อนยิงเข้าสู่เครื่องเร่งอนุภาคแบบอื่นที่ให้พลังงานสูงขึ้น รอเบิร์ต แวน เดอ แกรฟฟ์ (Robert Van de Graaff) เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องมือนี้ในปี พ.ศ. 2474, Example: [นิวเคลียร์] |
Van de Graaff accelerator | เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแวนเดอแกรฟฟ์, เครื่องผลิตประจุไฟฟ้าสถิตศักย์สูง โดยประจุไฟฟ้าจากเครื่องกำเนิดประจุถูกส่งผ่านโลหะปลายแหลมไปยังสายพานซึ่งทำหน้าที่พาประจุขึ้นไปสะสมไว้ที่ผิวทรงกลมจนได้ศักย์ไฟฟ้าสูง เครื่องนี้สามารถสะสมประจุจนกระทั่งมีศักย์ไฟฟ้าสูงถึง 20 ล้านโวลต์ เครื่องนี้สามารถใช้เป็นเครื่องเร่งอนุภาคที่มีประจุ มักใช้เร่งอนุภาคก่อนยิงเข้าสู่เครื่องเร่งอนุภาคแบบอื่นที่ให้พลังงานสูงขึ้น รอเบิร์ต แวน เดอ แกรฟฟ์ (Robert Van de Graaff) เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องมือนี้ในปี พ.ศ. 2474 [นิวเคลียร์] |
Thermal neutron | เทอร์มัลนิวตรอน, นิวตรอนที่มีพลังงานในช่วงประมาณ 0.02 ถึง 0.5 อิเล็กตรอนโวลต์ มีความเร็วเฉลี่ย 2, 200 เมตรต่อวินาที ที่อุณหภูมิห้อง, Example: [นิวเคลียร์] |
Slow neutron | นิวตรอนช้า, นิวตรอนที่มีพลังงานในช่วงประมาณ 0.02 ถึง 0.5 อิเล็กตรอนโวลต์ มีความเร็วเฉลี่ย 2, 200 เมตรต่อวินาที ที่อุณหภูมิห้อง, Example: [นิวเคลียร์] |
Synchrotron | ซิงโครทรอน, เครื่องเร่งอนุภาค ที่อนุภาคถูกเร่งโดยสนามไฟฟ้าซึ่งเปลี่ยนแปลงด้วยความถี่ในย่านความถี่ของคลื่นวิทยุ และถูกบังคับให้วิ่งเป็นวงกลมรัศมีคงที่โดยการควบคุมของสนามแม่เหล็กที่เพิ่มขึ้น พร้อมสัมพันธ์กับความเร็วของอนุภาคที่เพิ่มขึ้น ซิงโครทรอนเครื่องแรก ชื่อ คอสโมทรอน (Cosmotron) สร้างขึ้น ในปี พ.ศ. 2495 ตั้งอยู่ที่ Brookhaven National Laboratory ประเทศสหรัฐอเมริกา สามารถเร่งโปรตอนให้มีพลังงานสูงถึง 2, 300 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์, Example: [นิวเคลียร์] |
Spallation Neutron Source | ต้นกำเนิดนิวตรอนแบบสปอลเลชัน, เครื่องผลิตนิวตรอนชนิดหนึ่ง โดยการเร่งโปรตอนพลังงานสูงกว่า 100 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ เข้าชนเป้าซึ่งเป็นธาตุหนัก เช่น แทนทาลัม ทังสเตน หรือ ยูเรเนียม ทำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่มีการปลดปล่อยนิวตรอนพลังงานเฉลี่ย 1 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ ต้นกำเนิดนิวตรอนแบบสปอลเลชันเครื่องแรกมีชื่อว่า KENS ตั้งอยู่ที่สถาบัน KEK (Ko Enerugi Kenkyujo) ประเทศญี่ปุ่น เริ่มใช้งานครั้งแรกในปี พ.ศ. 2523 [นิวเคลียร์] |
Proton synchrotron | โปรตอนซิงโครทรอน, เครื่องเร่งอนุภาคที่ใช้เร่งอนุภาคโปรตอนให้มีพลังงานสูงมากในช่วงพันล้านอิเล็กตรอนโวลต์ (ดู synchrotron ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Pair production | แพร์โพรดักชัน, การแปลงพลังงานจลน์ของโฟตอนหรืออนุภาคที่มีพลังงานสูงให้เป็นมวล เกิดเป็นอนุภาคย่อยและปฏิยานุภาคของอนุภาคนั้น เช่น การที่รังสีแกมมาหรือรังสีเอกซ์ที่มีพลังงานตั้งแต่ 1.022 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ขึ้นไป ผ่านสนามไฟฟ้ารอบนิวเคลียสแล้วกลายเป็นอิเล็กตรอนและโพซิตรอนที่มีพลังงานเท่ากัน <br>พลังงาน 1.022 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์เทียบเท่ากับมวลนิ่งของอิเล็กตรอนกับโพซิตรอนรวมกัน</br>, Example: [นิวเคลียร์] |
Neutron generator | เครื่องกำเนิดนิวตรอน, เครื่องเร่งอนุภาคชนิดหนึ่งที่ใช้ในการผลิตนิวตรอน โดยการเร่งอนุภาคที่มีประจุ เช่น ดิวเทอรอน ให้มีพลังงานระหว่าง 150-500 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ แล้วปล่อยให้ชนกับเป้าบางๆ ที่เหมาะสม ปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นจะให้นิวตรอนที่มีพลังงานได้ถึง 17.59 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์, Example: [นิวเคลียร์] |
Intermediate neutron | อินเทอร์มีเดียตนิวตรอน, นิวตรอนที่มีพลังงานสูงกว่าเทอร์มัลนิวตรอนแต่ต่ำกว่านิวตรอนเร็ว มีพลังงานในช่วง 0.5 อิเล็กตรอนโวลต์ ถึง 1 แสนอิเล็กตรอนโวลต์ คำนี้มีความหมายเหมือนกับ intermediate neutron [นิวเคลียร์] |
Fast neutron | นิวตรอนเร็ว, นิวตรอนที่มีพลังงานสูงกว่า 1 แสนอิเล็กตรอนโวลต์ [นิวเคลียร์] |
tritium | ไอโซโทปกัมมันตรังสีของไฮโดรเจนที่มนุษย์ผลิตขึ้น, ไอโซโทปกัมมันตรังสีของไฮโดรเจนที่มนุษย์ผลิตขึ้นมีเลขมวลเท่ากับ 3 และครึ่งชีวิตเท่ากับ 12.32 ปี ทริเทียมสลายให้อนุภาคบีตาพลังงาน 18 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ ใช้เป็นสารกัมมันตรังสีตามรอยในทางการแพทย์และอุตสาหกรรม (ดู hydrogen, H และ deuterium, $^2$H, D ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Relative Biological Effect | ผลทางชีววิทยาสัมพัทธ์, การเปรียบเทียบปริมาณรังสีของรังสีชนิดหนึ่งกับรังสีเอกซ์ 250 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ หรือรังสีแกมมาจากต้นกำเนิดรังสีโคบอลต์-60 ที่ก่อให้เกิดผลทางชีววิทยาเหมือนกัน ภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน $ RBE = \frac{ ปริมาณรังสีจากรังสีเอกซ์ 250 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ หรือรังสีแกมมาจากโคบอลต์-60 }{ ปริมาณรังสีจากรังสีชนิดอื่น } $ [นิวเคลียร์] |
Vacuum-tube voltmeter | โวลต์มิเตอร์ชนิดหลอดสุญญากาศ [TU Subject Heading] |
Voltmeter | โวลต์มิเตอร์ [TU Subject Heading] |
Voltohmmeter | โวลต์โอห์มมิเตอร์ [TU Subject Heading] |
betatron | เครื่องบีตาตรอน, เป็นเครื่องเร่งอิเล็กตรอนแบบหนึ่ง โดยที่อิเล็กตรอนถูกเร่งให้วิ่งเป็นวงกลมที่มีรัศมีคงที่ โดยใช้แรงกระทำที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็ก เครื่องเร่งที่มีลักษณะเป็นรูปโดนัท รัศมีวงจรประมาณ 0.75-1.00 เมตร เครื่องนี้สามารถเร่งอิเล็กตรอนให้มีพลังงานสูงถึง 340 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ บีตาตรอนเครื่องแรกสร้างโดย Donald W. Kerst ในปี พ.ศ.2483 ที่มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ (University of Illinois) ประเทศสหรัฐอเมริกา เร่งอิเล็กตรอนให้มีพลังงาน 2.5 ล้านอิเล็กตรอน [พลังงาน] |
linear electron accelerator | เครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้น, เป็นเครื่องเร่งอนุภาคแบบหนึ่ง ใช้เร่งอิเล็กตรอน โดยอิเล็กตรอนจะถูกเร่งให้วิ่งเป็นเส้นตรงภายใต้สนามไฟฟ้าสถิตย์(electrostatic field) หรือสนามไฟฟ้าสลับย่านความถี่คลื่นวิทยุ (Radio frequency field) เครื่องเร่งอนุภาคทั้งสองแบบ ให้อิเล็กตรอนที่มีช่วงพลังงานแตกต่างกัน ในเครื่องเร่งแบบไฟฟ้าสถิตย์ (electrostatic accelerator)หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องเร่งแบบกระแสตรง (DC-accelerator) อิเล็กตรอนถูกเร่งให้วิ่งเป็นเส้นตรง ภายใต้ความต่างศักย์ระหว่างขั้วไฟฟ้า 2 ขั้ว เครื่องเร่งชนิดนี้สามารถเร่งลำอิเล็กตรอนให้มีพลังงานระหว่าง 0.1-0.5 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ นิยมใช้ในงานเคลือบผิววัตถุ การปรับปรุงคุณภาพวัสดุ เช่น ฉนวนหุ้มสายไฟ การวัลคาไนซ์ของน้ำยาง ในเครื่องเร่งแบบใช้สนามไฟฟ้าย่านความถี่คลื่นวิทยุ (high frequency accelerator) อิเล็กตรอนถูกเร่งให้วิ่งผ่านท่อทรงกระบอกซึ่งเรียงกันเป็นเส้นตรง และต่อกับแหล่งกำเนิดศักดาไฟฟ้าซึ่งสลับขั้วด้วยความถี่ในย่านของคลื่นวิทยุ เครื่องเร่งนี้สามารถเร่งลำอิเลคตรอนให้มีพลังงานสูงในช่วง 5-10 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ เหมาะสำหรับงานผลิตเวชภัณฑ์ปลอดเชื้อ และงานวิจัยทางฟิสิกส์ [พลังงาน] |
neutron generato | เครื่องกำเนิดนิวตรอน, เป็นเครื่องผลิตนิวตรอนพลังงานสูง โดยการเร่งอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า เช่น ดิวเทอรอน (deuteron) ให้มีพลังงานจลน์ในช่วง 150-500 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ แล้วให้ชนกับเป้าบางๆ โดยทั่วไปปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่ใช้ในการผลิตนิวตรอน ได้จากการเร่งดิวเทอรอนให้ชนกับตริเตรียม(tritium) ทำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ ดังสมการ [พลังงาน] |
Positron Emission Tomography | เป็นเทคนิคการถ่ายภาพอวัยวะในร่างกายที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน โดยการตรวจวัดสารกัมมันตรังสีบางชนิด ซึ่งให้แก่ร่างกายในรูปของสารเภสัชรังสี เพื่อใช้ในการตรวจวัดเชิงปริมาณของขบวนการทางชีวเคมีในร่างกายของสิ่งมีชีวิต ไอโซโทปรังสีที่ใช้จะเป็นชนิดที่ปลดปล่อยโพซิตรอนออกมา เช่น ออกซิเจน-15 ไนโตรเจน-13 และคาร์บอน-11 โพซิตรอนที่ปล่อยออกมานี้จะเข้าทำปฏิกิริยาประลัย (annihilation) เกือบจะทันทีทันใดกับอิเล็กตรอนที่โคจรอยู่รอบนิวเคลียสในอะตอมของสาร ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสารเภสัชรังสีนั้น และมีรังสีแกมมาพลังงาน 511 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ ปลดปล่อยออกมาพร้อมกันในสองทิศทางตรงกันข้าม สามารถตรวจวัดได้ด้วยหัววัดรังสีที่อยู่ตรงข้ามกัน จากหัววัดหลายๆ หัวที่ล้อมรอบคนไข้ ทำให้ทราบตำแหน่งที่ผิดปกติในร่างกายได้ โดยการแปลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ เนื่องจากส่วนใหญ่ของไอโซโทปรังสีที่ใช้กับเทคนิคนี้ เป็นไอโซโทปของธาตุที่เป็นส่วนประกอบของอินทรีย์วัตถุ จึงทำให้ PET มีประโยชน์ในการศึกษากระบวนการทางสรีรวิทยาและชีวเคมีที่ผิดปกติด้วย ในทางปฏิบัติ PET จำเป็นต้องใช้ไอโซโทปรังสีที่ผลิตขึ้นจากการระดมยิงที่เป้า ด้วยโปรตรอนพลังงานสูงภายในเครื่องไซโคลตรอน การศึกษาโดยใช้ PET จะมุ่งเน้นไปยังระบบประสาทส่วนกลางเป็นหลัก ด้วยการวัดตัวแปรเสริมอื่นๆ ประกอบ เช่น การไหลเวียนของเลือด กระบวนการสร้างและสลายน้ำตาลกลูโคส และการเผาผลาญออกซิเจน จึงมีความเป็นไปได้ที่จะหาสมุฏฐานของโรคลมบ้าหมู หรือหาขนาดที่แน่นอนของบริเวณที่พิการในสมองได้ ในการศึกษาที่เกี่ยวกับหัวใจและหน้าที่ของหัวใจ การตรวจโดยใช้ PET จะเป็นวิธีที่เฉพาะเจาะจง และให้ผลดีกว่าการตรวจสอบโดยวิธีอื่นๆ [พลังงาน] |
spallation neutron source | ต้นกำเนิดนิวตรอนแบบสปอลเลชัน, เป็นต้นกำเนิดนิวตรอนรุ่นใหม่ จัดเป็นเครื่องผลิตนิวตรอนพลังงานสูงชนิดหนึ่ง มีหลักการทำงานคือ เมื่อยิงโปรตรอนพลังงานสูง (มากกว่า 100 ล้าน อิเล็กตรอนโวลต์) เข้าไปในเป้าซึ่งเป็นธาตุหนัก เช่น แทนทาลัม ทังสเตน และยูเรเนียม จะทำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบสปอลเลชั่น และมีการปลดปล่อยนิวตรอน พร้อมทั้งอนุภาคชนิดอื่นๆ เช่นโปรตรอน และเกิดปฏิกิริยาต่อเนื่องหลั่นกันไป (cascade) ต้นกำเนิดนิวตรอนชนิดนี้ ให้นิวตรอนพลังงานเฉลี่ยประ มาณ 1 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ จำนวนประมาณ 10-30 เท่าของการยิงโปรตรอน 1 อนุภาค นิวตรอนที่ผลิตขึ้นนี้ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในงานวิจัยด้านต่างๆ ต้นกำเนิดนิวตรอนแบบ สปอลเลชันเครื่องแรกมีชื่อว่า KENSตั้งอยู่ที่สถาบัน KEK (National Laboratory for High Energy Physics) ประเทศญี่ปุ่น เริ่มใช้งานครั้งแรกในปี พ.ศ.2523 สำหรับต้นกำเนิดนิวตรอนแบบสปอลเลชัน ที่ให้นิวตรอนเข้มข้นสูงสุดในปัจจุบันคือ ISIS ของ Rutherford Appleton Laboratory ประเทศอังกฤษ เริ่มเดินเครื่องในปี พ.ศ. 2527 และให้นิวตรอนฟลักซ์เฉลี่ยประมาณ 1015นิวตรอน/ ตร.ซม.-วินาที และมีฟลักซ์สูงสุดมากกว่า 40 เท่าของฟลักซ์เฉลี่ย [พลังงาน] |
synchrotron | เครื่องซินโครตรอน, เป็นเครื่องเร่งอนุภาคชนิดหนึ่ง อนุภาคถูกเร่งภายใต้สนามไฟฟ้าซึ่งเปลี่ยนแปลงด้วยความถี่ ในย่านความถี่ของคลื่นวิทยุ ในขณะเดียวกันกับที่อนุภาคถูกบังคับให้วิ่งเป็นวงกลมรัศมีคงที่ โดยการควบคุมของสนามแม่เหล็กที่เพิ่มมากขึ้น พร้อมสัมพันธ์กับความเร็วของอนุภาคที่เพิ่มขึ้น ซินโครตรอนเครื่องแรกชื่อ คอสโมตรอน (cosmotron) ตั้งอยู่ที่ห้องปฏิบัติการบรูคเฮเวน (Brookhaven National Laboratory) มลรัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2495 เครื่องมือนี้ใช้แม่เหล็กมีน้ำหนักถึง 2, 200 ตัน สามารถเร่งโปรตรอนให้มีพลังงานสูงถึง 2, 300 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ [พลังงาน] |
Van de Graaff Generator (accelerator) | เครื่องแวนเดอกราฟ, เป็นเครื่องผลิตประจุไฟฟ้าสถิตย์ศักดาสูง ซึ่งประจุไฟฟ้าจากแหล่งกำเนิดถูกส่งผ่านโลหะปลายแหลมไปยังสายพาน ซึ่งทำหน้าที่พาประจุขึ้นไปสะสมไว้ที่ผิวทรงกลมจนได้ศักดาไฟฟ้าสูง ระบบทั้งหมดนี้อยู่ในถังความดันที่บรรจุแก๊สเฉื่อยทางไฟฟ้า เช่น ฟรีออนความดันสูงไม่น้อยกว่า 15 บรรยากาศ จะสามารถเก็บประจุซึ่งมีศักดาไฟฟ้าสูงถึงประมาณ 20 ล้านโวลต์ เครื่องนี้นำมาใช้เป็นเครื่องเร่งอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าได้ และมักใช้เร่งอนุภาคก่อนยิงเข้าสู่เครื่องเร่งอนุภาคแบบอื่นที่ให้พลังงานสูงขึ้น เรียกชื่อตาม Robert Van de Graaff ชาวเนเธอร์แลนด์ ซึ่งประดิษฐ์เครื่องมิอนี้ ในปี พ.ศ. 2474 [พลังงาน] |
standard hydrogen electrode | ขั้วไฟฟ้าไฮโดรเจนมาตรฐาน, ขั้วไฟฟ้าที่ใช้เป็นมาตรฐานสำหรับเปรียบเทียบหาศักย์ไฟฟ้ามาตรฐานของครึ่งเซลล์อื่น ๆ โดยกำหนดค่าศักย์ไฟฟ้าของครึ่งเซลล์นี้ให้เท่ากับศูนย์โวลต์ ขั้วไฟฟ้านี้ประกอบ ด้วยแผ่นแพลทินัมบาง ๆ ที่เคลือบด้วยแพลทินัมแบลก จุ่มอยู่ในสารละลายกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น 1 mol/d [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
dry cell | เซลล์แห้ง, เซลล์ไฟฟ้าปฐมภูมิ โดยทั่วไปใช้สังกะสีรูปทรงกระบอกเป็นขั้วลบ ภายในบรรจุของผสมของกลีเซอรีน แอมโมเนียมคลอไรด์ และผงถ่าน มีแท่งคาร์บอนสอดอยู่ ตรงกลางเป็นขั้วบวก มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าประมาณ 1.5 โวลต์ เช่น เซลล์ถ่านไฟฉาย เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
farad | ฟารัด, หน่วยของความจุไฟฟ้า ใช้สัญลักษณ์ F โดยกำหนดว่าความจุไฟฟ้า 1 ฟารัด คือค่าความจุไฟฟ้าของตัวเก็บประจุ ซึ่งถ้ามีการถ่ายโอนประจุระหว่างแผ่นตัวนำทั้งสองในตัวเก็บประจุปริมาณ 1 คูลอมบ์ จะทำให้เกิดความต่างศักย์ไฟฟ้า 1 โวลต์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
multimeter | มัลติมิเตอร์, อุปกรณ์วัดปริมาณต่าง ๆ ทางไฟฟ้าที่ใช้งานได้หลายอย่างอยู่ในเครื่องเดียวกัน โดยการรวมแอมมิเตอร์ โวลต์มิเตอร์ และโอห์มมิเตอร์ไว้ในเครื่องเดียวกัน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
V | โวลต์, สัญลักษณ์ของหน่วยความต่างศักย์ไฟฟ้าหรือแรงเคลื่อนไฟฟ้า ดู volt [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
volt | โวลต์, หน่วยของความต่างศักย์ไฟฟ้าหรือแรงเคลื่อนไฟฟ้า ใช้สัญลักษณ์ V โดยกำหนดว่า 1 โวลต์ คือ ค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่าง 2 จุด บนตัวนำที่มีกระแสขนาด 1 แอมแปร์ผ่าน ทำให้เกิดกำลัง 1 วัตต์ระหว่าง 2 จุดนั้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
voltmeter | โวลต์มิเตอร์, อุปกรณ์ที่ใช้วัดความต่างศักย์ไฟฟ้าหรือแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างจุดสองจุดในวงจร [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
electric potential | ศักย์ไฟฟ้า, ศักย์ไฟฟ้า ณ จุดใด หมายถึงงานที่ใช้ในการเคลื่อนประจุไฟฟ้าบวก 1 หน่วย ผ่านสนามไฟฟ้าจากระยะอนันต์หรือจุดที่มีศักย์ไฟฟ้าเป็นศูนย์มายังจุดนั้น ศักย์ไฟฟ้ามีหน่วยเป็นโวลต์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
ohm | โอห์ม, หน่วยวัดความต้านทานไฟฟ้า ใช้สัญลักษณ์ W โดยกำหนดว่าความต้านทานไฟฟ้า 1 โอห์ม คือความต้านทานของตัวนำซึ่งมีปลายทั้งสองต่อกับความต่างศักย์ไฟฟ้า 1 โวลต์ แล้วมีกระแสไฟฟ้าผ่านตัวนำนั้น 1 แอมแปร์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |