ก หัน | น. อักษร ก คู่ ในหนังสือโบราณใช้แทนไม้หันอากาศตัวหนึ่ง เป็นตัวสะกดตัวหนึ่ง เช่น จกก = จัก หลกก = หลัก. |
กระ ๔ | ใช้เป็นพยางค์หน้า (๑) ซึ่งเดิมเป็น ก กำ กุ ข ต ส เช่น กบิล-กระบิล, กำแพง-กระแพง, กุฎี-กระฎี, ขจัด-กระจัด, ตวัด-กระหวัด, สะท้อน-กระท้อน. (๒) โบราณใช้แทน ตระ เช่น ตระกูล-กระกูล, ตระลาการ-กระลาการ. (อัยการเบ็ดเสร็จ). (๓) เติมหน้าคำโดยไม่มีความหมายก็มี เช่น ซุ้ม-กระซุ้ม, โดด-กระโดด, พุ่ม-กระพุ่ม, ยาจก-กระยาจก, เติมให้มีความหมายแน่นแฟ้นขึ้นก็มี เช่น ทำ-กระทำ, ทุ้ง-กระทุ้ง, เสือกสน-กระเสือกกระสน. (๔) ยํ้าหน้าคำอันขึ้นต้นด้วย ก ในบทกลอน คือ กระกรี๊ด กระกรุ่น กระกลับกลอก กระเกริ่น กระเกรียม กระเกรียว กระเกรี้ยว กระเกริก. (๕) นอกนี้เป็น กระ มาแต่เดิม เช่น กระทรวง กระบือ. |
กระไดลิง ๒ | น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Bauhinia scandens L. var. horsfieldii (Miq.) K. Larson et S.S. Larsen ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นในป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณที่ชุ่มชื้นทั่วไป และตามริมแม่นํ้าลำคลอง เถาแบนยาว งอกลับไปกลับมาคล้ายขั้นบันได ดอกเล็ก สีขาว ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง เปลือกเหนียวใช้แทนเชือก เถาใช้ทำยาได้, กระไดวอก มะลืมดำ บันไดลิง หรือ ลางลิง ก็เรียก. |
กระผม | ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย พูดกับผู้ใหญ่, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. |
กระหม่อม | ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย ทูลพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าที่มิได้ทรงกรม และหม่อมเจ้า, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑, สรรพนามบุรุษที่ ๑ ที่หม่อมเจ้ามีรับสั่งระหว่างกัน. |
กัน ๑ | ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย พูดกับผู้เสมอกันหรือผู้น้อยในทำนองกันเอง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑, เช่น กันจะไปรอที่สถานีรถไฟ. |
กันและกัน | ส. คำใช้แทนชื่อในลักษณะที่มีการกระทำร่วมกันหรือต่อกันโดยมีบุรพบทประกอบหน้า เช่น รักซึ่งกันและกัน เพื่อประโยชน์ของกันและกัน. |
กู | ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด ในปัจจุบันมักถือกันว่าไม่สุภาพ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. |
เกล้ากระผม | ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย พูดกับผู้ใหญ่ด้วยความเคารพมากหรือกับพระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์, พูดสั้น ๆ ว่า เกล้า หรือเขียนย่อว่า เกล้าฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. |
เกล้ากระหม่อม | ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย กราบทูลพระอนุวงศ์ชั้นพระเจ้าวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม พระวรวงศ์เธอที่ทรงกรม และสมเด็จพระสังฆราช, ถ้าผู้พูดเป็นเพศหญิงใช้ว่า เกล้ากระหม่อมฉัน, เขียนย่อว่า เกล้าฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. |
แก ๒ | ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วยซึ่งเป็นผู้ที่สนิทสนม หรือผู้น้อย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ |
แก ๒ | คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓. |
ข้อย | ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. |
ขัดดอก | ก. ส่งลูกเมียหรือข้าคนให้รับใช้แทนส่งดอกเบี้ย. |
ข้า ๒ | ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด พูดกับผู้ที่เสมอกันอย่างเป็นกันเองหรือผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. |
ข้าเจ้า | ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. |
ข้าน้อย | ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. |
ข้าพเจ้า | (ข้าพะเจ้า) ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด มักใช้อย่างเป็นทางการ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. |
ข้าพระพุทธเจ้า | (ข้าพฺระพุดทะเจ้า) ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด กราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์ หรือกราบบังคมทูล กราบทูลเจ้านายชั้นสูง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. |
เขา ๔ | ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓. |
เขือ ๓ | ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เช่น สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤๅพี่ (ลอ). |
คนตายขายคนเป็น | คนตายมีหนี้สินให้ลูกหลานต้องชดใช้แทน |
คระ ๒ | (คฺระ) ใช้แทน กระ ที่เป็นพยางค์หน้า เช่น คระหน คระหาย คระโหย. |
คุณ ๑, คุณ- | (คุน, คุนนะ-) ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นคำสุภาพ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, (ปาก) คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึงด้วยความสุภาพ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓, เช่น คุณอยู่ไหม ช่วยไปเรียนว่ามีคนมาหา. |
เค้า ๑ | ตัวเงินหรือวัตถุที่ใช้แทนตัวเงิน เช่นเมล็ดมะขามเป็นต้นที่เป็นทุนซึ่งตั้งไว้สำหรับเล่นในบ่อนการพนันบางชนิด, เรียกผู้ถือต้นทุนในการพนัน ว่า ถุงเค้า. |
จั่น ๓ | น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวพวกหอยเบี้ยชนิด Cypraea moneta Linn . ในวงศ์ Cypraeidae เปลือกสีนวล หลังโค้งนูน ตามขอบช่องเปลือกที่อยู่ด้านท้องเป็นรอยหยัก เรียกว่า เบี้ยจั่น ในสมัยโบราณใช้แทนเงิน, เบี้ยจักจั่น ก็เรียก. |
จำนวนนับ | น. จํานวนที่เกิดจากการนับ จำนวนที่ใช้แทนการนับ ได้แก่ ๑, ๒, ๓, ๔ ... . |
เจ้าหล่อน | ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓, บางทีผู้ใหญ่ใช้แก่ผู้น้อยในบุรุษที่ ๓. |
เจ้า ๒ | ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย สำหรับผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อยอย่างสุภาพหรือเอ็นดู, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เช่น เจ้ามานี่, คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓, มักใช้เข้าคู่กับคำ นั่น เป็น เจ้านั่น เช่น เจ้านั่นจะไปด้วยหรือเปล่า. |
โจ๊ก ๓ | น. ไพ่ตัวพิเศษจะใช้แทนตัวไหนก็ได้ตามที่ต้องการ. |
ฉะ ๑ | คำใช้แทนกริยาได้หลายอย่างแล้วแต่คำห้อมล้อม เช่น ฉะปาก หมายความว่า ต่อยปาก, ฉะข้าว หมายความว่า กินข้าว. |
ฉัน ๑ | ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด พูดกับผู้ที่เสมอกันหรือผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. |
ชด | ใช้แทนที่เสียไป. |
ชดเชย | ก. ใช้แทนสิ่งที่เสียไป, เพิ่มเติม. |
ซึ่ง | ส. คำใช้แทนนามหรือข้อความที่อยู่ข้างหน้า เช่น บ้านของเขาอยู่ในป่าซึ่งห่างจากชุมชน. |
แซ็กคาริน | น. ชื่อสารประกอบเคมี มีสูตร C6H4SO2·CONH ลักษณะเป็นผลึกสีขาว ละลายนํ้าได้เล็กน้อย มีความหวานประมาณ ๕๕๐ เท่าของนํ้าตาลทราย ไม่มีคุณค่าทางอาหาร ในทางแพทย์ใช้แทนนํ้าตาลทรายสำหรับคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวานและคนที่อ้วนมาก. |
ดิฉัน | ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศหญิง เป็นคำสุภาพ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑, ดีฉัน ก็ว่า. |
ดีฉัน | ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศหญิง เป็นคำสุภาพ, ดิฉัน ก็ว่า, โบราณผู้ชายใช้ว่า ดีฉัน ผู้หญิงใช้ว่า อีฉัน, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. |
ตถาคต | (ตะถาคด) น. คำเรียกพระพุทธเจ้า, คำที่พระพุทธเจ้าใช้แทนพระองค์เอง. |
ตัวเลข | น. สัญลักษณ์ที่ใช้แทนจำนวนจริง เช่น ๑๒ 53 VIII. |
ตาง | ส. คำใช้แทนนามหลายฝ่ายให้แยกออกเป็นส่วน ๆ เช่น ทุกทั่วสัตวตื่นตาง แตกเต้า (ตะเลงพ่าย), ต่าง ก็ว่า. |
ต่าง ๒ | ส. คำใช้แทนนามหลายฝ่ายให้แยกออกเป็นส่วน ๆ เช่น คนทั้งหลายต่างก็ทำหน้าที่ของตน, ในบทกลอนใช้ว่า ตาง ก็มี. |
ติ้ว ๒ | น. ไม้ซี่แบน ๆ ชิ้นเล็ก ๆ มักทำด้วยไม้ไผ่ ยาวประมาณ ๑-๒ คืบ ใช้สำหรับเป็นคะแนน เช่น ปักติ้ว นับติ้ว ถ้าส่วนปลายมีเครื่องหมายหรือตัวเลขกำกับไว้ ใช้สำหรับเสี่ยงทาย เช่น สั่นติ้วเซียมซี หรือสำหรับใช้แทนสลาก เช่น เอาติ้วไปขึ้นของ. |
ตู ๑ | ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑ พหูพจน์, เช่น อันว่าพวกตูผู้เถ้า ก็จะน่งงเฝ้าแฝงหลัง (ม. คำหลวง ทศพร). |
ใต้เท้า | ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วยอย่างเคารพ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. |
ใต้เท้ากรุณา | ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย ใช้กับขุนนางที่มีศักดิ์สูงเช่นเจ้าพระยา, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. |
ใต้เท้ากรุณาเจ้า | ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย ใช้กับขุนนางชั้นสมเด็จเจ้าพระยา, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. |
ใต้ฝ่าพระบาท | ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย ใช้แก่เจ้านายชั้นพระองค์เจ้าและเจ้าฟ้า, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. |
ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท | ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย ใช้แก่พระมหากษัตริย์และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. |
ใต้ฝ่าละอองพระบาท | ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย ใช้แก่สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. |
ทักษิโณทก | นํ้าที่หลั่งในเวลาทําทานเพื่ออุทิศผลให้แก่ผู้ตาย, นํ้าที่หลั่งลงเป็นการแสดงว่ามอบให้เป็นสิทธิ์ขาด, นํ้ากรวด คือนํ้าที่ใช้แทนสิ่งของที่ให้ซึ่งใหญ่โตหรือไม่มีรูปที่จะหยิบยกให้ได้ เช่นวัด ศาลา บุญกุศล เป็นต้น [ศัพท์พระราชพิธี] |
Fungibility | การใช้แทนกันได้ [เศรษฐศาสตร์] |
APL (a programming language) | เอพีแอล ภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงภาษาหนึ่งซึ่งคิดค้นขึ้นโดยนักคณิตศาสตร์ชื่อ เคนเนท ไอเวอร์สัน แห่งบริษัทไอบีเอ็ม ใช้สัญลักษณ์ต่างๆ หลากหลายมาใช้แทนคำสั่งในภาษานี้พร้อมกันนั้นก็เพิ่งคำสั่งแปลกๆ ที่ภาษาคอมพิวเตอร์อื่นๆ ไม่มีใช้ลงไปด้วย ทำให้ภาษานี้ซับซ้อนและไม่ได้รับความนิยมนัก ทั้งๆ ที่เป็นภาษาที่มีสมรรถนะสูงมาก [คอมพิวเตอร์] |
Becquerel | เบ็กเคอเรล, หน่วยเอสไอที่ใช้วัดกัมมันตภาพ ปัจจุบันใช้แทนหน่วยคูรี 1 เบ็กเคอเรล หมายถึง การสลายตัวของนิวไคลด์กัมมันตรังสี 1 ครั้งต่อวินาที (ดู curie, Ci ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Sievert | ซีเวิร์ต, หน่วยวัดปริมาณรังสีสมมูล เป็นผลคูณระหว่างปริมาณรังสีดูดกลืนที่มีหน่วยเป็นเกรย์ กับค่าปรับเทียบที่แตกต่างกันตามชนิดและพลังงานของรังสี (อาร์อีบี) หน่วยซีเวิร์ตนี้ใช้แทนหน่วยเรม โดย 1 ซีเวิร์ต เท่ากับ 100 เรม (ดู rem ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Radioisotope | ไอโซโทปกัมมันตรังสี, ไอโซโทปของธาตุที่ไม่เสถียร มีการสลายเพื่อลดระดับพลังงานโดยการปลดปล่อยรังสีออกมา มักใช้แทนคำว่า นิวไคลด์กัมมันตรังสี (ดู radionuclide ประกอบ), Example: [นิวเคลียร์] |
Radioactive isotope | ไอโซโทป(กัมมันต)รังสี, ไอโซโทปของธาตุที่ไม่เสถียร มีการสลายเพื่อลดระดับพลังงานโดยการปลดปล่อยรังสีออกมา มักใช้แทนคำว่า นิวไคลด์กัมมันตรังสี <br>(ดู radionuclide ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์] |
BRIC | คำย่อที่ใช้แทน 4 ประเทศกำลังพัฒนาที่ใหญ่ที่สุด, Example: 4 ประเทศกำลังพัฒนาที่ใหญ่ที่สุด ได้แก่ บราซิล (Brazil) รัสเซีย (Russia) อินเดีย (India) และจีน (China) คำนี้บัญญัติโดย Goldman Sachs ในปี 2003 และบางครั้งได้ถูกนำไปใช้เรียกรวมประเทศ เม็กซิโก (BRIMC) และ เกาหลี (BRICK) [ธุรกิจ] |
Convention | ในภาษาไทยแปลว่า อนุสัญญา แต่คำนี้ใช้แทนคำว่า สนธิสัญญา (Treaty) บ่อย ๆ ผู้เขียนหลายท่านเห็นว่า ทั้งสองคำนี้ไม่ค่อยจะมีความหมายแตกต่างกันมากนัก แม้ว่าคำ Convention มักจะใช้กันเป็นประจำ โดยหมายถึงความตกลงที่กระทำกันในการประชุมระหว่างประเทศ ตัวอย่างเช่น อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ซึ่งได้รับการรับรองจากการประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์และความคุ้มกันทางการทูตที่กระทำกัน ณ กรุงเวียนนา เมื่อวันที่ 2 มีนาคม ถึง 14 เมษายน ค.ศ. 1961 (The Vienna Convention on Diplomatic Relations) [การทูต] |
visa | การตรวจลงตรา " การประทับตราหรือข้อความในหนังสือเดินทาง หรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางของคนต่างด้าวโดยเจ้าพนักงานของรัฐ เพื่อแสดงว่า ผู้เดินทางได้รับอนุญาตให้เข้ามาพำนัก เดินทางผ่าน และเดินทางออกจากราชอาณาจักร - courtesy visa การตรวจลงตราประเภทอัธยาศัยไมตรี การตรวจลงตราประเภทนี้จำกัดเฉพาะคนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร เป็นการชั่วคราว ซึ่ง (1) ปฏิบัติหน้าที่เพื่อการอื่นนอกเหนือจากการเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ทางการทูต กงสุล หรือราชการ (สำหรับผู้ที่ถือหนังสือเดินทางทูต หนังสือเดินทางราชการ หรือหนังสือเดินทางสหประชาชาติที่เทียบเท่าหนังสือเดินทางทูต หรือหนังสือ เดินทางราชการ) และ (2) เข้ามาในฐานะเป็นพระราชอาคันตุกะ ราชอาคันตุกะ แขกของรัฐบาล หรือหน่วยของรัฐ (สำหรับผู้ที่ถือหนังสือเดินทางธรรมดา) - diplomatic visa การตรวจลงตราประเภททูต - immigrant visa การตรวจลงตราประเภทคนเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร - non-immigrant visa การตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว - non-quota immigrant visa การตรวจลงตราประเภทคนเข้าเมืองนอกกำหนดจำนวนคนต่างด้าว ซึ่งเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นรายปี การตรวจลงตราประเภทนี้จะอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ 1 ปี - official visa การตรวจลงตราประเภทราชการ - re-entry visa การตรวจลงตราประเภทให้กลับเข้ามาในราชอาณาจักรได้อีก - tourist visa การตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยว - transit visa การตรวจลงตราประเภทคนเดินทางผ่านราชอาณาจักร - visa on arrival การตรวจลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง " [การทูต] |
Isoprene rubber or Polyisoprene | ยางพอลิไอโซพรีนหรือยาง IR เป็นยางสังเคราะห์ที่มีโครงสร้างทางเคมีเหมือนกับยางธรรมชาติ จึงมีสมบัติต่างๆ ใกล้เคียงกับยางธรรมชาติมาก และสามารถใช้แทนยางธรรมชาติในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้ เมื่อเปรียบเทียบกับยางธรรมชาติแล้ว ยาง IR มีสมบัติเชิงกล เช่น ความทนต่อแรงดึง และความทนต่อการฉีกขาดต่ำกว่ายางธรรมชาติเล็กน้อย เนื่องจากยาง IR มีสัดส่วนของโครงสร้างแบบ cis- ที่ต่ำกว่ายางธรรมชาติจึงมีแนวโน้มที่จะตกผลึกได้น้อยกว่า แต่มีข้อดีคือ ยางมีคุณภาพสม่ำเสมอมากกว่ายางธรรมชาติ มีสิ่งเจือปนน้อยกว่า และมีสีขาวสวย [เทคโนโลยียาง] |
Blood Substitutes | เลือด, สารใช้แทน;สิ่งทดแทนเลือด [การแพทย์] |
Chalk-Board Technique | เทคนิคการใช้แทนกระดานดำ [การแพทย์] |
natural logarithms [ Napierian logarithms ] | ลอการิทึมฐาน e, ลอการิทึมที่ใช้ฐาน e โดยที่ e เป็นสัญลักษณ์ใช้แทนจำนวนอตรรกยะจำนวนหนึ่งที่มีค่า 2.7182818 โดยประมาณ นิยมเขียนลอการิทึมฐาน e โดยไม่มีฐานกำกับ เช่น loge10 จะเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ In 10 [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
transistor | ทรานซิสเตอร์, อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นสารกึ่งตัวนำ ใช้แทนหลอดวิทยุ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
synthetic rubber[ artificial rubber ] | ยางเทียม, ยางสังเคราะห์, ยางที่ผลิตขึ้นใช้แทนยางธรรมชาติ โดยสังเคราะห์จากน้ำมันปิโตรเลียมมีสมบัติคล้ายยางธรรมชาติ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
variable | ตัวแปร, สัญลักษณ์ที่ใช้แทนค่าตัวเลข หรือตัวหนังสือในโปรแกรม ลักษณะคล้ายคลึงกับตัวแปรทางคณิตศาสตร์ โดยจะต้องมีการตั้งชื่อให้กับตัวแปร มีการกำหนดค่าให้กับตัวแปร และค่าของตัวแปรอาจถูกเปลี่ยนแปลงไปได้ระหว่างที่ทำการประมวลผล หรือระหว่างการทำงานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
quantitative data | ข้อมูลเชิงปริมาณ, ข้อมูลที่ใช้แทนขนาดหรือปริมาณซึ่งวัดออกมาเป็นจำนวนที่สามารถนำมาใช้เปรียบเทียบกันได้โดยตรง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
isometric grid paper [ isometric graph paper ] | กระดาษกริดไอโซเมตริก, กระดาษที่มีเส้นตรง 3 แกนตัดกัน เกิดเป็นตารางสามเหลี่ยมเพื่อใช้เป็นเส้นร่างกำหนดแนวความกว้าง ความยาว และความสูงของภาพที่เราจะวาด ประกอบด้วย แกน X (แกนทแยงขวา)ใช้แทนความกว้าง แกน Y (แกนทแยงซ้าย) ใช้แทนความยาวหรือลึก แกน Z (แกนตั้ง) ใช้แทนความสูง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
automation | (n) การนำเครื่องจักรมาใช้แทนคนในการทำงาน, Syn. mechanization, industrialization |
chip | (n) เบี้ย, See also: ชิพ, เบี้ยที่ใช้แทนเงินในการเล่นพนัน, Syn. token, counter, piece |
cowrie | (n) เบี้ย, See also: เปลือกหอยที่ใช้แทนเงิน |
new one on | (idm) สิ่งที่ไม่เคยรู้เห็นมาก่อน (และไม่คิดว่าน่าเชื่อถือ) (someone มักใช้แทนด้วย me) (คำไม่เป็นทางการ) |
logogram | (n) สัญลักษณ์หรือตัวอักษรที่ใช้แทนคำ |
metonym | (n) คำหรือวลีที่ใช้แทนคำอื่น, Syn. synonym |
metonymic | (adj) เกี่ยวกับคำหรือวลีที่ใช้แทนคำอื่น, Syn. metaphoric, metaphorical |
metonymical | (adj) เกี่ยวกับคำหรือวลีที่ใช้แทนคำอื่น, Syn. metaphoric, metaphorical |
notation | (n) เครื่องหมายที่ใช้แทนระบบตัวเลขหรือเสียง, See also: สัญลักษณ์ที่ใช้แทนความหมายในทางดนตรี คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ |
stopgap | (n) สิ่งทดแทน, See also: สิ่งใช้แทนชั่วคราว, Syn. makeshift, substitute |
substitute | (n) คำที่ใช้แทนได้ (ไวยากรณ์), See also: คำแทนที่ |
substitutive | (adj) ซึ่งเป็นตัวแทน, See also: ซึ่งเป็นการแทน, ใช้แทนกันได้, Syn. exchangeable, substituted |
supersede | (vt) เข้าแทนที่, See also: ใช้แทน, เข้ามาแทนที่, Syn. replace, supplent, take the place of |
this | (pron) นี้ (ใช้แทนคำนามที่กล่าวถึงหรือทราบกันดีอยู่แล้ว), Syn. the one, this one, that |
token | (n) เหรียญพลาสติกหรือโลหะที่ใช้แทนเงิน |
un | (pron) คำสรรพนามใช้แทนคำนาม (ภาษาพูด), Syn. one |
wampum | (n) ลูกปัดที่ทำจากเปลือกหอยใช้แทนเงิน, See also: โดยชนพื้นเมืองทางอเมริกาเหนือ, Syn. peag |
* | เครื่องหมาย asterisk (ดอกจัน) เป็นอักขระตัวหนึ่ง มีอยู่บนแผงแป้นอักขระ เมื่อนำมาใช้ในคำสั่งระบบดอส สัญลักษณ์ * จะใช้แทนตัวอักษรใด ๆ ก็ได้ กี่ตัวก็ได้ (wildcards) ใช้เมื่อต้องการอ้างถึงชื่อแฟ้มข้อมูล เช่นถ้าใช้ A*.* หมายความถึง แฟ้มข้อมูลทุกแฟ้มที่มีชื่อขึ้นต้นด้วยอักษร A และจะมีนามสกุลอะไรก็ได้ หรือถ้าใช้ *.COM ก็หมายความ ถึงแฟ้มข้อมูลทุกแฟ้มที่มีนามสกุล COM ถ้าใช้ *.* ก็จะหมายถึงทุกแฟ้มข้อมูลที่มีอยู่ในสารบบ หรือในจานบันทึก ดู wildcards ประกอบ |
^ | <คำแปล> hat หมายถึง สัญลักษณ์ที่มีลักษณะคล้ายหมวก (^) ในภาษาไทยเราก็เรียกเครื่องหมายนี้ว่า "หมวก" ใช้แทน แป้นควบคุม (Control Key) เช่น กดแป้นควบคุมและแป้น K จะใช้ย่อ ๆ ว่า กด ^K ในภาษาเบสิกใช้หมายถึงการยกกำลัง เช่น 5^3 มีความหมายว่า 5 ยกกำลัง 3 ดู caret ประกอบ^ (สัญลักษณ์) <เครื่องหมาย>caretหมายถึง สัญลักษณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อกดแป้น Shift+6 (^) สัญลักษณ์นี้ใช้ในการเขียนโปรแกรมของบางภาษา โดยจะแทนคำสั่งเฉพาะบางคำสั่ง มีความหมายแตกต่างกันไป เช่น ^ ในภาษาปาสกาล (Pascal) ใช้แทนตัวชี้ (pointer) , ^ ใน ภาษาซี (C) ใช้แทนตัวดำเนินการ exclusive OR, ^ ใน ภาษาเบสิก (BASIC) ใช้แทนการยกกำลัง เป็นต้น |
american standard code fo | รหัสมาตรฐานของสหรัฐอเมริกาเพื่อการสับเปลี่ยนสารสนเทศ <คำแปล>ใช้ตัวย่อว่า แอสกี (ASCII) เป็นรหัสมาตรฐานแบบหนึ่งที่ใช้แทนตัวอักขระต่าง ๆ เรียกว่า "รหัส แอสกี " |
ascii | คำย่อ American Standard code For Information Interchange, รหัสมาตรฐานของสหรัฐอเมริกาเพื่อการแลกเปลี่ยนสารสนเทศนี้ เป็นรหัสมาตรฐานที่ใช้กับคอมพิวเตอร์รหัสหนึ่ง ที่ใช้เลขฐานสอง รหัสแอสกี, รหัสมาตรฐาน ใช้แทนอักขระด้วย 7 บิต (ถ้ารวม parity check ด้วยจะเป็น 8 บิต) |
asterisk | (แอส'เทอริสคฺ) n. เครื่องหมายดอกจันทร์ (*) , สิ่งที่มีลักษณะคล้ายดาว. -vt. ใส่เครื่องหมายดอกจันทร์หรือดาว ดอกจัน <คำแปล>* <เครื่องหมาย>เป็นอักขระตัวหนึ่ง มีอยู่บนแผงแป้นอักขระ เมื่อนำมาใช้ในคำสั่งระบบดอส สัญลักษณ์ * จะใช้แทนตัวอักษรใด ๆ ก็ได้ กี่ตัวก็ได้ (wildcards) ใช้เมื่อต้องการอ้างถึงชื่อแฟ้มข้อมูล เช่นถ้าใช้ A*.* หมายความถึง แฟ้มข้อมูลทุกแฟ้มที่มีชื่อขึ้นต้นด้วยอักษร A และจะมีนามสกุลอะไรก็ได้ หรือถ้าใช้ *.COM ก็หมายความ ถึงแฟ้มข้อมูลทุกแฟ้มที่มีนามสกุล COM ถ้าใช้ *.* ก็จะหมายถึงทุกแฟ้มข้อมูลที่มีอยู่ในสารบบ หรือในจานบันทึก ดู wildcards ประกอบ |
at | (เอที) เป็นคำย่อที่บริษัทไอบีเอ็มนำมาใช้แทนคำว่า advanced technology ซึ่งแปลว่า เทคโนโลยีขั้นสูงนั่นเอง เมื่อสมัยที่ไอบีเอ็มผลิตเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ชุดใหม่ที่ใช้ชิปหมายเลข 80286 ได้ตั้งชื่อคอมพิวเตอร์ที่ออกสู่ตลาดรุ่นนั้นว่า " IBM AT " |
binary coded decimal | เลขฐานสิบเข้ารหัสฐานของ <คำแปล>ใช้ตัวย่อว่า BCD หมายถึงรหัสที่ใช้แทนเลขฐาน ซึ่งกำหนดให้เลขฐานสิบแต่ละตัวแทนด้วยเลขฐานสอง 4 บิต ตัวอย่าง เช่น เลข 17 ในฐานสิบ เขียนเป็นเลขฐานสองว่า 0001 0111 โดยที่เลขหลักของบิตจากซ้ายไปขวา เป็นลำดับเพิ่มตามสูตร 8-4-2-1 เลข 17 ที่เป็นฐานสิบ เมื่อแสดงในรูปเลขฐานสองธรรมดาจะเป็น 10001 |
binary digit | เลขโดดฐานสองเรียกย่อ ๆ ว่า bit หมายถึง ตำแหน่งหนึ่งในเลขฐานสอง ซึ่งเป็นได้ 2 ค่า คือ 0 กับ 1 ใช้แทนค่าต่าง ๆ บิตเป็นหน่วยเล็กที่สุดของการเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ในการเก็บค่า เรานำบิตมาจัดเป็นกลุ่ม ๆ ละ 6-7-8 บิต เพื่อใช้เป็นรหัสแทนตัวอักขระต่าง ๆ ดู bit ประกอบ |
card punch | อุปกรณ์เจาะบัตรหมายถึง อุปกรณ์แสดงผล (output device) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องเจาะบัตร หรือ เครื่องที่ใช้บันทึกข้อความลงบนบัตรด้วยการเจาะรู ซึ่งเป็นรหัสใช้แทนตัวอักษร ตัวเลข และอักขระพิเศษอื่น ๆ ต่างกับเครื่องเจาะบัตรที่เรียกว่า keypunch กล่าวคือ keypunch เป็นเครื่องเจาะบัตรที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของเครื่องคอมพิวเตอร์ (คนเป็นผู้เจาะ) แต่ card punch เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่ทำงานภายใต้การควบคุมของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ดู keypunch เปรียบเทียบ |
caret | ^ (สัญลักษณ์) <เครื่องหมาย>หมายถึง สัญลักษณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อกดแป้น Shift+6 (^) สัญลักษณ์นี้ใช้ในการเขียนโปรแกรมของบางภาษา โดยจะแทนคำสั่งเฉพาะบางคำสั่ง มีความหมายแตกต่างกันไป เช่น ^ ในภาษาปาสกาล (Pascal) ใช้แทนตัวชี้ (pointer) , ^ ใน ภาษาซี (C) ใช้แทนตัวดำเนินการ exclusive OR, ^ ใน ภาษาเบสิก (BASIC) ใช้แทนการยกกำลัง เป็นต้น |
command key | เป็นแป้นพิมพ์พิเศษแป้นหนึ่งบนแผงแป้นอักขระของเครื่องแมคอินทอช ซึ่งมีสัญลักษณ์ เป็นรูปแอปเปิลแหว่งอยู่บนแป้น หากใช้พร้อมกับแป้นอื่นสามารถใช้แทนคำสั่งบางคำสั่งได้ เช่น ถ้ากดแป้นนี้พร้อมกับแป้น X แปลว่าสั่งให้ cut ถ้ากดแป้นนี้พร้อมกับ แป้น C แปลว่าสั่งให้ copy และถ้ากดแป้นนี้พร้อมกับแป้น V ก็เป็นการ สั่ง paste (ทำหน้าที่คล้ายแป้น ALT ของเครื่องพีซี) |
compatibility | ความเข้ากันได้ความใช้แทนกันได้การเทียบเคียงกันได้หมายถึง ความสามารถในการทำงานของอุปกรณ์หรือโปรแกรมที่สามารถเทียบแทนกันได้กับอุปกรณ์หรือโปรแกรมที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับอยู่แล้ว เช่น ถ้าใช้ว่า "IBM Compat" ก็แปลความได้ว่าคอมพิวเตอร์นั้นไม่ใช่ยี่ห้อไอบีเอ็ม แต่ผลิตขึ้นมาด้วยมาตรฐานเดียวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ของไอบีเอ็ม และสามารถนำมาใช้แทนเครื่องไอบีเอ็มได้ (หมายถึง ใช้โปรแกรมหรือคำสั่งต่าง ๆ ของไอบีเอ็มได้นั่นเอง) |
control key | แป้นควบคุมเป็นแป้นพิเศษแป้นหนึ่ง โดยปกติ จะมีตัวย่อ Ctrl ไว้ให้อยู่ บนแป้น เป็นแป้นที่ต้องใช้พร้อมแป้นอื่น ๆ จึงจะเป็น คำสั่งให้คอมพิวเตอร์ ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะได้ เช่น ในระบบวินโดว์ การกดแป้นCTRL+S จะใช้แทนคำสั่ง save ได้ แป้น CTRL นี้ โดยปกติจะใช้สัญลักษณ์ ^ แทน เช่น ^S คือกดแป้น CTRL+S |
eighty column card | บัตร 80 คอลัมน์บัตรทำด้วยกระดาษ มีไว้ใช้สำหรับบรรจุข้อมูล โดยปกติจะต้องมีรูปร่างและขนาดตามมาตรฐานที่กำหนด (71/8 นิ้ว +31/4 นิ้ว) จะต้องทำด้วยกระดาษชนิดพิเศษที่มีความต้านทานความชื้นสูง และมีความต้านทานสูงต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในอากาศ ในการบรรจุข้อมูลนั้น ใช้วิธีเจาะรูตามคอลัมน์ของบัตรซึ่งจะมี 80 คอลัมน์ (จึงเรียกกันว่า บัตร 80 คอลัมน์) แต่ละคอลัมน์มี 12 แถว ในการเจาะนั้นรูหนึ่งรูในแต่ละคอลัมน์เป็นรหัสใช้แทนตัวเลข (0-9) และรูสองรูหรือมากกว่าในแต่ละคอลัมน์เป็นรหัสใช้แทนตัวอักษร (A-Z) หรือ อักขรพิเศษอื่น ๆ เมื่อใส่บัตรเข้าเครื่อง รูเหล่านี้จะถูกแปรงไฟฟ้าปัดผ่าน ทำให้เครื่อง สามารถอ่านข้อมูลเข้าไปได้ บัตรคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้กันมากคือ บัตรที่ ดร. เฮอร์แมน ฮอลเลอริท (Hermann Hollerith) แห่งบริษัทไอบีเอ็ม (IBM) เป็นผู้คิดขึ้น บางทีจึงนิยมเรียกกันว่า บัตรไอบีเอ็ม (IBM card) หรือ บัตรฮอลเลอริท (Hollerith card) ดู card ประกอบ |
flowchart symbol | สัญลักษณ์ผังงานหมายถึงรูปสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ใช้แทนการปฏิบัติงานของข้อมูล และเครื่องมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนผังงาน (flowchart) ดู flowchart ประกอบ |
function keys | แป้นกำหนดหน้าที่หมายถึง แป้นพิเศษกลุ่ม หนึ่งที่มักจะถูกจัดไว้ให้อยู่แถวบน สุดของแป้นพิมพ์ (บางทีก็อยู่ ด้านซ้ายมือ) ปกติจะมีอยู่ราว ๆ 10-15 แป้น บนแป้นจะมีตัวอักษร F ตามด้วยเลขตั้งแต่ 1-15 (แล้วแต่ว่ามีกี่แป้น) แป้นเหล่านี้จะถูกกำหนด หน้าที่ เฉพาะ ให้ใช้แทนคำสั่งบางคำสั่งได้เลย เช่น ในระบบดอส แป้น F3 จะใช้แทนคำสั่ง copy ได้ เป็นต้น |
golf | (กอล์ฟ) n. กอล์ฟ, คำที่ใช้แทนอักษรG (ในการสื่อสาร) vi. เล่นกอล์ฟ., See also: golfer n. |
informatics | สนเทศศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับสารสนเทศ (information) และการคำนวณเพื่อคาดการณ์ในอนาคต เป็นคำที่ชาวยุโรปนำมาใช้แทนคำ computer science ที่แปลว่า วิทยาการคอมพิวเตอร์ดู computer science ประกอบ |
macro assembler | ตัวแปลแมโครหมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์โปรแกรมหนึ่งที่ใช้งานในการสร้างโปรแกรมแมโครและมีหน้าที่แปลภาษาที่ใช้ในแมโครให้เป็นภาษาแอสเซมบลี (assembly language) แต่ละข้อคำสั่งในโปรแกรมภาษาแอสเซมบลีนั้นใช้แทนคำสั่งภาษาเครื่อง (machine language) หลายคำสั่งได้ ฉะนั้นถ้าเขียนแมโครเก็บไว้ เมื่อเรียกมาใช้ก็จะทำให้สะดวก ไม่ต้องพิมพ์คำสั่งยาว ๆ ดู macro ประกอบ |
magnetic disk | จานแม่เหล็กหมายถึง สิ่งที่มีลักษณะเหมือนจาน เคลือบผิวด้วยไอออนออกไซด์ ทำให้เกิดกระแสแม่เหล็กบนผิวหน้าของจานแม่เหล็ก จะมีสองขั้วคือขั้วบวกและขั้วลบ สถานะสองขั้วนี้เองที่เรานำมาใช้แทนรหัสเลขฐานสอง (คือ 0 กับ 1) และทำให้เราสามารถบันทึกข้อมูลซึ่งแตกออกเป็นดิจิต (digit) ได้อย่างง่ายดาย นับเป็นสื่อเก็บข้อมูลที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน ที่นิยมใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ มีทั้งจานอ่อน (floppy disk หรือ diskette) และจานแข็ง (hard disk) จานบันทึกเหล่านี้จะต้องนำมาจัดรูปแบบการบันทึก (format) คือกำหนดแทร็ก (track) และเซ็กเตอร์ (sector) ก่อน จึงจะนำไปใช้ได้ดู track และ sector ประกอบ |
makeshift | (เมค'ชิฟทฺ) n. สิ่งที่ใช้แทนชั่วคราว, แผนเฉพาะหน้า. adj. เฉพาะกาล, ชั่วคราว, เฉพาะหน้า |
mb | (เอ็มบี) ย่อมาจากคำว่า megabyte เท่ากับหนึ่งล้านไบต์ (ตัว B ใหญ่ ใช้แทนคำว่า byte ส่วน b เล็กใช้แทน bit หรือ binary digit) ดู byte ประกอบดู Mb เปรียบเทียบ |
radio button | ปุ่มวิทยุหมายถึงปุ่มประเภทหนึ่งบนจอภาพ ใช้แทนคำสั่งบางคำสั่งได้ ส่วนมากจะอยู่ติด ๆ กันเหมือนปุ่มบนเครื่องวิทยุ ปุ่มประเภทนี้ เมื่อกดปุ่มหนึ่งแล้ว ปุ่มที่เหลือจะถูกยกเลิกโดยอัตโนมัติเหมือนปุ่มวิทยุ จึงเรียกกันว่าปุ่มวิทยุ ใช้กับคอมพิวเตอร์ หมายถึงปุ่มคำสั่งที่กดเลือกได้เพียงอันเดียว ถ้ากดเลือกปุ่มคำสั่งอันใดอันหนึ่งหนึ่งแล้ว ปุ่มคำสั่งอื่นหรือปุ่มที่เลือกไว้เก่าก็จะถูกยกเลิก |
relational operator | ตัวดำเนินการสัมพันธ์หมายถึง สัญลักษณ์ =, > หรือ < ซึ่งใช้แทนความหมาย เท่ากับ, มากกว่า น้อยกว่า ที่ใช้ระหว่างตัวแปร 2 ตัว ตัวดำเนินการเหล่านี้ใช้ในการเขียนโปรแกรมตารางจัดการ (spreadsheet) หรือโปรแกรมการจัดการฐานข้อมูล (database management) |
saccharin | (แซค'คะริน) n. สารรสหวานกว่าน้ำตาลถึงหลายร้อยเท่าใช้แทนน้ำตาลสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน |
substantive | (ซับสแทน'ทิฟว) n., adj. (เกี่ยวกับ) คำนาม, สรรพนาม, ถ้อยคำที่ใช้แทนคำนาม, อิสระ, มีการอยู่อย่างอิสระ, สำคัญ, แท้จริง, ธาตุแท้, มีแก่นสาร, มากมาย, ยิ่งใหญ่, (สีย้อม) ย้อมสีได้โดยไม่ต้องมีตัวเสริม., See also: substantival adj. substantiveness n. |
thin film | ฟิล์มบางเป็นวัสดุชนิดหนึ่ง ใช้เป็นสื่อในการเก็บข้อมูล หรืออาจใช้ทำหน่วยความจำหลัก เลย เรียกว่า thin-film memory สามารถเรียกหาข้อมูลได้เร็วมาก โดยปกติจะมีขนาด 1/20 ตารางนิ้ว มีความหนาไม่ ถึง 1 ไมครอน ใช้แทนทรานซิสเตอร์ได้เป็นพัน ๆ ตัว |
thyself | (ไธ'เซลฟฺ) pron. ตัวของคุณเอง, ตัวของท่านเอง, เป็นสรรพนามย้ำที่ใช้แทนthouหรือthee |
typeface | แบบอักษรหมายถึง การออกแบบตัวอักขระในรูปลักษณ์ต่าง ๆ กัน ในบางที่ใช้แทนคำ font ได้เลยดู font ประกอบ |
wildcards | สัญลักษณ์ตัวแทนหมายถึงตัวอักขระหรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนตัวอักขระใด ๆ ก็มักใช้เมื่อต้องการสั่งให้มีการค้นแต่ไม่สามารถจะบอกรายละเอียดต่าง ๆ ได้ทั้งหมด แม้แต่ชื่อก็อาจรู้แต่เพียงขึ้นต้นด้วยตัว S ในกรณีเช่นในระบบดอสกำหนดให้ใช้สัญลักษณ์ตัวแทนได้ 2 แบบ คือ 1. เครื่องหมายดอกจัน (*) ใช้แทนอักขระ ใด ๆ ก็ได้กี่ตัวก็ได้ 2. สัญลักษณ์ ?แทนอักขระใดก็ได้?แต่จำกัดเพียงตัวเดียวเช่น s*.xls sale.xls *.bmp arches.bm s????.* sweet.doc ?m.* om.pm4 suga?.??? sugar.txt *.* ทุกแฟ้ม WIMP : วิมพ์เป็นตัวย่อของคำต่อไปนี้คือ windows, icons, menus, pointing device ซึ่งหมายถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ต้องใช้ในระบบกูอี (GUI) แทนที่จะใช้วิธีการพิมพ์คำสั่งเป็นการเปรียบเทียบระหว่างดอสและวินโดว์ |
would | (วูด) v. กริยาช่อง 2 และ 3 ของ will (ใช้แสดงความหวัง) เช่นI would it were true (ใช้แทนที่willเพื่อตั้งคำถามหรือแสดงถ้อยคำอ้อม ๆ) เช่นWould you be so kind? |