กบนา | น. ชื่อกบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Hoplobatrachus rugulosus (Wiegmann) หรือ Rana rugulosus (Wiegmann) ก็มีใช้กัน ในวงศ์ Ranidae หลังสีน้ำตาลอมเขียวมีจุดสีน้ำตาลเข้มถึงดำกระจายทั่วไป ท้องสีขาวนวล กินแมลง เป็นชนิดที่มีแพร่หลายมากที่สุดในประเทศไทย. |
กรอก ๒ | (กฺรอก-) น. ชื่อนกยางขนาดเล็ก ในวงศ์ Ardeidae นอกฤดูผสมพันธุ์เพศผู้และเพศเมียสีลำตัวคล้ายกัน แต่ในฤดูผสมพันธุ์สีต่างกัน ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ ยางกรอกพันธุ์จีน [ Ardeola bacchus (Bonaparte) ] หัวสีนํ้าตาลแดง หลังสีเทาดำ อกสีแดง ยางกรอกพันธุ์ชวา [ A. speciosa (Horsfield) ] หัวและคอสีเหลือง หลังสีเทาดำ อกสีเหลือง และยางกรอกพันธุ์อินเดีย [ A. grayii (Sykes) ] หัวและคอสีเหลือง หลังสีแดงเข้ม อกสีน้ำตาลเหลือง กินปลาและสัตว์น้ำ. |
กระจอกเทศ | น. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด Struthio camelus Linn. ในวงศ์ Struthiornidae เป็นนกที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตัวผู้สีดำ ตัวเมียสีน้ำตาล ขาใหญ่แข็งแรง ตีนมี ๒ นิ้ว วิ่งเร็ว แต่บินไม่ได้ มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา ปัจจุบันนำมาเพาะเลี้ยงในประเทศไทยเพื่อเป็นอาหาร. |
กระต่าย ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Leporidae หูและขนยาว ในประเทศไทยมีเพียงชนิดเดียวที่อาศัยอยู่ในป่า คือ กระต่ายป่า ชนิด Lepus peguensis Blyth ขนสีนํ้าตาล ใต้หางสีขาว อาศัยอยู่ในโพรงดินเหมือนกระต่ายต่างประเทศ ที่นำมาเลี้ยงตามบ้านซึ่งมีหลายชนิดและหลายสี เช่น ชนิด Oryctolagus cuniculus (Linn). |
กระถิก, กระถึก | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Sciuridae เป็นกระรอกขนาดเล็ก ขนสีนํ้าตาล มีแถบสีน้ำตาลเข้ม ๓ แถบพาดตามยาวลำตัว สลับกับแถบสีน้ำตาลจาง ๆ ๔ แถบ ตั้งแต่สันหลังลงไปถึงข้างลำตัว อาศัยอยู่ตามต้นไม้สูง ๆ กินแมลงและผลไม้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ กระถิกขนปลายหูยาว [ Tamiops rodolphe i (Milne-Edwards) ] และกระถิกขนปลายหูสั้น [ T. mxcclellandi (Horsfield) ], กระเล็น ก็เรียก. |
กระทิง ๓ | น. ชื่อปลานํ้าจืดในสกุล Mastacembelus วงศ์ Mastacembelidae ลำตัวยาว แบนข้างเล็กน้อย ปลายจะงอยปากบนเรียวแหลมคล้ายปลาหลด แต่มีครีบหลังและครีบก้นยาวต่อเนื่องกับครีบหาง สีสดสวยกว่าและมีขนาดใหญ่กว่า อาศัยอยู่ในแม่นํ้าลำคลองและที่ลุ่ม ที่พบทั่วไปในประเทศไทย เช่น ชนิด M. armatus (Lacepéde), M. favus Hora, และกระทิงไฟ ( M. erythrotaeniaBleeker) ซึ่งมีขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร. |
กระสา ๑ | น. ชื่อนกขนาดใหญ่หลายชนิด ในวงศ์ Ciconiidae ปากหนาแบนข้าง ยาว ปลายแหลมตรง คอและขายาว เวลาบินคอเหยียดตรง ทำรังด้วยกิ่งไม้อยู่บนยอดไม้สูง กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็ก ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น กระสาคอขาว [ Ciconia episcopus (Boddaert) ] กระสาคอดำ [ Ephippiorhynchus asiaticus (Latham) ]. |
กระสา ๑ | ชื่อนกยางขนาดใหญ่ ในวงศ์ Ardeidae ปากยาว ปลายแหลม ฤดูผสมพันธุ์เพศผู้มีขนยาวบริเวณท้ายทอย ๒ เส้น คอยาว เวลาบินคอโค้งงอ ขายาว เล็บของนิ้วกลางที่หันไปข้างหน้าหยักคล้ายซี่หวี ทำรังด้วยกิ่งไม้บนยอดไม้สูงปานกลาง กินปลาและสัตว์น้ำ ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ กระสานวล ( Ardea cinerea Linn.) กระสาแดง ( A. purpurea Linn.) และกระสาใหญ่ ( A. sumatrana Raffles). |
กลาโหม | ชื่อกระทรวงที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรจากภัยคุกคามทั้งภายนอกและภายในประเทศ |
กวางตุ้ง ๑ | (กฺวาง-) น. ชื่อมณฑลหนึ่งในประเทศจีน, ชาวจีนในมณฑลนี้, เรียกภาษาของชาวจีนในมณฑลนี้ ว่า ภาษากวางตุ้ง. |
กวางป่า | น. ชื่อกวางชนิด Cervus unicolor Kerr ในวงศ์ Cervidae เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในหมู่กวางในประเทศไทย ขนยาวหยาบสีน้ำตาล ตัวผู้มีเขาเป็นแขนงข้างละ ๓ กิ่ง ผลัดเขาปีละครั้ง มักแยกอยู่ตามลำพังยกเว้นฤดูผสมพันธุ์จึงจะรวมกลุ่ม กินใบไม้อ่อน หญ้าอ่อน, กวางม้า ก็เรียก. |
กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย | น. กองทุนที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อการรักษาเสถียรภาพของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายที่ใช้บริโภคในประเทศ. |
กะลิง | น. ชื่อนกปากขอชนิด Psittacula finschii (Hume) ในวงศ์ Psittacidae ตัวขนาดไล่เลี่ยกับนกแขกเต้าที่พบในประเทศไทย ปากสีแดง โดยปลายขากรรไกรบนสีแดงปลายเหลือง ขากรรไกรล่างสีเหลือง หัวสีเทา ตัวสีเขียว หางยาว กินผลไม้และเมล็ดพืช, กะแล ก็เรียก. |
กังไส | น. เครื่องถ้วยปั้นที่ทำมาจากแคว้นเกียงสีในประเทศจีน. |
กาน้า | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Canarium album (Lour.) Raeusch. ในวงศ์ Burseraceae ผลคล้ายสมอบางชนิด กินได้ มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน, สมอจีน ก็เรียก. |
กาน้ำ | น. ชื่อนกน้ำขนาดกลางถึงขนาดใหญ่หลายชนิด ในวงศ์ Phalacrocoracidae คอยาว ตัวสีดำ ตีนมีพังผืด นิ้วแบบตีนพัดเต็ม ว่ายนํ้าเหมือนเป็ด ดำนํ้าจับปลากิน อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ กานํ้าใหญ่ [ Phalacrocorax carbo (Linn.) ] กานํ้าปากยาว ( P. fuscicollisStephens) และกานํ้าเล็ก [ P. niger (Vieillot) ] . |
การเวก ๒ | (การะ-) น. ชื่อนกขนาดเล็กถึงขนาดกลางหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Paradisaeidae แต่ละชนิดมีสีสันหลากหลาย อาจมี ๕-๑๐ สีในตัวเดียวกัน ตัวผู้สีสดกว่าตัวเมีย พบในเกาะนิวกินี เกาะใกล้เคียง และทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย ในประเทศไทยมีผู้นำมาเลี้ยงตามบ้าน เช่น ชนิด Paradisea apoda Linn. |
กิ้งโครง ๑ | น. ชื่อนกขนาดเล็กถึงขนาดกลางหลายชนิด ในวงศ์ Sturnidae รูปร่างอ้วนป้อมคล้ายนกเอี้ยง หางสั้น ขาแข็งแรง กินผลไม้และแมลง ในประเทศไทยมี ๖ ชนิด ชนิดที่มีขนาดเล็ก เช่น กิ้งโครงแกลบปีกขาว [ Sturnus sinensis (Gmelin) ] ชนิดที่มีขนาดกลาง เช่น กิ้งโครงคอดำ ( S. nigricollis (Paykull)), คลิ้งโคลง ก็เรียก. |
กุย ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Saiga tatarica (Linn.) ในวงศ์ Bovidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง หัวใหญ่ ตัวอ้วน มีเขาเฉพาะตัวผู้ รูปร่างคล้ายพิณฝรั่ง สีขาวนวลโปร่งแสง มีวงเป็นข้อนูนต่อเนื่องกันจากโคนถึงปลาย จมูกลักษณะคล้ายกระเปาะ พองมีสันตามยาว หางสั้นมาก มีถิ่นกำเนิดในแถบไซบีเรียตอนใต้ มองโกเลียตะวันตก และจีนตะวันตกเฉียงเหนือ ไม่พบในประเทศไทย เขามีราคาแพง ใช้ทำยาได้. |
เก้ง | น. ชื่อกวางในสกุล Muntiacusวงศ์ Cervidae เป็นกวางขนาดเล็ก ขนสีนํ้าตาลอมเหลืองจนถึงนํ้าตาลเข้ม หน้าผากเป็นสันเห็นได้ชัดเจน ตัวผู้มีเขาและเขี้ยว ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ อีเก้งหรือฟาน [ M. muntjak (Zimmermann) ] และเก้งหม้อ เก้งดำ ฟานดำ หรือกวางจุก [ M. Feae (Tomas & Doria) ] ตัวโตกว่าชนิดแรก ขนสีนํ้าตาลแก่เกือบดำ หัวมีขนลักษณะคล้ายจุกสีเหลืองแซมดำ. |
แก้ว ๒ | น. ชื่อนกปากขอหลายชนิด ในวงศ์ Psittacidae ปากสีแดงหรือเหลือง จะงอยปากบนงอโค้งเป็นขอปลายแหลมขยับไปมาและขึ้นลงได้ จะงอยปากล่างขยับไปข้างหน้าและถอยมาข้างหลังได้ หัวค่อนข้างโต ลำตัวป้อม สีส่วนใหญ่ของลำตัวเป็นสีเขียวอมเหลือง อยู่ร่วมกันเป็นฝูง กินเมล็ดพืชและผลไม้ ในประเทศไทยมี ๗ ชนิด แต่ที่เรียกว่านกแก้วมี ๒ ชนิด ได้แก่ แก้วโม่ง [ Psittacula eupatria (Linn.) ] ซึ่งเป็นนกแก้วขนาดใหญ่ที่สุดของไทย และแก้วหัวแพร ( P. roseata Biswas) . |
ไก่ป่า | น. ชื่อไก่ชนิด Gallus gallus (Linn.) ในวงศ์ Phasianidae ตัวผู้สีเข้มสดใสและหลากสีกว่าตัวเมีย เช่น สีเขียว ดำ แดง ตัวเมียสีน้ำตาลอมเหลือง ทั้งตัวผู้และตัวเมียขาสีเทาเข้ม โคนหางสีขาว อาศัยในป่าโปร่ง เช่น ป่าไผ่ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิดย่อย คือ ไก่ป่าติ่งหูขาว [ G. g. gallus (Linn.) ] และไก่ป่าติ่งหูแดง [ G. g. spadiceus (Bonaterre) ] ไก่ชนิดนี้เป็นต้นตระกูลของไก่บ้าน. |
ขมิ้น ๒ | (ขะมิ่น) น. ชื่อนกขนาดกลางในวงศ์ Oriolidae ตัวขนาดไล่เลี่ยกับนกเอี้ยง มีหลายสี เช่น เหลือง แดง ขาว ตัวผู้และตัวเมียมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียสีหม่นไม่สวยงาม ทำรังเป็นรูปถ้วยตามง่ามไม้สูง ๆ กินผลไม้และแมลง ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น ขมิ้นท้ายทอยดำหรือขมิ้นเหลืองอ่อน ( Oriolus chinensis Linn .) ขมิ้นแดง [ O. traillii (Vigors) ] ขมิ้นขาว ( O. mellianusStresemann) . |
ขมิ้นน้อย | น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Irenidae ปากยาวแหลมตรง ขนตามลำตัวและปีกส่วนใหญ่สีเหลืองอมเขียว ขนคลุมตะโพกสีเหลืองและเขียวอ่อนนุ่มและหนาแน่น หางสั้นสีดำหรือสีเทาเข้ม ปลายหางตัด ในประเทศไทย มี ๓ ชนิด คือ ขมิ้นน้อยธรรมดา [ Aegithina tiphia (Linn.) ] ขมิ้นน้อยสีเขียว [ A. viridissima (Bonaparte) ] และขมิ้นน้อยปีกสีเรียบ [ A. lafresnayei (Hartlaub) ]. |
ขุนทอง | น. ชื่อนกขนาดกลางชนิด Gracula religiosa Linn. ในวงศ์ Sturnidae ปากสีส้ม ที่ท้ายทอยและหางตาทั้ง ๒ ข้างมีแผ่นเนื้อสีเหลือง ขนลำตัวสีดำเลื่อมเป็นมัน ที่ปีกมีขนสีขาวแซม ตีนสีเหลืองจัด ร้องเลียนเสียงคนหรือเสียงอื่น ๆ บางอย่างได้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิดย่อย คือ ขุนทองเหนือ ( G. r. intermediaHay) แผ่นเนื้อต่อเนื่องกัน และขุนทองใต้หรือขุนทองควาย ( G. r. religiosa Linn.) ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าชนิดย่อยแรก และแผ่นเนื้อไม่ต่อเนื่องกัน, พายัพเรียก เอี้ยงคำ. |
เขา ๓ | น. ชื่อนกขนาดกลางหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Columbidae ปากสั้นตรงปลายโค้งเล็กน้อย ขนลำตัวสีเทาหรือเทาอมน้ำตาล ขนปีกมีลาย ขาสีชมพู มักอยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูง กินเมล็ดพืชบนพื้นดิน ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น เขาใหญ่หรือเขาหลวง [ Streptopelia chinensis (Scopoli) ] เขาลายเล็ก [ Macropygia ruficeps (Temminck) ] เขาเขียว [ Chalcophaps indica (Linn.) ] เขาชวาหรือเขาเล็ก [ Geopelia striata (Linn.) ] . |
เขียด | น. ชื่อสัตว์สะเทินนํ้าสะเทินบกหลายชนิด ในสกุล Rana วงศ์ Ranidae ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น เขียดอ๋อง [ R. nigrovittata (Blyth) ] เขียดหลังขาว ( R. limnocharisGravenhorst). |
คงคา ๑ | น. นํ้า, แม่นํ้า, ใช้เป็นสามัญว่า แม่พระคงคา หมายถึง เจ้าแม่ประจำนํ้า, ชื่อแม่นํ้าสำคัญสายหนึ่งในประเทศอินเดีย. (ป., ส. คงฺคา ว่า ผู้ไปเร็ว, ผู้ไหลเชี่ยว) |
คับแค | น. ชื่อนกขนาดเล็กชนิด Nettapus coromandelianus (Gmelin) ในวงศ์ Anatidae เป็นนกเป็ดนํ้าที่เล็กที่สุดในประเทศไทย ปากสั้น รูปร่างอ้วนป้อม ตัวผู้ปีกสีเขียวเข้มเป็นมัน หน้า คอ และท้องสีขาว ที่คอมีวงสีเขียวเข้มหรือดำ ตัวเมียปีกสีนํ้าตาล ท้องสีขาวมีกระสีนํ้าตาล ทำรังในโพรงไม้. |
ค่าง | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Cercopithecidae ลักษณะคล้ายลิง ขนสีเทาหรือดำ ลำตัว แขน ขา และหางยาวกว่าลิงทั่ว ๆ ไป กินใบไม้และบางครั้งผลไม้ ในประเทศไทยมี ๔ ชนิด คือ ค่างดำ [ Presbytis melalophos (Raffles) ] ค่างแว่นถิ่นใต้ [ P. obscura (Reid) ] ค่างหงอกหรือค่างเทา [ P. cristata (Raffles) ] และค่างแว่นถิ่นเหนือ ( P. phayrei Blyth). |
คางคก ๑ | น. ชื่อสัตว์สะเทินนํ้าสะเทินบกในสกุล Bufo วงศ์ Bufonidae รูปร่างคล้ายกบ ผิวหนังเป็นตุ่มขรุขระ ภายในตุ่มมียางเหนียวซึ่งมีพิษต่อเนื้อเยื่ออ่อน เรียกว่า ยางขาว เคลื่อนที่โดยการย่างเดินและกระโดดหย่ง ๆ ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น คางคกบ้าน ( B. melanostictus Schneider) คางคกป่า ( B. macrotisBoulenger) . |
คางคกไฟ | น. ชื่อสัตว์สะเทินนํ้าสะเทินบกชนิด Bufo parvus Boulenger ในวงศ์ Bufonidae ขนาดลำตัวเล็กที่สุดในกลุ่มคางคกที่พบในประเทศไทย บนหัวมีเส้นนูนเป็นสันโค้งตามความยาวของหัวคล้ายวงเล็บ ๒ เส้น ในช่วงฤดูผสมพันธุ์เพศผู้จะเปลี่ยนสีผิวหนังเป็นสีแดง จึงมีผู้เรียกว่า คางคกไฟ, คางคกหัวจีบ ก็เรียก. |
ค้าว | น. ชื่อปลานํ้าจืดในวงศ์ Siluridae ไม่มีเกล็ด รูปร่างคล้ายปลาคางเบือนซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่มีขนาดใหญ่กว่า คือ ยาวได้ถึง ๒ เมตร หัวแหลม ปากกว้าง ฟันแหลมคม ครีบหลังตั้งเด่น ตัวยาวเรียวไปทางหาง แบนข้าง ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ค้าวขาว [ Wallago attu (Bloch) ] และ ค้าวดำ คูน ทุก อีชุก อีทุก หรือ อีทุบ ( W. micropogon Vailant) ซึ่งมีหนวดยาวกว่าชนิดแรก ลำตัวและครีบสีดำคล้ำ, ทั้ง ๒ ชนิด เค้า ก็เรียก. |
แค้ | น. ชื่อปลานํ้าจืด ไม่มีเกล็ด ในสกุล Bagarius วงศ์ Sisoridae หัวแบนแผ่ หนวดแบน ตาเล็ก ลำตัวยาวเรียวลู่จนแคบมากที่คอดหาง ครีบหางเป็นแฉกยาว ผิวหนังเป็นตุ่มแข็ง มีแต้มขนาดใหญ่สีนํ้าตาลเข้มอยู่บนหลังเป็นระยะ ๆ ครีบต่าง ๆ สีนํ้าตาล พบอาศัยตามพื้นท้องแม่นํ้าสายใหญ่ ๆ มี ๓ ชนิด ในประเทศไทยที่พบทั่วไปได้แก่ ชนิด B. bagarius (Hamilton-Buchanan) ซึ่งยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร และ B. yarrelli Sykes ยาวได้ถึง ๒ เมตร, คัง หรือ ตุ๊กแก ก็เรียก. |
โคร่ง ๑ | (โคฺร่ง) น. ชื่อเสือชนิด Panthera tigris (Linn.) ในวงศ์ Felidae เป็นเสือที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตัวสีเหลือง มีลายดำตามขวาง ล่าสัตว์ป่าบนพื้นดิน มักอยู่ลำพังตัวเดียว ยกเว้นฤดูผสมพันธุ์ ชอบเล่นนํ้า, ลายพาดกลอน ก็เรียก. |
โคล ๑ | (โคน) น. ชนกลุ่มหนึ่งในประเทศอินเดียฝ่ายใต้ เช่น ผู้สืบสัมพันธ์โคตรเค้าโคลตระกูล ทิชาเชื้อชาติธชีชูชก (ม. ร่ายยาว ชูชก). |
งอด | น. ชื่องูขนาดเล็กในสกุล Oligodonวงศ์ Colubridae ลำตัวขนาดไล่เลี่ยกับดินสอดำ ยาว ๓๐-๘๐ เซนติเมตร ส่วนใหญ่สีน้ำตาลอมเทา มีลายรูปร่างต่าง ๆ กัน เช่น ลายเส้น ลายประ หรือลายจุดสีดำกระจายทั่วตัว ท้องบริเวณหางสีแดง ส่วนใหญ่หากินเวลากลางคืน อาศัยตามพื้นดิน กินแมลง แมงมุม จิ้งจก เขียด ไส้เดือน ไข่นก และสัตว์เลื้อยคลาน ไม่มีพิษ ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น งอดท้องแดงหรืองอดไทย [ O. taeniatus (Günther) ] งอดด่างหรือปี่แก้วลายกระ [ O. cinereus (Günther) ]. |
เงินฝืด | น. ภาวะทางเศรษฐกิจที่ปริมาณเงินหมุนเวียนในประเทศมีน้อยไป การใช้จ่ายลดน้อยลง ทำให้ราคาสินค้าตก. |
เงินเฟ้อ | น. ภาวะทางเศรษฐกิจที่ปริมาณเงินหมุนเวียนในประเทศมากเกินไป ทำให้ราคาสินค้าแพงและเงินเสื่อมค่า. |
เงี้ยว ๑ | น. ชื่อหนึ่งของชนชาวไทใหญ่ที่ใช้เรียกกันเป็นสามัญในประเทศไทยสมัยก่อน. |
จงโคร่ง, โจงโคร่ง | (-โคฺร่ง) น. ชื่อสัตว์สะเทินนํ้าสะเทินบกชนิด Bufo asper Gravenhorst ในวงศ์ Bufonidae เป็นคางคกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ผิวหนังเป็นตุ่มขรุขระทั่วตัว ตุ่มที่หลังมีขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่ลำตัวสีน้ำตาลดำและน้ำตาลเหลือง ท้องสีขาวหม่นบางตัวมีจุดสีแดงเล็ก ๆ ยางขาวมีฤทธิ์ทำให้มึนเมา อาศัยในป่าบริเวณริมลำธารหรือน้ำตก, กระทาหอง กระหอง หรือ กง ก็เรียก. |
จระเข้ | (จอระ-) น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน มีหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Crocodylidae ปากและหัวยาว ปลายปากนูนสูงขึ้นเป็นช่องเปิดของรูหายใจ เรียกว่า ก้อนขี้หมา ลำตัวกลมยาว หนังเป็นเกล็ดแข็งทั้งตัว หางแบนยาวทางข้างใช้โบกว่ายนํ้า มักหากินในนํ้า อาศัยบริเวณป่าริมน้ำ ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ จระเข้บึง จระเข้นํ้าจืด หรือจระเข้สยาม ( Crocodylus siamensisSchneider) จระเข้นํ้าเค็ม อ้ายเคี่ยม หรืออ้ายทองหลาง ( C. porosus Schneider) และจระเข้ปากกระทุงเหวหรือตะโขง [ Tomistoma schlegelii (S. Müller) ], ตะเข้ หรือ อ้ายเข้ ก็เรียก, อีสานเรียก แข้, ปักษ์ใต้เรียก เข้ |
จาบดิน | น. ชื่อนกขนาดเล็ก ในวงศ์ Timaliidae ปากเรียวแหลม ด้านบนลำตัวสีเขียวหรือน้ำตาลเรียบ คอหอยและด้านล่างลำตัวอาจมีลายจุด หากินตามไม้พื้นล่างของป่าหรือตามพื้นดิน กินแมลง ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ จาบดินสีน้ำตาลคอลาย [ Pellorneum albiventre (Godwin-Austen) ] จาบดินอกลาย (P. ruficepsSwainson) และจาบดินหัวดำ [ P. capistratum (Temminck) ]. |
จาบฝน | น. ชื่อนกขนาดเล็ก ในวงศ์ Alaudidae รูปร่างอ้วนป้อม สีน้ำตาลเหลือง มีลายจุดที่คอและอก หางสั้น เสียงร้องไพเราะ อยู่ตามทุ่งโล่ง กินแมลงและเมล็ดพืช ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ จาบฝนเสียงใส ( Mirafra javanica Horsfield) จาบฝนปีกแดง ( M. assamica Horsfield) และจาบฝนเสียงสวรรค์ ( Alaula gulgula Franklin). |
จิ้งจก | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กในวงศ์ Gekkonidae และ Eublephoridae เป็นสัตว์จำพวกตุ๊กแก หัวโต ตัวยาว หางยาว ปรกติเคลื่อนที่โดยการไต่สี่ขาตามผนังหรือต้นไม้ กระโดดได้ในระยะสั้น ๆ วิ่งได้เร็ว สลัดหางง่ายและงอกขึ้นใหม่ได้ ปรับสีตัวให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมได้ ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น จิ้งจกบ้านหรือจิ้งจกบ้านหางแบน [ Cosymbotus platyurus (Schneider) ] ตีนเกาะติดผนังได้, จิ้งจกดินลายหินอ่อน [ Cyrtodactylus peguensis (Kuhl) ] ตีนเกาะติดผนังไม่ได้, จิ้งจกบิน [ Platyurus craspedotus (Mocguard) ] สามารถร่อนตัวไปในอากาศได้, พายัพเรียก จั๊กกิ้ม. |
จิ้งเหลนด้วง ๑ | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานจำพวกจิ้งเหลนที่ไม่มีขาหรืออาจมีร่องรอยของขาคู่หลังเหลืออยู่เล็กน้อย ในวงศ์ Dibamidae และวงศ์ Scincidae ลำตัวเรียวยาว ขนาดยาวตั้งแต่ ๗-๒๕ เซนติเมตร เกล็ดลำตัวเรียบ อาศัยอยู่ใต้ผิวดินที่ร่วนซุยหรือเป็นดินปนทรายซึ่งมีซากผุพังของพืชปกคลุม, ในวงศ์ Dibamidae เฉพาะเพศผู้มีร่องรอยของขาคู่หลังเป็นแผ่นแบนให้เห็นเล็กน้อย ที่พบในประเทศไทย ได้แก่ จิ้งเหลนด้วงสีม่วง ( Dibamus alfrediTaylor) ซึ่งพบทางภาคใต้ และจิ้งเหลนด้วงสมศักดิ์ ( D. somsakiHonda, Nabhitabhata, Ota & Hikida) ซึ่งพบที่เขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ส่วนในวงศ์ Scincidae ไม่มีขาทั้งเพศผู้และเพศเมีย ที่พบในประเทศไทย ได้แก่ ชนิด Isopachys anguinoides (Boulenger) พบที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์, ชนิด I. roulei (Angel) พบที่จังหวัดชลบุรี, ชนิด I. gydenstolpeiLönnberg และ I. borealisLang & Bohme พบทางภาคตะวันตก ชนิด Davewakeum miriamaeHeyer พบที่อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. |
จุฬาราชมนตรี | น. ตำแหน่งผู้นำสูงสุดทางด้านการบริหารกิจการมุสลิมในประเทศไทย เป็นที่ปรึกษาทางราชการเกี่ยวกับกิจการมุสลิมทั้งปวง. |
เฉาฮื้อ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Ctenopharyngodon idellus (Valenciennes) ในวงศ์ Cyprinidae ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีหนวด ที่สำคัญคือ ลำตัวยาว ท้องกลม เกล็ดใหญ่เรียบ ลำตัวสีเงิน อาศัยหากินพืชนํ้าอยู่ใกล้ผิวนํ้า มีถิ่นเดิมอยู่ในประเทศจีน นำเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหาร. |
ช้อนหอย ๒ | น. ชื่อนกขนาดใหญ่หลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Threskiornithidae ปากยาวโค้ง ปลายแหลม หากินในนํ้าตื้นตามแหล่งน้ำจืด กินปลา ปู และสัตว์นํ้าเล็ก ๆ ในประเทศไทยมี ๔ ชนิด คือ ช้อนหอยขาวหรือกุลาขาว [ Threskiornis melanocephalus (Latham) ] ช้อนหอยดำ [ Pseudibis davisoni (Hume) ] ช้อนหอยใหญ่ [ P. gigantea (Oustalet) ] และช้อนหอยดำเหลือบ [ Plegadis falcinellus (Linn.) ], กุลา หรือ ค้อนหอย ก็เรียก. |
ชะนี ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Hylobatidae แขนยาวมาก ไม่มีหาง ขนยาวนุ่ม เดินตัวตั้งตรงได้ ห้อยโหนอยู่ตามต้นไม้สูง ๆ ร้องเสียงดัง แสดงถึงอาณาเขตของแต่ละคู่ แต่ละชนิดมีเสียงร้องไม่เหมือนกัน กินผลไม้และใบไม้ ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ ชะนีมือขาว [ Hylobates lar (Linn.) ] ขนลำตัวสีดำหรือนํ้าตาล ชะนีหัวมงกุฎหรือชะนีมงกุฎ ( H. pileatusGray) ขนตัวผู้สีดำ ตัวเมียสีเทา และชะนีมือดำหรือชะนีคิ้วขาว ( H. agilisF. Cuvier) ขนลำตัวสีดำ นํ้าตาล หรือเทา. |
product, domestic | ผลิตภัณฑ์ในประเทศ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
loan, internal | เงินกู้ในประเทศ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
revenue, internal | ๑. รัษฎากร, รายได้ภายในประเทศ๒. สรรพากร [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
municipal | เกี่ยวกับเทศบาล, เกี่ยวกับท้องถิ่น, เกี่ยวกับกิจการภายในประเทศ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
Mexican divorce | การหย่าโดยไม่ต้องมีภูมิลำเนา (ในประเทศที่ทำการหย่า) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
migratory divorce | การหย่าโดยวิธีย้ายภูมิลำเนาชั่วคราว (ไปอยู่ในประเทศอื่น) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
debt, internal | หนี้ในประเทศ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
domestic company | บริษัทภายในประเทศ [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
domestic product | ผลิตภัณฑ์ในประเทศ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
domestic product, gross (G.D.P.) | ผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
domestic bill | ตั๋วแลกเงินในประเทศ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
divorce, Mexican | การหย่าโดยไม่ต้องมีภูมิลำเนา (ในประเทศที่ทำการหย่า) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
divorce, migratory | การหย่าโดยวิธีย้ายภูมิลำเนาชั่วคราว (ไปอยู่ในประเทศอื่น) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
gross domestic product (G.D.P.) | ผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
G.D.P. (gross domestic product) | ผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
internal migration | การย้ายถิ่นภายในประเทศ [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] |
internal revenue | ๑. รัษฎากร, รายได้ภายในประเทศ๒. สรรพากร [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
inland bill of exchange | ตั๋วแลกเงินในประเทศ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
inland marine insurance | การประกันภัยการขนส่งสินค้าภายในประเทศ [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
inland waters | น่านน้ำในประเทศ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
internal debt | หนี้ในประเทศ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
internal loan | เงินกู้ในประเทศ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
พสกนิกร | [ พะสกกะนิกอน, พะสกนิกอน ] คนที่อยู่ในประเทศไม่ว่าจะเป็นพลเมืองของประเทศนั้นหรือคนต่างด้าวที่มาอาศัยอยู่ก็ตาม [ศัพท์พระราชพิธี] |
Domestic consumption | การบริโภคในประเทศ [เศรษฐศาสตร์] |
Domestic market | ตลาดในประเทศ [เศรษฐศาสตร์] |
Domestic economic assistance | การช่วยเหลือเศรษฐกิจในประเทศ [เศรษฐศาสตร์] |
Domestic resource | ทรัพยากรในประเทศ [เศรษฐศาสตร์] |
Domestic resources mobilization | การระดมทรัพยากรในประเทศ [เศรษฐศาสตร์] |
Domestic trade | การค้าในประเทศ [เศรษฐศาสตร์] |
Infringe | การล่วงละเมิด ด้วยการผลิต ใช้ เลียนแบบกระบวนการ หรือ ขายการประดิษฐ์ที่ได้รับการคุ้มครองจากสิทธิบัตรในประเทศที่มีการยื่นขอ , การล่วงละเมิด ด้วยการผลิต ใช้ เลียนแบบกระบวนการ หรือ ขายการประดิษฐ์ที่ได้รับการคุ้มครองจากสิทธิบัตรในประเทศที่มีการยื่นขอ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของสิทธินั้น [ทรัพย์สินทางปัญญา] |
Equivalent | เอกสารสิทธิบัตรที่เหมือนกัน / มีค่าเท่ากัน , เอกสารสิทธิบัตรที่เหมือนกัน /มีค่าเท่ากัน ในระบบฐานข้อมูล Derwent ซึ่งสัมพันธ์กันแบบเป็นการประดิษฐ์อย่างเดียวกันที่มีการยื่นจดที่สำนักงานสิทธิบัตรในประเทศต่าง ๆ [ทรัพย์สินทางปัญญา] |
Irradiated food | อาหารฉายรังสี, อาหารที่ผ่านการฉายรังสีด้วยปริมาณรังสีที่เหมาะสม ซึ่งไม่ก่อให้เกิดสารกัมมันตรังสี หรือมีรังสีตกค้างแต่ประการใด จึงไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค อาหารที่ผ่านการฉายรังสีเพื่อการพาณิชย์ภายในประเทศจะต้องมีฉลากแสดงข้อความ และเครื่องหมายว่าผ่านการฉายรังสีแล้ว พร้อมทั้งระบุวัตถุประสงค์ของการฉายรังสี ชื่อ ที่ตั้ง ของผู้ผลิต และผู้ฉายรังสี วัน เดือน ปี ที่ฉายรังสี, Example: [นิวเคลียร์] |
Augmentative and Alternative Communicate | อุปกรณ์ช่วยสื่อสารแบบพกพาสำหรับผู้ที่มีปัญหาในการพูด , อุปกรณ์ขนาดเล็ก มีปุ่มที่เก็บเสียงที่บันทึกล่วงหน้าได้ ในประเทศไทยมีผลงานวิจัยภายใต้โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ชื่อ โอภา สามารถบันทึกได้ ๖๐ ข้อความ และเรียกใช้โดยการกดปุ่ม อุปกรณ์มี ๑๕ ปุ่ม และมีปุ่มเลือกชุดข้อความได้ ๔ ชุด และมีโหมดสแกนข้อความที่ทำงานคู่กับสวิตช์เดี่ยวใช้กดเลือกข้อความ [Assistive Technology] |
Augmentative and Alternative Communication Program | ซอฟต์แวร์ช่วยในการสื่อสารสำหรับผู้ที่มีปัญหาในการพูด, ซอฟต์แวร์ช่วยในการสื่อสารสำหรับผู้ที่มีปัญหาในการพูด โดยใช้รูปภาพหรือข้อความเป็นรูปแทนการสื่อความหมาย เมื่อเลือกรูปแทนแล้ว โปรแกรมจะเล่นเสียงที่บันทึกไว้ของรูปแทนดังกล่าวออกมา โปรแกรมชนิดนี้พัฒนาขึ้นในประเทศไทย ชื่อ "ปราศรัย" ทำหน้าที่เป็นเสมือนกล่องที่บรรจุเสียงพูดที่ใช้ในการสนทนาไว้อย่างไม่จำกัดจำนวน โดยจัดเก็บเสียงเป็นแฟ้มเสียงไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ [Assistive Technology] |
Digital Divide | ความเหลื่อมล้ำ (ช่องว่าง) ในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้, ความเหลื่อมล้ำระหว่างประชากรกลุ่มต่างๆ ภายในประเทศ ที่มีโอกาสในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้แตกต่างกัน เช่น ระหว่างประชากรในเมือง ใหญ่กับประชากรในชนบท ระหว่างกลุ่มประชากรที่มีเพศ อายุ ต่างกัน ระหว่างผู้ที่มีระดับการศึกษาต่างกัน ระหว่างผู้ที่มีเชื้อชาติและวัฒนธรรมที่ต่างกัน รวมถึงโอกาสในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ของผู้พิการ ที่อาจน้อยกว่าบุคคลทั่วไปอีกด้วย หรืออาจะไปเปรียบเทียบความเหลื่อมล้ำระหว่างคนในประเทศต่างๆ เพราะประเทศที่มั่งคั่ง จะมีความพร้อมมากกว่าประเทศยากจน [Assistive Technology] |
Buy national policy | นโยบายให้ซื้อสินค้าที่ผลิตในประเทศ [TU Subject Heading] |
Domestic terrorism | การก่อการร้ายภายในประเทศ [TU Subject Heading] |
Economic assistance, Domestic | ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจภายในประเทศ [TU Subject Heading] |
Gross domestic product | ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ [TU Subject Heading] |
Inland navigation | การเดินเรือในประเทศ [TU Subject Heading] |
Inland water transportation | การขนส่งทางน้ำในประเทศ [TU Subject Heading] |
Internally displaced persons | ผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ [TU Subject Heading] |
Local service airlines | สายการบินภายในประเทศ [TU Subject Heading] |
Domestic resources mobilization | การเคลื่อนย้ายทรัพยากรในประเทศ [เศรษฐศาสตร์] |
Migration, Internal | การย้ายถิ่นภายในประเทศ [TU Subject Heading] |
Gross Domestic Product (GDP) | ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ, Example: การวัดผลิตผลของชาติที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลา 1 ปี เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (ดู GNP) แต่ที่แตกต่างกันคือ การวัดผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) จะพิจารณาเฉพาะผลิตผลที่ได้มีการผลิตขึ้นภายในประเทศเท่านั้น ไม่ว่าผลิตผลนั้นจะเกิดจากคนในประเทศหนือชาวต่างประเทศ ที่เข้ามาประกอบการในประเทศนั้น [สิ่งแวดล้อม] |
Anti-dumping duty | ภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดที่เรียกเก็บจากผู้นำเข้าสินค้า จากต่างประเทศ เนื่องจากผู้ส่งออกในต่างประเทศได้ส่งสินค้านั้นเข้ามา เพื่อประโยชน์ในทางพาณิชย์ในราคาที่ต่ำกว่าราคาจำหน่ายในประเทศของตน หรือในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนการผลิต [การทูต] |
Agrément | ความเห็นชอบ ในการแต่งตั้งเอกอัครราชทูตไปประจำในประเทศใด กำหนดให้ประเทศผู้ส่งขอความเห็นชอบจากประเทศผู้รับก่อน [การทูต] |
ASEAN Industrial Cooperation Scheme | โครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมอาเซียน เป็นมาตรการเพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัตถุดิบการผลิตในรูปสินค้าสำเร็จ รูป/กึ่งสำเร็จรูป เพื่อใช้ในการผลิตทางอุตสาหกรรมระหว่างบริษัทที่ตั้งอยู่ในประเทศอาเซียน อันจะเป็นการสนับสนุนการแบ่งกันผลิตและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของภาค อุตสาหกรรมในอาเซียน โดยจะต้องเป็นความร่วมมือตั้งแต่สองประเทศขึ้นไป และมีคนชาติประเทศสมาชิกอาเซียนมีหุ้นส่วนอยู่ในแต่ละบริษัทอย่างน้อยร้อยละ 30 สินค้าที่ได้รับอนุมัติให้อยู่ในโครงการจะได้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรใน อัตราร้อยละ 0-5 ในทันที โดยไม่ต้องรอให้เขตการค้าเสรีอาเซียนมีผลบังคับใช้ [การทูต] |
Ambassador | เอกอัครราชทูต - Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary : เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม หมายถึง เอกอัครราชทูตที่รัฐผู้ส่งแต่งตั้งไปยังรัฐผู้รับ โดยมอบหมายอำนาจให้ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนของรัฐผู้ส่ง ในกรณีที่เอกอัครราชทูตมิได้มีถิ่นพำนักอยู่ในรัฐผู้รับ เรียกว่า Non-resident Ambassador - Ambassador-Designate : ว่าที่เอกอัครราชทูตประจำรัฐผู้รับ หมายถึง บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต แต่ยังมิได้ยื่นสาส์นตราตั้งต่อประมุขแห่งรัฐผู้รับ - Ambassador-at-Large : เอกอัครราชทูตผู้แทนพิเศษ หมายถึง ผู้แทนพิเศษของกระทรวงการต่างประเทศที่มีสิทธิและสถานะเทียบเท่าเอกอัคร ราชทูตผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแลงานและกิจการเฉพาะกิจ หรือเฉพาะเรื่องในต่างประเทศเป็นครั้งคราว - Ambassador attached to the Ministry of Foreign Affairs : เอกอัครราชทูตประจำกระทรวงการต่างประเทศ หมายถึง บุคคล ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต มีภารกิจดูแลกิจการภายในของกระทรวงการต่างประเทศ ตามที่ได้รับมอบหมายจากปลัดกระทรวงการต่างประเทศ - Resident Ambassador : เอกอัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนักในประเทศไทย หมายถึง เอกอัครราชทูตของไทยที่ได้รับการแต่งตั้งให้ประจำต่อประมุขแห่งรัฐผู้รับ แต่ยังคงมีถิ่นพำนักอยู่ในรัฐผู้ส่ง เอกอัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนักในประเทศไทยนี้ จะเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ในรัฐผู้รับเป็นครั้งคราว [การทูต] |
ASEAN Promotion Centre on Trade, Investment and Tourism (ASEAN Centre) | ศูนย์ส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวอาเซียน (ศูนย์อาเซียน) " ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2524 ภายใต้ความตกลงระหว่างญี่ปุ่นกับประเทศสมาชิกอาเซียน มีสำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงโตเกียว เพื่อส่งเสริมการส่งออกสินค้าอาเซียนไปยังญี่ปุ่น ส่งเสริมการลงทุนของญี่ปุ่นในอาเซียน และส่งเสริมนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นให้เดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศสมาชิก อาเซียน " [การทูต] |
ASEAN Committees in Third Countries | คณะกรรมการอาเซียนในประเทศที่สาม เป็นกลไกประสานงานของอาเซียนที่จัดตั้งขึ้นในเมืองหลวงของประเทศที่สาม ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นประเทศคู่เจรจาของอาเซียน คณะกรรมการดังกล่าว ประกอบด้วยเอกอัครราชทูตของประเทศสมาชิกอาเซียนประจำประเทศนั้น ๆ [การทูต] |
Young Ambassador of Virtue | ยุวทูตความดี " เป็นโครงการของกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับกระทรวงศึกษา- ธิการ เริ่มโครงการตั้งวันที่ 5 ธันวาคม 2542 เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม จริยธรรมและคุณธรรมในบรรดาเยาวชนไทย อันเป็นการเสริมคุณภาพของเยาวชนไทยให้มีครบทั้งความเก่ง ความดี และมีความสุข โดยหวังผลในที่สุดว่าคุณภาพของเยาวชนรุ่นใหม่ของไทยจะเป็นการเสริมสร้างพื้น ฐานความแข็งแกร่งแก่สังคมไทยและส่งเสริมให้ความสามารถในการแข่งขันของไทยใน โลกอนาคตมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในยุคโลกา- ภิวัฒน์ นอกจากการส่งเสริมให้เยาวชนไทยมีความรู้คู่คุณธรรมแล้ว โครงการยุวทูตความดียังส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างเยาวชนไทยและเยาวชนของ ประเทศต่าง ๆ โดยผ่านทางโรงเรียนพี่โรงเรียนน้อง (Sister schools - โรงเรียนในประเทศที่ต่างกันที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกัน) " [การทูต] |
Break of Diplomatic Relations | การตัดความสัมพันธ์ทางการทูต เมื่อสองรัฐตัดความสัมพันธ์ทางการทูตซึ่งกันและกัน เพราะมีการไม่ลงรอยกันอย่างรุนแรง หรือเพราะเกิดสงคราม จึงไม่มีหนทางติดต่อกันได้โดยตรง ดังนั้น แต่ละรัฐมักจะขอให้มิตรประเทศที่เป็นกลางแห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ยอมรับของรัฐอีกฝ่ายหนึ่ง ช่วยทำหน้าที่พิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนในอีกรัฐหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ช่วยดูแลคนชาติของรัฐนั้น ตัวอย่างเช่น ในตอนที่สหรัฐอเมริกากับคิวบาได้ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกดัน สหรัฐอเมริกาได้ขอให้คณะผู้แทนทางการทูตของสวิส ณ กรุงฮาวานา ช่วยพิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ในประเทศคิวบา ในขณะเดียวกัน สถานเอกอัครราชทูตเช็คโกสโลวาเกียในกรุงวอชิงตัน ก็ได้รับการขอจากประเทศคิวบา ให้ช่วยพิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนในสหรัฐอเมริกาถึงสังเกตว่า การตัดความสัมพันธ์ทางการทูตนี้ มิได้หมายความว่าความสัมพันธ์ทางกงสุลจะต้องตัดขาดไปด้วย มาตรา 45 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติว่า ?ถ้าความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองรัฐขาดลง หรือถ้าคณะผู้แทนถูกเรียกกลับเป็นการถาวรหรือชั่วคราวก. แม้ในกรณีการขัดแย้งกันด้วยอาวุธ รัฐผู้รับจะต้องเคารพและคุ้มครองสถานที่ของคณะผู้แทน รวมทั้งทรัพย์สินและบรรณสารของคณะผู้แทนด้วยข. รัฐผู้ส่งอาจมอบหมายการพิทักษ์สถานที่ของคณะผู้แทน รวมทั้งทรัพย์สินและบรรณสารของคณะผู้แทน ให้แก่รัฐที่สามซึ่งเป็นที่ยอมรับแก่รัฐผู้รับก็ได้ค. รัฐผู้ส่งอาจมอบหมายการอารักขาผลประโยชน์ของคนและคนชาติของตน แก่รัฐที่สามซึ่งเป็นที่ยอมรับได้แก่รัฐผู้รับก็ได้ [การทูต] |
Commission on Human Rights | คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เป็นคณะกรรมาธิการหลัก ซึ่งรับผิดชอบในการเสาะหามาตรการในการส่งเสริมเรื่องสิทธิมนุษยชนในประเทศ ต่าง ๆ ทั่วโลก รวมทั้งตรวจสอบและสอดส่องการดำเนินการด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษย ชนในประเทศต่าง ๆ ด้วย คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 53 ประเทศ มาจากการเลือกตั้ง ดำรงตำแหน่งวาระละ 3 ปี คณะกรรมาธิการฯ โดยจะมีการประชุมเป็นประจำทุกปี ประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน ณ นครเจนีวา ประเทศไทยได้รับเลือกตั้งเข้าเป็นสมาชิกคณะกรรมาธิการฯ สำหรับวาระ พ.ศ. 2544-2546 [การทูต] |
Cobra Gold | การฝึกร่วม/ผสมคอบร้าโกลด์ เป็นการฝึกทางทหารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเซีย ตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งกองทัพไทยและกองกำลังสหรัฐอเมริกาภาคพื้นแปซิฟิก (USPACOM) ร่วมกันเป็น เจ้าภาพจัดการฝึกในประเทศไทยเป็นประจำทุกปี การฝึกคอบร้าโกลด์พัฒนามาจากการฝึกผสมยกพลขึ้นบกระหว่างกองทัพเรือไทยกับกอง ทัพเรือสหรัฐอเมริกาและกองกำลังนาวิกโยธินสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำการฝึกร่วมกันมาตั้งแต่ พ.ศ. 2499 ต่อมาใน พ.ศ. 2525 ได้รวมการฝึกหลายอย่างเข้าด้วยกันแล้วกำหนดชื่อรหัสการฝึกขึ้นใหม่ว่า "การฝึกร่วม/ผสมคอบร้าโกลด์" ปัจจุบัน มีประเทศที่ร่วมฝึกรวม ทั้งร่วมสังเกตการณ์หลายประเทศ รวมทั้งได้ขยายการฝึกครอบคลุมการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม การตอบโต้การก่อการร้ายด้วย [การทูต] |
comprehensive plan of action | แผนปฏิบัติการที่สมบูรณ์แบบ เป็นแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาผู้หนีภัยอย่างสมบูรณ์ โดยความร่วมมือระหว่างประเทศต้นเหตุ ประเทศที่ต้องแบกรับภาระ สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ และประเทศที่ให้ความช่วยเหลือ แผนปฏิบัติการที่สมบูรณ์แบบนี้เป็นการแก้ไขปัญหาแบบครบวงจร ตั้งแต่กระบวนการป้องกันปัญหา การให้ความช่วยเหลือผู้หนีภัย โดยจัดที่พักพิงชั่วคราวตามหลักมนุษยธรรม การส่งตัวกลับเมื่อสถานการณ์ในประเทศต้นเหตุกลับคืนสู่สภาพปกติแล้ว และการหาที่พักพิงให้แก่ผู้หนีภัยในประทศที่สาม [การทูต] |
Congress of Vienna | เป็นการประชุมระหว่างประเทศที่สำคัญในยุโรป ได้จัดให้มีขึ้นหลังจากเสร็จสงครามนโปเลียน (กันยายน ค.ศ. 1814 ? มิถุนายน ค.ศ. 1815) ประเทศที่ร่วมการประชุมมี ออสเตรีย อังกฤษ ฝรั่งเศส รัฐสันตะปาปา ปรัสเซีย และรัสเซีย ภาระหน้าที่สำคัญของการประชุม คือ การปักปันเขตแดนกันใหม่ และจัดให้ราชวงศ์เก่าแก่กลับฟื้นคืนมาใหม่ ทั้งในประเทศฝรั่งเศส สเปน อิตาลี และเยอรมนี สหภาพแห่งนอร์เวย์ และสวีเดน สหภาพแห่งเบลเยี่ยม และฮอลแลนด์ พร้อมทั้งกำหนดให้สวิตเซอร์แลนด์ มีฐานะเป็นประเทศเป็นกลางถ้ามองในแง่การทูต ผลสำเร็จสำคัญที่สุดจากการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนาคือ ข้อมติกำหนดลำดับอาวุโสของคณะผู้แทนทางการทูต โดยถือหลักอาวุโสไม่ว่าในตำแหน่งใด แทนที่จะถือตามสถานภาพและความสำคัญของกษัตริย์อย่างแต่ก่อน รวมทั้งจัดประเภทของนักการทูต ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภท (ตามระเบียบที่วางขึ้นใหม่ต่อมาในการประชุม ณ Aix-la-Chapelle ได้แก่1) เอกอัครราชทูต (Ambassadors) ตัวแทนขององค์สมเด็จพระสันตะปาปา (Papal legates) และหัวหน้าคณะทูตของสมเด็จพระสันตะปาปา (Papal Nuncios)2) ผู้แทนทางการทูตผู้มีอำนาจพิเศษ (Envoys Extra-ordinary) และเอกอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม (Ministers Plenipotentiary) อินเตอร์นันสิโอของสมเด็จพระสันตะปาปา3) อัครราชทูตผู้มีถิ่นประจำ (Ministers Resident)4) อุปทูต (Chargé d?affaires)คองเกรสแห่งเวียนนายังวางระเบียบเกี่ยวกับเรื่องการจัดลำดับ อาวุโสของบุคคลในคณะทูต ซึ่งชาติต่าง ๆ ได้ลงนามรับรองในสนธิสัญญาพาหุภาคีเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว [การทูต] |
Corps Diplomatique หรือ Diplomatic Corps | คณะทูตานุทูตที่ประจำอยู่ในนครหลวง (Capital) ของประเทศ ซึ่งจะมีหัวหน้าคณะทูตพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ทางการทูตใน คณะทูต เจ้าหน้าที่ทางการทูตในคณะทูตนั้นจะประกอบไปด้วย อัครราชทูต (Minister) อัครราชทูตที่ปรึกษา (Minister Counselor) และที่ปรึกษา (Counselor) ซึ่งอาจจะมีคนเดียวหรือหลายคน นอกจากนี้ มีเลขานุการทางการทูตอีกหลายคน คือ เลขานุการเอก โท ตรี และตามปกติยังมีผู้ช่วยทูต (Attaché) อีกหลายคนซึ่งมีฐานะทางการทูต (Diplomatic status) คือผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร (บก เรือ และอากาศ) ผู้ช่วยทูตฝ่ายพาณิชย์ (Commercial Attaché) ผู้ช่วยทูตฝ่ายการแถลงข่าว (Press Attaché) และผู้ช่วยฝ่ายอื่น ๆ ซึ่งกระทรวงทบวงกรมของรัฐบาล (นอกจากกระทรวงการต่างประเทศ) เป็นฝ่ายแต่งตั้งข้าราชการของตนไปประจำในคณะทูต รวมทั้งเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ซึ่งมีฐานะทางการทูตด้วยในนครหลวงของประเทศใดก็ตาม ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะทูตานุทูต (Head หรือ Dean of the Diplomatic Corps) จะได้แก่ผู้แทนทางการทูตอาวุโสที่ได้ประจำการอยู่ในประเทศนั้นเป็นเวลานาน ที่สุด ยกเว้นแต่ในบางประเทศ จะถือเอกอัครราชทูตผู้แทนองค์สมเด็จพระสันตะปาปา (Papal Nuncio) เป็นหัวหน้าคณะทูตานุทูตตลอดไป โดยไม่คำนึงถึงเรื่องอาวุโสแต่อย่างใด เช่น ฟิลิปปินส์ [การทูต] |
Dean (of the Diplomatic Corps) | คณบดีคณะทูต เอกอัครราชทูตที่อาวุโสที่สุด (ยื่นสาส์นตราตั้งก่อนผู้อื่น) ในประเทศนั้น ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าหรือผู้แทนของคณะทูตานุทูต (ในกรณีที่รัฐผู้รับนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิก สมณทูตวาติกันจะดำรงตำแหน่งคณบดีทูต) [การทูต] |
Dean (หรือ Doyen) of the Diplomatic Corps | หัวหน้า (Dean) ของคณะทูตานุทูตในนครหลวงของประเทศใดก็ตาม ได้แก่ ตัวทูตที่อาวุโสที่สุด (คือเป็นทูตอยู่ในประเทศนั้นๆ เป็นเวลานานที่สุด) ตัวหัวหน้าคณะทูตานุทูตจะมีลำดับอาวุโสเหนือทุกคนในคณะทูตานุทูต ทำหน้าที่เป็นโฆษกของคณะทูตเมื่อถึงความจำเป็น และเป็นผู้ดูแลและคุ้มครองบรรดาเอกสิทธ์และความคุ้มกันทางการทูตที่คณะ ทูตานุทูตมีอยู่ แต่หน้าที่ที่แท้จริงนั้น โดยมากเกี่ยวกับเรื่องพิธีการทูตมากกว่า อาทิเช่น เมื่อถึงวันที่ระลึกครบรอบวันเกิดประมุขของรัฐ (เช่นวันเฉลิมพระชนมพรรษาในประเทศไทย) Dean ของคณะทูตจะเป็นผู้กล่าวแสดงความยินดีในโอกาสดังกล่าวในนามของคณะทูตทั้งหมด แต่การที่จะเรียกหรือขอให้บุคคลในคณะทูตไปประชุมเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง นั้น เป็นสิ่งที่ Dean ไม่พึงกระทำ อย่างไรก็ตาม จะไม่มีผู้แทนทางการทูตคนใดไปร่วมการประชุมระหว่างบุคคลในคณะทูตด้วยกัน เกี่ยวกับปัญหาระหว่างประเทศโดยมิได้รับคำสั่งโดยเฉพาะจากรัฐบาลของตนก่อน ภริยาของ Dean หรือ Doyen นั้นเรียกว่า Doyenneเมื่อหัวหน้าคณะทูตวายชนม์ขณะที่ดำรงตำแหน่งอยู่ บุคคลในคณะทูตที่มีอาวุโสรองลงมาหรือเป็นบุคคลที่สองจะเป็นผู้รับช่วงงาน ทันที และมีตำแหน่งเรียกว่า อุปทูตชั่วคราว (Chargé d?Affaires ad interim) ทั้งจะต้องดูว่า เอกสารทางราชการต่าง ๆ โดยเฉพาะเอกสารลับหรือปกปิด จะไม่ทิ้งรวมอยู่กับ เอกสารส่วนตัวของทูตผู้วายชนม์อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทาง การทูต ซึ่งได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1961 จากการประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับการติดต่อและความคุ้มกันทางการทูต ได้บัญญัติไว้ว่า?ข้อ 39 (3) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต ให้คนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันซึ่งเขามี สิทธิที่จะได้รับไปจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะออกจากประเทศไป(4) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนซึ่งไม่ใช่คนชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับ หรือของคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของบุคคลในคณะผู้แทนดังกล่าว ให้รัฐผู้รับอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ไป ยกเว้นแต่ทรัพย์สินใดที่ได้มาในประเทศที่ส่งออกซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นอัน ต้องห้ามในเวลาที่บุคคลในคณะผู้แทน หรือคนในคราอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนนั้นถึงแก่กรรม อากรกองมรดก การสืบมรดกและการรับมรดกนั้น ๆ ไม่ให้เรียกเก็บแก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรัฐผู้รับ เพราะการไปอยู่ ณ ที่นั้นแต่ฝ่ายเดียวของผู้วายชนม์ในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทนอนึ่ง อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล เมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1963 ได้บัญญัติไว้ว่า ?ข้อ 51 ในกรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล หรือของคนในครอบครัว ซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว รัฐผู้รับ(ก) จะอนุญาตให้ส่งออกซึ่งสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ โดยมีข้อยกเว้นแก่ทรัพย์สินเช่นว่า ทรัพย์ใด ๆ ที่ได้มาในรัฐผู้รับนั้น ซึ่งการส่งออกของทรัพย์ต้องห้าม ในเวลาที่บุคคลดังกล่าวถึงแก่มรณกรรม(ข) จะไม่เรียกเก็บอากรกองมรดก อากรสืบช่วงมรดกหรืออากรรับมรดก และอากรการโอน ไม่ว่าจะเป็นอากรของชาติ ของภูมิภาค หรือของเทศบาล จากสังหาริมทรัพย์ ซึ่งการที่สังหาริมทรัพย์นั้นอยู่ในรัฐผู้รับก็เนื่องมาแต่ฝ่ายเดียว จากการที่ผู้วายชนม์อยู่ในรัฐนั้นฐานะบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุลหรือใน ฐานะคนในครอบครัวของบุคคลในที่ทำการกงสุล? ?ข้อ 53(5) กรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล คนในครอบครัวซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว จะคงได้รับอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ได้ประสาทให้แก่ตนต่อไป จนกว่าตนจะออกไปจากรัฐผู้รับ หรือจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะสามารถให้ตนกระทำดังนั้นได้ แล้วแต่ว่าเวลาไหนจะมาถึงก่อนกัน? [การทูต] |
diplomatic corps | คณะทูตานุทูต หมายถึง กลุ่มเอกอัครราชทูต กงสุล และหัวหน้าองค์การระหว่างประเทศ รวมทั้งภริยาและเจ้าหน้าที่ทางการทูตที่อยู่ในประเทศนั้น ๆ [การทูต] |
Diplomatic Privilege of Accommodation | มาตรา 21 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตบัญญัติไว้ว่า ?1. รัฐผู้ต้อนรับจะต้องอำนวยความสะดวกตามบทกฎหมายของประเทศของตน ในการจัดการให้ได้มาซึ่งดินแดนของตนให้แก่รัฐผู้ส่ง ซึ่งจำเป็นแก่การปฏิบัติภาระหน้าที่ของรัฐนั้น หรือช่วยเหลือให้รัฐผู้ส่งได้รับอาคารที่พำนักด้วยวิธีการหนึ่งใด 2. ในกรณีจำเป็น รัฐผู้รับจะต้องช่วยให้คณะเจ้าหน้าที่ทางการทูต ได้มีสถานที่อยู่อาศัยอย่างเหมาะสม?เมื่อตัวแทนทางการทูตที่เพิ่งได้รับแต่ง ตั้งได้เดินทางไปถึงประเทศที่เขาจะเข้าดำรงตำแหน่ง ซึ่ง ณ ที่นั้นมีคณะผู้แทนทางการทูตของรัฐบาลของเขาประจำทำงานอยู่แล้ว ตามปกติตัวแทนทูตดังกล่าวจะมีสำนักงานทางการทูตตั้งอยู่แล้วในสถานที่เหมาะ สม มีอุปกรณ์เครื่องใช้ไม้สอยสำหรับการปฏิบัติงานโดยครบครัน และผู้ที่ดำรงตำแหน่งก่อนหน้าเขาหรืออุปทูตชั่วคราวมักจะเตรียมการไว้ก่อน แล้วเกี่ยวกับที่พักอาศัย เรียกว่าทำเนียบ นอกจากว่าจะมีทำเนียบตั้งอยู่ภายในบริเวณตึกสถานเอกอัครราชทูตซึ่งรัฐบาลของ เขาเป็นเจ้าของเองแต่ถ้าหากตัวแทนทางการทูตที่เพิ่งได้รับแต่งตั้งใหม่ จะต้องตั้งคณะผู้แทนทางการทูตในประเทศที่เขาเข้าดำรงตำแหน่งเป็นครั้งแรก ก็จะต้องประสบกับปัญหาเรื่องหาสถานที่สำหรับใช้เป็นที่ตั้งสถานเอกอัคร ราชทูตขึ้น ในกรณีเช่นนี้จึงจำเป็นจะต้องอาศัยคำแนะนำและความช่วยเหลือจากกระทรวงการ ต่างประเทศของรัฐผู้รับ กระทรวงการต่างประเทศของบางประเทศจะมีแผนกหนึ่งทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกแก่คณะทูตต่างประเทศโดยเฉพาะ เป็นแผนกหนึ่งในกรมพิธีการทูต ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องทำนองนี้อยู่แล้ว [การทูต] |
Duration of Diplomatic Privileges and Immunities | ระยะเวลาของการอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทาง การทูต ในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในมาตราที่ 39 ว่า?1. บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกัน ที่จะได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันนั้นตั้งแต่ขณะที่บุคคลนั้นเข้ามาใน อาณาเขตของรัฐผู้รับในการเดินทางไปรับตำแหน่งของตน หรือถ้าอยู่ในอาณาเขตของรัฐผู้รับแล้ว ตั้งแต่ขณะที่ได้บอกกล่าวการแต่งตั้งของตนต่อกระทรวงการต่างประเทศ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกัน 2. เมื่อภารกิจหน้าที่ของบุคคล ซึ่งอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันยุติลง เอกสิทธิ์และความคุ้มกันตามปกติให้สิ้นสุดลงขณะที่บุคคลนั้นออกไปจากประเทศ หรือเมื่อสิ้นกำหนดอันสมควรที่จะทำเช่นนั้น แต่จะยังมีอยู่จนกระทั่งเวลานั้น แม้ในกรณีของการขัดแย้งด้วยอาวุธ อย่างไรก็ดี ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำที่ได้ปฏิบัติไปโดยบุคคลเช่นว่านั้น ในการปฏิบัติการหน้าที่ของตนในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทน ความคุ้มกันนั้นให้มีอยู่สืบไป 3. ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทน ให้คนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทน อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันซึ่งเขามีสิทธิที่จะได้สืบไป จนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะออกจากประเทศไป 4. ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทน ซึ่งไม่ใช่คนชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นอยู่ถาวรในรัฐผู้รับ หรือของคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของบุคคลในคณะผู้แทนดังกล่าว รัฐผู้รับสามารถอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ไป ยกเว้นแต่ทรัพย์สินใดที่ได้มาในประเทศที่การส่งออกซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นอัน ต้องห้าม ในเวลาที่บุคคลในคณะผู้แทน หรือคนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนนั้นถึงแก่กรรม อากรกองมรดก การสืบมรดก และการรับมรดกนั้น ไม่ให้เรียกเก็บแก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรัฐผู้รับเพราะการไปอยู่ ณ ที่นั้นแต่เพียงถ่ายเดียวของผู้วายชนม์ ในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทน หรือในฐานะเป็นคนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทน? [การทูต] |
emergency certificate | เอกสารเดินทางฉุกเฉิน เอกสารเดินทางที่ออกให้แก่ผู้ลี้ภัยทางการเมือง เด็กที่ไม่มีสัญชาติไทยในความดูแลของกรมประชาสงเคราะห์ คนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรและทำหนังสือเดินทางสูญหาย รวมทั้งเด็กต่างด้าวที่เกิดในประเทศไทย ซึ่งไม่มีสถานทูต/สถานกงสุลของคนชาตินั้นในประเทศไทย [การทูต] |
emerging markets | ตลาดเกิดใหม่ มี 2 ความหมาย ความหมายที่ 1 คือ ตลาดที่อยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่เริ่มเติบโตขึ้นและซับซ้อน มากขึ้น ส่วนความหมายที่ 2 คือ ตลาดในประเทศกำลังพัฒนาที่มีศักยภาพที่จะพัฒนาต่อไปได้ [การทูต] |
Extradition | การส่งผู้ร้ายข้ามแดน การที่ชาติหนึ่งยอมส่งคนในชาติของตนให้แก่อีกชาติหนึ่ง คือคนในชาติที่ถูกกล่าวหา หรือต้องโทษฐานกระทำความผิดภายนอกเขตแดนของตน และเป็นความผิดที่กระทำขึ้นในเขตอำนาจของอีกชาติหนึ่ง ซึ่งมีความสามารถที่จะตัดสินคดี รวมทั้งลงโทษบุคคลที่ถูกกล่าวหานั้นข้ออ้างว่า ในกรณีที่ชนชาติหนึ่งซึ่งถูกกล่าวหาว่าประกอบอาชญากรรมแล้วหลบหนีไปยังต่าง ประเทศนั้น รัฐของผู้ที่ประกอบอาชญากรรมมีสิทธิที่จะขอให้ต่างประเทศนั้นส่งตัวผู้กระทำ ผิดกลับคืนมา เพื่อส่งตัวขึ้นศาลเพื่อพิจารณาลงโทษได้ แต่หลายคนยังมีความเห็นแตกต่างกันอยู่ในข้อนี้ มีไม่น้อยที่สนับสนุนหลักการที่ว่า กฎหมายระหว่างประเทศมิได้รับรองหน้าที่ที่จะต้องส่งผู้ร้ายข้ามแดน กล่าวคือ นอกจากสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่มีต่อกันแล้ว กฎหมายระหว่างประเทศมิได้รับรองสิทธิที่จะส่งผู้ร้ายข้ามแดนให้แก่กัน อย่างไรก็ดี ตามสนธิสัญญาที่มีต่อกัน ผู้ร้ายที่หนีความยุติธรรมจะถูกส่งไปให้อีกประเทศหนึ่งตามสนธิสัญญานั้น จักกระทำโดยวิถีทางการทูต ส่วนผู้หลบหนีเจ้าหน้าที่เพราะเหตุผลทางการเมือง จะส่งข้ามแดนอย่างผู้ร้ายไม่ได้ และเมื่อหลบหนีไปยังอีกประเทศหนึ่งได้สำเร็จ ประเทศนั้นๆ มักจะให้อาศัยพักพิงในประเทศของตนเป็นในฐานะผู้ลี้ภัยทางการเมือง [การทูต] |
Foreign Policy | นโยบายต่างประเทศ คือแผนการดำเนินการในกิจการระหว่างประเทศ ซึ่งผู้กำหนดนโยบายในคณะรัฐบาลเป็นผู้จัดขึ้น ในประเทศที่มีรัฐบาลประชาธิปไตยในรูปรัฐสภา ผู้ที่จะชี้ขาดเรื่องนโยบายต่างประเทศได้แก่คณะรัฐมนตรี อันมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะ และจะได้รับความเห็นชอบจากผู้แทนของประชาชนที่ได้รับการเลือกตั้ง ส่วนรัฐบาลประชาธิปไตยในรูปประธานาธิบดี ตัวประธานาธิบดีเองซึ่งโดยปกติแล้วจะได้รับคำแนะนำจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศ และบุคคลชั้นผู้นำฝ่ายนิติบัญญัติ จะเป็นผู้กำหนดนโยบายต่างประเทศ [การทูต] |
Friends of Young Ambassador of Virtue | เพื่อนยุวทูตความดี " หมายถึง สถานทูตและสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ สถานทูตต่าง ประเทศในประเทศไทย องค์กรหรือภาคเอกชนทั้งของไทยและของต่างประเทศ ที่ตอบรับเป็นผู้สนับสนุนและสนใจที่จะทำกิจกรรมร่วมกับโรงเรียนในโครงการยุว ทูตความดี " [การทูต] |
Geneva Conference on the Problem of Restoring Peace in Indo-China | การประชุม ณ นครเจนีวา ว่าด้วยปัญหาการนำสันติภาพกลับคืนสู่อินโดจีน ในการประชุมนี้ มีการทำความตกลงกันเกี่ยวกับการหยุดสู้รบระหว่างกำลังทหารในประเทศเวียดนาม กัมพูชา และลาว กับกำลังทหารฝรั่งเศส ความตกลงดังกล่าวได้กระทำกันในนครเจนีวา เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1954 มีผู้แทนจากประเทศกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ฝรั่งเศส ลาว สาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐเวียดนาม (เวียดนามใต้) สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมการประชุมตามข้อตกลงนี้ให้มีการยุติการสู้รบในกัมพูชา ลาว และเวียดนาม และการปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติในความตกลงดังกล่าว ให้อยู่ใต้ความควบคุมและดูแลระหว่างประเทศ ที่ประชุมเจนีวาได้แสดงความมั่นใจว่า ในการปฏิบัติตามข้อตกลงจะปล่อยให้กัมพูชา ลาว และเวียดนาม ได้แสดงบทบาทภายใต้ความเป็นเอกราชและอำนาจอธิปไตยของตนอย่างสมบูรณ์ภายใน ประชาคมนานาชาติ สำหรับความตกลงเกี่ยวกับเวียดนามใด้ห้ามมิให้นำกองทหารและเจ้าหน้าที่ฝ่าย ทหารของต่างชาติ รวมทั้งอาวุธและอุปกรณ์ทางทหารทุกชนิดเข้าไปในประเทศนั้น ที่ประชุมยังได้รับรองว่า วัตถุประสงค์สำคัญยิ่งของความตกลงเกี่ยวกับเวียดนามคือ ต้องการระงับปัญหาต่าง ๆ ทางทหาร เพื่อยุติการสู้รบ และการปักปันเส้นเขตแดนทางทหารนั้น ให้ถือเป็นการชั่วคราว มิได้หมายความว่าเป็นแนวแบ่งเขตทางการเมืองหรือทางดินแดนแต่ประการใดทั้งสิ้น [การทูต] |
Genocide | การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อน เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1946 สมัชชาสหประชาชาติได้ยืนยันเป็นเอกฉันท์ว่า การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หรือการฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อนนั้นให้ถือเป็นอาชญากรรม ตามกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งโลกที่บรรลุความเจริญแล้วประณามอย่างรุนแรงอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกัน และการลงโทษอาชญากรรมเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นี้ สมัชชาสหประชาชาติได้ลงมติรับรองเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1948 อนุสัญญานี้ได้นิยามคำว่าการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) หมายถึงการประกอบอาชญากรรมบางอย่าง โดยมีเจตนาที่จะทำลายล้างกลุ่มชนชาติ กลุ่มเผ่าพันธุ์ กลุ่มเชื้อชาติ หรือกลุ่มศาสนา ในบางส่วนหรือทั้งหมดก็ตาม การประกอบกรรมซึ่งถือเป็นการฆ่าล้างชาตินั้นได้แก่ การฆ่า การทำให้เกิดความเสียหายอย่างสาหัส ทั้งต่อร่างกายหรือจิตใจ และการบังคับให้มีสภาวะการครองชีพที่เจตนาจะให้ชีวิตร่ายกายถูกทำลาย ไม่ว่าจะเพียงส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดก็ตาม ตลอดจนออกมาตรการกีดกันมิให้มีลูกและโยกย้ายเด็ก ๆ ไม่เพียงแต่การฆ่าล้างชาติอย่างเดียว หากแต่การคบคิดหรือการยุยงให้มีการฆ่าล้างชาติ รวมทั้งความพยายามที่จะฆ่าล้างชาติและสมรู้ร่วมคิดในอาชญากรรมดังกล่าว ย่อมถูกลงโทษได้ตามนัยแห่งอนุสัญญานี้ บรรดาผู้ที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกลงโทษไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นผู้ ปกครอง เจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง หรือเอกชนส่วนบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดของตามกฎหมายก็ตามบรรดาประเทศที่ภาคี อนุสัญญานี้จำเป็นต้องออกกฎหมายของตนเพื่อรองรับ และจะต้องตกลงเรื่องส่งผู้ร้ายข้ามแดนในกรณีที่บุคคลนั้นๆ มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติ และบุคคลที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกพิจารณาลงโทษในประเทศที่มีการ ประกอบอาชญากรรมดังกล่าวขึ้น หรือโดยศาลระหว่างประเทศที่มีอำนาจครอบคลุมถึงเจตนารมณ์ของสนธิสัญญานี้ เพื่อต้องการป้องกัน และลงโทษอาชญากรรมฆ่าล้างชาติ ไม่ว่าจะประกอบขึ้นในยามสงครามหรือในยามสงบก็ตามอนุสัญญาดังกล่าวได้เริ่มมี ผลบังคับเมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1951 เป็นเวลา 90 วันหลังจากที่ 20 ประเทศได้ให้สัตยาบัน หรือให้ภาคยานุวัติตามที่ระบุอยู่ในอนุสัญญา อนุสัญญานี้จะมีผลบังคับเป็นเวลา 10 ปี และมีการต่ออายุสัญญาทุก 5 ปี สำหรับประเทศที่มิได้บอกเลิกสัญญา หากประเทศที่ยังเป็นภาคีอนุสัญญามีจำนวนเหลือไม่ถึง 16 ประเทศ อนุสัญญานี้จะเลิกมีผลบังคับทันที [การทูต] |
Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] |
จำนวนประชากรในประเทศไทย | [jamnūan prachākøn nai prathēt Thai] (n, exp) FR: population totale de la Thaïlande [ f ] |
จัดจำหน่ายในประเทศไทยโดย... | [jat jamnāi nai Prathēt Thai dōi …] (v, exp) EN: distributed in Thailand by … |
การบริโภคภายในประเทศ | [kān børiphōk phāinai prathēt] (n, exp) EN: local consumption ; domestic consumption FR: consommation intérieure [ f ] |
การค้าภายในประเทศ | [kānkhā phāinai prathēt] (n, exp) EN: domestic trade |
การเซ็นเซอร์ในประเทศไทย | [kān sensoē nai Prathēt Thai] (n, exp) FR: la censure en Thaïlande [ f ] |
ข่าวในประเทศ | [khāo nai prathēt] (n, exp) EN: local news ; domestic news FR: actualité nationale [ f ] ; actualité intérieure [ f ] |
ในประเทศ | [nai prathēt] (adj) EN: domestic ; local ; in the country FR: national ; intérieur |
ในประเทศไทย | [nai prathēt Thai] (x) EN: in Thailand FR: en Thaïlande |
นโยบายภายในประเทศ | [nayōbāi phāinai prathēt] (n, exp) EN: domestic policy FR: politique intérieure [ f ] |
หนึ่งในประเทศ | [neung nai prathēt] (x) EN: one of the countries FR: (l') un des pays |
นกในประเทศไทย | [nok nai prathēt Thai] (xp) EN: birds of Thailand FR: les oiseaux de Thaïlande [ mpl ] |
ภายในประเทศ | [phāinai prathēt] (adj) EN: domestic ; in-house ; within the country ; local FR: intérieur ; national ; domestique |
ผลิตภัณฑ์ในประเทศ | [phalittaphan nai prathēt] (n, exp) EN: Gross Domestic Product (GDP) |
ผลผลิตในประเทศ | [phonphalit nai prathēt] (n, exp) EN: national product |
ผู้บริโภคภายในประเทศ | [phūbøriphōk phāinai prathēt] (n, exp) EN: local consumers |
เศรษฐกิจภายในประเทศ | [sētthakit phāinai prathēt] (n, exp) EN: domestic economy |
ตลาดภายในประเทศ | [talāt phāinai prathēt] (n, exp) EN: home market ; domestic market FR: marché intérieur [ m ] |
ท่าอากาศยานภายในประเทศ | [thā-ākātsayān phāinai prathēt] (n, exp) EN: local airport FR: aéroport régional [ m ] |
ทำในประเทศไทย | [tham nai prathēt thai] (x) EN: made in Thailand FR: fait en Thaïlande ; fabriqué en Thaïlande |
อุปสงค์ภายในประเทศ | [uppasong phāinai prathēt] (n, exp) EN: internal demand ; domestic demand FR: demande intérieure [ f ] |
Aden | (n) เมืองเอเดนในประเทศเยเมน |
African American | (n) คนผิวดำที่อาศัยอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา |
Afro-American | (adj) เกี่ยวกับคนผิวดำที่อาศัยอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา |
Afro-American | (n) คนผิวดำที่อาศัยอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา |
arrack | (n) เหล้าชนิดหนึ่งในประเทศมุสลิม |
baccara | (n) การเล่นไพ่แบ็กคาระ (นิยมในประเทศฝรั่งเศษ), Syn. baccarat |
baccarat | (n) การเล่นไพ่แบ็กคาระ (นิยมในประเทศฝรั่งเศษ), Syn. baccara |
Bengal | (n) แคว้นเบงกอลในประเทศอินเดีย |
caique | (n) เรือพายชนิดหนึ่งที่ใช้ในประเทศตุรกี |
Calcutta | (n) กัลกัตตา, See also: เมืองหลวงของรัฐเบงกอลในประเทศอินเดีย |
Calcutta | (n) เมืองกัลกัตตา, See also: เมืองหลวงของรัฐเบงกอลในประเทศอินเดีย |
Canterbury | (n) แคนเทอเบอรี่ (ประเทศอังกฤษ), See also: เมืองหนึ่งในประเทศอังกฤษ เป็นที่ตั้งของโบสถ์ในศาสนาคริสต์นิกาย Church of England |
Canterbury | (n) เมืองแคนเทอเบอรี่ (ประเทศอังกฤษ), See also: เมืองหนึ่งในประเทศอังกฤษ เป็นที่ตั้งของโบสถ์ในศาสนาคริสต์นิกาย Church of England |
ceilidh | (n) งานรื่นเริงที่มีการร้องเพลงและเล่าเรื่องราว (โดยเฉพาะในประเทศสก๊อตแลนด์และไอร์แลนด์) |
centavo | (n) เหรียญที่มีค่าหนึ่งในร้อยของหน่วยเงินหลักในประเทศที่พูดภาษาสเปนและโปรตุเกส |
country | (n) ประชาชนในประเทศ |
dacoit | (n) โจรในประเทศพม่าหรืออินเดีย (ที่ก่ออาชญากรรมหรือลักทรัพย์), Syn. dakoit |
domestic | (adj) ภายในประเทศ, See also: เกี่ยวกับท้องถิ่น, พื้นบ้าน, Syn. native, not foreign, indigenous, Ant. foreign, imported |
Eastern Church | (n) คริสต์ศาสนาจักรนิกาย Orthodox ซึ่งกำเนิดในประเทศต่างๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมันตะวันออก, Syn. Byzantine Church, Eastern Orthodox Church |
effendi | (n) ผู้มีการศึกษาดี (ในประเทศแถบตะวันออกกลาง), See also: คนชั้นสูง, ผู้มีสกุลรุนชาติ |
Egyptian | (n) ภาษาถิ่นอารบิกที่ใช้พูดในประเทศอียิปต์ |
emir | (n) ผู้ปกครองในประเทศอิสลามบางประเทศ, See also: ประมุข, ผู้นำในประเทศอิสลามบางประเทศ |
emu | (n) นกชนิดหนึ่งในประเทศออสเตรเลียบินไม่ได้คล้ายกับนกกระจอกเทศ, See also: นกอีมู |
Eton collar | (n) (เครื่องแบบของวิทยาลัยอีตันในประเทศอังกฤษ) ปกเสื้อทรงกว้าง สีขาว |
Eton jacket | (n) (เครื่องแบบของนักเรียนของวิทยาลัยอีตันในประเทศอังกฤษ) เสื้อแจ๊คเก็ตทรงสั้นสีดำผ่าหน้า |
Eurobond | (n) พันธบัตรในสกุลเงินต่างๆ ที่นำออกขายให้กับนักลงทุนในประเทศอื่นที่ไม่ได้ใช้สกุลเงินที่ระบุไว้ในพันธบัตร |
excise | (n) ภาษีสำหรับสินค้าในประเทศ, See also: ภาษาสินค้าภายในประเทศ, Syn. tax |
Gouda | (n) เนยกลมแบนในประเทศเนเธอร์แลนด์ |
guest worker | (n) ผู้ทำงานที่มาจากประเทศยากจนและเข้าทำงานในประเทศรวยกว่า |
Hawaii | (n) รัฐฮาวายในประเทศสหรัฐอเมริกา |
Hinayana | (n) นิกายหินยานของพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา พม่า ไทยและกัมพูชา, See also: ชื่อนิกายในพระพุทธศาสนาฝ่ายใต้ที่นับถือกันในศรีลังกา พม่า ไทยและกัมพูชาและกัมพูชา, ชื่ |
Hindi | (n) ภาษาฮินดู, See also: ภาษาราชการและเป็นภาษาที่ใช้กันมากที่สุดในประเทศอินเดีย |
Hollander | (n) ชาวฮอลันดา, See also: ชาวดัตช์, ชาวเนเธอแลนด์, ผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศเนเธอแลนด์ |
Hollander | (n) ฮอลันดา, See also: ชาวดัตช์, ชาวเนเธอแลนด์, ผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศเนเธอแลนด์, Syn. Dutch |
Industrial Revolution | (n) การปฏิวัติอุตสาหกรรม, See also: เริ่มในประเทศอังกฤษช่วงตอนกลางของศตวรรษที่ 18 ก่อนแพร่หลายเข้าสู่ทวีปยุโรปและสหรัฐอเมร |
inland | (adv) เข้าในประเทศ, See also: ภายในดินแดน, Ant. seawards |
inland | (adj) ซึ่งอยู่ภายในประเทศ, See also: ห่างจากชายฝั่ง, Syn. interior, domestic, onshore, Ant. coastal, border, frontier, seaward |
inland | (n) บริเวณภายในประเทศ, See also: พื้นที่ภายในของประเทศ, Syn. midland, interiority |
Kansas | (n) รัฐแคนซัสในประเทศสหรัฐอเมริกา |
King James Bible | (n) คัมภีร์ไบเบิ้ลที่ตีพิมพ์ในประเทศอังกฤษเมื่อปี ค.ศ.1611, Syn. King James Version, Authorized Version |
landsman | (n) คนที่อาศัยอยู่ในประเทศของตน, Syn. compatriot, countryman |
local news | (n) ข่าวในประเทศ |
local time | (n) เวลาในท้องถิ่น, See also: เวลาในประเทศนั้น |
Lord Mayor | (n) นายกเทศมนตรี (ในประเทศอังกฤษ) |
lyrebird | (n) นกชนิดหนึ่งพบในประเทศออสเตรเลียตัวผู้มีหางยาว |
Magyar | (n) เชื้อชาติส่วนใหญ่ในประเทศฮังการี |
Main | (n) แม่น้ำเมนในประเทศเยอรมัน (มีความยาว 523 กิโลเมตร) |
Mandarin | (n) ภาษาจีนกลาง (ใช้เป็นทางการในประเทศจีน), See also: ภาษาแมนดาริน, Syn. Mandarin Chinese, official language |
Marseilles | (n) ผ้าฝ้ายหนามีต้นกำเนิดจากเมืองท่า Marseille ในประเทศฝรั่งเศส |
Mecca | (n) กรุงเมกกะในประเทศอียิปต์ (สถานที่กำเนิดพระมูฮัมเหม็ด) |
almond | (อา' เมินดฺ, แอม' เมินดฺ) n. เมล็ดพืชคล้ายถั่วลิสง, เมล็ดอามันด์, เมล็ด'เฮ่งยิ้ง' ของพืชชนิดหนึ่งในประเทศจีน |
arcadia | (อาร์เค'เดีย) n. ชื่อที่ราบสูงแห่งหนึ่งในประเทศกรีซโบราณที่มีผู้คนอยู่อย่างง่าย ๆ และไร้เดียงสา, ชื่อเมืองหนึ่งในรัฐแคลิฟอเนีย |
ask | (อาสคฺ) n. คนแรกที่เทพเจ้าสร้างจากไม้ ash (นิยายในประเทศสแกนดิเนเวียน) . -S... |
caliph | (แคล'ลิฟ) n. กาหลีบ, ผู้นำฝ่ายปกครองและศาสนาในประเทศอิสลาม, See also: caliphal adj. ดูcaliph, Syn. calif, kalif, khalif |
ccp | (ซีซีพี) ย่อมาจาก Certificate in Computer Programming หมายถึงประกาศนียบัตรที่ให้แก่ผู้ที่สอบผ่านความรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรม การสอบนี้จะทำปีละ 1 ครั้งในประเทศใหญ่ ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ฯ |
centavo | n. หนึ่งในร้อยส่วนของหน่วยเงินตราในประเทศลาตินของอเมริกา |
countess | (เคา'เทส) n. ภรรยาของท่านเค้าท์ (count) ซึ่งเป็นขุนนางในประเทศภาคพื้นยุโรป (ยกเว้นอังกฤษ) , หญิงที่มีตำแหน่งเป็นท่านเค้าท์หรือเอิร์ล |
domestic | (ดะเมส'ทิค) adj. เกี่ยวกับบ้าน, เกี่ยวกับครอบครัว ในบ้าน, เชื่อง, เกี่ยวกับประเทศของตน, ซึ่งพบในหรือผลิตภายในประเทศ, Syn. domesticated, family, endemic, indigenous |
filibuster | (ฟิล'ละบัสเทอะ) n., v. (ผู้ที่) (การ) ปฏิบัติการที่ทหารเข้าไปในประเทศอื่นโดยพลการเพื่อสนับสนุนการปฏิวัติ, ขัดขวางการยอมรับญัตติหรือกฎหมายในสภา, , See also: filibusterer n. filibusterism n. |
gunrunning | (กัน'รันนิง) n. การลักลอบปืนและกระสุนเข้าไปในประเทศ, See also: gunrunner n. |
hewlett-packard | ฮิวเล็ต-แพกการ์ดเป็นชื่อบริษัทที่ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์แห่งหนึ่ง แต่ในประเทศไทย ดูเหมือนจะมีชื่อทางเครื่องพิมพ์ (printer) มากกว่า |
hinayana | (ฮีนะยา'นะ) n. นิกายหินยานของพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา พม่า ไทยและกัมพูชา, Syn. Theravada. -Hinayanist n. |
hombred | (โฮม'เบรด) adj. ท้องถิ่น, เจริญเติบโตที่บ้าน, เลี้ยงที่บ้าน, ผลิตในประเทศ, หยาบคาย, ไม่ได้รับการอบรมที่ดี |
homemade | n. ทำที่บ้าน, ผลิตขึ้นในประเทศ, ไม่ใช่โรงงาน |
immigrant | (อิม'มะเกรินทฺ) n. ผู้อพยพเข้าประเทศ adj. เกี่ยวกับการอพยพเข้าไปอยู่ในประเทศหรือถิ่นใหม่ |
inland | (อิน'เลินดฺ) adj. ภายในประเทศ, ภายในดินแดน, ท้องถิ่น. adv. ภายในประเทศ, เข้าไปในประเทศ. n. (อิน'แลนดฺ) บริเวณภายในประเทศ, Syn. domestic, internal |
inlander | (อิน'เลินเดอะ) n. ผู้อยู่ภายในประเทศ |
interior | (อินเทีย'เรีย) adj. ภายใน, ข้างใน, ธาตุแท้, ส่วนลึก, ภายในประเทศ, ส่วนตัว, ลี้ลับ. n. ส่วนใน, เรื่องภายใน, ส่วนในของประเทศ, ลักษณะภายใน., See also: interiority n. ., Syn. inside |
internet | (อินเทอร์เน็ต) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์นานาชาติที่มีสายตรงต่อไปยังสถาบันหรือหน่วยงานต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้รายใหญ่ทั่วโลก ผ่านโมเด็ม (modem) คล้ายกับ Compuserve ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) สามารถสืบค้นข้อมูลและสารสนเทศ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูล และโปรแกรมบางโปรแกรมมาใช้ได้ อย่างไรก็ตาม มีผู้เปรียบเทียบว่า อินเตอร์เน็ตเป็นเหมือนทางหลวงระหว่างประเทศ แต่ละประเทศจะต้องมีถนนเข้ามาเชื่อมต่อเข้าไปในประเทศ กล่าวคือ จะต้องมีเครือข่ายภายในรับช่วงต่ออีกทอดหนึ่ง (เช่น ไทยมี Chulanet, KSC , Infonews เป็นต้น) มิฉะนั้นก็จะใช้ไม่ได้ผล |
intestine | (อินเทส'ทิน) n. ลำไส้. adj. ภายในประเทศ, เกี่ยวกับเรื่องภายใน, Syn. internal |
inward | (อิน'เวิร์ด) adv., adj. สู่ภายใน, ภายในใจ, ภายใน, ข้างใน, อยู่ภายใน, ภายในประเทศ. n. ส่วนใน |
multinational | (มัลทิแนช'ชะเนิล) n. บริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีสาขาหลายแห่งในประเทศต่าง ๆ adj. หลายชาติ |
native-born | (เน'ทิฟว'บอร์น) adj. ซึ่งเกิดในประเทศดังกล่าวซึ่งเกิดในพื้นเมือง |
protect | (โพรเทคทฺ') vt. ป้องกัน, พิทักษ์, รักษา, อารักขา, คุ้มกันอุตสาหกรรมในประเทศไทย โดยการจัดเก็บภาษีอากรขาเข้า. vi. ป้องกัน |
protection | (พระเทค'เชิน) n. การป้องกัน, การคุ้มครอง, การพิทักษ์, การอารักขา, ระบบการคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศโดยการจัดเก็บภาษีอากรขาเข้าให้สูง, เอกสารคุ้มครอง, หนังสือเดินทาง, ค่าคุ้มครอง, ค่าอารักขา, Syn. security, defense |
protectionism | (พระเทค'เชินนิสซึม) n. ระ-บบการคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศโดยการจัดเก็บภาษีอากรขาเข้าให้สูงสำหรับสินค้าที่เป็นคู่แข่ง., See also: protectionist n. |
upcountry | (อัพ'คันทรี) adj. บนเนิน, บนแผ่นดิน, ภายในประเทศ, ชนบท, ต่างจังหวัด, ขึ้นไกลเข้าไปจากฝั่ง, หัวเมือง. n. หัวเมือง, ต่างจังหวัด, บริเวณภายในประเทศ. adv. ไปยังบริเวณภายในประเทศ |
vizi | (er) (วิเซียร์', วิส'เซียร์) n. ขุนนางผู้ใหญ่ในประเทศมุสลิม (โดยเฉพาะที่เป็นรัฐมนตรี) ., See also: vizierate n. vizirate n. viziership n. vizirship n. vizierial adj. vizerial adj. |
alhambra | ชื่อพระราชวังและป้อมปราการในประเทศสเปน ตั้งอยู่ที่กรานาด้า |
ascot | (n) การแข่งม้าในประเทศอังกฤษ |
caduceus | (n) คทางูไขว้. คือคทาสั้นที่มีงูสองตัวพันกันเป็นเกลียวขึ้นมา บางครั้งก็จะมีปีกอยู่ข้างบนด้วย ผู้ใช้คทางูไขว้คนแรกคือเทพีไอริสผู้เป็นผู้สื่อสารของเทพีเฮรา ต่อมาคทานี้เรียกว่า “คทาเฮอร์มีส” (wand of Hermes) ที่ถือโดยเทพเฮอร์มีสผู้ที่เป็นผู้ถือคทาต่อมาในตำนานเทพหลังจากนั้นเป็นเวลานาน บางครั้งคทางูไขว้ก็ใช้เป็นสัญลักษณ์สำหรับการแพทย์เช่นในประเทศไทยหรือในทวีปอเมริกาเหนือ บางครั้งสัญลักษณ์นี้ก็ใช้สับสนกับสัญลักษณ์สำหรับการแพทย์ในสมัยโบราณซึ่งเป็น[ [ คทางูเดี่ยว ] ] (rod of Asclepius) เท่านั้นที่มีงูเพียงตัวเดียวและไม่มีปีก (wikipedia.org/wiki/Caduceus), See also: rod of Asclepius |
caduceus | (n) คทางูไขว้. คือคทาสั้นที่มีงูสองตัวพันกันเป็นเกลียวขึ้นมา บางครั้งก็จะมีปีกอยู่ข้างบนด้วย ผู้ใช้คทางูไขว้คนแรกคือเทพีไอริสผู้เป็นผู้สื่อสารของเทพีเฮรา ต่อมาคทานี้เรียกว่า “คทาเฮอร์มีส” (wand of Hermes) ที่ถือโดยเทพเฮอร์มีสผู้ที่เป็นผู้ถือคทาต่อมาในตำนานเทพหลังจากนั้นเป็นเวลานาน บางครั้งคทางูไขว้ก็ใช้เป็นสัญลักษณ์สำหรับการแพทย์เช่นในประเทศไทยหรือในทวีปอเมริกาเหนือ บางครั้งสัญลักษณ์นี้ก็ใช้สับสนกับสัญลักษณ์สำหรับการแพทย์ในสมัยโบราณซึ่งเป็น[ [ คทางูเดี่ยว ] ] (rod of Asclepius) เท่านั้นที่มีงูเพียงตัวเดียวและไม่มีปีก (wikipedia.org/wiki/Caduceus), See also: rod of Asclepius |
CDM | [ซี ดี เอ็ม] (n) กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism : CDM) เป็นกลไกที่กำหนดขึ้นภายใต้พิธีสารเกียวโต เพื่อช่วยให้ประเทศอุตสาหกรรมที่มีพันธกรณีในการลดก๊าซเรือนกระจกสามารถบรรลุพันธกรณีได้ และเพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศกำลังพัฒนา แนวความคิดของกลไกการพัฒนาที่สะอาดคือ โครงการที่เกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนาและสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ ผู้ดำเนินโครงการจะได้รับ Certified Emission Reduction (CERs) จากหน่วยงานที่เรียกว่า CDM Executive Board (CDM EB) และ CERs ที่ผู้ดำเนินโครงการได้รับนี้ สามารถนำไปขายให้กับประเทศอุตสาหกรรม ที่สามารถใช้ CERs ในการบรรลุถึงพันธกรณี่ตามพิธีสารเกียวโตได้ |
community trademark | (n) การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศกลุ่มสมาชิกยุโรป |
demonym | คำที่ใช้เรียกผู้คนในประเทศหรือท้องถิ่นนั้นๆ |
Frankfurt | (uniq) ชื่อเมืองในประเทศเยอรมัน |
lady-boy | (n) กะเทย (โดยเฉพาะอย่างย่ิ่งในประเทศไทย) |
Moo | หมู่ (หมู่บ้าน) ในประเทศไทย |
non-resident | (n) ผู้ซึ่งมิได้มีถิ่นพำนักประจำในประเทศ |
Ohio | (n, adj, slang) แปลกๆ, ไม่ดี, ศัพท์ในกลุ่ม generation alpha โดยมาจาก meme ในอินเทอร์เน็ตที่ว่า เรื่องอะไรแย่ๆ ทั้งหลายเกิดใน Ohio ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นชื่อของมลรัฐหนึ่ง ในประเทศสหรัฐอเมริกา |
phasin | (n, name) ผ้าซิ่น เป็นเครื่องแต่งกายของผู้หญิง ผ้าทอเป็นผืนด้วยมือ เป็นผืนยาวประมาณ 2 เมตร ใช้นุ่งโดยการพันรอบตัวตั้งแต่เอวลงไป อาจตัดและเย็บก็ได้ มีใช้ในประเทศไทย ลาว พม่า มีลวดลายต่าง ๆ กัน ภาษาไทยเรียก ผ้าถุง หรือผ้านุ่ง ก็ได้ |
phongphoon | (n, vi, vt, modal, ver) พงษ์พูล(นามสกุลของคนในประเทศไทยกลุ่มหนึ่ง), See also: A. tyyj, dtyjh, Syn. tj |
tamil nadu | (n, name) ทมิฬนาดู: เมืองแห่งหนึ่งในประเทศอินเดีย |
thnic | (n) ผู้ดูแลชื่อโดเมน .th ในประเทศไทย |
thqn | [ที-เอช-คิว-เอ็น] (abbrev, name, org, u) เครือข่ายความหลากหลายทางเพศ, Thailand Queer Network, เป็นเครือข่ายความร่วมมือกันขององค์กรอิสระต่างๆ ในประเทศไทย ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อทำงานด้านสาธารณะประโยชน์ สิทธิและเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตย ให้แก่คนไทยที่รักเพศเดียวกัน และคนไทยในชุมชนอื่นที่ไม่อยู่ในการดูแลจากสังคมไทย ดูเวปไซต์ทางการที่ http://www.thqn.net/, Syn. เครือข่ายคนรักเพศเดียวกัน |