กบนา | น. ชื่อกบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Hoplobatrachus rugulosus (Wiegmann) หรือ Rana rugulosus (Wiegmann) ก็มีใช้กัน ในวงศ์ Ranidae หลังสีน้ำตาลอมเขียวมีจุดสีน้ำตาลเข้มถึงดำกระจายทั่วไป ท้องสีขาวนวล กินแมลง เป็นชนิดที่มีแพร่หลายมากที่สุดในประเทศไทย. |
กรอก ๒ | (กฺรอก-) น. ชื่อนกยางขนาดเล็ก ในวงศ์ Ardeidae นอกฤดูผสมพันธุ์เพศผู้และเพศเมียสีลำตัวคล้ายกัน แต่ในฤดูผสมพันธุ์สีต่างกัน ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ ยางกรอกพันธุ์จีน [ Ardeola bacchus (Bonaparte) ] หัวสีนํ้าตาลแดง หลังสีเทาดำ อกสีแดง ยางกรอกพันธุ์ชวา [ A. speciosa (Horsfield) ] หัวและคอสีเหลือง หลังสีเทาดำ อกสีเหลือง และยางกรอกพันธุ์อินเดีย [ A. grayii (Sykes) ] หัวและคอสีเหลือง หลังสีแดงเข้ม อกสีน้ำตาลเหลือง กินปลาและสัตว์น้ำ. |
กระจอกเทศ | น. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด Struthio camelus Linn. ในวงศ์ Struthiornidae เป็นนกที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตัวผู้สีดำ ตัวเมียสีน้ำตาล ขาใหญ่แข็งแรง ตีนมี ๒ นิ้ว วิ่งเร็ว แต่บินไม่ได้ มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา ปัจจุบันนำมาเพาะเลี้ยงในประเทศไทยเพื่อเป็นอาหาร. |
กระต่าย ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Leporidae หูและขนยาว ในประเทศไทยมีเพียงชนิดเดียวที่อาศัยอยู่ในป่า คือ กระต่ายป่า ชนิด Lepus peguensis Blyth ขนสีนํ้าตาล ใต้หางสีขาว อาศัยอยู่ในโพรงดินเหมือนกระต่ายต่างประเทศ ที่นำมาเลี้ยงตามบ้านซึ่งมีหลายชนิดและหลายสี เช่น ชนิด Oryctolagus cuniculus (Linn). |
กระถิก, กระถึก | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Sciuridae เป็นกระรอกขนาดเล็ก ขนสีนํ้าตาล มีแถบสีน้ำตาลเข้ม ๓ แถบพาดตามยาวลำตัว สลับกับแถบสีน้ำตาลจาง ๆ ๔ แถบ ตั้งแต่สันหลังลงไปถึงข้างลำตัว อาศัยอยู่ตามต้นไม้สูง ๆ กินแมลงและผลไม้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ กระถิกขนปลายหูยาว [ Tamiops rodolphe i (Milne-Edwards) ] และกระถิกขนปลายหูสั้น [ T. mxcclellandi (Horsfield) ], กระเล็น ก็เรียก. |
กระทิง ๓ | น. ชื่อปลานํ้าจืดในสกุล Mastacembelus วงศ์ Mastacembelidae ลำตัวยาว แบนข้างเล็กน้อย ปลายจะงอยปากบนเรียวแหลมคล้ายปลาหลด แต่มีครีบหลังและครีบก้นยาวต่อเนื่องกับครีบหาง สีสดสวยกว่าและมีขนาดใหญ่กว่า อาศัยอยู่ในแม่นํ้าลำคลองและที่ลุ่ม ที่พบทั่วไปในประเทศไทย เช่น ชนิด M. armatus (Lacepéde), M. favus Hora, และกระทิงไฟ ( M. erythrotaeniaBleeker) ซึ่งมีขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร. |
กระสา ๑ | น. ชื่อนกขนาดใหญ่หลายชนิด ในวงศ์ Ciconiidae ปากหนาแบนข้าง ยาว ปลายแหลมตรง คอและขายาว เวลาบินคอเหยียดตรง ทำรังด้วยกิ่งไม้อยู่บนยอดไม้สูง กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็ก ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น กระสาคอขาว [ Ciconia episcopus (Boddaert) ] กระสาคอดำ [ Ephippiorhynchus asiaticus (Latham) ]. |
กระสา ๑ | ชื่อนกยางขนาดใหญ่ ในวงศ์ Ardeidae ปากยาว ปลายแหลม ฤดูผสมพันธุ์เพศผู้มีขนยาวบริเวณท้ายทอย ๒ เส้น คอยาว เวลาบินคอโค้งงอ ขายาว เล็บของนิ้วกลางที่หันไปข้างหน้าหยักคล้ายซี่หวี ทำรังด้วยกิ่งไม้บนยอดไม้สูงปานกลาง กินปลาและสัตว์น้ำ ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ กระสานวล ( Ardea cinerea Linn.) กระสาแดง ( A. purpurea Linn.) และกระสาใหญ่ ( A. sumatrana Raffles). |
กวางป่า | น. ชื่อกวางชนิด Cervus unicolor Kerr ในวงศ์ Cervidae เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในหมู่กวางในประเทศไทย ขนยาวหยาบสีน้ำตาล ตัวผู้มีเขาเป็นแขนงข้างละ ๓ กิ่ง ผลัดเขาปีละครั้ง มักแยกอยู่ตามลำพังยกเว้นฤดูผสมพันธุ์จึงจะรวมกลุ่ม กินใบไม้อ่อน หญ้าอ่อน, กวางม้า ก็เรียก. |
กะลิง | น. ชื่อนกปากขอชนิด Psittacula finschii (Hume) ในวงศ์ Psittacidae ตัวขนาดไล่เลี่ยกับนกแขกเต้าที่พบในประเทศไทย ปากสีแดง โดยปลายขากรรไกรบนสีแดงปลายเหลือง ขากรรไกรล่างสีเหลือง หัวสีเทา ตัวสีเขียว หางยาว กินผลไม้และเมล็ดพืช, กะแล ก็เรียก. |
กาน้ำ | น. ชื่อนกน้ำขนาดกลางถึงขนาดใหญ่หลายชนิด ในวงศ์ Phalacrocoracidae คอยาว ตัวสีดำ ตีนมีพังผืด นิ้วแบบตีนพัดเต็ม ว่ายนํ้าเหมือนเป็ด ดำนํ้าจับปลากิน อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ กานํ้าใหญ่ [ Phalacrocorax carbo (Linn.) ] กานํ้าปากยาว ( P. fuscicollisStephens) และกานํ้าเล็ก [ P. niger (Vieillot) ] . |
การเวก ๒ | (การะ-) น. ชื่อนกขนาดเล็กถึงขนาดกลางหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Paradisaeidae แต่ละชนิดมีสีสันหลากหลาย อาจมี ๕-๑๐ สีในตัวเดียวกัน ตัวผู้สีสดกว่าตัวเมีย พบในเกาะนิวกินี เกาะใกล้เคียง และทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย ในประเทศไทยมีผู้นำมาเลี้ยงตามบ้าน เช่น ชนิด Paradisea apoda Linn. |
กิ้งโครง ๑ | น. ชื่อนกขนาดเล็กถึงขนาดกลางหลายชนิด ในวงศ์ Sturnidae รูปร่างอ้วนป้อมคล้ายนกเอี้ยง หางสั้น ขาแข็งแรง กินผลไม้และแมลง ในประเทศไทยมี ๖ ชนิด ชนิดที่มีขนาดเล็ก เช่น กิ้งโครงแกลบปีกขาว [ Sturnus sinensis (Gmelin) ] ชนิดที่มีขนาดกลาง เช่น กิ้งโครงคอดำ ( S. nigricollis (Paykull)), คลิ้งโคลง ก็เรียก. |
กุย ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Saiga tatarica (Linn.) ในวงศ์ Bovidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง หัวใหญ่ ตัวอ้วน มีเขาเฉพาะตัวผู้ รูปร่างคล้ายพิณฝรั่ง สีขาวนวลโปร่งแสง มีวงเป็นข้อนูนต่อเนื่องกันจากโคนถึงปลาย จมูกลักษณะคล้ายกระเปาะ พองมีสันตามยาว หางสั้นมาก มีถิ่นกำเนิดในแถบไซบีเรียตอนใต้ มองโกเลียตะวันตก และจีนตะวันตกเฉียงเหนือ ไม่พบในประเทศไทย เขามีราคาแพง ใช้ทำยาได้. |
เก้ง | น. ชื่อกวางในสกุล Muntiacusวงศ์ Cervidae เป็นกวางขนาดเล็ก ขนสีนํ้าตาลอมเหลืองจนถึงนํ้าตาลเข้ม หน้าผากเป็นสันเห็นได้ชัดเจน ตัวผู้มีเขาและเขี้ยว ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ อีเก้งหรือฟาน [ M. muntjak (Zimmermann) ] และเก้งหม้อ เก้งดำ ฟานดำ หรือกวางจุก [ M. Feae (Tomas & Doria) ] ตัวโตกว่าชนิดแรก ขนสีนํ้าตาลแก่เกือบดำ หัวมีขนลักษณะคล้ายจุกสีเหลืองแซมดำ. |
แก้ว ๒ | น. ชื่อนกปากขอหลายชนิด ในวงศ์ Psittacidae ปากสีแดงหรือเหลือง จะงอยปากบนงอโค้งเป็นขอปลายแหลมขยับไปมาและขึ้นลงได้ จะงอยปากล่างขยับไปข้างหน้าและถอยมาข้างหลังได้ หัวค่อนข้างโต ลำตัวป้อม สีส่วนใหญ่ของลำตัวเป็นสีเขียวอมเหลือง อยู่ร่วมกันเป็นฝูง กินเมล็ดพืชและผลไม้ ในประเทศไทยมี ๗ ชนิด แต่ที่เรียกว่านกแก้วมี ๒ ชนิด ได้แก่ แก้วโม่ง [ Psittacula eupatria (Linn.) ] ซึ่งเป็นนกแก้วขนาดใหญ่ที่สุดของไทย และแก้วหัวแพร ( P. roseata Biswas) . |
ไก่ป่า | น. ชื่อไก่ชนิด Gallus gallus (Linn.) ในวงศ์ Phasianidae ตัวผู้สีเข้มสดใสและหลากสีกว่าตัวเมีย เช่น สีเขียว ดำ แดง ตัวเมียสีน้ำตาลอมเหลือง ทั้งตัวผู้และตัวเมียขาสีเทาเข้ม โคนหางสีขาว อาศัยในป่าโปร่ง เช่น ป่าไผ่ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิดย่อย คือ ไก่ป่าติ่งหูขาว [ G. g. gallus (Linn.) ] และไก่ป่าติ่งหูแดง [ G. g. spadiceus (Bonaterre) ] ไก่ชนิดนี้เป็นต้นตระกูลของไก่บ้าน. |
ขมิ้น ๒ | (ขะมิ่น) น. ชื่อนกขนาดกลางในวงศ์ Oriolidae ตัวขนาดไล่เลี่ยกับนกเอี้ยง มีหลายสี เช่น เหลือง แดง ขาว ตัวผู้และตัวเมียมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียสีหม่นไม่สวยงาม ทำรังเป็นรูปถ้วยตามง่ามไม้สูง ๆ กินผลไม้และแมลง ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น ขมิ้นท้ายทอยดำหรือขมิ้นเหลืองอ่อน ( Oriolus chinensis Linn .) ขมิ้นแดง [ O. traillii (Vigors) ] ขมิ้นขาว ( O. mellianusStresemann) . |
ขมิ้นน้อย | น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Irenidae ปากยาวแหลมตรง ขนตามลำตัวและปีกส่วนใหญ่สีเหลืองอมเขียว ขนคลุมตะโพกสีเหลืองและเขียวอ่อนนุ่มและหนาแน่น หางสั้นสีดำหรือสีเทาเข้ม ปลายหางตัด ในประเทศไทย มี ๓ ชนิด คือ ขมิ้นน้อยธรรมดา [ Aegithina tiphia (Linn.) ] ขมิ้นน้อยสีเขียว [ A. viridissima (Bonaparte) ] และขมิ้นน้อยปีกสีเรียบ [ A. lafresnayei (Hartlaub) ]. |
ขุนทอง | น. ชื่อนกขนาดกลางชนิด Gracula religiosa Linn. ในวงศ์ Sturnidae ปากสีส้ม ที่ท้ายทอยและหางตาทั้ง ๒ ข้างมีแผ่นเนื้อสีเหลือง ขนลำตัวสีดำเลื่อมเป็นมัน ที่ปีกมีขนสีขาวแซม ตีนสีเหลืองจัด ร้องเลียนเสียงคนหรือเสียงอื่น ๆ บางอย่างได้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิดย่อย คือ ขุนทองเหนือ ( G. r. intermediaHay) แผ่นเนื้อต่อเนื่องกัน และขุนทองใต้หรือขุนทองควาย ( G. r. religiosa Linn.) ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าชนิดย่อยแรก และแผ่นเนื้อไม่ต่อเนื่องกัน, พายัพเรียก เอี้ยงคำ. |
เขา ๓ | น. ชื่อนกขนาดกลางหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Columbidae ปากสั้นตรงปลายโค้งเล็กน้อย ขนลำตัวสีเทาหรือเทาอมน้ำตาล ขนปีกมีลาย ขาสีชมพู มักอยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูง กินเมล็ดพืชบนพื้นดิน ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น เขาใหญ่หรือเขาหลวง [ Streptopelia chinensis (Scopoli) ] เขาลายเล็ก [ Macropygia ruficeps (Temminck) ] เขาเขียว [ Chalcophaps indica (Linn.) ] เขาชวาหรือเขาเล็ก [ Geopelia striata (Linn.) ] . |
เขียด | น. ชื่อสัตว์สะเทินนํ้าสะเทินบกหลายชนิด ในสกุล Rana วงศ์ Ranidae ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น เขียดอ๋อง [ R. nigrovittata (Blyth) ] เขียดหลังขาว ( R. limnocharisGravenhorst). |
คับแค | น. ชื่อนกขนาดเล็กชนิด Nettapus coromandelianus (Gmelin) ในวงศ์ Anatidae เป็นนกเป็ดนํ้าที่เล็กที่สุดในประเทศไทย ปากสั้น รูปร่างอ้วนป้อม ตัวผู้ปีกสีเขียวเข้มเป็นมัน หน้า คอ และท้องสีขาว ที่คอมีวงสีเขียวเข้มหรือดำ ตัวเมียปีกสีนํ้าตาล ท้องสีขาวมีกระสีนํ้าตาล ทำรังในโพรงไม้. |
ค่าง | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Cercopithecidae ลักษณะคล้ายลิง ขนสีเทาหรือดำ ลำตัว แขน ขา และหางยาวกว่าลิงทั่ว ๆ ไป กินใบไม้และบางครั้งผลไม้ ในประเทศไทยมี ๔ ชนิด คือ ค่างดำ [ Presbytis melalophos (Raffles) ] ค่างแว่นถิ่นใต้ [ P. obscura (Reid) ] ค่างหงอกหรือค่างเทา [ P. cristata (Raffles) ] และค่างแว่นถิ่นเหนือ ( P. phayrei Blyth). |
คางคก ๑ | น. ชื่อสัตว์สะเทินนํ้าสะเทินบกในสกุล Bufo วงศ์ Bufonidae รูปร่างคล้ายกบ ผิวหนังเป็นตุ่มขรุขระ ภายในตุ่มมียางเหนียวซึ่งมีพิษต่อเนื้อเยื่ออ่อน เรียกว่า ยางขาว เคลื่อนที่โดยการย่างเดินและกระโดดหย่ง ๆ ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น คางคกบ้าน ( B. melanostictus Schneider) คางคกป่า ( B. macrotisBoulenger) . |
คางคกไฟ | น. ชื่อสัตว์สะเทินนํ้าสะเทินบกชนิด Bufo parvus Boulenger ในวงศ์ Bufonidae ขนาดลำตัวเล็กที่สุดในกลุ่มคางคกที่พบในประเทศไทย บนหัวมีเส้นนูนเป็นสันโค้งตามความยาวของหัวคล้ายวงเล็บ ๒ เส้น ในช่วงฤดูผสมพันธุ์เพศผู้จะเปลี่ยนสีผิวหนังเป็นสีแดง จึงมีผู้เรียกว่า คางคกไฟ, คางคกหัวจีบ ก็เรียก. |
ค้าว | น. ชื่อปลานํ้าจืดในวงศ์ Siluridae ไม่มีเกล็ด รูปร่างคล้ายปลาคางเบือนซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่มีขนาดใหญ่กว่า คือ ยาวได้ถึง ๒ เมตร หัวแหลม ปากกว้าง ฟันแหลมคม ครีบหลังตั้งเด่น ตัวยาวเรียวไปทางหาง แบนข้าง ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ค้าวขาว [ Wallago attu (Bloch) ] และ ค้าวดำ คูน ทุก อีชุก อีทุก หรือ อีทุบ ( W. micropogon Vailant) ซึ่งมีหนวดยาวกว่าชนิดแรก ลำตัวและครีบสีดำคล้ำ, ทั้ง ๒ ชนิด เค้า ก็เรียก. |
แค้ | น. ชื่อปลานํ้าจืด ไม่มีเกล็ด ในสกุล Bagarius วงศ์ Sisoridae หัวแบนแผ่ หนวดแบน ตาเล็ก ลำตัวยาวเรียวลู่จนแคบมากที่คอดหาง ครีบหางเป็นแฉกยาว ผิวหนังเป็นตุ่มแข็ง มีแต้มขนาดใหญ่สีนํ้าตาลเข้มอยู่บนหลังเป็นระยะ ๆ ครีบต่าง ๆ สีนํ้าตาล พบอาศัยตามพื้นท้องแม่นํ้าสายใหญ่ ๆ มี ๓ ชนิด ในประเทศไทยที่พบทั่วไปได้แก่ ชนิด B. bagarius (Hamilton-Buchanan) ซึ่งยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร และ B. yarrelli Sykes ยาวได้ถึง ๒ เมตร, คัง หรือ ตุ๊กแก ก็เรียก. |
โคร่ง ๑ | (โคฺร่ง) น. ชื่อเสือชนิด Panthera tigris (Linn.) ในวงศ์ Felidae เป็นเสือที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตัวสีเหลือง มีลายดำตามขวาง ล่าสัตว์ป่าบนพื้นดิน มักอยู่ลำพังตัวเดียว ยกเว้นฤดูผสมพันธุ์ ชอบเล่นนํ้า, ลายพาดกลอน ก็เรียก. |
งอด | น. ชื่องูขนาดเล็กในสกุล Oligodonวงศ์ Colubridae ลำตัวขนาดไล่เลี่ยกับดินสอดำ ยาว ๓๐-๘๐ เซนติเมตร ส่วนใหญ่สีน้ำตาลอมเทา มีลายรูปร่างต่าง ๆ กัน เช่น ลายเส้น ลายประ หรือลายจุดสีดำกระจายทั่วตัว ท้องบริเวณหางสีแดง ส่วนใหญ่หากินเวลากลางคืน อาศัยตามพื้นดิน กินแมลง แมงมุม จิ้งจก เขียด ไส้เดือน ไข่นก และสัตว์เลื้อยคลาน ไม่มีพิษ ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น งอดท้องแดงหรืองอดไทย [ O. taeniatus (Günther) ] งอดด่างหรือปี่แก้วลายกระ [ O. cinereus (Günther) ]. |
เงี้ยว ๑ | น. ชื่อหนึ่งของชนชาวไทใหญ่ที่ใช้เรียกกันเป็นสามัญในประเทศไทยสมัยก่อน. |
จงโคร่ง, โจงโคร่ง | (-โคฺร่ง) น. ชื่อสัตว์สะเทินนํ้าสะเทินบกชนิด Bufo asper Gravenhorst ในวงศ์ Bufonidae เป็นคางคกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ผิวหนังเป็นตุ่มขรุขระทั่วตัว ตุ่มที่หลังมีขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่ลำตัวสีน้ำตาลดำและน้ำตาลเหลือง ท้องสีขาวหม่นบางตัวมีจุดสีแดงเล็ก ๆ ยางขาวมีฤทธิ์ทำให้มึนเมา อาศัยในป่าบริเวณริมลำธารหรือน้ำตก, กระทาหอง กระหอง หรือ กง ก็เรียก. |
จระเข้ | (จอระ-) น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน มีหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Crocodylidae ปากและหัวยาว ปลายปากนูนสูงขึ้นเป็นช่องเปิดของรูหายใจ เรียกว่า ก้อนขี้หมา ลำตัวกลมยาว หนังเป็นเกล็ดแข็งทั้งตัว หางแบนยาวทางข้างใช้โบกว่ายนํ้า มักหากินในนํ้า อาศัยบริเวณป่าริมน้ำ ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ จระเข้บึง จระเข้นํ้าจืด หรือจระเข้สยาม ( Crocodylus siamensisSchneider) จระเข้นํ้าเค็ม อ้ายเคี่ยม หรืออ้ายทองหลาง ( C. porosus Schneider) และจระเข้ปากกระทุงเหวหรือตะโขง [ Tomistoma schlegelii (S. Müller) ], ตะเข้ หรือ อ้ายเข้ ก็เรียก, อีสานเรียก แข้, ปักษ์ใต้เรียก เข้ |
จาบดิน | น. ชื่อนกขนาดเล็ก ในวงศ์ Timaliidae ปากเรียวแหลม ด้านบนลำตัวสีเขียวหรือน้ำตาลเรียบ คอหอยและด้านล่างลำตัวอาจมีลายจุด หากินตามไม้พื้นล่างของป่าหรือตามพื้นดิน กินแมลง ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ จาบดินสีน้ำตาลคอลาย [ Pellorneum albiventre (Godwin-Austen) ] จาบดินอกลาย (P. ruficepsSwainson) และจาบดินหัวดำ [ P. capistratum (Temminck) ]. |
จาบฝน | น. ชื่อนกขนาดเล็ก ในวงศ์ Alaudidae รูปร่างอ้วนป้อม สีน้ำตาลเหลือง มีลายจุดที่คอและอก หางสั้น เสียงร้องไพเราะ อยู่ตามทุ่งโล่ง กินแมลงและเมล็ดพืช ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ จาบฝนเสียงใส ( Mirafra javanica Horsfield) จาบฝนปีกแดง ( M. assamica Horsfield) และจาบฝนเสียงสวรรค์ ( Alaula gulgula Franklin). |
จิ้งจก | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กในวงศ์ Gekkonidae และ Eublephoridae เป็นสัตว์จำพวกตุ๊กแก หัวโต ตัวยาว หางยาว ปรกติเคลื่อนที่โดยการไต่สี่ขาตามผนังหรือต้นไม้ กระโดดได้ในระยะสั้น ๆ วิ่งได้เร็ว สลัดหางง่ายและงอกขึ้นใหม่ได้ ปรับสีตัวให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมได้ ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น จิ้งจกบ้านหรือจิ้งจกบ้านหางแบน [ Cosymbotus platyurus (Schneider) ] ตีนเกาะติดผนังได้, จิ้งจกดินลายหินอ่อน [ Cyrtodactylus peguensis (Kuhl) ] ตีนเกาะติดผนังไม่ได้, จิ้งจกบิน [ Platyurus craspedotus (Mocguard) ] สามารถร่อนตัวไปในอากาศได้, พายัพเรียก จั๊กกิ้ม. |
จิ้งเหลนด้วง ๑ | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานจำพวกจิ้งเหลนที่ไม่มีขาหรืออาจมีร่องรอยของขาคู่หลังเหลืออยู่เล็กน้อย ในวงศ์ Dibamidae และวงศ์ Scincidae ลำตัวเรียวยาว ขนาดยาวตั้งแต่ ๗-๒๕ เซนติเมตร เกล็ดลำตัวเรียบ อาศัยอยู่ใต้ผิวดินที่ร่วนซุยหรือเป็นดินปนทรายซึ่งมีซากผุพังของพืชปกคลุม, ในวงศ์ Dibamidae เฉพาะเพศผู้มีร่องรอยของขาคู่หลังเป็นแผ่นแบนให้เห็นเล็กน้อย ที่พบในประเทศไทย ได้แก่ จิ้งเหลนด้วงสีม่วง ( Dibamus alfrediTaylor) ซึ่งพบทางภาคใต้ และจิ้งเหลนด้วงสมศักดิ์ ( D. somsakiHonda, Nabhitabhata, Ota & Hikida) ซึ่งพบที่เขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ส่วนในวงศ์ Scincidae ไม่มีขาทั้งเพศผู้และเพศเมีย ที่พบในประเทศไทย ได้แก่ ชนิด Isopachys anguinoides (Boulenger) พบที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์, ชนิด I. roulei (Angel) พบที่จังหวัดชลบุรี, ชนิด I. gydenstolpeiLönnberg และ I. borealisLang & Bohme พบทางภาคตะวันตก ชนิด Davewakeum miriamaeHeyer พบที่อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. |
จุฬาราชมนตรี | น. ตำแหน่งผู้นำสูงสุดทางด้านการบริหารกิจการมุสลิมในประเทศไทย เป็นที่ปรึกษาทางราชการเกี่ยวกับกิจการมุสลิมทั้งปวง. |
ช้อนหอย ๒ | น. ชื่อนกขนาดใหญ่หลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Threskiornithidae ปากยาวโค้ง ปลายแหลม หากินในนํ้าตื้นตามแหล่งน้ำจืด กินปลา ปู และสัตว์นํ้าเล็ก ๆ ในประเทศไทยมี ๔ ชนิด คือ ช้อนหอยขาวหรือกุลาขาว [ Threskiornis melanocephalus (Latham) ] ช้อนหอยดำ [ Pseudibis davisoni (Hume) ] ช้อนหอยใหญ่ [ P. gigantea (Oustalet) ] และช้อนหอยดำเหลือบ [ Plegadis falcinellus (Linn.) ], กุลา หรือ ค้อนหอย ก็เรียก. |
ชะนี ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Hylobatidae แขนยาวมาก ไม่มีหาง ขนยาวนุ่ม เดินตัวตั้งตรงได้ ห้อยโหนอยู่ตามต้นไม้สูง ๆ ร้องเสียงดัง แสดงถึงอาณาเขตของแต่ละคู่ แต่ละชนิดมีเสียงร้องไม่เหมือนกัน กินผลไม้และใบไม้ ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ ชะนีมือขาว [ Hylobates lar (Linn.) ] ขนลำตัวสีดำหรือนํ้าตาล ชะนีหัวมงกุฎหรือชะนีมงกุฎ ( H. pileatusGray) ขนตัวผู้สีดำ ตัวเมียสีเทา และชะนีมือดำหรือชะนีคิ้วขาว ( H. agilisF. Cuvier) ขนลำตัวสีดำ นํ้าตาล หรือเทา. |
ชะมด ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Viverridae หน้าแหลม รูปร่างเพรียว สีเทาหรือนํ้าตาล มีลายจุดสีดำตามยาวทั่วตัว หางและขนหางยาว มีลายเป็นปล้อง มีต่อมกลิ่นใกล้อวัยวะเพศ มักหากินในเวลากลางคืน ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น ชะมดเช็ด [ Viverricula malaccensis (Gmelin) ] เป็นชนิดที่ใช้นํ้ามันจากต่อมกลิ่นทำเครื่องหอม, ชะมดแผงหางปล้อง ( Viverra zibetha Linn.), ชะมดแผงสันหางดำ ( V. megaspila Blyth), อีสานเรียก เห็นอ้ม. |
ชะมด ๒ | น. ชื่อกวางในสกุล Moschus วงศ์ Moschidae เป็นกวางขนาดเล็ก ลำตัวป้อม หัวเล็ก ไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้งออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี ๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย ( Moschus moschiferus Linn.) กวางชะมดเขาสูง [ M. chrysogaster (Hodgson) ] กวางชะมดดำ ( M. Fuscus Li) และกวางชะมดป่า ( M. berezovskii Flerov) ไม่พบในประเทศไทยแต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า. |
ชันโรง | (ชันนะ-) น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Apidae โดยทั่วไปมีขนาดลำตัวยาวไม่เกิน ๑๐ มิลลิเมตร อยู่รวมกันเป็นฝูงและแบ่งวรรณะเหมือนผึ้ง แต่ไม่มีเหล็กในอย่างผึ้งทั่วไป จึงไม่สามารถต่อยได้ ทำรังตามโพรงไม้หรือตามรอยแตกฝาผนังของบ้านเรือน รังทำจากสารเหนียวผสมขี้ดินและยางไม้ ที่พบมากในประเทศไทยอยู่ในสกุล Trigona ชนิดที่พบบ่อย เช่น ชนิด T. terminata Smith, T. apicalis Smith มีชื่ออื่น ๆ อีกตามท้องถิ่น เช่น หูด ขี้ตังนี หรือ กินชัน, อีสานเรียก ขี้สูด, ปักษ์ใต้เรียก ขี้ชัน. |
ชาวไทยภูเขา | น. กลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่แถบภูเขาในประเทศไทย. |
แซงแซว | น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Dicruridae ตาสีแดง ขนสีดำหรือเทาเป็นมัน หางเรียวยาว เว้าตื้นหรือเว้าลึก กินแมลง ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น แซงแซวหางปลา[ Dicrurus macrocercus (Vieillot) ] แซงแซวสีเทา ( D. leucophaeus Vieillot), ชนิดที่มีขนหาง ๑ คู่ เป็นก้านยาวออกไป ตรงปลายแผ่ออกเป็นแผงขน มี ๒ ชนิด เรียกกันทั่วไปว่า แซงแซวหางบ่วง คือ แซงแซวหางบ่วงใหญ่ [ D. paradiseus (Linn.) ] และแซงแซวหางบ่วงเล็ก [ D. remifer (Temminck) ], เรียกสิ่งเช่นธงที่มีรูปเป็นแฉกเหมือนหางนกแซงแซว ว่า ธงหางแซงแซว. |
ดิน ๒ | น. ชื่องูขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล Typhlops วงศ์ Typhlopidae ขนาดประมาณไส้ดินสอดำ ตาเล็กมีเกล็ดใสครอบ หัวและลำตัวมีขนาดไล่เลี่ยกัน ตัวสีดำหรือนํ้าตาลเข้ม เกล็ดเรียบเป็นมัน อาศัยตามดินร่วนที่มีความชื้น ไม่มีพิษ ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น งูดินโคราช ( T. khoratensis Taylor) งูดินตรัง ( T. trangensis Taylor) . |
เด้าดิน | น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Motacillidae ปากแหลม ลำตัวสีนํ้าตาลลายดำ ขาเรียวค่อนข้างยาว กินแมลง ในประเทศไทยมี ๖ ชนิด เช่น เด้าดินสวน ( Anthus hodgsoniIRichmond) เด้าดินทุ่ง [ A. novaeseelandiae (Gmelin) ] เด้าดินอกแดง [ A. cervinus (Pallas) ], กระเด้าดิน ก็เรียก. |
ตะกวด | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานชนิด Varanus bengalensis (Gray) ที่พบในประเทศไทยคือ ชนิดย่อย V. b. nebulosus (Gray) ในวงศ์ Varanidae จมูกอยู่ใกล้ตา ปากและคอค่อนข้างยาว ลิ้นแยกเป็น ๒ แฉกยาว ลำตัวกลมยาว สีนํ้าตาลเหลือง หางยาว ซ่อนตัวตามโพรงไม้ในป่า มักหากินตามพื้นดิน ไม่ค่อยลงน้ำ ปีนต้นไม้ได้ดี กินอาหารได้หลากหลายทั้งสัตว์ ซากสัตว์ และพืช, แลน หรือ จะกวด ก็เรียก. |
ตะขาบ ๒ | น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Coraciidae ปากใหญ่ แบนข้าง หัวใหญ่ ตัวป้อม มักเกาะตามสายไฟและกิ่งไม้แห้งเพื่อคอยโฉบจับแมลงหรือสัตว์เล็ก ๆ ตามพื้นดิน ตัวผู้เกี้ยวตัวเมียโดยการบินขึ้นไปในอากาศ แล้วม้วนตัวกลับลงมา ทำรังในโพรงไม้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ตะขาบทุ่ง [ Coracias benghalensis (Linn.) ] ปากสีดำ หัวและปีกสีฟ้า ตัวสีนํ้าตาล และตะขาบดง [ Eurystomus orientalis (Linn.) ] ปากสีแดง ตัวสีน้ำเงินแกมเขียว, ขาบ ก็เรียก. |
ตะโขง | น. ชื่อจระเข้ชนิด Tomistoma schlegelii Müller ในวงศ์ Crocodylidae ขนาดใหญ่กว่าจระเข้ทั่วไป ปากเล็กเรียวยาวคล้ายปากปลากระทุงเหวแต่งอนขึ้นด้านบนเล็กน้อย ตัวสีนํ้าตาลแดงมีลายสีนํ้าตาลเข้ม หางแบนใหญ่ใช้ว่ายนํ้า อาศัยตามป่าเลนชายนํ้ากร่อย ในประเทศไทยพบเฉพาะทางภาคใต้เท่านั้น, จระเข้ปากกระทุงเหว ก็เรียก. |
Augmentative and Alternative Communicate | อุปกรณ์ช่วยสื่อสารแบบพกพาสำหรับผู้ที่มีปัญหาในการพูด , อุปกรณ์ขนาดเล็ก มีปุ่มที่เก็บเสียงที่บันทึกล่วงหน้าได้ ในประเทศไทยมีผลงานวิจัยภายใต้โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ชื่อ โอภา สามารถบันทึกได้ ๖๐ ข้อความ และเรียกใช้โดยการกดปุ่ม อุปกรณ์มี ๑๕ ปุ่ม และมีปุ่มเลือกชุดข้อความได้ ๔ ชุด และมีโหมดสแกนข้อความที่ทำงานคู่กับสวิตช์เดี่ยวใช้กดเลือกข้อความ [Assistive Technology] |
Augmentative and Alternative Communication Program | ซอฟต์แวร์ช่วยในการสื่อสารสำหรับผู้ที่มีปัญหาในการพูด, ซอฟต์แวร์ช่วยในการสื่อสารสำหรับผู้ที่มีปัญหาในการพูด โดยใช้รูปภาพหรือข้อความเป็นรูปแทนการสื่อความหมาย เมื่อเลือกรูปแทนแล้ว โปรแกรมจะเล่นเสียงที่บันทึกไว้ของรูปแทนดังกล่าวออกมา โปรแกรมชนิดนี้พัฒนาขึ้นในประเทศไทย ชื่อ "ปราศรัย" ทำหน้าที่เป็นเสมือนกล่องที่บรรจุเสียงพูดที่ใช้ในการสนทนาไว้อย่างไม่จำกัดจำนวน โดยจัดเก็บเสียงเป็นแฟ้มเสียงไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ [Assistive Technology] |
Ambassador | เอกอัครราชทูต - Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary : เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม หมายถึง เอกอัครราชทูตที่รัฐผู้ส่งแต่งตั้งไปยังรัฐผู้รับ โดยมอบหมายอำนาจให้ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนของรัฐผู้ส่ง ในกรณีที่เอกอัครราชทูตมิได้มีถิ่นพำนักอยู่ในรัฐผู้รับ เรียกว่า Non-resident Ambassador - Ambassador-Designate : ว่าที่เอกอัครราชทูตประจำรัฐผู้รับ หมายถึง บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต แต่ยังมิได้ยื่นสาส์นตราตั้งต่อประมุขแห่งรัฐผู้รับ - Ambassador-at-Large : เอกอัครราชทูตผู้แทนพิเศษ หมายถึง ผู้แทนพิเศษของกระทรวงการต่างประเทศที่มีสิทธิและสถานะเทียบเท่าเอกอัคร ราชทูตผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแลงานและกิจการเฉพาะกิจ หรือเฉพาะเรื่องในต่างประเทศเป็นครั้งคราว - Ambassador attached to the Ministry of Foreign Affairs : เอกอัครราชทูตประจำกระทรวงการต่างประเทศ หมายถึง บุคคล ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต มีภารกิจดูแลกิจการภายในของกระทรวงการต่างประเทศ ตามที่ได้รับมอบหมายจากปลัดกระทรวงการต่างประเทศ - Resident Ambassador : เอกอัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนักในประเทศไทย หมายถึง เอกอัครราชทูตของไทยที่ได้รับการแต่งตั้งให้ประจำต่อประมุขแห่งรัฐผู้รับ แต่ยังคงมีถิ่นพำนักอยู่ในรัฐผู้ส่ง เอกอัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนักในประเทศไทยนี้ จะเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ในรัฐผู้รับเป็นครั้งคราว [การทูต] |
Cobra Gold | การฝึกร่วม/ผสมคอบร้าโกลด์ เป็นการฝึกทางทหารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเซีย ตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งกองทัพไทยและกองกำลังสหรัฐอเมริกาภาคพื้นแปซิฟิก (USPACOM) ร่วมกันเป็น เจ้าภาพจัดการฝึกในประเทศไทยเป็นประจำทุกปี การฝึกคอบร้าโกลด์พัฒนามาจากการฝึกผสมยกพลขึ้นบกระหว่างกองทัพเรือไทยกับกอง ทัพเรือสหรัฐอเมริกาและกองกำลังนาวิกโยธินสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำการฝึกร่วมกันมาตั้งแต่ พ.ศ. 2499 ต่อมาใน พ.ศ. 2525 ได้รวมการฝึกหลายอย่างเข้าด้วยกันแล้วกำหนดชื่อรหัสการฝึกขึ้นใหม่ว่า "การฝึกร่วม/ผสมคอบร้าโกลด์" ปัจจุบัน มีประเทศที่ร่วมฝึกรวม ทั้งร่วมสังเกตการณ์หลายประเทศ รวมทั้งได้ขยายการฝึกครอบคลุมการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม การตอบโต้การก่อการร้ายด้วย [การทูต] |
Dean (หรือ Doyen) of the Diplomatic Corps | หัวหน้า (Dean) ของคณะทูตานุทูตในนครหลวงของประเทศใดก็ตาม ได้แก่ ตัวทูตที่อาวุโสที่สุด (คือเป็นทูตอยู่ในประเทศนั้นๆ เป็นเวลานานที่สุด) ตัวหัวหน้าคณะทูตานุทูตจะมีลำดับอาวุโสเหนือทุกคนในคณะทูตานุทูต ทำหน้าที่เป็นโฆษกของคณะทูตเมื่อถึงความจำเป็น และเป็นผู้ดูแลและคุ้มครองบรรดาเอกสิทธ์และความคุ้มกันทางการทูตที่คณะ ทูตานุทูตมีอยู่ แต่หน้าที่ที่แท้จริงนั้น โดยมากเกี่ยวกับเรื่องพิธีการทูตมากกว่า อาทิเช่น เมื่อถึงวันที่ระลึกครบรอบวันเกิดประมุขของรัฐ (เช่นวันเฉลิมพระชนมพรรษาในประเทศไทย) Dean ของคณะทูตจะเป็นผู้กล่าวแสดงความยินดีในโอกาสดังกล่าวในนามของคณะทูตทั้งหมด แต่การที่จะเรียกหรือขอให้บุคคลในคณะทูตไปประชุมเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง นั้น เป็นสิ่งที่ Dean ไม่พึงกระทำ อย่างไรก็ตาม จะไม่มีผู้แทนทางการทูตคนใดไปร่วมการประชุมระหว่างบุคคลในคณะทูตด้วยกัน เกี่ยวกับปัญหาระหว่างประเทศโดยมิได้รับคำสั่งโดยเฉพาะจากรัฐบาลของตนก่อน ภริยาของ Dean หรือ Doyen นั้นเรียกว่า Doyenneเมื่อหัวหน้าคณะทูตวายชนม์ขณะที่ดำรงตำแหน่งอยู่ บุคคลในคณะทูตที่มีอาวุโสรองลงมาหรือเป็นบุคคลที่สองจะเป็นผู้รับช่วงงาน ทันที และมีตำแหน่งเรียกว่า อุปทูตชั่วคราว (Chargé d?Affaires ad interim) ทั้งจะต้องดูว่า เอกสารทางราชการต่าง ๆ โดยเฉพาะเอกสารลับหรือปกปิด จะไม่ทิ้งรวมอยู่กับ เอกสารส่วนตัวของทูตผู้วายชนม์อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทาง การทูต ซึ่งได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1961 จากการประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับการติดต่อและความคุ้มกันทางการทูต ได้บัญญัติไว้ว่า?ข้อ 39 (3) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต ให้คนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันซึ่งเขามี สิทธิที่จะได้รับไปจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะออกจากประเทศไป(4) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนซึ่งไม่ใช่คนชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับ หรือของคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของบุคคลในคณะผู้แทนดังกล่าว ให้รัฐผู้รับอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ไป ยกเว้นแต่ทรัพย์สินใดที่ได้มาในประเทศที่ส่งออกซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นอัน ต้องห้ามในเวลาที่บุคคลในคณะผู้แทน หรือคนในคราอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนนั้นถึงแก่กรรม อากรกองมรดก การสืบมรดกและการรับมรดกนั้น ๆ ไม่ให้เรียกเก็บแก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรัฐผู้รับ เพราะการไปอยู่ ณ ที่นั้นแต่ฝ่ายเดียวของผู้วายชนม์ในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทนอนึ่ง อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล เมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1963 ได้บัญญัติไว้ว่า ?ข้อ 51 ในกรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล หรือของคนในครอบครัว ซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว รัฐผู้รับ(ก) จะอนุญาตให้ส่งออกซึ่งสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ โดยมีข้อยกเว้นแก่ทรัพย์สินเช่นว่า ทรัพย์ใด ๆ ที่ได้มาในรัฐผู้รับนั้น ซึ่งการส่งออกของทรัพย์ต้องห้าม ในเวลาที่บุคคลดังกล่าวถึงแก่มรณกรรม(ข) จะไม่เรียกเก็บอากรกองมรดก อากรสืบช่วงมรดกหรืออากรรับมรดก และอากรการโอน ไม่ว่าจะเป็นอากรของชาติ ของภูมิภาค หรือของเทศบาล จากสังหาริมทรัพย์ ซึ่งการที่สังหาริมทรัพย์นั้นอยู่ในรัฐผู้รับก็เนื่องมาแต่ฝ่ายเดียว จากการที่ผู้วายชนม์อยู่ในรัฐนั้นฐานะบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุลหรือใน ฐานะคนในครอบครัวของบุคคลในที่ทำการกงสุล? ?ข้อ 53(5) กรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล คนในครอบครัวซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว จะคงได้รับอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ได้ประสาทให้แก่ตนต่อไป จนกว่าตนจะออกไปจากรัฐผู้รับ หรือจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะสามารถให้ตนกระทำดังนั้นได้ แล้วแต่ว่าเวลาไหนจะมาถึงก่อนกัน? [การทูต] |
emergency certificate | เอกสารเดินทางฉุกเฉิน เอกสารเดินทางที่ออกให้แก่ผู้ลี้ภัยทางการเมือง เด็กที่ไม่มีสัญชาติไทยในความดูแลของกรมประชาสงเคราะห์ คนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรและทำหนังสือเดินทางสูญหาย รวมทั้งเด็กต่างด้าวที่เกิดในประเทศไทย ซึ่งไม่มีสถานทูต/สถานกงสุลของคนชาตินั้นในประเทศไทย [การทูต] |
Friends of Young Ambassador of Virtue | เพื่อนยุวทูตความดี " หมายถึง สถานทูตและสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ สถานทูตต่าง ประเทศในประเทศไทย องค์กรหรือภาคเอกชนทั้งของไทยและของต่างประเทศ ที่ตอบรับเป็นผู้สนับสนุนและสนใจที่จะทำกิจกรรมร่วมกับโรงเรียนในโครงการยุว ทูตความดี " [การทูต] |
International Law Enforcement Academy | สถาบันฝึกอบรมระหว่างประเทศว่าด้วยการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย จัดตั้งขึ้นในประเทศไทยเมื่อเดือนกันยายน 2541 เป็นโครงการ 3 ปี (ระหว่าง 2541-2544) โดยสหรัฐอเมริกาให้เงินสนับสนุน 3 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยจัดการฝึกอบรมแก่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจีน เพื่อเสริมศักยภาพการดำเนินการตามกฎหมายในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ระหว่างประเทศ [การทูต] |
Jus Soli | คือหลักความเชื่อถือซึ่งหลายประเทศยึดถืออยู่ คือบุคคลชาติใดก็ตาม ถือกำเนิด ณ ที่ไหนก็ได้สัญชาติของที่นั้น คนสวีเดนที่เกิดในประเทศไทยจะถือว่าได้สัญชาติไทยไปในตัวผิดกับหลักความ เชื่อถืออีกอันหนึ่งเรียกว่า Jus Sanguinis ซึ่งให้ถือสัญชาติของบุคคลตามสัญชาติของบิดามารดาของบุคคลนั้น ไม่ถือตามสถานที่เกิด [การทูต] |
Political Appointee | หมายถึง บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งด้วยเหตุผลทางการเมือง คือ ผู้ที่มิได้มีอาชีพทางการทูตโดยแท้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นทูต ซึ่งต่างกับนักการทูตอาชีพ (Career diplomat) ในประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี และสหภาพโซเวียต ธรรมเนียมปฏิบัติโดยทั่วไปจะแต่งตั้งเฉพาะบุคคลที่มีอาชีพนักการทูตแท้ ๆ เข้าดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตและอัครราชทูต อย่างไรก็ดี เฉพาะในกรณีพิเศษจริง ๆ เท่านั้นจึงจะแต่งตั้งบุคคลจากภายนอก และบุคคลจากภายนอกที่ได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตได้รับผลสำเร็จในการ ปฏิบัติหน้าที่ก็มีอยู่หลายราย ทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก แฮโรลด์ นิโคลสัน ได้ให้ความเห็นไว้ในหนังสือเรื่องการทูตของท่านว่า ในประเทศใหญ่ ๆ เป็นที่พึงปรารถนาอย่างยิ่งที่จะให้นักการทูตอาชีพเท่านั้นเป็นผู้รับผิดชอบ ในการดำเนินนโยบายการต่างประเทศ เพราะได้ผ่านการศึกษาและฝึกฝนในวิชาการทูตมาเป็นอย่างดีแล้ว ส่วนเอกอัครราชทูตที่แต่งตั้งจากคนภายนอกจะมีข้อเสียบางอย่าง เช่น ในการเขียนรายงานไปยังรัฐบาล เช่น รายงานการเมือง เขาอาจมุ่งแต่จะอวดความเฉียบแหลมของเขาเอง และร้อยกรองคำอย่างไพเราะเพราะพริ้ง มากกว่าที่จะมุ่งเสนอรายงานข้อเท็จจริงอย่างรอบคอบและมีเหตุผลอันสมควร เป็นต้น [การทูต] |
Southeast Asia Fund for Institutional and Legal Development | กองทุนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อการพัฒนาสถาบันและกฎหมาย ไทยและแคนาดาได้จัดทำร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกัน เพื่อจัดตั้งสำนักงานกองทุนฯ ในประเทศไทย [การทูต] |
Concentrated latex | น้ำยางข้น คือ น้ำยางสดที่ทำให้เข้มข้นโดยการหมุนเหวี่ยงหรือการแยกครีม เพื่อแยกส่วนที่เป็นเนื้อยางออกจากเซรุ่ม และเพิ่มปริมาณเนื้อยางแห้งจาก 30% เป็น 60% สำหรับวิธีการหมุนเหวี่ยง ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมใช้กันเป็นส่วนใหญ่ในประเทศไทย และเพิ่มปริมาณเนื้อยางแห้งจาก 30% เป็น 64% สำหรับวิธีการแยกครีม เนื่องจากน้ำยางสดมีปริมาณน้ำมากเกินไปไม่เหมาะที่จะนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการขนส่ง [เทคโนโลยียาง] |
Hemorrhagic Fever, Thai | ไข้เลือดออกในประเทศไทย, [การแพทย์] |