ใบหูช้าง | ดู กระแตไต่ไม้ ๓. |
ลิ้นตวัดถึงใบหู, ลิ้นตวัดถึงหู | ว. ที่พูดจาตลบตะแลงเชื่อไม่ได้. |
กรรณ, กรรณ- | (กัน, กันนะ-) น. หู, ใบหู, กลอนใช้เป็น กรรณา ก็มี เช่น กรรณาคือกลีบกาญจ- นปัทม์ (สมุทรโฆษ), ราชาศัพท์ใช้ว่า พระกรรณ. |
กระดิกหู | ก. ขยับใบหูแสดงอาการตั้งใจฟัง ใช้แก่สุนัข เช่น พอมีเสียงอะไรแกรกกราก เจ้าตูบจะยืดคอกระดิกหูฟัง |
กระแตไต่ไม้ ๒ | น. ชื่อเฟินอิงอาศัยชนิด Drynaria quercifolia (L.) J. Sm. ในวงศ์ Polypodiaceae ขึ้นเกาะตามต้นไม้ใหญ่ในป่าที่ชุ่มชื้น เหง้ามีขนเป็นปุยสีนํ้าตาลแก่คล้ายกระแต ใบมี ๒ ชนิด คือ ใบสร้างอับสปอร์ ยาวประมาณ ๑ เมตร เว้าเป็นแฉกลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ และมีอับสปอร์เป็นจุด ๆ สีนํ้าตาลเข้มใต้ใบ ใบไม่สร้างอับสปอร์ ขนาดประมาณฝ่ามือ ขอบจักหยาบ ๆ สีนํ้าตาล แข็งติดอยู่กับเหง้าจนผุ ไม่หล่นเหมือนใบสร้างอับสปอร์ ทำหน้าที่กักปุ๋ย, กระปรอกว่าว ใบหูช้าง สไบนาง สะโมง หรือ หัวว่าว ก็เรียก. |
กระรอก | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Sciuridae มีฟันแทะ ส่วนใหญ่ตาโตและใบหูใหญ่ หางยาวเป็นพวง กินผลไม้ มีหลายสกุลและหลายชนิด เช่น กระรอกหลากสี [ Callosciurus finlaysoni (Horsfield) ] พญากระรอกดำ [ Ratufa bicolor (Sparrman) ] . |
ช้างเอเชีย | น. ชื่อช้างชนิด Elephas maximus (Linn.) หัวโต เห็นเป็นโหนก ๒ โหนก เรียก ตะพอง ปลายงวงด้านบนมีจะงอย ๑ จะงอย ใบหูเล็กรูปสามเหลี่ยม หลังเรียบหรือโค้งเล็กน้อย ผิวหนังค่อนข้างละเอียดนุ่ม มีขนสีดำทั่วตัวแต่ที่เห็นได้ชัดบริเวณตา ปลายหาง โหนกหัวและมุมปาก หางยาวเกือบถึงพื้น ขาหน้ามีเล็บข้างละ ๕ เล็บ ขาหลังมีเล็บข้างละ ๔ หรือ ๕ เล็บ ตัวผู้มีงายาว เรียก ช้างพลาย ไม่มีงาหรืองาสั้น เรียก ช้างสีดอ ตัวเมีย เรียก ช้างพัง ส่วนใหญ่ไม่มีงาหรือมีงาสั้น งาของตัวเมีย เรียก ขนาย. |
ช้างแอฟริกา | น. ชื่อช้างชนิด Loxodonta africana (Blumenbach) รูปร่างสูงเพรียวกว่าช้างเอเชีย หัวเล็กลาดลงไปข้างหน้าถึงโคนงวง ปลายงวงทั้งด้านบนและด้านล่างมีจะงอยด้านละ ๑ จะงอย ใบหูใหญ่รูปคล้ายพัด มีงาทั้งตัวผู้และตัวเมีย หนังหยาบแข็ง มีขนสีดำทั่วตัวแต่ที่เห็นได้ชัดบริเวณตา ปลายหาง และมุมปาก ท้องป่อง หลังแอ่น นูนสูงขึ้นบริเวณท้ายลำตัว หางสั้น ขาหน้ามีเล็บข้างละ ๔ หรือ ๕ เล็บ ขาหลังมีเล็บข้างละ ๓ เล็บ แต่บางตัวมี ๔ เล็บ. |
ท้องขาว ๒ | น. ชื่อหนูขนาดกลางชนิด Rattus rattus (Linn.) ในวงศ์ Muridae ตัวสีนํ้าตาลอ่อนถึงนํ้าตาลแดง พื้นท้องสีขาว มีเส้นสีนํ้าตาลหรือดำพาดขวางหน้าอก จมูกแหลม ใบหูใหญ่ หางสีดำยาวไล่เลี่ยกับความยาวของส่วนหัวและลำตัว กินเมล็ดพืชและเศษอาหาร มีชุกชุมทั่วทุกภาคของประเทศไทย. |
ทัดดอกไม้ | น. ส่วนอวัยวะบริเวณเหนือใบหู. |
ใบ | เรียกของที่เป็นแผ่น ๆ เช่น ใบหนังสือ ใบมีด ใบหู ทองใบ |
ม้าลาย | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในสกุล Equus วงศ์ Equidae รูปร่างคล้ายม้าแต่มีลายสีดำและสีขาวพาดขวางลำตัวตัดกันเห็นได้ชัดเจน จมูกดำ ขนแผงคอสั้น ใบหูและตาโต กีบเท้าเป็นกีบเดี่ยวกลมเล็ก ขนหางยาวเป็นพวงเฉพาะตอนครึ่งปลายของหาง ส่วนโคนหางมีขนสั้น อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงตามทุ่งหญ้า ถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา มีหลายชนิด เช่น ชนิด E. grevyi (Oustalet) ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ชนิด E. burchelli (Gray) เป็นชนิดที่นิยมนำมาเลี้ยงตามสวนสัตว์ทั่ว ๆ ไป. |
แมวน้ำ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Phocidae ไม่มีใบหู และในวงศ์ Otaliidae มีใบหู ทั้ง ๒ วงศ์ รูปร่างอ้วนใหญ่ มีหนวดคล้ายแมว ขาคล้ายพาย คู่หน้าสั้น คู่หลังลู่ไปตามลำตัว ใช้ว่ายน้ำและคืบคลานหรือกลิ้งตัวไปตามพื้นได้ดี หางเป็นติ่ง อาศัยอยู่ตามชายฝั่งในเขตอบอุ่นหรือเขตหนาว กินปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ ชนิดที่แพร่หลาย คือ ชนิด Phoca vitulina (Linn.). |
ราหู ๒ | น. ชื่อปลากระเบนทะเลในสกุล Mantaและ Mobula วงศ์ Mobulidae ลักษณะทั่วไปคล้ายปลากระเบนนก มีเนื้อยื่นเป็นแผ่นคล้ายใบหูอยู่ที่มุมขอบนอกปลายสุดของหัวข้างละอันใช้ตะล่อมอาหารเข้าปาก ด้านบนลำตัวสีดำ เช่น ชนิด Mobula japonica (Müller & Henle), ชนิด Manta birostris (Donndorff) เฉพาะชนิดแรก มีแถบสีขาวพาดโค้งอยู่ด้านท้ายของส่วนหัว. |
สิงโตทะเล | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Otariidae มีใบหู มีหนวดเป็นเส้นหนาอยู่เหนือริมฝีปากบน ส่วนที่อยู่ตรงกลางสั้น สองข้างค่อนข้างยาว มีเขี้ยวยาวโค้งเล็กน้อยปลายแหลม ลำคอยาว ขาไม่มีขนปกคลุม นิ้วไม่มีเล็บ ขาคู่หน้ายาวแบนคล้ายใบพายและโบกไปมาช่วยในการยันตัวและว่ายน้ำ ขาคู่หลังสั้นตีนแบนช่วยในการเคลื่อนตัว กินปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ ในเขตหนาว อาศัยอยู่ตามริมฝั่งทะเล มีหลายชนิด เช่น ชนิด Zalophus californianus (Lesson), Otaria byronia (Peters). |
หนูผี | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Soricidae รูปร่างคล้ายหนูในวงศ์ Muridae แต่ตัวเล็กมาก ขาสั้น มีนิ้วตีนข้างละ ๕ นิ้ว หางยาว ขนนุ่มสั้น ใบหูเล็ก จมูกยื่นยาวออกมาเห็นได้ชัด ตาหรี่เล็ก มุดหาแมลงกินตามกองไม้และใบไม้ที่กองทับถมกันนาน ๆ มีหลายชนิด เช่น หนูผีนา [ Crocidura fuliginosa (Blyth) ] หนูผีบ้าน [ C. murina (Linn.) ] หนูผีจิ๋ว [ C. etrusca (Savi) ]. |
หมวกหูกระต่าย | น. เครื่องสวมศีรษะแบบหนึ่ง ทำด้วยผ้าหรือสักหลาดสีต่าง ๆ รูปทรงกระบอกสั้น ๆ มีแผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าติดขอบหมวกสำหรับปกใบหูทั้ง ๒ ข้าง. |
หมาไม้ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Martes flavigula (Boddaert) ในวงศ์ Mustelidae หัวคล้ายหมา ใบหูกลม ขอบหูขาว ลำตัวยาวสีนํ้าตาลอ่อน ขนที่คาง ลำคอ และหน้าอกสีเหลือง ขนด้านบนของหัวสีดำ เล็บแหลมคม หางยาว ว่องไวมาก กลิ่นแรง อาศัยอยู่บนต้นไม้เป็นส่วนใหญ่ กินผลไม้และเนื้อสัตว์. |
หมี | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Ursidae ตาและใบหูกลมเล็ก ริมฝีปากยื่นแยกห่างออกจากเหงือก สามารถยืนและเดินด้วยขาหลังได้ ประสาทการดมกลิ่นดีกว่าประสาทตาและหู กินพืชและสัตว์ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ หมีควาย [ Selenarctos thibetanus (G. Cuvier) ] ตัวใหญ่ ขนยาวดำ ที่อกมีขนสีขาวรูปง่าม และหมีหมาหรือหมีคน [ Helarctos malayanus (Raffles) ] ตัวเล็กกว่าหมีควาย ขนสั้นดำ ที่อกมีขนสีขาวรูปคล้ายเกือกม้า. |
หมูหริ่ง, หมูหรึ่ง | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Arctonyx collaris F. Cuvier ในวงศ์ Mustelidae ขนาดไล่เลี่ยกับสุนัขบ้าน รูปร่างอ้วน สั้น หลังโค้ง ขนลำตัวหยาบแข็งสีเหลืองอมเทาหรือดำ มีแถบสีดำพาดผ่านระหว่างหูมายังด้านข้างของจมูก มีแถบขาวพาดกลางหัวมาถึงปลายบนของปาก ตาเล็กสีดำ มีแถบขาวใต้ตา จมูกใหญ่คล้ายหมู คอสีขาว ใบหูเล็ก ครึ่งบนของหูสีขาวครึ่งล่างสีดำ ขาใหญ่สีดำ เล็บยาวโค้งปลายแหลมใช้ขุดดินรวมทั้งใช้จมูกดุดเพื่อหาอาหาร หางสั้น กินสัตว์เล็ก ๆ พืช และผลไม้. |
หูกระต่าย | เรียกเครื่องสวมศีรษะแบบหนึ่ง ทำด้วยผ้าหรือสักหลาดสีต่าง ๆ รูปทรงกระบอกสั้น ๆ มีแผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าติดขอบหมวกสําหรับปกใบหูทั้ง ๒ ข้าง ว่า หมวกหูกระต่าย |
หูตูบ | น. ใบหูตกห้อยลงมา (ใช้แก่หมา) |
อุรังอุตัง | น. ชื่อลิงขนาดใหญ่ชนิด Pongo pygmaeus (Linn.) ในวงศ์ Pongidae รูปร่างคล้ายคน ขนลำตัวยาวสีนํ้าตาลแดง แขนยาว ขาสั้นและค่อนข้างเล็ก ใบหูเล็กมาก ตัวผู้มีถุงลมขนาดใหญ่ตรงคอหอยและส่วนแก้มจะขยายออกทางด้านข้าง นิ้วตีนนิ้วแรกไม่มีเล็บ อาศัยอยู่บนต้นไม้ กินผลไม้ ยอดและหน่อของต้นไม้ มี ๒ พันธุ์ย่อย คือ พันธุ์สุมาตรา ( P. p. abeliLesson) และพันธุ์บอร์เนียว [ P. p. pygmaeus (Linn.) ] มีถิ่นกำเนิดเฉพาะในเกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียวเท่านั้น. |
antihelix | (แอนทิฮี' ลิคซ) สันโค้งข้างในของใบหู |
auricle | (ออ'ริเคิล) n. ใบหู, หัวใจห้องบน, กระดูกคล้ายใบหู, หูหัวใจ (auricular appendage) -auricled adj. (pinna, atrium) |
auricular | (ออริค'คิวลาร์) adj. เกี่ยวกับหูหรือโสตประสาท, คล้ายใบหู, เกี่ยวกับหูหัวใจ |
auriculate | (ออริค'คิวเลท) adj. คล้ายใบหู, มีส่วนที่คล้ายใบหู (shaped like an ear) |
ear | (เอียร์) n. หู, ใบหู, การสดับรับฟัง, รวงข้าว. vi. มีรวงเกิดขึ้น -Phr. (be all ear อยากได้ยิน, ตั้งใจฟังมาก) -Phr. (give ear to สนใจฟัง, ฟัง) |
earmark | n. ตำหนิหรือรอยแผลที่ทำขึ้นบนใบหูสัตว์, ตำหนิที่ทำขึ้นเพื่อแยกแยะความแตกต่าง vt. ทำตำหนิขึ้น, Syn. characteristic |
helix | (เฮล'ลิคซฺ) n. ส่วนที่เป็นเกลียว, ส่วนที่เป็นขด, วงใบหู, สิ่งประดับลายวงกันหอย, หอยโข่ง -pl. helices, helixes, Syn. spiral |
indian almond | ต้นใบหูกวาง |
lug | (ลัก) { lugged, lugging, lugs } vt., vi. ลาก, ดึง, ฉุดคร่า, ดึงดัน, ดึงลาก. n. การลาก, การฉุดคร่า, หู, ใบหู, ส่วนที่โผล่ออกมา, ห่วงหนังของเครื่องบังเหียนม้า, คนงุ่มง่าม, คนทั่วไป |
mastoid | (แมส'ทอยดฺ) adj. คล้ายเต้านมหรือหัวนม, เกี่ยวกับส่วนยื่นคล้ายหัวนมของกระดูกขมับหลังใบหูเกี่ยวกับปุ่มกกหูของกระดูกขมับ |
sideburns | (ไซดฺ'เบิร์นซฺ) n. เคราหน้าใบหู, ปลายเครา |
spitz | (สพิทซฺ) n. สุนัขพันธุ์หนึ่งที่มีรูปร่างม่อต้อมีขนหนาและตรง มีใบหูแหลม |