ใฝ่ | (v) aim, See also: expect, hope for, desire, Syn. มุ่ง, ใคร่, หวัง, ใฝ่หา, Example: เขามักใฝ่ชีวิตง่ายๆ ไม่พิสดาร ไม่ต้องหรูหราเหมือนคนอื่น, Thai Definition: คิดมุ่งหรือคิดหวังถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง |
ใฝ่ใจ | (v) pay attention to, See also: keen on, be fond of, take an interest in, Syn. สนใจ, ใจจดใจจ่อ, จดจ่อ, ตั้งใจ, มุ่งมั่น, Example: นักเขียนคนนี้ควรจะใฝ่ใจศึกษาเรียนรู้ในเรื่องภาษาอยู่เสมอ, Thai Definition: เอาใจผูกพันอยู่ |
ฝักใฝ่ | (v) concentrate on, See also: pay attention to, be interested in, Syn. สนใจ, ใฝ่ใจ, เอาใจใส่, ผูกพัน, Example: สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงฝักใฝ่ในพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง, Thai Definition: สนใจเข้าด้วย |
ฝันใฝ่ | (v) dream, See also: hope for, desire, Syn. ใฝ่ฝัน, Example: เด็กจรจัดเหล่านี้ฝันใฝ่อยากได้ของเล่นสวยๆ และอยากได้ความสุขสนุกสนานที่ตนไม่เคยได้รับมาก่อน, Thai Definition: อยากมีหรืออยากเป็นอย่างยิ่ง |
ใฝ่ต่ำ | (v) behave badly, See also: be in low taste, Ant. ใฝ่สูง, ใฝ่ดี, Example: เขาไม่น่าใฝ่ต่ำแบบนี้ ทั้งที่การศึกษาก็ดี, Thai Definition: ประพฤติตัวในทางเลวทราม, นิยมไปในทางเลว |
ใฝ่ต่ำ | (v) behave badly, See also: be in bad taste, Ant. ใฝ่สูง, ใฝ่ดี, Example: พระธรรมปิฎกได้กล่าวถึงสภาพของสังคมไทยในปัจจุบันว่า คนในสังคมไทย มีลักษณะ 3 อย่างคือ มองแคบ คิดใกล้และ ใฝ่ต่ำ, Thai Definition: ประพฤติตัวในทางเลวทราม, นิยมไปในทางเลว |
ใฝ่รู้ | (v) seek knowledge, See also: yearn to know, long for knowledge, want to know, Syn. ใคร่รู้, Example: บัณฑิตที่มีคุณภาพควรใฝ่รู้ในสาขาวิชาการและวิชาชีพที่ตนสนใจ, Thai Definition: แสวงหาความรู้ |
ใฝ่สูง | (v) be ambitious for great achievement, See also: aim high, fly high, crave for greatness and success, Syn. ทะเยอทะยาน, ทะเยอทะยานเกินตัว, Ant. ใฝ่ต่ำ, Example: โบราณสอนว่าอย่าใฝ่สูงจนเกินไป ถ้าไม่เป็นไปตามที่หวังแล้วจะผิดหวังรุนแรง, Thai Definition: ทะเยอทะยานเกินตัว |
การใฝ่หา | (n) seeking, See also: searching, examination, investigation, looking for, pursuing, Syn. การแสวงหา, การค้นหา, Example: การใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมนอกตำราเรียนเป็นหน้าที่ของนักเรียนทุกคน |
ความใฝ่ใจ | (n) taking interest, Syn. ความใส่ใจ, ความเอาใจใส่, Thai Definition: การเอาใจผูกพันอยู่ |
ใฝ่ฝันถึง | (v) dream of, Syn. ฝันถึง, ฝันใฝ่ถึง, Example: วัยรุ่นเป็นวัยที่ชอบใฝ่ฝันถึงสิ่งสวยงาม และอยากมีหน้ามีตาทัดเทียมเพื่อนฝูงในทุกๆ ด้าน, Thai Definition: อยากได้หรืออยากเป็นอย่างที่นึกถึง |
ความใฝ่ฝัน | (n) ambition, See also: aspiration, Syn. ความปรารถนา, ความฝัน, Example: ความใฝ่ฝันของเขาก็ได้กลายมาเป็นความจริงในวันนี้, Thai Definition: ความปรารถนาอย่างยิ่ง |
มักใหญ่ใฝ่สูง | (adj) ambitious, See also: aspiring, Syn. ทะเยอทะยาย, ใฝ่สูง, Example: เขามีนิสัยมักใหญ่ใฝ่สูงมาตั้งแต่เล็กแล้ว, Thai Definition: ที่อยากเป็นใหญ่เป็นโตและมียศศักดิ์สูง |
มักใหญ่ใฝ่สูง | (v) be over ambitious, See also: aspire, be wild with ambition, Syn. ทะเยอทะยาย, ใฝ่สูง, Example: เด็กบางคนมักใหญ่ใฝ่สูงอย่างแก้ไม่ได้พอโตขึ้นก็จะมีปัญหาในการดำเนินชีวิต, Thai Definition: อยากเป็นใหญ่เป็นโตและมียศศักดิ์สูง |
ความมักใหญ่ใฝ่สูง | (n) ambition, See also: over-ambition, aspiration, Syn. ความทะเยอทะยาน, ความใฝ่สูง, Thai Definition: ความอยากมีฐานะหรือยศศักดิ์สูงกว่าที่เป็นอยู่ |
ฝักใฝ่ | ก. เอาใจใส่, ผูกพัน. |
ใฝ่ | ก. มุ่ง, หวัง, ใคร่, ผูกพัน. |
ใฝ่ใจ | ก. เอาใจผูกพันอยู่. |
ใฝ่ต่ำ | ก. นิยมไปในทางเลว. |
ใฝ่ฝัน | ก. คิดอยากได้, มุ่งหวัง, เช่น ใฝ่ฝันอยากไปเมืองนอก. |
ใฝ่ร้อนจะนอนเย็น ใฝ่เย็นจะดิ้นตาย | ก. มุ่งหวังจะสบายต้องทำงาน ถ้าเกียจคร้านจะลำบากยากจน. |
ใฝ่สูง | ก. ทะเยอทะยานเกินตัว. |
ใฝ่สูงจนเกินศักดิ์, ใฝ่สูงให้เกินศักดิ์ | ก. หวังสิ่งที่เกินฐานะของตน (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น อย่าใฝ่สูงจนเกินศักดิ์ อย่าใฝ่สูงให้เกินศักดิ์. |
กระตือรือร้น | ก. รีบร้อน, เร่งรีบ, ขมีขมัน, มีใจฝักใฝ่มาก, ใส่ใจอยากจะทำ. |
กำเลา | ว. โง่, อ่อน, ไม่รู้เท่าทัน, ไม่มีไหวพริบ, เช่น ดุจตักแตนเต้นเห็นไฟ บมิใฝ่หนีไกล กำเลากำเลาะหวังเขญ (อนิรุทธ์). |
ไกพัล | (ไกพัน) น. ไกวัล, ชั้นสวรรค์, เช่น ขอพรพระบาทเจ้า ไกพัล ตรีเนตรสังหารสวรรค์ ใฝ่ให้ (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์). |
ขวน | (ขฺวน) ก. ขวนขวาย, ใฝ่, เช่น ขวนทรรป ว่า ใฝ่จองหอง (ม. คำหลวง สักบรรพ). |
ใคร่ | (ไคฺร่) ก. อยาก, ต้องการ, ปรารถนา, ใฝ่ |
จดจ่อ | ก. มีใจฝักใฝ่ผูกพันอยู่. |
เจ้าชู้ ๑ | น. ผู้ใฝ่ในการชู้สาว. |
ใจต่ำ | ว. มีใจใฝ่ในทางเสีย. |
ใจบาป, ใจบาปหยาบช้า | ว. มีใจฝักใฝ่ในทางชั่วร้าย. |
ใจบุญ | ว. มีใจฝักใฝ่ในการบุญ. |
ใจสูง | ว. มีใจที่อบรมมาดี, มีใจใฝ่ในทางดี. |
ชู้ | ชายที่ร่วมประเวณีกับภรรยาคนอื่น, หญิงที่ยังมีสามีอยู่แล้วร่วมประเวณีกับชายอื่น เรียกว่า หญิงมีชู้, เรียกชายหรือหญิงที่ใฝ่ในทางชู้สาว ว่า เจ้าชู้. |
แดน | น. เขต, พื้นที่ที่กำหนดไว้โดยตรงหรือโดยหมายรู้กัน, เช่น ชายแดน ลํ้าแดน, ถิ่นที่มีคน สัตว์ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งประเภทเดียวกันอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น แดนผู้ร้าย แดนเสือโคร่ง แดนกล้วยไข่ แดนโลกีย์, โลก เช่น สตรีใดในพิภพจบแดน ไม่มีใครได้แค้นเหมือนอกข้า ด้วยใฝ่รักให้เกินพักตรา จะมีแต่เวทนาเป็นเนืองนิตย์ (อิเหนา). |
นกสองหัว | น. คนที่ทำตัวฝักใฝ่เข้าด้วยทั้ง ๒ ฝ่ายที่ไม่เป็นมิตรกันโดยหวังประโยชน์เพื่อตน. |
นักการเมือง | น. ผู้ฝักใฝ่ในทางการเมือง, ผู้ที่ทำหน้าที่ทางการเมือง เช่นรัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภา. |
นักเลง | น. ผู้ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น ๆ เช่น นักเลงหนังสือ นักเลงการพนัน |
แนวที่ห้า | น. ผู้เอาใจฝักใฝ่และช่วยเหลือศัตรู. |
ฝ่ายเป็นกลาง | น. กลุ่มที่มีอุดมคติทางการเมืองการเศรษฐกิจเป็นต้นไม่ฝักใฝ่หนักไปทางฝ่ายซ้ายหรือฝ่ายขวา. |
มโนรถ | น. ความหวัง, ความประสงค์, ความใฝ่ฝัน. |
มักใหญ่ | ก. ใฝ่สูง อยากเป็นใหญ่เป็นโต, มักใช้เข้าคู่กับคำ ใฝ่สูง เป็น มักใหญ่ใฝ่สูง. |
เยียใหญ่ | ก. ทำเป็นคนใหญ่โต, มักใหญ่ใฝ่สูง. |
รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา | ก. ใฝ่ดีจะมีความสุขความเจริญ ใฝ่ชั่วจะได้รับความลำบาก. |
เล่นการเมือง | ก. ฝักใฝ่หรือปฏิบัติการเกี่ยวกับงานบริหารบ้านเมือง, โดยปริยายหมายความว่า ใช้เล่ห์เหลี่ยมพลิกแพลงไม่ตรงไปตรงมา เพื่อผลประโยชน์ของตน เช่น ในวงการกีฬาก็มีการเล่นการเมือง นักกีฬาเก่ง ๆ บางคนถูกกีดกันไม่ให้เข้าร่วมทีม. |
สนใจ | ก. ตั้งใจจดจ่ออยู่กับสิ่งใดเรื่องใดเป็นพิเศษ เช่น เขาสนใจวิชาคณิตศาสตร์มาก, ใฝ่ใจใคร่รู้ใคร่เห็นเป็นต้น เช่น เขาสนใจการเมืองมาตั้งแต่เด็ก. |
สร้างวิมานในอากาศ | ก. ใฝ่ฝันถึงความมั่งมี, คิดคาดหรือหวังจะมีหรือเป็นอะไรอย่างเลิศลอย. |
เอาใจดูหูใส่ | ก. ใฝ่ใจ, ตั้งใจ. |
เอาใจใส่ | ก. ใฝ่ใจ, ตั้งใจ. |
เอื้อม | โดยปริยายหมายความว่า ใฝ่สูง. |
Nonalignment | การไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด [TU Subject Heading] |
Hugo Grotius (1583-1645) | บรมครูทางกฎหมายของเนเธอร์แลนด์ เป็นบุคคลแรกที่ได้ประกาศเสรีภาพของทะเล (Freedom of the Seas) ในตำราของท่านชื่อ Mare Liberumนักกฎหมาย รัฐบุรุษ และปรัชญาเมธีด้านมนุษยธรรมของเนเธอร์แลนด์ผู้นี้ ภายหลังเกิดมาได้ไม่กี่ปีก็ส่อให้เห็นว่าเป็นเด็กที่เฉลียวฉลาดอย่างน่า มหัศจรรย์ เขาเริ่มศึกษาวิชากฎหมายตั้งแต่มีอายุได้ 11 ขวบ ณ สถาบันศึกษาชั้นสูงแห่งเลย์เด็นในเนเธอร์แลนด์ และได้รับปริญญาเอกทางกฎหมายจากมหาวิทยาลัย ณ เมืองออร์ลีนส์ ในประเทศฝรั่งเศสเมื่อมีอายุได้เพียง 15 ปี โดยที่เป็นผู้ฝักใฝ่ในการเมือง เขาได้ถูกลงโทษจำคุกตลอดชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1618 ด้วยข้อหาทางการเมือง แต่ต่อมาใน ค.ศ. 1621 ได้หลบหนีไปยังประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ 1625 เขาได้แต่งตำรากฎหมายซึ่งถือกันว่าเป็นตำราอมตะชื่อว่า Jure Belli ac Pacis (แปลว่า เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยสงครามและสันติภาพ) เป็นงานเขียนที่เหมาะกับสมัย และเขียนอย่างนักวิชาการอันเยี่ยมยอดที่สุดไม่มีใครเหมือนในสมัยนั้น และด้วยความรู้สึกที่รักความยุติธรรมอย่างแรงกล้าด้วยเหตุนี้ ทั่วโลกจึงขนานนาม Hugo Grotius ว่าเป็นบิดาแห่งกฎหมายระหว่างประเทศหรือกฎหมายนานาชาติ (Father of the Law of Nations) [การทูต] |
Non-Aligned Movement | กลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2504 มีสมาชิกจำนวน 114 ประเทศ (ตุลาคม 2547) ไทยเป็นสมาชิกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 [การทูต] |
Neutralization, Neutrality หรือ Neutralism | คำว่า Neutraliza-tion หมายถึง กระบวนการซึ่งรัฐได้รับการค้ำประกันความเป็นเอกราชและบูรณภาพอย่างถาวรภาย ใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศ รัฐที่ได้รับการประกันรับรองให้เป็นกลาง (Neutralized State) เช่นนี้จะผูกมัดตนว่า จะละเว้นจาการใช้อาวุธโจมตีไม่ว่าประเทศใดทั้งสิ้น นอกเสียจากว่าจะถูกโจมตีก่อน ตัวอย่างอันเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในเรื่องรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความ เป็นกลางอย่างถาวร คือ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ตามปฏิญญา (Declaration) ซึ่งมีการลงนามกัน ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1815 ประเทศใหญ่ ๆ ในสมัยนั้น คือ ออสเตรีย ฝรั่งเศส อังกฤษ ปรัสเซีย และรัสเซีย ได้รับรองว่า โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม จึงเป็นการจำเป็นที่จะให้รัฐเฮลเวติก(Helvetic Swiss States) ได้รับการประกันความเป็นกลางตลอดไป ทั้งยังประกาศด้วยว่า รัฐสภาของสวิตเซอร์แลนด์ตกลงรับปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ได้ระบุไว้เมื่อไร ความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์ก็จะได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางในทันที และแล้วสมาพันธ์สวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ประกาศยอมรับปฏิบัติตาม หรือให้ภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1815 บรรดาประเทศที่รับรองค้ำประกันความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์จึงประกาศ รับรองดังกล่าว เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1815 อนึ่ง การค้ำประกันความเป็นกลางในลักษณะที่ครอบคลุมทั้งประเทศของรัฐใดรัฐหนึ่ง นั้น มีความแตกต่างกับการค้ำประกันเพียงดินแดนส่วนใดส่วนหนึ่งของรัฐหนึ่ง ซึ่งหมายความว่าดินแดนส่วนหนึ่งของรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางจะ ไม่ยอมให้ฝ่ายใดใช้ดินแดนส่วนที่ค้ำประกันนั้นเป็นเวทีสงครามเป็นอันขาด การค้ำประกันความเป็นกลางยังมีอีกแบบหนึ่งคือ รัฐหนึ่งจะประกาศตนแต่ฝ่ายเดียวว่าจะรักษาความเป็นกลางของตนตลอดไปโดยถาวร แต่ในกรณีเช่นนี้ ความเป็นเอกราชและบูรณภาพของรัฐที่ประกาศตนเป็นกลางเพียงฝ่ายเดียว จะไม่ได้รับการค้ำประกันร่วมกันจากรัฐอื่น ๆ แต่อย่างใดส่วนคติหรือลัทธิความเป็นกลาง (Neutralism) เป็นศัพท์ที่หมายถึงสถานภาพของรัฐต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการน้ำประเทศของตนเข้ากับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในสงครามเย็น ( Cold War) ที่กำลังขับเคี่ยวกันอยู่ระหว่างกลุ่มประเทศภาคตะวันออกกับกลุ่มประเทศภาค ตะวันตก นอกจากนี้ ผู้นำบางคนในกลุ่มของรัฐที่เป็นกลาง ไม่เห็นด้วยกีบการที่ใช้คำว่า ?Neutralism? เขาเหล่านี้เห็นว่าควรจะใช้คำว่า ?ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด? ( Uncommitted ) มากกว่าจะเห็นได้ว่า คำว่า ?ความเป็นกลาง? ( Neutrality ) นั้น หมายถึงความเป็นกลางโดยถาวร ซึ่งได้รับการค้ำประกันจากกลุ่มประเทศกลุ่มหนึ่ง เช่นในกรณีประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้หรือหมายถึงความเป็นกลางเฉพาะในดินแดน ส่วนหนึ่งของรัฐที่ไม่ยอมให้ใครเข้าไปทำสงครามกันในดินแดนที่เป็นกลางส่วน นั้นเป็นอันขาดก็ได้ ดังนั้น พอจะเห็นได้ว่า แก่นแท้ในความหมายของความเป็นกลาง ( Neutrality) จึงอยู่ที่ท่าที หรือ ทัศนคติของประเทศที่ดำรงตนเป็นกลาง ไม่ต้องการเข้าข้างประเทศคู่สงครามใด ๆ ในสงคราม ในสมัยก่อนผู้คนยังไม่รู้จักความคิดเรื่องความเป็นกลางดังที่รู้จักเข้าใจ กันในปัจจุบัน ความเป็นกลางเป็นผลมาจากการทยอยวางหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ของความเป็นกลาง นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน [การทูต] |
Parliamentary Diplomacy | การทูตแบบรัฐสภา หรือบางครั้งเรียกว่า Organization Diplomacy เช่น การทูตในองค์การสหประชาชาติ การทูตแบบนี้ต่างกับการทูตตามปกติที่ดำเนินกันในนครหลวงของประเทศ กล่าวคือ1. นักการทูตมีโอกาสติดต่อโดยใกล้ชิดกับสื่อมวลชนและกับนัการทูตด้วยกันจาก ประเทศอื่น ๆ รวมทั้งจากประเทศที่ไม่เป็นมิตรภายในองค์การสหประชาติ มากกว่าในนครหลวงของประเทศ แต่มีโอกาสน้อยกว่าที่จะติดต่อกับคนชาติของตนอย่างใกล้ชิด2. การพบปะติดต่อกับบรรดานักการทูตด้วยกันในองค์การสหประชาชาติ จะเป็นไปอย่างเป็นกันเองมากกว่าในนครหลวงของประเทศ3. ในองค์การสหประชาติ ประเทศเล็ก ๆ สามารถมีอิทธิพลในการเจรจากับประเทศใหญ่ ๆ ได้มากกว่าในนครของตน เพราะตามปกติ นักการทูตในนครหลวงมักจะติดต่ออย่างเป็นทางการกับนักการทูตในระดับเดียวกัน เท่านั้น แต่ข้อนี้มิได้ปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดนักในสหประชาชาติ ในแง่การปรึกษาหารือกันระหว่างกลุ่ม ในสมัยก่อนที่สงครามเย็นจะสิ้นสุดในสหประชาชาติได้แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม (Blocs) ด้วยกัน คือกลุ่มเอเชียอัฟริกา กลุ่มเครือจักรภพ (Commonwealth) กลุ่มคอมมิวนิสต์ กลุ่มละตินอเมริกัน กลุ่มยุโรปตะวันตก กลุ่มสแกนดิเนเวีย และกลุ่มอื่น ๆ ได้แก่ ประเทศที่มิได้ผูกพันเป็นทางการกับกลุ่มใด ๆ ที่กล่าวมา อนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับสงครามเย็น สมาชิกประเทศในสหประชาชาติจะรวมกลุ่มกันตามแนวนี้ คือ ประเทศนิยมฝักใฝ่กับประเทศฝ่ายตะวันตก (Pro-West members) ประเทศที่นิยมค่ายประเทศคอมมิวนิสต์ (Pro-Communist members) และประเทศที่ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายใด (Non-aligned members)เกี่ยวกับเรื่องการทูตในการประชุมสหประชาชาติ ในสมัยสงครามเย็น นักการทูตชั้นนำของอินเดียผู้หนึ่งให้ข้อวิจารณ์ว่า ไม่ว่าจะเป็นการประชุมพิจารณากัน การทะเลาะเบาะแว้งด้วยคำผรุสวาทหรือการแถลงโผงผางต่อกันนั้น ล้วนเป็นลักษณะที่ตรงกันข้ามกับลักษณะวิสัยของการทูตทั้งสิ้น ดังนั้น สิ่งที่เป็นไปในการประชุมสหประชาชาติ จึงแทบจะเรียกไม่ได้เลยว่าเป็นการทูต เพราะการทูตที่แท้จริงจะกระทำกันด้วยอารมณ์สงบ ใช้ความสุขุมคัมภีรภาพ ปราศจากกามุ่งโฆษณาตนแต่อย่างใด การแสดงต่าง ๆ เช่น สุนทรพจน์และภาพยนตร์นั้นจะต้องมีผู้ฟังหรือผู้ชม แต่สำหรับการทูตจะไม่มีผู้ฟังหรือผู้ชม (Audience) หากกล่าวเพียงสั้น ๆ ก็คือ ผู้พูดในสหประชาชาติมุ่งโฆษณาหาเสียง หรือคะแนนนิยมจากโลกภายนอก แต่ในการทูตนั้น ผู้พูดมุ่งจะให้มีการตกลงกันให้ได้ในเรื่องที่เจรจากันเป็นจุดประสงค์สำคัญ [การทูต] |
Motivation for Achievement | ความจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ [การแพทย์] |
Motive, Dependency | แรงจูงใจใฝ่พึ่งพา [การแพทย์] |
ใฝ่ | [fai] (v) EN: aim ; expect ; seek ; pursue FR: être déterminé (à) ; être résolu (à) |
ใฝ่ | [fai] (v) EN: pay attention to ; have an interest ; hope for ; desire ; long for ; yearn for ; be attracted toward ; cherish |
ใฝ่ฝัน | [faifan] (v) EN: dream ; fancy FR: rêver de ; brûler de |
ใฝ่ฝันถึง | [faifan theung] (v, exp) EN: dream of |
ใฝ่สูง | [faisūng] (v) EN: be ambitious ; be ambitious for great achievement ; aim high ; fly high ; crave for greatness and success FR: être ambitieux |
ใฝ่สูง | [faisūng] (adj) FR: ambitieux |
ฝักใฝ่ | [fakfai] (v) EN: concentrate on ; pay attention to ; be interested in |
ฝันใฝ่ | [fanfai] (v) EN: dream ; hope for ; desire |
ความมักใหญ่ใฝ่สูง | [khwām makyaifaisūng] (n, exp) EN: ambition FR: ambition [ f ] |
มักใหญ่ใฝ่สูง | [makyaifaisūng] (v) EN: be over ambitious |
มักใหญ่ใฝ่สูง | [makyaifaisūng] (adj) EN: ambitious |
ผู้ฝักใฝ่ | [phūfakfai] (n) EN: adherent ; partisan ; sympathizer FR: partisan [ m ] ; sympathisant [ m ] |
อย่างใฝ่สูง | [yāng faisūng] (adv) FR: ambitieusement |
ambition | (n) ความทะเยอทะยาน, See also: ความปรารถนาอันแรงกล้า, ความมักใหญ่ใฝ่สูง, Syn. aspiration |
aspiration | (n) ความทะเยอทะยาน, See also: ความมักใหญ่ใฝ่สูง, ความมุ่งมาดปรารถนา, ความทะยานอยาก, Syn. eagerness, yearning, ambition |
devotion | (n) การอุทิศตัว, See also: การฝักใฝ่, การยึดมั่น, การศรัทธา, Syn. enthusiasm, fondness, Ant. hate, dislike |
dream | (n) ความฝัน, See also: จิตนาการ, ความคิดฝัน, ความใฝ่ฝัน, ความทะเยอทะยาน, Syn. fantasy |
hawk | (n) ผู้สนับสนุนนโยบายทางการทหารเพื่อแก้ปัญหาระหว่างประเทศมากกว่านโยบายทางการทูต, See also: ผู้ใฝ่สงคราม |
maverick | (n) ผู้เป็นอิสระ, See also: ผู้ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด, ผู้แยกตัว, Syn. nonconformist, loner |
neutralist | (n) ผู้เป็นกลาง, See also: ผู้ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง, Syn. isolationist |
nonaligned | (adj) ที่ไม่เข้าข้างใดข้างหนึ่ง, See also: ซึ่งไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง, ซึ่งเป็นกลาง, Syn. neutral, nonpartisan, Ant. aligned, partisan |
on the make | (sl) ทะเยอทะยาน, See also: เหิมเกริม, มักใหญ่ใฝ่สูง |
world-beater | (sl) ผู้มักใหญ่ใฝ่สูง |
sectarian | (n) สมาชิกของนิกาย, See also: สมาชิกของกลุ่มผู้ที่มีความเห็นทางศาสนาแตกต่างออกไป, ผู้ฝักใฝ่, Syn. nonconformist, dissenter, zealot |
unworldly | (adj) ซึ่งไม่หมกมุ่นในทางโลกีย์, See also: ซึ่งไม่ฝักใฝ่ทางโลกีย์, เกี่ยวกับทางธรรม, Syn. holy, religious, Ant. worldly |
ambition | (แอมบิช' เชิน) n. ความทะเยอทะยาน, ความมักใหญ่ใฝ่สูง, ความปรารถนาอันแรงกล้า, เป้าหมายของความปรารถนาดังกล่าว . -vt. ปรารถนา อย่างแรงกล้า. -ambitionless adj., Syn. longing, goal, Ant. aimlessness |
ambitious | (แอมบิช' เชิส) adj. ทะเยอทะยาน, ปรารถนาอย่างแรงกล้า, มักใหญ่ใฝ่สูง. -ambitiousness n., Syn. aspiring, purposeful |
climber | (ไคล'เบอะ) n. คนปีน, คนไต่, ไม้เลื้อย, คนใฝ่สูง, อุปกรณ์ที่ช่วยในการปีนป่าย |
fain | (เฟน) adv., adj. เต็มใจ, ยินดี, ปรารถนา, ใฝ่ฝัน, จำต้อง |
sectary | (เซค'ทะรี) n. สมาชิกนิกาย, ผู้ฝักใฝ่ในนิกายหนึ่ง, สมาชิกนิกายโปรเตสแตนต์ |
sigh | (ไซ) vi., vt., n. (การ) ถอนหายใจ, ถอนใจ, ใฝ่ฝัน, ละ-ห้อยหา, เพรียกร้อง, เสียงถอนหายใจ, See also: sigher n., Syn. murmur |
yearn | (เยิร์น) vi. อยาก, ต้องการมาก, คิดถึงอย่างรักใคร่, ใฝ่ฝัน, See also: yearner n., Syn. crave, desire, after |
yearning | (เยิร์น'นิง) n. ความอยาก, ความต้องการมาก, ความคิดถึงอย่างรักใคร่, ความใฝ่ฝัน, ความใฝ่หา, See also: yearningly adv., Syn. desire, craving |
absorbed | (adj) ที่หมกมุ่น, ที่ใฝ่ใจ, ที่สนใจมาก, อย่างตั้งอกตั้งใจ |
ambition | (n) ความทะเยอทะยาน, ความมักใหญ่ใฝ่สูง |
ambitious | (adj) ทะเยอทะยาน, มักใหญ่ใฝ่สูง |
aspirant | (n) ผู้ออกเสียง, ผู้ใฝ่สูง, ผู้ปรารถนา, ผู้แสวงหา |
fain | (adj) ใฝ่ฝัน, ปรารถนา, ยินดี, เต็มใจ, ชอบ |
independence | (n) เอกราช, ผู้ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด, อิสรภาพ, พรรคการเมืองอิสระ |
obsess | (vt) หลงใหล, ใฝ่ฝัน, สิงสู่, หลอกหลอน |
obsession | (n) ความพะวงถึง, ความหลงใหล, ความใฝ่ฝันถึง, ความหลอกหลอน |
prefer | (vt) ชอบมากกว่า, สมัครใจ, เลื่อนตำแหน่ง, ฝักใฝ่ในทาง, ยื่น, เสนอ |
voluptuous | (adj) ชอบฟุ้งเฟ้อ, ยั่วยวน, ใฝ่ในทางกาม |
yearn | (vi) อยากได้, รำพึงถึง, ปรารถนา, ต้องการ, ใฝ่ฝัน |