คำให้การ | น. ถ้อยคำหรือข้อความที่ผู้ถูกกล่าวหาหรือถูกฟ้อง รับ ภาคเสธ ปฏิเสธ หรือแก้ข้อหาในคดีที่ถูกกล่าวหาหรือถูกฟ้องในคดีอาญา หรือที่คู่ความฝ่ายหนึ่งยกเป็นข้อต่อสู้ในคดีแพ่งหรือในคดีปกครอง. |
ให้การ | ก. ให้ถ้อยคำเกี่ยวกับเรื่องที่เป็นมา เช่น จำเลยให้การต่อศาล. |
กรมการอำเภอ | น. คณะพนักงานปกครองซึ่งประกอบด้วยนายอำเภอ ปลัดอำเภอ และสมุห์บัญชีอำเภอ มีหน้าที่ร่วมกันในการดำเนินการให้การปกครองอำเภอเรียบร้อย ในปัจจุบันอำนาจหน้าที่ของกรมการอำเภอถูกโอนไปเป็นของนายอำเภอ. |
กล, กล- | เคลือบแฝง เช่น ถ้าจำเลยให้การเป็นกลความ. |
กะหลาป๋า ๑ | บางทีเขียนเป็น กาหลาป๋า เช่น มีพระคลังพิมานอากาษไว้กระจกเทศพรมเทศ เครื่องแก้วมาแต่เทศกาหลาป๋า ๑ (คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม) |
แก้ฟ้อง | ยื่นคำให้การเป็นข้อต่อสู้คดีเพื่อแก้คำฟ้อง. |
คล้องจอง | ไม่ขัดกัน เช่น พยานให้การคล้องจองกัน. |
คำคู่ความ | น. บรรดาคำฟ้อง คำให้การหรือคำร้องทั้งหลายที่ยื่นต่อศาล เพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ. |
คำฟ้องแย้ง | น. คำฟ้องที่จำเลยฟ้องโจทก์มาในคำให้การในเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมของโจทก์, ฟ้องแย้ง ก็ว่า เช่น ยกฟ้องแย้ง. |
จดทะเบียน | ก. ลงบันทึกข้อความไว้กับทางราชการเพื่อให้การใดเกิดผล บังคับกันได้ ได้รับการคุ้มครอง หรือเป็นหลักฐานตามที่กฎหมายกำหนด เช่น จดทะเบียนรถยนต์ จดทะเบียนสมรส จดทะเบียนหุ้นส่วนและบริษัท จดทะเบียนเครื่องจักร. |
เจือสม | ก. มีความสอดคล้องหรือสนับสนุนให้น่าเชื่อ เช่น คำให้การของพยานโจทก์กับพยานจำเลยเจือสมกัน. |
ชักใบให้เรือเสีย | ก. พูดหรือทำขวาง ๆ ให้การสนทนาหรือการงานเขวออกนอกเรื่องไป. |
ซ้อมพยาน | ก. ซักซ้อมพยานว่าจะให้การต่อศาลอย่างใดจึงจะสอดคล้องต้องกันดี. |
ซัดทอด | ให้การพาดพิงถึงบุคคลอื่นว่าได้ร่วมหรือมีส่วนในการกระทำความผิดหรือเป็นผู้กระทำความผิด. |
ต้องกัน | ว. ตรงกัน, พ้องกัน, ถูกกัน, เช่น ฤๅวาสนาน้องจะต้องกัน (อิเหนา), พยานให้การต้องกัน. |
ทำให้แท้งลูก | น. เป็นฐานความผิดอาญา ที่ผู้กระทำทำให้ลูกในท้องของหญิงไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ และให้การตั้งครรภ์สิ้นสุดลง. |
นิรโทษกรรม | ในทางกฎหมายอาญา หมายถึง การลบล้างการกระทำความผิดอาญาที่บุคคลได้กระทำมาแล้ว โดยมีกฎหมายกำหนดให้การกระทำนั้นไม่เป็นความผิด และให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด. |
แนวร่วม | น. ประชาชนที่มีความคิดคล้อยตามและให้การสนับสนุนแก่พวกที่มีความคิดเห็นในแนวเดียวกัน. |
บน ๓ | คำที่จดไว้เป็นหลักฐาน, คำให้การที่จดไว้เป็นหลักฐาน, เช่น ถ้าถามหมีรับให้คาดบนไว้อย่าให้เอาเงีน (สามดวง). |
ใบสัจ | น. เอกสารแสดงรายการสิ่งของที่ถูกปล้นเพื่อแจ้งแก่เจ้าหน้าที่, เอกสารบันทึกคำให้การของโจทก์และจำเลยซึ่งได้ความจริงทั้ง ๒ ฝ่ายแล้ว เช่น ถ้าแลส่งไปให้ปรับ ๆ มาว่าประการใดแล้วให้ยุกระบัตรพิจารณาดู ในใบสัจซึ่งปรับมาใส่ด้วยบทพระอายการ (สามดวง), บางทีเขียนเป็น ใบสัตย์ ก็มี เช่น หลวงญาณประกาศเทพราชธาดา พร้อมหน้านั่งฟังใบสัตย์อยู่ เชิญบทพระไอยการออกอ่านดู ผู้ปรับทั้งคู่อยู่พร้อมกัน (ขุนช้างขุนแผน). |
ประจักษ์พยาน | น. พยานบุคคลที่เป็นผู้ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวกับเรื่องที่ให้การเป็นพยานนั้นมาด้วยตนเองโดยตรง. |
ปรักปรำ | (ปฺรักปฺรำ) ก. กล่าวโทษหรือให้การใส่ร้ายเกินความเป็นจริง. |
เปะปะ | ว. ไม่ตรงเป้า เช่น ชกเปะปะ, ไม่ตรงประเด็น เช่น พูดเปะปะ ให้การเปะปะ, ไม่ตรงทาง เช่น เมาเหล้าเดินเปะปะ, ไม่เป็นระเบียบ เช่น นอนมือเท้าเปะปะ, บางทีใช้ว่า สะเปะสะปะ. |
พยานบอกเล่า | น. พยานบุคคลซึ่งให้การในเรื่องที่ตนมิได้เห็น ได้ยิน หรือรู้มาด้วยตนเอง แต่ได้ยินหรือได้ฟังจากผู้อื่น รวมตลอดถึงข้อความที่บันทึกไว้ในเอกสารหรือวัตถุก็ถือเป็นพยานบอกเล่า. |
พาดพิง | ก. เกี่ยวโยงไปถึง เช่น ให้การพาดพิงถึงผู้อื่น. |
ฟ้องแย้ง | ก. การที่จำเลยฟ้องโจทก์มาในคำให้การในเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมของโจทก์. |
ฟังได้ | ว. พอเชื่อถือได้ เช่น ที่พยานให้การมานั้นฟังได้, ไม่ขัดหู เช่น เพลงไพเราะพอฟังได้. |
ภาคเสธ | (พากเสด) ก. แบ่งรับแบ่งสู้ เช่น ให้การภาคเสธ คือ ให้การรับบ้างปฏิเสธบ้าง. |
มหาวิทยาลัย | (มะหาวิดทะยาไล) น. สถาบันอุดมศึกษาที่มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาในด้านวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงหลายสาขาวิชา หรือหลายกลุ่มสาขาวิชา เพื่อให้ประกาศนียบัตร อนุปริญญา ปริญญา และประกาศนียบัตรบัณฑิตแก่ผู้สำเร็จการศึกษา รวมทั้งดำเนินการวิจัยและให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ. |
ยอกย้อน | ก. ซับซ้อนซ่อนเงื่อน เช่น ทำกลอุบายยอกย้อน, กลับไปกลับมาอย่างมีเงื่อนงำ เช่น พยานให้การยอกย้อน, ยุ่งยากซับซ้อนสะสางยาก เช่น คดียอกย้อน. |
โยง ๑ | เกี่ยวเนื่อง เช่น ให้การโยงไปถึงอีกคนหนึ่ง. |
วกวน | ก. ลดเลี้ยวไปมา, คดไปคดมา, เช่น ทางเข้าออกวกวน, อ้อมไปอ้อมมา, ย้อนไปย้อนมา, เช่น ให้การวกวน เขียนหนังสือวกวนอ่านไม่เข้าใจ. |
วัวพันหลัก | ว. อาการที่วกหรือย้อนกลับไปหาจุดเริ่มต้น เช่น ให้การเป็นวัวพันหลัก, ลักษณะที่วกหรือย้อนกลับไปหาบุคคลที่เป็นต้นตอผู้รับผิดชอบ (มักใช้ในทางชู้สาว) มาจากสำนวนเต็มว่า แม่สื่อแม่ชัก ไม่ได้เจ้าตัว เอาวัวพันหลัก หมายความว่า ชายที่ใช้แม่สื่อไปติดต่อหญิงที่ตนชอบ แล้วไม่ได้ตัวหญิงคนนั้น เลยเอาแม่สื่อนั้นเองเป็นภรรยา หรือผู้หญิงทำทีรับอาสาไปติดต่อหญิงคนใดคนหนึ่งให้แก่ชาย แต่ในที่สุดก็เอาตัวเองเข้าพัวพันจนได้ชายคนนั้นเป็นสามี. |
ว่าความ | ก. ดำเนินคดีหรือต่อสู้คดีในศาลอย่างทนายความ เช่น ทำคำฟ้อง คำให้การ ซักถามพยาน |
ส่งเสีย | ก. ให้การอุดหนุน, เกื้อกูล, เช่น ส่งเสียลูกเรียนหนังสือ. |
สถาบันอุดมศึกษาเอกชน | น. สถานศึกษาของเอกชนที่ให้การศึกษาระดับปริญญาแก่บุคคลตั้งแต่หนึ่งคนขึ้นไป. |
สอบปากคำ | ก. ซักถามเพื่อให้บุคคลให้การโดยพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ เช่น สอบปากคำพยาน สอบปากคำผู้ต้องหา, กฎหมายใช้ว่า ถามปากคำ. |
สิทธิการิยะ | คำขึ้นต้นในตำราโบราณ เช่น ตำรายา ตำราหมอดู หรือคาถาเมตตามหานิยม เป็นการอธิษฐานขอให้การกระทำนั้น ๆ ประสบความสำเร็จ. |
ให้สัตยาบัน | ก. ให้การรับรองสิ่งที่ได้กระทำไปแล้ว. |
อ้าย ๒ | น. คำประกอบคำอื่นบอกให้รู้ว่าเป็นเพศชายหรือสัตว์ตัวผู้ เช่น อ้ายหนุ่ม อ้ายด่าง, คำประกอบหน้าชื่อผู้ชายที่มีฐานะตํ่ากว่า อย่างนายเรียกคนใช้, คำประกอบหน้าชื่อเพื่อนฝูงแสดงว่ามีความสนิทสนมมาก มักใช้กันในหมู่เด็กผู้ชาย, คำใช้ประกอบหน้าชื่อผู้ชายแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยาม, คำประกอบคำบางคำที่ผู้ใหญ่ใช้เรียกเด็กผู้ชายหรือผู้ชายที่อายุน้อยกว่ามากด้วยความเอ็นดูหรือสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น อ้ายหนู อ้ายน้องชาย, คำประกอบหน้าคำบางคำเพื่อเน้น เช่น อ้ายเราก็ไม่ดี อ้ายจะไปก็ไม่มีที่จะไป อ้ายจะอยู่หรือก็คับใจ, คำประกอบหน้าชื่อสัตว์บางชนิดโดยไม่เน้นเพศ เช่น อ้ายเหลือม อ้ายทุย, คำประกอบหน้าคำบางคำเพื่อเน้นในเชิงบริภาษ เช่น อ้ายทึ่ม อ้ายโง่ อ้ายควาย, คำใช้แทนสิ่งที่กล่าวถึงและเป็นที่เข้าใจกัน เช่น อ้ายนั่น อ้ายนี่, เขียนเป็น ไอ้ ก็มี, (โบ) คำนำหน้าชื่อผู้ชาย มักใช้ในทางไม่ดี เช่น อ้ายดีผู้ร้ายรับเปนสัจให้การซัดพวกเพื่อนถึงอ้ายเชด อ้ายแสน อ้ายคง อ้ายมั้น (สามดวง). |
อำนาจ | พลังบังคับให้การเป็นไปหรือไม่เป็นไป หรือให้ต้องปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใด หรือส่งผลให้เกิดสิ่งหนึ่งสิ่งใด เช่น อำนาจบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย อำนาจบังคับบัญชา. |
previous statement | คำให้การครั้งก่อน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
plea | คำให้การแก้ฟ้อง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
plead | ให้การ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
plead guilty | ให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิด [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
pleading | คำคู่ความ, คำให้การ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
pleading in the alternative | คำให้การภาคเสธ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
plene administravit (L.) | คำให้การแก้ฟ้องโดยผู้จัดการมรดก [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
responsive pleading | คำให้การแก้คดี [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
rejoinder | คำให้การต่อสู้คดี [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
right of accused to silence | สิทธิของผู้ต้องหาที่จะไม่ให้การ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
replication | คำให้การ (ของโจทก์) แก้ฟ้องแย้ง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
reply | คำให้การแก้ฟ้อง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
recant | กลับคำให้การ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
self-incrimination | การกระทำที่อาจทำให้ตนต้องรับผิดทางอาญา, คำให้การที่อาจทำให้ตนต้องรับผิดทางอาญา [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
silence, right of accused to | สิทธิของผู้ต้องหาที่จะไม่ให้การ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
supplementary pleading | คำให้การเพิ่มเติม, คำคู่ความเพิ่มเติม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
sham pleading | คำคู่ความลวง, คำให้การตบตา [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
statement of defence | คำให้การต่อสู้คดี [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
attest | เป็นพยาน, ให้การเป็นพยาน, ลงชื่อเป็นพยาน, รับรองความถูกต้อง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
affidavit | คำให้การที่เป็นลายลักษณ์อักษรโดยมีการสาบาน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
alternative, pleading in the | คำให้การภาคเสธ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
answers | คำให้การ, คำให้การแก้ฟ้อง (ป. วิ. แพ่ง) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
compellability of witness | การมีอำนาจบังคับให้พยานให้การ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
close of pleadings | สิ้นกำหนดยื่นคำให้การเป็นลายลักษณ์อักษร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
default of answer | ขาดนัดยื่นคำให้การ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
dying declaration; death-bed declaration | คำให้การขณะใกล้ตาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
death-bed declaration; dying declaration | คำให้การขณะใกล้ตาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
depose | ๑. ถอดถอน, ขับออกจากตำแหน่ง (ก. ปกครอง)๒. ให้การ (ก. วิ.) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
decree absolute | คำสั่งเด็ดขาดของศาลให้การสมรสสิ้นสุดลง (ก. อังกฤษ) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
decree nisi | คำสั่งเฉพาะกาลของศาลให้การสมรสสิ้นสุดลง (ก. อังกฤษ) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
defence | ๑. การป้องกัน (ก. อาญา และ ก. ปกครอง)๒. การกระทำเพื่อป้องกัน (ก. อาญา)๓. ข้อต่อสู้ (ก. แพ่ง)๔. คำให้การต่อสู้คดี (ป. วิ. แพ่ง) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
deponent | ผู้ให้การเป็นพยาน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
dilatory plea | คำให้การแก้ฟ้องเพื่อประวิงเวลา [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
deposition | ๑. การให้พ้นจากตำแหน่ง๒. การให้การของพยาน, คำให้การ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
depostition | การให้การของพยาน, คำให้การ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
give evidence | ให้การเป็นพยาน, เบิกความ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
give false information | ให้การเท็จ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
guilty, plead | ให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิด [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
failure to testify | การที่จำเลยไม่ยอมให้การ (ในคดีอาญา) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
frivolous pleading | คำให้การที่ไร้สาระ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
expert evidence; expert testimony | คำให้การของพยานผู้เชี่ยวชาญ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
expert testimony; expert evidence | คำให้การของพยานผู้เชี่ยวชาญ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
incrimination, self- | การกระทำที่อาจทำให้ตนต้องรับผิดทางอาญา, คำให้การที่อาจทำให้ตนต้องรับผิดทางอาญา [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
voluntary statement | การให้ถ้อยคำโดยสมัครใจ, การให้การโดยสมัครใจ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
transcript | ๑. บทสำเนา, ใบสำเนา, ใบแสดงผลการศึกษา๒. คำให้การของพยาน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
testify | ให้การเป็นพยาน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
testimony | คำให้การ (ของพยาน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
no case to answer | ไม่มีประเด็นที่จะต้องให้การแก้ฟ้อง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
nurse | ๑. พยาบาล, ผู้พยาบาล, ผู้ดูแลรักษา๒. ให้การพยาบาล๓. ให้นมเด็ก (จากเต้านม) [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
witness against oneself | ให้การปรักปรำตนเอง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
Poison | สารพอยซัน(ต่อปฏิกิริยานิวเคลียร์), วัสดุใดๆ ที่มีภาคตัดขวางการดูดกลืนนิวตรอนสูง ซึ่งจะดูดกลืนนิวตรอนบางส่วนจากปฏิกิริยาลูกโซ่การแบ่งแยกนิวเคลียสในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เป็นผลให้การเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ลดลง [นิวเคลียร์] |
Simulation | การจำลองแบบเสมือน, เป็นการจำลองสถานการณ์โดยใช้สูตรคณิตศาสตร์ สถิติและแคลคูลัส เพื่อให้การคำนวณในสิ่งที่ศึกษามีผลลัพท์ตรงกับหรือใกล้เคียงกับสภาพจริง [Assistive Technology] |
Caregivers | ผู้ให้การดูแล [TU Subject Heading] |
Community education | การให้การศึกษาชุมชน [TU Subject Heading] |
Dying declarations | คำให้การขณะใกล้ตาย [TU Subject Heading] |
Oral pleading | คำให้การด้วยวาจา [TU Subject Heading] |
Patient education | การให้การศึกษาผู้ป่วย [TU Subject Heading] |
Perjury | ความผิดฐานให้การเท็จ [TU Subject Heading] |
Pleading (Criminal procedure) | คำให้การ (วิธีพิจารณาความอาญา) [TU Subject Heading] |
Pleas (Criminal procedure) | คำให้การแก้ฟ้อง (วิธีพิจารณาความอาญา) [TU Subject Heading] |
Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy | ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี ? เจ้าพระยา ? แม่โขง ACMECS หรือชื่อเดิม ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า และไทย (ECS : Economic Cooperation Strategy among Cambodia, Lao PDR, Myanmar and Thailand) คือ กรอบความร่วมมือระหว่าง 5 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม ACMECS เป็นแนวคิดที่ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้หยิบยกขึ้นหารือกับผู้นำกัมพูชา ลาว และพม่า ในช่วงการประชุมผู้นำอาเซียนสมัยพิเศษว่าด้วยโรค SARS เมื่อ 29 เมษายน 2546 ที่กรุงเทพฯ และได้มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วต่อเนื่องจนถึงการประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 1 ที่เมืองพุกาม สหภาพพม่า เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2546 โดยผู้นำทั้ง 4 ประเทศร่วมกันออกปฏิญญาพุกาม (Bagan Declaration) รวมทั้งแผนปฏิบัติการ (Plan of Action) ครอบคลุมความร่วมมือ 5 สาขา ได้แก่ การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการ ลงทุน ความร่วมมือทางด้านเกษตรและอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บนหลักการที่เน้นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและยกระดับความ เป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งเปิดกว้างให้นานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศได้มีส่วนร่วมเป็น หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Development Partner) ในโครงการต่างๆ ของ ACMECS ด้วย * เวียดนามร่วมเป็นสมาชิก ACMECS เมื่อ 10 พฤษภาคม 2547 สถานะล่าสุด ระหว่างวันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2547 ที่จังหวัดกระบี่ ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสสมัยพิเศษและการประชุม รัฐมนตรี ACMECS อย่างไม่เป็นทางการ รวมทั้งการประชุมร่วมกับ Development Partners (ผู้แทนจากออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย) ซึ่งการประชุมประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง สมาชิก ACMECS ทั้ง 5 ประเทศได้ร่วมกันแสดงความเป็น เอกภาพ โดยยืนยันเจตนารมณ์ที่จะดำเนินการตามกรอบความร่วมมือ ACMECS อย่าง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันต่อผู้แทนของ Development Partners รวมทั้งมีการหารือถึงความคืบหน้าของการดำเนินโครงการระหว่างกันอย่างเป็น รูปธรรม นอกจากนี้ ยังสามารถมีข้อสรุปที่สำคัญๆ เกี่ยวกับกลไกการประสานงานระหว่างกันซึ่งจะช่วยให้การดำเนินกิจกรรมความร่วม มือของ ACMECS มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป * ไทยมีกำหนดเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 2 ในเดือนธันวาคม 2548 ที่กรุงเทพฯ [การทูต] |
ASEAN Foundation | มูลนิธิอาเซียน จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2540 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการสร้าง จิตสำนึกของความเป็นอาเซียนในหมู่ประชาชน และเพื่อให้การสนับสนุนกิจกรรม/โครงการเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิกอาเซียนอย่างเท่าเทียมกัน มีสำนักงานอยู่ที่กรุงจาการ์ตา [การทูต] |
ASEAN Award | รางวัลอาเซียน " แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทบุคคลและประเภทองค์กร เพื่อ ยกย่องและให้การรับรองผลงานที่มีความโดดเด่นในการส่งเสริมและการพัฒนาความ ร่วมมือในภูมิภาคอาเซียน " [การทูต] |
ASEAN Secretariat | สำนักเลขาธิการอาเซียน " ตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา มีหน้าที่ให้การสนับสนุนงานการประชุม ประสานงาน และเสนอข้อคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ และมีเลขาธิการอาเซียนเป็น หัวหน้าสำนักงาน อยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี ทั้งนี้ นายแผน วรรณเมธี เป็นคนไทยคนเดียวที่เคยดำรงตำแหน่งนี้ ระหว่าง ปี พ.ศ. 2527-2529 " [การทูต] |
Consul | ข้าราชการที่ได้รับแต่งตั้งอย่างถูกต้องและได้รับ มอบหมายให้ไปประจำยังต่างประเทศ เพื่อทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของประเทศทั้งในด้าน พาณิชย์ การเดินเรือ คุ้มครองความเป็นอยู่อันดีของพลเมืองของประเทศตน พร้อมทั้งปฏิบัติหน้าที่บางอย่างด้านธุรการ หรือวางระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ ตลอดจนด้านการเป็นสักขีพยานการลงนามในเอกสาร เพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทางกฎหมาย (Notary) การให้การตรวจลงตรา รวมทั้งการรับรองเอกสารที่แท้จริง (มิใช่เอกสารปลอม) และจัดการการสัตย์สาบานตนหรืออีกนัยหนึ่ง ภาระหน้าที่ของกงสุลอาจแบ่งออกได้เป็น 5 ประการ ดังต่อไปนี้1 ทำหน้าที่ส่งเสริมผลประโยชน์ในทางพาณิชย์ของประเทศที่ตนเป็นผู้แทนอยู่2 ควบคุมดูแลผลประโยชน์ด้านการเดินเรือ3 คุ้มครองผลประโยชน์ของคนชาติของประเทศที่แต่งตั้งให้ตนไปประจำอยู่4 ทำหน้าที่สักขีพยานในการลงนามในเอกสารเพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทาง กฎหมาย5 ทำหน้าที่ธุรการเบ็ดเตล็ดอื่นๆ หรือระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ เช่น การออกหนังสือเดินทาง การให้การตรวจลงตรา (Visas) การจดทะเบียนคนเกิด คนตาย ฯลฯอนุสัญญากรุงเวียนนา ภาคที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลข้อที่ 5 ได้กำหนดภาระหน้าที่ของฝ่ายกงสุลไว้ดังต่อไปนี้ ก. คุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐผู้ส่ง และของคนในชาติของรัฐผู้ส่ง ทั้งเอกชนและบรรษัทในรัฐผู้รับ ภายในขีดจำกัดที่กฎหมายระหว่างประเทศอนุญาตข. เพิ่มพูนการพัฒนาความสัมพันธ์ทางด้านการพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิทยาการ ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ รวมทั้งส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างกันในทางอื่น ตามบทแห่งอนุสัญญานี้ค. สืบเสาะให้แน่โดยวิถีทางทั้งปวงอันชอบด้วยกฎหมายถึงภาวะและความคลี่คลายใน ทางพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและวิทยาการของรัฐผู้รับ แล้วรายงานผลของการนั้นไปยังรัฐบาลของรัฐผู้ส่ง และให้ข้อสนเทศแก่บุคคลที่สนใจง. ออกหนังสือเดินทางและเอกสารการเดินทางให้แก่คนในชาติของรัฐผู้ส่ง ตรวจลงตราหนังสือเดินทาง หรือออกเอกสารที่เหมาะสมให้แก่บุคคลที่ประสงค์จะเดินทางไปยังรัฐผู้ส่งจ. ช่วยเหลือคนในชาติของรัฐผู้ส่งทั้งเอกชนและบรรษัทฉ. ทำหน้าที่นิติกรและนายทะเบียนราษฎร์ และในฐานะอื่นที่คล้ายคลึงกัน ปฏิบัติการหน้าที่บางประการอันมีสภาพทางธุรการ หากว่าการหน้าที่นั้นไม่ขัดกับกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับช. พิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของผู้เยาว์ และบุคคลไร้ความสามารถ ซึ่งเป็นคนชาติของรัฐผู้ส่ง ภายในขีดจำกัดที่ได้ตั้งบังคับไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ โดยเฉพาะในกรณีที่จำเป็นต้องมีความปกครองหรือภาวะทรัสตีใดๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลเหล่านั้นฌ. แทนคนชาติของรัฐผู้ส่ง หรือจัดให้มีการแทนอย่างเหมาะสมในองค์กรตุลาการ และต่อเจ้าหน้าที่ที่อื่นของรัฐผู้รับ เพื่อความมุ่งประสงค์ที่จะให้ได้มา ซึ่งมาตรการชั่วคราวสำหรับการรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของคนในชาติเหล่านี้ ไว้ตามกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ ในกรณีที่คนในชาติเหล่านี้ไม่สามารถเข้าทำการป้องกันสิทธิและผลประโยชน์ของ ตนในเวลาอันเหมาะสมได้ เพราะเหตุของการไม่อยู่หรือเหตุอื่นใด ทั้งนี้ ให้อยู่ภายในข้อบังคับแห่งทางปฏิบัติ และวิธีดำเนินการซึ่งมีอยู่ในรัฐผู้รับญ. ส่งเอกสารทางศาล หรือเอกสารที่มิใช่ทางศาล หรือปฏิบัติตาม หนังสือของศาลของรัฐผู้ส่งที่ขอให้สืบประเด็น หรือตามการมอบหมายให้สืบพยานให้แก่ศาลของรัฐผู้ส่งนั้น ตามความตกลงระหว่างประเทศที่ใช้บังคับอยู่ หรือเมื่อไม่มีความตกลงระหว่างประเทศเช่นว่านั้น โดยทำนองอื่นใดที่ต้องด้วยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับด. ใช้สิทธิควบคุมดูแลและตรวจพินิจตามที่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมายและข้อบังคับของ รัฐผู้ส่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับเรือที่มีสัญชาติของของรัฐผู้ส่ง หรืออากาศยานที่จดทะเบียนในรัฐนั้น รวมทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับลูกเรือของเรือและอากาศยานดังกล่าวต. ให้ความช่วยเหลือแก่เรือและอากาศยานที่ระบุไว้ในอนุวรรค (ด) ของข้อนี้ รวมทั้งลูกเรือของเรือและอากาศยานนั้น บันทึกถ้อยคำเกี่ยวกับการเดินทางของเรือ ตรวจดูและประทับตรากระดาษเอกสารของเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใด ๆ ที่ได้เกิดขึ้นในระหว่างนายเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใดๆ ที่ได้เกิดขั้นในระหว่างนายเรือ เจ้าพนักงาน และกะลาสี ตราบเท่าที่การนี้อาจได้อนุมัติไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้ส่ง ทั้งนี้ จะต้องไม่เป็นการเสื่อมเสียแก่อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับถ. ปฏิบัติการหน้าที่อื่นใดที่รัฐผู้ส่งมอบหมายแก่สถานีทำการทางกงสุล ซึ่งมิได้ต้องห้ามโดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ หรือซึ่งไม่มีการแสดงข้อคัดค้านโดยรัฐผู้รับ หรือซึ่งมีอ้างถึงไว้ในความตกลงระหว่างประเทศ ที่ใช้บังคับอยู่ระหว่างรัฐผู้ส่งและรัฐผู้รับ [การทูต] |
Exemption from Customs Duties and Inspection of Diplomatic Mission?s Articles | การยกเว้นจากอากรศุลกากร และการตรวจสิ่งของเครื่องใช้ของคณะผู้แทนทางการทูต การยกเว้นดังกล่าวนี้ไม่ถือว่าเป็นสิทธิ แต่เป็นเรื่องของการแสดงอัธยาศัยไมตรีระหว่งประเทศที่ให้ต่อกันมากกว่า กฎหมายระหว่างประเทศก็มิได้กำหนดพันธะที่จะต้องให้การยกเว้นจากอากรศุลกากร อย่างไรก็ดี รัฐส่วนมากได้แสดงอัธยาศัยไมตรีโดยให้ผู้แทนทางการทูตได้รับการยกเว้นอากร ศุลกากรแก่สินค้าและเครื่องใช้ที่นำเข้ามาใช้ในส่วนตัวเองอนุสัญญากรุง เวียนนาได้ระบุไว้ในมาตรที่ 36 ว่า1. รัฐผู้รับจะอนุญาตให้นำเข้าและอำนวยให้มีการยกเว้นจากอากรศุลกากร ภาษี ตลอดจนค่าภาระที่เกี่ยวข้องทั้งมวล นอกจากค่าภาระในการเก็บรักษา การขนส่งและบริการ ให้ทำนองเดียวกันตามกฎหมายหรือข้อบังคับ ซึ่งรัฐผู้รับอาจกำหนดไว้แก่ก. สิ่งของสำหรับใช้ในทางการของคณะผู้แทนข. สิ่งของสำหรับใช้ส่วนบุคคลของตัวแทนทางการทูต หรือคนในครอบครัวของตัวแทนทางการทูต ซึ่งประกอบเป็นส่วนครัวเรือนของตัวแทนทางการทูต รวมทั้งสิ่งของที่แสดงเจตนาสำหรับการตั้งถิ่นฐานของตัวแทนทางการทูตด้วย2. หีบห่อส่วนบุคคลของตัวแทนทางการทูต ให้ได้รับยกเว้นจากการตรวจตรา นอกจากมีมูลเหตุอันร้ายแรงที่ทำให้สันนิษฐานได้ว่า หีบห่อส่วนตัวนั้นบรรจุสิ่งของซึ่งไม่อยู่ในข่ายแห่งการยกเว้นที่ได้ระบุไว้ ในวรรค 1 ของข้อนี้ หรือสิ่งของซึ่งการนำเข้าหรือส่งออกนั้นต้องห้ามทางกฎหมาย หรือถูกควบคุมตามข้อบังคับว่าด้วยการกักตรวจโรคของรัฐผู้รับ การตรวจตราเช่นว่านี้ให้กระทำต่อหน้าตัวแทนทางการทูต หรือต่อหน้าผู้แทนที่ได้รับมอบอำนาจของตัวแทนทางการทูตเท่านั้น [การทูต] |
Immunity from Jurisdiction of Diplomatic Agents | ความคุ้มกันจากอำนาจศาลของตัวแทนทางการทูต ในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในมาตรา 31 ว่า?1. ให้ตัวแทนทางการทูตได้อุปโภคความคุ้มกันจากอำนาจศาลทางอาญาของรัฐผู้รับ ตัวแทนทางการทูตยังจะได้อุปโภคความคุ้มกันจากอำนาจศาลทางแพ่ง และทางการปกครองของรัฐผู้รับด้วย เว้นแต่ในกรณีของก) การดำเนินคดีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ส่วนตัว ที่ตั้งอยู่ในอาณาเขตของรัฐผู้รับนอกจากตัวแทนทางการทูตครอบครองไว้ในนามของ รัฐผู้ส่งเพื่อความมุ่งประสงค์ของคณะผู้แทนข) การดำเนินคดีเกี่ยวกับการสืบมรดกซึ่งเกี่ยวพันถึงตัวแทนทางการทูตในฐานะผู้ จัดการมรดกโดยพินัยกรรม ผู้จัดการมรดกโดยศาลตั้งทายาท หรือผู้รับมรดกในฐานะเอกชน และมิใช่ในนามของรัฐผู้ส่งค) การดำเนินคดีเกี่ยวกับกิจกรรมใดในทางวิชาชีพ หรือพาณิชย์ ซึ่งตัวแทนทางการทูตได้กระทำในรัฐผู้รับ นอกเหนือจากการหน้าที่ทางการของตน 2. ตัวแทนทางการทูตไม่จำเป็นต้องให้การในฐานะพยาน 3. มาตรการบังคับคดี ไม่อาจดำเนินได้ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวแทนทางการทูต เว้นแต่ในกรณีซึ่งอยู่ภายใต้อนุวรรค (ก) (ข) และ (ค) ของวรรค 1 ของข้อนี้ และโดยมีเงื่อนไขว่ามาตรการที่เกี่ยวข้องอาจดำเนินไปได้โดยปราศจากการละเมิด ความละเมิดมิได้ในตัวบุคคลของตัวผู้แทนทางการทูต หรือที่อยู่ของตัวแทนทางการทูต 4. ความคุ้มกันของตัวแทนทางการทูตจากอำนาจศาลของรัฐผู้รับ ไม่ยกเว้นตัวแทนทางการทูตจากอำนาจศาลของรัฐผู้ส่ง?เกี่ยวกับความคุ้มกันตัว แทนทางการทูตจากขอบเขตของอำนาจศาลทางแพ่ง อาจกล่าวได้อย่างกว้างๆ ว่า ตัวแทนทางการทูตนั้นได้รับการยกเว้นจากอำนาจของศาลแพ่งในท้องถิ่นคือตัวแทน ทางการทูตนั้นได้รับการยกเว้นจากอำนาจของศาลแพ่งในท้องถิ่นคือตัวแทนทางการ ทูตจะถูกฟ้องมิได้ และถูกจับกุมมิได้เกี่ยวกับหนี้สิน รวมทั้งทรัพย์สินของเขา เช่น เครื่องเรือน รถยนต์ ม้า และสิ่งอื่นๆ ทำนองนั้นก็จะถูกยืดเพื่อใช้หนี้มิได้ ตัวแทนทางการทูตจะถูกกีดกันมิให้ออกไปจากรัฐผู้รับในฐานะที่ยังมิได้ชดใช้ หนี้สินของเขานั้นก็มิได้เช่นกัน อนึ่ง นักกฎมายบางกลุ่มเห็นว่า ตัวแทนทางการทูตจะถูกหมายศาลเรียกตัว (Subpoenaed) ไม่ได้ หรือแม้แต่ถูกขอร้องให้ไปปรากฎตัวเป็นพยานในศาลแพ่งหรือศาลอาญาก็ไม่ได้ อย่างไรก็ดี ถ้าหากตัวแทนทางการทูตสมัครใจที่จะไปปรากฏตัวเป็นพยานในศาล ก็ย่อมจะทำได้ แต่จะต้องขออนุมัติจากรัฐบาลในประเทศของเขาก่อน [การทูต] |
Inter-Governmental Maritime Consultative Organization | องค์การที่ปรึกษาทางทะเลระหว่างรัฐบาล หมายถึงองค์การที่ปรึกษาเกี่ยวกับการเดินเรือทางทะเล ระหว่างรัฐบาล องค์การนี้มีฐานะเป็นองค์การชำนัญพิเศษแห่งหนึ่งขององค์การสหประชาชาติ ประเทศทั้งหมดรวม 35 ประเทศ ได้ประชุมร่วมกันจัดทำอนุสัญญาขององค์การนี้ขึ้นเป็นครั้งแรก ในการประชุมขององค์การที่ปรึกษาการเดินเรือทางทะเล ณ กรุงเจนีวา เมื่อวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 1948 อนุสัญญามีผลบังคับใช้เมื่อ วันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1958 เมื่อมีประเทศต่าง ๆ รวม 21 ประเทศได้ให้สัตยาบัน ซึ่งในจำนวนนี้ 7 ประเทศเป็นอย่างน้อยจะต้องมีเรือเดินทะเลของตนไม่น้อยกว่า 1 ล้านตัน (Gross tons) วัตถุประสงค์ขององค์การ IMCO คือ1. จัดวางกลไกเพื่อความร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลประเทศสมาชิก ในด้านการวางระเบียบข้อบังคับของราชการ และการปฏิบัติซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องทางวิชาการหรือเทคนิค รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับความปลอดภัยทางทะเล2. สนับสนุนให้มีการยกเลิกการกระทำที่เลือกที่รักมักที่ชัง และข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นของรัฐบาล3. รับพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติในทำนองตั้งข้อจำกัดอย่างไม่ยุติธรรมของบริษัท หรือองค์การเดินเรือทั้งหลาย4. รับพิจารณาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือ ที่องค์การหนึ่งใดหรือองค์การชำนัญพิเศษของสหประชาชาติส่งมาให้พิจารณา 5. จัดให้มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อสนเทศใด ๆ ระหว่างรัฐบาลเกี่ยวกับเรื่องที่องค์การ IMCO กำลังพิจารณาอยู่องค์การนี้ยังจัดให้มีการร่างอนุสัญญาและความตกลงต่าง ๆ รวมทั้งส่งข้อเสนอแนะเหล่านี้ไปให้รัฐบาล และองค์การระหว่างรัฐบาลทั้งหลาย รวมทั้งจัดการประชุมเท่าที่พิจารณาเห็นว่าจำเป็นองค์การนี้ประชุมกันทุกสอง ปี มีหน้าที่วางนโยบายเกี่ยวกับการเดินเรือทางทะเล ระหว่างสมัยประชุมจะมีคณะเจ้าหน้าที่ขององค์การ เรียกว่า คณะมนตรี (Council) ทำหน้าที่บริหารงานในองค์การ คณะมนตรีประกอบด้วยสมาชิก 16 คน ในจำนวนนี้ 8 คน เป็นผู้แทนจากประเทศที่สนใจให้การบริการเกี่ยวกับการเดินเรือระหว่างประเทศ และอีก 8 คนเป็นตัวแทนจากประเทศที่สนใจการค้าทางทะเลระหว่างประเทศ องค์การมีสำนักเลขาธิการ ประกอบด้วยตัวเลขาธิการ เลขานุการคณะกรรมการเกี่ยวกับความปลอดภัยทางทะเล และเจ้าหน้าที่ประจำตามจำนวนที่องค์การต้องการแล้วแต่กรณี สำนักงานใหญ่ขององค์การตั้งอยู่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ [การทูต] |
International Civil Aviation Organization | เรียกโดยย่อว่า ICAO คือองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1947 หลังจากที่ประเทศสมาชิก 28 แห่ง ได้ให้สัตยาบันแก่อนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือน ซึ่งได้ร่างขึ้นโดยที่ประชุมองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศในนครชิคาโก เมื่อปี ค.ศ.1944วัตถุประสงค์ของ ICAO คือการศึกษาปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการบินพลเรือนระหว่างประเทศ รวมทั้งจัดวางมาตรฐานระหว่างประเทศ และระเบียบข้อบังคับสำหรับการบินพลเรือนองค์การจะพยายามสนับสนุนให้มีการใช้ มาตรการว่าด้วยความปลอดภัย วางระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการปฏิบัติให้เสมอเหมือนกันหมด และให้ใช้วิธีปฏิบัติที่สะดวกง่ายขึ้นตรงพรมแดนระหว่างประเทศ องค์การจะส่งเสริมการใช้วิธีการทางเทคนิคและอุปกรณ์เครื่องมือใหม่ ๆ ดังนั้น ด้วยความร่วมมือจากประเทศสมาชิก องค์การจะจัดวางแนวบริการทางอุตุนิยมวิทยา การควบคุมการจราจรทางอากาศ การคมนาคมสื่อสารไฟสัญญาณด้านวิทยุ จัดระเบียบการค้นหาและช่วยเหลือ รวมทั้งอุปกรณ์ความสะดวกอื่น ๆ ซึ่งจำเป็นที่จะให้การบินระหว่างประเทศได้รับความปลอดภัยยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังชักจูงให้รัฐบาลประเทศสมาชิกวางแนวทางปฏิบัติด้านศุลกากรให้สะดวกง่าย ขึ้น รวมทั้งการตรวจคนเข้าเมือง และระเบียบเกี่ยวกับสาธารณสุขที่ใช้กับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ นอกจากนี้ องค์การยังรับผิดชอบต่องานร่างกฎหมายเกี่ยวกับการบินระหว่างประเทศ ทั้งยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศในด้านเศรษฐกิจมาก มายหลายอย่างองค์การ ICAO ดำเนินงานโดยองค์การต่าง ๆ ดังนี้1. สมัชชา (Assembly) ประกอบด้วยผู้แทนของประเทศสมาชิกทุกประเทศ ทำการประชุมกันปีละครั้ง และจะลงมติเกี่ยวกับมาตรการทางการเงิน และจะรับพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่คณะมนตรีส่งมาให้ดำเนินการ2. คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยผู้แทนจากชาติต่าง ๆ 21 ชาติ ซึ่งสมัชชาเป็นผู้เลือก โดยคำนึงถึงประเทศที่มีความสำคัญในการขนส่งทางอากาศ รวมทั้งประทเศที่มีส่วนเกื้อกูลไม่น้อยในการจัดอำนวยอุปกรณ์ความสะดวกแก่การ เดินอากาศฝ่ายพลเรือนระหว่างประเทศ และจัดให้มีตัวแทนตามจำนวนที่เหมาะสมในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ ๆ ของโลก คณะมนตรีเป็นผู้เลือกตั้งประธาน (President) ขององค์การ3. เลขาธิการ (Secretary-General) ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งคณะเจ้าหน้าที่ขององค์การ [การทูต] |
International Finance Corporation | คือบรรษัทการเงินระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1956 และเริ่มมีฐานะเป็นองค์การชำนัญพิเศษที่มีสัมพันธ์กับองค์การสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1957 แม้บรรษัทจะดำเนินงานใกล้ชิดกับธนาคารโลก แต่ก็มีฐานะเป็นสิ่งที่มีตัวตนทางกฎหมายแยกต่างหาก และมีกองทุนที่แตกต่างจากกองทุนของธนาคารโลกด้วยวัตถุประสงค์ของบรรษัทคือ ส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยสนับสนุนให้การผลิตของวิสาหกิจของเอกชนในประเทศสมาชิกเจริญเติบโตยิ่ง ขึ้น การที่จะกระทำตามวัตถุประสงค์นี้ได้ บรรษัทจะนำเงินไปลงทุนในวิสาหกิจด้านการผลิตฝ่ายเอกชน โดยดำเนินงานร่วมกับเอกชนผู้ลงทุน ทำหน้าที่เป็นสำนักหักบัญชี (Clearing House) คล้ายกับเป็นแหล่งรวมโอกาสต่าง ๆ ของการลงทุนฝ่ายเอกชนทั้งจากต่างประเทศและในประเทศ รวมทั้งฝ่ายจัดการที่มีประสบการณ์ชำนาญ นอกจากนั้น ยังช่วยกระตุ้นการลงทุนด้านการผลิตของเอกชนทั้งภายในและต่างประเทศด้วย บรรษัทยังได้รับอนุญาตให้ทำการกู้ยืมเงินโดยใช้วิธีขายพันธบัตรของตนเอง รวมทั้งตั๋วสัญญาการใช้เงินบรรษัทการเงินระหว่างประเทศดำเนินงานโดยองค์กร ต่าง ๆ ของตน คืออำนาจทั้งหมดของบรรษัทจะขึ้นอยู่กับคณะผู้ว่าการ (Board of Govemors) ประกอบด้วยผู้ว่าการและผู้ว่าการสำรอง (Altemates) จากธนาคารโลกซึ่งเป็นตัวแทนของประเทศต่าง ๆ อันเป็นสมาชิกของบรรษัทด้วย คณะผู้ว่าการจะคอยควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของบรรษัทให้ถูกต้อง ตัวประธานธนาคารโลก จะทำหน้าที่เป็นประธานคณะผู้ว่าการของบรรษัทโดยตำแหน่งด้วย บรรษัทมีสำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตันดีซี [การทูต] |
Plan Puebla-Panama | สมาชิก เม็กซิโก เบลิซ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส เอลซัลวาดอร์ นิการากัว คอสตาริกา และปานามา วัตถุประสงค์ ริเริ่มโดยประธานาธิบดี Vicente Fox ของเม็กซิโก เมื่อปี พ.ศ. 2543 เพื่อแสวงหาความร่วมมือและให้การสนับสนุนด้านเงินทุนแก่ประเทศภูมิภาค อเมริกากลางในการเชื่อมโยงเครือข่ายคมนาคมและสาธารณูปโภค เช่น ถนน สายส่งไฟฟ้า ท่อก๊าซ ฯลฯ ทั้งนี้ เพื่อกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจจากเม็กซิโกลงไปยังประเทศทางตอนใต้ ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศร่วมกัน และเพื่อแก้ไขปัญหาการอพยพของแรงงานผิดกฎหมายจากประเทศในแถบอเมริกากลางเข้า สู่เม็กซิโก หมายเหตุ Puebla เป็นชื่อเมืองทางตะวันตกเฉียงใต้ของเม็กซิโก และเป็นจุดเริ่มต้นโครงการ ซึ่งสิ้นสุดที่ปานามา [การทูต] |
remain open to all states for signature and acceptance | เปิดให้รัฐทั้งปวงลงนามและให้การยอมรับ [การทูต] |
Social Safety Nets | โครงข่ายรองรับทางสังคม หมายถึง มาตรการในการให้ความช่วยเหลือทางสังคมแก่ประชาชนเพื่อบรรเทาภาวะวิกฤตต่าง ๆ อาทิ ปัญหาการว่างงาน ปัญหาความยากจน และการส่งเสริมผู้ด้อยโอกาสทางสังคม เป็นต้น ด้วยการดำเนินนโยบายระยะสั้นในการสร้างงาน การให้การฝึกอบรมวิชาชีพใหม่ และอื่น ๆ อันจะนำไปสู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่องในระยะยาวและการพัฒนา สังคมอย่างรอบด้านในภาพรวม [การทูต] |
Special and Differential Treatment (S and D) | การประติบัติแบบพิเศษและแตกต่าง " ในความตกลงต่าง ๆ ของ WTO จะมีข้อบทเกี่ยวกับการให้การปฏิบัติเป็นพิเศษและแตกต่างแก่สมาชิกที่เป็น ประเทศกำลังพัฒนา ข้อบท ดังกล่าวอาจแบ่งกว้าง ๆ ได้เป็น 3 ลักษณะ คือ (1) ข้อบทที่กำหนดให้ประเทศพัฒนาแล้วต้องดำเนินมาตรการเพื่อช่วยอำนวยความสะดวก ทางการค้าแก่ประเทศเหล่านี้ (2) ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติตามพันธะกรณีในความตกลงต่าง ๆ อาทิ ระยะเวลาปรับตัวที่นานกว่าหรือระดับการเปิดตลาดที่น้อยกว่าประเทศพัฒนาแล้ว (3) การให้ความช่วยเหลือทางวิชาการเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะแก่ประเทศเหล่านี้ " [การทูต] |
Universal Declaration of Human Rights | ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เป็นเอกสารหลักด้านสิทธิมนุษยชนฉบับแรก ซึ่งที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติให้การรับรองตามข้อมติที่ 217 A (III) เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2491 โดยไทยออกเสียงสนับสนุน [การทูต] |
Visa | การตรวจลงตรา กล่าวคือ เป็นเครื่องหมายแสดงการรับรองที่ประทับอยู่ในหนังสือเดินทางว่า หนังสือเดินทางฉบับนั้นได้รับการตรวจตราแล้ว ในกรณีที่ผู้ถือหนังสือดังกล่าวยื่นขอเดินทางเข้าไปในประเทศที่ให้การตรวจลง ตรา และทุกอย่างถูกต้องจึงให้ผู้นั้นเดินทางไปยังประเทศดังกล่าวได้อนุสัญญากรุง เวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลได้บัญญัติไว้ในข้อ 5 ของวรรค D ว่า หน้าที่ทางกงสุลข้อหนึ่งคือ ?ออกหนังสือเดินทางและเอกสารเดินทางให้แก่คนชาติของรัฐผู้ส่ง และตรวจลงตราหนังสือเดินทาง หรือออกเอกสารที่เหมาะสมให้แก่บุคคลที่ประสงค์จะเดินทางไปยังรัฐผู้ส่ง?พึง เข้าใจว่า แม้หนังสือเดินทางจะได้รับการตรวจลงตราแล้วก็ตาม ก็มิได้เป็นการประกันร้อยเปอร์เซ็นต์ว่า ผู้ถือหนังสือนั้นจะได้รับการยินยอมให้เดินทางเข้าไปในรัฐที่ให้การตรวจลง ตรา คือ เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองในรัฐนั้นอาจห้ามมิให้เข้าประเทศได้ ทั้ง ๆ ที่ได้รับการตรวจตราแล้วก็ตาม แต่การกระทำเช่นนี้เป็นกรณีที่เกิดขึ้นน้อยมากการตรวจลงตราหรือวีซ่านั้น แบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 3 ประเภท คือ1) การตรวจลงตราทางการทูต ซึ่งออกให้แก่บุคคลในคณะทูตและกงสุล รวมทั้งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของต่างประเทศ2) การตรวจลงตราทางราชการ ออกให้แก่ข้าราชการที่ไม่รวมอยู่ในประเภทที่ 1) ซึ่งจะเดินทางไปธุระราชการ และ3) การตรวจลงตราธรรมดา ออกให้แก่บุคคลทั่วไปที่มีคุณสมบัติเหมาะสม และไม่รวมอยู่ในประเภทที่ 1) และ 2) มีหลายประเทศได้ให้การตรวจลงตราชั่วคราว การตรวจลงตราสำหรับลูกเรือเดินทะเล การตรวจลงตราสำหรับพ่อค้าต่างประเทศ การตรวจลงตราสำหรับนักศึกษา และการตรวจลงตราสำหรับผู้อพยพลี้ภัย เป็นต้น [การทูต] |
Work of the United Nations for the Independence of Colonial Peoples | งานขององค์การสหประชาชาติ ในการช่วยให้ชาติอาณานิคมทั้งหลายได้รับความเป็นเอกราช นับตั้งแต่เริ่มตั้งองค์การสหประชาชาติเมื่อปี ค.ศ.1945 เป็นต้นมา มีชนชาติของดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเอง รวมทั้งดินแดนในภาวะทรัสตีตามส่วนต่าง ๆ ของโลก ได้รับความเป็นเอกราชไปแล้วไม่น้อยกว่า 170 ล้านคน ดินแดนที่แต่ก่อนยังไม่มีฐานะปกครองตนเองราว 50 แห่งได้กลายฐานะเป็นรัฐเอกราช มีอธิปไตยไปแล้ว ขณะนี้ยังเหลือดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเองอีกไม่มาก กำลังจะได้รับฐานะเป็นประเทศเอกราชต่อไปแม้ว่าปัจจัยสำคัญที่สุดซึ่งทำให้ เกิดวิวัฒนาการอันมีความสำคคัญทางประวัติศาสตร์ จะได้แก่ความปรารถนาอย่างแรงกล้าของประชาชนในดินแดนเมืองขึ้นทั้งหลาย แต่องค์การสหประชาชาติก็ได้แสดงบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนชนชาติ ที่ยังมิได้เป็นเอกราช และชาติที่ยังปกครองดินแดนเหล่านั้นอยู่ ให้รีบเร่งที่จะให้ชาชาติในดินแดนเหล่านั้นได้รับฐานะเป็นเอกราชโดยเร็วที่ สุดเท่าที่จะเป็นไปได้การที่องค์การสหประชาชาติมีบทบาทหน้าที่ดังกล่าวเพราะ ถือตามหลักแห่งความเชื่อศรัทธาที่ว่า มนุษย์ไม่ว่าชายหรือหญิง และชาติทั้งหลายไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก ย่อมมีสิทธิเท่าเทียมกัน และได้ยืนยันความตั้งใจอันแน่วแน่ของประเทศสมาชิกที่จะใช้กลไกระหว่างประเทศ ส่งเสริมให้ชนชาติทั้งหลายในโลกได้ประสบความก้าวหน้าทั้งในทางเศรษฐกิจและ สังคมนอกจากนั้น เพื่อเร่งรัดให้ชนชาติที่ยังอยูใต้การปกครองแบบอาณานิคมได้ก้าวหน้าไปสู่ เอกราช สมัชชาของสหประชาชาติ (General Assembly of the United Nations) ก็ได้ออกปฏิญญา (Declaration) เกี่ยวกับการให้ความเป็นเอกราชแก่ประเทศและชนชาติอาณานิคม เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1960 ซึ่งในปฏิญญานั้น ได้ประกาศยืนยันความจำเป็นที่จะให้ลัทธิอาณานิคมไม่ว่าในรูปใด สิ้นสุดลงโดยเร็วและปราศจากเงื่อนไขใด ๆ สมัชชายังได้ประกาศด้วยว่า การที่บังคับชนชาติอื่นให้ตกอยู่ใต้อำนาจการปกครอง แล้วเรียกร้องประโยชน์จากชนชาติเหล่านั้น ถือว่าเป็นการปฏิเสธไม่ยอมรับสิทธิมนุษยชนขั้นมูลฐาน เป็นการขัดกับกฎบัตรของสหประชาชาติ เป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมสันติภาพและความร่วมมือของโลกสมัชชาสหประชาชาติ ยังได้ประกาศต่อไปว่า จะต้องมีการดำเนินการโดยด่วนที่สุด โดยไม่มีเงื่อนไขหรือข้อสงวนใด ๆ ตามเจตนารมณ์ ซึ่งแสดงออกอย่างเสรี โดยไม่จำกัดความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ หลักความเชื่อถือ หรือผิว เพื่อให้ดินแดนทั้งหลายที่ยังไม่ได้มีการปกครองของตนเองเหล่านั้นได้รับความ เป็นเอกราชและอิสรภาพโดยสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1961 สมัชชาสหประชาชาติก็ได้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อตรวจดูและให้มีการปฏิบัติให้เป็นตามคำปฏิญญาของสหประชาชาติ และถึงสิ้นปี ค.ศ. 1962 คณะกรรมการดังกล่าวได้ประชุมกันหลายต่อหลายครั้งทั้งในและนอกสำนักงานใหญ่ ขององค์การสหประชาชาติ แล้วรวบรวมเรื่องราวหลักฐานจากบรรดาตัวแทนของพรรคการเมืองทั้งหลาย จากดินแดนที่ยังไม่ได้รับการปกครองตนเอง แล้วคณะกรรมการได้ตั้งข้อเสนอแนะต่าง ๆ โดยมุ่งจะเร่งรัดให้การปกครองอาณานิคมสิ้นสุดลงโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ [การทูต] |
Arthrokatadysis | เบ้าข้อตะโพกลึกเป็นเหตุให้การเคลื่อนไหวน้อยลง [การแพทย์] |
Education | การเรียนรู้, การศึกษา, การให้การศึกษา [การแพทย์] |
Education Treatment | การให้การศึกษา [การแพทย์] |
Educational Prescription Date | วันที่สั่งให้การศึกษา [การแพทย์] |
Educational Prescription Number | ใบสั่งการให้การศึกษาหมายเลข [การแพทย์] |
Educational Prescriptions | ใบสั่งการให้การศึกษา [การแพทย์] |
Father Class | ให้การศึกษาและแนะแนวสำหรับผู้เป็นบิดา [การแพทย์] |
Formal And Informal Channels | การให้การศึกษาอย่างเป็นทางการและอย่างไม่เป็นทาง [การแพทย์] |
ความผิดปกติทางจิต | ความผิดปกติทางจิต, อาการที่แสดงออกที่ผิดแปลก ทำให้การปรับตัวหรือสัมพันธภาพหรือความรับผิดชอบหรือชีวิตประจำวันที่เคยมี เสียไป หรือแตกต่างจากคนทั่วไปอย่างผิดปกติ ซึ่งสามารถแสดงออกหลายด้านไล่เรียงตั้งแต่สิ่งที่สังเกตยากที่สุด คือ ความคิด ความรู้สึก การรับรู้ อารมณ์ หรือพฤติกรรม [สุขภาพจิต] |
phamacogenomics | phamacogenomics, เป้าหมายของศาสตร์นี้คือการใช้ข้อมูลด้านพันธุกรรมเพื่อการวินิจฉัยโรค ช่วยในการทำนายความเสี่ยงการเกิดโรคในแต่ละบุคคล และทำให้แพทย์สามารถให้การรักษาผู้ป่วยแต่ละรายได้อย่างเหมาะสม เช่น การกำหนดชนิดและปริมาณยา ตามลักษณะทางพันธุกรรมของผู้ป่วย [ชีวจริยธรรม] |
collision | การชนกัน, การชน, 1. คอมพิวเตอร์ : เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระบบเครือข่ายที่มีการส่งข้อมูลในจังหวะเวลาและช่องทางเดียวกัน พร้อมกัน ทำให้การรับข้อมูลนั้นมีการตีความผิดพลาด 2. ฟิสิกส์ : การกระทำต่อกันและกันระหว่างวัตถุ อะตอม หรือโมเลกุล เมื่อเคลื่อนที่เข้าใกล้กันหรือกระทบกันในช่ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
flywheel | ล้อตุนกำลัง, แผ่นโลหะกลมที่ยึดติดอยู่กับเพลาของเครื่องกล ช่วยทำให้การหมุนของเครื่องกลเป็นไปอย่างสม่ำเสมอไม่กระตุก [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
calciferol [ viasterol ] | แคลซิเฟอรอล, วิตามิน D2 สูตรเคมีคือ C28H43OH เป็นสารพวกสเตอรอยด์ ละลายได้ในไขมันหรือตัวทำละลายไขมัน ถ้าร่างกายขาดวิตามินนี้ ทำให้การดูดซึมแคลเซียมจากลำไส้ไปสร้างกระดูกและฟันบกพร่องและเกิดโรคกระดูกอ่อน ฟันผุ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Creative Commons (CC) | ครีเอทีฟคอมมอนส์, องค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้การใช้และเผยแพร่สื่อต่างๆ มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ทำให้การใช้สื่อมีอิสระโดยยังคงรักษาสิทธิ์ของเจ้าของผลงาน บุคคลอื่นสามารถใช้และเผยแพร่สื่อได้ตามเงื่อนไขที่เจ้าของผลงานกำหนด เช่น ต้องระบุที่มาของสื่อ (Attribution :by) ห้ามใช้ท [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
constraint | ปัจจัยที่ขัดขวางต่อเทคโนโลยี, สิ่งที่ทำให้การทำงานของระบบเทคโนโลยีเกิดการติดขัด หรือสิ่งที่จำกัดขอบเขตการทำงาน ทำให้ไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ เช่น ข้อจำกัดด้านเงินทุน เวลา ความรู้ กฎข้อบังคับ สภาพอากาศ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Medical Treatment | การรักษาโรค, การให้การรักษาทางด้านการแพทย์, การรักษาทางแพทย์ [การแพทย์] |
Mother Class | ให้การศึกษาและแนะแนวแก่ผู้ที่กำลังจะเป็นมารดา, การอบรมผู้ที่จะเป็นมารดา [การแพทย์] |
accredit | (vt) ให้การยอมรับนับถือ, See also: ให้เกียรติว่า |
advocate | (n) ผู้ให้การสนับสนุน, See also: ผู้ให้ความช่วยเหลือ, Syn. supporter, backer |
affidavit | (n) คำให้การที่เป็นลายลักษณ์อักษร |
bring up | (phrv) เลี้ยงดู, See also: ให้การศึกษา, Syn. drag up, fetch up |
civilise | (vt) ทำให้มีความศิวิไลซ์, See also: ให้การศึกษาจนมีการพัฒนาทางวัฒนธรรม, Syn. civilize, cultivate |
civilize | (vt) ทำให้มีความศิวิไลซ์, See also: ให้การศึกษาจนมีการพัฒนาทางวัฒนธรรม, Syn. civilise, cultivate |
cultivate | (vt) ฝึกฝน, See also: ให้การศึกษา, ปลูกฝัง, Syn. nurture, educate, teach |
depose to | (phrv) ให้การเป็นพยานในเรื่อง |
declaration | (n) การยืนยัน, See also: คำยืนยัน, การลงนามเป็นพยาน, คำให้การ, หลักฐาน, Syn. affirmance, affirmation, assertion, attestation, deposition, statement, testimony, avowal, Ant. denial, disavowal, negation |
defense | (n) คำให้การ, See also: คำแก้ตัว, คำอ้างเหตุผล, คำแก้ต่าง, การแสดงหลักฐาน, หลักฐาน, การเป็นพยาน, Syn. argument, excuse, justification |
deposition | (n) คำให้การของพยาน, Syn. legal evidence |
educable | (n) ให้การศึกษาได้, See also: สอนให้ |
educated | (vt) ให้การศึกษา, See also: สั่งสอน, Syn. instruct, teach, train |
endorse | (vt) ให้การรับรองอย่างเป็นทางการ, See also: อนุญาตอย่างเป็นทางการ, Syn. approve, confirm, support, Ant. condemn, denounce |
forswear | (vi) ให้การเท็จ, See also: เบิกความเท็จ, Syn. perjure |
instruct in | (phrv) สอนในเรื่อง, See also: ให้การศึกษา...ในเรื่อง, Syn. educate in |
have | (vt) มีแขก, See also: ให้การต้อนรับแขก |
hospitality | (n) การให้การต้อนรับด้วยความยินดี, See also: การต้อนรับขับสู้, การยินดีรับแขก, Syn. cordiality, friendliness, welcome |
host | (vt) ทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพ, See also: ทำหน้าที่เป็นเจ้าบ้าน, ให้การต้อนรับในฐานะเจ้าบ้าน |
have a foot in both camps | (idm) ให้การสนับสนุนหรือช่วยเหลือทั้งสองฝ่าย |
ineducable | (adj) ซึ่งไม่สามารถให้การศึกษาได้, See also: ซึ่งไม่สามารถให้ความรู้ได้ |
open up | (phrv) ทำให้การพัฒนาเป็นไปได้ |
nurture | (n) การให้การอบรม, See also: การให้การเลี้ยงดู, การอบรมบ่มนิสัย, การเลี้ยงดู, Syn. nutriment, sustenance |
perjure | (vt) ให้การเท็จ, See also: เบิกความเท็จ, Syn. misrepresent, falsify, forswear |
perjury | (n) การให้การเป็นพยานเท็จ, See also: การเบิกความเท็จ, การสาบานเท็จ, Syn. untruthfulness, misrepresentation, Ant. truthfulness |
play through | (phrv) ทำให้การเล่น (ดนตรี, กีฬา) สมบูรณ์ |
receive | (vt) ต้อนรับ, See also: ให้การต้อนรับ, Syn. greet, welcome |
teach | (vt) สอน (วิชา), See also: ให้การศึกษา, Syn. educate, instruct |
teach | (vi) สอน (วิชา), See also: ให้การศึกษา, Syn. educate, instruct |
testify | (vi) ให้การเป็นพยาน, See also: เป็นพยาน, ให้การยืนยัน, Syn. warrant, witness |
testimony | (n) คำให้การภายใต้การสาบาน, Syn. attestation, declaration |
testify against | (phrv) ให้การแย้ง, See also: เป็นพยานยืนยันความผิดของ |
warranter | (n) ผู้รับรอง, See also: ผู้ค้ำประกัน, ผู้ที่ให้การรับรอง |
warrantor | (n) ผู้รับรอง, See also: ผู้ค้ำประกัน, ผู้ที่ให้การรับรอง |
affidavit | (แอฟฟิเด'วีท) n. คำให้การเป็นลายลักษณ์อักษร (written statement made on oath) |
amicus curiae | (อะไม' คัส คู' ริอี) pl. amici curiae ผู้อาสาสมัครให้การต่อศาล |
archie | (อาร์' คี) n. ระบบหนึ่งของผู้ให้การบริการ (servers) ที่ค้นหาไฟล์ที่มีอยู่ สำหรับสาธารณในแหล่งข้อมูลโปรโตรคอลแปลงแฟ้มข้อมูล (FTP, file transfer protocol) |
attest | (อะเทสทฺ') vt., vi. เป็นพยาน, รับรอง, พิสูจน์, ให้การ, ยืนยัน, ทำให้สาบานหรือให้คำปฏิญาณ, เป็นเครื่องพิสูจน์. -attestant, attester, attestor, attestator n. |
attestation | (อะเทสเท'เชิน) n. การให้การ, การเป็นพยาน, การรับรอง, หลักฐานพยาน |
authority | (ออธอ'ริที) n. เจ้าหน้าที่, อำนาจ (ในหน้าที่ตำแหน่ง) , ผู้มีอำนาจ, ผู้เป็นต้นตำรับ, ทางราชการ, แหล่งข้อมูลหรือคำแนะนำที่เชื่อถือได้, ความเชื่อถือได้, ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง, อำนาจทางนิตินัย, อำนาจการเป็นตัวแทน, ความเชี่ยวชาญ, พยาน, การให้การ (คำที่มีความหมายเหมือนก |
blackleg | n. คนทรยศ, โรคในสัตว์เลี้ยงเนื่องจากเชื้อ Clostridium chauvoei, คนโกง, คนหลอกลวง, ผู้ทำให้การสไตรค์ไร้ผลหรือหยุด |
bug | (บัก) { bugged, bugging, bugs } n. แมลง, เชื้อจุลินทรีย์, ความบกพร่อง, แฟน, คนคลั่ง, เครื่องดักฟัง, ความคลั่ง, เหยื่อตกปลาที่คล้ายแมลง vt. รบกวน, ติดตั้งเครื่องดักฟังในที่ลับ, Syn. fault, defect จุดบกพร่องหมายถึง ปัญหาที่เกิดขึ้นกับโปรแกรมอันเนื่องมาจากคำสั่งในโปรแกรมนั้นเอง ซึ่งทำให้การทำงานของโปรแกรมไม่ถูกต้อง มีข้อผิดพลาด หรือไม่ราบรื่นเท่าที่ควร นอกจากปัญหาเกี่ยวกับโปรแกรมแล้ว อาจเป็นปัญหาเกี่ยวกับตัวเครื่องก็ได้ คำนี้มาจากคำ bug ที่แปลว่า ตัวด้วง ตัวแมลง ที่ชอบทำให้คอมพิวเตอร์สมัยก่อนเสีย เกิดการลัดวงจรขึ้น การแก้ไขจุดบกพร่องของโปรแกรม จึงใช้คำว่า "debug" |
caps lock key | แป้นตรึงอักษรตัวใหญ่ <คำแปล>เป็นแป้น ๆ หนึ่งบนแผงแป้นอักขระ มีคำ Caps lock อยู่บนแป้น ปกติจะมีในเครื่องพิมพ์ดีดธรรมดาด้วย หากกดแป้นนี้ไว้ครั้งหนึ่งแล้ว ถ้าเป็นการพิมพ์ภาษาอังกฤษ จะมีผลทำให้การกดแป้นพิมพ์ตัวอักษรทุกตัวออกมาเป็นตัวใหญ่ (capital letter) ไปตลอด เหมือนกดแป้น Shift ไปพร้อมกัน แต่ถ้าพิมพ์ภาษาไทย การกดแป้นนี้ไว้ตั้งแต่แรก แล้วไปกดแป้นอื่น ก็จะเท่ากับเป็นการพิมพ์ตัวที่อยู่ข้างบนของแป้นพิมพ์ เช่น ฤ ฆ ฏ 1 2 หากต้องการยกเลิก ให้กดแป้นนี้ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง |
common user access | การเข้าถึงผู้ใช้ร่วมกันใช้ตัวย่อว่า CUA หมายถึง ตัวชี้นำ (guidelines) ที่ เครื่องไอบีเอ็มสร้างขึ้นมา ใช้เพื่อทำให้การเข้าสู่โปรแกรมมีลักษณะเป็นแบบเดียวกัน แม้แต่เครื่องแมคอินทอชก็ใช้ตัวชี้นำนี้ |
control code | รหัสควบคุมหมายถึง การกำหนดให้ใช้สัญลักษณ์พิเศษ ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องพิมพ์ เป็นต้นว่า กำหนดให้การกดแป้น <RETURN> เป็นการขึ้นย่อหน้าใหม่ เป็นต้น |
control unit | หน่วยควบคุมเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit) หน่วยควบคุม มีหน้าที่ควบคุมการทำงานทั้งหมด กล่าวคือ ควบคุมการทำงานของหน่วยคำนวณและตรรกะ ควบคุมการรับ/ส่งข้อมูลระหว่างหน่วยความจำหลัก (main memory) กับหน่วยความจำในหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ติตต่อและควบคุมการทำงานของหน่วยรับข้อมูลและแสดงผล (input/output unit) เป็นต้นว่า รับข้อมูลเข้ามาเก็บในหน่วยความจำ ปฏิบัติตามคำสั่งในโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง รวมทั้งจัดการให้การทำงานเป็นไปตามขั้นตอน และแสดงผลตามคำสั่งด้วยดู central processing unit ประกอบ |
cua | (ซียูเอ) ย่อมาจาก คำว่า Common User Access ซึ่งหมายถึง ตัวชี้นำ (guidelines) ที่ เครื่องไอบีเอ็มสร้างขึ้นมา ใช้เพื่อทำให้การเข้าสู่โปรแกรมมีลักษณะเป็นแบบเดียวกัน แม้แต่เครื่องแมคอินทอชก็ใช้ตัวชี้นำนี้ |
defrag | นำ (แฟ้มข้อมูล) มาต่อกันในฮาร์ดดิสก์นั้น เมื่อมีการสั่งบันทึกข้อมูลลงไปแล้วมาสั่งลบภายหลัง จะทำให้มีที่ว่างเกิดขึ้นเป็นหย่อม ๆ ฉะนั้น เมื่อมีการนำแฟ้มข้อมูลใหม่บันทึกลงไป คอมพิวเตอร์ก็จะจัดการแบ่งข้อมูลใหม่นี้ให้ได้สัดส่วนพอดีกับช่องที่ว่างอยู่ก่อน ทำให้แฟ้มข้อมูลเดียวถูกเก็บเป็นหย่อม ๆ การเก็บแฟ้มข้อมูลในลักษณะนี้ เรียกว่า เป็นการกระจาย (fragmentation) โปรแกรมระบบดอสรุ่น 6.0 จึงมีคำสั่ง "defrag" ซึ่งจะช่วยจัดการนำแฟ้มข้อมูลเดียวกันมาเรียงให้ติดต่อกัน เพื่อให้การค้นคืนแฟ้มทำได้รวดเร็วขึ้น ในระบบวินโดว์ ก็จะต้องสั่งให้มีการนำแฟ้มมาต่อกันนี้เป็นครั้งคราวเสมอ |
deposal | (ดิโพ'เซิล) n. การปลด , การขับไล่, การให้การเป็นพยาน |
depose | (ดีโพซ') vt. ปลด, ขับไล่, ให้การเป็นพยาน. vi. ให้การเป็นพยาน., See also: deposable adj. deposer n. |
deposition | (เดพพะซิช'เชิน) n. การปลดออกจากตำแหน่งหรืองาน, การให้ออกจากราชสมบัติ, สิ่งที่ถูกปลด, การให้การเป็นพยาน, หนังสือให้การเป็นพยาน, การทับถม, การสะสม, การนอนก้นของตะกอน, การฝากเงิน |
educable | (เอด'จุคะเบิล) adj. ให้การศึกษาได้, สอนได้, See also: educability, educatability n. |
educate | (เอด'จุเคท) vt. ให้การศึกษา, สั่งสอน, อบรม, ฝึกฝน, ให้ความรู้ vi. อบรม, สั่งสอน |
educator | (เอด'จุเคเทอะ) n. ผู้ให้การศึกษา, นักการศึกษา, นักศึกษาศาสตร์, Syn. instructor |
executive program | โปรแกรมกระทำการหมายถึง โปรแกรมระบบ (systems software) ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแล หรือควบคุมการกระทำการ (execution) ของคอมพิวเตอร์ให้สอดคล้องกัน เป็นต้นว่า ดูแลการทำงานของหน่วยรับข้อมูล หน่วยแสดงผล (input/output unit) การดำเนินการและกำหนดการใช้หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) หน่วยความจำ (memory unit) ให้ทำงานให้สอดคล้องกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระบบทำงานแบบหลายชุดคำสั่ง หรือระบบมัลติโปรแกรมมิ่ง (multiprogramming) ชุดคำสั่งชุดนี้ เป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการ (operating system) มีหน้าที่หลักในการดูแลไม่ให้การประมวลผล โปรแกรมทีละหลาย ๆ โปรแกรม เกิดความสับสนกัน มีความหมายเหมือน supervisor |
fanfold paper | หมายถึง กระดาษที่พับไว้อย่างปราณีต เพื่อประโยชน์ใน การใช้ อย่างต่อเนื่อง ในบางครั้ง จะเรียกว่า กระดาษต่อเนื่อง (continuous paper) กระดาษชนิดนี้จะมีรูเจาะไว้ทั้งสองข้าง เพื่อให้ได้เกาะเกี่ยวกับฟันเฟือง ของเครื่องพิมพ์เป็นระยะ ๆ ทำให้การเคลื่อนตัวได้ฉาก และเป็นจังหวะอย่างดี (ไม่บิดเบี้ยว) |
fixative | (ฟิค'ซะทิฟว) adj. ซึ่งยึดติด, ซึ่งเกาะติด, ซึ่งทำให้ยึดติด. n. สารยึดติด, สารเกาะติด, สารที่ทำให้การระเหยช้าลง |
flowchart | ผังงานหมายถึง ผังที่ประกอบด้วยเส้นและสัญลักษณ์รูปต่าง ๆ ซึ่งนักเขียนโปรแกรมใช้ เพื่อให้มองเห็นขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม ก่อนจะลงมือเขียน แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ผังงานกว้าง ๆ (general flowchart) และผังงานละเอียด (detailed flowchart) ผังงานจะช่วยทำให้เข้าใจการทำงาน ทำให้การเขียนโปรแกรมง่ายขึ้น เนื่องจากคอมพิวเตอร์จะทำงานเป็นขั้นเป็นตอน ซึ่งผู้เขียนโปรแกรมจะต้องเป็นผู้กำหนดให้ ผังงานจะช่วยให้ผู้เขียนโปรแกรมมองเห็นขั้นตอนต่าง ๆ จากสัญลักษณ์ที่กำหนดไว้ง่ายเข้า และไม่เกิดความสับสน โดยเฉพาะปัญหาที่ซับซ้อนมาก ๆ ดู general flowchart และ detailed flowchart ประกอบ |
hard disk | (ฮาร์ดดิสก์) จานบันทึกแบบแข็งหมายถึง จานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก ใช้เก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก ๆ โดยปกติจะบรรจุไว้ในกล่องมิดชิด บางที เรียก fixed disk เพื่อให้เห็นแตกต่างกับจานบันทึกขนาดเล็กที่นำไปไหนมาไหนได้ ที่เรียกว่า floppy disk ในปัจจุบัน ฮาร์ดดิสก์เป็นของจำเป็นมาก และมีอยู่ภายในไมโครคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ความจุขนาดปกติจะ มีตั้งแต่ 40 - 1, 000 เมกะไบต์ ยิ่งจุมาก ก็จะยิ่งทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น |
hot key | แป้นลัดหมายถึง การกดแป้นหนึ่งหรือหลาย ๆ แป้นรวมกัน ที่กำหนดไว้เป็นพิเศษให้เครื่องทำหน้าที่พิเศษบางอย่างได้ เช่น เครื่องแมคอินทอชกำหนดให้การกดแป้น Ctrl + Shift + C เป็นคำสั่งให้คอมพิวเตอร์นำภาพบนจอไปเก็บไว้เป็นแฟ้มข้อมูลได้ |
mca | (เอ็มซีเอ) ย่อมาจาก micro channel architecture หมายถึง ช่องเสียบแผ่นวงจรตัวเล็กซึ่งบริษัทไอบีเอ็มสร้างไว้ใช้กับคอมพิวเตอร์รุ่น PS/2 โดยมีจุดประสงค์ที่จะทำให้การถ่ายโอนข้อมูล ทำได้รวดเร็วและง่าย กล่าวคือเพียงแต่เสียบแผ่นวงจรลงในช่องเสียบ MCA นี้เท่านั้น |
menu-driven system | ระบบทำงานด้วยเมนูหมายถึงระบบการทำงานของโปรแกรมที่ใช้เมนูเป็นหลัก กล่าวคือ มีรายการคำสั่งต่าง ๆ ปรากฏบนจอภาพให้เลือก ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องจำคำสั่งเลย เพียงแต่ใช้เมาส์เลื่อนไปที่คำสั่งที่ต้องการแล้วกด คอมพิวเตอร์ก็จะทำงานให้ ระบบดังกล่าวนี้ทำให้การทำงานโดยใช้คอมพิวเตอร์นั้นง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก |
micro channel architectur | ช่องเสียบแผ่นวงจรตัวเล็กใช้ตัวย่อว่า MCA หมายถึง ช่องเสียบแผ่นวงจรตัวเล็กซึ่งบริษัทไอบีเอ็มสร้างไว้ใช้กับคอมพิวเตอร์รุ่น PS/2 โดยมีจุดประสงค์ที่จะทำให้การถ่ายโอนข้อมูล ทำได้รวดเร็วและง่าย กล่าวคือเพียงแต่เสียบแผ่นวงจรลงในช่องเสียบ MCA นี้เท่านั้น |
multitasking system | ระบบหลายภารกิจหมายถึง สมรรถภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานสองโปรแกรมขึ้นไปได้เวลาเดียวกัน เช่น ในระหว่างปฏิบัติการของโปรแกรมการพิมพ์ ก็สามารถที่จะปฏิบัติการในโปรแกรมอื่นได้อีก โดยไม่ต้องรอให้การพิมพ์แล้วเสร็จเสียก่อน |
num lock key | เป็นแป้น ๆ หนึ่งอยู่ในกลุ่มแป้นตัวเลข (numeric keypad) มีคำ Num Lock อยู่บนแป้น ถ้ากดแป้นนี้ไว้ก่อนตั้งแต่เริ่มเปิดเครื่อง (กดครั้งเดียว) จะทำให้การกดแป้นในกลุ่มนี้ ได้ผลออกมาเป็นตัวเลข ถ้าไม่กดแป้นนี้ แป้นเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นแป้นลูกศร หรืออาจกลายเป็นอักขระอื่น (เช่นในโปรแกรม CUWRITER) |
nurture | (เนอ'เชอะ) vt. อุปถัมภ์, เลี้ยง, บำรุง, ทะนุถนอม, ฝึกฝน, ให้การศึกษา n. อาหาร, เครื่องบำรุง, การบำรุง, See also: nurturable adj. nurturer n., Syn. feed, raise |
open architecture | สถาปัตยกรรมเปิดหมายถึง แนวคิดที่จะทำให้การออกแบบและการสร้างคอมพิวเตอร์เป็นความรู้ที่เป็นสาธารณะโดย ยินยอมให้บริษัทต่าง ๆ นำไปผลิตขายได้ ทั้งนี้เพื่อช่วยให้การพัฒนาการสร้างคอมพิวเตอร์ให้ดีขึ้นไปเรื่อย ๆ |
operations research | การวิจัยดำเนินการใช้ตัวย่อว่า OR (อ่านว่า โออาร์) หมายถึงการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผลการดำเนินงาน เพื่อนำมาจัด วางเป็นระบบ หรือเป็นทฤษฎีที่จะทำให้การดำเนินงานต่อไปดีขึ้น รวมทั้งทำให้สามารถพยากรณ์ผลของการประกอบการในอนาคตได้ด้วย บางทีใช้ operational research |
parasympathetic | adj. ซึ่งเกี่ยวกับการแบ่งตามระบบ กะโหลกศีรษะกับกระดูกก้นกบ ของระบบประสาทอัตโนมัติ ทำให้หัวใจเต้นช้าลง ช่วยให้การเคลื่อนไหวของทางเดินอาหารเพิ่มมากขึ้น ม่านตาหดลง หลอดลมหดตัว ความดันโลหิตต่ำลง เหงื่อออกน้อยลง อุณหภูมิร่างกายลดลง กระเพาะปัสสาวะหดตัว การบีบตัวของมดลูกมากขึ้น ต่อมขับฮอร์โมนมากขึ้น |
perjure | (เพอ'เจอะ) vt. ให้การเป็นพยานเท็จ, เบิกความเท็จ, สาบานเท็จ., See also: perjurer n. |
perjury | (เพอ'จะรี) n. การให้การเป็นพยานเท็จ, การเบิกความเท็จ, การสาบานเท็จ, See also: perjurious adj., Syn. lie |
reengineer | ยกเครื่องใหม่หมายถึง การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานใหม่หมดทั้งสำนักงาน อาจจะเริ่มตั้งแต่ เปลี่ยนโครงสร้าง กำหนดสายงานใหม่ ไปจนถึง กำหนดเวลาทำงาน ฯ ทุกอย่างเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่จะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพดีขึ้น |
resolvent | (รีซอล'เวินทฺ) adj. เกี่ยวกับการละลายหรือการแตกแยก n. ยาที่ทำให้การบวมหรือการอักเสบหายไป, วิธีแก้ปัญหา |
restrainer | (รีสเทรน'เนอะ) n. ผู้กรอง, สิ่งกรอง, สารเคมีที์ยับยั้งปฏิกิริยาเคมี, ผู้ยับยั้ง, ผู้อดกลั้น, ผู้ดึงบังเหียน, น้ำยาทำให้การปรากฎรูปขึ้นช้า (ในการล้างรูป) |
system engineer | วิศวกรระบบหมายถึง วิศวกรที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์อาจมีหน้าที่ออกแบบ หรือวางข้อกำหนดในการซื้อหรือหาเครื่องให้เหมาะสมกับงานที่จะใช้คอมพิวเตอร์ ชี้แนะจุดผิดพลาดกว้าง ๆ เมื่อเครื่องทำงานผิดวัตถุประสงค์ รวมทั้งชี้แนะว่า ควรใช้เครื่องมากน้อยอย่างใดจึงจะคุ้มค่า หรืออาจหมายถึง การชี้แนะในเรื่องการจัดหาอุปกรณ์บางชนิดเพิ่มเติม เพื่อให้การทำงานเฉพาะอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น |
teach | (ทีช) vt., vi. สอน, สั่งสอน, สอนหนังสือ, อบรม, ให้การศึกษา., Syn. instruct, educate |
third generation computer | คอมพิวเตอร์ยุคที่สามคอมพิวเตอร์ยุคที่สาม เริ่มราวต้นทศวรรษ 1970 เมื่อมีการเปลี่ยนจากทรานซิส เตอร์ มาใช้วงจรเบ็ดเสร็จหรือไอซี (integrated circuit) ทำให้ เครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงและทำงานเร็วขึ้นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทำให้การเขียนโปรแกรมโดยใช้ภาษาระดับสูง (high level language) ทำได้ง่ายขึ้น จึงมีผู้นิยมใช้มากขึ้น ยุคนี้ คอมพิวเตอร์สามารถประมวลผลได้ทีละหลายโปรแกรม เรียกว่า ระบบมัลติโปรแกรมมิ่ง (multiprogramming) เริ่มมีการส่งข้อมูลมาจากทางไกลเข้าประ มวลผล แล้วส่งผลกลับไป รวมทั้งมีการใช้ระบบถามตอบกับคอมพิวเตอร์ได้ดู generation ประกอบ |
utitity program | โปรแกรมอรรถประโยชน์หมายถึง ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นไว้เพื่อให้เราเพิ่มสมรรถนะในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมอรรถประโยชน์ไม่ใช่โปรแกรมใช้งานหรือโปรแกรมที่จะนำมาใช้ผลิตงานใด ๆ ออกมาด้วยตัวเอง เพียงแต่เป็นโปรแกรมที่ทำให้การใช้โปรแกรมอื่นสะดวกขึ้น เดิมเราเรียกโปรแกรมประเภทนี้ว่า เป็นเครื่องมือในการทำซอฟต์แวร์ (software tools) เพราะเป็นโปรแกรมที่มีไว้ช่วยนักเขียนโปรแกรมอีกชั้นหนึ่ง ปัจจุบันโปรแกรมประเภทนี้เป็นโปรแกรมที่ขายกันทั่วไป ที่ได้รับความนิยมมาก ก็มี Norton Utiltities, PC Tools, Stacker เป็นต้น |
vertigo | (เวอ'ทิโก) n. อาการวิงเวียนศรีษะ, ความรู้สึกวิงเวียนที่ทำให้การทรงตัวลำบาก pl. vertigoes, vertigoes |
whack | (แวค) vt. vi. ตีเสียงดัง, หวดเสียงดัง n. การตีเสียงดัง, การหวดเสียงดัง, การทดลอง, การพยายาม, ส่วน, หุ้นส่วน -Phr. (out of whack ในสภาพที่เลว เสีย ให้การไม่ได้), See also: whacker n. |
witness | (วิท'นิส) n. พยาน, ผู้เห็น, ผู้เซ็นชื่อรวมเป็นพยาน, หลักฐาน, คำให้การเป็นพยาน vt., vi. ดู, เห็น, เห็นด้วยตา, เป็นผู้ลงนามร่วม, เป็นพยาน, ลงนามเป็นพยาน, เป็นหลักฐาน, See also: witnessable adj. witnesser n., Syn. testifier, evidence |