Characteristic X-ray | รังสีเอกซ์ลักษณะเฉพาะ, รังสีที่เกิดจากการที่อะตอมถูกกระตุ้น ทำให้อิเล็กตรอนวงในหลุดออกไป และอิเล็กตรอนวงถัดไปเข้ามาแทนที่ แล้วให้พลังงานส่วนเกินออกมาในรูปของรังสีเอกซ์ซึ่งมีค่าพลังงานเฉพาะของธาตุที่ถูกกระตุ้น (ดู excited state ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Electron linear accelerator | เครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้น, เครื่องเร่งอิเล็กตรอน ที่อิเล็กตรอนถูกเร่งให้วิ่งเป็นเส้นตรงด้วยสนามไฟฟ้า มีสองแบบคือ แบบที่อิเล็กตรอนถูกควบคุมด้วยสนามไฟฟ้าสถิต และแบบที่ควบคุมด้วยสนามไฟฟ้าย่านความถี่คลื่นวิทยุ สามารถเร่งลำอิเล็กตรอนให้มีพลังงานระหว่าง 0.1-10 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ แบบแรกให้พลังงานของอิเล็กตรอนต่ำกว่าแบบหลัง เครื่องเร่งชนิดนี้เหมาะสำหรับงานวิจัยทางฟิสิกส์ และการปรับปรุงคุณภาพวัสดุหรือผลิตภัณฑ์ เช่น งานเคลือบผิววัตถุและงานผลิตเวชภัณฑ์ปลอดเชื้อ, Example: [นิวเคลียร์] |
X-rays | รังสีเอกซ์, รังสีในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีอำนาจทะลุทะลวงสูงไม่ได้มีต้นกำเนิดจากนิวเคลียสของอะตอม แต่เกิดขึ้นเมื่ออะตอมถูกกระตุ้น ทำให้อิเล็กตรอนวงในหลุดออกไป และอิเล็กตรอนวงถัดไปเข้ามาแทนที่ แล้วให้พลังงานส่วนเกินออกมาในรูปของรังสีเอกซ์ หรือเกิดจากการระดมยิงเป้าโลหะหนักบางชนิด เช่น ทังสเตน ด้วยอิเล็กตรอนความเร็วสูง ซึ่งอิเล็กตรอนจะถูกหน่วงให้ช้าลงอย่างทันทีทันใดและปล่อยรังสีเอกซ์ออกมา บางคน เรียกรังสีเอกซ์ว่า รังสีเรินต์เก็น ตามชื่อของ วิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เก็น นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันผู้ค้นพบรังสีนี้เมื่อ ปี พ.ศ. 2438 [นิวเคลียร์] |
Van de Graaff generator | เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแวนเดอแกรฟฟ์, เครื่องผลิตประจุไฟฟ้าสถิตศักย์สูง โดยประจุไฟฟ้าจากเครื่องกำเนิดประจุถูกส่งผ่านโลหะปลายแหลมไปยังสายพานซึ่งทำหน้าที่พาประจุขึ้นไปสะสมไว้ที่ผิวทรงกลมจนได้ศักย์ไฟฟ้าสูง เครื่องนี้สามารถสะสมประจุจนกระทั่งมีศักย์ไฟฟ้าสูงถึง 20 ล้านโวลต์ เครื่องนี้สามารถใช้เป็นเครื่องเร่งอนุภาคที่มีประจุ มักใช้เร่งอนุภาคก่อนยิงเข้าสู่เครื่องเร่งอนุภาคแบบอื่นที่ให้พลังงานสูงขึ้น รอเบิร์ต แวน เดอ แกรฟฟ์ (Robert Van de Graaff) เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องมือนี้ในปี พ.ศ. 2474, Example: [นิวเคลียร์] |
Van de Graaff accelerator | เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแวนเดอแกรฟฟ์, เครื่องผลิตประจุไฟฟ้าสถิตศักย์สูง โดยประจุไฟฟ้าจากเครื่องกำเนิดประจุถูกส่งผ่านโลหะปลายแหลมไปยังสายพานซึ่งทำหน้าที่พาประจุขึ้นไปสะสมไว้ที่ผิวทรงกลมจนได้ศักย์ไฟฟ้าสูง เครื่องนี้สามารถสะสมประจุจนกระทั่งมีศักย์ไฟฟ้าสูงถึง 20 ล้านโวลต์ เครื่องนี้สามารถใช้เป็นเครื่องเร่งอนุภาคที่มีประจุ มักใช้เร่งอนุภาคก่อนยิงเข้าสู่เครื่องเร่งอนุภาคแบบอื่นที่ให้พลังงานสูงขึ้น รอเบิร์ต แวน เดอ แกรฟฟ์ (Robert Van de Graaff) เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องมือนี้ในปี พ.ศ. 2474 [นิวเคลียร์] |
Roentgen rays | รังสีเรินต์เก็น, รังสีในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีอำนาจทะลุทะลวงสูงไม่ได้มีต้นกำเนิดจากนิวเคลียสของอะตอม แต่เกิดขึ้นเมื่ออะตอมถูกกระตุ้น ทำให้อิเล็กตรอนวงในหลุดออกไป และอิเล็กตรอนวงถัดไปเข้ามาแทนที่ แล้วให้พลังงานส่วนเกินออกมาในรูปของรังสีเอกซ์ หรือเกิดจากการระดมยิงเป้าโลหะหนักบางชนิด เช่น ทังสเตน ด้วยอิเล็กตรอนความเร็วสูง ซึ่งอิเล็กตรอนจะถูกหน่วงให้ช้าลงอย่างทันทีทันใดและปล่อยรังสีเอกซ์ออกมา บางคน เรียกรังสีเอกซ์ว่า รังสีเรินต์เก็น ตามชื่อของ วิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เก็น นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันผู้ค้นพบรังสีนี้เมื่อ ปี พ.ศ. 2438 [นิวเคลียร์] |
Energy crops industry | อุตสาหกรรมพืชเศรษฐกิจที่ให้พลังงาน [TU Subject Heading] |
International Atomic Energy Agency | สำนักพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ในการประชุมระหว่างประเทศ ที่ประชุมได้รับรองกฎข้อบังคับขององค์การนี้เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1956 ณ สำนักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก รัฐที่ร่วมลงนามเป็นสมาชิกขององค์การอย่างน้อย 18 ประเทศ รวมทั้งประเทศดังต่อไปนี้ คือ แคนาดา ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา อย่างน้อยสามประเทศได้มอบสัตยาบันสาร ยังผลให้กฎข้อบังคับดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1956วัตถุประสงค์ขององค์การพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ คือ1. ต้องการเร่งรัดและส่งเสริมให้พลังงานปรมาณูมีส่วนเกื้อกูลมากขึ้นต่อ สันติภาพ สุขภาพ และความไพบูลย์มั่งคั่งตลอดทั่วโลก2. ทำให้เป็นที่แน่ใจว่า ความช่วยเหลือที่องค์การจัดให้หรือตามคำขอร้องขององค์การ หรือที่อยู่ใต้ความควบคุมดูแลขององค์การนั้น จะต้องไม่ถูกนำไปใช้เพื่อส่งเสริมความมุ่งหมายทางทหารแต่อย่างใดองค์การ ดำเนินงานผ่านทางองค์กรต่าง ๆ เหล่านี้ คือ1. ที่ประชุมระหว่างประเทศ (General Conference) ประกอบด้วยสมาชิกของสำนักพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศทั้งหมด มีการประชุมสมัยสามัญประจำปี และอาจมีการประชุมสมัยพิเศษเท่าที่จำเป็น ที่ประชุมจะพิจารณาแลกเปลี่ยนความเห็นในปัญหาต่าง ๆ ที่อยู่ภายในกรอบของกฎข้อบังคับ2. คณะผู้ว่าการ (Board of Governors) ประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมด 23 ประเทศ ปฏิบัติงานตามหน้าที่ขององค์การ3. คณะเจ้าหน้าที่ขององค์การมีหัวหน้าเรียกว่าอธิบดี (Director General) ซึ่งคณะผู้ว่าการแต่งตั้งขึ้นตามความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ และมีอายุอยู่ในตำแหน่ง 4 ปี ตัวอธิบดีถือเป็นหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารขององค์การ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย [การทูต] |
Van de Graaff Generator (accelerator) | เครื่องแวนเดอกราฟ, เป็นเครื่องผลิตประจุไฟฟ้าสถิตย์ศักดาสูง ซึ่งประจุไฟฟ้าจากแหล่งกำเนิดถูกส่งผ่านโลหะปลายแหลมไปยังสายพาน ซึ่งทำหน้าที่พาประจุขึ้นไปสะสมไว้ที่ผิวทรงกลมจนได้ศักดาไฟฟ้าสูง ระบบทั้งหมดนี้อยู่ในถังความดันที่บรรจุแก๊สเฉื่อยทางไฟฟ้า เช่น ฟรีออนความดันสูงไม่น้อยกว่า 15 บรรยากาศ จะสามารถเก็บประจุซึ่งมีศักดาไฟฟ้าสูงถึงประมาณ 20 ล้านโวลต์ เครื่องนี้นำมาใช้เป็นเครื่องเร่งอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าได้ และมักใช้เร่งอนุภาคก่อนยิงเข้าสู่เครื่องเร่งอนุภาคแบบอื่นที่ให้พลังงานสูงขึ้น เรียกชื่อตาม Robert Van de Graaff ชาวเนเธอร์แลนด์ ซึ่งประดิษฐ์เครื่องมิอนี้ ในปี พ.ศ. 2474 [พลังงาน] |
Compounds, High-Energy | ส่วนประกอบในสารที่ให้พลังงานสูง, สารประกอบที่มีพลังงานสูง [การแพทย์] |
mineral salts | แร่ธาตุ, สารอาหารประเภทที่ไม่ให้พลังงานแต่มีความจำเป็นสำหรับกระบวนการเมแทบอลิซึมในร่างกาย เช่น เกลือของโซเดียม โพแทสเซียม แคลเซียม เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
carbohydrate | คาร์โบไฮเดรต, สารอาหารประเภทให้พลังงาน ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน (C) ไฮโดรเจน (H) และออกซิเจน (O) มีสูตรทั่วไปคือ (CH2O)n พบทั่วไปในพืชและสัตว์ เช่น แป้ง น้ำตาล เซลลูโลส [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
vitamin | วิตามิน, สารอาหารที่ไม่ให้พลังงานแก่ร่างกายแต่ก็จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตและความสมบูรณ์ของร่างกาย ถ้าขาดจะทำให้เกิดโรคต่าง ๆ วิตามินที่ค้นพบแล้วมีหลายชนิด เช่น วิตามิน A, B, C, D, E, K เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
exothermic change | การเปลี่ยนแปลงประเภทคายความร้อน, การเปลี่ยนแปลงของระบบที่มีพลังงานสูงกว่าสิ่งแวดล้อม เพื่อให้พลังงานเท่าเดิมระบบจึงคายพลังงานส่วนเกินออกสู่สิ่งแวดล้อม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
fuel | เชื้อเพลิง, สารที่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วให้พลังงานความร้อนสูง เช่น ถ่านหิน น้ำมัน เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
electrochemical cell [ cell ] | เซลล์ไฟฟ้าเคมี, ระบบที่ประกอบด้วยขั้วไฟฟ้า 2 ขั้วจุ่มอยู่ในอิเล็กโทรไลต์ ซึ่งเมื่อเกิดปฏิกิริยารีดอกซ์จะให้พลังงานไฟฟ้าออกมา เซลล์ไฟฟ้าเคมีแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ เซลล์ไฟฟ้าปฐมภูมิและเซลล์ไฟฟ้าทุติยภูมิ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
charge | การประจุไฟ, การผ่านไฟฟ้ากระแสตรงเข้าไปในเซลล์ไฟฟ้าแบบทุติยภูมิเพื่อทำให้แผ่นโลหะที่ใช้เป็นขั้วไฟฟ้าอยู่ในสภาพที่จะสามารถเกิดปฏิกิริยาเคมีได้เองและให้พลังงานไฟฟ้าออกมาได้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
phosphorescence | การเรืองแสง, การปล่อยแสงจากสารบางชนิดโดยไม่อาศัยความร้อน แต่อาศัยพลังงานรูปอื่น เช่น รังสีเอกซ์ รังสีอัลตราไวโอเลต เป็นต้น เมื่อหยุดการให้พลังงาน สารก็ยังคงเปล่งแสงอยู่ชั่วระยะหนึ่ง ซึ่งแตกต่างกับการวาวแสง เมื่อหยุดให้พลังงานสารก็จะหยุดเปล่งแสงทันที [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
fluorescence | การวาวแสง, การเกิดแสงของสารบางชนิดโดยไม่อาศัยความร้อน แต่อาศัยพลังงานรูปอื่น เช่น รังสีเอกซ์ รังสีอัลตราไวโอเลต เป็นต้น สารจะหยุดการเปล่งแสงทันทีเมื่อหยุดการให้พลังงาน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
protein | โปรตีน, สารอาหารประเภทที่ให้พลังงาน เป็นพอลิเพปไทด์ที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนจำนวนมากเรียงต่อกัน สารอาหารชนิดนี้จำเป็นต่อสิ่งมีชีวิต คือช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตและเสริมสร้างซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอให้คงสภาพปกติ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
anthracite | แอนทราไซต์, ถ่านหินที่เกิดจากการทับถมของซากพืชเป็นเวลานาน มีปริมาณของคาร์บอนมากมีคุณภาพดีและให้พลังงานสูง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |