กลั่น | (กฺลั่น) ก. คัดเอาแต่ส่วนหรือสิ่งที่สำคัญหรือที่เป็นเนื้อแท้ด้วยวิธีต้มให้ออกเป็นไอ แล้วใช้ความเย็นบังคับให้เป็นของเหลว เช่น กลั่นนํ้า เรียกน้ำที่ได้จากกรรมวิธีเช่นนั้น ว่า น้ำกลั่น, โดยปริยายหมายความว่า คัดเอา เลือกเอา. |
กะตังกะติ้ว ๑ | น. นํ้ายางที่ได้จากไม้เถาหลายชนิดในวงศ์ Apocynaceae เช่น เครือเขามวกขาว [ Parameria laevigata (Juss.) Moldenke ] กะตังกะติ้วหรือคุยช้าง ( Willughbeia edulisRoxb.) และตังติ้ว [ Urceola lucida (Wall. ex G. Don) Kurz ] . |
กากน้ำตาล | น. ของเหลวสีดำ เหนียวข้น ไม่สามารถตกผลึกน้ำตาลได้อีก ได้จากกระบวนการผลิตน้ำตาลจากอ้อย. |
ก๊าซ | น. อากาศธาตุ, (วิทยา) สถานะหนึ่งของสสาร รูปร่างและปริมาตรไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับภาชนะที่บรรจุ, เรียกไฟซึ่งเกิดจากการจุดอะเซทิลีน ซึ่งได้จากก้อนแคลเซียมคาร์ไบด์ทำปฏิกิริยากับนํ้า ว่า ไฟก๊าซ, แก๊ส ก็ว่า. |
เกลือจืด | น. เกลือที่ตกผลึกก่อนเกลือชนิดอื่น ๆ ในการทำนาเกลือ มีปนอยู่กับเกลือที่ใช้ในการปรุงอาหารเสมอ ไม่มีรส หรือเกลือที่ได้จากการเผายิปซัม, ยิปซัม หรือ หินฟองเต้าหู้ ก็เรียก. |
เกลือสมุทร | น. เกลือที่ได้จากนํ้าทะเล. |
เกลือสินเธาว์ | น. เกลือที่ได้จากดินเค็ม. |
แก้ว ๑ | น. หินแข็งใส แลลอดเข้าไปข้างในได้ ได้แก่จำพวกเพชรพลอย, ของที่ทำเทียมให้มีลักษณะเช่นนั้น, ของที่ได้จากการใช้ทรายขาวเป็นส่วนประกอบสำคัญมาหลอมกับสารที่มีสมบัติเป็นด่างเช่นออกไซด์ของโซเดียม ออกไซด์ของแคลเซียม แล้วมีลักษณะเช่นนั้น |
แก๊ส | น. อากาศธาตุ, (วิทยา) สถานะหนึ่งของสสาร รูปร่างและปริมาตรไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับภาชนะที่บรรจุ, เรียกไฟซึ่งเกิดจากการจุดอะเซทิลีน (acetylene) ซึ่งได้จากก้อนแคลเซียมคาร์ไบด์ทำปฏิกิริยากับน้ำว่า ไฟแก๊ส, ก๊าซ ก็ว่า. |
โกฐ | (โกด) น. ชื่อเครื่องยาสมุนไพรจำพวกหนึ่ง ได้จากส่วนต่าง ๆ ของพืช มีหลายชนิด คือ โกฐทั้ง ๕ ได้แก่ โกฐหัวบัว โกฐสอ โกฐเขมา โกฐเชียง โกฐจุฬาลัมพา, โกฐทั้ง ๗ เพิ่ม โกฐกระดูก โกฐก้านพร้าว, โกฐทั้ง ๙ เพิ่ม โกฐพุงปลา โกฐชฎามังสี, และมีโกฐพิเศษอีก ๓ ชนิด คือ โกฐกักกรา โกฐกะกลิ้ง และโกฐนํ้าเต้า, ตำรายาแผนโบราณเขียนเป็น โกฎ โกฏ โกฏฐ์ โกด หรือ โกษฐ์ ก็มี. |
ข้าวนึ่ง | น. ข้าวที่ได้จากการสีข้าวเปลือกซึ่งผ่านการแช่น้ำและอบด้วยความร้อนแล้ว |
ขุนบาล | น. บุคคลที่ได้รับอนุญาตผูกอากรที่เป็นรายได้จากการพนันประเภทหวย เพื่อส่งรายได้ให้แก่รัฐ, มาจากทินนามเต็มว่า ขุนบาลเบิกบุรีรัตน์. |
ไข ๑ | น. มันข้น, นํ้ามันที่ได้จากสัตว์ พืช หรือแร่ ที่แข็งตัวในอุณหภูมิปรกติ |
คราม ๒ | (คฺราม) น. ผงสีนํ้าเงินที่ได้จากต้นคราม. |
ควินิน | (คฺวินิน) น. ชื่อสารประกอบประเภทแอลคาลอยด์ ใช้เป็นยารักษาโรคไข้จับสั่น สกัดได้จากเปลือกต้นซิงโคนา. |
โครส | (-รด) น. สิ่งที่ได้จากนมโค (มี ๕ อย่าง คือ นมสด นมส้ม เนยใส เนยข้น เปรียง เรียก ปัญจโครส หรือ เบญจโครส). |
โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา | น. โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาทดลองงานทางด้านการเกษตร ภายในบริเวณสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต ข้อมูลที่ได้จากการทดลองนำมาเป็นแบบอย่างสำหรับปฏิบัติตามหรือปรับปรุงแก้ไขในการประกอบอาชีพของราษฎร แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ โครงการไม่ใช่ธุรกิจ เช่น บ่อเพาะเลี้ยงปลานิล ป่าไม้สาธิต นาข้าวทดลอง และโครงการกึ่งธุรกิจ เช่น โรงงานผลิตและแปรรูปนมสดครบวงจร โรงสีข้าว. |
งาน ๓ | น. ผลของแรงที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ คำนวณได้จากผลคูณของแรงกับระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่. |
เงินร้อน | น. เงินที่ได้จากการทุจริตหรือไม่บริสุทธิ์ |
เฉาก๊วย | น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง สีดำ ทำจากเมือกที่ได้จากการต้มเคี่ยวพรรณไม้ชนิดหนึ่ง ใส่แป้งลงไปผสม กวนให้ทั่ว ทิ้งไว้ให้เย็น กินกับนํ้าหวานหรือใส่นํ้าตาลทรายแดง. |
ชอล์ก ๒ | น. สิ่งที่ใช้เขียนกระดานดำ มีลักษณะเป็นแท่งสีขาวทำจากแคลเซียมซัลเฟต ซึ่งได้จากเกลือจืดหรือยิปซัมผสมนํ้า, เมื่อผสมด้วยดินสีหรือสีสำเร็จรูป มีสีต่าง ๆ เรียกว่า ชอล์กสี. |
ชะมดเชียง | น. ชื่อเครื่องหอมชนิดหนึ่งซึ่งได้จากกวางชะมดตัวผู้ ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้. (ดู กวางชะมด ประกอบ). |
ชันสน | น. ของแข็งลักษณะโปร่งแสง สีคล้ายอำพัน ได้จากการกลั่นยางสน. (ดู ยางสน ที่ ยาง ๓ ประกอบ). |
ชั้นฉาย | น. ชื่อหน่วยในมาตราวัดเวลาในสมัยโบราณ วัดโดยอาศัยการวัดเงาของตัวคนที่เกิดจากแสงแดดด้วยระยะความยาวของฝ่าเท้าของบุคคลนั้น ตอนเช้าหรือเย็นเงาจะทอดยาว และตอนเที่ยงเงาจะสั้นที่สุดหรืออาจไม่มีเลย เงาจะเปลี่ยนสั้นยาวได้จากเดือนหนึ่งไปสู่อีกเดือนหนึ่ง, เงายาว ๑ ฝ่าเท้า เรียกว่า ๑ ชั้นฉาย สามารถเทียบเวลาได้ ถ้าเป็นตอนเช้าเท่ากับ ๑๑.๔๕ นาฬิกา ถ้าเป็นตอนบ่ายเท่ากับ ๑๒.๑๕ นาฬิกา เช่น ปีขาลวันอังคารเดือนห้า ตกฟากเวลาสามชั้นฉาย (ขุนช้างขุนแผน). |
ชิด ๑ | น. ชื่อเนื้อในลูกไม้ชนิดหนึ่งได้จากต้นตาว [ Arenga pinnata (Warmb) Merr. ] มีเนื้อคล้ายลูกจาก เรียกว่า ลูกชิด. (ดู ตาว ๒, ต๋าว ประกอบ). |
เชลแล็ก | น. ของแข็งที่สกัดได้จากขี้ครั่ง ลักษณะเป็นแผ่นบาง สีค่อนข้างเหลือง ละลายได้ดีในแอลกอฮอล์ ใช้ประโยชน์เคลือบผิววัตถุหรือชักเงาผิวไม้, (ปาก) ชะแล็ก. |
เซรุ่ม | น. น้ำเลือดสีเหลืองใส มีภูมิต้านทานต่อชีวพิษหรือต่อเชื้อโรค แยกได้จากเลือดที่แข็งตัวแล้วของสัตว์เช่นม้าหรือกระต่ายที่ได้รับการกระตุ้นด้วยชีวพิษเช่นพิษงู หรือเชื้อโรคเพื่อให้เกิดภูมิต้านทาน ใช้ฉีดรักษาผู้ป่วยที่ได้รับชีวพิษหรือเชื้อโรคดังกล่าวเพื่อลดพิษหรือทำลายเชื้อโรค. |
เซลลูลอยด์ | น. สารประกอบประเภทเทอร์โมพลาสติกชนิดหนึ่ง ทำได้จากปฏิกิริยาของเซลลูโลสไนเทรต การบูร และเอทิลแอลกอฮอล์ ลักษณะเป็นของแข็ง ติดไฟง่ายมาก. |
ดอกผล | น. สิ่งที่เกิดขึ้นจากตัวทรัพย์หรือผลประโยชน์ที่ได้จากผู้อื่น เพื่อการที่ได้ใช้ทรัพย์นั้น ได้แก่ ดอกผลธรรมดาและดอกผลนิตินัย. |
ตาแมว | คดที่ได้จากตาแมว |
ทัง ๑ | น. ชื่อน้ำมันที่ได้จากเมล็ดของต้นมะเยา [ Vernicia fordii (Hemsl.) Airy Shaw ] ในวงศ์ Euphorbiaceae. |
เทียน ๓ | น. ชื่อเครื่องยาสมุนไพรจำพวกหนึ่ง ได้จากผลและเมล็ดแห้งของไม้ล้มลุก มีหลายชนิด คือ เทียนทั้ง ๕ ได้แก่ เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนดำ เทียนแดง เทียนตาตั๊กแตน เทียนทั้ง ๗ เพิ่ม เทียนเยาวพาณี เทียนสัตตบุษย์ เทียนทั้ง ๙ เพิ่ม เทียนตากบ เทียนเกล็ดหอย และยังมีเทียนพิเศษอีกหลายชนิด เช่น เทียนลวด เทียนขม เทียนแกลบ. |
นมข้น | น. นมที่มีลักษณะข้นและมีรสหวานจัด ได้จากการทำให้น้ำบางส่วนในน้ำนมวัวระเหยไปแล้วเติมน้ำตาล. |
นมผง | น. สิ่งที่มีลักษณะเป็นผง ได้จากการนำน้ำนมไปผ่านกรรมวิธีซึ่งทำให้ส่วนที่เป็นน้ำระเหยออกไปหมด อาจเติมสารเคมีที่มีประโยชน์ต่อร่างกายลงไปด้วยก็ได้. |
น้ำกลั่น | น. น้ำบริสุทธิ์ที่ได้จากการกลั่น. |
น้ำข้าว ๑ | น. นํ้าที่ได้จากข้าวเมื่อหุงแล้วเช็ดนํ้าหรือตักนํ้าออก. |
น้ำแข็งไส | น. น้ำแข็งที่ได้จากการไสก้อนน้ำแข็งไปบนเครื่องไส มีลักษณะเป็นเกล็ดฝอย. |
น้ำเคย | น. นํ้าที่ได้จากเยื่อเคยหมักทำเป็นกะปิ มีรสเค็ม ใช้ปรุงอาหาร. |
น้ำตาล | น. สารประกอบคาร์โบไฮเดรตประเภทโมโนแซ็กคาไรด์และไดแซ็กคาไรด์ ซึ่งมีรสหวาน โดยมากได้จากตาล มะพร้าว อ้อย, ถ้าเป็นความหมายเฉพาะอย่างและทำด้วยอะไร ก็เติมคำนั้น ๆ ลงไป เช่น ทำจากตาล เรียกว่า นํ้าตาลโตนด, ทำจากมะพร้าว เรียกว่า นํ้าตาลมะพร้าว, ทำจากอ้อย แต่ยังไม่ได้ทำให้เป็นนํ้าตาลทราย เรียกว่า นํ้าตาลทรายดิบ, ทำเป็นเม็ด ๆ เหมือนทราย เรียกว่า นํ้าตาลทราย, ทำเป็นผงละเอียดหรือจับกันเป็นก้อน ๆ สีนํ้าตาล เรียกว่า นํ้าตาลทรายแดง, ทำเป็นก้อนแข็งเหมือนกรวด เรียกว่า นํ้าตาลกรวด, ทำเป็นงบ เรียกว่า นํ้าตาลงบ, เคี่ยวให้ข้น ๆ เรียกว่า นํ้าตาลตงุ่น, หยอดใส่ใบตาลหรือใบตองแห้งทำเป็นรูปปี่ เรียกว่า นํ้าตาลปี่, หยอดเป็นปึก เรียกว่า นํ้าตาลปึก, หยอดใส่หม้อ เรียกว่า นํ้าตาลหม้อ, บรรจุใส่ปีบ เรียกว่า น้ำตาลปีบ หรือ น้ำตาลปี๊บ, รองมาใหม่ ๆ ยังไม่ได้เคี่ยว เรียกว่า นํ้าตาลสด, ถ้าต้มให้เดือด เรียกว่า นํ้าตาลลวก, ถ้าใส่เปลือกตะเคียน มะเกลือ หรือเคี่ยม เป็นต้น หมักไว้ระยะหนึ่งจนมีแอลกอฮอล์ กินแล้วเมา เรียกว่า นํ้าตาลเมา. |
น้ำพี้ | น. ธาตุเหล็กที่ได้จากตำบลน้ำพี้ในจังหวัดอุตรดิตถ์ ถือกันว่าเป็นเหล็กที่มีคุณภาพดี มักใช้ทำอาวุธเป็นต้น. |
น้ำมันเขียว | น. นํ้ามันชนิดหนึ่ง สีเขียวแกมนํ้าเงิน มีกลิ่นหอมฉุนคล้ายการบูร กลั่นได้จากใบของต้นเสม็ด (Melaleuca cajuputi Ponell) ใช้สำหรับทา นวด แก้เคล็ดบวมได้. |
น้ำมันดิน | น. ของเหลวลักษณะข้น สีเข้มจนดำ ได้จากการกลั่นทำลายไม้หรือถ่านหิน ใช้ทารักษาเนื้อไม้หรือกันปลวกและแมลงเป็นต้น เมื่อนำไปกลั่นโดยใช้อุณหภูมิให้เหมาะสม จะได้สารอื่น ๆ ที่มีประโยชน์อีกมาก. |
น้ำมันพราย | น. นํ้ามันที่ได้จากการลนปลายคางศพหญิงที่ตายทั้งกลม เชื่อว่าดีดใส่ผู้หญิง ทำให้ผู้หญิงหลงรัก. |
น้ำมันมะกอก | น. น้ำมันที่ได้จากผลมะกอก ใช้ปรุงอาหารเป็นต้น. |
น้ำมันยาง | น. นํ้ามันที่ได้จากต้นยางนา ใช้ทาเรือ ทาบ้าน หรือผสมกับชันใช้ยาเรือได้. |
น้ำมันระกำ | น. นํ้ามันระเหยง่ายชนิดหนึ่ง กลิ่นหอมฉุน กลั่นได้จากไม้ล้มลุกชนิด Gaultheria procumbens L. ในวงศ์ Ericaceae ใช้ทานวดแก้เคล็ดบวม และใช้เป็นสารแต่งกลิ่นได้. |
น้ำมันลินสีด | น. น้ำมันที่ได้จากเมล็ดของต้นแฟลกซ์ มีลักษณะข้น เหนียว เมื่อถูกอากาศจะแข็งตัว ใช้ประโยชน์ในการผสมสี หมึกพิมพ์ นํ้ามันชักเงา เป็นต้น. |
น้ำมันสลัด | น. นํ้ามันที่ได้จากพืชบางชนิดเช่นมะกอก ใช้เป็นส่วนผสมของน้ำสลัดเป็นต้น. |
น้ำรัก | น. ยางที่ได้จากไม้ต้นในสกุล Glutaและสกุล Rhus วงศ์ Anacardiaceae ทำให้มีสีดำแล้วใช้ทาลงพื้นให้เหนียวเพื่อปิดทอง. |
น้ำอ้อย | น. นํ้าหวานที่ได้จากต้นอ้อย, ถ้าทำเป็นแผ่นกลม ๆ เรียกว่า นํ้าอ้อยงบ, ถ้าทำเป็นผงละเอียดหรือจับกันเป็นก้อน ๆ สีนํ้าตาล เรียกว่า นํ้าตาลทรายแดง, หางนํ้าอ้อยที่ใช้เป็นเครื่องผสมสำหรับต้มกลั่นสุรา, กากน้ำตาลที่ใช้ผสมปูนสอสำหรับการก่อสร้าง. |
Naphtha | แนฟทา ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ, Example: เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ เป็นน้ำมันส่วนเบา อยู่ระหว่าง Gasoline และ kerosene ใช้เป็นน้ำมันเบนซินที่ใช้กับเครื่องรถยนต์ หรือใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมโตรเคมี [ปิโตรเลี่ยม] |
Synthetic Gas | ก๊าซที่ผลิตได้จากน้ำมันและถ่านหินซึ่งมีมีเทนอยู่มาก, Example: คุณสมบัติและองค์ประกอบทางเคมีคล้ายก๊าซธรรมชาติ ก๊าซนี้สามารถส่งไปถึงผู้ใช้ได้แบบก๊าซที่มีค่าความร้อนต่ำหลังจากที่ได้แยกเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกแล้ว [ปิโตรเลี่ยม] |
Ultimate Recovery | ปริมาณก๊าซธรรมชาติหรือน้ำมันดิบที่คาดว่าจะผลิตขึ้นมาได้จากหลุมเจาะ, Example: ปริมาณทั้งหมดของก๊าซธรรมชาต ิหรือน้ำมันดิบที่คาดว่าจะผลิตขึ้นมาได้จากหลุมเจาะ หรือจากแอ่งภายใต้สภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันและสภาพทางวิศวกรรม Ultimate recovery อาจจะเป็นการผลิตขั้นปฐมภูมิอย่างเดียว หรือรวมทั้งการผลิตขั้นทุติยภูมิด้วย เช่น การทำ water flood (ดูคำ Water Flood) เมื่อพิจารณาว่าคุ้มค่าต่อการลงทุน [ปิโตรเลี่ยม] |
Ethanol | แอลกอฮอล์ที่ได้จากกระบวนการหมัก, เอทานอล หรือ เอทิลแอลกอฮอล์ (ethy alcohol) คือ แอลกอฮอล์ที่ได้จากกระบวนการหมัก (fermentation) พืชทุกชนิดและผลิตภัณฑ์ของพืชบางชนิด, Example: คือ แอลกอฮอล์ที่ได้จากกระบวนการหมัก (fermentation) พืชทุกชนิดและผลิตภัณฑ์ของพืชบางชนิด ได้แก่ อ้อย น้ำตาล กากน้ำตาล กากอ้อย บีทรูท (หัวผักกาดหวาน) แป้ง มันสำปะหลัง มันเทศ ธัญพืชต่างๆ เช่น ข้าวโพด ข้าว ข้าวสาลี ข้าวฟ่าง ผลไม้ ต้นไม้ ขี้เลื่อย และทุกส่วนของพืชสามารถผลิตแอลกอฮอล์ได้ทั้งสิ้น รวมทั้งเซลลูโลส และเฮมิเซลลูโลส ของพืชทุกชนิด เป็นต้น เอทานอลที่นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงจะต้องมีความบริสุทธิ์ของแอลกอฮอล์ตั้งแต่ 95% โดยปริมาตร (denatured alcohol) ซึ่งจะเป็นเชื้อเพลิงที่มีค่าออกเทสูงเพราะมีออกซิเจนสูงถึง 35% โดยน้ำหนัก ดังนั้น หากผสมเอทานอลในน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วด้วยอัตราที่เหมาะสมแล้ว จะทำให้ได้น้ำมันเชื้อเพลิงที่สะอาดและเผาไหม้ได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดการเกิดมลพิษในอากาศ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อสภาวะแวดล้อมอีกด้วย การใช้เอทามนอลเป็นเชื้อเพลิง นอกจากจะช่วยลดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงและสารเติมแต่ง เช่น MTBE จากต่างประเทศแล้ว ยังเป็นการเปิดตลาดใหม่ให้กับพืชผลทางการเกษตร ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรมีทางเลือกและมีรายได้เพิ่มมากขึ้นด้วย [ปิโตรเลี่ยม] |
Floating Storage Unit | ถังเก็บน้ำมันขนาดใหญ่, ถังเก็บน้ำมันขนาดใหญ่ซึ่งใช้เก็บน้ำมันที่ผลิตได้จากแท่นผลิตในทะเล ก่อนที่จะส่งไปยังเรือบรรทุกน้ำมัน (tanker) [ปิโตรเลี่ยม] |
Initial Reserves | ปริมาณน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติที่ประมาณได้ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง, ปริมาณน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติที่ประมาณได้ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งว่าจะสามารถผลิตได้จากแหล่งกักเก็บที่สำรวจพบแล้ว โดยรวมถึงปริมาณที่ผลิตไปแล้วทั้งหมดและปริมาณที่คาดว่าจะสามารถผลิตได้ในอนาคต โดยเทคโนโลยีและสภาพเศรษฐกิจที่คาดการณ์ได้ ณ เวลานั้น [ปิโตรเลี่ยม] |
Agricultural based petroleum substitute | สารทดแทนน้ำมันที่ได้จากการเกษตร [เศรษฐศาสตร์] |
Exchange earnings | รายได้จากการแลกเปลี่ยนเงินตรา [เศรษฐศาสตร์] |
Export earnings | รายได้จากการส่งออก [เศรษฐศาสตร์] |
Crop yield | ผลได้จากพืชผล [เศรษฐศาสตร์] |
Annual Limit on Intake | เอแอลไอ, ขีดจำกัดการรับนิวไคลด์กัมมันตรังสีรอบปี, ปริมาณสูงสุดของนิวไคลด์กัมมันตรังสีแต่ละชนิด ที่ร่างกายได้รับโดยการหายใจ การกิน หรือ ผ่านทางผิวหนังในเวลา 1 ปี ได้จากการคำนวณปริมาณรังสีผูกพันโดยใช้แบบจำลองมนุษย์อ้างอิง (Reference Man) จะเท่ากับขีดจำกัดปริมาณรังสี [นิวเคลียร์] |
Depleted uranium | ยูเรเนียมด้อยสมรรถนะ, ยูเรเนียมที่มีองค์ประกอบของยูเรเนียม-235 น้อยกว่าร้อยละ 0.7 พบได้ในเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว หรือผลพลอยได้จากการผลิตยูเรเนียมเสริมสมรรถนะ ซึ่งมียูเรเนียม-235 อยู่ ร้อยละ 0.20-0.25 นอกนั้นเป็นยูเรเนียม-238 (ดู natural uranium และ spent fuel ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Yellow cake | เค้กเหลือง, สารผสมของยูเรเนียมออกไซด์หลายชนิด (โดยเทียบออกไซด์ทุกชนิดให้อยู่ในรูปของ U3O8) มีลักษณะเป็นผงละเอียด ได้จากกระบวนการสกัดสินแร่ยูเรเนียมจากเหมือง มีสีเหลือง ส้ม หรือเขียวคล้ำ ขึ้นอยู่กับสัดส่วนชนิดของออกไซด์ และอุณหภูมิที่ใช้ขณะผลิต โดยอุณหภูมิที่สูงกว่าจะทำให้มีสีเข้มขึ้น เค้กเหลืองใช้เป็นสารตั้งต้นในกระบวนการผลิตเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ [นิวเคลียร์] |
Specific power | กำลังจำเพาะ, กำลังที่ผลิตได้จากเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ต่อหน่วยมวลของเชื้อเพลิง เช่น กิโลวัตต์ของความร้อนต่อกิโลกรัมของเชื้อเพลิงนิวเคลียร์, Example: [นิวเคลียร์] |
Potential exposure | การรับรังสีไม่คาดหมาย, การรับรังสีเชิงศักย์, การรับรังสีที่ไม่ได้คาดไว้ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากการดำเนินงานตามปกติ เช่น เกิดจากอุบัติเหตุของต้นกำเนิดรังสี เครื่องมือชำรุดเสียหาย หรือเกิดความผิดพลาดในการดำเนินงาน การรับรังสีนี้ สามารถวิเคราะห์ ประเมิน และกำหนดแนวทางป้องกัน เพื่อลดโอกาสการรับรังสี [นิวเคลียร์] |
Neutron bomb | ลูกระเบิดนิวตรอน, ลูกระเบิดไฮโดรเจนขนาดเล็ก ออกแบบเป็นพิเศษให้มีผลทำลายน้อยที่สุดจากแรงระเบิดและความร้อนในวงจำกัดรัศมีสองร้อยถึงสามร้อยเมตร แต่มีผลในวงกว้างทำให้สิ่งมีชีวิตถึงตายได้จากอนุภาคนิวตรอนและรังสีแกมมา ลูกระเบิดนิวตรอนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำลายรถถังและกองทหารในสนามรบโดยไม่เป็นอันตรายต่อตัวเมืองและย่านชุมชนที่อยู่ห่างออกไป <br>(ดู H-bomb ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์] |
Neutrino | นิวทริโน, อนุภาคมูลฐานที่มีมวลน้อยมาก ไม่มีประจุไฟฟ้า มีอำนาจทะลุทะลวงสูง และมีปฏิสัมพันธ์กับสสารน้อย ทำให้ตรวจหาได้ยาก พบได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์หลายชนิด เช่น การสลายแบบให้อนุภาคบีตา รวมทั้งอนุภาคจากดวงอาทิตย์ที่ผ่านมายังโลก, Example: [นิวเคลียร์] |
Integrated neutron flux | นิวตรอนฟลักซ์รวม, จำนวนนิวตรอนทั้งหมดต่อหน่วยพื้นที่ในช่วงเวลาที่กำหนด เป็นค่าที่ได้จากการคูณนิวตรอนฟลักซ์ด้วยเวลา [นิวเคลียร์] |
ชอล์ก | 1. ชื่อแร่ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยแคลเซียมคาร์บอเนต มีซิลิกาปนอยู่เล็กน้อย เกิดขึ้นตามธรรมชาติโดยการรวมตัวของหินปูนจากซากสัตว์ พืช และเปลือกหอยในทะเล 2. เครื่องเขียนกระดานดำชนิดหนึ่งที่เป็นสีขาวทำจากแคลเซียมซัลเฟต ซึ่งได้จากเกลือจืดหรือยิปซัมผสมน้ำ, Example: คำที่มักเขียนผิด คือ ชอคล์ [คำที่มักเขียนผิด] |
Antineoplastic agents, Phytogenic | สารต้านมะเร็งที่ได้จากพืช [TU Subject Heading] |
Foreign income | รายได้จากต่างประเทศ [TU Subject Heading] |
Predetermined motion time systems | ระบบเวลามาตรฐานที่ได้จากการสังเคราะห์การเคลื่อนไหวพื้นฐานที่ทราบล่วงหน้า [TU Subject Heading] |
Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] |
Inviolability of the Mission Premises | คือความละเมิดมิได้จากสถานที่ของคณะผู้แทน หมายความว่า บ้านของตัวแทนทางการทูต รวมทั้งสถานที่อื่น ๆ ที่ใช้เพื่อจุดประสงค์ทางการทูต รวมถึงตึกรามใด ๆ ที่ผู้แทนทางการทูตใช้ดำเนินงานทางการทูตในตำแหน่งที่ของเขา ไม่ว่าสถานที่นั้น ๆ จะเป็นทรัพย์สินของรัฐบาลของเขาหรือเป็นของเขาเอง หรือแม้แต่เป็นสถานที่ที่ให้ตัวแทนทางการทูตเช่า เหล่านี้จะได้รับความคุ้มกัน (Immunity) ทั้งสิ้น นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใด โดยเฉพาะเจ้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่เก็บภาษี หรือเจ้าหน้าที่ศาล จะเข้าไปในที่อยู่หรือทำเนียบของผู้แทนทางการทูตมิได้ นอกจากจะได้รับความยินยอมให้กระทำเช่นนั้นอย่างไรก็ดี หากเกิดอาชญากรรมขึ้นภายในสถานที่ของคณะผู้แทน หรือในที่อยู่ของตัวแทนทางการทูต โดยบุคคลซึ่งมิได้อุปโภคความละเมิดมิได้ ตัวแทนทางการทูตผู้นั้นจะต้องมอบตัวอาชญากรดังกล่าวให้แก่รัฐบาลท้องถิ่นตาม ที่ขอร้อง กล่าวโดยทั่วไป ตัวแทนทางการทูตจะยอมให้ที่พักพิงในสถานทูตแก่อาชญากรใด ๆ ไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีที่เห็นว่าอาชญากรผู้นั้นตกอยู่ในอันตรายที่จะถูกฆ่าจากฝูงชน ที่ใช้ความรุนแรง ก็จะยอมให้เข้าไปพักพิงได้เป็นกรณีพิเศษในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้กล่าวไว้ในข้อ 22 ดังนี้ ?1. สถานที่ของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ ตัวแทนของรัฐผู้รับไม่อาจเข้าไปในสถานที่นั้นได้ เว้นแต่ด้วนความยินยอมของหัวหน้าคณะผู้แทน 2. รัฐผู้รับมีหน้าที่พิเศษที่จะดำเนินการทั้งมวลที่เหมาะสม เพื่อคุ้มครองสถานที่ของคณะผู้แทนจากการบุกรุกหรือความเสียหายใด ๆ และที่จะป้องกันการรบกวนใด ๆ ต่อความสงบสุขของคณะผู้แทน หรือการทำให้เสื่อมเสียเกียรติ 3. สถานที่ของคณะผู้แทน เครื่องตกแต่ง และทรัพย์สินอื่นของคณะผู้แทนในสถานที่นั้น ตลอดจนพาหนะในการขนส่งของคณะผู้แทน ให้ได้รับความคุ้มกันจาการค้น การเรียกเกณฑ์ การอายัด หรือการบังคับคดี ? [การทูต] |
The Netherlands Fellowship Progrmmes | แผนงานด้านทุนของเนเธอร์แลนด์ รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ได้ให้ความร่วมมือด้านทุนการศึกษา และฝึกอบรมในระดับหลังปริญญาตรีแก่ผู้สนใจในประเทศกำลังพัฒนา โดยมีหลักสูตรต่าง ๆ ดังรายละเอียดใน http://www.nuffic.nl โดยผู้สมัครจะต้องเป็นผุ้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีและต้องทำงานไม่ ต่ำกว่า 2 - 3 ปี เพื่อให้มีประสบการณ์ในการทำงานและเพื่อนำสิ่งที่ได้จากการฝึกอบรมมาพัฒนา งานของตน ทั้งนี้เน้นการให้ทุนฝึกอบรมระยะสั้นเพื่อเพิ่มพูนความรู้มากกว่าการศึกษา [การทูต] |
Oil - for - Food | โครงการน้ำมันเพื่ออาหาร " เป็นโครงการภายใต้ข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่ 986 (พ.ศ. 2538) ซึ่งอนุญาตให้อิรักนำรายได้จากการขายน้ำมันดิบไปซื้อสินค้าทางด้านมนุษยธรรม เพื่อแจกจ่ายแก่ประชาชนอิรัก " [การทูต] |
proceeds of crime | ทรัพย์สินที่เป็นผลได้จากการกระทำความผิด [การทูต] |
neutron generato | เครื่องกำเนิดนิวตรอน, เป็นเครื่องผลิตนิวตรอนพลังงานสูง โดยการเร่งอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า เช่น ดิวเทอรอน (deuteron) ให้มีพลังงานจลน์ในช่วง 150-500 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ แล้วให้ชนกับเป้าบางๆ โดยทั่วไปปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่ใช้ในการผลิตนิวตรอน ได้จากการเร่งดิวเทอรอนให้ชนกับตริเตรียม(tritium) ทำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ ดังสมการ [พลังงาน] |
พลังงานสิ้นเปลือง | พลังงานสิ้นเปลือง, ตามกฎหมายอนุรักษ์พลังงานหมายความรวมถึงพลังงานที่ได้จากถ่านหิน หินน้ำมัน ทรายน้ำมัน น้ำมันดิบ น้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซธรรมชาติ และนิวเคลียร์ เป็นต้น [พลังงาน] |
พลังงานหมุนเวียน | พลังงานหมุนเวียน, หมายความรวมถึง พลังงานที่ได้จากไม้ ฟืน แกลบ กากอ้อย ชีวมวล น้ำ แสงอาทิตย์ ความร้อนใต้พิภพ ลม และคลื่น เป็นต้น [พลังงาน] |
ก๊าซหุงต้ม | ผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่งที่ได้จากการแยกก๊าซธรรมชาติและจากกระบวนการกลั่นน้ำมัน ดิบในโรงกลั่นน้ำมัน มีจุดเดือดอยู่ระหว่าง –420C – 0.50C เป็นของผสมของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีคาร์บอน 3-4 อะตอม มีสถานะเป็นก๊าซ ที่อุณหภูมิและความดันบรรยากาศ สามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือน ยานพาหนะ และในโรงงานอุตสาหกรรม [ปิโตรเลี่ยม] |
ก๊าซธรรมชาติ | สารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจนและคาร์บอนทีเกิดจากการทับถาม ของซากพืชและสัตว์ จำพวกจุลินทรีย์ที่อาศัยในโลกมานานนับร้อยล้านปี สามารถผลิตได้จากแหล่งใต้พื้นพิภพโดยตรงหรือติดมากับน้ำมันดิบจากหลุมน้ำมัน ดิบ โดยส่วนใหญ่จะมีก๊าซมีเทนตั้งแต่ 70% ขึ้นไป [ปิโตรเลี่ยม] |
ดีเซล | ผลิตภัณฑ์น้ำมันชนิดหนึ่งที่ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ โดยมีช่วงจุดเดือดอยู่ระหว่าง 1500-360oC น้ำมันดีเซลจะต้องจุดระเบิดได้เองโดยเร็วและเผาไหม้ได้หมดภายใต้สภาวะภายใน ห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ดีเซลหมุนเร็วหรือโซล่า เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ความเร็วรอบสูงกว่า 1, 000 รอบ/นาที และดีเซลหมุนช้า หรือ ขี้โล้ เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ที่ใช้ในการขับเคลื่อนเรือเดินทะเลและการผลิตไฟฟ้า [ปิโตรเลี่ยม] |
แนฟธา | ของเหลวได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเป็นรีฟอร์เมทและเบนซิน และตัวทำละลาย ในอุตสาหกรรมผลิตสี รวมทั้งใช้เป็นวัตถุดิบป้อนโรงงานโอเลฟินส์และโรงงานอะโรเมติกส์ [ปิโตรเลี่ยม] |
เบนซิน | ผลิตภัณฑ์น้ำมันชนิดหนึ่งทีได้จากการกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบโดยมีช่วงจุดเดือดอยู่ระหว่าง 30-2000C, Example: ผลิตภัณฑ์น้ำมันชนิดหนึ่งทีได้จากการกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบโดยมีช่วงจุดเดือดอยู่ระหว่าง 30-2000C เป็นของผสมของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนตั้งแต่ 4 -11 อะตอมผสมรวมกันมีคุณสมบัติเหมาะที่จะใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์เบนซิน มี 3 ชนิดด้วยกันคือ<br>ฬออกเทน 87 สีเขียว<br>ออกเทน 91 สีแดง<br>ออกเทน 95 สีเหลือง<br>ปัจจุบันน้ำมันเบนซินทุกชนิดในไทยเป็นน้ำมันไร้สารตะกั่วทั้งหมด สาเหตุที่มีการเรียกชื่อตามค่าออกเทนและมีสีต่างกัน เพื่อให้ผู้บริโภคเลื่อกใช้น้ำมันให้ถูกต้องเหมาะสมกับการใช้งานของเครื่อง ยนต์ [ปิโตรเลี่ยม] |
ปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้ว | ปริมาณที่จะสามารถผลิตได้จากแหล่งกักเก็บที่ค้นพบแล้ว, ปริมาณที่จะสามารถผลิตได้จากแหล่งกักเก็บที่ค้นพบแล้ว โดยประเมินได้อย่างมั่นใจพอควร จากข้อมูลทางธรรีวิทยาและวิศวกรรม ทั้งนี้ การผลิตจะต้องอยู่ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ ตลอดจนวิธีปฏิบัติการและกฎระเบียบของรัฐบาลในขณะนั้น [ปิโตรเลี่ยม] |
renewable energy | พลังงานหมุนเวียน, พลังงานหมุนเวียน พลังงานที่ใช้แล้วสามารถผลิตขึ้นมาใหม่ได้ในระยะเวลาที่ไม่นานมาก เช่น พลังงานทีได้จากไม้ ฟืน แกลบ กากอ้อย เอทานอล ไบโอดีเซล น้ำ แสง อาทิตย์ ความร้อนใต้พิภาพ ลมและคลื่น [ปิโตรเลี่ยม] |
Distillate | สิ่งกลั่น, สิ่งกลั่น คือ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ โดยกลั่นตัวเป็นของเหลวในอุณหภูมิและบรรยากาศธรรมดา สิ่งกลั่นอย่างเบา ได้แก่ น้ำมันเบนซินและสิ่งกลั่นอย่างกลางได้แก่ น้ำมันก๊าด น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันดีเซลและน้ำมันหล่อลื่น [ปิโตรเลี่ยม] |
Bioenergy | ชีวพลังงาน, พลังงานที่ได้จากชีวมวลหรือสิ่งมีชีวิตที่เพิ่งตายได้ไม่นาน หรือผลิตภัณฑ์จากกระบวนการเมตาบอลิซึมของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้น [เทคโนโลยีชีวภาพ] |
Bioethanol | ไบโอเอทานอล, เอทานอลที่ได้จากกระบวนการย่อยสลาย หรือกระบวนการหมักสารอินทรีย์รวมทั้งของเสียในสภาวะไร้อากาศ มักประกอบด้วยมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ [เทคโนโลยีชีวภาพ] |
Gasohol | ก๊าซโซฮอล์หรือแก๊สโซฮอล์, ก๊าซโซฮอล์หรือแก๊สโซฮอล์ ส่วนผสมที่ได้จากน้ำมันเบนซิน 90 เปอร์เซ็นต์กับเอทิลแอลกอฮอล์ 10 เปอร์เซ็นต์ โดยที่เอทิลแอลกอฮอล์ที่ใช้มักได้จากพืช เช่น ข้าวโพด อ้อย และมันสำปะหลัง เป็นต้น [เทคโนโลยีชีวภาพ] |
Batch | 1.ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการผสมในแต่ละครั้ง 2.รอบของการผลิตในกระบวนการผลิตแบบไม่ต่อเนื่อง [เทคโนโลยียาง] |
Butyl Rubber or Isobutylene Isoprene Rubber: IIR | ยาง IIR เป็นยางสังเคราะห์ที่ได้จากโคโพลิเมอร์ระหว่าง isobutylene กับ isoprene มีสมบัติทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องจากสารเคมี ความร้อน แสงแดด ได้เป็นอย่างดี มีค่าการกระเด้งกระดอนต่ำที่อุณหภูมิห้อง นอกจากนี้ยางชนิดนี้ยังมีสมบัติเด่น คือ มีอัตราการซึมผ่านของก๊าซต่ำมาก ดังนั้นจึงนิยมใช้ในการผลิตยางในรถยนต์ หรือเคลือบผนังด้านในของยางเรเดียล ใช้ทำถุงยางลมสำหรับอบยางล้อให้คงรูปในอุตสาหกรรมผลิตยางรถยนต์ เป็นต้น และเนื่องการมีค่าการกระเด้งกระดอนต่ำที่อุณหภูมิห้อง ทำให้ดูดซับพลังงานกลและการสั่นสะเทือนได้ดีในช่วงอุณหภูมิที่กว้าง จึงเหมาะที่จะผลิตเป็นยางกันสะเทือนด้วย [เทคโนโลยียาง] |
Carbon black | ผงเขม่าดำได้จากการเผาไหม้แบบไม่สมบูรณ์ของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม มีสีดำ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของอนุภาคปฐมภูมิอยู่ในช่วง 1-10 นาโนเมตร นิยมใช้เป็นสารเสริมแรงในอุตสาหกรรมยาง เพื่อเพิ่มความแข็งแรง และความทนต่อการสึกหรอให้แก่ผลิตภัณฑ์ยาง [เทคโนโลยียาง] |
Chlorinated polyethylene rubber | ยางคลอริเนตพอลิเอทิลีนเป็นยางที่ได้จากการทำปฏิกิริยาระหว่างพอลิเอทิ ลีนและคลอรีน ยางชนิดนี้มีหลายเกรดขึ้นอยู่กับปริมาณของคลอรีน สมบัติโดยทั่วไปทนต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากสภาพอากาศ โอโซน ความร้อน และสารเคมีที่มีฤทธิ์กัดกร่อนต่างๆ ได้ดี มีการติดไฟต่ำ มีความเสถียรของสีสูงมาก ทนต่อน้ำมันและตัวทำละลายไฮโดรคาร์บอนที่ไม่มีขั้วปานกลาง แต่มีสมบัติการหักงอที่อุณหภูมิต่ำไม่ดี นิยมใช้ในการผลิตปลอกหุ้มสายไฟฟ้าและสายเคเบิล ท่อยางและชิ้นส่วนภายในยานยนต์ เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Chloroprene rubber | ยาง CR เป็นยางสังเคราะห์ที่ได้จากมอนอเมอร์ของคลอโรพรีน มีทั้งประเภทที่ใช้งานทั่วไปและประเภทใช้งานพิเศษ เช่น ทำกาวยาง ยางใช้เคลือบ และวัสดุอุดรอยรั่ว เป็นต้น เนื่องจากโมเลกุลของยาง CR สามารถจัดเรียงตัวได้อย่างเป็นระเบียบภายใต้สภาวะที่เหมาะสม ยางชนิดนี้จึงสามารถตกผลึกได้เช่นเดียวกับยางธรรมชาติ มีค่าความทนต่อแรงดึงสูง มีค่าความทนต่อการฉีกขาดและความต้านทานต่อการขัดถูสูง ยาง CR มีสมบัติทนต่อน้ำมันได้ปานกลางถึงดี และทนต่อความร้อน แสงแดด และโอโซนได้ค่อนข้างดี และยังมีสมบัติการหน่วงไฟ จึงนิยมนำไปใช้ในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ในงานภายนอกอาคาร เช่น ยางขอบหน้าต่าง ยางรองคอสะพาน ยางปลอกสายเคเบิล เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Dipping process | กระบวนการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ยางด้วยวิธีจุ่มแบบ ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ที่เตรียมได้จากกระบวนการดังกล่าวนี้ เช่น ถุงมือยาง ถุงยางอนามัย จุกนมยาง เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Dry rubber content | ปริมาณส่วนที่เป็นเนื้อยางทั้งหมดในน้ำยาง ซึ่งได้จากการทำให้น้ำยางจับตัวด้วยกรดแอซิติก ภายใต้การควบคุมสภาพการจับตัวอย่างแน่นอน เป็นค่าบ่งชี้ปริมาณของเนื้อยางจริงๆ ซึ่งมีความสำคัญในการซื้อขาย การนำน้ำยางไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยาง เช่น การออกสูตรส่วนผสมของสารเคมีต่างๆ [เทคโนโลยียาง] |
Elongation at break | ร้อยละการยืดของชิ้นทดสอบที่จุดขาด คำนวณได้จากสูตร การยืด (%) = (ความยาวสุดท้าย – ความยาวเริ่มต้น)/ความยาวเริ่มต้น x100 วิธีทำสามารถหาได้จาก ISO 37 หรือ ASTM D412 [เทคโนโลยียาง] |
Epichlorohydrin | ยางอิพิคลอโรไฮดรินเป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งที่มีสายโซ่หลักเป็นพอลิ อีเทอร์และมีหมู่คลอโรเมทิลเป็นกิ่งก้าน แบ่งได้เป็น 3 ชนิดหลัก คือ 1.โฮโมพอลิเมอร์ของอิพิคลอโรไฮดริน (CO) ได้จากการทำปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบเปิดวงแหวนของอิพิคลอโรไฮดริน 2.โคพอลิเมอร์ของอิพิคลอโรไฮดรินและเอทิลีนออกไซด์ (ECO) ได้จากการนำเอทิลีนออกไซด์ไปพอลิเมอไรเซชันร่วมกับอิพิคลอโรไฮดริน 3.เทอร์พอลิเมอร์ระหว่างอิพิคลอโรไฮดริน เอทิลีนออกไซด์ และมอนอเมอร์ชนิดที่ไม่อิ่มตัว (GECO/ETER) ได้จากการเติมมอนอเมอร์ชนิดที่สามลงไปเพื่อให้ยางชนิดนี้สามารถคงรูปได้โดย ใช้ระบบกำมะถันและเพอร์ออกไซด์ ยางอิพิคลอโรไฮดรินมีสมบัติเด่นหลายประการ คือ ทนต่อน้ำมันและน้ำมันเชื้อเพลิงได้ดี ทนต่อความร้อนและโอโซนได้ดีเยี่ยม มีอัตราการซึมผ่านของก๊าซและน้ำมันเชื้อเพลิงต่ำที่สุด ทนทานต่อการติดไฟได้ดี และมีสมบัติการหักงอที่อุณหภูมิต่ำดีมากอีกด้วย ยางชนิดนี้แม้ว่าจะมีสมบัติที่ดีหลายประการ แต่ไม่นิยมนำมาใช้มากนักเนื่องจากยางชนิดนี้มีฤทธิ์กัดกร่อนโลหะและยางจะ อ่อนตัว (reversion) เมื่อใช้งานที่อุณหภูมิสูงเป็นเวลานานและมีราคาแพงมาก ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ทำจากยางชนิดนี้ ได้แก่ ซีล ปะเก็น ท่อน้ำมัน ปลอกหุ้มสายเคเบิล ลูกกลิ้งในเครื่องพิมพ์ เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
abiogenesis | (n) สมมติฐานที่ว่าสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นได้จากสิ่งไม่มีชีวิต |
ancestral | (adj) ที่ได้จากบรรพบุรุษ, See also: ที่สืบต่อมาจากบรรพบุรุษ, Syn. hereditary, congenital, genetic |
bank | (n) เงินที่ได้จากการเล่นการพนัน, See also: เงินพนัน |
benefit | (n) เงินที่ได้จากประกันชีวิต |
bonemeal | (n) ปุ๋ยที่ได้จากกระดูกสัตว์ป่น |
bran | (n) อาหารที่ได้จากรำข้าวและเมล็ดธัญพืช |
cane sugar | (n) ซูโครส, See also: น้ำตาลที่ได้จากอ้อย, Syn. sucrose |
cast | (n) สิ่งที่ได้จากการหลอม |
casting | (n) สิ่งที่ได้จากการหลอม, Syn. molding |
castor oil | (n) น้ำมันที่ได้จากพืชชนิดหนึ่ง |
charbroil | (vt) ต้ม (โดยใช้ไฟที่ได้จากถ่านหิน) |
computation | (n) ผลที่ได้จากการคำนวณ |
coupon | (n) คูปอง, See also: บัตรแลกสินค้าที่ได้จากร้านค้า |
cube | (n) ค่าที่ได้จากการยกกำลังสาม |
empirical | (adj) ซึ่งได้จากประสบการณ์หรือการทดลองมากกว่าทฤษฎี, See also: เชิงประจักษ์, Syn. experiental, observation |
ergot | (n) สารที่ได้จากเชื้อรา ergot ซึ่งสามารถนำไปทำยารักษาโรคได้ |
erudition | (n) ความรู้ (ที่ได้จากการเรียนและการอ่าน), Syn. education, knowledge, scholarship |
ethanol | (n) เอธิลอัลกอฮอล์, See also: อัลกอฮอล์ที่ได้จากการกลั่นของหมัก, Syn. acetaldechyde |
gather from | (phrv) จับใจความจาก, See also: เข้าใจจาก, ตีความจาก, รู้ได้จาก, เก็บใจความจาก, Syn. understand by |
get home | (phrv) เป็นที่เข้าใจและยอมรับได้จาก, Syn. go home |
get out of | (phrv) ได้มาจาก, See also: ได้รับจาก, ได้จาก, Syn. get out |
grenadine | (n) น้ำเชื่อมที่ได้จากผลทับทิม |
isinglass | (n) วุ้นที่ได้จากถุงอากาศของปลา |
know by | (phrv) จำได้จาก (สัญลักษณ์, เครื่องหมาย), See also: รู้ได้จาก |
live off | (phrv) หาอาหารหรือรายได้จาก |
live on | (phrv) หาเลี้ยงชีพด้วย, See also: หารายได้จาก, เลี้ยงชีวิตด้วย, Syn. live by, exist by |
king's evidence | (n) หลักฐานที่ได้จากจำเลย, Syn. queen's evidence |
lactic | (adj) เกี่ยวกับน้ำนม, See also: ที่ได้จากน้ำนม |
lactose | (n) น้ำตาลชนิดหนึ่งที่ได้จากนม, See also: น้ำตาลนม |
lanolin | (n) ไขมันที่ได้จากขนแกะ, Syn. lanoline |
leaf lard | (n) มันที่ได้จากไขมันรอบไตของหมู |
leasehold | (adj) ได้จากการเช่า |
liquor | (n) น้ำที่ได้จากการกลั่น, Syn. juice, drippings |
liquor | (n) สุราที่ได้จากการกลั่น, See also: เหล้ากลั่น, เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์, Syn. spirits, liqueur, whisky, alcohol |
loot | (n) ของที่ได้จากการปล้นในระหว่างสงครามหรือการจลาจล, See also: ของที่แย่งชิงมา, ของที่ขโมยมา, Syn. spoil |
lye | (n) น้ำที่ได้จากการละลายสารละลาย |
make at | (phrv) หารายได้จาก, Syn. come after |
mannite | (n) ผลึกน้ำตาลที่ได้จากพืชหรือสัตว์ |
marine | (adj) ที่พบในทะเล, See also: ที่ได้จากทะเล |
marsh gas | (n) ก๊าซที่ได้จากการเน่าเปื่อยของพืชผัก |
mead | (n) เหล้าชนิดหนึ่งซึ่งได้จากการหมักน้ำผึ้งและน้ำ, Syn. dandelion wine |
measured | (adj) ซึ่งได้จากการวัด |
mix | (n) ของผสม, See also: สิ่งที่ได้จากการผสม, ส่วนผสม, เครื่องปรุง, Syn. mixture, ingredient |
momentum | (n) ปริมาณการเคลื่อนที่ของวัตถุที่วัดได้จากมวลของวัตถุคูณด้วยความเร็วในการเคลื่อนที่ของวัตถุ, See also: โมเมนตัม |
napthalene | (n) สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่ได้จากน้ำมันดิน, Syn. camphor |
non-fiction | (n) งานเขียนที่ได้จากเรื่องจริง, Ant. fiction |
olive oil | (n) น้ำมันที่ได้จากผลโอลิฟว์, See also: น้ำมันมะกอก |
output | (n) ข้อมูลที่ได้จากคอมพิวเตอร์, Ant. input |
petrochemical | (n) สารที่ได้จากน้ำมันปิโตรเคมี (เช่น แก๊ซโซลีน, พาราฟิน) |
petrochemical | (adj) เกี่ยวกับสารที่ได้จากน้ำมันปิโตรเคมี |
adaptation | (แอดแดพเท' เชิน) n. การปรับตัว, การปรับให้เหมาะ, สิ่งที่ได้จากการปรับให้เหมาะ, ภาวะที่เหมาะสม, ฉบับแก้ไขปรับปรุง, สิ่งที่แก้ไขปรับปรุง, การปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม, การปรับตัวของรูม่านตา, Syn. version, adjustment, Ant. rigid |
albumose | (แอล' บูโมส) n. lารประกอบที่ได้จากโปรตีนโดยฤทธิ์ของเอ็นไซม์ (derived from proteins) |
aluminothermy | (อะลู' มิโนเธอมี) n. ขบวนการเพิ่มอุณหพูมิให้สูง โดยการให้ผงอะลูมิเนียมทำปฏิกริยากับอ็อกซิเจนที่ได้จากอ๊อคไซด์โลหะอื่น., Syn. aluminothermics |
amide | สารประกอบที่ได้จากแอมโมเนีย โดยการแทนที่อะตอมของไฮโดรเจนด้วย acyl radical หรือจาก acid จาก OH เป็น NH2 |
analog | (แอน' นะลอก) n. = analogue อะนาล็อก เชิงอุปมานหมายถึง วิธีการเก็บข้อมูลที่ได้จากการวัดในลักษณะต่อเนื่อง เช่น วัดความเร็วของรถยนต์จากการหมุนของวงล้อ ตรงข้ามกับ ดิจิตอล (digital) ซึ่งหมายถึง การเก็บข้อมูลที่เป็นตัวเลข นาฬิกามีใช้ทั้งสองแบบ ซึ่งจะบอกความแตกต่างระหว่างอะนาล็อกและดิจิตอลได้ชัดเจน กล่าวคือ แบบหนึ่งจะแสดงเวลาเป็นตัวเลข ส่วนอีกแบบหนึ่งใช้เข็มสั้นและเข็มยาวเป็นตัวบอกเวลา เรียกว่าแบบอะนาล็อก คอมพิวเตอร์นั้นมีสองชนิด คือชนิดอะนาล็อกและชนิดดิจิตอล แต่คอมพิวเตอร์ที่เรารู้จักกันนั้นจะเก็บเฉพาะข้อมูลที่เป็นดิจิตอล "เสียง" เป็นข้อมูลที่มีลักษณะเป็นอะนาล็อก เมื่อจะนำเข้าไปเก็บในคอมพิวเตอร์ จะต้องถูกนำไปเปลี่ยนเป็นดิจิตอลก่อน โดยให้ผ่านอุปกรณ์ชนิดหนึ่งเรียกว่า "โมเด็ม" ดู digital เปรียบเทียบ |
analog computer | (แอน' นะลอกคอมพิวเตอร์) n. เครื่องคอมพิวเตอร์ที่คำนวณด้วยสิ่งที่แทนตัวเลขได้ และมีการแสดงผลลัพธ์โดยทางภาพที่ปรากฏบนจอภาพ หน้าปัด หรืออ่านค่าได้จากเครื่องวัด ค่าต่าง ๆ ที่นำมาใช้กับการคำนวณด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ เป็นค่าที่ต่อเนื่อง เช่น อุณหภูมิ ความดัน อย่างไรก็ตาม การใช้คอมพิวเตอร์ชนิดนี้ จำเป็นต้องใช้สูตรทางคณิตศาสตร์ช่วย เพื่อจะนำมาเปรียบเทียบแทนค่าได้ ตัวอย่างที่เห็นง่าย ๆ ได้แก่ สไลด์รูล (slide rule) เทอร์โมแสตท (thermostat) เครื่องวัดความเร็วรถยนต์ เป็นต้น ความละเอียดถูกต้องในการคำนวณด้วยอะนาล็อกคอมพิวเตอร์มีน้อยกว่าดิจิตอลคอมพิวเตอร์มากดู digital computer เปรียบเทียบ |
analogue | (แอน' นะลอก) n. ของที่คล้ายกัน, ค่าที่มีความต่อเนื่องกันโดยตลอด, เชิงอุปมาน หมายถึง การแทนปริมาณแดสงจำนวนโดยการวัดในลักษณะต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น ความเร็วของรถยนต์ ซึ่งวัดได้จากความเร็วของการหมุนของวงล้ออาจจะแทนได้ด้วยจำนวนเลข ดู digital เปรียบเทียบ |
aniline dye | n. สีย้อมจำพวกหนึ่ง มักได้จาก coal tar |
archil | (อาร์'คิล) n. สีย้อมสีม่วงที่ได้จาก lichens, พืชที่ให้ archil |
arithmetic mean | ค่าเฉลี่ยที่ได้จากการหารผลรวมของเลขด้วยจำนวนเลขเหล่านั้น, ค่าเฉลี่ย |
botanic | (บะแทน'นิค, -เคิล) adj. เกี่ยวกับพืช, เกี่ยวกับพฤกษศาสตร์ -n. ยาที่ได้จากพืช, ยาสมุนไพร, สมุนไพร |
botanical | (บะแทน'นิค, -เคิล) adj. เกี่ยวกับพืช, เกี่ยวกับพฤกษศาสตร์ -n. ยาที่ได้จากพืช, ยาสมุนไพร, สมุนไพร |
braid | (เบรค) { braided.braiding, braids } vt. ถักผม, ถักเปีย, ถักสาย, เล็ม, ขอบผ้า-n. สายถัก, เปีย, ดิ้นเงินดิ้นทอง, See also: braider เครื่องถัก, ผู้ถัก braiding การถัก, สิ่งที่ได้จากการถัก |
caffeine | (คาฟิน) n. แอลคาลอยด์ขมชนิดหนึ่งที่ได้จากกาแฟหรือชา |
coal oil | n. น้ำมันถ่านหินที่ได้จากการกลั่นทำลายถ่านบิทูมัน (bituminous coal) , น้ำมันก๊าด |
cocaine | (โคเคน') n. ยาชาเฉพาะแห่งที่ได้จากใบโคคา |
cocoa butter | n. สารไขมันที่ได้จากเมล็ดโกโก |
community chest | n. เงินสงเคราะห์ชุมชนที่ได้จากการบริจาค |
corticosteroid | (คอทะโคสเทอ'รอยด) n. steroidที่ได้จากเปลือกหมวกไต |
display | (ดิสเพล') vt. แสดง, เปิดเผย, โอ้อวด, แผ่ออก, เรียงพิมพ์ให้เด่นชัด n. การแสดง, การโอ้อวด, สิ่งที่แสดงให้เห็นชัด, นิทรรศการ, Syn. exhibit แสดงผลหน่วยแสดงผลหมายถึงการแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์แล้ว หน่วยแสดงผลก็คือจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ นั่นเอง นอกจากนั้น การแสดงผลอาจแสดงได้ทางเครื่องพิมพ์ printer, พล็อตเตอร์ plotter ฯ |
earned income | n. เงินรายได้จากค่าจ้าง เงินเดือนหรืออื่น ๆ (ไม่ใช่จากดอกเบี้ย) |
electrograph | n. บันทึกเป็นกราฟที่ได้จากวิธีการทางไฟฟ้า |
empirical | (เอมพี'ริเคิล) adj. ซึ่งได้จากประสบการณ์หรือการทดลองหรือการสังเกต (โดยไม่อาศัยวิทยาศาสตร์หรือทฤษฎี), See also: empiricalness n. ดูempirical |
gelatin | (เจล'ละทิน) n. โปรตีนวุ้นที่ได้จากการเคี่ยวหนังหรือกระดูกสัตว์., Syn. gelatine |
global variable | ตัวแปรส่วนกลางตัวแปรที่เรียกใช้ได้จากทุก ๆ ซับรูทีน (subroutine) ในโปรแกรมหลักเดียวกันดู local variable เปรียบเทียบ |
haloid | adj. คล้ายหรือได้จาก halogen |
hard copy | สำเนาถาวรสิ่งพิมพ์ออก1. หมายถึง ผลลัพธ์หรือสารสนเทศ (information) หรือผลที่ได้จากการประมวลผลที่เครื่องคอมพิวเตอร์พิมพ์ออกมา เมื่อสั่ง ตรงข้ามกับ soft copy ซึ่งหมายถึง สารสนเทศหรือผลที่เห็นบนจอภาพ เมื่อปิดไฟก็จะหายไป ดู soft copy เปรียบเทียบ2. อีกความหมายหนึ่ง จะหมายถึงผลงานที่พิมพ์ลงกระดาษ |
heme | (ฮีม) n. สารย้อมสีเข้มที่ได้จากฮีโมโกลบิน |
hydro | (ไฮ'โดร) adj. เกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าที่ได้จากพลังงานน้ำ. -n. พลังไฟฟ้าที่ได้จากพลังงานน้ำ, เครื่องกำเนิดพลังงานดังกล่าว |
inclusive or | (อินคลูซีฟ ออร์) และ/หรือเป็นตัวดำเนินการ (operator) ตัวหนึ่งที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม ใช้มากในคำสั่งที่เกี่ยวกับการเขียนภาพ ผลลัพธ์ของ inclusive OR จะเห็นได้จากตารางที่แสดง 1 คือจริง (true) และ 0 คือ เท็จ หรือ (false) ถ้าไม่ต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรม ก็ไม่จำเป็นต้องรู้จักคำสั่งนี้ก็ได้ |
information technology | เทคโนโลยีสารสนเทศใช้ตัวย่อว่า IT หมายถึงเทคโนโลยีในการรวบรวมข้อมูล การจัดเก็บอย่างมีระบบ การเรียกหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว การประมวลผล การวิเคราะห์ผลที่ได้จากการประมวลนั้น รวมไปถึงการเน้นในเรื่องการแสดงผล และประชาสัมพันธ์สารสนเทศนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ ในรูปแบบที่เหมาะสมกับผู้ที่จะนำไปใช้ต่อไป ตลอดไปจนถึงการสื่อสารข้อมูลนั้นไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ด้วย ว่ากันว่า IT กำลังจะก้าวเข้ามาแทนวิชา MIS (management information system) เพราะมีขอบเขตกว้างขวางกว่ามาก สรุปสั้น ๆ ได้ว่า เป็นเหมือนการนำวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (computer science) รวมกับนิเทศศาสตร์ (mass communications) |
infusion | (อินฟิว'เชน) n. การชง, การแช่, การแช่สมุนไพร, ของเหลวที่ได้จากการแช่สมุนไพร, การฉีดยาเข้าเส้นเลือด, สารละลายที่ใช้ฉีดยาเข้าเส้นเลือด |
it | (อิท) pron. มัน, นั่น, ตัว, คน, บุคคล, ตัวมาร, ตัวการ, คนสำคัญ, คนโง่. n. คนเล่น, สถานการณ์โดยทั่วไป ไอทีย่อมาจาก information technology แปลว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงเทคโนโลยีในการรวบรวมข้อมูล การจัดเก็บอย่างมีระบบ การเรียกหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว การประมวลผล การวิเคราะห์ผลที่ได้จากการประมวลนั้น รวมไปถึงการเน้นในเรื่องการแสดงผล และประชาสัมพันธ์สารสนเทศนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ ในรูปแบบที่เหมาะสมกับผู้ที่จะนำไปใช้ต่อไป ตลอดไปจนถึงการสื่อสารข้อมูลนั้นไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ด้วย ว่ากันว่า IT กำลังจะก้าวเข้ามาแทนวิชา MIS (management information system) เพราะมีขอบเขตกว้างขวางกว่ามาก สรุปสั้น ๆ ได้ว่า เป็นเหมือนการนำวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (computer science) รวมกับนิเทศศาสตร์ (mass communications) |
kerosene | (เคอ'โรซีน) n. น้ำมันก๊าด, น้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม |
keto | (คี'โท) adj. ได้จากketone |
killing | (คิล'ลิง) n. การฆ่า, การทำลาย, เหยื่อทั้งหมดที่ได้จากการล่า adj. ซึ่งถูกฆ่า, ถึงตาย, เหนื่อยอ่อน, ดึงดูดความสนใจ, ขบขันมาก, อดที่จะหัวเราะไม่ได้., See also: killingly adv. |
leasehold | ลีส'โฮลดฺ) n. ทรัพย์สินครอบครองที่ได้จากการเช่า. adj. ได้จากการเช่า |
litmus | (ลิท'มัส) n. สารสีน้ำเงินที่ได้จาก lichen |
mauve | (โมฟว) n. สีม่วงอมน้ำเงินซีด, สีย้อมสีม่วงที่ได้จากสาร aniline เป็นสีย้อมน้ำมันดิน |
measured | (เมส'เชฺอด) adj. ได้จากการวัด, ซึ่งหาค่าแล้ว, ไตร่ตรองและรอบคอบ, สม่ำเสมอ, แน่นอน, เป็นจังหวะ., See also: measuredly adv. measuredness n., Syn. well-considered |
naphthalene | (แนฟ'ธะลีน) ผลึกสีขาวชนิดหนึ่งที่ได้จากน้ำมันดิน |
observation | (ออบเซอเว'เชิน) n. การสังเกต, การปฏิบัติตามกฎหรือระเบียบหรือหน้าที่, ข้อสังเกต, ความเห็น, ข้อเตือนใจ, ข้อมูล, ข้อความ, ข่าว, สิ่งที่ได้จากการสังเกต, Syn. perception |
output device | อุปกรณ์ส่งออกอุปกรณ์แสดงผลหมายถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำ หรือผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล การแสดงนั้นอาจแสดงผ่านทางอุปกรณ์ได้หลายชนิด เป็นต้นว่า จอภาพ เครื่องพิมพ์ พล็อตเตอร์ รวมทั้งหน่วยขับจานบันทึก ดู input device เปรียบเทียบ |
paper tape punch | เครื่องเจาะแถบกระดาษเครื่องเจาะเทปกระดาษหมายถึง เครื่องเจาะแถบกระดาษให้เป็นรู เพื่อแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ เครื่องเจาะนี้จะต้องได้รับสัญญาณจากหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) มีความเร็วในการเจาะประมาณ 15 - 150 แถวต่อวินาที ดู paper tape ประกอบ |
partial differential | n. (คณิตศาสตร์) นิพจน์ที่ได้จากตัวแปร (variables) หลายตัวโดยทำให้เกิดpartial derivative (ดู) |
perspective | (เพอสเพค'ทิฟว) n. เทคนิคการเขียนภาพให้ได้ส่วนสัด เช่นเดียวกับที่เห็นด้วยตาจริง, ภาพที่ได้จากการเขียนด้วยเทคนิคดังกล่าว, ทัศนียภาพ, ทิวทัศน์, ทัศนวิสัย, ความซึ้ง, ภาพซึ้งที่มองไปข้างหน้า. adj. เกี่ยวกับเทคนิค หรือภาพดังกล่าว, Syn. discr |
petrochemistry | (พีโทรเคม'มิสทรี) n. วิชาเคมีที่เกี่ยวกับหิน, วิชาเคมีที่เกี่ยวกับน้ำมันปิโตร-เลียม หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากน้ำมันปิโตรเลียม |
pipeline | การทำงานแบบสายท่อหมายถึง วิธีการเชื่อมโยงสองโปรแกรมหรือกว่านั้นเข้าด้วยกัน โดยกำหนดให้ผลที่เกิดจากการประมวลผลในโปรแกรมแรก เป็นตัวกำหนดเรียกโปรแกรมที่สอง (หมายความว่า โปรแกรมที่สองจะเป็นโปรแกรมใด ขึ้นกับผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลในโปรแกรมแรก) การประมวลผลในโปรแกรมที่สองก็จะเรียกโปรแกรมต่อไป วิธีการนี้ใช้ในระบบยูนิกซ์ (UNIX) และ ดอส (DOS) |
primary storage | หมายถึง หน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ไม่ได้อยู่ในหน่วยประมวลผลกลาง ในการทำงานของคอมพิวเตอร์นั้น เมื่ออ่านข้อมูลเข้าไปแล้ว คอมพิวเตอร์จะนำข้อมูลนั้นไปไว้ในหน่วยความจำ แล้วจะเรียกมาใช้เมื่อต้องการ ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำนี้ จะอยู่ตลอดไปจนกว่าไฟจะดับ หรือมีการอ่านข้อมูลใหม่เข้าไปทับมีความหมายเหมือน main storageดู secondary storage เปรียบเทียบprint : พิมพ์หมายถึง การแสดงผลลัพธ์ที่ประมวลผลได้จากคอมพิวเตอร์ลงบนกระดาษ หรือแผ่นใส ฯ กับใช้เป็นรายการคำสั่งในโปรแกรมสำเร็จหลายโปรแกรม ที่จะให้คอมพิวเตอร์ทำการดังกล่าว ซึ่งมักจะมีคำถามตามมาอีกหลายคำถามในกรอบสนทนา (dialog box) เป็นต้นว่า พิมพ์กี่ชุด พิมพ์หน้าไหนบ้าง ขยายหรือย่อขนาดกี่เปอร์เซ็นต์ ฯ รวมทั้งเป็นคำสั่งในโปรแกรมในภาษาต่าง ๆ เกือบทุกภาษาด้วย |
printout | หมายถึงผลที่ได้จากการปฏิบัติงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ตามคำสั่งที่สั่งให้พิมพ์ ลงในกระดาษหรือวัสดุอื่น |