ไปไหนมาสามวาสองศอก | ก. ถามอย่างหนึ่งตอบไปอีกอย่างหนึ่ง. |
เรือล่มในหนองทองจะไปไหน | น. คนในเครือญาติแต่งงานกัน ทำให้ทรัพย์มรดกไม่ตกไปอยู่กับผู้อื่น. |
ก้นหนัก | ก. นั่งอยู่ที่ใดที่หนึ่งได้นาน ๆ ไม่ลุกหรือขยับเขยื้อนไปไหนง่าย ๆ เช่น แม่คนนี้ก้นหนัก ไปนั่งคุยอยู่บ้านเพื่อนตั้งแต่เช้ายังไม่ยอมกลับ. |
กระหัง | น. ผีชนิดหนึ่งที่ถือว่าเข้าสิงในตัวผู้ชาย เชื่อกันว่าเดิมเป็นผู้ชายที่เรียนวิชาอาคมแก่กล้าเข้าก็มีปีกมีหาง จะไปไหนก็ใช้กระด้งต่างปีก สากตำข้าวต่างขา สากกะเบือต่างหาง ชอบกินของโสโครก, คู่กับ กระสือ ซึ่งเข้าสิงในตัวผู้หญิง, ใช้ว่า กระหาง ก็มี เช่น ถ้าเปนสัจว่าเปนกระสือกระหางจะกละจริงไซร้ (สามดวง). |
กลับมาตายรัง | ก. ในที่สุดก็ต้องหวนกลับมาอยู่กับครอบครัวตามเดิม (ใช้แก่สามี) เช่น เขาไปไหนไม่รอด ต้องกลับมาตายรัง. |
กอดเข่า, กอดเข่าเจ่าจุก | ก. อยู่ในที่จำกัดอย่างหงอยเหงา เช่น ฝนตกทั้งวัน ไปไหนไม่ได้ ต้องนั่งกอดเข่าเจ่าจุกอยู่แต่ในบ้าน. |
กินนร | (-นอน) น. อมนุษย์ในนิยาย มี ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งเป็นครึ่งคนครึ่งนก ท่อนบนเป็นคน ท่อนล่างเป็นนก อีกชนิดหนึ่งมีรูปร่างเหมือนคน เมื่อจะไปไหนมาไหน ก็ใส่ปีกใส่หางบินไป. |
คว้างเคว้ง | ว. อาการที่หมุนหรือลอยไปตามกระแสลมกระแสนํ้าเป็นต้น อย่างไม่มีจุดหมายหรือไม่มีที่ยึดเหนี่ยว, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เขาเดินคว้างเคว้งไม่รู้จะไปไหนดี, เคว้งคว้าง ก็ว่า. |
คอเดียวกัน | ว. มีรสนิยมเดียวกัน เช่น คนนี้คอเดียวกัน ไปไหนไปด้วยกันเสมอ. |
คืบ ๑ | เคลื่อนอย่างช้า ๆ เช่น งานยังไม่คืบไปไหนเลย. |
คู่ชีพ | ว. ประจำตัว ไปไหนไปด้วยกัน เช่น ม้าคู่ชีพ ดาบคู่ชีพ. |
เคว้งคว้าง | ว. อาการที่หมุนหรือลอยไปตามกระแสลมกระแสนํ้าเป็นต้น อย่างไม่มีจุดหมายหรือไม่มีที่ยึดเหนี่ยว, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เขาเดินเคว้งคว้างไม่รู้จะไปไหนดี, คว้างเคว้ง ก็ว่า. |
เงาตามตัว | น. ผู้ที่ไปไหนไปด้วยกันแทบไม่คลาดกันเลย |
เจ่า ๒ | ว. อาการที่เกาะ จับ หรือนั่งอย่างหงอยเหงา เช่น นกจับเจ่า นั่งเจ่า, อยู่ในที่จำกัดไปไหนมาไหนไม่ได้ เช่น นํ้าท่วมต้องนั่งเจ่าอยู่กับบ้าน. |
แซ่ว | ว. อาการที่นอนนิ่งอยู่กับที่เคลื่อนไหวไปไหนไม่ได้ในลักษณะที่หมดกำลังหรือเจ็บป่วยเป็นต้น ในคำว่า นอนแซ่ว, แอ้วแซ่ว ก็ว่า. |
ตกคลัก, ตกคลั่ก | โดยปริยายหมายถึงอาการที่คนมารวมกันมาก ๆ ไปไหนไม่ได้. |
เตลิดเปิดเปิง | ก. ไปโดยเร็วจนยั้งไม่ได้, ไปอย่างไร้ทิศทาง, เช่น เตลิดเปิดเปิงไปไหนแล้วก็ไม่รู้. |
เที่ยว ๒ | ก. ไปไหน ๆ เพื่อความเพลิดเพลินตามสบาย เช่น ไปเที่ยวงานกาชาด, กิริยาที่ไปที่โน่นที่นี่เรื่อยไป เช่น ฉันเที่ยวตามหาเธอทั้งวัน, กิริยาที่ไปหรือทำในหลายที่ทั่ว ๆ ไป ใช้ประกอบกับกริยาอื่น ผู้พูดพูดในทำนองไม่เห็นด้วยว่าควรทำ เช่น เรื่องนี้เป็นความลับ อย่าเที่ยวพูดไปนะ. |
ผีกระหัง | น. ผีชนิดหนึ่งที่ถือว่าเข้าสิงในตัวผู้ชาย เชื่อกันว่าเดิมเป็นผู้ชายที่เรียนวิชาอาคมแก่กล้าเข้าก็มีปีกมีหาง จะไปไหนก็ใช้กระด้งต่างปีก สากตำข้าวต่างขา สากกะเบือต่างหาง ชอบกินของโสโครก, คู่กับ ผีกระสือ ซึ่งเป็นผีผู้หญิง. |
ยะ ๒ | ว. คำออกเสียงลงท้ายวลีหรือประโยค ถือว่าไม่สุภาพ เช่น ของกินนะยะ ของถวายพระนะยะ จะรีบไปไหนยะ. |
ย่างกราย | ก. เหยียบย่าง (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ไม่ได้ย่างกรายไปไหนเลย เขาไม่ได้ย่างกรายมาเลย. |
รัดตัว | ก. ทำให้ไม่คล่องตัว, ทำให้กระดิกกระเดี้ยไปไหนแทบไม่ได้, เช่น การเงินรัดตัว งานรัดตัว. |
รับผิดชอบ | ก. ยอมรับผลทั้งที่ดีและไม่ดีในกิจการที่ตนได้ทำลงไปหรือที่อยู่ในความดูแลของตน เช่น สมุห์บัญชีรับผิดชอบเรื่องเกี่ยวกับการเงิน, รับเป็นภารธุระ เช่น งานนี้เขารับผิดชอบเรื่องอาหาร เธอจะไปไหนก็ไปเถอะ ฉันรับผิดชอบทุกอย่างในบ้านเอง. |
ลูกเต้าเล้าอ่อน | น. ลูกเล็ก ๆ หลายคน เช่น เธอมีลูกเต้าเล้าอ่อน ไปไหนทีก็ต้องอุ้มบ้างจูงบ้าง. |
ลูกอ่อน | น. ลูกเล็ก ๆ ที่ยังไม่หย่านม, เรียกพ่อหรือแม่ที่มีลูกเล็ก ๆ ยังไม่หย่านม ว่า พ่อลูกอ่อน แม่ลูกอ่อน, โดยปริยายเรียกบุคคลที่ช่วยตัวเองไม่ได้ ต้องมีผู้อื่นคอยดูแลอย่างใกล้ชิด (มักใช้แก่ผู้สูงอายุ) เช่น เวลานี้ไปไหนไม่สะดวก เพราะมีคุณยายเป็นลูกอ่อน ต้องคอยดูแลท่าน. |
วะ ๑ | ว. คำบอกเสียงต่อท้ายประโยคแสดงความคุ้นเคยเป็นกันเองหรือแสดงความไม่สุภาพ เช่น ไปไหนวะ. |
ว้า ๑ | ว. คำออกเสียงลงท้ายประโยคแสดงความสงสัยหรือปลอบใจเป็นต้น เช่น หายไปไหนว้า อย่าเสียใจไปเลยว้า. |
เว้ย | ว. คำลงท้ายของการร้องเรียก ถาม หรือขานรับเป็นต้น ใช้ในลักษณะที่ไม่สุภาพหรือเป็นกันเอง เช่น แดงเว้ย ไปไหนเว้ย ไปตลาดมาเว้ย เบื่อจริงเว้ย, โว้ย ก็ว่า. |
แวดล้อม | ก. เฝ้าระวังรักษาอยู่โดยรอบ เช่น ตำรวจแวดล้อมบุคคลสำคัญ ผู้มีอำนาจไปไหนก็มีมือปืนแวดล้อม |
แว่บ ๆ | ว. อาการที่ปรากฏให้เห็นในช่วงเวลาสั้น ๆ ที่เพิ่งผ่านมา เช่น เห็นอยู่แว่บ ๆ ไปไหนซะแล้ว. |
โว้ย | ว. คำลงท้ายของการร้องเรียก ถาม หรือขานรับเป็นต้น ใช้ในลักษณะที่ไม่สุภาพหรือเป็นกันเอง เช่น แดงโว้ย ไปไหนโว้ย ไปตลาดมาโว้ย เบื่อจริงโว้ย, เว้ย ก็ว่า. |
หวา, หว่า ๑ | ว. คำประกอบท้ายเพื่อเน้นความ เช่น ไปไหนหวา. |
หว่า ๒ | ว. คำประกอบท้ายแสดงความแคลงใจเป็นต้น เช่น หายไปไหนหว่า. |
หายหน้า | ก. ไม่ได้พบหน้ากัน เช่น ไม่ได้พบกันเสียนาน หายหน้าไปไหนมา, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ หายตา เป็น หายหน้าหายตา |
หายหัว | ก. หายไปนาน เช่น ใช้ให้ไปซื้อของใกล้ ๆ แค่นี้ หายหัวไปไหนมา, หายไป, หลบไป, เช่น พอจะใช้ให้ทำงานก็หายหัวไปเลย, (เป็นคำไม่สุภาพ). |
ไหน ๆ | ว. สำนวนแสดงถึงความปลงใจในสิ่งที่ผ่านพ้นไปแล้วหรือเป็นการตัดพ้อต่อว่าเป็นต้น เช่น มัวแต่งุ่มง่ามอยู่นั่นแหละ เพื่อน ๆ เขาก้าวหน้าไปไหน ๆ แล้ว ไหน ๆ ก็ร่วมหอลงโรงกันแล้ว. |
อาลปน์, อาลปนะ | ในไวยากรณ์ หมายถึง คำที่ใช้เรียกหรือทักทายผู้ที่ตนจะพูดด้วย เช่น “นายแดง แกจะไปไหน” คำ “นายแดง” เป็นอาลปนะ. |
แอ้วแซ่ว | ว. อาการที่นอนนิ่งอยู่กับที่เคลื่อนไหวไปไหนไม่ได้ในลักษณะที่หมดกำลังหรือเจ็บป่วยเป็นต้น ในคำว่า นอนแอ้วแซ่ว, แซ่ว ก็ว่า. |
circular shift | การเลื่อนเป็นวงหมายถึง การเลื่อนบิต (bit) ที่อยู่ปลายด้านหนึ่งไปอยู่ปลายอีกด้านหนึ่งในเรจิสเตอร์ (register) เดียวกัน ในการเลื่อนแบบนี้ บิตจะไม่หายไปไหน มีความหมายเหมือน cyclic shiftดู shift ประกอบ |
cyclic shift | หมายถึง การเลื่อนบิต (bit) ที่อยู่ปลายด้านหนึ่งไปอยู่ปลายอีกด้านหนึ่งในเรจิสเตอร์ (register) เดียวกัน ในการเลื่อนแบบนี้ บิตจะไม่หายไปไหน มีความหมายเหมือน circular shiftดู shift ประกอบ |
hard disk | (ฮาร์ดดิสก์) จานบันทึกแบบแข็งหมายถึง จานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก ใช้เก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก ๆ โดยปกติจะบรรจุไว้ในกล่องมิดชิด บางที เรียก fixed disk เพื่อให้เห็นแตกต่างกับจานบันทึกขนาดเล็กที่นำไปไหนมาไหนได้ ที่เรียกว่า floppy disk ในปัจจุบัน ฮาร์ดดิสก์เป็นของจำเป็นมาก และมีอยู่ภายในไมโครคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ความจุขนาดปกติจะ มีตั้งแต่ 40 - 1, 000 เมกะไบต์ ยิ่งจุมาก ก็จะยิ่งทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น |
laptop | ขนาดวางตัก <คำแปล>แล็ปทอป <คำแปล>ใช้บอกขนาดของคอมพิวเตอร์ยุคใหม่ที่มีขนาดเล็กจนวางบนตักได้ในขณะใช้ ปัจจุบัน นิยมเรียกคอมพิวเตอร์ขนาดวางตักนี้ว่า ขนาดโน้ตบุ๊ก (notebook) เพราะสามารถนำติดตัวไปไหนมาไหนได้เหมือนสมุดบันทึก มีน้ำหนักน้อย และทำได้บางลงมาก |
liberty | (ลิบ'เบอที) n. อิสรภาพ, เสรีภาพ, ความเป็นอิสระ, สิทธิไปไหนมาไหน. -at liberty อิสระ ไม่มีงานทำ, Syn. freedom |
microfiche | ไมโครฟิชหมายถึงแผ่นไมโครฟิล์มเล็ก ๆ มีขนาดเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างยาวด้านละ 105 มิลลิเมตร ใช้เก็บภาพถ่ายของเอกสารโดยย่อไว้ในขนาดที่เล็กมาก เพื่อให้สะดวกในการเก็บรักษา และเป็นการประหยัดเนื้อที่ สามารถนำติดตัวไปไหน ๆ ได้สะดวก เพราะจะเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก ข้อมูลเหล่านี้จะอ่านด้วยตาเปล่าไม่ได้ ต้องใช้กล้องขยายสำหรับอ่านโดยเฉพาะ เรียกว่า microfich reader |
notebook computer | คอมพิวเตอร์ขนาดสมุดบันทึกหมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กมาก บางทีเรียกขนาดสมุดโน้ต หรือขนาดพกพา เพราะสามารถพกพาติดตัวไปไหน ๆ ได้สะดวก ใช้ได้ทั้งกับไฟบ้านและแบตเตอรี น้ำหนักไม่ถึง 1 กิโล กรัม ปัจจุบัน กำลังได้รับความนิยมมากมีความหมายเหมือน notepad computer |
notepad computer | คอมพิวเตอร์ขนาดสมุดพกโน้ตแพดคอมพิวเตอร์หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กมาก บางทีเรียกขนาดสมุดโน้ต หรือขนาดพกพา เพราะสามารถพกพาติดตัวไปไหน ๆ ได้สะดวก ใช้ได้ทั้งกับไฟบ้านและแบตเตอรี น้ำหนักไม่ถึง 1 กิโลกรัม ปัจจุบัน กำลังได้รับความนิยมมากมีความหมายเหมือน notebook computer |
pdl | (พีดีแอล) 1. ย่อมาจาก page description language เป็นภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมภาษาหนึ่ง เช่นเดียวกับโพสต์คริปต์ (postcript) ซึ่งจะทำการประมวลผลในหน่วยประมวลผลของเครื่องพิมพ์เอง ในพีดีแอลนั้น จะต้องมีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องของการกำหนดหน้า การคำนวณภาพกราฟิก แม้จะมีความยาวมาก แต่ก็จะทำงานได้เร็วกว่า คำสั่งที่ส่งไปจากเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพีดีแอลนั้น จะใช้ได้กับเครื่องพิมพ์ทุกยี่ห้อที่สามารถเข้าใจภาษานี้ ปัจจุบันแมคอินทอชใช้พีดีแอล ที่ชื่อ "postcript" ส่วนพีซีใช้พีดีแอลที่ชื่อ "true type" (เทียบเคียงได้กับ postcript) 2. ย่อมาจาก personal digital assistant (เครื่องช่วยงานส่วนบุคคลแบบดิจิตอล) หมายถึงคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่นำติดตัวไปไหนมาไหนได้ ผู้ใช้สามารถจดบันทึกข้อมูลลงไปด้วยปากกาพิเศษ เช่น แบบสินค้า แผนที่เส้นทางไปจุดนัดพบ รวมทั้งข้อมูล ต่าง ๆ รวมทั้งนัดหมายประจำวัน ฯ |
personal digital assistan | เครื่องช่วยงานส่วนบุคคลแบบดิจิตอลหมายถึงคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่นำติดตัวไปไหนมาไหนได้ ผู้ใช้สามารถจดบันทึกข้อมูลลงไปด้วยปากกาพิเศษ เช่น แบบเสื้อ แผนที่ทางไปจุดนัดพบ รวมทั้งข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งนัดหมายประจำวัน ฯลฯ |
pocket size | ขนาดกระเป๋าเป็นคำบอกขนาดของไมโครคอมพิวเตอร์อีกขนาดหนึ่ง ที่เล็กพอที่จะนำใส่กระเป๋าเสื้อ พกพาไปไหนมาไหนได้ดู laptop, notebook เปรียบเทียบ |
portable computer | คอมพิวเตอร์กระเป๋าหิ้วหมายถึง ไมโครคอมพิวเตอร์ในรุ่นต่าง ๆ ที่สามารถพกพาไปไหน ๆ ได้โดยสะดวก มีหลายขนาด ทั้งขนาดวางตัก (laptop) ขนาดมือถือ (handheld) และขนาดโน้ตบุ๊ก (notebook) เป็นต้น |
read only memory | หน่วยความจำอ่านอย่างเดียวใช้ตัวย่อว่า ROM (อ่านว่า รอม) แปลว่าหน่วยความจำอ่านอย่างเดียว หมายถึงหน่วยความจำลักษณะหนึ่งที่ใช้สำหรับอ่านข้อมูลออกมาได้อย่างเดียวเท่านั้น จะบันทึกข้อมูลลงไปไม่ได้เลย หน่วยความจำส่วนนี้จะเก็บคำสั่งเบื้องต้นต่าง ๆ ไว้ และจะเก็บอยู่ตลอดไป แม้ว่าจะปิดสวิตซ์ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลในรอม ก็จะไม่สูญหายไปไหนดู RAM เปรียบเทียบ |
rom | รอมย่อมาจาก read only memory (แปลว่าหน่วยความจำอ่านอย่างเดียว) หมายถึงหน่วยความจำลักษณะหนึ่งที่ใช้สำหรับอ่านข้อมูลออกมาได้อย่างเดียวเท่านั้น จะบันทึกข้อมูลลงไปไม่ได้เลย หน่วยความจำส่วนนี้จะเก็บคำสั่งเบื้องต้นต่าง ๆ ไว้ และจะเก็บอยู่ตลอดไป แม้ว่าจะปิดสวิตซ์ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลในรอมก็จะไม่ศูนย์หายไปไหนดู RAM เปรียบเทียบ |