กรรมวาจก | (กำมะ-) น. ระเบียบของกริยาที่บอกว่าประธานเป็นกรรมการกหรือผู้ถูกทำ, กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทำหน้าที่เป็นกรรมการก คือ ผู้ถูกทำ, กริยาของประโยคกรรมต้องใช้สกรรมกริยา คือ กริยาที่ต้องมีกรรมรับ, บางทีก็มีกริยานุเคราะห์ “ถูก” นำ และใช้หมายไปในทางไม่ดี เช่น เด็กถูกตี ถูกตี เป็นกริยา กรรมวาจก เด็กเป็นกรรมการก แต่บางทีก็ไม่ปรากฏกริยานุเคราะห์ “ถูก” เช่น หนังสือเล่มนี้แต่งดีมาก. |
กระสัง ๒ | น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง, สันนิษฐานว่าในสมัยโบราณบางถิ่นอาจใช้เรียกนกชนิดหนึ่ง แต่ปัจจุบันไม่ปรากฏว่ามีใช้, เช่น กระสังกระสาสาว กระสันจับกระลับดู (เสือโค). |
จินดามณี | ชื่อตำราแบบเรียนหนังสือไทยโบราณ เช่น จินดามณีฉบับพระโหราธิบดีแต่งในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จินดามณีฉบับไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ในรัชกาลสมเด็จพระบรมโกศ จินดามณีฉบับกรมหลวงวงษาธิราชสนิทแต่งในสมัยรัตนโกสินทร์. |
ดลใจ | ก. มีเหตุอันไม่ปรากฏจูงใจให้คิดหรือให้ทำ เช่น เทวดาดลใจ กุศลดลใจ มารดลใจ. |
เต่าเดือย | น. ชื่อเต่าบกชนิด Manouria impressa (Günther) ในวงศ์ Testudinidae ขาไม่ปรากฏนิ้วให้เห็น ขาหลังมีลักษณะคล้ายขาช้าง ระหว่างโคนขาหลังกับโคนหางทั้งสองข้างมีเดือยแหลมข้างละ ๑ เดือย ลักษณะคล้ายหนามยื่นออกมาจากผิวหนัง กระดองสีเหลืองส้มปนน้ำตาล มีแผ่นเกล็ดบางส่วนโปร่งใส ตัวเต็มวัยมีความยาวกระดองหลัง ๒๕-๓๐ เซนติเมตร จัดเป็นเต่าบกที่สวยงามชนิดหนึ่ง กินเห็ดป่านานาชนิด อาศัยอยู่ตามเขาสูงที่เป็นป่าดิบเขา พบทางภาคเหนือ ตอนเหนือของภาคตะวันตก และตอนเหนือของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ควะ ก็เรียก. |
เต่าหก | น. ชื่อเต่าบกขนาดใหญ่ชนิด Manouria emys (Schlegel & Müller) ในวงศ์ Testudinidae ขาไม่ปรากฏนิ้วให้เห็น ขาหลังมีลักษณะคล้ายขาช้าง ระหว่างโคนขาหลังกับโคนหางทั้งสองข้างมีเดือยแหลมขนาดต่าง ๆ ลักษณะคล้ายเล็บยื่นออกมาจากผิวหนัง ทำให้เข้าใจผิดว่าเต่าชนิดนี้มี ๖ ขา กินพืชและผลไม้ป่า เช่น กล้วยป่า บอน หน่อไผ่ มักพบอาศัยอยู่ตามที่ที่มีความชื้นสูงตามป่าเขาสูงที่เป็นป่าดงดิบ จัดเป็นเต่าบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย ตัวเต็มวัย หนักได้ถึง ๓๗ กิโลกรัม ในประเทศไทยพบ ๒ ชนิดย่อย ได้แก่ เต่าหกเหลือง [ M. e. emys (Schlegel & Müller) ] กระดองสีน้ำตาลอมเหลือง พบเฉพาะภาคใต้ตอนล่าง และเต่าหกดำ [ M. e. phayrei (Blyth) ] กระดองสีดำ พบเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้. |
มารหัวขน | (มาน-) น. ลูกที่อยู่ในท้องซึ่งยังไม่ปรากฏว่าใครเป็นพ่อ หรือไม่มีใครรับว่าเป็นพ่อ. |
ล่องหน | ก. หายตัวไปด้วยเวทมนตร์, มักใช้เข้าคู่กับคำ หายตัว เป็น ล่องหนหายตัว คือ ไม่ปรากฏให้เห็นตัว, โดยปริยายหมายความว่า หายไปโดยไม่มีร่องรอย เช่น กระเป๋าสตางค์บนโต๊ะล่องหนไปแล้ว. |
วงเล็บเหลี่ยม | น. คิ้ว, ใช้เป็นราชาศัพท์ว่า พระขนง, ใช้กันข้อความในการเขียนบรรณานุกรมและเชิงอรรถในกรณีที่ข้อความนั้นไม่ปรากฏในหนังสือ แต่ผู้ทำบรรณานุกรมเพิ่มเติมเข้าไปเอง โดยมีหลักฐานยืนยัน เช่น [ ตรี อมาตยกุล ] นำชมหอสมุดดำรงราชานุภาพ. พระนคร : กรมศิลปากร, ๒๔๙๔., ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์เพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขกลุ่มสัญลักษณ์ที่มีวงเล็บอื่นอยู่แล้วไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน เช่น 11 + 2[ x + 4 – 3{ x + 5 – 4(x + 1) } ] = 23, ใช้ในทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขหรือกลุ่มสัญลักษณ์เพื่อแสดงความหมายต่าง ๆ เช่น [ Ba2+ ][ F−2 ] = 1.05.10−6, Na2[ Fe(Cn)5(NO) ]·2H2O. |
หาย | ก. สูญ, หาไม่พบ, ไม่ปรากฏ, หมด, สิ้น, พ้นจากการเจ็บป่วย. |
หายตัว | ก. ทำให้ไม่เห็นตัว เช่น บางคนเชื่อว่ามีเวทมนตร์ทำให้หายตัวได้, มักใช้คู่กับ ล่องหน เป็น ล่องหนหายตัว หมายความว่า ไม่ปรากฏตัวให้เห็น |
อภูตะ | (อะพูตะ) ว. ไม่มี, ไม่เกิดขึ้น, ไม่ปรากฏ. |
อลิงค์, อลึงค์ | น. เพศของคำที่ไม่ปรากฏชัดลงไปว่าเป็นเพศชายหรือเพศหญิง เช่น คน ครู นักเรียน ข้าราชการ สุนัข แมว. |
Anonymous classic | งานที่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง, หนังสือแบบฉบับที่ไม่มีชื่อผู้แต่ง [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
No date | ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ (มปป.) [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
No place of publication | ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์ (มปท.) [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Elementary particles | อนุภาคมูลฐาน, อนุภาคชั้นสามัญที่สุดของสสารและรังสี ส่วนใหญ่มีอายุสั้นและไม่ปรากฏในภาวะปกติ (ยกเว้น อิเล็กตรอน นิวตรอน โปรตอน และนิวทริโน) เดิมหมายถึงอนุภาคใดๆ ที่ไม่สามารถแบ่งย่อยต่อไปได้ หรืออนุภาคที่เป็นองค์ประกอบของอะตอม ปัจจุบันหมายถึงอนุภาคโปรตอน นิวตรอน อิเล็กตรอน มีซอน มิวออน แบรีออน และปฏิยานุภาคของอนุภาคเหล่านี้ รวมทั้งโฟตอน แต่ไม่รวมอนุภาคแอลฟาหรือดิวเทอรอน [นิวเคลียร์] |
Sine loco | ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์ [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Sine nomine | ไม่ปรากฏชื่อสำนักพิมพ์ [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Infection, Abortive | เชื้อชนิดไม่ปรากฏอาการ [การแพทย์] |
Infection, Inapparent | การติดเชื้อที่ไม่มีอาการ, การติดเชื้อแบบไม่ปรากฎอาการ, การติดเชื้อที่ไม่มีอาการ, ติดเชื้อโดยไม่แสดงอาการของโรค, การติดเชื้อค้างนาน, การติดเชื้อที่ไม่ปรากฏอาการ, พวกติดเชื้อไม่ปรากฏอาการ, การติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการของโรค, การติดเชื้อที่ไม่ปรากฏอากา [การแพทย์] |
Infection, Subclinical | การติดเชื้อค้างนาน, การติดเชื้อไร้อาการ, การติดเชื้อโดยไม่แสดงอาการ, ไม่เกิดอาการของโรค, ไม่พบอาการ, การติดเชื้อที่ไม่ปรากฏอาการ [การแพทย์] |