Aerial photography | การถ่ายภาพทางอากาศ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Aerial photographs | ภาพถ่ายทางอากาศ [TU Subject Heading] |
Aerial photography | การถ่ายภาพทางอากาศ [TU Subject Heading] |
Aerial photography in forestry | การถ่ายภาพทางอากาศในการป่าไม้ [TU Subject Heading] |
Aerial photography in land use | ถ่ายภาพทางอากาศในการสำรวจการใช้ที่ดิน, การถ่ายภาพทางอากาศในการสำรวจการใช้ที่ดิน [TU Subject Heading] |
aerial photograph | aerial photograph, ภาพถ่ายทางอากาศ [เทคนิคด้านการชลประทานและการระบายน้ำ] |
oblique aerial photograph | oblique aerial photograph, รูปถ่ายทางอากาศแนวเฉียง [เทคนิคด้านการชลประทานและการระบายน้ำ] |
Aerial Photograph | รูปถ่ายทางอากาศ, Example: รูปถ่ายทางอากาศ (Aerial Photograph) หมายถึง รูปถ่ายของภูมิประเทศที่ที่ปรากฏบนพื้นผิวโลกที่ได้จากการถ่ายรูปทางอากาศด้วยวิธีนำกล้องถ่ายรูปทางอากาศติดไปกับอากาศยาน เช่น เครื่องบิน เครื่องบินที่ไม่มีคนขับ บอลลูน และให้อากาศยานบินในระดับความสูงไม่ต่ำกว่า 5, 000 ฟุต ในแนวดิ่งใช้ความสูง 15, 000 ฟุต และแนวเฉียงใช้ความสูงระหว่าง 5, 000-8, 000 ฟุต โดยบินไปเหนือภูมิประเทศที่จะทำการถ่ายรูป และทำการถ่ายรูปตามตำแหน่งทิศทางและความสูงของการบินตามที่ได้วางแผนไว้ก่อนแล้ว เรียกรูปถ่ายที่ได้นี้ว่า รูปถ่ายทางอากาศหรือภาพถ่ายทางอากาศ รายละเอียดของภาพที่ได้จะเหมือนกับการมองจากที่สูงลงมาที่ต่ำเนื่องจากเป็นรูปที่ถ่ายลงมาจากที่สูง รูปถ่ายทางอากาศแบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ<br> 1. รูปถ่ายดิ่ง คือ รูปถ่ายที่ใช้ประโยชน์มากที่สุด เพราะให้รายละเอียดที่ตรงความเป็นจริงมากที่สุด รูปถ่ายดิ่งนี้แกนกล้องจะเอียงไม่กิน +/ - 3 องศา<br> 2. รูปถ่ายเฉียงน้อย คือ รูปถ่ายที่เอียงเกิน +/ - 3 องศา แต่ไม่เห็นเส้นขอบฟ้า<br> 3. รูปถ่ายเฉียงมาก คือ รูปถ่ายที่ถ่ายเอียงมากและเห็นเส้นขอบฟ้า มีข้อดีคือ ครอบคลุมบริเวณได้กว้างกว่ารูปถ่ายดิ่ง แต่ให้รายละเอียดที่ไม่ตรงตามความเป็นจริง<br> 4. รูปถ่ายผสม คือ รูปถ่ายที่ถ่ายด้วยกล้องถ่ายภาพทางอากาศหลายตัว ให้ทั้งรูปถ่ายดิ่งและรูปถ่ายเฉียง<br> การศึกษาข้อมูลจากรูปถ่ายทางอากาศสามารถ ทำได้ 2 วิธี คือ ศึกษาด้วยตาเปล่าและศึกษาด้วยกล้องสามมิติ เนื่องจากรูปถ่ายทางอากาศไม่มีคำอธิบายใดๆ ดังนั้น ผู้ใช้ต้องมีความรู้เกี่ยวกับการแปลความหมายภาพในรูปถ่ายทางอากาศ และควรศึกษารูปถ่ายทางอากาศควบคู่กับการใช้แผนที่ด้วยจะทำให้พิจารณารายละเอียดของภูมิประเทศได้ดียิ่งขึ้น รูปถ่ายทางอากาศสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในกิจการต่างๆ มากมาย เช่น งานวิศวกรรม งานพัฒนาที่ดิน งานด้านโบราณคดี ดาราศาสตร์ ชีววิทยา การทำแผนที่ทั้งทางบกและทางทะเล การสำรวจทางพื้นดิน การแบ่งชนิดที่ดิน การศึกษาทรัพยากรธรรมชาติ การสำรวจและการทำแผนที่สมุทรศาสตร์ และอื่นๆ [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |