Diplomacy | การฑูต [เศรษฐศาสตร์] |
Diplomacy | การทูต [TU Subject Heading] |
Conference Diplomacy | กระบวนการเจรจาระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาลในรูปของการ ประชุม แทนที่จะกระทำโดยวิถีทางการทูตตามปกติ คือ โดยทางเอกอัครราชทูต หรือผู้แทนทางการทูตถาวร การประชุมแบบหนึ่งซึ่งเรียกว่า การประชุมโต๊ะกลม เพื่อทำหน้าที่ระงับปัญหาระหว่างประเทศนั้น เริ่มนิยมกระทำกันหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 การประชุมระหว่างประเทศนี้จะประกอบด้วยคณะผู้แทน ซึ่งมีหัวหน้าคณะที่ได้รับมอบอำนาจเต็ม และรัฐบาลของประเทศที่ร่วมประชุมเป็นผู้ส่งไป ในเรื่องนี้มีความเห็นแตกต่างกันอยู่บ้าง บ้างเห็นว่า ควรเป็นการประชุมทางการทูตตามประเพณีที่กระทำกันโดยใช้ผู้เชี่ยวชาญโดยอาชีพ ซึ่งเป็นไปตามวิถีทางการทูตตามปกติมากกว่า [การทูต] |
Cultural Diplomacy | การทูตวัฒนธรรม หมายถึง กิจกรรมด้านวัฒนธรรมในกรอบกว้าง ทั้งภาษา ความคิด อุดมการณ์ ทัศนคติ ประเพณี วิทยาการความรู้ การกีฬาและวิถีชีวิต (ไม่เพียงแต่การส่งคณะนาฏศิลป์ไปแสดงในต่างประเทศเท่านั้น) ทั้งนี้ เพื่อ ใช้สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องมือสร้างความรู้สึกที่ดีต่อกัน โดยใช้แนวทางปฏิบัติอย่างต่อเนื่องในลักษณะซึมลึกเพื่อให้เข้าถึงประชาชน [การทูต] |
Diplomacy | การทูต, Example: คำว่าการทูต มีหลายท่านได้ให้คำอธิบายความหมายแตกต่างกัน บางท่านเห็นว่าการทูตเป็นศิลปะหรือศาสตร์ หรือวิธีปฏิบัติขั้นการเจรจากันระหว่างรัฐ บ้างว่า เป็นการจัดความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยวิธีการเจรจา ซึ่งจะกระทำโดยเอกอัครราชทูต หรือผู้แทนการทูตเป็นส่วนใหญ่หนังสือ ?Satow?s A Guide to Diplomatic Practice? ซึ่งเรียบเรียงแก้ไขใหม่เป็นครั้งที่ 4 โดย Sir Neville Bland ได้กล่าวว่า การทูต (Diplomacy) คือการนำเอาสติปัญญา (Intelligence) และปฏิภาณ (Tact) ออกใช้ในการเจรจาเป็นทางการระหว่างรัฐบาลของรัฐเอกราชด้วยกัน หรือหากจะกล่าวโดยสรุปก็หมายถึงการที่รัฐต่อรัฐยกเอาเรื่องต่าง ๆ ขึ้นเจรจากันอย่างเอาจริงเอาจังโดยสันติวิธีนั่นเองวิธีการที่รัฐหันมาใช้ การเจรจากันเพื่อทำความตกลงในเรื่องต่าง ๆ นั้นได้เริ่มกระทำกันมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยอาณาจักรโรมันในระยะหลัง ๆ ก่อนที่อาณาจักรจะล่มสลาย นัยว่าจักรพรรดิทั้งหลายของอาณาจักรจะล่มสลาย นัยว่าจักรพรรดิทั้งหลายของอาณาจักรไบซานเตอุม (Byzanteum) ในสมัยนั้นมีชื่อโด่งดังว่าเป็นบรมครูหรือปรมาจารย์ในการเจรจาทีเดียว แต่การทูตได้กลายเป็นที่รับรองกันทั่วไปว่าเป็นอาชีพอย่างหนึ่ง ก็ตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา ในตอนที่รัฐต่างๆ ของอิตาลีได้เริ่มแต่งตั้งเอกอัครราชทูตไปประจำเป็นการถาวร แต่ในสมัยนั้นก็ยังไม่มีการกำหนดสถานภาพและระเบียบข้อบังคับของอาชีพการทูต แต่อย่างใด จนกระทั่งถึงศตวรรษที่ 19 คือใน ค.ศ. 1815 จึงได้มีการทำความตกลงกันระหว่างประเทศกำหนดสถานภาพและกฎข้อบังคับขึ้นเป็น กิจลักษณะ คือหลังจากเสร็จสงครามนโปเลียน รัฐต่าง ๆ ที่เข้าร่มประชุมกัน ณ กรุงเวียนนา หรือเรียกว่าคองเกรสแห่งเวียนนา ได้ตกลงจัดจำแนกผู้แทนทางการทูตรวมทั้งจัดลำดับอาวุโสขึ้น เพื่อให้รัฐทั้งหลายได้ยึดถือเป็นหลักปฏิบัติ จะเห็นได้ว่าในทุกวันนี้ การทูตได้กลายเป็นส่วนหนึ่ง หรือสาขาหนึ่งของระบบการปกครองประเทศในทุกประเทศ ซึ่งทวีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดในโลกปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จากการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างสงครามเย็น (Cold War) ต่างเพียรพยายามใช้การทูตทุกวิถีทางเพื่อระงับปัญหาหรือข้อพิพาท โดยมิให้เกิดสงครามเบ็ดเสร็จ (Total War) ซึ่งเป็นหนทางสุดท้ายขึ้น เป็นต้นมีข้อน่าสังเกตว่า แต่เดิมรัฐต่าง ๆ จะใช้วิธีการเจรจาระหว่างรัฐบาลตามปกติ โดยผ่านทางผู้แทนทางการทูตถาวรหรือเอกอัครราชทูต ต่อมาหลังจากเสร็จสงครามโลกครั้งแรกเกิดความนิยมใช้วิธีระงับปัญหาระหว่าง ประเทศโดยการประชุมโต๊ะกลมมากขึ้น (Round table conferences) ในการประชุมระหว่างประเทศเช่นนี้ รัฐบาลของประเทศที่ร่วมการประชุมจะส่งคนของตนไปร่วมประชุมในฐานะผู้แทนผู้ ได้รับมอบอำนาจเต็มและให้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนในการเจรจา แทนที่จะเป็นเอกอัครราชทูตดังแต่ก่อน อย่างไรก็ดี วิธีการประชุมเช่นนี้ยังมีความเห็นแตกต่างกันอยู่สองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเห็นว่าควรจะใช้วิธีการประชุมแก้ปัญหาระหว่างประเทศโดยวิถีทางการ ทูตตามปกติ โดยให้เอกอัครราชทูตเป็นหัวหน้าคณะผู้แทน เพราะถือว่าเอกอัครราชทูตเป็นผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพการทูตอยู่แล้ว ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งสนับสนุนการประชุมโต๊ะกลม หรือที่เรียกว่า Diplomacy by Conferenceในสมัยปัจจุบัน วิธีเจรจาทางการทูตที่ใช้ปฏิบัติกันมีอยู่หลายวิธี วิธีแรกคือ การเจรจาทางการทูตตามปกติ ซึ่งปฏิบัติกันตลอดมาจนเป็นธรรมเนียม (Normal หรือ Traditional Diplomacy) ในกรณีนี้ เอกอัครราชทูตจะเป็นตัวแทนของประเทศของตนเจรจากับกระทรวงการต่างประเทศของ รัฐผู้รับประการที่สอง คือ การทูตด้วยวิธีการประชุม (Conference Diplomacy) ซึ่งคณะผู้แทนเจรจาจะมีบุคคลผู้ได้รับมอบอำนาจเต็มเป็นหัวหน้าคณะ และส่งไปจากประเทศที่ร่วมการประชุมประการที่สาม ได้แก่ วิธีที่เรียกว่า การทูตส่วนบุคคล (Personal Diplomacy) ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของรัฐสองแห่งหรือมากกว่านั้น จะทำการเจรจากันโดยตรง เพื่อระงับหรือทำความตกลงในเรื่องบางเรื่องที่มีผลประโยชน์ร่วมกันประการที่ สี่ คือ การทูตแบบสุดยอด (Summit Diplomacy) โดยประมุขของรัฐบาลหรือของรัฐจะไปร่วมประชุมกันเพื่อหาทางระงับปัญหาของตน ประการสุดท้าย ได้แก่ การทูตโดยทางองค์กรนิติบัญญัติหรือรัฐสภา (Parliamentary Diplomacy) คือให้นำปัญหาไปพิจารณากันในการประชุมปรึกษา เช่น การประชุมขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งนักเขียนเกี่ยวกับวิชาการทูตบางท่านเรียกว่า การทูตโดยคะแนนเสียง (Diplomacy by ballot)อย่างไรก็ตาม มีผู้ทรงคุณความรู้ด้านการทูตบางท่านเห็นว่า ยังมีวิธีการเจรจาทางการทูตอีกแบบหนึ่ง เรียกว่า การทูตสื่อมวลชน (Diplomacy by News Conference) ในกรณีนี้ ประมุขของรัฐหรือของรัฐบาลประเทศหนึ่งจะแถลงนโยบายของประเทศตนต่อที่ประชุม สื่อมวลชน เกี่ยวกับปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้นกับอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งโดยปกติย่อมจะแถลงโดยวิถีทางการทูตตามปกติให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบได้ แต่กลับหันไปใช้วิธีแจ้งให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบโดยการแถลงต่อที่ประชุมสื่อมวล ชนเท่ากับแจ้งให้ทราบโดยทางอ้อม [การทูต] |
Diplomacy for the Peoples | การทูตเพื่อประชาชน หมายถึง การดำเนินนโยบายต่างประเทศหรือกิจกรรมทางการทูต ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประชาชน เช่น โครงการส่งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ไปช่วยรักษาพยาบาลชาวกัมพูชา [การทูต] |
New Diplomacy | การทูตแบบใหม่ ภายหลังสงครามโลกครั้งแรก หรือตั้งแต่ ค.ศ. 1918 เป็นต้นมา ได้เกิดการทูตแบบใหม่ ซึ่งแตกต่างไปจาการทูตแบบเก่า อันได้ปฏิบัติกันมาเป็นเวลาหลายร้อยปี นักวิชาการบางท่านมีความเอนเอียงที่จะตำหนิว่า การที่เกิดสงครามโลกขึ้นนั้น เป็นเพราะการทูตประสบความล้มเหลวมากกว่าอย่างไรก็ดี บางท่านเห็นว่าแม้ส่วนประกอบของการทูตจะเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามกาลเวลา แต่เนื้อหาหรือสาระสำคัญของการทูตยังคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง เป็นการผสมผสานเข้าด้วยกันระหว่างการทูตแบบเก่ากับการทูตแบบใหม่อาจกล่าวได้ ว่า มีปัจจัยสำคัญ ๆ อยู่สามประการ ที่มีอิทธิพลหรือบังเกิดผลโดยเฉพาะต่อวิธีการหรือทฤษฎีของการเจรจาระหว่าง ประเทศ กล่าวคือ ข้อแรก ชุมชนนานาชาติทั้งหลายเกิดการตื่นตัวมากขึ้น ข้อที่สอง ได้มีการเล็งเห็นความสำคัญของมติสาธารณะ ( Public Opinion) มากขึ้น และประการสุดท้าย เป็นเพราะการสื่อสารคมนาคมได้เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็วอดีตนักการทูตผู้มี ชื่อเสียงคนหนึ่งของอินเดีย ได้แสดงความไม่พอใจและรังเกียจความหยาบอย่างปราศจากหน่วยก้านของการดำเนิน การทูตแบบใหม่ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อเข้าใส่กัน การใช้ถ้อยคำในเชิงผรุสวาทต่อกัน การเรียกร้องกันอย่างดื้อ ๆ ขาดความละมุนละไมและประณีต อาทิเช่น การเรียกร้องข้ามหัวรัฐบาลไปยังประชาชนโดยตรงในค่ายของฝ่ายตรงกันข้ามการ กระทำต่าง ๆ ที่จะให้รัฐบาลต้องเสียชื่อหรือขาดความน่าเชื่อถือ ตลอดจนการใส่ร้ายป้ายสีกันด้วยวิธีการต่าง ๆ นานา ห้ามไม่ให้ประชาชนติดต่อกันทางสังคม และอื่น ๆ เป็นต้น [การทูต] |
Normal Diplomacy | การติดต่อทางการทูตโดยวิถีทางทูตตามปกติ มักจะกระทำกันดังนี้ เมื่อรัฐบาลต้องการจะหยิบยกปัญหาขึ้นกับอีกรัฐบาลหนึ่ง ตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะส่งคำสั่งไปยังเอกอัครราชทูตของ ประเทศตนที่ประจำอยู่ในประเทศผู้รับส่งให้ยกเรื่องนั้นขึ้นเจรจากับรัฐบาล ของประเทศผู้รับ โดยปกติเอกอัครราชทูตจะมีหนังสือทางการทูต (Diplomatic Note) เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไปยังรัฐมนตรีวาการกระทรวงการต่างประเทศ ของประเทศผู้รับนั้นก่อน หรือไม่ก็ไปพบกับรัฐมนตรีด้วยตนเอง ณ กระทรวงการต่างประเทศ การเจรจากันอาจทำให้จำเป็นต้องมีการบันทึกของทูตแลกเปลี่ยนกันขึ้น ในรูปบันทึกช่วยจำ (Aide-Memoire ) ในบางกรณี เอกอัครราชทูตจำเป็นต้องไปพูดจา ณ กระทรวงการต่างประเทศ อีกหลายครั้งกว่าจะเสร็จเรื่อง ในระหว่างนั้น เอกอัครราชทูตมีหน้าที่จะต้องรายงานผลการเจรจาแต่ะครั้งไปยังกระทรวงการต่าง ประเทศของตน และบางคราวอาจจะต้องขอคำสั่งเพิ่มเติมอีกเมื่อเกิดกรณีใหม่โดยมิได้คาดหมาย มาก่อนเป็นต้น ในขณะเดียวกันกระทรวงการต่างประเทศของประเทศผู้รับก็จะส่งคำสั่งไปยังเอก อัครราชทูตของตน แนะว่าควรดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับปัญหาที่กำลังเจรจากันกับรัฐบาลของ ประเทศที่ตนประจำอยู่ผลการเจรจาอาจเป็นที่ตกลงกันได้ระหว่างรัฐบาลทั้งสอง ฝ่าย หรืออาจจะจบลงด้วยภาวะชะงักงัน ( Stalemate ) หรือรัฐบาลทั้งสองอาจจะตกลงกันว่าไม่สามารถตกลงกันได้ และปล่อยให้ปัญหาคาราคาซังไปก่อน จนกว่าจะมีการรื้อฟื้นเจรจากันใหม่ บางคราวปัญหาที่ยังตกลงกันไม่ได้นั้น อาจกลายเป็นปัญหาขัดแย้งกันอย่างรุนแรงต่อไปก็ได้ [การทูต] |
Open Diplomacy | คือการทูตแบบเปิดเผย อดีตประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน แห่งสหรัฐอเมริกา เป็นบุคคลที่สนับสนุนและเผยแพร่วิธีการทูตแบบเปิดเผยอย่างเต็มที่ หวังจะให้ชุมชนนานาชาติพร้อมใจกันสนับสนุนการทูตนี้เช่นเดียวกัน เมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1918 วูดโรว์ วิลสัน ได้ประกาศให้โลกทราบนโยบายของท่าน 14 ข้อ ข้อหนึ่งในจำนวนนั้นท่านปรารถนาว่า ในอนาคตประเทศต่าง ๆ ควรจะทำความตกลงกันเกี่ยวกับเรื่องสันติภาพอย่างเปิดเผย และต่อไปไม่ควรจะมีการเจรจาทำความตกลงระหว่างประเทศแบบลับเฉพาะอย่างใดทั้ง สิ้นแม้ว่าโดยทั่วไปจะเห็นพ้องด้วยกับนโยบายข้อแรกของ วูดโรว์ วิลสัน คือ ความตกลงหรือสนธิสัญญาใด ๆ เมื่อตกลงเสร็จสิ้นแล้ว ให้ประกาศเปิดเผยให้โลกทราบ แต่สำหรับข้องสองคือการเจรจาในระหว่างทำสนธิสัญญาให้กระทำกันอย่างเปิดเผย นั้น ส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะเห็นว่าลำพังการเจรจานั้น โดยสารัตถะสำคัญแล้วควรจะถือเป็นความลับไว้ก่อนจนกว่าจะเสร็จการเจรจา ทั้งนี้ เซอร์เดวิด เคลลี่ อดีตนักการทูตอังกฤษเคยให้ทรรศนะว่า การทูตแบบเปิดเผยนั้นเป็นถ้อยคำที่ขัดกันในตัว คือหากกระทำกันอย่างเปิดเผยเสียแล้วก็ไม่ใช่การทูตเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาตรา 102 ของกฎบัตรสหประชาชาติได้บัญญัติว่า ?1. สนธิสัญญาทุกฉบับ และความตกลงระหว่างประเทศทุกฉบับ ซึ่งสมาชิกใด ๆ แห่งสหประชาชาติได้เข้าเป็นภาคี ภายหลังที่กฎบัตรปัจจุบันได้ใช้บังคับ จักต้องจดทะเบียนไว้กับสำนักเลขาธิการโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และจักได้พิมพ์ขึ้นโดยสำนักงานนี้ 2. ภาคีแห่งสนธิสัญญา หรือความตกลงระหว่างประเทศเช่นว่าใด ซึ่งมิได้จดทะเบียนไว้ตามบทบัญญัติในวรรคหนึ่งข้อนี้ ไม่อาจยกเอาสนธิสัญญาหรือความตกลงนั้น ๆ ขึ้นกล่าวอ้างต่อองค์กรใด ๆ ของสหประชาชาติ? [การทูต] |
Parliamentary Diplomacy | การทูตแบบรัฐสภา หรือบางครั้งเรียกว่า Organization Diplomacy เช่น การทูตในองค์การสหประชาชาติ การทูตแบบนี้ต่างกับการทูตตามปกติที่ดำเนินกันในนครหลวงของประเทศ กล่าวคือ1. นักการทูตมีโอกาสติดต่อโดยใกล้ชิดกับสื่อมวลชนและกับนัการทูตด้วยกันจาก ประเทศอื่น ๆ รวมทั้งจากประเทศที่ไม่เป็นมิตรภายในองค์การสหประชาติ มากกว่าในนครหลวงของประเทศ แต่มีโอกาสน้อยกว่าที่จะติดต่อกับคนชาติของตนอย่างใกล้ชิด2. การพบปะติดต่อกับบรรดานักการทูตด้วยกันในองค์การสหประชาชาติ จะเป็นไปอย่างเป็นกันเองมากกว่าในนครหลวงของประเทศ3. ในองค์การสหประชาติ ประเทศเล็ก ๆ สามารถมีอิทธิพลในการเจรจากับประเทศใหญ่ ๆ ได้มากกว่าในนครของตน เพราะตามปกติ นักการทูตในนครหลวงมักจะติดต่ออย่างเป็นทางการกับนักการทูตในระดับเดียวกัน เท่านั้น แต่ข้อนี้มิได้ปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดนักในสหประชาชาติ ในแง่การปรึกษาหารือกันระหว่างกลุ่ม ในสมัยก่อนที่สงครามเย็นจะสิ้นสุดในสหประชาชาติได้แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม (Blocs) ด้วยกัน คือกลุ่มเอเชียอัฟริกา กลุ่มเครือจักรภพ (Commonwealth) กลุ่มคอมมิวนิสต์ กลุ่มละตินอเมริกัน กลุ่มยุโรปตะวันตก กลุ่มสแกนดิเนเวีย และกลุ่มอื่น ๆ ได้แก่ ประเทศที่มิได้ผูกพันเป็นทางการกับกลุ่มใด ๆ ที่กล่าวมา อนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับสงครามเย็น สมาชิกประเทศในสหประชาชาติจะรวมกลุ่มกันตามแนวนี้ คือ ประเทศนิยมฝักใฝ่กับประเทศฝ่ายตะวันตก (Pro-West members) ประเทศที่นิยมค่ายประเทศคอมมิวนิสต์ (Pro-Communist members) และประเทศที่ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายใด (Non-aligned members)เกี่ยวกับเรื่องการทูตในการประชุมสหประชาชาติ ในสมัยสงครามเย็น นักการทูตชั้นนำของอินเดียผู้หนึ่งให้ข้อวิจารณ์ว่า ไม่ว่าจะเป็นการประชุมพิจารณากัน การทะเลาะเบาะแว้งด้วยคำผรุสวาทหรือการแถลงโผงผางต่อกันนั้น ล้วนเป็นลักษณะที่ตรงกันข้ามกับลักษณะวิสัยของการทูตทั้งสิ้น ดังนั้น สิ่งที่เป็นไปในการประชุมสหประชาชาติ จึงแทบจะเรียกไม่ได้เลยว่าเป็นการทูต เพราะการทูตที่แท้จริงจะกระทำกันด้วยอารมณ์สงบ ใช้ความสุขุมคัมภีรภาพ ปราศจากกามุ่งโฆษณาตนแต่อย่างใด การแสดงต่าง ๆ เช่น สุนทรพจน์และภาพยนตร์นั้นจะต้องมีผู้ฟังหรือผู้ชม แต่สำหรับการทูตจะไม่มีผู้ฟังหรือผู้ชม (Audience) หากกล่าวเพียงสั้น ๆ ก็คือ ผู้พูดในสหประชาชาติมุ่งโฆษณาหาเสียง หรือคะแนนนิยมจากโลกภายนอก แต่ในการทูตนั้น ผู้พูดมุ่งจะให้มีการตกลงกันให้ได้ในเรื่องที่เจรจากันเป็นจุดประสงค์สำคัญ [การทูต] |
Personal Diplomacy | คือการเจรจากันโดยตรงระหว่างรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงต่างประเทศด้วยกัน ส่วนการเจรจากันโดยตรงระหว่างประมุขของรัฐ หรือหัวหน้าของรัฐบาล แต่เดิมก็จัดอยู่ในประเภทการมทูตส่วนบุคคล แต่มาในปัจจุบันนี้ มักนิยมเรียกกันว่าเป็นทูตแบบสุดยอด (Summit Diplomacy) แยกออกต่างหากจากการทูตส่วนบุคคลมีผู้สังเกตการณ์หลายคนเตือนว่า ในกรณีที่เกิดเรื่องหรือปัญหาที่ยังคาราคาซังอยู่นั้น ไม่ควรหันเข้าใช้วิธีส่งผู้แทนพิเศษจากนครหลวงไปแก้ปัญหา ควรให้เอกอัครราชทูตเป็นผู้ดำเนินการมากกว่า เพราะประการแรก การกระทำเช่นนั้นยังผลเสียหายต่อศักดิ์ศรีของตัวเอกอัครราชทูตเอง ทั้งยังกระทบกระเทือนต่อการที่เขาจะปฏิบัติงานให้ประสบผลอย่างเต็มที่ ระหว่างที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในประเทศนั้นในภายหน้าด้วย อีกประการหนึ่ง จะพึงคาดหมายได้อย่างไรว่า ตัวผู้แทนพิเศษที่ส่งไปนั้นจะมีความรอบรู้เกี่ยวกับภูมิหลังของปัญหา รวมทั้งตัวบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเท่ากับตัวเอกอัครราชทูตเอง ซึ่งได้ประจำทำงานอยู่ระยะเวลาหนึ่งแล้ว ณ ที่นั่น แม้แต่ แฮโรลด์ นิโคลสัน ก็ไม่เห็นด้วย และได้เตือนว่า การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศหนึ่งไปเยือนและพบปะกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอีกประเทศหนึ่งบ่อย ๆ นั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำและไม่ควรสนับสนุน เพราะการกระทำเช่นนี้ นอกจากจะทำให้ประชาชนคาดหมายไปต่าง ๆ นานาแล้ว ยังจะทำให้เกิดเข้าใจผิด และเกิดความสับสนขึ้นมาได้แม้แต่ผู้รอบรู้ในเรื่องธรรมเนียมปฏิบัติทางการ ทูตบางคนก็ยังแคลงใจว่า การทูตแบบสุดยอด (Summit Diplomacy) จะได้ประโยชน์และให้ผลจริง ๆ หรือไม่ นอกจากเฉพาะในกรณียกเว้นจริง ๆ เท่านั้น บ้างเห็นว่า การพบปะเจรจาแบบสุดยอดมักจะกลายสภาพเป็นการโฆษณาเพื่อประชาสัมพันธ์มากกว่า ที่จะเป็นการเจรจากันอย่างแท้จริง เพราะมีอันตรายอยู่ว่า ผู้ร่วมเจรจามักจะแสดงความคิดเห็นตามความรู้สึกมากกว่าตามข้อเท็จจริง เพราะมัวแต่เป็นห่วงและคำนึงถึงประชามติในประเทศของตนมากเกินไปนอกจากนี้ ผู้เจรจาไม่อยู่ในฐานะที่จะให้ข้อลดหย่อนหรือทำการประนีประนอม ( ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่งหากจะให้เจรจาบังเกิดผล) เพราะกลัวเสียหน้าหากกระทำเช่นนั้น ตามปกติ ถ้าให้นักการทูตเป็นผู้เจรจา เขาจะมีโอกาสมากกว่าที่จะใช้วิธีหลบหลีกอันชาญฉลาดในการเจรจาต่อรอง เพื่อให้เป็นผลตามที่มุ่งประสงค์ [การทูต] |
Public Diplomacy | การทูตสาธารณะ หมายถึง การดำเนินการทางการทูตแบบหนึ่งเพื่อโน้มน้าวชักจูงให้สาธารณชนและกลุ่มเป้า หมายและกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ในต่างประเทศที่มีบทบาทสำคัญต่อการตัดสินใจของรัฐให้มีความชื่นชมและเข้าใจ ถึงแนวทางการดำเนินนโยบายต่างประเทศของประเทศใคประเทศหนึ่ง ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระดับประชาชนให้มีความใกล้ชิดแน่นแฟ้น และประสบผลสำเร็จอน่างแนบเนียน โดยจะมี ความแตกต่างจากการดำเนินการทางการทูตแบบดั้งเดิม ที่เน้นการสื่อสารระหว่างรัฐต่อรัฐ(Government to Government)แต่การทูตสาธารณะจะเน้นวิธีการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับ ประชาชน( Government to People) ภาคเอกชน ประชาสังคม หรือสื่อมวลชนในต่างประเทศหรือระหว่าประชาชนด้วยกันเอง อนึ่ง การทูตวัฒนธรรม (Cultural Diplomacy) ที่ใช้วัฒนธรรมเป็นสื่อเชื่อมความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนนั้น ถือเป็นเครื่องมือหนึ่งของการดำเนินการทางการทูตสู่สาธารณชนนี้ [การทูต] |
Shuttle Diplomacy | การทูตแบบกระสวย หมายถึง การเดินทางไปเจรจาทางการทูตเพื่อคลี่คลายปัญหาหรือกรณีพิพาทโดยผู้ไกล่ เกลี่ยจะต้องเดินทางกลับไป-กลับมาระหว่างประเทศหรือคู่กรณีที่มีความขัดแย้ง กัน เช่น การแก้ปัญหาในตะวันออกกลาง [การทูต] |
Summit Diplomacy | การเจรจาตัวต่อตัวโดยตรง (Direct face-to-face negotiation) ระหว่างประมุขของรัฐ (Head of State) หรือ ระหว่างหัวหน้าของรัฐ (Head of Government) ในปัจจุบันเรียกว่า การเจรจาสุดยอด [การทูต] |
外交 | [がいこう, gaikou] (n) diplomacy; (P) #2,737 [Add to Longdo] |
シャトル外交 | [シャトルがいこう, shatoru gaikou] (n) shuttle diplomacy [Add to Longdo] |
ドル外交 | [ドルがいこう, doru gaikou] (n) dollar diplomacy [Add to Longdo] |
外交史 | [がいこうし, gaikoushi] (n) history of diplomacy; history of foreign policy [Add to Longdo] |
外交手腕 | [がいこうしゅわん, gaikoushuwan] (n) diplomatic finesse; skill(s) in diplomacy [Add to Longdo] |
外交術 | [がいこうじゅつ, gaikoujutsu] (n) diplomacy; state-craft [Add to Longdo] |
経済外交 | [けいざいがいこう, keizaigaikou] (n) economic diplomacy [Add to Longdo] |
公開外交 | [こうかいがいこう, koukaigaikou] (n) open diplomacy [Add to Longdo] |
広報外交 | [こうほうがいこう, kouhougaikou] (n) public diplomacy [Add to Longdo] |
資源外交 | [しげんがいこう, shigengaikou] (n) resources diplomacy [Add to Longdo] |
弱腰外交 | [よわごしがいこう, yowagoshigaikou] (n) weak foreign policy; weak-kneed diplomacy [Add to Longdo] |
小切手外交 | [こぎってがいこう, kogittegaikou] (n) checkbook diplomacy; chequebook diplomacy [Add to Longdo] |
瀬戸際外交 | [せとぎわがいこう, setogiwagaikou] (n) (See 瀬戸際政策) brinkmanship diplomacy [Add to Longdo] |
善隣外交 | [ぜんりんがいこう, zenringaikou] (n) good-neighbor diplomacy; a good-neighbor policy [Add to Longdo] |
対外関係 | [たいがいかんけい, taigaikankei] (n, adj-no) foreign (international) relations; diplomacy; external affairs [Add to Longdo] |
追従外交 | [ついしょうがいこう, tsuishougaikou] (n) sycophantic diplomacy; servile diplomacy [Add to Longdo] |
軟弱外交 | [なんじゃくがいこう, nanjakugaikou] (n) weak foreign policy; weak-kneed diplomacy [Add to Longdo] |
二重外交 | [にじゅうがいこう, nijuugaikou] (n) dual diplomacy [Add to Longdo] |
武力外交 | [ぶりょくがいこう, buryokugaikou] (n) armed diplomacy [Add to Longdo] |
砲艦外交 | [ほうかんがいこう, houkangaikou] (n) gunboat diplomacy [Add to Longdo] |
力の外交 | [ちからのがいこう, chikaranogaikou] (n) power diplomacy [Add to Longdo] |