Swamp Forest | บริเวณป่าที่ลุ่มน้ำขัง, Example: เกิดขึ้นในบริเวณแหล่งน้ำนิ่งรอบๆ ทะเลสาบและบริเวณที่ราบน้ำท่วมถึง ซึ่งมีน้ำขังอยู่เป็นช่วงระยะเวลานาน ลักษณะเฉพาะของพื้นที่นี้จะผันแปร ไปตามที่ตั้งและสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ [สิ่งแวดล้อม] |
Mangrove Swamp Forest or Mangrove Forest | ป่าชายเลน หรือป่าเลนน้ำเค็ม หรือป่าโกงกาง, Example: ป่าไม้ผลัดใบประเภทป่าพรุชนิดหนึ่ง พบตามชายฝั่งทะเล หรือบริเวณปากแม่น้ำที่มีดินโคลน และน้ำทะเลท่วมถึง ลักษณะของป่าชนิดนี้จะเป็นป่าที่มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่น แต่ละชนิดมีรากค้ำยันและรากหายใจแตกต่างกันไป พันธุ์ไม้ที่พบ ได้แก่ โกงกาง ประสัก โปรงหรือแสม ลำพู และลำแพน ในประเทศไทยพบตามชายฝั่งทะเลด้านตะวันตก ตั้งแต่ระนองถึงสตูล แถบอ่าวไทย ตั้งแต่สมุทรสงครามถึงตราด และจากประจวบคีรีขันธ์ไปจนถึงนราธิวาส [สิ่งแวดล้อม] |
Peat Swamp Forest | ป่าพรุ, Example: สังคมพืชป่าไม้ประเภทไม่ผลัดใบ (evergreen) แบบหนึ่ง หรือป่าดงดิบ เกิดในภูมิประเทศที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำหรือเป็นแอ่งรูปกระทะ ได้รับน้ำจาก น้ำฝนเป็นส่วนใหญ่ ทำให้มีน้ำจืดแช่ขังอยู่ตลอดทั้งปี เมื่อมีซากพืช และอินทรีย์วัตถุต่างๆ ทับถมกันเป็นเวลาช้านาน จึงไม่ค่อนผุสลาย ทำให้เกิดเป็น "พรุ" (peat bog) ขึ้น ดังนั้นจึงมีการสะสมของชั้นอินทรียวัตถุหรือดินอินทรีย์หนามากหรือน้อยอยู่ เหนือชั้นดินแท้ๆ มีพืชพันธุ์ไม้ป่าหลากหลายชนิดขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นบนพื้นที่ชุ่มน้ำ ดังนั้นป่าพรุจึงเป็นพื้ที่ชุ่มน้ำธรรมดาทีมีความสำคัญทางด้านพฤกษศาสตร์ และการอนุรักษ์สัตว์ป่า เนื่องจากมีสัตว์ที่หายากหรือใกล้จะสูญพันธุ์หลายชนิด ซึ่งปัจจุบันพบเฉพาะในบริเวณป่าพรุ และพื้นที่ใกล้เคียง [สิ่งแวดล้อม] |
Swamp Forest | ป่าพรุ หรือ ป่าบึง, Example: ป่าไม้ผลัดใบประเภทหนึ่งที่อยู่ตามที่ราบลุ่ม มีน้ำขังอยู่เสมอ และตามริมฝั่งทะเลที่มีโคลนเลนทั่วๆ ไป ปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 2, 000 มิลลิเมตรต่อปี แบ่งเป็นชนิดย่อยๆ ได้ 2 ชนิด คือ Fresh Water Swamp Forest และ Mangrove Swamp Forest [สิ่งแวดล้อม] |
Fresh Water Swamp Forest | ป่าพรุหรือป่าบึงน้ำจืด, Example: ป่าไม้ผลัดใบประเภทป่าพรุชนิดหนึ่ง ซึ่งอยู่ถัดจากชายฝั่งทะเลเข้ามา หรือบริเวณที่ลุ่ม ที่มีการทับถมของซากพืชและอินทรียวัตถุที่ไม่สลายตัว จะมีน้ำท่วมหรือชื้นแฉะตลอดปี ดินเป็นดินตะกอนหรือโคลนตม ป่าพรุที่ใหญ่ที่สุดพบในจังหวัดนราธิวาส พันธุ์ไม้ที่พบ ได้แก่ สำโรง จิกนม จิกนาหรือกระโดนน้ำ กะเบาน้ำ กันเกรา และหลาวชะดอน เป็นต้น [สิ่งแวดล้อม] |