กระจอก ๒ | น. เล็บ เช่น กระจอกสอกายใหญ่หน้า เล็กลาน หล็อนแฮ (ตำราช้างคำโคลง). |
กระทด | ว. คด, ไม่ตรง, เช่น คอกระทดคดคอดหยัก รวดท้าย (ตำราช้างคำโคลง), ไม้กระทดกระทำทอน ทุกที่ กงนา (โลกนิติ). |
กระแบกงา | ก. แตกเป็นลายงา เช่น พลุกกระแบกงาแต่ต้น จนปลาย (ตำราช้างคำโคลง). |
กังเวียน | น. ขอบที่เป็นระบายของผ้าปกกระพองช้าง เช่น จัดพาดกังเวียนวาง ห่อได้ (ตำราช้างคำโคลง-วชิรญาณ เล่ม ๒๑). |
กำพด | น. จอมประสาทหัวช้าง เช่น โขมดสารกำพด ทรงเทริด (ตำราช้างคำโคลง). |
เกก | ว. เก, เกไป, เรียกเขาวัวเขาควายเป็นต้นที่เฉออกไม่เข้ารูปกัน ว่า เขาเกก, เรียกงาช้างที่ปลายเฉออกไป ว่า งาเกก เช่น งาเกกข้างหนึ่งเข้า โดยหลัง (ตำราช้างคำโคลง), เรียกเสาเขื่อนที่เฉออก ว่า เขื่อนเกก. |
เพียง | ว. เท่า เช่น เพียงใด เพียงนี้ เพียงนั้น, แค่, เสมอ, เช่น ศาลเพียงตา สูงเพียงหู, เหมือน เช่น งามเพียงจันทร์ รักเพียงดวงตาดวงใจ, พอ, ในคำโคลงใช้ เพี้ยง ก็มี. |