ฆ้องวง | น. ลูกฆ้องที่เรียงไว้เป็นชุด ใช้ตีดำเนินทำนอง เจาะรูที่ใบฉัตร ๔ รู สำหรับร้อยเชือกหนังตีเกลียวผูกโยงกับด้านฆ้องที่ทำด้วยต้นหวายโป่ง วงหนึ่งมีลูกฆ้อง ๑๖-๑๘ ลูก ทุกลูกเทียบเสียงตํ่าสูงเรียงกันเป็นลำดับ มีหลายชนิด เช่น ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ฆ้องวงกลาง ฆ้องวงมโหรี ฆ้องวงเล็กมโหรี. |
กรอด ๓ | (กฺรอด) ก. บรรเลงดนตรีประเภทเครื่องตีดำเนินทำนอง โดยวิธีบังคับหรือห้ามเสียงในช่วงท้ายให้สั้นลง มักใช้ในการตีระนาด ฆ้องวง และกรับเสภา. |
กระแต ๑ | น. ชื่อฆ้องวงขนาดเล็ก ใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์มอญ ลักษณะร้านฆ้องเป็นรูปเว้าหงายขึ้น คล้ายฆ้องมอญแต่ปลายไม่สูง วงหนึ่งมีลูกฆ้อง ๑๑ ลูก, ฆ้องขนาดเล็กลูกเดียวแขวนกับไม้ ใช้มือหิ้วหรือแขวนไม้กับไม้ขาหยั่ง ใช้ตีเป็นสัญญาณในการอยู่เวรยามหรือแจ้งข่าวสารต่าง ๆ, ทั้ง ๒ ชนิดเรียกว่า ฆ้องกระแต. |
โขน ๒ | ไม้ประกับหัวท้ายส่วนสุดโค้งของรางระนาด ฆ้องวง หรือส่วนปลายสุดของซอด้วง. |
เครื่องห้า ๒ | น. ปี่พาทย์ที่ใช้เครื่องดนตรี ๕ อย่าง คือ ปี่ใน ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง. |
ฆ้อง | น. เครื่องตีชนิดหนึ่ง ทำด้วยโลหะผสม รูปร่างเป็นแผ่นวงกลมมีปุ่มนูนกลมตรงกลางสำหรับตี มีขอบยื่นลงมารอบตัว เรียกว่า ใบฉัตร มีหลายชนิด เช่น ฆ้องกระแต ฆ้องชัย ฆ้องวง. |
เดี่ยวรอบวง | ก. บรรเลงเดี่ยวเครื่องดนตรีประเภทดำเนินทำนอง เรียงตามลำดับหน้าที่ของเครื่องดนตรี เช่นในวงปี่พาทย์เรียงลำดับดังนี้ ปี่ ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ระนาดทุ้ม. |
เนื้อฆ้อง | น. ทำนองที่ฆ้องวงใหญ่บรรเลงโดยไม่พลิกแพลง ถือเป็นทำนองหลักของเพลงนั้น, เนื้อเพลง หรือ ลูกฆ้อง ก็เรียก. |
เบญจดุริยางค์ | น. ปี่พาทย์เครื่องห้า มี ๒ ชนิด คือ เครื่องอย่างเบาใช้ประกอบการเล่นละครพื้นเมืองชนิดหนึ่ง และเครื่องอย่างหนักใช้ประกอบการเล่นโขนชนิดหนึ่ง, เครื่องอย่างเบามี ปี่ไฉน ๑ ทับ ๒ (ตัวผู้ ๑ ใบ ตัวเมีย ๑ ใบ) กลองตุ๊ก ๑, เครื่องอย่างหนักมี ปี่ใน ๑ ระนาดเอก ๑ ฆ้องวงใหญ่ ๑ กลองทัด ๑ คู่ ตะโพน ๑ ฉิ่ง ๑. |
ปี่พาทย์เครื่องคู่ | น. วงปี่พาทย์ประกอบด้วย ปี่ใน ปี่นอก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง (ปัจจุบันนิยมใช้ปี่ในเพียงเลาเดียว). |
ปี่พาทย์เครื่องห้า | น. วงปี่พาทย์ประกอบด้วย ปี่ใน ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง. |
ปี่พาทย์เครื่องใหญ่ | น. วงปี่พาทย์ประกอบด้วย ปี่ใน ปี่นอก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก กลองทัด และฉิ่ง, แต่บางทีก็มีฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ กรับ และฆ้องโหม่งผสมด้วย (ปัจจุบันนิยมใช้แต่ปี่ใน). |
พิณพาทย์ | น. ชื่อเรียกวงดนตรีไทยโบราณ ประกอบด้วยเครื่องดีด คือ พิณ ผสมกับเครื่องตี ได้แก่ ระนาดและฆ้องวงชนิดต่าง ๆ เป็นหลัก และเครื่องกำกับจังหวะ เช่น ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง ตะโพน กลองทัด กลองแขก และกลองสองหน้า ต่อมาเปลี่ยนพิณ เป็น ปี่ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น ปี่พาทย์. |
โหน่ง | (โหฺน่ง) ว. มีเสียงอย่างเสียงตีฆ้องวง. |
ฆ้องวง | น. ลูกฆ้องที่เรียงไว้เป็นชุด ใช้ตีดำเนินทำนอง เจาะรูที่ใบฉัตร ๔ รู สำหรับร้อยเชือกหนังตีเกลียวผูกโยงกับด้านฆ้องที่ทำด้วยต้นหวายโป่ง วงหนึ่งมีลูกฆ้อง ๑๖-๑๘ ลูก ทุกลูกเทียบเสียงตํ่าสูงเรียงกันเป็นลำดับ มีหลายชนิด เช่น ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ฆ้องวงกลาง ฆ้องวงมโหรี ฆ้องวงเล็กมโหรี. |
กรอด ๓ | (กฺรอด) ก. บรรเลงดนตรีประเภทเครื่องตีดำเนินทำนอง โดยวิธีบังคับหรือห้ามเสียงในช่วงท้ายให้สั้นลง มักใช้ในการตีระนาด ฆ้องวง และกรับเสภา. |
กระแต ๑ | น. ชื่อฆ้องวงขนาดเล็ก ใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์มอญ ลักษณะร้านฆ้องเป็นรูปเว้าหงายขึ้น คล้ายฆ้องมอญแต่ปลายไม่สูง วงหนึ่งมีลูกฆ้อง ๑๑ ลูก, ฆ้องขนาดเล็กลูกเดียวแขวนกับไม้ ใช้มือหิ้วหรือแขวนไม้กับไม้ขาหยั่ง ใช้ตีเป็นสัญญาณในการอยู่เวรยามหรือแจ้งข่าวสารต่าง ๆ, ทั้ง ๒ ชนิดเรียกว่า ฆ้องกระแต. |
โขน ๒ | ไม้ประกับหัวท้ายส่วนสุดโค้งของรางระนาด ฆ้องวง หรือส่วนปลายสุดของซอด้วง. |
เครื่องห้า ๒ | น. ปี่พาทย์ที่ใช้เครื่องดนตรี ๕ อย่าง คือ ปี่ใน ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง. |
ฆ้อง | น. เครื่องตีชนิดหนึ่ง ทำด้วยโลหะผสม รูปร่างเป็นแผ่นวงกลมมีปุ่มนูนกลมตรงกลางสำหรับตี มีขอบยื่นลงมารอบตัว เรียกว่า ใบฉัตร มีหลายชนิด เช่น ฆ้องกระแต ฆ้องชัย ฆ้องวง. |
เดี่ยวรอบวง | ก. บรรเลงเดี่ยวเครื่องดนตรีประเภทดำเนินทำนอง เรียงตามลำดับหน้าที่ของเครื่องดนตรี เช่นในวงปี่พาทย์เรียงลำดับดังนี้ ปี่ ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ระนาดทุ้ม. |
เนื้อฆ้อง | น. ทำนองที่ฆ้องวงใหญ่บรรเลงโดยไม่พลิกแพลง ถือเป็นทำนองหลักของเพลงนั้น, เนื้อเพลง หรือ ลูกฆ้อง ก็เรียก. |
เบญจดุริยางค์ | น. ปี่พาทย์เครื่องห้า มี ๒ ชนิด คือ เครื่องอย่างเบาใช้ประกอบการเล่นละครพื้นเมืองชนิดหนึ่ง และเครื่องอย่างหนักใช้ประกอบการเล่นโขนชนิดหนึ่ง, เครื่องอย่างเบามี ปี่ไฉน ๑ ทับ ๒ (ตัวผู้ ๑ ใบ ตัวเมีย ๑ ใบ) กลองตุ๊ก ๑, เครื่องอย่างหนักมี ปี่ใน ๑ ระนาดเอก ๑ ฆ้องวงใหญ่ ๑ กลองทัด ๑ คู่ ตะโพน ๑ ฉิ่ง ๑. |
ปี่พาทย์เครื่องคู่ | น. วงปี่พาทย์ประกอบด้วย ปี่ใน ปี่นอก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง (ปัจจุบันนิยมใช้ปี่ในเพียงเลาเดียว). |
ปี่พาทย์เครื่องห้า | น. วงปี่พาทย์ประกอบด้วย ปี่ใน ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง. |
ปี่พาทย์เครื่องใหญ่ | น. วงปี่พาทย์ประกอบด้วย ปี่ใน ปี่นอก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก กลองทัด และฉิ่ง, แต่บางทีก็มีฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ กรับ และฆ้องโหม่งผสมด้วย (ปัจจุบันนิยมใช้แต่ปี่ใน). |
พิณพาทย์ | น. ชื่อเรียกวงดนตรีไทยโบราณ ประกอบด้วยเครื่องดีด คือ พิณ ผสมกับเครื่องตี ได้แก่ ระนาดและฆ้องวงชนิดต่าง ๆ เป็นหลัก และเครื่องกำกับจังหวะ เช่น ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง ตะโพน กลองทัด กลองแขก และกลองสองหน้า ต่อมาเปลี่ยนพิณ เป็น ปี่ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น ปี่พาทย์. |
โหน่ง | (โหฺน่ง) ว. มีเสียงอย่างเสียงตีฆ้องวง. |