ดาวพระเคราะห์ | น. ดาว ๙ ดวงที่ใช้ในทางโหราศาสตร์ ได้แก่ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ พฤหัสบดี ราหู ศุกร์ เกตุ. |
กุมลัคน์ | ก. ลักษณาการที่ดาวพระเคราะห์อยู่ประจำในเรือนเดียวกับลัคน์. |
เกตุ, เกตุ- | ชื่อดาวพระเคราะห์ดวงที่ ๙ หมายถึงตำแหน่งที่ดวงจันทร์ผ่านจากเหนือระนาบสุริยวิถีลงสู่ใต้ระนาบสุริยวิถี ส่วนตำแหน่งที่ดวงจันทร์ผ่านจากใต้ระนาบสุริยวิถีขึ้นเหนือระนาบสุริย-วิถี เรียกว่า พระราหู. |
เคราะห์ ๑ | (เคฺราะ) น. เรียกดาวเฉพาะ ๙ ดวง เรียงตามลำดับมหาทักษา คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ พฤหัสบดี ราหู ศุกร์ เกตุ ซึ่งถือกันว่ามีเทวดาประจำแต่ละดวง ว่า ดาวพระเคราะห์, เรียกดาวพระเคราะห์ทั้ง ๙ ดวงอย่างรวม ๆ ว่า ดาวนพเคราะห์ ถือว่าเป็นดาวที่ยึดโชคของคน |
จันทร-, จันทร์ | (จันทฺระ-) ในกลอนบางทีอ่านเป็น [ จันทอน, จัน ] น. ดวงเดือน, เรียกเทวดาองค์หนึ่งในนิยายว่า พระจันทร์, ในตำราโหราศาสตร์เป็นชื่อดาวพระเคราะห์ที่ ๒ |
ดวง | ผังที่แสดงตำแหน่งของดาวพระเคราะห์ต่าง ๆ ในท้องฟ้าขณะที่เกิดเหตุการณ์บางอย่าง โดยเฉพาะดวงชะตากำเนิด ซึ่งกำหนดความเป็นไปในชีวิตของบุคคลต่าง ๆ ตามความเชื่อทางโหราศาสตร์ เช่น ผูกดวง, เรียกเต็มว่า ดวงชะตา, ความเป็นไปในชีวิตตามกำหนดของดวงชะตา เช่น ดวงขึ้น ดวงตก. |
ดวงชะตา | น. ผังที่แสดงตำแหน่งของดาวพระเคราะห์ต่าง ๆ ในท้องฟ้าขณะที่เกิดเหตุการณ์บางอย่าง โดยเฉพาะดวงชะตากำเนิด ซึ่งกำหนดความเป็นไปในชีวิตของบุคคลต่าง ๆ ตามความเชื่อทางโหราศาสตร์, เรียกสั้น ๆ ว่า ดวง. |
ดาวนพเคราะห์ | น. ดาวพระเคราะห์ทั้ง ๙ คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ พฤหัสบดี ราหู ศุกร์ เกตุ. |
ทักษา | น. เรียกดาวพระเคราะห์เฉพาะ ๘ ดวง คือ อาทิตย์ (ประจำทิศอีสาน ใช้เลข ๑ แทน) จันทร์ (ประจำทิศบูรพา ใช้เลข ๒ แทน) อังคาร (ประจำทิศอาคเนย์ ใช้เลข ๓ แทน) พุธ (ประจำทิศทักษิณ ใช้เลข ๔ แทน) เสาร์ (ประจำทิศหรดี ใช้เลข ๗ แทน) พฤหัสบดี (ประจำทิศประจิม ใช้เลข ๕ แทน) ราหู (ประจำทิศพายัพ ใช้เลข ๘ แทน) และศุกร์ (ประจำทิศอุดร ใช้เลข ๖ แทน) เขียนเป็นแผนภูมิดังนี้
|
ทับลัคน์ | ก. ลักษณะที่ดาวพระเคราะห์มีตำแหน่งอยู่ในเรือนเดียวกันกับลัคนาหรือจรมาร่วมลัคนา. |
นพเคราะห์ | (นบพะเคฺราะ) น. ดาวพระเคราะห์ทั้ง ๙ คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ พฤหัสบดี ราหู ศุกร์ เกตุ. |
นวครหะ, นวเคราะห์ | (-คฺระหะ, -เคฺราะ) น. นพเคราะห์, ดาวพระเคราะห์ทั้ง ๙ คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ พฤหัสบดี ราหู ศุกร์ เกตุ. |
บาปเคราะห์ | (บาบปะ-) น. ดาวพระเคราะห์ที่ให้โทษ เช่น พระราหู. |
ปฏิทินโหราศาสตร์ | น. ตาตารางแผนที่แสดงการเคลื่อนไหวของดาวพระเคราะห์แต่ละวัน, ปูมโหร ก็เรียก. |
ปูมโหร | น. ตาตารางแผนที่แสดงลำดับการเคลื่อนไหวของดาวพระเคราะห์แต่ละวัน, ปฏิทินโหราศาสตร์ ก็เรียก. |
พระเคราะห์ | น. ดาวพระเคราะห์. |
มหาอุจ | น. ดาวพระเคราะห์ที่ทรงคุณสูงเด่น ทำให้เจ้าดวงชะตามีความเจริญรุ่งเรือง. |
รับพระเคราะห์ | ก. ทำพิธีรับเทวดาประจำดาวพระเคราะห์ดวงที่จะมาเสวยอายุเพื่อความสวัสดิมงคลตามความเชื่อทางโหราศาสตร์. |
ราหุ, ร่าหุ์, ราหู ๑ | ชื่อดาวพระเคราะห์ดวงที่ ๗ หมายถึงตำแหน่งที่ดวงจันทร์ผ่านจากใต้ระนาบสุริยวิถีขึ้นเหนือระนาบสุริยวิถี ส่วนตำแหน่งที่ดวงจันทร์ผ่านจากเหนือระนาบสุริยวิถีลงสู่ใต้ระนาบสุริยวิถี เรียกว่า พระเกตุ. |
เล็ง | อาการที่ดาวพระเคราะห์ดวงหนึ่งอยู่ในเรือนตรงกันข้ามกับดาวพระเคราะห์อีกดวงหนึ่งซึ่งอยู่ในเรือนที่ ๗ นับจากเรือนที่ตนอยู่. |
เล็งลัคน์ | น. การที่ดาวพระเคราะห์ดวงใดอยู่ในเรือนที่ ๗ นับจากเรือนลัคน์. |
ศุภเคราะห์ | น. คราวมงคล, คราวดี, ทางโหราศาสตร์หมายเอาดาวพระเคราะห์ที่ให้คุณ คือ จันทร์ พุธ พฤหัสบดี ศุกร์. |
ส่งพระเคราะห์ | ก. ทำพิธีส่งเทวดาประจำดาวพระเคราะห์ดวงที่กำลังจะสิ้นสุดการเสวยอายุเพื่อความสวัสดิมงคลตามความเชื่อทางโหราศาสตร์. |
สมผุส | (-ผุด) น. การคำนวณชนิดหนึ่งเกี่ยวกับโลกและดาวพระเคราะห์เล็งร่วมกัน. |
สลับเรือน | ก. อาการที่ดาวพระเคราะห์สับเปลี่ยนเรือนเกษตรกันในดวงชะตาบุคคล เช่นเจ้าเรือนเกษตรพุธราศีกันย์มาครองเรือนเกษตรศุกร์ราศีตุลย์ และเจ้าเรือนเกษตรศุกร์ราศีตุลย์ไปครองเรือนเกษตรพุธราศีกันย์. |
อาทิตย-, อาทิตย์ | ดวงตะวัน (ชื่อเทวดาองค์หนึ่งในนิยาย), ในตำรานพเคราะห์นับเอาเป็นดาวพระเคราะห์ที่ ๑ |
ดาวพระเคราะห์ | น. ดาว ๙ ดวงที่ใช้ในทางโหราศาสตร์ ได้แก่ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ พฤหัสบดี ราหู ศุกร์ เกตุ. |
กุมลัคน์ | ก. ลักษณาการที่ดาวพระเคราะห์อยู่ประจำในเรือนเดียวกับลัคน์. |
เกตุ, เกตุ- | ชื่อดาวพระเคราะห์ดวงที่ ๙ หมายถึงตำแหน่งที่ดวงจันทร์ผ่านจากเหนือระนาบสุริยวิถีลงสู่ใต้ระนาบสุริยวิถี ส่วนตำแหน่งที่ดวงจันทร์ผ่านจากใต้ระนาบสุริยวิถีขึ้นเหนือระนาบสุริย-วิถี เรียกว่า พระราหู. |
เคราะห์ ๑ | (เคฺราะ) น. เรียกดาวเฉพาะ ๙ ดวง เรียงตามลำดับมหาทักษา คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ พฤหัสบดี ราหู ศุกร์ เกตุ ซึ่งถือกันว่ามีเทวดาประจำแต่ละดวง ว่า ดาวพระเคราะห์, เรียกดาวพระเคราะห์ทั้ง ๙ ดวงอย่างรวม ๆ ว่า ดาวนพเคราะห์ ถือว่าเป็นดาวที่ยึดโชคของคน |
จันทร-, จันทร์ | (จันทฺระ-) ในกลอนบางทีอ่านเป็น [ จันทอน, จัน ] น. ดวงเดือน, เรียกเทวดาองค์หนึ่งในนิยายว่า พระจันทร์, ในตำราโหราศาสตร์เป็นชื่อดาวพระเคราะห์ที่ ๒ |
ดวง | ผังที่แสดงตำแหน่งของดาวพระเคราะห์ต่าง ๆ ในท้องฟ้าขณะที่เกิดเหตุการณ์บางอย่าง โดยเฉพาะดวงชะตากำเนิด ซึ่งกำหนดความเป็นไปในชีวิตของบุคคลต่าง ๆ ตามความเชื่อทางโหราศาสตร์ เช่น ผูกดวง, เรียกเต็มว่า ดวงชะตา, ความเป็นไปในชีวิตตามกำหนดของดวงชะตา เช่น ดวงขึ้น ดวงตก. |
ดวงชะตา | น. ผังที่แสดงตำแหน่งของดาวพระเคราะห์ต่าง ๆ ในท้องฟ้าขณะที่เกิดเหตุการณ์บางอย่าง โดยเฉพาะดวงชะตากำเนิด ซึ่งกำหนดความเป็นไปในชีวิตของบุคคลต่าง ๆ ตามความเชื่อทางโหราศาสตร์, เรียกสั้น ๆ ว่า ดวง. |
ดาวนพเคราะห์ | น. ดาวพระเคราะห์ทั้ง ๙ คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ พฤหัสบดี ราหู ศุกร์ เกตุ. |
ทักษา | น. เรียกดาวพระเคราะห์เฉพาะ ๘ ดวง คือ อาทิตย์ (ประจำทิศอีสาน ใช้เลข ๑ แทน) จันทร์ (ประจำทิศบูรพา ใช้เลข ๒ แทน) อังคาร (ประจำทิศอาคเนย์ ใช้เลข ๓ แทน) พุธ (ประจำทิศทักษิณ ใช้เลข ๔ แทน) เสาร์ (ประจำทิศหรดี ใช้เลข ๗ แทน) พฤหัสบดี (ประจำทิศประจิม ใช้เลข ๕ แทน) ราหู (ประจำทิศพายัพ ใช้เลข ๘ แทน) และศุกร์ (ประจำทิศอุดร ใช้เลข ๖ แทน) เขียนเป็นแผนภูมิดังนี้
|
ทับลัคน์ | ก. ลักษณะที่ดาวพระเคราะห์มีตำแหน่งอยู่ในเรือนเดียวกันกับลัคนาหรือจรมาร่วมลัคนา. |
นพเคราะห์ | (นบพะเคฺราะ) น. ดาวพระเคราะห์ทั้ง ๙ คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ พฤหัสบดี ราหู ศุกร์ เกตุ. |
นวครหะ, นวเคราะห์ | (-คฺระหะ, -เคฺราะ) น. นพเคราะห์, ดาวพระเคราะห์ทั้ง ๙ คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ พฤหัสบดี ราหู ศุกร์ เกตุ. |
บาปเคราะห์ | (บาบปะ-) น. ดาวพระเคราะห์ที่ให้โทษ เช่น พระราหู. |
ปฏิทินโหราศาสตร์ | น. ตาตารางแผนที่แสดงการเคลื่อนไหวของดาวพระเคราะห์แต่ละวัน, ปูมโหร ก็เรียก. |
ปูมโหร | น. ตาตารางแผนที่แสดงลำดับการเคลื่อนไหวของดาวพระเคราะห์แต่ละวัน, ปฏิทินโหราศาสตร์ ก็เรียก. |
พระเคราะห์ | น. ดาวพระเคราะห์. |
มหาอุจ | น. ดาวพระเคราะห์ที่ทรงคุณสูงเด่น ทำให้เจ้าดวงชะตามีความเจริญรุ่งเรือง. |
รับพระเคราะห์ | ก. ทำพิธีรับเทวดาประจำดาวพระเคราะห์ดวงที่จะมาเสวยอายุเพื่อความสวัสดิมงคลตามความเชื่อทางโหราศาสตร์. |
ราหุ, ร่าหุ์, ราหู ๑ | ชื่อดาวพระเคราะห์ดวงที่ ๗ หมายถึงตำแหน่งที่ดวงจันทร์ผ่านจากใต้ระนาบสุริยวิถีขึ้นเหนือระนาบสุริยวิถี ส่วนตำแหน่งที่ดวงจันทร์ผ่านจากเหนือระนาบสุริยวิถีลงสู่ใต้ระนาบสุริยวิถี เรียกว่า พระเกตุ. |
เล็ง | อาการที่ดาวพระเคราะห์ดวงหนึ่งอยู่ในเรือนตรงกันข้ามกับดาวพระเคราะห์อีกดวงหนึ่งซึ่งอยู่ในเรือนที่ ๗ นับจากเรือนที่ตนอยู่. |
เล็งลัคน์ | น. การที่ดาวพระเคราะห์ดวงใดอยู่ในเรือนที่ ๗ นับจากเรือนลัคน์. |
ศุภเคราะห์ | น. คราวมงคล, คราวดี, ทางโหราศาสตร์หมายเอาดาวพระเคราะห์ที่ให้คุณ คือ จันทร์ พุธ พฤหัสบดี ศุกร์. |
ส่งพระเคราะห์ | ก. ทำพิธีส่งเทวดาประจำดาวพระเคราะห์ดวงที่กำลังจะสิ้นสุดการเสวยอายุเพื่อความสวัสดิมงคลตามความเชื่อทางโหราศาสตร์. |
สมผุส | (-ผุด) น. การคำนวณชนิดหนึ่งเกี่ยวกับโลกและดาวพระเคราะห์เล็งร่วมกัน. |
สลับเรือน | ก. อาการที่ดาวพระเคราะห์สับเปลี่ยนเรือนเกษตรกันในดวงชะตาบุคคล เช่นเจ้าเรือนเกษตรพุธราศีกันย์มาครองเรือนเกษตรศุกร์ราศีตุลย์ และเจ้าเรือนเกษตรศุกร์ราศีตุลย์ไปครองเรือนเกษตรพุธราศีกันย์. |
อาทิตย-, อาทิตย์ | ดวงตะวัน (ชื่อเทวดาองค์หนึ่งในนิยาย), ในตำรานพเคราะห์นับเอาเป็นดาวพระเคราะห์ที่ ๑ |