ตะเลง | น. มอญ. |
กระทบ | ก. โดน, ถูกต้อง, ปะทะ, ในบทกลอนใช้ว่า ทบ ก็มี เช่น ของ้าวทบประทะกัน (ตะเลงพ่าย), หรือ ประทบ ก็มี เช่น ประทบประทะอลวน (ตะเลงพ่าย), พูดหรือทำให้กระเทือนไปถึงผู้อื่น เช่น พูดกระทบเขา ตีวัวกระทบคราด. |
กระแวน | น. นกกาแวน เช่น คับคาคาบคาร่อน กระแวนว่อนบินบน (ตะเลงพ่าย). (ดู กาแวน). |
กฤตยา ๑ | (กฺริดตะ-) น. เกียรติ เช่น เสื่อมกฤตยาสยามยศ (ตะเลงพ่าย). |
กฤษฎา ๑ | (กฺริดสะดา) ว. อันกระทำแล้ว เช่น เพื่อพระราชกฤษฎา แต่กี้ (ราชกิจที่ทรงทำมาแล้ว) (ตะเลงพ่าย). |
กิดาการ | น. อาการเล่าลือ, เสียงสรรเสริญ, ข่าวเลื่องลือ, บางทีเขียนเป็น กิฎาการ ก็มี เช่น แห่งเออกอึงกิฎาการ (ตะเลงพ่าย). |
เกลี้ย | (เกฺลี้ย) ก. ชักชวน, ทำให้ไล่เลี่ยกัน, เช่น เกลี้ยกระมลบันโดย (ตะเลงพ่าย). |
ขอบ ๒ | ก. ทดแทน, ตอบ, รับ, เช่น ขอบแต่ขอมสักตั้ง (ตะเลงพ่าย), ภายในสองนางขอบ, ธขอบคำความมนตรี (ลอ). |
เข้าลิลิต | ก. สัมผัสคําระหว่างบทตามแบบการแต่งลิลิตที่กําหนดไว้ในตําราฉันทลักษณ์ เช่นคํา “สม” กับ “สนม” ในตัวอย่างต่อไปนี้
| (ตะเลงพ่าย). |
|
ค่อน ๓ | ก. ตัด, ทอน, เช่น บั่นเรือขาดเปนท่อน ค่อนพวนขาดเปนทุ่น (ตะเลงพ่าย) |
คะไขว่ | (-ไขฺว่) ว. ขวักไขว่, สับสน, โบราณเขียนเป็น คไขว่ ก็มี เช่น ขว้างหอกซรัดคไขว่ ไล่คคลุกบุกบัน (ตะเลงพ่าย). |
คะค้อย | ก. เดินไม่ขาดตอน, โบราณเขียนเป็น คค้อย ก็มี เช่น คค้อยไปซุ่มซ่อน ดูศึกผ่อนพลเดอร (ตะเลงพ่าย). |
คับคา | น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น คับคาคาบคาร่อน กระแวนว่อนบินบน (ตะเลงพ่าย), ปัจจุบันเรียก จาบคาหัวเขียว. (ดู จาบคา). |
ค้า ๒, ค้าค้า | ก. ออกแสดง เช่น บค้าอาตม์ออกรงค์ (ตะเลงพ่าย), มีมือถือดาบกล้าอวดค้าค้าคำราม (ม. คำหลวง กุมาร). |
จตุลังคบาท | (-ลังคะบาด) น. พลประจำ ๔ เท้าช้าง, สำหรับช้างทรงของพระมหากษัตริย์หรือพระมหาอุปราชในเวลาสงคราม มีเจ้ากรมพระตำรวจหลวงหรือข้าราชการ เช่น พระมหามนตรี พระมหาเทพ หลวงอินทรเทพ หลวงพิเรนทรเทพ ประจำ ๔ เท้าช้าง เช่น จตุลังคบาทสี่ตน ล้วนขุนพลสามรรถ (ตะเลงพ่าย), จัตุลังคบาท หรือ แวงจตุลังคบาท ก็ว่า. |
จัตุลังคบาท | (จัดตุลังคะบาด) น. จตุลังคบาท เช่น จัตุลังคบาทบริรักษ พิทักษ์เท้ากุญชร (ตะเลงพ่าย). |
จำบัง ๑ | ก. รบ เช่น คชจำบังข้าศึก (ตะเลงพ่าย). |
จืด | หมด เช่น อันสมรรถมือผจญ จืดเสี้ยน (ตะเลงพ่าย). |
ชัค- | (ชักคะ-) น. แผ่นดิน เช่น ชัคสัตว์เสพสำราญ รมยทั่ว กันนา (ตะเลงพ่าย). |
ชื้อ | ว. เย็นเยือก, ชื้น, ร่ม เช่น ร่มไซรใบชิด ชรอื้อชื้อฉาย (สรรพสิทธิ์), บัดดลวลาหกชื้อ ชรอับ อยู่แฮ (ตะเลงพ่าย). |
โชยงการ | (ชะโยง-) น. คำสั่งของพระเจ้าแผ่นดิน เช่น ภูวไนยผายโอษฐอื้น โชยงการ (ตะเลงพ่าย). |
ซั้น | รีบ, เร็ว, ถี่, ติด ๆ กัน, เช่น เชอญเสด็จภักพลหมั้น แต่งทับซั้นไปหน่วง (ตะเลงพ่าย). |
ดัด ๑ | ทำให้เที่ยงตรง เช่น พระดัดคดีดล โดยเยี่ยง ยุกดิ์นา (ตะเลงพ่าย) |
ตระแบง ๑ | (ตฺระ-) ก. สะแบง, สะพาย, เช่น ทวยท้ายใดตั้งถือ มือกระลึงโล่ห์สล้าง คว้างคระวีตาวตะแบง แขวงซ้ายขวาห้าร้อย (ตะเลงพ่าย). |
ตาง | ส. คำใช้แทนนามหลายฝ่ายให้แยกออกเป็นส่วน ๆ เช่น ทุกทั่วสัตวตื่นตาง แตกเต้า (ตะเลงพ่าย), ต่าง ก็ว่า. |
ตื่นฟ้า | ก. ทำให้ฟ้าปั่นป่วน เช่น ไพรฦกแหล่งหล้าลั่น ฦๅถึง สรวงฤๅ เสียงอัคนีศรตึง ตื่นฟ้า (ตะเลงพ่าย). |
เตรียบ | จัดไว้เสร็จ, จัดไว้พร้อม, เช่น เตรียบตั้งต่อฉาน (ตะเลงพ่าย). |
โตย | น. นํ้า เช่น แปรกรรหายหอบโตย (ตะเลงพ่าย). |
ถนัด | เช่น, ราวกับ, เช่น ถนัดดั่งภูผาหลวง ทุ่มแท้ (ตะเลงพ่าย), สนัด ก็ว่า. |
ทบ ๒ | ก. กระทบ เช่น ของ้าวทบประทะกัน (ตะเลงพ่าย). |
ทบท่าว | ก. ทรุดลง, ล้มลง, เช่น เอนพระองค์ลงทบ ท่าวดิ้น (ตะเลงพ่าย). |
ทรหึงทรหวล | (ทอระหึงทอระหวน) ว. เสียงดังปั่นป่วน เช่น พอวายวรวาคยอ้าง โอษฐ์พระ ดานมหาวาตะตื่นฟ้า ทรหึงทรหวลพะ พานพัด หาวแฮ หอบธุมางจางจ้า จรัดด้าวแดนสมร (ตะเลงพ่าย). |
ทะ ๒ | ก. ปะทะ เช่น ของ้าวทบประทะกัน (ตะเลงพ่าย). |
ทุ่ม | ตี เช่น กระทุ่มดั่งทุ่มกร ตีอก เรียมฤๅ (ตะเลงพ่าย). |
เท้ง ๒ | ก. ทิ้ง เช่น ผีจักเท้งที่โพล้ ที่เพล้ใครเผา (ตะเลงพ่าย). |
ธเรษตรีศวร | (ทะเรดตฺรีสวน) น. ผู้เป็นใหญ่ในโลก, บางทีเขียนเป็น ธเรศตรีศวร เช่น สายัณห์หวั่นสวาทไท้ ธเรศตรี ศวรแฮ (ตะเลงพ่าย). |
นกคุ่ม | น. ชื่อปืนชนิดหนึ่ง เช่น เครื่องพิธยุทธยรรยง รายจ่ารงมณฑก นกคุ่มขนัดฉัตรชัย ไสวนกสับสลับสล้าง (ตะเลงพ่าย). |
นาคี ๒ | น. ช้าง เช่น ขี่ยาตรานาคี (ตะเลงพ่าย). |
นิตย- ๒ | (นิดตะยะ-) น. นิติ เช่น ผู้ชำนินิตยสาตรไสย (ตะเลงพ่าย). |
นุ ๑ | ตัดมาจากอุปสรรค อนุ เช่น ทราบนุสนธิ์ทุกแห่ง (ตะเลงพ่าย), โดยนุกรม (ม. คำหลวง วนปเวสน์). |
เนือง, เนือง ๆ | มาก เช่น แสนเสนางค์เนืองบร (ตะเลงพ่าย). |
บก | ย่อยยับหมดกำลัง เช่น โจมปรปักษบกบาง (ตะเลงพ่าย). |
บง ๒ | ก. มองดู, แลดู, เช่น พลางพระบงจัตุบาท (ตะเลงพ่าย). |
บทกวีนิพนธ์ | น. บทร้อยกรองที่กวีแต่ง เช่น มหาชาติคำหลวง ลิลิตตะเลงพ่าย สามัคคีเภทคำฉันท์, เดิมใช้หมายถึงร้อยแก้วที่แต่งดีด้วย เช่น สามก๊ก ราชาธิราช. |
บาท ๔ | น. ช่วงเวลาเท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของชั่วโมง เท่ากับ ๖ นาที, โบราณเขียนเป็น บาตร ก็มี เช่น ย่ำรุ่งสองนาลิกา เสษสังขยาห้าบาตร (ตะเลงพ่าย). |
บาบี | น. คนมีบาป, คนมีความชั่ว, เช่น ชนะแต่บาบีพรรค์ พรั่งพร้อม (ตะเลงพ่าย). |
บ่ายควาย | น. เวลาที่ควายบ่ายหน้ากลับบ้าน, เวลาเย็น, เช่น สุริยประภาธรงกลด จนกำหนดบ่ายควาย ชายสามนาลิกาเศษ (ตะเลงพ่าย). |
โบชุก | น. ตำแหน่งแม่ทัพพม่า เช่น ให้มางจาชโร เปนโบชุกที่สอง ยกทัพรองไปตาม (ตะเลงพ่าย). |
ประทบ | ก. กระทบ เช่น ประทบประทะอลวน (ตะเลงพ่าย). |
พรรลาย | เซ็งแซ่ เช่น ร้องก้องเสียงพรรลาย (ตะเลงพ่าย). |
ตะเลง | น. มอญ. |
กระทบ | ก. โดน, ถูกต้อง, ปะทะ, ในบทกลอนใช้ว่า ทบ ก็มี เช่น ของ้าวทบประทะกัน (ตะเลงพ่าย), หรือ ประทบ ก็มี เช่น ประทบประทะอลวน (ตะเลงพ่าย), พูดหรือทำให้กระเทือนไปถึงผู้อื่น เช่น พูดกระทบเขา ตีวัวกระทบคราด. |
กระแวน | น. นกกาแวน เช่น คับคาคาบคาร่อน กระแวนว่อนบินบน (ตะเลงพ่าย). (ดู กาแวน). |
กฤตยา ๑ | (กฺริดตะ-) น. เกียรติ เช่น เสื่อมกฤตยาสยามยศ (ตะเลงพ่าย). |
กฤษฎา ๑ | (กฺริดสะดา) ว. อันกระทำแล้ว เช่น เพื่อพระราชกฤษฎา แต่กี้ (ราชกิจที่ทรงทำมาแล้ว) (ตะเลงพ่าย). |
กิดาการ | น. อาการเล่าลือ, เสียงสรรเสริญ, ข่าวเลื่องลือ, บางทีเขียนเป็น กิฎาการ ก็มี เช่น แห่งเออกอึงกิฎาการ (ตะเลงพ่าย). |
เกลี้ย | (เกฺลี้ย) ก. ชักชวน, ทำให้ไล่เลี่ยกัน, เช่น เกลี้ยกระมลบันโดย (ตะเลงพ่าย). |
ขอบ ๒ | ก. ทดแทน, ตอบ, รับ, เช่น ขอบแต่ขอมสักตั้ง (ตะเลงพ่าย), ภายในสองนางขอบ, ธขอบคำความมนตรี (ลอ). |
เข้าลิลิต | ก. สัมผัสคําระหว่างบทตามแบบการแต่งลิลิตที่กําหนดไว้ในตําราฉันทลักษณ์ เช่นคํา “สม” กับ “สนม” ในตัวอย่างต่อไปนี้
| (ตะเลงพ่าย). |
|
ค่อน ๓ | ก. ตัด, ทอน, เช่น บั่นเรือขาดเปนท่อน ค่อนพวนขาดเปนทุ่น (ตะเลงพ่าย) |
คะไขว่ | (-ไขฺว่) ว. ขวักไขว่, สับสน, โบราณเขียนเป็น คไขว่ ก็มี เช่น ขว้างหอกซรัดคไขว่ ไล่คคลุกบุกบัน (ตะเลงพ่าย). |
คะค้อย | ก. เดินไม่ขาดตอน, โบราณเขียนเป็น คค้อย ก็มี เช่น คค้อยไปซุ่มซ่อน ดูศึกผ่อนพลเดอร (ตะเลงพ่าย). |
คับคา | น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น คับคาคาบคาร่อน กระแวนว่อนบินบน (ตะเลงพ่าย), ปัจจุบันเรียก จาบคาหัวเขียว. (ดู จาบคา). |
ค้า ๒, ค้าค้า | ก. ออกแสดง เช่น บค้าอาตม์ออกรงค์ (ตะเลงพ่าย), มีมือถือดาบกล้าอวดค้าค้าคำราม (ม. คำหลวง กุมาร). |
จตุลังคบาท | (-ลังคะบาด) น. พลประจำ ๔ เท้าช้าง, สำหรับช้างทรงของพระมหากษัตริย์หรือพระมหาอุปราชในเวลาสงคราม มีเจ้ากรมพระตำรวจหลวงหรือข้าราชการ เช่น พระมหามนตรี พระมหาเทพ หลวงอินทรเทพ หลวงพิเรนทรเทพ ประจำ ๔ เท้าช้าง เช่น จตุลังคบาทสี่ตน ล้วนขุนพลสามรรถ (ตะเลงพ่าย), จัตุลังคบาท หรือ แวงจตุลังคบาท ก็ว่า. |
จัตุลังคบาท | (จัดตุลังคะบาด) น. จตุลังคบาท เช่น จัตุลังคบาทบริรักษ พิทักษ์เท้ากุญชร (ตะเลงพ่าย). |
จำบัง ๑ | ก. รบ เช่น คชจำบังข้าศึก (ตะเลงพ่าย). |
จืด | หมด เช่น อันสมรรถมือผจญ จืดเสี้ยน (ตะเลงพ่าย). |
ชัค- | (ชักคะ-) น. แผ่นดิน เช่น ชัคสัตว์เสพสำราญ รมยทั่ว กันนา (ตะเลงพ่าย). |
ชื้อ | ว. เย็นเยือก, ชื้น, ร่ม เช่น ร่มไซรใบชิด ชรอื้อชื้อฉาย (สรรพสิทธิ์), บัดดลวลาหกชื้อ ชรอับ อยู่แฮ (ตะเลงพ่าย). |
โชยงการ | (ชะโยง-) น. คำสั่งของพระเจ้าแผ่นดิน เช่น ภูวไนยผายโอษฐอื้น โชยงการ (ตะเลงพ่าย). |
ซั้น | รีบ, เร็ว, ถี่, ติด ๆ กัน, เช่น เชอญเสด็จภักพลหมั้น แต่งทับซั้นไปหน่วง (ตะเลงพ่าย). |
ดัด ๑ | ทำให้เที่ยงตรง เช่น พระดัดคดีดล โดยเยี่ยง ยุกดิ์นา (ตะเลงพ่าย) |
ตระแบง ๑ | (ตฺระ-) ก. สะแบง, สะพาย, เช่น ทวยท้ายใดตั้งถือ มือกระลึงโล่ห์สล้าง คว้างคระวีตาวตะแบง แขวงซ้ายขวาห้าร้อย (ตะเลงพ่าย). |
ตาง | ส. คำใช้แทนนามหลายฝ่ายให้แยกออกเป็นส่วน ๆ เช่น ทุกทั่วสัตวตื่นตาง แตกเต้า (ตะเลงพ่าย), ต่าง ก็ว่า. |
ตื่นฟ้า | ก. ทำให้ฟ้าปั่นป่วน เช่น ไพรฦกแหล่งหล้าลั่น ฦๅถึง สรวงฤๅ เสียงอัคนีศรตึง ตื่นฟ้า (ตะเลงพ่าย). |
เตรียบ | จัดไว้เสร็จ, จัดไว้พร้อม, เช่น เตรียบตั้งต่อฉาน (ตะเลงพ่าย). |
โตย | น. นํ้า เช่น แปรกรรหายหอบโตย (ตะเลงพ่าย). |
ถนัด | เช่น, ราวกับ, เช่น ถนัดดั่งภูผาหลวง ทุ่มแท้ (ตะเลงพ่าย), สนัด ก็ว่า. |
ทบ ๒ | ก. กระทบ เช่น ของ้าวทบประทะกัน (ตะเลงพ่าย). |
ทบท่าว | ก. ทรุดลง, ล้มลง, เช่น เอนพระองค์ลงทบ ท่าวดิ้น (ตะเลงพ่าย). |
ทรหึงทรหวล | (ทอระหึงทอระหวน) ว. เสียงดังปั่นป่วน เช่น พอวายวรวาคยอ้าง โอษฐ์พระ ดานมหาวาตะตื่นฟ้า ทรหึงทรหวลพะ พานพัด หาวแฮ หอบธุมางจางจ้า จรัดด้าวแดนสมร (ตะเลงพ่าย). |
ทะ ๒ | ก. ปะทะ เช่น ของ้าวทบประทะกัน (ตะเลงพ่าย). |
ทุ่ม | ตี เช่น กระทุ่มดั่งทุ่มกร ตีอก เรียมฤๅ (ตะเลงพ่าย). |
เท้ง ๒ | ก. ทิ้ง เช่น ผีจักเท้งที่โพล้ ที่เพล้ใครเผา (ตะเลงพ่าย). |
ธเรษตรีศวร | (ทะเรดตฺรีสวน) น. ผู้เป็นใหญ่ในโลก, บางทีเขียนเป็น ธเรศตรีศวร เช่น สายัณห์หวั่นสวาทไท้ ธเรศตรี ศวรแฮ (ตะเลงพ่าย). |
นกคุ่ม | น. ชื่อปืนชนิดหนึ่ง เช่น เครื่องพิธยุทธยรรยง รายจ่ารงมณฑก นกคุ่มขนัดฉัตรชัย ไสวนกสับสลับสล้าง (ตะเลงพ่าย). |
นาคี ๒ | น. ช้าง เช่น ขี่ยาตรานาคี (ตะเลงพ่าย). |
นิตย- ๒ | (นิดตะยะ-) น. นิติ เช่น ผู้ชำนินิตยสาตรไสย (ตะเลงพ่าย). |
นุ ๑ | ตัดมาจากอุปสรรค อนุ เช่น ทราบนุสนธิ์ทุกแห่ง (ตะเลงพ่าย), โดยนุกรม (ม. คำหลวง วนปเวสน์). |
เนือง, เนือง ๆ | มาก เช่น แสนเสนางค์เนืองบร (ตะเลงพ่าย). |
บก | ย่อยยับหมดกำลัง เช่น โจมปรปักษบกบาง (ตะเลงพ่าย). |
บง ๒ | ก. มองดู, แลดู, เช่น พลางพระบงจัตุบาท (ตะเลงพ่าย). |
บทกวีนิพนธ์ | น. บทร้อยกรองที่กวีแต่ง เช่น มหาชาติคำหลวง ลิลิตตะเลงพ่าย สามัคคีเภทคำฉันท์, เดิมใช้หมายถึงร้อยแก้วที่แต่งดีด้วย เช่น สามก๊ก ราชาธิราช. |
บาท ๔ | น. ช่วงเวลาเท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของชั่วโมง เท่ากับ ๖ นาที, โบราณเขียนเป็น บาตร ก็มี เช่น ย่ำรุ่งสองนาลิกา เสษสังขยาห้าบาตร (ตะเลงพ่าย). |
บาบี | น. คนมีบาป, คนมีความชั่ว, เช่น ชนะแต่บาบีพรรค์ พรั่งพร้อม (ตะเลงพ่าย). |
บ่ายควาย | น. เวลาที่ควายบ่ายหน้ากลับบ้าน, เวลาเย็น, เช่น สุริยประภาธรงกลด จนกำหนดบ่ายควาย ชายสามนาลิกาเศษ (ตะเลงพ่าย). |
โบชุก | น. ตำแหน่งแม่ทัพพม่า เช่น ให้มางจาชโร เปนโบชุกที่สอง ยกทัพรองไปตาม (ตะเลงพ่าย). |
ประทบ | ก. กระทบ เช่น ประทบประทะอลวน (ตะเลงพ่าย). |
พรรลาย | เซ็งแซ่ เช่น ร้องก้องเสียงพรรลาย (ตะเลงพ่าย). |