Novel | นวนิยาย, Example: นวนิยาย มาจากภาษาอังกฤษว่า Novel และ Novella ในภาษาอิตาเลียน คำนี้ใช้เป็นครั้งแรกเพื่อเรียกนวนิยายอย่างใหม่ของบอกาจิโอ (Boccaio) ที่แต่งเรื่อง เดคาเมรอน (Decameroa) ซึ่งแต่งขึ้นราว ค.ศ. 1338-1340 การที่เรื่องเดคาเมรอน ได้รับการกล่าวขวัญจากคนสมัยนั้นว่าเป็นนิยายแบบใหม่หรือนวนิยายนั้น เป็นเพราะบอกาจิโอ เริ่มใช้กลวิธีการเขียนตามแบบ นวนิยายในสมัยปัจจุบันกล่าวคือ เขียนเล่าเป็นเรื่องสั้น ๆ เกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ในแง่มุมต่างๆ อย่างสมจริง แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้ผู้อ่านเห็นว่าเรื่องราวดังกล่าวในวรรณกรรมนั้นเป็น เรื่องสมมุติไม่ใช่เรื่องจริง นอกจากนี้ก็มีวิธีการเสนอเรื่องให้ยอกย้อนชวนติดตาม และมีแนวคิดกว้างขวาง มีลักษณะต่างไปจากการเขียนนิทานนิยายแต่เดิมที่มักสร้างเรื่องจากจินตนาการ และอุดมคติของผู้เขียน แต่ผู้เขียนกลับทำให้เรื่องที่อ่านนั้นดูเหมือนเป็นเรื่องจริง โดยอาศัยการเล่าเรื่องให้เป็นไปตามลำดับเหตุการณ์แล้วสะท้อนแนวคิดสำคัญของ เรื่องให้สอดคล้องกับหลักปรัชญาของศาสนาเป็นต้น อย่างไรก็ตามเรื่องเดคาเมรอน ก็เป็นเรื่องต้นเค้าของการเขียนนวนิยายตะวันตกเท่านั้น ยังไม่ได้มีลักษณะเป็นนวนิยายอย่างในปัจจุบันอย่างแท้จริงนัก แต่ก็มีอิทธิพลต่อนักเขียนในยุคนั้นและยุคต่อมาด้วย เพราะหลังจากนี้เป็นต้นมา ก็มีการเขียนนวนิยายหรือเรื่องเล่าแบบใหม่ก็กลายเป็นรูปแบบวรรณกรรมอย่าง ใหม่ที่แพร่หลายไปทั่วยุโรป(สายทิพย์ นุกูลกิจ. 2537 : 171-172) นวนิยายตามแบบแผนเช่นปัจจุบันนี้เริ่มมีขึ้นเมื่อตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักประพันธ์นวนิยายที่แท้จริงคนแรกของอังกฤษ คือ แดเนียล เดอโฟ (Daniel Defoe) ซึ่งแต่งเรื่อง โรบินสัน ครูโซ (Robinson Crusoe) เมื่อ ค.ศ. 1719 <p>องค์ประกอบของนวนิยาย <p>1 โครงเรื่อง (Plot) คือ เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเรื่อง ซึ่งมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องเป็นเหตุผลต่อกัน โดยมีความขัดแย้งที่ก่อให้เกิดการต่อสู้ทำให้เรื่องดำเนินไปอย่างน่าสนใจและ ติดตาม <p>2 ตัวละคร (Character) คือผู้ทำให้เกิดเหตุการณ์ในเรื่อง หรือเป็นผู้แสดง พฤติกรรมต่าง ๆ ในเรื่อง ตัวละครนี้นับเป็นองค์ประกอบสำคัญส่วนหนึ่งของนวนิยาย เพราะถ้าไม่มีตัวละครแล้ว เรื่องราวต่าง ๆ ในนวนิยายก็จะเกิดขึ้นไม่ได้ <p>3 บทสนทนา (Dialogue) คือ การสนทนาโต้ตอบระหว่างตัวละครในนวนิยาย เป็นส่วนที่ทำให้นวนิยายมีลักษณะคล้ายความจริงมากที่สุด <p>4 ฉาก (Setting) คือ เวลาและสถานที่รวมทั้งสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ที่ช่วยบอกให้ผู้อ่านรู้ว่าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเมื่อใดที่ไหน ที่นั้นมีลักษณะอย่างไร <p>5 ความคิดเห็นของผู้แต่ง (Point of View) คือ ความคิดเห็น ทัศนะ หรือปรัชญา ของผู้เขียน ซึ่งสอดแทรกอยู่ในพฤติกรรมของตัวละคร หรือ คำพูดของตัวละคร <p>6 ทำนองแต่ง (Style) คือแบบแผนและลักษณะท่วงทำนองในการแต่ง ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตัวของผู้ประพันธ์ <p>http://www.abc-clio.com/ODLIS/odlis_n.aspx [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Science fiction | นวนิยายวิทยาศาสตร์ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
American fiction | นวนิยายอเมริกัน [TU Subject Heading] |
Autobiographical fiction | นวนิยายอัตชีวประวัติ [TU Subject Heading] |
Chinese fiction | นวนิยายจีน [TU Subject Heading] |
Christian fiction, English | นวนิยายคริสตศาสนาอังกฤษ [TU Subject Heading] |
Fantasy fiction, English | นวนิยายแฟนตาซีอังกฤษ [TU Subject Heading] |
Fantasy fiction, French | นวนิยายแฟนตาซีฝรั่งเศส [TU Subject Heading] |
Fiction | นวนิยาย [TU Subject Heading] |
French fiction | นวนิยายฝรั่งเศส [TU Subject Heading] |
aesop | (อี' ซอพ) นักเขียนนวนิยายของกรีก. -Aesopian, Aesopic adj. |
aladdin | (อะแลด' ดิน) n. อาละดินในนวนิยายอาหรับราตรีเป็นเจ้าของตะเกียงวิเศษที่สามารถเนรมิตทุกสิ่งทุกอย่างได้, ของวิเศษ |
androsphinx | (แอน' โดรสฟิงคซฺ) n., (pl. -sphinxes, sphinges) ตัวสัตว์ประหลาดในนวนิยายกรีก (sphinx) ที่มีหัวเป็นคน |
antinovel | (แอน' ทีนอฟเวิล) n. นวนิยายหรือเรื่องเริงรมย์ที่ผู้เขียนไมใช้หลักการทั่วไปที่ยืดถือกัน. -antinovelist n. |
calypso | (คะลิพ'โซ) n. จังหวะคาลิพโซ, นางฟ้าในนวนิยาย |
centaur | (เซน'ทอ) n. สัตว์ในนวนิยายที่มีหัวเป็นคนมีตัวเป็นม้า |
chiller | (ชิล'เลอะ) n. นวนิยายตื่นเต้นน่าหวากกลัว, กรรมกรห้องเย็น, เครื่องทำความเย็น |
cliff-hanger | n. นวนิยายเป็นตอน ๆ , ที่ตื่นเต้นตรึงจิตใจคนดู, |
dime novel | นวนิยายถูก ๆ ชนิดยั่วยวนใจหรือเรื่องประโลมโลก |
fiction | (ฟิค'เชิน) n. นวนิยาย, นิทาน, เรื่องโกหก, ความเท็จ, การเสกสรรเรื่องขึ้น, Syn. story |