บัวสายติ่ง, บัวสายทิ้ง | ดู สายติ่ง. |
กุมุท | (กุมุด) น. บัว, บัวขาว, บัวสาย. (ป., ส.) |
ไกรพ | (-รบ) น. บัวสาย เช่น ไกรพแกมสโรช (ม. คำหลวง มัทรี). |
ขม ๒ | ชื่อบัวสายพันธุ์หนึ่งในสกุล Nymphaea ดอกเล็ก สีขาว สายกินได้ หัวมีรสขม. |
ขึ้นน้ำ | ก. โตตามน้ำที่สูงขึ้น, ใช้แก่ต้นข้าวหรือบัวสาย. |
จงกล | (-กน) น. บัว, บัวสาย, เช่น อันประดับด้วยอรพินธุเนานึก บุณฑรึกจงกล (ม. คำหลวง วนปเวสน์) |
บัว | น. ชื่อเรียกไม้นํ้าหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ คือ ในสกุล Nelumbo วงศ์ Nelumbonaceae มีเหง้ายาวทอดอยู่ในตม ใบเป็นแผ่นกลม ขอบเรียบ อยู่ห่าง ๆ กัน ก้านใบและก้านดอกแข็ง มีหนามสากคาย ชูใบและดอกขึ้นพ้นผิวนํ้า เช่น บัวหลวง (N. nucifera Gaertn.) ดอกสีขาวหรือชมพู กลิ่นหอม, ปัทม์ ก็เรียก, พันธุ์ดอกป้อมสีขาว เรียก สัตตบุษย์ พันธุ์ดอกป้อมสีชมพู เรียก สัตตบงกช ดอกใช้ในงานพิธีต่าง ๆ เมล็ดกินได้, ในสกุล Nymphaea วงศ์ Nymphaeaceae มีเหง้าสั้นอยู่ในตม ใบเป็นแผ่นกลม ขอบเรียบหรือจัก อยู่ชิดกันเป็นกระจุก ก้านใบและก้านดอกอ่อนไม่มีหนาม ใบลอยอยู่บนผิวนํ้า ดอกโผล่ขึ้นพ้นผิวนํ้า ผลจมอยู่ในนํ้าเรียก โตนด เช่น บัวสาย (N. lotus L. var. pubescens Hook.f. et Thomson) ขอบใบจัก ดอกสีขาวหรือแดง ก้านดอกเรียก สายบัว กินได้ พันธุ์ดอกสีขาว เรียก สัตตบรรณ บัวเผื่อน (N. nouchaliBurm.f.) ขอบใบเรียบ ดอกสีม่วงอ่อน, ในสกุล Victoria วงศ์ Nymphaeaceae เช่น บัวขอบกระด้งหรือบัววิกตอเรีย [ V. amazonica (Poeppig) Sowerby ] มีเหง้าสั้นอยู่ในตม ใบเป็นแผ่นกลมใหญ่ ขอบยกขึ้นคล้ายกระด้ง ลอยอยู่บนผิวนํ้า ใต้ใบ ก้านดอก และด้านนอกของกลีบดอกชั้นนอกมีหนามแหลม ดอกใหญ่ สีขาว หอมมาก |
บัวขม | น. บัวสายพันธุ์หนึ่งในสกุล Nymphaea ดอกเล็ก สีขาว สายกินได้ หัวมีรสขม. |
ลินจง | น. ชื่อบัวสายพันธุ์หนึ่งในสกุล Nymphaea, เลนจง ก็เรียก. |
สัตตบรรณ | (สัดตะบัน) น. ชื่อบัวสายพันธุ์หนึ่ง. (ดู บัว). |
สายบัว | น. ก้านดอกบัวสายที่เป็นเส้นยาว ๆ มีลักษณะอ่อน ไม่มีหนาม ใช้กินเป็นผัก. |
สายติ่ง | น. ชื่อไม้นํ้าชนิด Nymphoides parvifolium (Griseb.) Kuntze ในวงศ์ Menyanthaceae กินได้, บัวสายติ่ง หรือ บัวสายทิ้ง ก็เรียก. |
อุตบล | (อุดบน) น. อุบล, บัวสาย, เช่น นีโลตบล ว่า บัวขาบ. |
อุบล | (-บน) น. บัวสาย. |
อุปบล | (อุบบน) น. อุบล, บัวสาย, ดอกบัว, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น นีลุปบล ว่า บัวขาบ. |
บัวสายติ่ง, บัวสายทิ้ง | ดู สายติ่ง. |
กุมุท | (กุมุด) น. บัว, บัวขาว, บัวสาย. (ป., ส.) |
ไกรพ | (-รบ) น. บัวสาย เช่น ไกรพแกมสโรช (ม. คำหลวง มัทรี). |
ขม ๒ | ชื่อบัวสายพันธุ์หนึ่งในสกุล Nymphaea ดอกเล็ก สีขาว สายกินได้ หัวมีรสขม. |
ขึ้นน้ำ | ก. โตตามน้ำที่สูงขึ้น, ใช้แก่ต้นข้าวหรือบัวสาย. |
จงกล | (-กน) น. บัว, บัวสาย, เช่น อันประดับด้วยอรพินธุเนานึก บุณฑรึกจงกล (ม. คำหลวง วนปเวสน์) |
บัว | น. ชื่อเรียกไม้นํ้าหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ คือ ในสกุล Nelumbo วงศ์ Nelumbonaceae มีเหง้ายาวทอดอยู่ในตม ใบเป็นแผ่นกลม ขอบเรียบ อยู่ห่าง ๆ กัน ก้านใบและก้านดอกแข็ง มีหนามสากคาย ชูใบและดอกขึ้นพ้นผิวนํ้า เช่น บัวหลวง (N. nucifera Gaertn.) ดอกสีขาวหรือชมพู กลิ่นหอม, ปัทม์ ก็เรียก, พันธุ์ดอกป้อมสีขาว เรียก สัตตบุษย์ พันธุ์ดอกป้อมสีชมพู เรียก สัตตบงกช ดอกใช้ในงานพิธีต่าง ๆ เมล็ดกินได้, ในสกุล Nymphaea วงศ์ Nymphaeaceae มีเหง้าสั้นอยู่ในตม ใบเป็นแผ่นกลม ขอบเรียบหรือจัก อยู่ชิดกันเป็นกระจุก ก้านใบและก้านดอกอ่อนไม่มีหนาม ใบลอยอยู่บนผิวนํ้า ดอกโผล่ขึ้นพ้นผิวนํ้า ผลจมอยู่ในนํ้าเรียก โตนด เช่น บัวสาย (N. lotus L. var. pubescens Hook.f. et Thomson) ขอบใบจัก ดอกสีขาวหรือแดง ก้านดอกเรียก สายบัว กินได้ พันธุ์ดอกสีขาว เรียก สัตตบรรณ บัวเผื่อน (N. nouchaliBurm.f.) ขอบใบเรียบ ดอกสีม่วงอ่อน, ในสกุล Victoria วงศ์ Nymphaeaceae เช่น บัวขอบกระด้งหรือบัววิกตอเรีย [ V. amazonica (Poeppig) Sowerby ] มีเหง้าสั้นอยู่ในตม ใบเป็นแผ่นกลมใหญ่ ขอบยกขึ้นคล้ายกระด้ง ลอยอยู่บนผิวนํ้า ใต้ใบ ก้านดอก และด้านนอกของกลีบดอกชั้นนอกมีหนามแหลม ดอกใหญ่ สีขาว หอมมาก |
บัวขม | น. บัวสายพันธุ์หนึ่งในสกุล Nymphaea ดอกเล็ก สีขาว สายกินได้ หัวมีรสขม. |
ลินจง | น. ชื่อบัวสายพันธุ์หนึ่งในสกุล Nymphaea, เลนจง ก็เรียก. |
สัตตบรรณ | (สัดตะบัน) น. ชื่อบัวสายพันธุ์หนึ่ง. (ดู บัว). |
สายบัว | น. ก้านดอกบัวสายที่เป็นเส้นยาว ๆ มีลักษณะอ่อน ไม่มีหนาม ใช้กินเป็นผัก. |
สายติ่ง | น. ชื่อไม้นํ้าชนิด Nymphoides parvifolium (Griseb.) Kuntze ในวงศ์ Menyanthaceae กินได้, บัวสายติ่ง หรือ บัวสายทิ้ง ก็เรียก. |
อุตบล | (อุดบน) น. อุบล, บัวสาย, เช่น นีโลตบล ว่า บัวขาบ. |
อุบล | (-บน) น. บัวสาย. |
อุปบล | (อุบบน) น. อุบล, บัวสาย, ดอกบัว, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น นีลุปบล ว่า บัวขาบ. |