diplomatic identity card | บัตรประจำตัวคณะผู้แทนทางทูต [การทูต] |
Establishment of Diplomatic Relations and Missions | การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตและคณะผู้แทนถาวร ทางการทูต ข้อนี้มีบทบัญญัติไว้ในมาตรา 2 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตว่าการสถาปนาความ สัมพันธ์ทางการทูตระหว่างรัฐ และคณะผู้แทนถาวรทางการทูตมีขึ้นได้ด้วยความยินยอมของกันและกันในเรื่องนี้ รัฐที่มีอธิปไตยโดยสมบูรณ์ทุกรัฐ มีสิทธที่จะส่งตัวแทนทางการทูตไปทำหน้าที่พิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนยังรัฐ อื่นๆ ซึ่งถือกันว่ามี Active right of legation แต่การใช้สิทธิดังกล่าว เป็นเรื่องดุลยพินิจของแต่ละรัฐ เพราะจะบังคับให้รัฐหนึ่งส่งคณะผู้แทนทางทูตประจำ ณ ที่ใดหาได้ไม่ ถ้าหากรัฐนั้นไม่ปรารถนาจะปฏิบัติเช่นนั้น ในทำนองเดียวกันจะมีการบังคับให้รัฐผู้รับต้องรับคณะผู้แทนทางการทูตจากรัฐ ใดหาได้ไม่ ทั้งนี้เพราะเป็นเรื่องดุลยพินิจของรัฐผู้รับเช่นกัน [การทูต] |
head of the mission | หัวหน้าคณะผู้แทน " หมายถึง หัวหน้าคณะผู้แทนทางทูต ซึ่งแบ่งเป็น 3 ชั้น (1) ชั้นเอก- อัครราชทูต หรือเอกอัครสมณทูต (2) ชั้นรัฐทูต อัครราชทูต และ อัครสมณทูต (3) ชั้นอุปทูต (อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความ-สัมพันธ์ทางทูต พ.ศ. 2504) " [การทูต] |
Plural Representation | หมายถึง การที่รัฐหนึ่งแต่งตั้งผู้แทนทางการทูตถาวรของตนมากกว่าหนึ่งคนไปประจำรัฐ อีกแห่งหนึ่งนอกประเทศ ในกรณีเช่นนั้น ผู้แทนทางการทูตคนหนึ่งจะได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนทางทูต ส่วนผู้แทนทางการทูตที่เหลือจะเป็นตัวรองอยู่ใต้บังคับบัญชาของเขา เช่น ในสหประชาชาติมีคณะทูตถาวรประจำสหประชาชาติหลายแห่ง นิยมตั้งเอกอัครราชทูตของตนเป็นจำนวนมากถึง 3 หรือ 4 คนไปประจำอยู่ในคณะ ตัวหัวหน้าคณะทูตถาวรเช่นนั้น จะมีตำแหน่งเรียกว่า เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรแห่งประเทศของตนประจำสหประชาชาติ ส่วนเอกอัครราชทูตคนที่สองในคณะทูตถาวร มีตำแหน่งเรียกว่า รองผู้แทนถาวรการส่งเอกอัครราชทูตหลายคนไปประจำเป็นตัวแทนเช่นนี้ ไม่เป็นที่นิยมกระทำกันแพร่หลายเหมือนกับการส่งหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตคน เดียวไปประจำในหลายประเทศในเวลาเดียวกัน ดังที่กล่าวมาข้างต้น [การทูต] |