กรุ ๑ | (กฺรุ) น. ห้องที่ทำไว้ใต้ดิน ใต้พระเจดีย์ เป็นต้น สำหรับเก็บพระพุทธรูปและสิ่งมีค่าอื่น ๆ, โดยปริยายหมายถึงกระทรวง ทบวง กรม ที่ข้าราชการในสังกัดถูกเรียกตัวเข้ามาอยู่ประจำ โดยมิได้มีตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ เพื่อเป็นการลงโทษหรือก่อนเกษียณอายุราชการ ในความว่า เรียกเก็บเข้ากรุ. |
ขนทรายเข้าวัด | ก. ทำบุญกุศลโดยวิธีนำหรือขนทรายไปก่อพระเจดีย์ทรายเป็นต้นที่วัด, (สำ) หาประโยชน์ให้ส่วนรวม. |
ข้าวประดับดิน | น. อาหารที่เอาไปวางไว้ตามต้นโพและพระเจดีย์เป็นต้นในเวลาเช้ามืดวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๙. |
ข้าวสาก | น. ของเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เอาไปบูชาตามต้นโพและพระเจดีย์เวลาเช้ามืดในเดือน ๑๐. |
คอระฆัง | น. ส่วนพระเจดีย์ตรงคอด ต่อองค์พระเจดีย์ (ที่เรียกระฆัง) กับบัลลังก์. |
ซุ้มคูหา | น. ซุ้มรอบพระปรางค์และพระเจดีย์สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป. |
ถะ | น. พระเจดีย์แบบจีน. |
ทองจังโก | น. ทองเหลืองที่ตีแผ่เป็นแผ่นบาง ลงรักแล้วปิดทองคำเปลว นิยมใช้หุ้มองค์พระเจดีย์ ป้องกันการผุกร่อน, ทองสักโก ก็ว่า. |
นั่งร้าน | น. โครงร่างที่ทำด้วยไม้หรือโลหะ สำหรับนั่งหรือปีนป่ายในการก่อสร้างสิ่งสูง ๆ เช่นพระเจดีย์หรือตึก, ร่างร้าน ก็เรียก. |
บราลี | (บะรา-) น. ยอดเล็ก ๆ มีสัณฐานดุจยอดพระเจดีย์ทราย ใช้เสียบเรียงรายไปตามสันหลังคา หรือเสียบบนสันหลังคาบันแถลงบนหลังคาเครื่องยอด. |
ปล้องไฉน | น. ส่วนหนึ่งของพระเจดีย์ต่อบัวกลุ่มขึ้นไป. |
ฝาละมี | เรียกส่วนพระเจดีย์ที่เป็นฐานรองรับปล้องไฉนของเจดีย์ทรงกลมหรือทรงลังกา คล้ายฝาละมี ว่า บัวฝาละมี. |
ไพที | ฐานบัวควํ่าบัวหงายที่พระเจดีย์. |
ร่างร้าน | น. โครงร่างที่ทำด้วยไม้หรือโลหะ สำหรับนั่งหรือปีนป่ายในการก่อสร้างสิ่งสูง ๆ เช่นพระเจดีย์หรือตึก, นั่งร้าน ก็ว่า. |
องค-, องค์ | ลักษณนามใช้เรียกสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๑ องค์ พระเจดีย์ ๒ องค์, (ปาก) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณร เช่น ภิกษุ ๑ องค์. |