ตรีประดับ | น. ชื่อกลอนกลบทชนิดหนึ่ง กำหนดให้แต่ละวรรคมีคำเดียวกัน ผันวรรณยุกต์รูปสามัญ เอก และโท เรียงกัน หรือโท เอก สามัญ ก็ได้ เช่น อมรแมนแม่นแม้นเจ้างามโฉม ชฬอฬ่อฬ้อโลกย์ให้โศกโทรม แต่เลาเล่าเล้าโลมฤดีแด (ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน). |
ตรีพิธพรรณ | (ตฺรีพิดทะพัน) น. ชื่อกลอนกลบทชนิดหนึ่ง กำหนดให้มีคำเดียวกันซ้ำ ๓ ครั้งภายในวรรคเดียวกัน จะเป็นตำแหน่งใดก็ได้ เช่น สังเวชจิตร์เอ๋ยจิตร์จิตร์เราหนอ ไม่เจียมกายกายแก่ทำกายตะกอ ดีแต่ก้ออวดก้อก้อเกินนัก (ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน) |
ตรีเพชรพวง | น. ชื่อกลอนกลบทชนิดหนึ่ง กำหนดให้แต่ละวรรคมีคำเดียวกัน ผันวรรณยุกต์รูปสามัญ เอก โท ตรี และจัตวา สลับกันก็ได้ เช่น มโหรีรี่รี้ดีดสีเสียง จับปี่หริงหริ่งหริ้งพริ้งเพราะเพรียง ฆ้องสำเนียงเต๋งเต่งเต้ง ติงเหน่งโยน (ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน). |
ธงนำริ้ว | ชื่อกลบทอย่างหนึ่ง บังคับให้ซ้ำคำ ๒ คำต้นในวรรค โดยคำที่ซ้ำเปลี่ยนไปทุกวรรค เช่น กุ๋ยกุ๋ยหน้าไม่เก้อละเมอหึง ฟังฟังก็เหมือนแกล้งแพร่งความอึง คิดคิดและให้ขึ้งขุ่นเคืองใจ (ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ). |
นารายณ์ประลองศิลป์ | น. ชื่อกลอนกลบทแบบหนึ่ง กำหนดบังคับวรรคหนึ่ง ๙ คำ แบ่งเป็น ๓ จังหวะ จังหวะละ ๓ คำ แต่ละจังหวะให้ขึ้นต้นด้วยการซ้ำคำเดิม และ ๒ คำหลังให้สัมผัสเสียงพยัญชนะกันทั้ง ๓ จังหวะ ส่วน ๒ คำหลังของ ๒ จังหวะแรกให้ใช้เสียงสระเดียวกันเฉพาะแต่ละจังหวะ เช่น ระรื่นชื่นระรวยชวยระเริงฉาว จนข่าวหนาวจนเคืองเนื่องจนเขาหนี ทำซื่อดื้อทำสู้ดูทำสิ้นดี อารีชีอารอบชอบอารมณ์ชาย (ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ). |
ราชวรมหาวิหาร | (ราดชะวอระมะหาวิหาน) น. เรียกพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดสูงสุด ว่า ชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร เช่น วัดพระเชตุพน วัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร, เรียกพระอารามหลวงชั้นโทชนิดสูงสุด ว่า ชั้นโท ชนิดราชวรมหาวิหาร มี ๒ วัด คือ วัดสระเกศ และวัดชนะสงคราม. |
วิหารทิศ | น. วิหารที่สร้างออกมาทั้ง ๔ ด้านของพระสถูปหรือพุทธเจดีย์ เช่น วิหารทิศวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร, วิหารที่อยู่ตรงกลางของพระระเบียงทั้ง ๔ ด้าน เช่น วิหารทิศวัดพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม. |