หางกิ่ว | น. ชื่อหนึ่งของปลาทะเลหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Carangidae อยู่ในกลุ่มปลาหางแข็ง สีกุน หรือม่ง ลักษณะสำคัญคือ ลำตัวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย หน้าครีบก้นมีหนามแข็ง ๒ อันพับได้ คอดหางแคบมาก เกล็ดบนเส้นข้างตัวที่คอดหางใหญ่เป็นเหลี่ยมแข็ง อยู่รวมกันเป็นฝูง เช่น ชนิด Atule mate (Cuvier) ซึ่งมีขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร ส่วนชนิดที่ใหญ่และยาวกว่าชนิดแรกมากคือ Caranx sexfasciatus Quoy & Gaimard ขนาดยาวได้ถึง ๗๘ เซนติเมตร สำหรับชนิดหลังนี้ สีขน ก็เรียก. |
หางกิ่ว | ดู ม้า ๓. |
กิ่ว | ว. คอดมาก, เล็กตอนกลาง, เช่น คอกิ่ว ท้องกิ่ว หางกิ่ว |
ม่ง ๑ | น. ชื่อหนึ่งของปลาทะเลในกลุ่มปลาหางแข็ง หางกิ่ว หรือสีกุน โดยเฉพาะที่มีขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ ในวงศ์ Carangidae มีลำตัวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย หน้าครีบก้นมีหนามแข็ง ๒ อันพับลงในร่องได้ คอดหางแคบ เกล็ดบนเส้นข้างตัวใหญ่เป็นเหลี่ยมแข็งโดยเฉพาะที่บริเวณคอดหาง ไม่มีสีฉูดฉาด อยู่รวมกันเป็นฝูง เช่น ชนิด Caranx sexfasciatus Quoy & Gaimard, C. melampygus Cuvier, C. ignobilis (Forsska&npsp;ํl), Carangoides gymnostethus (Cuvier), C. fulvoguttatus (Forsska&npsp;ํl) และ Alectis ciliaris (Bloch) ปลาเหล่านี้บางชนิดอาจมีขนาดยาวได้ถึง ๑.๔ เมตร, กะมง กะม่ง หรือ ม่ง ก็เรียก. |
ม้า ๓ | น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Boesemania microlepis (Bleeker) ในวงศ์ Sciaenidae ลำตัวกว้างมากในแนวอกและท้อง แล้วเรียวเล็กลงมากที่คอดหาง ก้านครีบแข็งก้านที่ ๒ ของครีบก้นใหญ่มาก ครีบหางมีปลายแหลม ครีบท้องมีปลายเป็นเส้นสั้น ๆ เกล็ดในแนวเส้นข้างตัวเด่นชัดเจนและเรียงต่อเลยไปจนสุดปลายของครีบหาง ลำตัวและหัวมีสีเงินหรือเทาอ่อน ด้านหลังมีลายสีเทาเอียงอยู่ตามแถวของเกล็ด พบทุกลุ่มนํ้า ขนาดยาวได้ถึง ๙๐ เซนติเมตร, เขตลุ่มแม่นํ้าโขงเรียก กวาง เขตลุ่มแม่นํ้าบางปะกงเรียก หางกิ่ว. |
สีกุน | น. ชื่อหนึ่งของปลาทะเลหลายชนิดหลายสกุล ที่มีขนาดเล็กหรือขนาดกลาง ในวงศ์ Carangidae ในกลุ่มปลาหางแข็ง หางกิ่ว หรือม่ง ที่มีแถบสีเหลืองพาดจากตาถึงคอดหาง หรือมีสีเหลือบเหลืองบนข้างตัว มักมีจุดสีดำที่มุมแผ่นปิดเหงือก อาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่หรือเล็กใกล้ฝั่ง ส่วนใหญ่เป็นชนิดในสกุล Selaroides ซึ่งมีชนิดเดียว คือ S. leptolepis (Cuvier) และชนิดในสกุล Alepis, Selarส่วนสกุล Atuleมีชนิดเดียวคือ A. mate (Cuvier) ปลาเหล่านี้มีขนาดยาว ๑๔-๒๗ เซนติเมตร. |
สีขน | ดู หางกิ่ว (๑). |
หางกิ่ว | น. ชื่อหนึ่งของปลาทะเลหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Carangidae อยู่ในกลุ่มปลาหางแข็ง สีกุน หรือม่ง ลักษณะสำคัญคือ ลำตัวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย หน้าครีบก้นมีหนามแข็ง ๒ อันพับได้ คอดหางแคบมาก เกล็ดบนเส้นข้างตัวที่คอดหางใหญ่เป็นเหลี่ยมแข็ง อยู่รวมกันเป็นฝูง เช่น ชนิด Atule mate (Cuvier) ซึ่งมีขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร ส่วนชนิดที่ใหญ่และยาวกว่าชนิดแรกมากคือ Caranx sexfasciatus Quoy & Gaimard ขนาดยาวได้ถึง ๗๘ เซนติเมตร สำหรับชนิดหลังนี้ สีขน ก็เรียก. |
หางกิ่ว | ดู ม้า ๓. |
กิ่ว | ว. คอดมาก, เล็กตอนกลาง, เช่น คอกิ่ว ท้องกิ่ว หางกิ่ว |
ม่ง ๑ | น. ชื่อหนึ่งของปลาทะเลในกลุ่มปลาหางแข็ง หางกิ่ว หรือสีกุน โดยเฉพาะที่มีขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ ในวงศ์ Carangidae มีลำตัวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย หน้าครีบก้นมีหนามแข็ง ๒ อันพับลงในร่องได้ คอดหางแคบ เกล็ดบนเส้นข้างตัวใหญ่เป็นเหลี่ยมแข็งโดยเฉพาะที่บริเวณคอดหาง ไม่มีสีฉูดฉาด อยู่รวมกันเป็นฝูง เช่น ชนิด Caranx sexfasciatus Quoy & Gaimard, C. melampygus Cuvier, C. ignobilis (Forsska&npsp;ํl), Carangoides gymnostethus (Cuvier), C. fulvoguttatus (Forsska&npsp;ํl) และ Alectis ciliaris (Bloch) ปลาเหล่านี้บางชนิดอาจมีขนาดยาวได้ถึง ๑.๔ เมตร, กะมง กะม่ง หรือ ม่ง ก็เรียก. |
ม้า ๓ | น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Boesemania microlepis (Bleeker) ในวงศ์ Sciaenidae ลำตัวกว้างมากในแนวอกและท้อง แล้วเรียวเล็กลงมากที่คอดหาง ก้านครีบแข็งก้านที่ ๒ ของครีบก้นใหญ่มาก ครีบหางมีปลายแหลม ครีบท้องมีปลายเป็นเส้นสั้น ๆ เกล็ดในแนวเส้นข้างตัวเด่นชัดเจนและเรียงต่อเลยไปจนสุดปลายของครีบหาง ลำตัวและหัวมีสีเงินหรือเทาอ่อน ด้านหลังมีลายสีเทาเอียงอยู่ตามแถวของเกล็ด พบทุกลุ่มนํ้า ขนาดยาวได้ถึง ๙๐ เซนติเมตร, เขตลุ่มแม่นํ้าโขงเรียก กวาง เขตลุ่มแม่นํ้าบางปะกงเรียก หางกิ่ว. |
สีกุน | น. ชื่อหนึ่งของปลาทะเลหลายชนิดหลายสกุล ที่มีขนาดเล็กหรือขนาดกลาง ในวงศ์ Carangidae ในกลุ่มปลาหางแข็ง หางกิ่ว หรือม่ง ที่มีแถบสีเหลืองพาดจากตาถึงคอดหาง หรือมีสีเหลือบเหลืองบนข้างตัว มักมีจุดสีดำที่มุมแผ่นปิดเหงือก อาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่หรือเล็กใกล้ฝั่ง ส่วนใหญ่เป็นชนิดในสกุล Selaroides ซึ่งมีชนิดเดียว คือ S. leptolepis (Cuvier) และชนิดในสกุล Alepis, Selarส่วนสกุล Atuleมีชนิดเดียวคือ A. mate (Cuvier) ปลาเหล่านี้มีขนาดยาว ๑๔-๒๗ เซนติเมตร. |
สีขน | ดู หางกิ่ว (๑). |