100 ผลลัพธ์ สำหรับ อุปะ
หรือค้นหา: -อุปะ-, *อุปะ*
เนื่องจากผลลัพธ์มีน้อย ระบบจึงเปลี่ยนคำค้นเป็น *อุปะ*

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
อุปะ(อุปะ, อุบปะ) คำประกอบหน้าศัพท์ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า เข้าไป, ใกล้, รอง, เช่น อุปราช อุปนายก.
กลอุปกรณ์(กนอุปะกอน, กนอุบปะกอน) น. อุปกรณ์เชิงกลที่ออกแบบหรือผลิตขึ้นเพื่อใช้ในกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง.
มหาอุปราช(มะหาอุปะหฺราด, -อุบปะหฺราด) น. ตำแหน่งรัชทายาทที่จะสืบราชสมบัติของพระมหากษัตริย์ เรียกว่า พระมหาอุปราช หรือเรียกกันอย่างสามัญว่า วังหน้า
โสตทัศนอุปกรณ์(โสตะทัดสะนะอุปะกอน, โสดทัดสะนะอุบปะกอน) น. อุปกรณ์การสอนสำหรับฟังและดู เช่นวิทยุ โทรทัศน์, ใช้ว่า โสตทัศนูปกรณ์ ก็มี.
อปโลกน์ ๑, อุปโลกน์(อะปะโหฺลก, อุปะโหฺลก, อุบปะโหฺลก) ก. ยกกันขึ้นไป เช่น อุปโลกน์ให้เป็นหัวหน้า.
อุปกรณ์(อุปะกอน, อุบปะกอน) น. เครื่องมือ, เครื่องใช้, เครื่องช่วย, เครื่องประกอบ
อุปกรม(อุปะกฺรม) น. การเข้าใกล้, การตั้งต้น, การพยายาม.
อุปการ- ๑, อุปการะ(อุปะการะ-, อุบปะการะ-) น. ความช่วยเหลือเกื้อกูล, ความอุดหนุน, คู่กับ ปฏิการะ = การสนองคุณ, การตอบแทนคุณ.
อุปการ- ๑, อุปการะ(อุปะการะ-, อุบปะการะ-) ก. ช่วยเหลือเกื้อกูล, อุดหนุน.
อุปการี(อุปะ-, อุบปะ-) น. ผู้ช่วยเหลือ, ผู้อุดหนุน, หญิงใช้ว่า อุปการิณี.
อุปการ ๒(อุปะกาน, อุบปะกาน) น. เรียกม้าที่ปล่อยในพิธีอัศวเมธ ว่า ม้าอุปการ.
อุปกาศ(อุปะกาด, อุบปะกาด) ก. แจ้งข่าว เรื่อง หรือข้อความ เช่น เขือไปอุปกาศแล้ว เขือมา (ลอ), ร้องอุปกาศสารแก่กรุงสญชัยปิตุราช (ม. ร่ายยาว หิมพานต์).
อุปกิเลส(อุปะกิเหฺลด) น. เครื่องทำใจให้เศร้าหมอง มี ๑๖ อย่าง มี อภิชฌาวิสมโลภ เป็นต้น.
อุปจาร(อุปะจาน) น. การเข้าใกล้, ที่ใกล้, บริเวณรอบ ๆ เช่น อุปจารวัด.
อุปถัมภ์(อุปะถำ, อุบปะถำ) น. การคํ้าจุน, การคํ้าชู, การสนับสนุน, การเลี้ยงดู.
อุปถัมภ์(อุปะถำ, อุบปะถำ) ก. คํ้าจุน, คํ้าชู, สนับสนุน, เลี้ยงดู.
อุปถัมภก(อุปะถำพก, อุบปะถำพก) น. ผู้คํ้าจุน, ผู้ค้ำชู, ผู้สนับสนุน, ผู้เลี้ยงดู.
อุปทม(อุปะทม, อุบปะทม) น. กามโรค.
อุปทูต(อุปะทูด, อุบปะทูด) น. ผู้รักษาการในตำแหน่งหรือรักษาการแทนหัวหน้าสถานเอกอัครราชทูตหรือหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต
อุปเทศ(อุปะเทด, อุบปะเทด) น. การชี้แจง, การสั่งสอน, การแนะนำ
อุปเทศ(อุปะเทด, อุบปะเทด) ก. สอน, ชี้แจง, แนะนำ.
อุปเท่ห์(อุปะเท่, อุบปะเท่) น. อุบายดำเนินการ, วิธีดำเนินการ.
อุปธิ(อุปะทิ) น. กิเลส, ความพัวพัน, เหตุแห่งการเวียนเกิด
อุปนัย(อุปะ-, อุบปะ-) น. วิธีการใช้เหตุผลที่ดำเนินจากส่วนย่อยไปหาส่วนรวม เช่น นาย ก. เกิดมาแล้วต้องตาย นาย ข. เกิดมาแล้วต้องตาย นาย ค. เกิดมาแล้วต้องตาย เพราะฉะนั้นมนุษย์ทุกคนเกิดมาแล้วต้องตาย, ตรงข้ามกับ นิรนัย.
อุปนิกขิต, อุปนิกษิต(อุปะนิกขิด, อุปะนิกสิด) ก. เก็บไว้, รักษาไว้.
อุปนิกขิต, อุปนิกษิต(อุปะนิกขิด, อุปะนิกสิด) น. คนสอดแนม, จารชน.
อุปนิษัท(อุปะ-, อุบปะ-) น. ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตกลุ่มหนึ่ง คัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรกเป็นพื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ที่สอนว่าทุกสิ่งทุกอย่างออกมาจากอาตมัน.
อุปนิสัย(อุปะนิไส, อุบปะนิไส) น. ความประพฤติที่เคยชินเป็นพื้นมาในสันดาน เช่น ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จไปเทศน์โปรดผู้ใดจะต้องทรงพิจารณาถึงอุปนิสัยของผู้นั้นก่อน, ความประพฤติที่เคยชินจนเกือบเป็นนิสัย เช่น นักเรียนคนนี้มีอุปนิสัยดี.
อุปบัติ(อุปะบัด, อุบปะบัด) น. การเข้าถึง เช่น คติอุปบัติ = การเข้าถึงคติ, การเกิด.
อุปปาติกะ(อุปะปาติกะ, อุบปะปาติกะ) น. ผู้เกิดผุดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยพ่อแม่ อาศัยอดีตกรรม ได้แก่เทวดา พรหม สัตว์นรก เปรต อสุรกาย, โอปปาติกะ ก็เรียก.
อุปพัทธ์(อุปะ-, อุบปะ-) ก. เนื่อง, เนื่องกัน.
อุปพัทธ์(อุปะ-, อุบปะ-) ว. ที่เนื่องกัน.
อุปพันธ์(อุปะ-, อุบปะ-) น. การติดต่อ, การร่วม
อุปโภค(อุปะโพก, อุบปะโพก) ก. เอามาใช้ให้เกิดประโยชน์, คู่กับ บริโภค.
อุปโภค(อุปะโพก, อุบปะโพก) ว. ที่เอามาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในคำว่า เครื่องอุปโภค.
อุปมา(อุปะ-, อุบปะ-) น. สิ่งหรือข้อความที่ยกมาเปรียบ, มักใช้เข้าคู่กับ อุปไมย ในประโยคเช่น เรื่องนี้มีอุปมาฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น.
อุปมา(อุปะ-, อุบปะ-) ก. เปรียบเทียบ.
อุปมาน(อุปะ-, อุบปะ-) น. การเปรียบเทียบสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน.
อุปมาอุปไมย(อุปะมาอุปะไม, อุบปะมาอุบปะไม) น. การเปรียบเทียบกัน.
อุปไมย(อุปะไม, อุบปะไม) น. สิ่งหรือข้อความที่พึงเปรียบเทียบกับสิ่งอื่นเพื่อให้เข้าใจแจ่มแจ้ง, คู่กับ อุปมา.
อุปยุวราช(อุปะยุวะราด, อุบปะยุวะราด) น. ตำแหน่งเจ้าในนครล้านช้างรองพระเจ้าแผ่นดิน แต่อยู่เหนืออุปราช.
อุปโยค(อุปะโยก, อุบปะโยก) น. การใช้สอย, การทำให้เกิดประโยชน์.
อุปโยคบุรพบท(อุปะโยคะบุบพะบด, -บุระพะบด) น. ในไวยากรณ์หมายถึงคำนำหน้ากรรมการก.
อุปรากร(อุปะรากอน, อุบปะรากอน) น. ละครเพลงประเภทหนึ่ง ดำเนินเรื่องด้วยการร้องเพลงผสมผสานการบรรเลงจากวงดุริยางค์.
อุปราคา(อุปะราคา, อุบปะราคา) น. การทำให้ดำ, การทำให้มีมลทิน, ในคำว่า จันทรุปราคา สุริยุปราคา.
อุปราช(อุปะหฺราด, อุบปะหฺราด) น. ผู้สำเร็จราชการต่างพระองค์ประจำภาคหนึ่ง ๆ ในอาณาจักร.
อุปริ(อุปะริ, อุบปะริ) คำประกอบหน้าศัพท์ภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า เบื้องบน ข้างบน.
อุปริม-(อุปะริมะ-, อุบปะริมะ-) ว. อยู่สูงสุด, เบื้องบนที่สุด.
อุปโลกน์(อุปะโหฺลก, อุบปะโหฺลก) ก. ยกกันขึ้นเป็น เช่น อุปโลกน์ให้เป็นหัวหน้า, อปโลกน์ ก็ว่า.
อุปเวท(อุปะเวด, อุบปะเวด) น. คัมภีร์ “พระเวทรอง” ของอินเดียโบราณ เนื้อหามีลักษณะเป็นวิทยาการ ไม่นับว่าเป็นคัมภีร์ศาสนา ได้แก่ อายุรเวท (วิชาแพทย์ ถือว่าเป็นสาขาของคัมภีร์อถรรพเวทหรืออาถรรพเวท) ธนุรเวท (วิชายิงธนูและการใช้อาวุธอื่น ถือว่าเป็นสาขาของคัมภีร์ยชุรเวท) คันธรรพเวทหรือคานธรรพเวท (วิชาการดนตรี ถือว่าเป็นสาขาของคัมภีร์สามเวท) และสถาปัตยเวท (วิชาการก่อสร้าง ไม่ระบุว่าเป็นสาขาของคัมภีร์พระเวทใด).

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
อุปะ(อุปะ, อุบปะ) คำประกอบหน้าศัพท์ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า เข้าไป, ใกล้, รอง, เช่น อุปราช อุปนายก.
กลอุปกรณ์(กนอุปะกอน, กนอุบปะกอน) น. อุปกรณ์เชิงกลที่ออกแบบหรือผลิตขึ้นเพื่อใช้ในกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง.
มหาอุปราช(มะหาอุปะหฺราด, -อุบปะหฺราด) น. ตำแหน่งรัชทายาทที่จะสืบราชสมบัติของพระมหากษัตริย์ เรียกว่า พระมหาอุปราช หรือเรียกกันอย่างสามัญว่า วังหน้า
โสตทัศนอุปกรณ์(โสตะทัดสะนะอุปะกอน, โสดทัดสะนะอุบปะกอน) น. อุปกรณ์การสอนสำหรับฟังและดู เช่นวิทยุ โทรทัศน์, ใช้ว่า โสตทัศนูปกรณ์ ก็มี.
อปโลกน์ ๑, อุปโลกน์(อะปะโหฺลก, อุปะโหฺลก, อุบปะโหฺลก) ก. ยกกันขึ้นไป เช่น อุปโลกน์ให้เป็นหัวหน้า.
อุปกรณ์(อุปะกอน, อุบปะกอน) น. เครื่องมือ, เครื่องใช้, เครื่องช่วย, เครื่องประกอบ
อุปกรม(อุปะกฺรม) น. การเข้าใกล้, การตั้งต้น, การพยายาม.
อุปการ- ๑, อุปการะ(อุปะการะ-, อุบปะการะ-) น. ความช่วยเหลือเกื้อกูล, ความอุดหนุน, คู่กับ ปฏิการะ = การสนองคุณ, การตอบแทนคุณ.
อุปการ- ๑, อุปการะ(อุปะการะ-, อุบปะการะ-) ก. ช่วยเหลือเกื้อกูล, อุดหนุน.
อุปการี(อุปะ-, อุบปะ-) น. ผู้ช่วยเหลือ, ผู้อุดหนุน, หญิงใช้ว่า อุปการิณี.
อุปการ ๒(อุปะกาน, อุบปะกาน) น. เรียกม้าที่ปล่อยในพิธีอัศวเมธ ว่า ม้าอุปการ.
อุปกาศ(อุปะกาด, อุบปะกาด) ก. แจ้งข่าว เรื่อง หรือข้อความ เช่น เขือไปอุปกาศแล้ว เขือมา (ลอ), ร้องอุปกาศสารแก่กรุงสญชัยปิตุราช (ม. ร่ายยาว หิมพานต์).
อุปกิเลส(อุปะกิเหฺลด) น. เครื่องทำใจให้เศร้าหมอง มี ๑๖ อย่าง มี อภิชฌาวิสมโลภ เป็นต้น.
อุปจาร(อุปะจาน) น. การเข้าใกล้, ที่ใกล้, บริเวณรอบ ๆ เช่น อุปจารวัด.
อุปถัมภ์(อุปะถำ, อุบปะถำ) น. การคํ้าจุน, การคํ้าชู, การสนับสนุน, การเลี้ยงดู.
อุปถัมภ์(อุปะถำ, อุบปะถำ) ก. คํ้าจุน, คํ้าชู, สนับสนุน, เลี้ยงดู.
อุปถัมภก(อุปะถำพก, อุบปะถำพก) น. ผู้คํ้าจุน, ผู้ค้ำชู, ผู้สนับสนุน, ผู้เลี้ยงดู.
อุปทม(อุปะทม, อุบปะทม) น. กามโรค.
อุปทูต(อุปะทูด, อุบปะทูด) น. ผู้รักษาการในตำแหน่งหรือรักษาการแทนหัวหน้าสถานเอกอัครราชทูตหรือหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต
อุปเทศ(อุปะเทด, อุบปะเทด) น. การชี้แจง, การสั่งสอน, การแนะนำ
อุปเทศ(อุปะเทด, อุบปะเทด) ก. สอน, ชี้แจง, แนะนำ.
อุปเท่ห์(อุปะเท่, อุบปะเท่) น. อุบายดำเนินการ, วิธีดำเนินการ.
อุปธิ(อุปะทิ) น. กิเลส, ความพัวพัน, เหตุแห่งการเวียนเกิด
อุปนัย(อุปะ-, อุบปะ-) น. วิธีการใช้เหตุผลที่ดำเนินจากส่วนย่อยไปหาส่วนรวม เช่น นาย ก. เกิดมาแล้วต้องตาย นาย ข. เกิดมาแล้วต้องตาย นาย ค. เกิดมาแล้วต้องตาย เพราะฉะนั้นมนุษย์ทุกคนเกิดมาแล้วต้องตาย, ตรงข้ามกับ นิรนัย.
อุปนิกขิต, อุปนิกษิต(อุปะนิกขิด, อุปะนิกสิด) ก. เก็บไว้, รักษาไว้.
อุปนิกขิต, อุปนิกษิต(อุปะนิกขิด, อุปะนิกสิด) น. คนสอดแนม, จารชน.
อุปนิษัท(อุปะ-, อุบปะ-) น. ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตกลุ่มหนึ่ง คัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรกเป็นพื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ที่สอนว่าทุกสิ่งทุกอย่างออกมาจากอาตมัน.
อุปนิสัย(อุปะนิไส, อุบปะนิไส) น. ความประพฤติที่เคยชินเป็นพื้นมาในสันดาน เช่น ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จไปเทศน์โปรดผู้ใดจะต้องทรงพิจารณาถึงอุปนิสัยของผู้นั้นก่อน, ความประพฤติที่เคยชินจนเกือบเป็นนิสัย เช่น นักเรียนคนนี้มีอุปนิสัยดี.
อุปบัติ(อุปะบัด, อุบปะบัด) น. การเข้าถึง เช่น คติอุปบัติ = การเข้าถึงคติ, การเกิด.
อุปปาติกะ(อุปะปาติกะ, อุบปะปาติกะ) น. ผู้เกิดผุดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยพ่อแม่ อาศัยอดีตกรรม ได้แก่เทวดา พรหม สัตว์นรก เปรต อสุรกาย, โอปปาติกะ ก็เรียก.
อุปพัทธ์(อุปะ-, อุบปะ-) ก. เนื่อง, เนื่องกัน.
อุปพัทธ์(อุปะ-, อุบปะ-) ว. ที่เนื่องกัน.
อุปพันธ์(อุปะ-, อุบปะ-) น. การติดต่อ, การร่วม
อุปโภค(อุปะโพก, อุบปะโพก) ก. เอามาใช้ให้เกิดประโยชน์, คู่กับ บริโภค.
อุปโภค(อุปะโพก, อุบปะโพก) ว. ที่เอามาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในคำว่า เครื่องอุปโภค.
อุปมา(อุปะ-, อุบปะ-) น. สิ่งหรือข้อความที่ยกมาเปรียบ, มักใช้เข้าคู่กับ อุปไมย ในประโยคเช่น เรื่องนี้มีอุปมาฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น.
อุปมา(อุปะ-, อุบปะ-) ก. เปรียบเทียบ.
อุปมาน(อุปะ-, อุบปะ-) น. การเปรียบเทียบสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน.
อุปมาอุปไมย(อุปะมาอุปะไม, อุบปะมาอุบปะไม) น. การเปรียบเทียบกัน.
อุปไมย(อุปะไม, อุบปะไม) น. สิ่งหรือข้อความที่พึงเปรียบเทียบกับสิ่งอื่นเพื่อให้เข้าใจแจ่มแจ้ง, คู่กับ อุปมา.
อุปยุวราช(อุปะยุวะราด, อุบปะยุวะราด) น. ตำแหน่งเจ้าในนครล้านช้างรองพระเจ้าแผ่นดิน แต่อยู่เหนืออุปราช.
อุปโยค(อุปะโยก, อุบปะโยก) น. การใช้สอย, การทำให้เกิดประโยชน์.
อุปโยคบุรพบท(อุปะโยคะบุบพะบด, -บุระพะบด) น. ในไวยากรณ์หมายถึงคำนำหน้ากรรมการก.
อุปรากร(อุปะรากอน, อุบปะรากอน) น. ละครเพลงประเภทหนึ่ง ดำเนินเรื่องด้วยการร้องเพลงผสมผสานการบรรเลงจากวงดุริยางค์.
อุปราคา(อุปะราคา, อุบปะราคา) น. การทำให้ดำ, การทำให้มีมลทิน, ในคำว่า จันทรุปราคา สุริยุปราคา.
อุปราช(อุปะหฺราด, อุบปะหฺราด) น. ผู้สำเร็จราชการต่างพระองค์ประจำภาคหนึ่ง ๆ ในอาณาจักร.
อุปริ(อุปะริ, อุบปะริ) คำประกอบหน้าศัพท์ภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า เบื้องบน ข้างบน.
อุปริม-(อุปะริมะ-, อุบปะริมะ-) ว. อยู่สูงสุด, เบื้องบนที่สุด.
อุปโลกน์(อุปะโหฺลก, อุบปะโหฺลก) ก. ยกกันขึ้นเป็น เช่น อุปโลกน์ให้เป็นหัวหน้า, อปโลกน์ ก็ว่า.
อุปเวท(อุปะเวด, อุบปะเวด) น. คัมภีร์ “พระเวทรอง” ของอินเดียโบราณ เนื้อหามีลักษณะเป็นวิทยาการ ไม่นับว่าเป็นคัมภีร์ศาสนา ได้แก่ อายุรเวท (วิชาแพทย์ ถือว่าเป็นสาขาของคัมภีร์อถรรพเวทหรืออาถรรพเวท) ธนุรเวท (วิชายิงธนูและการใช้อาวุธอื่น ถือว่าเป็นสาขาของคัมภีร์ยชุรเวท) คันธรรพเวทหรือคานธรรพเวท (วิชาการดนตรี ถือว่าเป็นสาขาของคัมภีร์สามเวท) และสถาปัตยเวท (วิชาการก่อสร้าง ไม่ระบุว่าเป็นสาขาของคัมภีร์พระเวทใด).

Time: 0.0298 seconds, cache age: 2.568 (clear)Longdo Dict -- https://dict.longdo.com/