ampholyte | อินทรียสารหรืออนินทรียสารที่มีฤทธิ์เป็นได้ทั้งกรดและด่าง |
binary digit | เลขโดดฐานสองเรียกย่อ ๆ ว่า bit หมายถึง ตำแหน่งหนึ่งในเลขฐานสอง ซึ่งเป็นได้ 2 ค่า คือ 0 กับ 1 ใช้แทนค่าต่าง ๆ บิตเป็นหน่วยเล็กที่สุดของการเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ในการเก็บค่า เรานำบิตมาจัดเป็นกลุ่ม ๆ ละ 6-7-8 บิต เพื่อใช้เป็นรหัสแทนตัวอักขระต่าง ๆ ดู bit ประกอบ |
cartridge | (คาร์'ทริจฺ) 1. n. กระสุนปืน, ลูกกระสุน, ลำกล้องดินระเบิด, ภาชนะใส่ของเหลวหรือแก๊ส, ที่ม้วนเทป 2. อาจเป็นได้ทั้งตลับเทปหรือกล่อง ใช้เก็บข้อมูล ปัจจุบัน ไม่ค่อยนิยมใช้ บางทีใช้เป็นที่บรรจุเกมส์ต่าง ๆ เรียกว่า game cartridge ส่วน font cartridge หมายถึง ตลับที่ใช้เก็บแบบตัวอักษรสำหรับใส่ในเครื่องพิมพ์บางชนิด ถ้าใช้กับเครื่องพิมพ์หมายถึงที่ใส่หมึกสำหรับพิมพ์ เรียกว่า toner cartridge |
drum | (ดรัม) { drummed, drumming, drums } n. กลอง, เสียงกลอง, เยื่อแก้วหู vt., vi. ตีกลอง, เคาะจังหวะ. ดรัม <คำอ่าน>หมายถึงสื่อเก็บข้อมูลชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นวัสดุรูปทรงกระบอกที่หมุนรอบแกนด้วยความเร็ว ที่ผิวนอกฉาบด้วยสารแม่เหล็ก การบันทึกข้อความลงเก็บ จะต้องบันทึกลงบนผิวดรัม ผ่านหัวบันทึก (write head) และอ่านข้อความออกโดยหัวอ่าน (read head) จึงเป็นได้ทั้งหน่วยรับข้อมูล (input) และหน่วยแสดงผล (output) มีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล สูงกว่าเทปแม่เหล็ก (magnetic tape) แต่ยังช้ากว่าจานแม่เหล็ก (magnetic disk) โดยปกติจะต้องเรียกเต็ม ๆ ว่า magnetic drum |
magnetic drum | ดรัมแม่เหล็กหมายถึง วัสดุรูปทรงกระบอกที่หมุนรอบแกนด้วยความเร็ว ที่ผิวนอก ฉาบด้วยสารแม่เหล็ก ในการบันทึกข้อมูลลงบนพื้นผิวของดรัม จะบันทึกผ่านหัวบันทึก (write head) และอ่านข้อความออกโดยหัวอ่าน (read head) ดรัมจึงเป็นได้ทั้งหน่วยรับข้อมูล (input) และหน่วยแสดงผล (output) มีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลน้อยกว่าแถบบันทึก (tape) แต่ยังช้ากว่าจานบันทึก (disk) |
magnetic tape | แถบบันทึกแม่เหล็กหมายถึง แถบที่ทำด้วยพลาสติกฉาบออกไซด์ของโลหะ มีลักษณะคล้ายเทปหรือแถบบันทึกเสียง ม้วนอยู่บนวงล้อ มีหลายขนาด เป็นต้นว่า ขนาดยาว 2, 400 ฟุต 1, 200 ฟุต และ 600 ฟุต ตัวเทปกว้าง ? นิ้ว บันทึกข้อมูลได้ประมาณ 800-1, 600 ตัวอักษรต่อความยาวของเนื้อเทป 1 นิ้ว เทปหรือแถบบันทึกนี้สามารถเป็นได้ทั้งหน่วยรับข้อมูลและหน่วยแสดงผล คอมพิวเตอร์จะมีเครื่องมือที่ใช้อ่านและบันทึกข้อมูลลงในเทป เรียกว่า หน่วยขับเทป (tape drive) เราสามารถบันทึกข้อมูลใหม่ลงทับบนข้อมูลเก่าได้เหมือนการบันทึกเพลง ข้อมูลเดิมจะหายไปโดยอัตโนมัติ ข้อเสียของเทปก็คือ การค้นหาข้อมูลทำได้ช้า เพราะต้องเริ่มตั้งแต่ต้นเทปเสมอ ถ้าข้อมูลอยู่ปลายเทป ก็จะเสียเวลานาน การค้นหาแบบนี้เรียกว่าการเข้าถึงแบบเรียงลำดับ (sequential access) ซึ่งตรงข้ามกับการเข้าถึงแบบสุ่ม (direct access) ของจานบันทึก |
potential | (โพทัน'เชิล) adj. เป็นไปได้, เป็นได้, กลายเป็นได้, มีความสามารถซ่อนเร้นอยู่, ซ่อนแฝง. n. ความเป็นไปได้, ความสามารถหรือำนาจที่ซ่อนเร้นอยู่, ศักยะทางไฟฟ้า หลุมลึก |
semiconductor | สารกึ่งตัวนำหมายถึง สารชนิดหนึ่งที่เป็นสื่อนำก็ไม่ดี เป็นฉนวนก็ไม่ดี แต่ก็เป็นได้ทั้งสื่อนำและฉนวนกั้นกระแสไฟในตัว สารกึ่งตัวนำนี้ใช้ทำทรานซิสเตอร์ หรือวงจรรวม (integrated circuit) สารชนิดที่รู้จักกันดีในการนำมาทำเป็นสารกึ่งตัวนำในปัจจุบัน นี้คือ ซิลิคอน (silicon) และเจอมาเนียม (germanium) |
taskbar | แถบงานหมายถึง แถบที่อยู่ด้านล่างสุดของจอภาพในระบบวินโดว์ 95 และ 98 ซ้ายสุด จะเป็นปุ่ม Start ซึ่งเป็นปุ่มที่เราจะต้องใช้ทุกครั้งที่เข้ามาในระบบ บนแถบนี้ จะมีสัญรูปเล็ก ๆ ของ นาฬิกา ลำโพง หรือบางที หากกำลังสั่งพิมพ์งาน ก็จะมีสัญรูปเครื่องพิมพ์ และเป็นที่บอกว่า ขณะนั้นเราเปิดวินโดว์อะไรไว้แล้วบ้าง แถบงานนี้ ปกติจะกว้างเท่ากับขนาดของปุ่ม Start คือประมาณ .5 นิ้ว แต่เราสามารถย่อให้เล็กลงไปอีก หรือขยายให้ใหญ่ขึ้น หรือหากต้องการย้ายที่ กล่าวคืออาจย้ายไปไว้ด้านข้าง ฯ ก็สามารถใช้เมาส์ลากไปได้เลย หากเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วไม่มีแถบงานนี้ ก็ให้สงสัยไว้ก่อนว่า แถบงานถูกซ่อนไว้ ทดลองเลื่อนเมาส์ไปทางด้านล่าง ต่ำลงไปจนชิดกับที่แถบงานเคยอยู่ หากยังไม่มีแถบงานปรากฏให้เห็น ก็อาจเป็นได้ว่า มีคนย้ายแถบงานไปไว้ที่อื่น ต้องลองหาดูให้ดี ๆ |