50 ผลลัพธ์ สำหรับ เพลงหน้าพาทย์
หรือค้นหา: -เพลงหน้าพาทย์-, *เพลงหน้าพาทย์*
เนื่องจากผลลัพธ์มีน้อย ระบบจึงเปลี่ยนคำค้นเป็น *เพลงหน้าพาทย์*

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
เพลงหน้าพาทย์ดู หน้าพาทย์.
กลม ๑(กฺลม) น. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์ ใช้ปี่พาทย์ทำตอนตัวละครที่เป็นเทพเจ้าหรือเจ้าเงาะเหาะโดยลำพัง และใช้เป็นเพลงบรรเลงในเวลาเทศน์มหาชาติประจำกัณฑ์สักบรรพ.
กัลยาณมิตร(กันละยานะมิด) น. ชื่อเพลงไทยประเภทโหมโรงเสภา อัตรา ๓ ชั้น แต่งขึ้นจากเพลงหน้าพาทย์ชื่อชำนาญ.
คุกพาทย์น. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูง ใช้บรรเลงเพื่อแสดงการแผลงฤทธิ์ ในการเทศน์มหาชาติใช้เป็นเพลงประจำกัณฑ์จุลพน.
โคมเวียนชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์.
เชิดน. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์ ใช้บรรเลงประกอบกิริยา เช่นการเดินทางระยะไกล ๆ รีบเร่ง สู้รบกัน มีลักษณะ ทำนอง อัตราจังหวะและชื่อเรียกต่าง ๆ ดังนี้ เชิดกลอง เชิดฉิ่ง เชิดฉาน เชิดนอก
ใช้เรือน. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์, ชายเรือ ก็เรียก.
เซ่นเหล้าน. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์, ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงร้อง.
ตระ ๑(ตฺระ) น. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์.
ตระเชิญน. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์ ใช้อัญเชิญเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์.
ตะบองกันน. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์, กระบองกัน ก็ว่า.
เตียว ๑ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์ ใช้บรรเลงต่อท้ายเพลงเชิดนอกในการแสดงโขน.
ทะแยกลองโยนน. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์ ใช้ทำนองเพลงทะแย อัตรา ๒ ชั้น มาบรรเลง และตีกลองสองหน้า หน้าทับกลองโยน เลียนวิธีการตีกลองชนะในกระบวนแห่ในการเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราสถลมารค ปี่ชวามักเป่าเพลงทะแยกลองโยนเข้ากับกลองชนะในกระบวนเสด็จ, ในการเทศน์มหาชาติใช้บรรเลงเป็นเพลงประจำกัณฑ์นครกัณฑ์, เรียกสั้น ๆ ว่า กลองโยน.
บาทสกุณี(บาดสะกุนี) น. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์, เสมอตีนนก ก็เรียก.
แผละ ๒(แผฺละ) น. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์ ใช้บรรเลงประกอบท่าโบยบินของสัตว์ปีก เช่น ครุฑ.
พญาเดินน. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์ ใช้บรรเลงประกอบการเดินของตัวละครผู้สูงศักดิ์.
พระเจ้าลอยถาดชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์.
ยานีชื่อเพลงหน้าพาทย์.
รัว ๒น. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์ ใช้บรรเลงในลักษณะต่าง ๆ กันคือ รัวธรรมดาหรือรัวลาเดียว ใช้บรรเลงเมื่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในการแสดงโขนละครเป็นต้น และใช้บรรเลงต่อท้ายเพลงหน้าพาทย์ที่แสดงผลสำเร็จของพิธีการหรือพิธีกรรมนั้น ๆ, รัวเฉพาะ ใช้บรรเลงต่อท้ายเพลงหน้าพาทย์บางเพลง เช่น รัวท้ายเพลงบาทสกุณี รัวท้ายเพลงปลูกต้นไม้ รัวสามลา เป็นเพลงในชุดโหมโรงเย็นมีความหมายแทนการกราบไหว้บูชา ในการแสดงโขนละคร ใช้บรรเลงประกอบกิริยาแสดงอิทธิฤทธิ์ของตัวละครสูงศักดิ์ ในการเทศน์มหาชาติใช้เป็นเพลงประจำกัณฑ์จุลพน.
วา ๒น. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์ ใช้บรรเลงเพื่อให้ผู้ชมรู้ว่าจะเริ่มการแสดง.
สาธุการชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์ที่สำคัญยิ่ง ใช้บรรเลงในพิธีกรรมเพื่อบูชาหรืออัญเชิญพระรัตนตรัย เทพยดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และใช้เพื่อแสดงกิริยานบไหว้ เป็นเพลงอันดับแรกที่ใช้สอนเมื่อเริ่มต้นเรียนวิชาปี่พาทย์ และเป็นเพลงอันดับแรกของชุดโหมโรงเช้าโหมโรงเย็น.
เสภาทรงเครื่องน. เสภาที่ใช้ปี่พาทย์บรรเลงรับเวลาร้องส่ง บางทีมีเพลงหน้าพาทย์ประกอบ, เสภาส่งเครื่อง ก็ว่า.
เสมอ ๓(สะเหฺมอ) น. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์ ใช้ประกอบการเดินของตัวละครในระยะใกล้ ๆ มีหลายทำนองขึ้นอยู่กับตัวแสดง เช่น เสมอมาร เสมอเถร เสมอผี เสมอตีนนกหรือบาทสกุณี (ใช้กับมนุษย์).
หน้าพาทย์แผลง(-แผฺลง) น. การเรียกชื่อเพลงหน้าพาทย์ให้แตกต่างไปจากชื่อเดิมตามเจตนาของผู้พากย์ โดยคงความหมายชื่อใหม่ให้สัมพันธ์กับชื่อเดิม เช่น สี่ศอก หมายถึง เพลงวา ไม่ได้ไม่เสีย หมายถึง เพลงเสมอ แม่ลูกอ่อนไปตลาด หมายถึง เพลงเร็ว.
โอดน. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์ ใช้บรรเลงประกอบกิริยาร้องไห้ สลบ หรือตาย.

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
เพลงหน้าพาทย์ดู หน้าพาทย์.
กลม ๑(กฺลม) น. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์ ใช้ปี่พาทย์ทำตอนตัวละครที่เป็นเทพเจ้าหรือเจ้าเงาะเหาะโดยลำพัง และใช้เป็นเพลงบรรเลงในเวลาเทศน์มหาชาติประจำกัณฑ์สักบรรพ.
กัลยาณมิตร(กันละยานะมิด) น. ชื่อเพลงไทยประเภทโหมโรงเสภา อัตรา ๓ ชั้น แต่งขึ้นจากเพลงหน้าพาทย์ชื่อชำนาญ.
คุกพาทย์น. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูง ใช้บรรเลงเพื่อแสดงการแผลงฤทธิ์ ในการเทศน์มหาชาติใช้เป็นเพลงประจำกัณฑ์จุลพน.
โคมเวียนชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์.
เชิดน. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์ ใช้บรรเลงประกอบกิริยา เช่นการเดินทางระยะไกล ๆ รีบเร่ง สู้รบกัน มีลักษณะ ทำนอง อัตราจังหวะและชื่อเรียกต่าง ๆ ดังนี้ เชิดกลอง เชิดฉิ่ง เชิดฉาน เชิดนอก
ใช้เรือน. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์, ชายเรือ ก็เรียก.
เซ่นเหล้าน. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์, ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงร้อง.
ตระ ๑(ตฺระ) น. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์.
ตระเชิญน. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์ ใช้อัญเชิญเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์.
ตะบองกันน. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์, กระบองกัน ก็ว่า.
เตียว ๑ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์ ใช้บรรเลงต่อท้ายเพลงเชิดนอกในการแสดงโขน.
ทะแยกลองโยนน. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์ ใช้ทำนองเพลงทะแย อัตรา ๒ ชั้น มาบรรเลง และตีกลองสองหน้า หน้าทับกลองโยน เลียนวิธีการตีกลองชนะในกระบวนแห่ในการเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราสถลมารค ปี่ชวามักเป่าเพลงทะแยกลองโยนเข้ากับกลองชนะในกระบวนเสด็จ, ในการเทศน์มหาชาติใช้บรรเลงเป็นเพลงประจำกัณฑ์นครกัณฑ์, เรียกสั้น ๆ ว่า กลองโยน.
บาทสกุณี(บาดสะกุนี) น. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์, เสมอตีนนก ก็เรียก.
แผละ ๒(แผฺละ) น. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์ ใช้บรรเลงประกอบท่าโบยบินของสัตว์ปีก เช่น ครุฑ.
พญาเดินน. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์ ใช้บรรเลงประกอบการเดินของตัวละครผู้สูงศักดิ์.
พระเจ้าลอยถาดชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์.
ยานีชื่อเพลงหน้าพาทย์.
รัว ๒น. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์ ใช้บรรเลงในลักษณะต่าง ๆ กันคือ รัวธรรมดาหรือรัวลาเดียว ใช้บรรเลงเมื่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในการแสดงโขนละครเป็นต้น และใช้บรรเลงต่อท้ายเพลงหน้าพาทย์ที่แสดงผลสำเร็จของพิธีการหรือพิธีกรรมนั้น ๆ, รัวเฉพาะ ใช้บรรเลงต่อท้ายเพลงหน้าพาทย์บางเพลง เช่น รัวท้ายเพลงบาทสกุณี รัวท้ายเพลงปลูกต้นไม้ รัวสามลา เป็นเพลงในชุดโหมโรงเย็นมีความหมายแทนการกราบไหว้บูชา ในการแสดงโขนละคร ใช้บรรเลงประกอบกิริยาแสดงอิทธิฤทธิ์ของตัวละครสูงศักดิ์ ในการเทศน์มหาชาติใช้เป็นเพลงประจำกัณฑ์จุลพน.
วา ๒น. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์ ใช้บรรเลงเพื่อให้ผู้ชมรู้ว่าจะเริ่มการแสดง.
สาธุการชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์ที่สำคัญยิ่ง ใช้บรรเลงในพิธีกรรมเพื่อบูชาหรืออัญเชิญพระรัตนตรัย เทพยดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และใช้เพื่อแสดงกิริยานบไหว้ เป็นเพลงอันดับแรกที่ใช้สอนเมื่อเริ่มต้นเรียนวิชาปี่พาทย์ และเป็นเพลงอันดับแรกของชุดโหมโรงเช้าโหมโรงเย็น.
เสภาทรงเครื่องน. เสภาที่ใช้ปี่พาทย์บรรเลงรับเวลาร้องส่ง บางทีมีเพลงหน้าพาทย์ประกอบ, เสภาส่งเครื่อง ก็ว่า.
เสมอ ๓(สะเหฺมอ) น. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์ ใช้ประกอบการเดินของตัวละครในระยะใกล้ ๆ มีหลายทำนองขึ้นอยู่กับตัวแสดง เช่น เสมอมาร เสมอเถร เสมอผี เสมอตีนนกหรือบาทสกุณี (ใช้กับมนุษย์).
หน้าพาทย์แผลง(-แผฺลง) น. การเรียกชื่อเพลงหน้าพาทย์ให้แตกต่างไปจากชื่อเดิมตามเจตนาของผู้พากย์ โดยคงความหมายชื่อใหม่ให้สัมพันธ์กับชื่อเดิม เช่น สี่ศอก หมายถึง เพลงวา ไม่ได้ไม่เสีย หมายถึง เพลงเสมอ แม่ลูกอ่อนไปตลาด หมายถึง เพลงเร็ว.
โอดน. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์ ใช้บรรเลงประกอบกิริยาร้องไห้ สลบ หรือตาย.

Time: 0.0335 seconds, cache age: 5.216 (clear)Longdo Dict -- https://dict.longdo.com/