เห่เรือ | น. ทำนองที่ขับร้องเมื่อเวลาพายเรือพระที่นั่งในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค. |
กระโฉม | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Limnophila rugosa (Roth) Merr. ในวงศ์ Scrophulariaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ลำต้นและกิ่งอวบน้ำ สีม่วง ใบรูปไข่ ค่อนข้างหนา ด้านล่างมีขน ขอบหยักห่าง ๆ ก้านใบแบน ๆ โคนก้านโอบกิ่งหรือลำต้น ดอกเล็ก ๆ สีม่วงแกมชมพู กลางเหลือง ออกเป็นกระจุกที่ง่ามใบหรือปลายกิ่ง ทุกส่วนของไม้นี้มีกลิ่นหอม ใช้เป็นอาหาร และใช้ทำยาได้, ผักโฉม ก็เรียก เช่น ผักโฉมชื่อเพราะพร้อง เป็นโฉมน้องฤๅโฉมไหน (เห่เรือ). |
ฉวยฉาบ | ก. จิกหรือหยิบแล้วบินหรือพาไป เช่น ฉวยฉาบคาบนาคี เป็นเหยื่อ (เห่เรือ). |
ชลาลัย | น. น้ำ, ห้วงน้ำ, เช่น ปางเสด็จประเวศด้าว ชลาลัย (กาพย์เห่เรือ), น้ำใจนางเปรียบอย่างชลาลัย ไม่เลือกไหลห้วยหนองคลองละหาน (กากี). |
ชะวาด | น. ชื่อปลาชนิดหนึ่ง เช่น ชะวาดแอบแปบปนปลอม (เห่เรือ). |
ชะแวง | น. ชื่อปลาชนิดหนึ่ง เช่น ชะแวงแฝงฝั่งแนบ (เห่เรือ). |
ด้าว | น. แดน เช่น ปางเสด็จประเวศด้าว ชลาลัย (กาพย์เห่เรือ), ประเทศ เช่น คนต่างด้าว |
เตือนตา | ก. ชวนดู เช่น สุวรรณหงส์ทรงภู่ห้อย งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์ เพียงหงส์ทรงพรหมินทร์ ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม (กาพย์เห่เรือ). |
นาวา ๒ | น. เรือ เช่น นาวาแน่นเป็นขนัด ล้วนรูปสัตว์แสนยากร (กาพย์เห่เรือ). |
นาเวศ | น. เรือ เช่น กรีธาหมู่นาเวศ จากนคเรศโดยสาชล (กาพย์เห่เรือ). |
พระ | ส. คำใช้แทนผู้เป็นใหญ่ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เช่น เมียเห็นว่าเงาะนี้มีความรู้ พระอย่าได้ลบหลู่ว่าชั่วช้า (สังข์ทอง), หรือเป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล (กาพย์เห่เรือ). |
หยับ, หยับ ๆ | อาการขึ้นลงเนิบ ๆ เช่น พายอ่อนหยับจับงามงอน (เห่เรือ) |
เห่ | น. ทำนองที่ขับร้องในบางพระราชพิธี, ถ้าใช้เมื่อเวลาพายเรือพระที่นั่งในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เรียกว่า เห่เรือ, ถ้าใช้ในพระราชพิธีขึ้นพระอู่พระเจ้าลูกเธอ เรียกว่า เห่กล่อม |
แห ๓ | ว. ใช้เข้าคู่กับคำ ห่าง เป็น ห่างแห หรือแหห่าง เช่น กระแหแหห่างชาย ดั่งสายสวาทคลาดจากสม (เห่เรือ). |
ฮ้าไฮ้ | อ. เสียงลูกคู่ร้องรับในเพลงบางชนิด เช่นเพลงเห่เรือ. |
เห่เรือ | น. ทำนองที่ขับร้องเมื่อเวลาพายเรือพระที่นั่งในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค. |
กระโฉม | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Limnophila rugosa (Roth) Merr. ในวงศ์ Scrophulariaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ลำต้นและกิ่งอวบน้ำ สีม่วง ใบรูปไข่ ค่อนข้างหนา ด้านล่างมีขน ขอบหยักห่าง ๆ ก้านใบแบน ๆ โคนก้านโอบกิ่งหรือลำต้น ดอกเล็ก ๆ สีม่วงแกมชมพู กลางเหลือง ออกเป็นกระจุกที่ง่ามใบหรือปลายกิ่ง ทุกส่วนของไม้นี้มีกลิ่นหอม ใช้เป็นอาหาร และใช้ทำยาได้, ผักโฉม ก็เรียก เช่น ผักโฉมชื่อเพราะพร้อง เป็นโฉมน้องฤๅโฉมไหน (เห่เรือ). |
ฉวยฉาบ | ก. จิกหรือหยิบแล้วบินหรือพาไป เช่น ฉวยฉาบคาบนาคี เป็นเหยื่อ (เห่เรือ). |
ชลาลัย | น. น้ำ, ห้วงน้ำ, เช่น ปางเสด็จประเวศด้าว ชลาลัย (กาพย์เห่เรือ), น้ำใจนางเปรียบอย่างชลาลัย ไม่เลือกไหลห้วยหนองคลองละหาน (กากี). |
ชะวาด | น. ชื่อปลาชนิดหนึ่ง เช่น ชะวาดแอบแปบปนปลอม (เห่เรือ). |
ชะแวง | น. ชื่อปลาชนิดหนึ่ง เช่น ชะแวงแฝงฝั่งแนบ (เห่เรือ). |
ด้าว | น. แดน เช่น ปางเสด็จประเวศด้าว ชลาลัย (กาพย์เห่เรือ), ประเทศ เช่น คนต่างด้าว |
เตือนตา | ก. ชวนดู เช่น สุวรรณหงส์ทรงภู่ห้อย งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์ เพียงหงส์ทรงพรหมินทร์ ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม (กาพย์เห่เรือ). |
นาวา ๒ | น. เรือ เช่น นาวาแน่นเป็นขนัด ล้วนรูปสัตว์แสนยากร (กาพย์เห่เรือ). |
นาเวศ | น. เรือ เช่น กรีธาหมู่นาเวศ จากนคเรศโดยสาชล (กาพย์เห่เรือ). |
พระ | ส. คำใช้แทนผู้เป็นใหญ่ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เช่น เมียเห็นว่าเงาะนี้มีความรู้ พระอย่าได้ลบหลู่ว่าชั่วช้า (สังข์ทอง), หรือเป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล (กาพย์เห่เรือ). |
หยับ, หยับ ๆ | อาการขึ้นลงเนิบ ๆ เช่น พายอ่อนหยับจับงามงอน (เห่เรือ) |
เห่ | น. ทำนองที่ขับร้องในบางพระราชพิธี, ถ้าใช้เมื่อเวลาพายเรือพระที่นั่งในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เรียกว่า เห่เรือ, ถ้าใช้ในพระราชพิธีขึ้นพระอู่พระเจ้าลูกเธอ เรียกว่า เห่กล่อม |
แห ๓ | ว. ใช้เข้าคู่กับคำ ห่าง เป็น ห่างแห หรือแหห่าง เช่น กระแหแหห่างชาย ดั่งสายสวาทคลาดจากสม (เห่เรือ). |
ฮ้าไฮ้ | อ. เสียงลูกคู่ร้องรับในเพลงบางชนิด เช่นเพลงเห่เรือ. |