ก กา | น. เรียกแม่บทแจกลูกพยัญชนะต้นกับสระโดยไม่มีตัวสะกด ว่า มาตรา ก กา หรือแม่ ก กา. |
คำเทียบ | น. แบบสอนอ่านที่แจกตามรูปตามมาตรา ก กา กง กน ฯลฯ เช่น ก กา กิ กี ฯลฯ เป็นคำเทียบของแม่ ก กา กง กัง กาง กิง ฯลฯ เป็นคำเทียบของแม่กง. |
แจก | กระจายออก, แยกออก, เช่น แจกออกเป็นแม่ ก กา. |
มาตรา | แม่บทแจกลูกพยัญชนะต้นกับสระโดยไม่มีตัวสะกด เรียกว่า มาตรา ก กา หรือ แม่ ก กา, หลักเกณฑ์ที่วางไว้เพื่อให้กำหนดได้ว่าคำที่มีพยัญชนะตัวใดบ้างเป็นตัวสะกดอยู่ในมาตราใดหรือแม่ใด คือ ถ้ามีตัว ก ข ค ฆ สะกด จัดอยู่ในมาตรากกหรือแม่กก, ถ้ามีตัว ง สะกด จัดอยู่ในมาตรากงหรือแม่กง, ถ้ามีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด จัดอยู่ในมาตรากดหรือแม่กด, ถ้ามีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด จัดอยู่ในมาตรากนหรือแม่กน, ถ้ามีตัว บ ป พ ฟ ภ สะกด จัดอยู่ในมาตรากบหรือแม่กบ, ถ้ามีตัว ม สะกด จัดอยู่ในมาตรากมหรือแม่กม, ถ้ามีตัว ย สะกด จัดอยู่ในมาตราเกยหรือแม่เกย, ถ้ามีตัว ว สะกด จัดอยู่ในมาตราเกอวหรือแม่เกอว |
แม่ | คำหรือพยางค์ที่มีแต่สระ ไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา หรือมาตรา ก กา, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ก ข ค ฆ สะกด เรียกว่า แม่กกหรือมาตรากก, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ง สะกด เรียกว่า แม่กงหรือมาตรากง, คำหรือพยางค์ที่มีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด เรียกว่า แม่กดหรือมาตรากด, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด เรียกว่า แม่กนหรือมาตรากน, คำหรือพยางค์ที่มีตัว บ ป พ ฟ ภ สะกด เรียกว่า แม่กบหรือมาตรากบ, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ม สะกด เรียกว่า แม่กมหรือมาตรากม, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ย สะกด เรียกว่า แม่เกยหรือมาตราเกย แต่ในมูลบทบรรพกิจมี ย ว อ สะกด, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ว สะกด เรียกว่า แม่เกอวหรือมาตราเกอว. |