Hydroponics | ไฮโดรพอนิกส์ หรือการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน, Example: <p>ไฮโดรพอนิกส์ (hydroponics) คือ การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน โดยให้รากแช่อยู่ในน้ำที่มีธาตุอาหารพืชละลายอยู่ และส่วนลำต้นและส่วนอื่นๆ จะอยู่เหนือระดับสารละลาย โดยมีวัสดุพยุงไว้อย่างเหมาะสม <p> <p>เทคนิคการปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรพอนิกส์มีการพัฒนาขึ้นหลายรูปแบบโดยแต่ละรูปแบบมีวิธีปลูก วัสดุปลูก และการให้สารละลายธาตุอาหารพืช และอื่นๆ ที่แตกต่างกัน เทคนิคที่นำมาใช้ในเชิงการค้ามีเพียง 6 รูปแบบดังนี้ <p> <p>1. เทคนิคการให้อากาศ เป็นเทคนิคเก่า มีการให้อากาศโดยใช้เครื่องเป่าลมหรืออากาศ การให้ออกซิเจนลงในน้ำจะคล้ายกับการให้อากาศในตู้เลี้ยงปลา เทคนิคนี้ไม่มีการหมุนเวียนของน้ำหรือสารละลาย <p>2. เทคนิคน้ำหมุนเวียน เทคนิคนี้มีหลักการคล้ายเทคนิคการให้อากาศแต่จะต่างกันคือ การให้ออกซิเจนลงในน้ำอาศัยการไหลเวียนของน้ำหรือสารละลายธาตุอาหารพืช <p>3. เทคนิคเอ็นเอฟที (Nutrient Flow Technique, NFT) เป็นเทคนิคที่มีน้ำหรือสารละลายไหลเวียน มีหลักการว่ารากพืชจะต้องแช่อยู่ในรางแบนๆ ที่มีความลาดเอียงร้อยละ 1 - 3 และมีน้ำหรือสารละลายธาตุอาหารพืชไหลผ่านเป็นชั้นแผ่นผิวบางๆ ตามช่วงเวลาที่กำหนด เพื่อรากจะได้รับความชื้นและออกซิเจนที่เหมาะสม <p>4. เทคนิคฉีดพ่นราก เป็นเทคนิคที่มีน้ำหมุนเวียน รากพืชไม่ได้แช่ในน้ำหรือสารละลายแต่ยกลอยขึ้นในตู้ปลูกที่เป็นห้องมืดและรักษาความชื้นด้วยละอองน้ำจากหัวฉีดที่วางเป็นระยะๆ <p>5. เทคนิคปลูกพืชเพื่อเลี้ยงสัตว์ เป็นเทคนิคการปลูกพืชเพื่อใช้เลี้ยงสัตว์ เช่น ข้าวโพด ข้าวสาลี ข้าวฟ่าง จะปลูกในตู้ปลูกที่มีการควบคุมสภาพแวดล้อม ให้น้ำหรือสารละลายธาตุอาหารพืชด้วยน้ำหมุนเวียนโดยการฉีดเป็นละอองฝอยให้ทั่วกระบะหรือใช้วิธีน้ำหยด <p>6. เทคนิควัสดุปลูก เป็นเทคนิคที่นิยมใช้กันมาก มีการลงทุนต่ำกว่า ดูแลง่ายกว่า และสามารถปลูกพืชที่มีอายุยาวได้ดีกว่าการปลูกด้วยเทคนิคที่ใช้น้ำหรือสารละลาย วัสดุปลูก ได้แก่ วัตถุต่างๆ ที่เลือกมาใช้ปลูกพืชแทนการใช้ดินและสามารถทำให้พืชเจริญเติบโตได้เป็นปกติ วัตถุดังกล่าวอาจเป็นอินทรียวัตถุคือ วัตถุที่ได้มาจากสิ่งมีชีวิต เช่น กาบมะพร้าว ชานอ้อย แกลบ หรือเป็นอนินทรียวัตถุคือ วัตถุที่ได้มาจากสิ่งไม่มีชีวิต เช่น กรวด ทราย <p> <p>ข้อดีของการปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรพอนิกส์คือ <p> <p>1. สามารถปลูกในพื้นที่ที่มีข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ เช่น พื้นที่ที่มีภูเขาสูงชัน เป็นทะเลทราย หรือในพื้นที่ที่มีสภาพดินที่ไม่เหมาะสมสำหรับการปลูกพืช เช่น ดินเปรี้ยวจัด เค็มจัด <p>2. ใช้น้ำและปุ๋ยได้อย่างประหยัด ไม่สูญเสียน้ำและปุ๋ยจากการไหลทิ้ง และยังสามารถนำปุ๋ยกลับมาใช้ได้อีก <p>3. ใช้แรงงานในทุกขั้นตอนน้อยกว่าการเพาะปลูกแบบธรรมดา <p>4. สามารถปลูกพืชให้หนาแน่นได้มากกว่าการเพาะปลูกแบบธรรมดา เพราะมีระบบการให้สารละลายธาตุอาหารที่เพียงพอ นอกจากนี้การปลูกพืชสามารถทำได้ทันทีหลังเก็บผลผลิตโดยไม่ต้องรอการเตรียมแปลงปลูก <p>5. สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมต่างๆ ของรากได้ดีกว่าการเพาะปลูกแบบธรรมดา ทำให้พืชสามารถดูดซึมธาตุอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงทำให้ได้พืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง <p> <p>ข้อเสียของการปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรพอนิกส์คือ <p> <p>1. มีการลงทุนสูงกว่าการเพาะปลูกแบบธรรมดามาก เช่น ต้องใช้เทคโนโลยีสูง ต้องใช้น้ำที่สะอาด รวมทั้งต้องใช้โรงเรือนที่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมได้ <p>2. ต้องใช้ประสบการณ์และการดูแลเอาใจใส่มากกว่าการเพาะปลูกแบบธรรมดา <p>3. หากแก้ไขการขัดข้องของกระแสไฟฟ้าหรือการชำรุดของเครื่องมือไม่ทันจะมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตรวมถึงการตายของพืช <p>4. มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในน้ำสูงเพราะโรคพืชโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่เกิดกับรากสามารถแพร่กระจายได้ง่ายในน้ำ <p>5. ไม่สามารถใช้ปุ๋ยอินทรีย์ได้และยังทำให้พืชขาดจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อพืชบางชนิดในดิน <br> <br>แหล่งข้อมูล<br> วัฒนา เสถียรสวัสดิ์. (2553). ไฮโดรพอนิกส์. ในสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (เล่มที่ 27, หน้า 132-163). กรุงเทพฯ : โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |