5 ผลลัพธ์ สำหรับ copyright law
หรือค้นหา: -copyright law-, *copyright law*

คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Copyright lawกฎหมายลิขสิทธิ์ [เทคโนโลยีการศึกษา]
Copyright lawกฎหมายลิขสิทธิ์, Example: กฎหมายลิขสิทธิ์ คือ กฎหมายที่ให้ความคุ้มครองสิทธิในทางวรรณกรรมและศิลปกรรม ผู้แต่งหรือเจ้าของผลงานจะได้รับความคุ้มครองโดยกฎหมายนี้ ผู้ใดจะนำข้อความไปตีพิมพ์หรือแปลเป็นภาษาอื่นๆ หรือผลิตออกเผยแพร่โดยมิได้รับอนุญาตจากผู้แต่งหรือเจ้าของผลงาน หรือเจ้าของลิขสิทธิ์มิได้ <p> <p>กฎหมายลิขสิทธิ์ของแต่ละประเทศจะระบุให้สำนักพิมพ์หรือผู้จัดพิมพ์ส่งหนังสือที่พิมพ์ให้หอสมุดแห่งชาติเก็บรักษา ตามจำนวนที่กำหนด ส่วนใหญ่จะเป็นจำนวน 2 ฉบับ เพื่อเป็นการควบคุมบรรณานุกรมของสิ่งพิมพ์ที่ผลิตในแต่ละประเทศ <p> <p>หนังสือภาษาต่างประเทศ จะมีการแจ้งลิขสิทธิ์ระบุไว้ที่หน้าลิขสิทธิ์หรือ copyright page ซึ่งก็คือ ด้านหลังของหน้าปกใน โดยจะปรากฏคำว่า Copyright หรือ © พร้อมทั้งชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์และปี ค.ศ. ที่ได้รับลิขสิทธิ์เป็นครั้งแรก และจะมีรายละเอียดถึงการห้ามคัดลอกข้อความใดข้อความหนึ่ง โดยมิได้รับอนุญาต <p> <p>หนังสือภาษาไทย จะมีคำว่า สงวนลิขสิทธิ์ ปรากฏไว้ที่ด้านหลังหน้าปกใน เช่นเดียวกัน และมีการระบุชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์และปี พ.ศ ที่ได้รับลิขสิทธิ์เป็นครั้งแรก และจะมีรายละเอียดถึงการห้ามคัดลอกข้อความใดข้อความหนึ่ง โดยมิได้รับอนุญาต <p> <p>กฎหมายลิขสิทธิ์มีความเกี่ยวข้องกับห้องสมุด เนื่องจากห้องสมุดมีงานลิขสิทธิ์หลายประเภทอยู่ในครอบครอง เช่น งานวรรณกรรม ในรูปของหนังสือ วารสาร สิ่งพิมพ์ในลักษณะต่างๆ ตลอดจนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ งานโสตทัศนวัสดุ เช่น วีดิทัศน์ ฯลฯ สื่อบันทึกเสียงรูปแบบต่างๆ เช่น แผ่นเสียง เทปคาสเซทส์ งานศิลปกรรม เช่น ภาพวาด ภาพเขียน เป็นต้น <p> <p>ธัชชัย ศุภผลศิริ ได้จำแนกสถานภาพของห้องสมุดที่เกี่ยวกับงานลิขสิทธิเป็น 4 ประำการ คือ <p>1. ในฐานะเจ้าของทรัพย์สิน <p>2. ในฐานะผู้ครอบครองทรัพย์สิน <p>3. ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ <p>4. ในฐานะผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ <p> <p>1. ห้องสมุดในฐานะเจ้าของทรัพย์สิน ห้องสมุดเป็นผู้จัดซื้อ จัดหาสื่อต่างๆ เข้ามา แต่มิได้หมายความว่า ห้องสมุดเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ เพียงแต่ห้องสมุดมีกรรมสิทธิ์ในสื่อเหล่านั้น ห้องสมุด อาจนำมาไว้ให้บริการผู้อ่่านในห้องสมุดหรือยืมไปอ่าน หากไม่นำมาคืน ห้องสมุดสามารถใช้สิทธิทวงถามเพื่อให้นำมาคืนได้ แต่ห้องสมุดไม่มีสิทธิ์ที่จะทำซ้ำหรือดัดแปลง หรือเผยแพร่งานนั้นต่อสาธารณชนได้ หากไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ เช่น ห้องสมุดไม่สามารถนำหนังสือที่ซื้อมาทำสำเนาเข้าปกเป็นจำนวนหลายเล่ม เพื่อให้มีจำนวนหนังสือเพิ่มขึ้นโดยไม่ต้องซื้อไม่ได้ เป็นต้น <p>2. ห้องสมุดในฐานะผู้ครอบครองทรัพย์สิน หมายถึง ห้องสมุดมิได้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน แต่อยู่ในฐานะครอบครองทรัพย์สินเท่านั้น เจ้าของทรัพย์สินอาจให้ยืมหนังสือหรือสิ่งของบางรายการแก่ห้องสมุด และอาจระบุเงื่อนไขบางประการไว้ เช่น การนำสิ่งของมาแสดงในงานนิทรรศการ เมื่อครบกำหนดต้องคืน และห้องสมุดต้องรักษาทรัพย์สินนั้นๆ <p>3. ห้องสมุดในฐานะเข้าของลิขสิทธิ์ ห้ิองสมุดอาจจะเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานที่มีอยู่ในห้องสมุด การใช้งานลิขสิทธิ์ย่อมไม่มีปัญหาใดๆ เพียงแต่ดูแลลิขสิทธิ์ของตนเองเมื่อพบว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานเหล่านั้น <p>4. ห้องสมุดในฐานะผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ ห้องสมุดไม่ใช่เจ้าของลิขสิทธิ์ แต่เป็นผู้ที่จะใช้งานลิขสิทธิ์นั้นในขอบเขตการให้บริการของตน แต่โดยหลักแล้ว ห้องสมุดไม่ใช่เจ้าของลิขสิทธิ์ ย่อมกระทำการที่กฎหมายให้เจ้าของลิขสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้งานลิขสิทธิ์อาจได้รับการปกป้องจากการกล่าวหาว่าละเมิดลิขสิทธิ์ ด้วยการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ <p>4.1 การกระทำโดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ <p>4.2 การกระทำต่องานที่หมดอายุลิขสิทธิ์ไปแล้ว <p>4.3 การกระทำต่อสิ่งที่ไม่มีลิขสิทธิ์ <p>4.4 การกระทำที่ต้องด้วยข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ <p> <p>การกระทำโดยไ้ด้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ห้องสมุดตรวจสอบว่าผู้ใดเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์และทำการขออนุญาต โดยมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร และควรแจ้งว่าเป็นการใช้เพื่อประโยชน์ในการศึกษา และขอความอนุเคราะห์ในการยกเว้นค่าใช้ลิขสิทธิ์ (กรณีที่เจ้าของลิขสิทธิ์อาจจะมีเงื่อนไข) <p>การกระทำต่องานที่หมดอายุลิขสิทธิ์ไปแล้ว งานที่หมดอายุลิขสิทธิ์ย่อมตกเป็นสมบัติสาธารณะ ไม่ต้องขออนุญาตต่อผู้ใด ห้องสมุดอาจทำซ้ำ เพื่อการเก็บรักษาหรือเพื่อให้ผู้ใช้บริการยืมอ่านได้ <p>การกระทำต่อสิ่งที่ไม่มีลิขสิทธิ์ สิ่งที่กฎหมายลิขสิทธิ์ระบุว่าไม่มีลิขสิทธิ์ คือ <p>1. ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสารอันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ <p>2. รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย <p>3. ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือ หน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถ่น <p>4. คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ <p>5. คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่างๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือท้องถิ่นจัดทำขึ้น <p> สิ่งต่างๆ ข้างต้น ไม่ถือว่าเป็นงานลิขสิทธิ์ ห้องสมุดอาจทำซ้ำ ดัดแปลงหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้ <p>การกระทำที่ต้องด้วยข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ระบุข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ที่เกี่ยวกับงานดำเนินงานของห้องสมุดหลายมาตรา มีทั้ืงบทเฉพาะเกี่ยวกับการทำซ้ำโดยบรรณารักษ์ของห้องสมุด (มาตรา 34) บทบัญญัติทั่วไปสำหรับการพิจารณาข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์งานประเภทต่างๆ (มาตรา 32 และมาตรา 33) และบทบัญญัติเกี่ยวกับงานลิขสิทธิ์เฉพาะประเภท (มาตร 35 ถึง 42) แต่ตัวบทกฎหมายนี้ก็ไม่ได้บัญญัติชัดเจนพอที่จะอ่านแล้วชี้ชัดได้ว่าการกระทำอย่างใดขนาดใดจะถือว่าต้องด้วยข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ <p> <p>รายการอ้างอิง <p>ธัชชัย ศุภผลศิริ. "กฎหมายลิขสิทธิ์กับงานห้องสมุด" หน้า 5-25 ใน เอกสารประกอบการสัมมนา เรื่อง ลิขสิทธิ์ในงานห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศ. กรุงเทพฯ : สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543. [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]

ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
I'll assume you don't understand copyright law, and I'll order you to attend ฉันรู้ว่ามันไม่ดี ฆ่ามัน ฆ่ามัน ไม่ใช่แมงมุม -สเตซี่ Back from the Dead (2013)

Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
กฎหมายลิขสิทธิ์[kotmāi likkhasit] (n, exp) EN: copyright law ; copyright act  FR: loi sur le droit d'auteur [ m ]

EDICT JP-EN Dictionary
貸与権[たいよけん, taiyoken] (n) lending rights (for copyrighted works under Japan's copyright law) [Add to Longdo]

Time: 0.9234 seconds, cache age: 1.225 (clear)Longdo Dict -- https://dict.longdo.com/