Open access | การเข้าถึงแบบเสรี, Example: <p>ในช่วงเวลา 20 ปี ที่ผ่านมา ห้องสมุดทั่วโลกโดยเฉพาะห้องสมุดในประเทศกำลังพัฒนา ประสบปัญหาเรื่องงบประมาณที่มีจำกัดในการบอกรับวารสารวิชาการที่มีราคาสูง เนื่องจากแนวโน้มราคาวารสารวิชาการมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยเฉพาะวารสารวิชาการในสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการแพทย์ ห้องสมุดในฐานะที่อยู่ต้นทางในการให้บริการแก่ผู้ใช้ จำเป็นต้องคำนึงถึงวิธีการกำหนดนโยบาย และมาตรการ เพื่อรองรับสถานการณ์ดังกล่าว ซึ่งขณะนี้กระแสวารสารที่เข้าถึงได้แบบเปิด (Open Access) กำลังได้รับความสนใจและมีบทบาทสำคัญมาก จากผู้ที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลได้ฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากภาวะวิกฤติของวารสารวิชาการนั่นเอง <p>Open Access (OA) หมายถึง เอกสารวิชาการแบบดิจิทัล ที่มีการเผยแพร่ให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงแบบออนไลน์ได้แบบเสรี (ฟรี) <p>ประเภทของ Open Access <p>1. Open Access Publishing หรือเรียกว่าเป็นถนนสีทอง (Gold OA) ที่นำสู่ OA หมายถึง วารสารที่เปิดให้เข้าถึงบทความในเล่มอย่างอิสระทันทีที่ส่งตีพิมพ์ <p>2. Open Access Self-Archiving หรือ เรียกว่าเป็นถนนสีเขียว (Green OA) หมายถึง วารสารที่ตีพิมพ์ในวารสารของสำนักพิมพ์ทั่วไป แต่ผู้เขียนมีสิทธินำบทความมาจัดเก็บไว้ในเว็บไซต์ของตนเอง หรือ คลังความรู้องค์กร (Institutional Repository) เพื่อนำไปเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตต่อได้ <p>ลักษณะของ OA <p>1. Truly OA หมายถึง ให้ใช้บทความออนไลน์ได้ฟรีทันทีที่พิมพ์ ให้ผู้เขียนบทความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ และให้เผยแพร่บทความออนไลน์ได้โดยไม่มีข้อจำกัด <p>2. Delay OA หมายถึง ให้ใช้บทความออนไลน์ได้ฟรี เฉพาะฉบับย้อนหลัง (Free back issues) หลังจากตีพิมพ์ไปแล้ว <p>3. Dual-mode OA หมายถึง วารสารชื่อเดียวกัน มีทั้ง Print Subscription และ OA Edition <p>4. Hybrid OA หมายถึง ภายในวารสารฉบับเดียวกัน มีทั้งบทความ OA และ Non-OA <p>5. Partial OA หมายถึง OA เฉพาะบางบทความ (มักเป็นการโฆษณาของสำนักพิมพ์) <p>6. Low-income OA หมายถึง OA เฉพาะประเทศในกลุ่ม Low-income economies โดยให้บริการวารสารผ่านโครงการช่วยเหลือต่าง ๆ เช่น Hinari, AGORA <p>บรรณานุกรม <p>รุจเรขา อัศวิษณุ. แหล่งสารสนเทศวารสารแบบเสรี (Open Access). การสัมมนาเครือข่ายความร่วมมือ Journal Link, 24 สิงหาคม 2550, กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. <p>รังสิมา เพ็ชรเม็ดใหญ่. (2551). แหล่งสารสนเทศวิชาการที่เข้าถึงได้แบบเปิด : Open Access (OA) Resources. สารเนคเทค, 15(175), 49-56. <p>พรพรรณ บุญยะทิม. (2551). วิกฤติวารสารวิชาการ (The Journals / Serials Crisis). สารเนคเทค, 15(177), 63-67. [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |