Plant tissue culture | การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช, Example: <p>การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชคือ การนำเอาอวัยวะต่างๆ ที่ยังอ่อน เช่น ปลายยอด ดอกอ่อน ข้อ ปล้อง ตา หรือเนื้อเยื่อ หรือเซลล์ของพืชมาเลี้ยงในสภาวะปลอดเชื้อ มีการให้อาหารสังเคราะห์ที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโต และมีการควบคุมสภาพแวดล้อม ได้แก่ ความชื้น อุณหภูมิ แสง ให้เหมาะสม <p> <p>อาหารสังเคราะห์โดยทั่วไปประกอบด้วย <p> <p>- แร่ธาตุ เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม<p> <p>- คาร์โบไฮเดรต นิยมใช้ซูโครส (sucrose) เป็นส่วนใหญ่ <p>- วิตามิน เช่น ไทอามีน (thiamine) นิโคทินิกแอซิด (nicotinic acid) โฟลิกแอซิด (folic acid) <p>- กรดอะมิโน <p>- กรดอินทรีย์ เช่น ซิเทรต (citrate) มาเลต (malate) ซักซิเนต (succinate) <p>- สารประกอบจากธรรมชาติ เช่น น้ำมะพร้าว กล้วยบด <p>- สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช ที่นิยมใช้ ได้แก่ ออกซิน (auxin) ไซโทไคนิน (cytokinin) <p>- สารที่ช่วยให้อาหารแข็งตัวและวัสดุช่วยพยุงเนื้อเยื่อพืช โดยทั่วไปส่วนใหญ่ใช้วุ้น (agar) และเจลาตินใส่ลงไปในอาหารซึ่งมีคุณสมบัติทำให้อาหารแข็งตัว ในกรณีที่เลี้ยงในอาหารเหลวจะใช้กระดาษกรอง สำลี หรือใยสังเคราะห์ช่วยพยุงเนื้อเยื่อ <p> <p>ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช <p> <p>บริเวณต่างๆ ภายในห้องปฏิบัติการต้องมีการรักษาความสะอาดเป็นอย่างดีและสม่ำเสมอ ผู้ปฏิบัติงานต้องรักษาความสะอาดของเสื้อผ้าและร่างกายเป็นอย่างดี วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ และเนื้อเยื่อพืชควรผ่านการฆ่าเชื้อ เช่น เครื่องแก้วควรผ่านการอบที่อุณหภูมิ 180 องศาเซลเซียส นาน 3 ชั่วโมง อาหารสังเคราะห์ควรนึ่งด้วยหม้อนึ่ง (autoclave) ที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส ความดัน 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ด้วยเวลาอย่างน้อย 15 - 20 นาที เนื้อเยื่อควรผ่านการทำความสะอาดเอาสิ่งสกปรกออกก่อนแล้วจึงฆ่าเชื้อที่ติดอยู่ตามผิวด้วยสารเคมี เช่น เช็ดด้วยเอทิลแอลกอฮอล์ ส่วนบริเวณที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการย้ายเนื้อเยื่อพืชจะมีการเปิดรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) เป็นเวลา 20 นาที ก่อนปฏิบัติงาน ปากคีบและใบมีดอาจฆ่าเชื้อด้วยการจุ่มในเอทิลแอลกอฮอล์ 95% แล้วเผาไฟ นอกจากการทำความสะอาดเพื่อให้ห้องปฏิบัติการปลอดเชื้อแล้ว ยังต้องมีการควบคุมสภาพแวดล้อมอื่นๆ ภายในห้องเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออีกด้วย เช่น อุณหภูมิภายในห้องจะถูกปรับให้อยู่ที่อุณหภูมิที่พืชทั่วๆ ไปเจริญได้ดี โดยทั่วไปจะปรับให้อยู่ที่ระดับประมาณ 25 องศาเซลเซียส และมีการควบคุมแสงภายในห้องให้มีความเข้มแสงประมาณ 1000 - 2000 ลักซ์ <br> <br>แหล่งข้อมูล<br> พัชรา ลิมปนะเวช. (2553). การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช. ในสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (เล่มที่ 31, หน้า 128-159). กรุงเทพฯ : โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |