Reference book | หนังสืออ้างอิง, Example: <p><img src="http://thaiglossary.org/sites/default/files/20110328-reference-book-1.jpg" Title="Reference book" alt="Reference book"> <p>หนังสืออ้างอิง คือ หนังสือที่มุ่งเสนอเรื่องราวความรู้พื้นฐาน ข้อเท็จจริงต่างๆ ในหลายสาขาวิชาอย่างกว้างขวาง แต่กระทัดรัด ผู้อ่านไม่จำเป็นต้องอ่านทั้งเล่มแต่ใช้เป็นแหล่งค้นคว้าเฉพาะเนื้อหาบางส่วนที่ต้องการเท่านั้น โดยเป็นหนังสือที่เขียนและรวบรวมขึ้นโดยผู้ทรงคุณวุฒิและเชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้นๆ เนื้อหาจึงเป็นที่น่าเชื่อถือและใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงได้ ขณะที่รูปเล่มส่วนใหญ่มีขนาดใหญ่ และหนากว่าหนังสือทั่วๆ ไป รวมถึงมีการพิมพ์ออกมาเป็นชุดๆ พร้อมทั้งมีการเรียบเรียงเนื้อหาอย่างเป็นระบบเพื่อความสะดวกในการเข้าถึงเนื้อหาของผู้อ่าน เช่น การเรียงตามลำดับอักษร เหตุการณ์ เขตภูมิศาสตร์ หมวดหมู่ นอกจากนี้ยังมีลักษณะพิเศษเพื่อความสะดวกในการค้นหาเนื้อหา เช่น อักษรนำเล่ม คำนำนาง ดัชนีหัวแม่มือ สารบัญ ดัชนี ส่วนโยง <p>ประเภทของหนังสืออ้างอิง แบ่งได้ 2 ประเภทหลัก คือ เนื้อหาวิชา และ หน้าที่ <p>1. เนื้อหาวิชา คือ หนังสืออ้างอิงทั่วไป ที่ให้ข้อเท็จจริงในสาขาวิชาต่างๆ อย่างกว้างขวาง ไม่จำกัดสาขาวิชา ซึ่งตรงข้ามกับหนังสืออ้างอิงเฉพาะสาขาวิชา ที่ให้ข้อเท็จจริงเฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง <p>2. หน้าที่ คือ หนังสืออ้างอิงที่ให้ข้อเท็จจริงภายในเล่ม และ หนังสืออ้างอิงที่เป็นเครื่องชี้โยงไปหาข้อเท็จจริงในเล่มอื่น เช่น ดัชนีวารสารและบรรณานุกรม <p>หนังสืออ้างอิงประเภทต่างๆ <p>พจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ เช่น ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ . พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2549. <p>สารานุกรม เช่น โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉบับเสริมการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : โครงการ, 2548- <p>หนังสือรายปี เช่น สยามออลมาแนค : สารนิเทศและปูมปฎิทินการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ และข้อมูลสำคัญ. กรุงเทพฯ : บริษัทสยามบรรณ, 2527- <p>อักขรานุกรมชีวประวัติ เช่น คณะกรรมการรวบรวมและค้นคว้าเกี่ยวกับพระราชนิพนธ์ ฯลฯ ของพระบาทสม เด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. อักขรานุกรมนามสกุลพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์, 2534. <p>นามานุกรม เช่น สีดา สอนศรี. นามานุกรมหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์การระหว่างประเทศในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2528- <p>หนังสืออ้างอิงภูมิศาสตร์ เช่น Britannica Altas. Chicago : Encyclopedia Britannica, 1987. <p>หนังสือคู่มือ เช่น ทวี แก้วมณี, ธนญา ตรึงตราจิตกุล, ชัยยา ศรีอำไพ. หนังสือคู่มือมาตรฐานและการทดสอบเครื่องเรือน. กรุงเทพฯ : ส่วนอุตสาหกรรมเครื่องเรือนและคอมโพสิท สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, 2549. <p>ดัชนีวารสาร เช่น ธำรงค์ ชูทัพ, สุดาวรรณ เครือพานิช. ดัชนีวารสารการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : กองวิจัยทางการศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, 2535. <p>บรรณานุกรม เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สำนักหอสมุด. บรรณานุกรม ดร.ป๋วย. [ กรุงเทพฯ ] : สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2529. <p>แหล่งข้อมูล: <p>Reitz, Joan M. ODLIS Online Dictionary for Library and Information Science. ABC-CLIO http://www.abc-clio.com/ODLIS/odlis_h.aspx (accessed MArch 27, 2011). <p>เพชรรัตน์ บริสุทธิ์. หนังสืออ้างอิง. สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. http://human.tru.ac.th/elearning/tec_ban/tinfo04/index.html (สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2554). [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |