กฤษณา | (กฺริดสะหฺนา) น. ส่วนของเนื้อไม้ซึ่งมีสีดำ เกิดเมื่อต้นไม้มีบาดแผล พบเฉพาะในต้นไม้สกุล Aquilaria โดยเฉพาะชนิด A. crassna Pierre ex Lecomte.และ A. malaccensis Lam. ในวงศ์ Thymelaeaceae กลิ่นหอม ใช้ทำยาได้. |
กรมเกรียม | (-เกฺรียม) ก. ระทมใจจนหม่นไหม้, ใช้ว่า เกรียมกรม ตรมเตรียม หรือ เตรียมตรม ก็มี เช่น จักขานความที่เกรียมกรม (กฤษณา). |
กรรบูร | (กันบูน) น. การบูร เช่น กฤษณากระวานการ- บูรกูรกระเหนียดกรร- บูรแกมกำคูนคันธ์ รสจวงกำจรมา (สมุทรโฆษ). |
กรรม-กรณ์ | (กำมะกอน) น. อาญา, เครื่องสำหรับลงอาญา. ก. ลงโทษ เช่น สามซ้ำควรกรรมกรณ์ นุกิจราชอาชญา (กฤษณา). |
กราน ๑ | (กฺราน) น. ไฟ เช่น เชิงกราน, ธุมาก็ปรากฏแก่กราน (กฤษณา). |
กรีฑา ๒ | (กฺรีทา) น. การเล่นสมพาส เช่น ในกามกรีฑากล (กฤษณา). |
กษัตรา | (กะสัดตฺรา) น. กษัตริย์ เช่น มีองค์อิสราธิปตัย ทรงนามภูวไนย คือพรหมทัตกษัตรา (กฤษณา). |
กะพ้อ ๒ | น. ชื่อปาล์มขนาดย่อมในสกุล Licuala วงศ์ Palmae มีหลายชนิด เช่น ชนิด L. spinosa Thunb. มักขึ้นเป็นกออยู่ริมทะเล หรือในที่ซึ่งนํ้าเค็มขึ้นถึง ลำต้นสูงถึง ๔ เมตร ใบกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง ๖๐-๑๑๐ เซนติเมตร เว้าเป็นแฉกลึก ก้านใบยาว ขอบก้านมีหนาม, ชนิด L. peltata Roxb. ขึ้นตามป่าดอนในที่ชุ่มชื้นและที่แฉะ ลักษณะคล้ายชนิดแรก แต่ก้านใบลํ้าอยู่ใต้โคนใบ ทั้ง ๒ ชนิดใบใช้ห่อทำไต้ ห่อของ เย็บเป็นร่ม มุงหลังคาชั่วคราว ใบอ่อนใช้มวนบุหรี่, กะชิง ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก ชิง หรือ ชิ่ง, ปาล์มพวกนี้เรียก พ้อ ก็มี เช่น ใบพ้อพันห่อหุ้ม กฤษณา (โลกนิติ). |
เกรียมกรม | ก. ระทมใจจนหม่นไหม้ เช่น จักขานความที่เกรียมกรม (กฤษณา), ใช้เป็น กรมเกรียม ตรมเตรียม หรือ เตรียมตรม ก็ได้. |
คันธหัตถี | น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีไม้กฤษณา มีกลิ่นตัวหอม, ช้าง ๑๐ ตระกูล คือ ๑. กาฬาวกหัตถี ๒. คังไคยหัตถี ๓. ปัณฑรหัตถี ๔. ตามพหัตถี ๕. ปิงคลหัตถี ๖. คันธหัตถี ๗. มงคลหัตถี ๘. เหมหัตถี ๙. อุโบสถหัตถี ๑๐. ฉัททันตหัตถี. |
ตระคัร | (ตฺระคัน) น. ไม้กฤษณา, เขียนเป็น ตรคัล ก็มี เช่น กฤษณาขาวแลตรคัลก็มี (ม. คำหลวง มหาพน). |
ตระอร | ประคับประคอง เช่น อุษากำสรดกล่าว คดีโดยดั่งสมสอง ชายหนึ่งมาลอบลอง ในราตรีตระอรอร (อนิรุทธ์), เกื้อกามตระอร (กฤษณา). |
เทื้อ ๒ | ไม่ว่องไว เช่น น้อยภักษ์ก็ผอมซูบ สรีรรูปบันดาลมากภักษ์ก็พีพาน จะหนักเนื้อแลเทื้อองค์ (กฤษณา). |
นวนิยาย | น. บันเทิงคดีร้อยแก้วขนาดยาวรูปแบบหนึ่ง มีตัวละคร โครงเรื่อง เหตุการณ์ในเรื่อง และสถานที่ ที่ทำให้เนื้อเรื่องมีความสมจริง เช่น เรื่องหญิงคนชั่ว ของ ก. สุรางคนางค์ เรื่องเรือมนุษย์ ของ กฤษณา อโศกสิน, ถ้ามีขนาดสั้น เรียกว่า นวนิยายขนาดสั้น เช่น เรื่องดรรชนีนาง ของ อิงอร เรื่องสร้อยทอง ของ นิมิต ภูมิถาวร. |
บังวาย | ก. เสื่อมเสีย, เสียหาย, เช่น ท่านท้าวเทเวศทังหลาย ทำกลบังวาย มิได้พินิตริะตรอง (สามดวง), เสื่อมคลาย เช่น แม้รักด้วยฤทธิ์ประสิทธิมน ตรวิกลกฤติยา พลันหน่ายบังวายสวาทอา ดุรร้าง บ่ รางนาน (กฤษณา). |
บำหยัด | ก. ประหยัด เช่น บำหยัดหยาบพึงเยงยำ (กฤษณา). |
วางวาย | ก. ตาย เช่น นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ (กฤษณา), วายวาง ก็ว่า. |
สุรางคนา ๒, สุรางคนางค์ | น. ชื่อกาพย์และฉันท์ มี ๒๘ คำ คือ มี ๗ วรรค วรรคละ ๔ คำ เช่น ตัวอย่างกาพย์
| (กฤษณา), | ตัวอย่างฉันท์ | | (หลักภาษาไทย), |
ถ้าเป็นกาพย์ขับไม้มี ๓๖ คำ เช่น
| (กาพย์ขับไม้ กล่อมพระเศวตรัตนกรีฯ). |
|