ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: ท่าที, -ท่าที- |
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่ |
| asap | (slang) เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ( มาจาก as soon as possible) |
| ด่วน | PRIORITY ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติเร็วกว่าปกติเท่าที่จะทำได้ |
| ท่าที | (n) attitude, See also: reaction, manner, Syn. ทีท่า, ท่า, อาการ, กิริยาอาการ, ท่วงท่า, อากัปกริยา, Example: ท่าทีของโซเวียตรัสเซียในเอเซียอาคเนย์กำลังจะเปลี่ยนแปลง, Thai Definition: กริยาอาการหรือท่าทีที่มีต่อสถานการณ์หรือบุคคลเป็นต้น | เท่าที่ | (adv) as much as, Example: ผมตั้งใจจะรับราชการอย่างสุดกำลังเต็มฝีมือเท่าที่จะกระทำได้, Thai Definition: แสดงระดับที่พยายามจะทำ | เท่าที่ | (conj) as long as, See also: to the extend that, Syn. ตามที่, Example: ผู้พิพากษาใช้ดุลพินิจสั่งลงโทษจำเลยไปตามความเหมาะสมกับสภาพความผิดเท่าที่อยู่ในอำนาจของศาล | สงวนท่าที | (v) be reserved, See also: be careful of one's manners, Syn. สงวนท่า, ไว้ท่า, ไว้ท่าที, Example: ตะวันนั่งตัวแข็ง สงวนท่าทีและไม่พูดอะไรอีก, Thai Definition: ระวังกิริยาท่าที | แสดงท่าที | (v) act, See also: behave, do, conduct, perform, appear, Syn. แสดงทีท่า, Example: หล่อนแสดงท่าทีรังเกียจเขาเต็มที่, Thai Definition: ทำอาการแสดงให้รู้ความหมายเป็นนัย | หยั่งท่าที | (v) sound out, See also: probe, canvass, Syn. หยั่งเชิง, Example: นายกรัฐมนตรีเดินทางไปพบกับประธานกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เพื่อหยั่งท่าทีในการขอความช่วยเหลือจากกลุ่มชาติอุตสาหกรรมตะวันตก, Thai Definition: คาดคะเนดูท่าที | เท่าที่ควร | (adv) as expected, See also: as hoped, as forecasted, Example: ทัพนักกีฬาไทยซีเกมส์ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร, Thai Definition: อย่างมีความเหมาะสม | ตราบเท่าที่ | (conj) as long as, See also: so long as, on condition that, provided that, Syn. จนกว่า, จวบจน, กระทั่ง, จนกระทั่ง, Example: การกางมุ้งเป็นงานที่คนไทยต้องทำเป็นตราบเท่าที่ยุงยังไม่หมดไปจากเมืองไทย | หยั่งดูท่าที | (v) probe, See also: explore, sound out, Syn. ีหยั่งเชิง, หยั่งท่าที, Thai Definition: ทำเพื่อให้รู้ท่าทีอีกฝ่ายหนึ่ง | เปลี่ยนท่าที | (v) change one's attitude, See also: turn one's point, change one's mind, sing a different tune, change one's ideas, come over, Example: สหรัฐไม่พอใจเพราะฝ่ายไทยเปลี่ยนท่าทีผ่อนปรนตามคำเรียกร้องอย่างง่ายดาย, Thai Definition: ย้ายหรือปรับกิริยาอาการที่มีต่อสถานการณ์หรือบุคคล | เท่าที่จำเป็น | (adv) as much as necessary, See also: as long as needed, Example: ในการแก้ไขข้อมูลเราจะแก้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น, Thai Definition: อย่างเหมาะสมเท่าที่ต้องเป็นอย่างนั้น | เท่าที่จำเป็น | (adv) as much as necessary, See also: as long as needed, Example: ในการแก้ไขข้อมูลเราจะแก้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น, Thai Definition: อย่างเหมาะสมเท่าที่ต้องเป็นอย่างนั้น | เท่าที่จำเป็น | (adv) as much as necessary, See also: as long as needed, Example: ในการแก้ไขข้อมูลเราจะแก้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น, Thai Definition: อย่างเหมาะสมเท่าที่ต้องเป็นอย่างนั้น |
| ท่าที | น. ความเป็นไปของสถานการณ์หรือบุคคลเป็นต้น, ทีท่า ก็ว่า. | สงวนท่าที, สงวนทีท่า | ก. ไม่แสดงท่าทีให้ปรากฏชัดแจ้ง เพื่อไม่ให้ผู้อื่นรู้ความคิดของตน เช่น เขาสงวนท่าทีไม่ยอมแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม, ระมัดระวังกิริยาวาจาไม่ให้ใครดูถูก เช่น ก่อนจะทักทายใคร ควรสงวนทีท่าไว้บ้าง. | กระหย่ง ๒ | ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทำให้ตนสูงขึ้นหรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินกระหย่ง วิ่งกระหย่ง, เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็มเห็นแต่ปลายเท้าและส้นเท้า ว่า รอยเท้ากระหย่ง, อาการที่นั่งเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งกระหย่ง, กระโหย่ง หย่ง หย่ง ๆ โหย่ง หรือ โหย่ง ๆ ก็ว่า. | กระโหย่ง ๒ | (-โหฺย่ง) ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทำให้ตนสูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินกระโหย่ง วิ่งกระโหย่ง, เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็ม เห็นแต่ปลายเท้าและส้นเท้า ว่า รอยเท้ากระโหย่ง, อาการที่นั่งเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้นเรียกว่า นั่งกระโหย่ง, กระหย่ง หย่ง หย่ง ๆ โหย่ง หรือ โหย่ง ๆ ก็ว่า. | กรีด ๒ | (กฺรีด) ก. มีท่วงท่าที่มีลีลางดงามอย่างละครรำ. | กลิ้งเกลือก | ก. พยายามช่วยตัวเองเท่าที่จะทำได้ เช่น ยากจนก็กลิ้งเกลือกไปตามบุญตามกรรมไม่ขอพึ่งใคร, เกลือกกลิ้ง ก็ว่า. | กะบอนกะบึง | ก. มีท่าทีโกรธอย่างแสนงอน เช่น คอยสะบัดปัดกรกะบอนกะบึง (อิเหนา), โดยมากใช้ กะบึงกะบอน. | กะบึงกะบอน | ก. มีท่าทีโกรธอย่างแสนงอน, กะบอนกะบึง ก็ว่า. | เกลือกกลิ้ง | พยายามช่วยตัวเองเท่าที่จะทำได้ เช่น นอนเกลือกกลิ้งไปมาด้วยความทุรนทุราย, กลิ้งเกลือก ก็ว่า. | แก่วัด | ว. อยู่วัดนาน, มีท่าทีหรือความคิดเห็นแบบคนที่ได้รับการอบรมจากวัดหรืออยู่วัดนาน | ขนานน้ำ | น. ท่าที่เอาเรือ ๒ ลำมาจอดเทียบเคียงกันแล้วปูกระดานเพื่อให้ขึ้นลงสะดวก. | เข้าที | ก. มีท่วงทีดี, มีชั้นเชิงดี, มีท่าทีจะสำเร็จ. | เคอะ | ว. มีท่าทีไม่แนบเนียน. | จัตุรัส | (-หฺรัด) น. เรียกรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่าที่มีมุมภายในเป็นมุมฉาก ว่า สี่เหลี่ยมจัตุรัส. | จุดเหี่ยวเฉา | น. ขีดขั้นที่กำหนดปริมาณนํ้าในดินน้อยที่สุดเท่าที่พืชจะสามารถนำไปเลี้ยงลำต้นได้โดยไม่เหี่ยวเฉา ถ้ามีปริมาณนํ้าในดินน้อยกว่านั้น พืชจะเหี่ยวเฉาทันที. | เจตคติ | (เจตะ-) น. ท่าทีหรือความรู้สึกของบุคคลต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง. | ชันสูตรพลิกศพ | ก. ตรวจพิสูจน์ศพเพื่อให้ทราบว่า ผู้ตายคือใคร ตายที่ไหน เมื่อใด สาเหตุและพฤติการณ์ที่ตาย และในกรณีตายโดยคนทำร้ายต้องรายงานว่าใครหรือสงสัยว่าใครเป็นผู้กระทำผิดเท่าที่จะทราบได้. | ชิมลาง | ก. หยั่งดูท่าทีหรือเหตุการณ์ว่าจะดีหรือร้าย. | เชิง ๒ | ท่าที, ท่วงที, เช่น คุมเชิง หยั่งเชิง ลองเชิง | ตะบึงตะบอน | ก. กะบึงกะบอน, มีท่าทีโกรธอย่างแสนงอน. | ตาฝั่ง | น. ท่าที่ฝั่ง เช่น เขาก็ไปชุมนุมกันในตาฝั่ง (ม. คำหลวง ชูชก). | ตามมีตามเกิด | ว. สุดแต่กำลังความสามารถอันน้อยเท่าที่มีอยู่ในขณะนั้น. | ทั้งเนื้อทั้งตัว | ว. ทั้งหมดเท่าที่มีติดตัวอยู่. | ทีท่า | น. ความเป็นไปของสถานการณ์หรือบุคคลเป็นต้น, ท่าที ก็ว่า. | เทกระเป๋า | ก. จ่ายเงินจนหมดกระเป๋าหรือเท่าที่ติดตัวไป. | เท็จจริง | ว. จริงเท่าที่ปรากฏหรือเท่าที่ทราบ. | นฤพาน | (นะรึ-) ก. ตาย (ใช้แก่พระมหากษัตริย์บางพระองค์ เท่าที่ปรากฏในเอกสารสมัยอยุธยา) เช่น ครั้งนั้นสมเด็จพระรามาธิบดีเจ้าเสด็จนฤพาน (พงศ. กรุงเก่า). | ในที | ว. มีท่าทีจะเป็นเช่นนั้นแต่ไม่แสดงให้ปรากฏ เช่น ยิ้มในที รู้ในที, อยู่ในที ก็ว่า. | บกพร่อง | ก. ไม่ครบบริบูรณ์เท่าที่ควรมีควรเป็น เช่น ข้อความบกพร่อง ทำงานบกพร่อง. | บอกยี่ห้อ | ก. แสดงกิริยาท่าทีหรือคำพูดให้รู้ว่ามีลักษณะนิสัยใจคอหรือชาติตระกูลเป็นอย่างไรเป็นต้น. | บัวบาท | น. เท้าที่มีบัวรอง, หมายเอาเท้าผู้มีบุญอย่างพระพุทธเจ้า นิยมว่าพระพุทธเจ้ามีดอกบัวผุดขึ้นรับพระบาท, ใช้เลือนมาหมายถึงพระบาทของพระมหากษัตริย์ ต่อมาหมายถึง พระมหากษัตริย์ด้วย. | ประเมิน | ก. กำหนดหรือให้ค่าหรือราคาเท่าที่ควรจะเป็นตามหลักเกณฑ์ที่ตั้งไว้ เช่น เจ้าหน้าที่กรมที่ดินประเมินราคาที่ดินผืนนี้ไว้ ๗ ล้านบาท. | ปุก ๑ | ว. เรียกเท้าที่พิการมีรูปดังกำปั้น ว่า เท้าปุก. | พอ | ว. เท่าที่ต้องการ, ควรแก่ความต้องการ, เต็มเท่าที่จำเป็น, เต็มตามต้องการ, เช่น ในการเดินทางจะต้องเตรียมเงินไปเท่าไรจึงจะพอ | พอเพียง | ก. ได้เท่าที่กะไว้ เช่น ได้เท่านี้ก็พอเพียงแล้ว. | พุ่งแหลน | น. กรีฑาประเภทลานอย่างหนึ่ง เล่นโดยการจับแหลนพุ่งไปข้างหน้าให้ไปได้ไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้. | เพียงพอ | ก. ได้เท่าที่ต้องการ, ได้เท่าที่กะไว้. | เพียงพอ | ว. เท่าที่กะไว้, เท่าที่ต้องการ. | มติมหาชน | น. ความคิดเห็นหรือท่าทีของประชาชนกลุ่มใหญ่ที่เห็นพ้องต้องกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง. | เมืองท่าปลอดภาษี | น. เมืองท่าหรือบริเวณใดบริเวณหนึ่งในเขตเมืองท่าที่การขนถ่ายสินค้าเข้าและสินค้าออกไม่ต้องเสียภาษี. | แม่ท่า | น. แม่บท, ท่าที่เป็นหลักของการรำ. | แม่บท | ท่าที่เป็นหลักของการรำ, แม่ท่า ก็เรียก. | ไม้ ๑ | น. คำรวมเรียกพืชทั่วไป โดยปรกติมีราก ลำต้น กิ่ง ก้าน และใบ, เรียกเนื้อของต้นไม้ที่ใช้ทำสิ่งของต่าง ๆ มีลักษณะเป็นท่อน แผ่น หรือดุ้น เป็นต้น, คำประกอบหน้าสิ่งของบางอย่างที่มีลักษณะยาวซึ่งทำด้วยไม้หรือเดิมทำด้วยไม้ เช่น ไม้กวาด ไม้พาย ไม้เท้า ไม้จิ้มฟัน, คำนำหน้าบอกประเภทต้นไม้ เช่น ไม้ยาง ไม้ดำ ไม้แดง, ท่ารำและท่าตีกระบี่กระบองท่าหนึ่ง ๆ เรียกว่า ไม้หนึ่ง ๆ, โดยปริยายหมายความว่า ท่าที เช่น เขาจะมาไม้ไหน, ลักษณนามเรียกของเช่นปลาย่างที่เสียบไม้เรียงเป็นตับว่า ปลาไม้หนึ่ง ปลา ๒ ไม้, เรียกผ้าที่ม้วนโดยมีไม้อยู่ข้างใน ว่า ผ้าไม้หนึ่ง ผ้า ๒ ไม้ | เยื้องกราย | เดินก้าวเฉียงและกางแขนเพื่อดูท่าทีของคู่ต่อสู้อย่างการเยื้องกรายในการตีกระบี่กระบอง (ใช้แก่ศิลปะการต่อสู้). | แย็บ | โดยปริยายหมายความว่า ลองเชิง, หยั่งดูท่าที. | รอยร้าว | น. เค้าหรือท่าทีแห่งการแตกแยก. | รู้เชิง | ก. รู้กระบวนท่า, รู้ท่าที, รู้กลเม็ด, เช่น มวยคู่นี้ต่างก็รู้เชิงกัน. | ลอง ๒ | หยั่งท่าที เช่น ลองชวนเขาไปเที่ยวซิ ลองเกี้ยวเขาดู. | ลองเชิง | ก. หยั่งท่าทีดูว่ามีความสามารถแค่ไหน เช่น นักมวยประหมัดเบา ๆ ลองเชิงคู่ต่อสู้, คะนอง, ตื่นเต้น, โลดโผน. | ลีบ | มีเนื้อไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร เช่น ขาลีบ แขนลีบ |
| | As Low As Reasonably Achievable | อะลารา, การดำเนินการใดๆ ในทางปฏิบัติที่ทำให้งานสำเร็จตามวัตถุประสงค์โดยได้รับรังสีชนิดก่อไอออนน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ [นิวเคลียร์] | Radiation protection | การป้องกันรังสี, การดำเนินการตามกฎหมาย กฎระเบียบ มาตรการ และวิธีปฏิบัติ ซึ่งกำหนดขึ้นตามเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัย เพื่อควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานทางรังสีและประชาชนทั่วไปได้รับรังสีชนิดก่อไอออนน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ (ALARA: as low as reasonably achievable) [นิวเคลียร์] | Attitude | ท่าที [เศรษฐศาสตร์] | Best Available Technology | เทคโนโลยีที่ดีที่สุดเท่าที่มี [สิ่งแวดล้อม] | Consul | ข้าราชการที่ได้รับแต่งตั้งอย่างถูกต้องและได้รับ มอบหมายให้ไปประจำยังต่างประเทศ เพื่อทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของประเทศทั้งในด้าน พาณิชย์ การเดินเรือ คุ้มครองความเป็นอยู่อันดีของพลเมืองของประเทศตน พร้อมทั้งปฏิบัติหน้าที่บางอย่างด้านธุรการ หรือวางระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ ตลอดจนด้านการเป็นสักขีพยานการลงนามในเอกสาร เพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทางกฎหมาย (Notary) การให้การตรวจลงตรา รวมทั้งการรับรองเอกสารที่แท้จริง (มิใช่เอกสารปลอม) และจัดการการสัตย์สาบานตนหรืออีกนัยหนึ่ง ภาระหน้าที่ของกงสุลอาจแบ่งออกได้เป็น 5 ประการ ดังต่อไปนี้1 ทำหน้าที่ส่งเสริมผลประโยชน์ในทางพาณิชย์ของประเทศที่ตนเป็นผู้แทนอยู่2 ควบคุมดูแลผลประโยชน์ด้านการเดินเรือ3 คุ้มครองผลประโยชน์ของคนชาติของประเทศที่แต่งตั้งให้ตนไปประจำอยู่4 ทำหน้าที่สักขีพยานในการลงนามในเอกสารเพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทาง กฎหมาย5 ทำหน้าที่ธุรการเบ็ดเตล็ดอื่นๆ หรือระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ เช่น การออกหนังสือเดินทาง การให้การตรวจลงตรา (Visas) การจดทะเบียนคนเกิด คนตาย ฯลฯอนุสัญญากรุงเวียนนา ภาคที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลข้อที่ 5 ได้กำหนดภาระหน้าที่ของฝ่ายกงสุลไว้ดังต่อไปนี้ ก. คุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐผู้ส่ง และของคนในชาติของรัฐผู้ส่ง ทั้งเอกชนและบรรษัทในรัฐผู้รับ ภายในขีดจำกัดที่กฎหมายระหว่างประเทศอนุญาตข. เพิ่มพูนการพัฒนาความสัมพันธ์ทางด้านการพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิทยาการ ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ รวมทั้งส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างกันในทางอื่น ตามบทแห่งอนุสัญญานี้ค. สืบเสาะให้แน่โดยวิถีทางทั้งปวงอันชอบด้วยกฎหมายถึงภาวะและความคลี่คลายใน ทางพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและวิทยาการของรัฐผู้รับ แล้วรายงานผลของการนั้นไปยังรัฐบาลของรัฐผู้ส่ง และให้ข้อสนเทศแก่บุคคลที่สนใจง. ออกหนังสือเดินทางและเอกสารการเดินทางให้แก่คนในชาติของรัฐผู้ส่ง ตรวจลงตราหนังสือเดินทาง หรือออกเอกสารที่เหมาะสมให้แก่บุคคลที่ประสงค์จะเดินทางไปยังรัฐผู้ส่งจ. ช่วยเหลือคนในชาติของรัฐผู้ส่งทั้งเอกชนและบรรษัทฉ. ทำหน้าที่นิติกรและนายทะเบียนราษฎร์ และในฐานะอื่นที่คล้ายคลึงกัน ปฏิบัติการหน้าที่บางประการอันมีสภาพทางธุรการ หากว่าการหน้าที่นั้นไม่ขัดกับกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับช. พิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของผู้เยาว์ และบุคคลไร้ความสามารถ ซึ่งเป็นคนชาติของรัฐผู้ส่ง ภายในขีดจำกัดที่ได้ตั้งบังคับไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ โดยเฉพาะในกรณีที่จำเป็นต้องมีความปกครองหรือภาวะทรัสตีใดๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลเหล่านั้นฌ. แทนคนชาติของรัฐผู้ส่ง หรือจัดให้มีการแทนอย่างเหมาะสมในองค์กรตุลาการ และต่อเจ้าหน้าที่ที่อื่นของรัฐผู้รับ เพื่อความมุ่งประสงค์ที่จะให้ได้มา ซึ่งมาตรการชั่วคราวสำหรับการรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของคนในชาติเหล่านี้ ไว้ตามกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ ในกรณีที่คนในชาติเหล่านี้ไม่สามารถเข้าทำการป้องกันสิทธิและผลประโยชน์ของ ตนในเวลาอันเหมาะสมได้ เพราะเหตุของการไม่อยู่หรือเหตุอื่นใด ทั้งนี้ ให้อยู่ภายในข้อบังคับแห่งทางปฏิบัติ และวิธีดำเนินการซึ่งมีอยู่ในรัฐผู้รับญ. ส่งเอกสารทางศาล หรือเอกสารที่มิใช่ทางศาล หรือปฏิบัติตาม หนังสือของศาลของรัฐผู้ส่งที่ขอให้สืบประเด็น หรือตามการมอบหมายให้สืบพยานให้แก่ศาลของรัฐผู้ส่งนั้น ตามความตกลงระหว่างประเทศที่ใช้บังคับอยู่ หรือเมื่อไม่มีความตกลงระหว่างประเทศเช่นว่านั้น โดยทำนองอื่นใดที่ต้องด้วยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับด. ใช้สิทธิควบคุมดูแลและตรวจพินิจตามที่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมายและข้อบังคับของ รัฐผู้ส่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับเรือที่มีสัญชาติของของรัฐผู้ส่ง หรืออากาศยานที่จดทะเบียนในรัฐนั้น รวมทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับลูกเรือของเรือและอากาศยานดังกล่าวต. ให้ความช่วยเหลือแก่เรือและอากาศยานที่ระบุไว้ในอนุวรรค (ด) ของข้อนี้ รวมทั้งลูกเรือของเรือและอากาศยานนั้น บันทึกถ้อยคำเกี่ยวกับการเดินทางของเรือ ตรวจดูและประทับตรากระดาษเอกสารของเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใด ๆ ที่ได้เกิดขึ้นในระหว่างนายเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใดๆ ที่ได้เกิดขั้นในระหว่างนายเรือ เจ้าพนักงาน และกะลาสี ตราบเท่าที่การนี้อาจได้อนุมัติไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้ส่ง ทั้งนี้ จะต้องไม่เป็นการเสื่อมเสียแก่อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับถ. ปฏิบัติการหน้าที่อื่นใดที่รัฐผู้ส่งมอบหมายแก่สถานีทำการทางกงสุล ซึ่งมิได้ต้องห้ามโดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ หรือซึ่งไม่มีการแสดงข้อคัดค้านโดยรัฐผู้รับ หรือซึ่งมีอ้างถึงไว้ในความตกลงระหว่างประเทศ ที่ใช้บังคับอยู่ระหว่างรัฐผู้ส่งและรัฐผู้รับ [การทูต] | Diplomatic Expressions | ถ้อยคำสำนวนที่ใช้ในวงการทูต กล่าวคือ ในวงการทูตจะมีการนิยมใช้ถ้อยคำสำนวนการทูต ถือกันว่าเป็นภาษาที่สุภาพ ซึ่งจะมีความหมายลึกซื้งเพียงใดนั้น บรรดาเจ้าหน้าที่ทางการทูตจะทราบกันดี อาทิเช่น?My Government views with concern หรือ with grave concern? จะแสดงถึงท่าทีที่ไม่เห็นด้วย หรือแสดงการประท้วง?My Government cannot remain indifferent to the matter? จะส่อถึงเจตนาที่จะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปส่วนถ้อยคำสำนวนที่ว่า ?In such event my Government would feel bound to reconsider its position หรือ to consider its own interest??My Government will have to claim a free hand? หรือ ?feel obliged to formulate express reservations regarding?เหล่านี้เป็นถ้อยคำสำนวนที่เตือนให้ทราบว่า อาจเกิดการแตกร้าว หรือตัดขาดในพันธไมตรีที่มีต่อกันได้เมื่อรัฐบาลหนึ่งประกาศถือว่าการกระทำ ของอีกรัฐบาลหนึ่งเป็น ?an unfriendly act? หรือการกระทำที่ไม่เป็นมิตรเช่นนี้ ย่อมหมายถึงการเตือนให้ทราบว่า การกระทำเช่นนั้นอาจนำไปสู่สงครามได้ถ้าหากในตอนเสร็จสิ้นการประชุมกันมีการ แถลงการณ์หรือโฆษกของที่ประชุมแจ้งให้ทราบว่า ที่ประชุมได้ทำความตกลงกันโดยสมบูรณ์ (Full agreement) แต่ไม่มีการเปิดเผยให้ทราบว่ามีการตกลงอะไรกันบ้าง จะทำให้เป็นที่สงสัยกันว่าได้มีการตกลงกันโดยสมบูรณ์จริงละหรือ ถ้าหากคำประกาศนั้นใช้ถ้อยคำว่า มี ?substantial agreement? ก็พอจะอนุมานได้ว่าแท้ที่จริงยังมีเรื่องสำคัญ ๆ ที่ยังตกลงกันไม่ได้อีกบางเรื่อง อนึ่ง หากว่ามีการแถลงว่า ?there was a full exchange of views? ก็เท่ากับพูดว่า มิได้มีการตกลงกันแต่อย่างใดทั้งสิ้น [การทูต] | Diplomatic Privileges and Immunities | เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตที่ได้ให้แก่เจ้า หน้าที่ทางการทูต โดยถือว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้แทนส่วนตัวของประมุขของรัฐ เหตุผลที่ให้มีการคุ้มกันทางการทูต ก็เพราะถือว่ารัฐบาลหนึ่งใดก็ตามจะถูกกีดกันขัดขวางด้วยการจับกุม หรือกีดกันมิให้ผู้แทนของรัฐบาลนั้นปฏิบัติหน้าที่ในความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศนั้นมิได้ ถ้าหากเห็นว่าผู้แทนนั้นมีพฤติกรรมหรือพฤติการณ์ที่ก้าวร้าวซึ่งรัฐผู้รับ ไม่อาจรับได้ก็ชอบที่รัฐผู้รับจะขอร้องให้รัฐผู้ส่งเรียกตัวผู้แทนของตนกลับ ประเทศได้ อนึ่ง การที่สถานเอกอัครราชทูตได้รับความคุ้มกันจากอำนาจศาลของรัฐผู้รับ เพราะต้องการให้บรรดาผู้แทนทางการทูตเหล่านั้น รวมทั้งบุคคลในครอบครัวของเขาได้มีโอกาสมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในการปฏิบัติหน้าที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของประเทศของเขาอนุสัญญากรุง เวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตมีบทบัญญัตินิยามคำว่า เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตในเรื่องต่างๆ ไว้มากพอสมควร เช่น เรื่องสถานที่ของคณะผู้แทนทางการทูต รวมทั้งบรรณสารและเอกสาร เรื่องการอำนวยความสะดวกให้แก่การปฏิบัติงานของคณะผู้แทน และเสรีภาพในการเคลื่อนย้ายรวมทั้งการคมนาคมติดต่อ เป็นต้น [การทูต] | Exercise by Diplomatic Missions of Consular functions | การปฏิบัติหน้าที่กงสุลโดยคณะผู้แทนทางการทูต ตามข้อ 70 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ได้บัญญัติไว้ว่า1. บทของอนุสัญญานี้ใช้แก่ปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลโดยคณะผู้แทนทางการทูตด้วย เท่าที่บริบทจะอำนวยให้2. ชื่อของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานในแผนกกงสุล หรือมิฉะนั้นได้รับภาระให้ปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลของคณะผู้แทนนั้น จะต้องแจ้งไปยังกระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับ หรือแจ้งไปยังเจ้าหน้าที่กระทรวงนั้นที่แต่งตั้งไว้3. ในการปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุล คณะผู้แทนทางการทูตอาจติดต่อกับก. เจ้าหน้าที่ท้องที่ของเขตกงสุลนั้นข. เจ้าหน้าที่ส่วนกลางของรัฐผู้รับ ถ้าหากกระทำได้ตามกฎหมาย ข้อบังคับ และจารีตประเพณีของรัฐผู้รับ หรือตามความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง4. เอกสิทธิ์และความคุ้มกันของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูตที่อ้างถึงในวรรค 2 ของข้อนี้ จะยังคงอยู่ในบังคับแห่งกฎเกณฑ์ของกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับความ สัมพันธ์ทางการทูต [การทูต] | Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] | Government in Exile | รัฐบาลพลัดถิ่น คือระหว่างที่สงครามยังดำเนินอยู่ ประเทศคู่สงครามหนึ่งอาจถูกกองทัพของประเทศฝ่ายศัตรูเข้ายึดครอง ในสถานการณ์เช่นนั้น ตัวหัวหน้าของรัฐบาลหรือรัฐมนตรีของประเทศที่ถูกยึดครองอำนาจอาจไปตั้ง รรัฐบาลขึ้นชั่วคราวในดินแดนของประเทศพันธมิตรหนึ่ง ซึ่งยินยอมให้ทำเช่นนั้น รัฐบาลที่ตั้งขึ้นเป็นการชั่วคราวดังกล่าวเรียกว่า รัฐบาลพลัดถิ่น ตราบใดที่รัฐบาลพลัดถิ่นได้รับการรับรองฐานะเป็นตัวแทนของประเทศตน ย่อมดำเนินกิจการหน้าที่ของประเทศในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศอื่นๆ ได้ รัฐบาลพลัดถิ่นจะยังคงสถานภาพของตนไว้ตราบเท่าที่ยังไม่มีความพยายามต่อไป ที่จะยึดเอาดินแดนของตนที่ข้าศึกครองอยู่กลับคืนมาให้ได้ ตัวอย่างของรัฐบาลพลัดถิ่นที่เคยมีมาแล้วคือ รัฐบาลของประเทศโปแลนด์ เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ กรีซ และยูโกสลาเวีย ซึ่งได้ไปตั้งอยู่ในประเทศอังกฤษ เมื่อระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ตอนที่ดินแดนของประเทศเหล่านี้ได้ถูกกองทัพของเยอรมนีเข้ายึดครอง [การทูต] | Indigent Nationals | คนในชาติที่ต้องประสบความยากจนข้นแค้นในต่างแดน ในเรื่องนี้ มีหลายประเทศได้อนุญาตให้ผู้แทนทางการทูตและทางกงสุลของตนอำนวยความช่วย เหลือเท่าที่จำเป็นแก่คนชาติของตนที่ประสบความยากจนข้นแค้นในต่างประเทศรวม ทั้งค่าส่งตัวกลับประเทศด้วย มีหลายรายที่กำหนดให้คนชาติที่ต้องทุกข์นั้น แจ้งถึงสาเหตุที่ต้องประสบความยากจนข้นแค้น และสัญญาว่าเงินที่ได้รับนี้จะต้องชดใช้คืนภายหลัง ตามปกติ ผู้แทนทางการทูตหรือกงสุลจะต้องปรึกษากับกระทรวงการต่างประเทศของตน ก่อนที่จะนำเงินให้คนชาติของตนกู้ยืมหรือไปรับรองบุคคลเหล่านั้น หรือไปรับผิดชอบทางการเงินใดๆ [การทูต] | Inter-Governmental Maritime Consultative Organization | องค์การที่ปรึกษาทางทะเลระหว่างรัฐบาล หมายถึงองค์การที่ปรึกษาเกี่ยวกับการเดินเรือทางทะเล ระหว่างรัฐบาล องค์การนี้มีฐานะเป็นองค์การชำนัญพิเศษแห่งหนึ่งขององค์การสหประชาชาติ ประเทศทั้งหมดรวม 35 ประเทศ ได้ประชุมร่วมกันจัดทำอนุสัญญาขององค์การนี้ขึ้นเป็นครั้งแรก ในการประชุมขององค์การที่ปรึกษาการเดินเรือทางทะเล ณ กรุงเจนีวา เมื่อวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 1948 อนุสัญญามีผลบังคับใช้เมื่อ วันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1958 เมื่อมีประเทศต่าง ๆ รวม 21 ประเทศได้ให้สัตยาบัน ซึ่งในจำนวนนี้ 7 ประเทศเป็นอย่างน้อยจะต้องมีเรือเดินทะเลของตนไม่น้อยกว่า 1 ล้านตัน (Gross tons) วัตถุประสงค์ขององค์การ IMCO คือ1. จัดวางกลไกเพื่อความร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลประเทศสมาชิก ในด้านการวางระเบียบข้อบังคับของราชการ และการปฏิบัติซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องทางวิชาการหรือเทคนิค รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับความปลอดภัยทางทะเล2. สนับสนุนให้มีการยกเลิกการกระทำที่เลือกที่รักมักที่ชัง และข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นของรัฐบาล3. รับพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติในทำนองตั้งข้อจำกัดอย่างไม่ยุติธรรมของบริษัท หรือองค์การเดินเรือทั้งหลาย4. รับพิจารณาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือ ที่องค์การหนึ่งใดหรือองค์การชำนัญพิเศษของสหประชาชาติส่งมาให้พิจารณา 5. จัดให้มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อสนเทศใด ๆ ระหว่างรัฐบาลเกี่ยวกับเรื่องที่องค์การ IMCO กำลังพิจารณาอยู่องค์การนี้ยังจัดให้มีการร่างอนุสัญญาและความตกลงต่าง ๆ รวมทั้งส่งข้อเสนอแนะเหล่านี้ไปให้รัฐบาล และองค์การระหว่างรัฐบาลทั้งหลาย รวมทั้งจัดการประชุมเท่าที่พิจารณาเห็นว่าจำเป็นองค์การนี้ประชุมกันทุกสอง ปี มีหน้าที่วางนโยบายเกี่ยวกับการเดินเรือทางทะเล ระหว่างสมัยประชุมจะมีคณะเจ้าหน้าที่ขององค์การ เรียกว่า คณะมนตรี (Council) ทำหน้าที่บริหารงานในองค์การ คณะมนตรีประกอบด้วยสมาชิก 16 คน ในจำนวนนี้ 8 คน เป็นผู้แทนจากประเทศที่สนใจให้การบริการเกี่ยวกับการเดินเรือระหว่างประเทศ และอีก 8 คนเป็นตัวแทนจากประเทศที่สนใจการค้าทางทะเลระหว่างประเทศ องค์การมีสำนักเลขาธิการ ประกอบด้วยตัวเลขาธิการ เลขานุการคณะกรรมการเกี่ยวกับความปลอดภัยทางทะเล และเจ้าหน้าที่ประจำตามจำนวนที่องค์การต้องการแล้วแต่กรณี สำนักงานใหญ่ขององค์การตั้งอยู่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ [การทูต] | International Atomic Energy Agency | สำนักพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ในการประชุมระหว่างประเทศ ที่ประชุมได้รับรองกฎข้อบังคับขององค์การนี้เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1956 ณ สำนักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก รัฐที่ร่วมลงนามเป็นสมาชิกขององค์การอย่างน้อย 18 ประเทศ รวมทั้งประเทศดังต่อไปนี้ คือ แคนาดา ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา อย่างน้อยสามประเทศได้มอบสัตยาบันสาร ยังผลให้กฎข้อบังคับดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1956วัตถุประสงค์ขององค์การพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ คือ1. ต้องการเร่งรัดและส่งเสริมให้พลังงานปรมาณูมีส่วนเกื้อกูลมากขึ้นต่อ สันติภาพ สุขภาพ และความไพบูลย์มั่งคั่งตลอดทั่วโลก2. ทำให้เป็นที่แน่ใจว่า ความช่วยเหลือที่องค์การจัดให้หรือตามคำขอร้องขององค์การ หรือที่อยู่ใต้ความควบคุมดูแลขององค์การนั้น จะต้องไม่ถูกนำไปใช้เพื่อส่งเสริมความมุ่งหมายทางทหารแต่อย่างใดองค์การ ดำเนินงานผ่านทางองค์กรต่าง ๆ เหล่านี้ คือ1. ที่ประชุมระหว่างประเทศ (General Conference) ประกอบด้วยสมาชิกของสำนักพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศทั้งหมด มีการประชุมสมัยสามัญประจำปี และอาจมีการประชุมสมัยพิเศษเท่าที่จำเป็น ที่ประชุมจะพิจารณาแลกเปลี่ยนความเห็นในปัญหาต่าง ๆ ที่อยู่ภายในกรอบของกฎข้อบังคับ2. คณะผู้ว่าการ (Board of Governors) ประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมด 23 ประเทศ ปฏิบัติงานตามหน้าที่ขององค์การ3. คณะเจ้าหน้าที่ขององค์การมีหัวหน้าเรียกว่าอธิบดี (Director General) ซึ่งคณะผู้ว่าการแต่งตั้งขึ้นตามความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ และมีอายุอยู่ในตำแหน่ง 4 ปี ตัวอธิบดีถือเป็นหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารขององค์การ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย [การทูต] | International Telecommunica-tion Union | สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1865 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในตอนนั้นมีชื่อว่าสหภาพโทรเลขระหว่างประเทศ ต่อมาในปี ค.ศ.1932 จึงมีการรับรองอนุสัญญาโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ณ กรุงมาดริด ประเทศสเปน และหลังจากนั้นอีก 2 ปี คือ ค.ศ.1934 ก็ได้มีการเปลี่ยนชื่ออนุสัญญาโทรเลขและวิทยุโทรเลข เป็นอนุสัญญาโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ต่อมาในปี ค.ศ. 1947 ได้มีการปรับปรุงใหม่ ณ เมืองแอตแลนติกซิตี้ สหรัฐอเมริกา แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ.1954 เป็นต้นมา สหภาพดังกล่าวหรือที่เรียกโดยย่อว่า ITU อยู่ภายใต้การบริหารปกครองตามอนุสัญญา ซึ่งได้รับการรับรองจากการประชุมเต็มคณะ ณ กรุงบุเอนอสไอเรส เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 1952วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การไอทียูคือ ต้องการวางระเบียบข้อบังคับระหว่างประเทศสำหรับโทรเลข โทรศัพท์และบริการทางวิทยุ เพื่อที่จะส่งเสริมและขยับขยายให้ประชาชนได้มีโอกาสใช้บริการเหล่านี้ให้ กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยต้องการให้อัตราค่าบริการต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ กล่าวโดยทั่วไปองค์การไอทียูนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมความร่วมมือ ระหว่างประเทศ เพื่อปรับปรุงการใช้โทรคมนาคมทุกชนิดให้เป็นประโยชน์ก้าวหน้าขึ้น พัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือทางเทคนิคให้นำออกใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้และพยายามประสานการปฏิบัติของชาติต่าง ๆ ให้กลมกลืนกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน หัวหน้าของสหโทรคมนาคมระหว่างประเทศมีตำแหน่งเรียกว่า เลขาธิการ องค์การนี้ตั้งอยู่ในนครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ [การทูต] | Marshall Plan | แผนการมาร์แชล ในโอกาสวันประสาทปริญญาของนักศึกษามหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ดในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1947 ยอร์ช ซี.มาร์แชล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ สมัยนั้น ได้กล่าวอยู่ตอนหนึ่งในสุนทรพจน์ว่า?สหรัฐอเมริกาควรจะทำทุกอย่างเท่าที่จะ สามารถกระทำได้ เพื่อช่วยให้ดินแดนต่าง ๆ ในโลกได้กลับคืนสู่ภาวะปกติทางเศรษฐกิจ เพราะหากปราศจากภาวะดังกล่าว โลกก็จะไม่มีเสถียรภาพที่สถาพร นโยบายของสหรัฐฯ มิได้มุ่งจะเป็นปฏิปักษ์ต่อประเทศใดหรือลัทธิใด หากมุ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อความหิวโหย ความยากจน ความสิ้นหวัง และความยุ่งเหยิง การที่จะให้สหรัฐอเมริการับภาระในการจัดวางโครงการแต่ฝ่ายเดียว เพื่อช่วยให้ทวีปยุโรปสามารถช่วยตนเองทางเศรษฐกิจขึ้นใหม่ นับว่ายังไม่เหมาะสมและถูกต้องนัก ควรจะให้เป็นภาระหน้าที่ของชนชาวยุโรปทั้งหลายเอง บทบาทของสหรัฐฯ ควรจะเป็นเพียงผู้เสนอให้ความความช่วยเหลือฉันมิตร ในการร่างโครงการช่วยเหลือทวีปยุโรป และให้ความสนับสนุนแก่โครงการนั้น ตราบที่โอกาสจะเอื้ออำนวยต่อการกระทำเช่นนั้นได้?จากสุนทรพจน์ข้างต้น พอจะเข้าใจจุดประสงค์สำคัญของสหรัฐอเมริกาได้ไม่ยากว่า ไม่ต้องการให้ทวีปยุโรป ซึ่งกำลังอ่อนแอโดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจหลังจากเสร็จสงครามใหม่ ๆ ต้องตกไปอยู่ใต้อำนาจครอบงำของฝ่ายคอมมิวนิสต์นั่นเอง [การทูต] | Neutralization, Neutrality หรือ Neutralism | คำว่า Neutraliza-tion หมายถึง กระบวนการซึ่งรัฐได้รับการค้ำประกันความเป็นเอกราชและบูรณภาพอย่างถาวรภาย ใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศ รัฐที่ได้รับการประกันรับรองให้เป็นกลาง (Neutralized State) เช่นนี้จะผูกมัดตนว่า จะละเว้นจาการใช้อาวุธโจมตีไม่ว่าประเทศใดทั้งสิ้น นอกเสียจากว่าจะถูกโจมตีก่อน ตัวอย่างอันเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในเรื่องรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความ เป็นกลางอย่างถาวร คือ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ตามปฏิญญา (Declaration) ซึ่งมีการลงนามกัน ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1815 ประเทศใหญ่ ๆ ในสมัยนั้น คือ ออสเตรีย ฝรั่งเศส อังกฤษ ปรัสเซีย และรัสเซีย ได้รับรองว่า โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม จึงเป็นการจำเป็นที่จะให้รัฐเฮลเวติก(Helvetic Swiss States) ได้รับการประกันความเป็นกลางตลอดไป ทั้งยังประกาศด้วยว่า รัฐสภาของสวิตเซอร์แลนด์ตกลงรับปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ได้ระบุไว้เมื่อไร ความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์ก็จะได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางในทันที และแล้วสมาพันธ์สวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ประกาศยอมรับปฏิบัติตาม หรือให้ภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1815 บรรดาประเทศที่รับรองค้ำประกันความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์จึงประกาศ รับรองดังกล่าว เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1815 อนึ่ง การค้ำประกันความเป็นกลางในลักษณะที่ครอบคลุมทั้งประเทศของรัฐใดรัฐหนึ่ง นั้น มีความแตกต่างกับการค้ำประกันเพียงดินแดนส่วนใดส่วนหนึ่งของรัฐหนึ่ง ซึ่งหมายความว่าดินแดนส่วนหนึ่งของรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางจะ ไม่ยอมให้ฝ่ายใดใช้ดินแดนส่วนที่ค้ำประกันนั้นเป็นเวทีสงครามเป็นอันขาด การค้ำประกันความเป็นกลางยังมีอีกแบบหนึ่งคือ รัฐหนึ่งจะประกาศตนแต่ฝ่ายเดียวว่าจะรักษาความเป็นกลางของตนตลอดไปโดยถาวร แต่ในกรณีเช่นนี้ ความเป็นเอกราชและบูรณภาพของรัฐที่ประกาศตนเป็นกลางเพียงฝ่ายเดียว จะไม่ได้รับการค้ำประกันร่วมกันจากรัฐอื่น ๆ แต่อย่างใดส่วนคติหรือลัทธิความเป็นกลาง (Neutralism) เป็นศัพท์ที่หมายถึงสถานภาพของรัฐต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการน้ำประเทศของตนเข้ากับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในสงครามเย็น ( Cold War) ที่กำลังขับเคี่ยวกันอยู่ระหว่างกลุ่มประเทศภาคตะวันออกกับกลุ่มประเทศภาค ตะวันตก นอกจากนี้ ผู้นำบางคนในกลุ่มของรัฐที่เป็นกลาง ไม่เห็นด้วยกีบการที่ใช้คำว่า ?Neutralism? เขาเหล่านี้เห็นว่าควรจะใช้คำว่า ?ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด? ( Uncommitted ) มากกว่าจะเห็นได้ว่า คำว่า ?ความเป็นกลาง? ( Neutrality ) นั้น หมายถึงความเป็นกลางโดยถาวร ซึ่งได้รับการค้ำประกันจากกลุ่มประเทศกลุ่มหนึ่ง เช่นในกรณีประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้หรือหมายถึงความเป็นกลางเฉพาะในดินแดน ส่วนหนึ่งของรัฐที่ไม่ยอมให้ใครเข้าไปทำสงครามกันในดินแดนที่เป็นกลางส่วน นั้นเป็นอันขาดก็ได้ ดังนั้น พอจะเห็นได้ว่า แก่นแท้ในความหมายของความเป็นกลาง ( Neutrality) จึงอยู่ที่ท่าที หรือ ทัศนคติของประเทศที่ดำรงตนเป็นกลาง ไม่ต้องการเข้าข้างประเทศคู่สงครามใด ๆ ในสงคราม ในสมัยก่อนผู้คนยังไม่รู้จักความคิดเรื่องความเป็นกลางดังที่รู้จักเข้าใจ กันในปัจจุบัน ความเป็นกลางเป็นผลมาจากการทยอยวางหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ของความเป็นกลาง นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน [การทูต] | Open Diplomacy | คือการทูตแบบเปิดเผย อดีตประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน แห่งสหรัฐอเมริกา เป็นบุคคลที่สนับสนุนและเผยแพร่วิธีการทูตแบบเปิดเผยอย่างเต็มที่ หวังจะให้ชุมชนนานาชาติพร้อมใจกันสนับสนุนการทูตนี้เช่นเดียวกัน เมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1918 วูดโรว์ วิลสัน ได้ประกาศให้โลกทราบนโยบายของท่าน 14 ข้อ ข้อหนึ่งในจำนวนนั้นท่านปรารถนาว่า ในอนาคตประเทศต่าง ๆ ควรจะทำความตกลงกันเกี่ยวกับเรื่องสันติภาพอย่างเปิดเผย และต่อไปไม่ควรจะมีการเจรจาทำความตกลงระหว่างประเทศแบบลับเฉพาะอย่างใดทั้ง สิ้นแม้ว่าโดยทั่วไปจะเห็นพ้องด้วยกับนโยบายข้อแรกของ วูดโรว์ วิลสัน คือ ความตกลงหรือสนธิสัญญาใด ๆ เมื่อตกลงเสร็จสิ้นแล้ว ให้ประกาศเปิดเผยให้โลกทราบ แต่สำหรับข้องสองคือการเจรจาในระหว่างทำสนธิสัญญาให้กระทำกันอย่างเปิดเผย นั้น ส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะเห็นว่าลำพังการเจรจานั้น โดยสารัตถะสำคัญแล้วควรจะถือเป็นความลับไว้ก่อนจนกว่าจะเสร็จการเจรจา ทั้งนี้ เซอร์เดวิด เคลลี่ อดีตนักการทูตอังกฤษเคยให้ทรรศนะว่า การทูตแบบเปิดเผยนั้นเป็นถ้อยคำที่ขัดกันในตัว คือหากกระทำกันอย่างเปิดเผยเสียแล้วก็ไม่ใช่การทูตเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาตรา 102 ของกฎบัตรสหประชาชาติได้บัญญัติว่า ?1. สนธิสัญญาทุกฉบับ และความตกลงระหว่างประเทศทุกฉบับ ซึ่งสมาชิกใด ๆ แห่งสหประชาชาติได้เข้าเป็นภาคี ภายหลังที่กฎบัตรปัจจุบันได้ใช้บังคับ จักต้องจดทะเบียนไว้กับสำนักเลขาธิการโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และจักได้พิมพ์ขึ้นโดยสำนักงานนี้ 2. ภาคีแห่งสนธิสัญญา หรือความตกลงระหว่างประเทศเช่นว่าใด ซึ่งมิได้จดทะเบียนไว้ตามบทบัญญัติในวรรคหนึ่งข้อนี้ ไม่อาจยกเอาสนธิสัญญาหรือความตกลงนั้น ๆ ขึ้นกล่าวอ้างต่อองค์กรใด ๆ ของสหประชาชาติ? [การทูต] | Palestine Question | ปัญหาปาเลสไตน์ เมื่อวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1947 ประเทศอังกฤษได้ขอให้สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ทำการประชุมสมัยพิเศษเพื่อพิจารณาปัญหาปาเลสไตน์ สมัชชาได้ประชุมกันระหว่างวันที่ 28 เมษายน ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1947 และที่ประชุมได้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษเกี่ยวกับปาเลสไตน์ขึ้น ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิกรวม 11 ประเทศ ซึ่งหลังจากที่เดินทางไปตรวจสถานการณ์ในภาคตะวันออกกลาง ก็ได้เสนอรายงานเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว รายงานนี้ได้ตั้งข้อเสนอแนะรวม 12 ข้อ รวมทั้งโครงการฝ่ายข้างมาก (Majority Plan) และโครงการฝ่ายข้างน้อย (Minority Plan) ตามโครงการข้างมาก กำหนดให้มีการแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ออกเป็นรัฐอาหรับแห่งหนึ่ง รัฐยิวแห่งหนึ่ง และให้นครเยรูซาเล็มอยู่ภายใต้ระบบการปกครองระหว่างประเทศ รวมทั้งให้ดินแดนทั้งสามแห่งนี้มีความสัมพันธ์ร่วมกันในรูปสหภาพเศรษฐกิจ ส่วนโครงการฝ่ายข้างน้อย ได้เสนอให้ตั้งรัฐสหพันธ์ที่เป็นเอกราชขึ้น ประกอบด้วยรัฐอาหรับและรัฐยิว อันมีนครเยรูซาเล็มเป็นนครหลวงต่อมาในวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1947 สมัชชาสหประชาชาติได้ประชุมลงมติรับรองข้อเสนอของโครงการฝ่ายข้างมาก ซึ่งฝ่ายยิวได้รับรองเห็นชอบด้วย แต่ได้ถูกคณะกรรมาธิการฝ่ายอาหรับปฏิเสธไม่รับรอง โดยต้องการให้มีการจัดตั้งรัฐอาหรับแต่เพียงแห่งเดียว และทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิของคนยิวที่เป็นชนกุล่มน้อย อนึ่ง ตามข้อมติของสมัชชาสหประชาชาติได้กำหนดให้อำนาจอาณัติเหนือดินแดนปาเลสไตน์ สิ้นสุดลงและให้กองทหารอังกฤษถอนตัวออกไปโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และอย่างช้าไม่เกินวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1948 นอกจากนั้นยังให้คณะมนตรีภาวะทรัสตีของสหประชาชาติจัดทำธรรมนูญการปกครองโดย ละเอียดสำหรับนครเยรูซาเล็มจากนั้น สมัชชาสหประชาชาติได้ตั้งคณะกรรมาธิการปาเลสไตน์แห่งสหประชาชาติขึ้น ประกอบด้วยประเทศโบลิเวีย เช็คโกสโลวาเกีย เดนมาร์ก ปานามา และฟิลิปปินส์ ทำหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อเสนอแนะของสมัชชา ส่วนคณะมนตรีความมั่นคงก็ได้รับการขอร้องให้วางมาตรการที่จำเป็น เพื่อวินิจฉัยว่า สถานการณ์ในปาเลสไตน์จักถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพหรือไม่ และถ้าหากมีการพยายามที่จะใช้กำลังเพื่อเปลี่ยนแปลงความตกลงตามข้อมติของ สมัชชาเมื่อใด ให้ถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพ โดยอาศัยข้อ 39 ของกฎบัติสหประชาชาติเป็นบรรทัดฐาน [การทูต] | Persons Entitled to Diplomatic Privileges and Immunities | บุคคลทีมีสิทธิที่จะได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้ม ครองกันทางการทูต มาตรา 37 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ว่า ?1. คนในครอบครัวของตัวแทนทางการทูต ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของตัวแทนทางการทูต ถ้าไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้รับ ให้ได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ระบุไวในข้อ 29 ถึง 36 2. บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรการและฝ่ายวิชาการของคณะผู้แทน รวมทั้งคนในครอบครัวของตน ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของตน ตามลำดับ ถ้าไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับ ให้ได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ได้ระบุไว้ในข้อ 29 ถึง 35 เว้นแต่ว่าความคุ้มกันจากอำนาจศาลทางแพ่งและทางปกครองของรัฐผู้รับ ที่ได้ระบุไว้ในวรรค 1 ของข้อ 31 นั้น ไม่ให้ขยายไปถึงการกระทำที่ได้ปฏิบัติไปเกินภารกิจหน้าที่ของตน ให้บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรการและฝ่ายวิชาการได้อุปโภคเอกสิทธิ์ ที่ได้ระบุไว้ในข้อ 36 วรรค 1 ในส่วนที่เกี่ยวกับสิ่งของที่ได้นำเข้าเมื่อเข้ารับหน้าที่ครั้งแรกด้วย 3. บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการของคณะผู้แทนซึ่งไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้ รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับให้ได้อุปโภคความคุ้มกัน ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำที่ได้ปฏิบัติตามภารกิจหน้าที่ตน การยกเว้นจากค่าภาระผูกพันรวมทั้งภาษีสำหรับค่าบำเหน็จที่ตนได้รับโดยเหตุผล จากการรับจ้างของตน และการยกเว้นที่ได้บรรจุไว้ในข้อ 33 4. คนรับใช้ส่วนตัวของบุคคลในคณะผู้แทน ถ้าไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ประจำในรัฐผู้รับ ให้ได้รับการยกเว้นจากค่าภาระผูกพัน หรือภาษีสำหรับค่าบำเหน็จที่เขาได้รับโดยเหตุผลจากการรับจ้างของตนในส่วน อื่น คนรับใช้ส่วนตัวเช่นว่านี้ อาจได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันเท่าที่รัฐผู้รับยอมให้เท่านั้น อย่างไรก็ดี รัฐผู้รับต้องใช้อำนาจของตนเหนือบุคคลเช่นว่านี้ ในการที่จะไม่แทรกสอดโดยไม่สมควรในการปฏิบัติการหน้าที่ของคณะผู้แทน [การทูต] | Secretariat of the United Nations | คือสำนักเลขาธิการสหประชาชาติ ประกอบด้วยตัวเลขาธิการ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยสมัชชาตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง พร้อมคณะเจ้าหน้าที่ตามที่องค์การต้องการหน้าที่สำคัญของเลขาธิการสหประชา ชาติ คือ ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารขององค์การ นำเรื่องใดก็ตามเสนอต่อคณะมนตรีความมั่นคง ซี่งตามทรรศนะของเลขาธิการเห็นว่าเป็นภัยคุกคามสันติภาพและความมั่นคง ระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ทำรายงานประจำปี และรายงานเพิ่มเติมใด ๆ ที่จำเป็นเสนอต่อสมัชชาสหประชาชาติ เกี่ยวกับงานขององค์การ สหประชาชาติคณะเจ้าหน้าที่ที่ทำงานช่วยเหลือเลขาธิการนั้น ถือเป็นเจ้าหน้าที่ระหว่างประเทศ ประกอบด้วยชนชาติต่าง ๆ ในการเกณฑ์เจ้าหน้าที่เหล่านี้เข้าทำงานกับสหประชาชาติ จะคัดแต่ผู้ที่มีประสิทธิภาพ ความสามารถ และความซื่อสัตย์ในระดับสูงสุด และคำนึงถึงเขตภูมิศาสตร์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในการทำงานตามหน้าที่ ทั้งตัวเลขาธิการและคณะเจ้าหน้าที่ผู้ร่วมงาน จะต้องไม่แสวงหรือรับคำสั่งจากรัฐบาลใด ๆ หรือจากผู้มีอำนาจหน้าที่อื่นใดที่อยู่นอกเหนือองค์การสหประชาชาติ ขณะเดียวกัน สมาชิกของสหประชาชาติได้ตกลงยอมรับนับถือความรับผิดชอบที่มีลักษณะระหว่าง ประเทศของสำนักเลขาธิการ และจักไม่แสวงใช้อิทธิพลใด ๆ ต่อสำนักเลขาธิการ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบเหล่านั้น [การทูต] | visit | การเยือน " - State Visit การเยือนอย่างเป็นทางการในระดับประมุขของรัฐ หมายถึง การเยือนของบุคคลสำคัญของต่างประเทศในระดับประมุขของรัฐ ที่มีสถานะเป็นกษัตริย์หรือประธานาธิบดี โดยเป็นการเยือนอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐผู้รับ รัฐผู้รับจะจัดพิธีการต้อนรับอย่างเป็นทางการเต็มรูปแบบ - Official Visit การเยือนอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของ รัฐบาล หมายถึง การเยือนเป็นทางการของประมุขของรัฐ มกุฎราชกุมาร หัวหน้ารัฐบาล หรือหัวหน้าองค์การระหว่างประเทศที่มีตำแหน่ง เทียบเท่า โดยเป็นแขกรับเชิญของรัฐบาล และจัดพิธีการรับรองต่าง ๆ อย่างเป็นทางการเต็มรูปแบบ - Visit as Guest of the Royal Thai Government การเยือนในฐานะแขกของรัฐบาล หมายถึง การเยือนของประมุขของรัฐ หัวหน้ารัฐบาลและหัวหน้า องค์การระหว่างประเทศที่มีตำแหน่งเทียบเท่าซึ่งไม่ได้เดินทางมาเยือนอย่าง เป็นทางการหรือเพื่อเจรจาทำงาน รวมทั้งการเสด็จฯ เยือนของพระราชวงศ์ รองประธานาธิบดีและบุคคลสำคัญอื่น ๆ ที่มีตำแหน่งเทียบเท่า ซึ่งรัฐบาลไทยปรารถนาที่จะแสดงไมตรีจิตโดยเชิญให้มาเยือนประเทศไทยในฐานะแขก ของรัฐบาล และจัดการต้อนรับให้ เหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการเยือนในแต่ละกรณี - Working Visit การเยือนเพื่อเจรจาทำงาน หมายถึง การเยือนของบุคคลสำคัญจากต่างประเทศในระดับประมุขของรัฐ หัวหน้ารัฐบาล และหัวหน้าองค์การระหว่างประเทศที่มีตำแหน่งเทียบเท่าที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อ เจรจาในปัญหาหรือประเด็นใดเป็นการเฉพาะในระยะเวลาอันสั้น - Visit as Guest of Their Majesties the King and Queen of Thailand การเยือนในฐานะพระราชอาคันตุกะส่วนพระองค์ หมายถึง การเสด็จเยือนของพระราชวงศ์ต่างประเทศ หรือการเยือนของบุคคลสำคัญจากต่างประเทศ ในฐานะพระราชอาคันตุกะส่วน พระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ - Private Visit การเยือนส่วนตัวหรือแวะผ่าน หมายถึง การเยือนของบุคคลสำคัญจากต่างประเทศในระดับประมุขของรัฐ พระราชวงศ์ หัวหน้ารัฐบาล หรือผู้นำองค์การระหว่างประเทศที่มีตำแหน่งเทียบเท่า และบุคคลสำคัญอื่น ๆ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเยือนเป็นการส่วนตัวหรือการแวะผ่านประเทศในระยะเวลา อันสั้น รัฐผู้รับจะจัดการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้ตามความเหมาะสม " [การทูต] | Work of the United Nations for the Independence of Colonial Peoples | งานขององค์การสหประชาชาติ ในการช่วยให้ชาติอาณานิคมทั้งหลายได้รับความเป็นเอกราช นับตั้งแต่เริ่มตั้งองค์การสหประชาชาติเมื่อปี ค.ศ.1945 เป็นต้นมา มีชนชาติของดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเอง รวมทั้งดินแดนในภาวะทรัสตีตามส่วนต่าง ๆ ของโลก ได้รับความเป็นเอกราชไปแล้วไม่น้อยกว่า 170 ล้านคน ดินแดนที่แต่ก่อนยังไม่มีฐานะปกครองตนเองราว 50 แห่งได้กลายฐานะเป็นรัฐเอกราช มีอธิปไตยไปแล้ว ขณะนี้ยังเหลือดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเองอีกไม่มาก กำลังจะได้รับฐานะเป็นประเทศเอกราชต่อไปแม้ว่าปัจจัยสำคัญที่สุดซึ่งทำให้ เกิดวิวัฒนาการอันมีความสำคคัญทางประวัติศาสตร์ จะได้แก่ความปรารถนาอย่างแรงกล้าของประชาชนในดินแดนเมืองขึ้นทั้งหลาย แต่องค์การสหประชาชาติก็ได้แสดงบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนชนชาติ ที่ยังมิได้เป็นเอกราช และชาติที่ยังปกครองดินแดนเหล่านั้นอยู่ ให้รีบเร่งที่จะให้ชาชาติในดินแดนเหล่านั้นได้รับฐานะเป็นเอกราชโดยเร็วที่ สุดเท่าที่จะเป็นไปได้การที่องค์การสหประชาชาติมีบทบาทหน้าที่ดังกล่าวเพราะ ถือตามหลักแห่งความเชื่อศรัทธาที่ว่า มนุษย์ไม่ว่าชายหรือหญิง และชาติทั้งหลายไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก ย่อมมีสิทธิเท่าเทียมกัน และได้ยืนยันความตั้งใจอันแน่วแน่ของประเทศสมาชิกที่จะใช้กลไกระหว่างประเทศ ส่งเสริมให้ชนชาติทั้งหลายในโลกได้ประสบความก้าวหน้าทั้งในทางเศรษฐกิจและ สังคมนอกจากนั้น เพื่อเร่งรัดให้ชนชาติที่ยังอยูใต้การปกครองแบบอาณานิคมได้ก้าวหน้าไปสู่ เอกราช สมัชชาของสหประชาชาติ (General Assembly of the United Nations) ก็ได้ออกปฏิญญา (Declaration) เกี่ยวกับการให้ความเป็นเอกราชแก่ประเทศและชนชาติอาณานิคม เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1960 ซึ่งในปฏิญญานั้น ได้ประกาศยืนยันความจำเป็นที่จะให้ลัทธิอาณานิคมไม่ว่าในรูปใด สิ้นสุดลงโดยเร็วและปราศจากเงื่อนไขใด ๆ สมัชชายังได้ประกาศด้วยว่า การที่บังคับชนชาติอื่นให้ตกอยู่ใต้อำนาจการปกครอง แล้วเรียกร้องประโยชน์จากชนชาติเหล่านั้น ถือว่าเป็นการปฏิเสธไม่ยอมรับสิทธิมนุษยชนขั้นมูลฐาน เป็นการขัดกับกฎบัตรของสหประชาชาติ เป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมสันติภาพและความร่วมมือของโลกสมัชชาสหประชาชาติ ยังได้ประกาศต่อไปว่า จะต้องมีการดำเนินการโดยด่วนที่สุด โดยไม่มีเงื่อนไขหรือข้อสงวนใด ๆ ตามเจตนารมณ์ ซึ่งแสดงออกอย่างเสรี โดยไม่จำกัดความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ หลักความเชื่อถือ หรือผิว เพื่อให้ดินแดนทั้งหลายที่ยังไม่ได้มีการปกครองของตนเองเหล่านั้นได้รับความ เป็นเอกราชและอิสรภาพโดยสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1961 สมัชชาสหประชาชาติก็ได้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อตรวจดูและให้มีการปฏิบัติให้เป็นตามคำปฏิญญาของสหประชาชาติ และถึงสิ้นปี ค.ศ. 1962 คณะกรรมการดังกล่าวได้ประชุมกันหลายต่อหลายครั้งทั้งในและนอกสำนักงานใหญ่ ขององค์การสหประชาชาติ แล้วรวบรวมเรื่องราวหลักฐานจากบรรดาตัวแทนของพรรคการเมืองทั้งหลาย จากดินแดนที่ยังไม่ได้รับการปกครองตนเอง แล้วคณะกรรมการได้ตั้งข้อเสนอแนะต่าง ๆ โดยมุ่งจะเร่งรัดให้การปกครองอาณานิคมสิ้นสุดลงโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ [การทูต] | Affective | ท่าทีความรู้สึกนึกคิดและเจตคติ, เจตคติ, ด้านความรู้สึก [การแพทย์] | Affective Components | ส่วนประกอบทางอารมณ์, องค์ประกอบทางด้านท่าทีความรู้สึก [การแพทย์] | Attitude | ท่าที, ท่าทรงตัว, ทัศนคติ, เจตนคติ, ท่าทาง, เจตคติ, อากัปกริยา [การแพทย์] | Attitude, Family | ท่าทีของสมาชิกในครอบครัว [การแพทย์] | Attitude, Parental | ทัศนคติของพ่อแม่, ท่าทีของบิดามารดาหรือผู้เลี้ยงดูเด็ก [การแพทย์] | Bayonet Position | ท่าที่ชิ้นกระดูกยาวหักเกยกัน [การแพทย์] | Clubfoot, Positional | เท้าปุก, เท้าปุกจากท่าที่อยู่ในครรภ์ [การแพทย์] | Despair | ท่าทีหมดหวัง, สิ้นหวัง, ความรู้สึกสิ้นหวัง, กลัวความตาย [การแพทย์] | rhombus | รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน, รูปสี่เหลี่ยมด้านเท่าที่ไม่มีมุมใดเป็นมุมฉาก [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] | static RAM (SRAM) | สแตติกแรม, หน่วยความจำประเภท RAM ที่พัฒนามาจากทรานซิสเตอร์ มีคุณสมบัติสามารถเก็บรักษาข้อมูลไว้ในหน่วยความจำตราบเท่าที่ยังมีไฟเลี้ยงอยู่ และทำงานได้โดยที่ไม่ต้องมีการเขียนข้อมูลลงไปซ้ำหลายครั้งเพื่อรักษาข้อมูลภายในอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งยังมีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลที [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] | Good Body Alignment | ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่เหมาะสมและถูกต้อง [การแพทย์] | Indifference, La Belle | ไม่แสดงท่าทีวิตกทุกข์ร้อนถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น [การแพทย์] |
| Catherine Earnshaw, may you not rest as long as I am living. | แคทเธอรีน เอิร์นชอว์ ขอให้เธอไม่มีวันได้พักผ่อน ตราบเท่าที่ฉันยังมีชีวิตอยู่ Wuthering Heights (1992) | - Best I ever had. | - ดีที่สุดเท่าที่ผมเคยมีมา Of Mice and Men (1992) | What I need from you is the whole story, your whole story... in as much detail as you can remember. | สิ่งที่ฉันต้องการจากคุณคือ เรื่องราวทั้งหมด, เรื่อง? ในรายละเอียดมากที่สุดเท่าที่ ในขณะที่คุณสามารถจำได? In the Name of the Father (1993) | You can torture me all you want, | แม่ทรมานหนูได้เท่าที่ต้องการ The Joy Luck Club (1993) | I got pregnant for the worst reason imaginable, a last attempt to hang on. | ฉันตั้งท้องด้วยเหตุผลที่แย่ที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ ความพยายามครั้งสุดท้ายเพื่อจะยึดเอาไว้ The Joy Luck Club (1993) | Or perhaps it's really not as deep as I've been led to think | หรือที่จริงมันอาจจะไม่ลึกซึ้งเท่าที่ฉันคิด The Nightmare Before Christmas (1993) | We do our best to please him and stay on his good side | เราทำเท่าที่เราทำได้ให้เขาพอใจ/Nและอยู่ข้างที่ถูกต้องของเขา The Nightmare Before Christmas (1993) | There isn't anywhere in the whole world more comfortable than that. | ไม่มีที่ไหนในโลกนี้ สบายเท่าที่นั่น The Nightmare Before Christmas (1993) | Fast as we can, ma'am. | เร็วเท่าที่เราจะทำได้ ฉันคือ-- The Nightmare Before Christmas (1993) | What... did... Goeth... | คุณแค่ขอเขาเท่าที่คุณต้องการ... Schindler's List (1993) | Karen Swenson. | เท่าที่เห็นมีแค่นี้ พลิกเธอกลับมาได้ไหม ? Deep Throat (1993) | And that's what I'm gonna write in my field report. | แล้วนั่นจะเป็นเท่าที่ฉันจะเขียน ลงในรายงานพื้นที่ของฉัน Squeeze (1993) | Let's get out of here, Mulder, as fast as we can. | ไปจากที่กันเถอะ Mulder เร็วที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ Squeeze (1993) | Colonel Budahas was returned to his home, though his own knowledge of his disappearance is vague and inconclusive. | (เสียง Scully) พันเอก Budahas กลับมาบ้านเขาแล้ว ... ..บอกเล่าเรื่องการหายตัวไปของเขา เท่าที่เขารู้ อย่างคลุมเครือ และไม่มีข้อสรุป Squeeze (1993) | - I wouldn't go so far as to call the brother fat. | - ฉันจะไม่ไปไกลที่สุดเท่าที่จะเรียกพี่ชายของไขมัน Pulp Fiction (1994) | I mean, is it as bad as eating' her pussy out? | ผมหมายความว่ามันไม่ดีเท่าที่ eatin 'หีของเธอออกมา? Pulp Fiction (1994) | Now, if it's as good as you say it is, I'll come back and buy another thousand. | ตอนนี้ถ้ามันเป็นเรื่องดีเท่าที่คุณบอกว่ามันคือผมจะกลับมาและซื้อพันอื่น Pulp Fiction (1994) | We're losing her! - I'm looking as fast as I can! | - ฉันกำลังมองหาให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้! Pulp Fiction (1994) | I'd be in as much trouble as you. | ฉันจะมีปัญหามากที่สุดเท่าที่คุณ Pulp Fiction (1994) | - As far as I know, the motherfucker's tip-top. | - เท่าที่ฉันรู้ว่าเวรตะไลของสุดยอด Pulp Fiction (1994) | I wouldn't go so far as to call a dog filthy, but they're definitely dirty. | ฉันจะไม่ไปไกลที่สุดเท่าที่จะเรียกสุนัขสกปรก แต่พวกเขากำลังแน่นอนสกปรก Pulp Fiction (1994) | As far as they're concerned, there's only three ways to spend money when it comes to prisons: | เท่าที่พวกเขากำลังกังวลมีเพียงสามวิธีที่จะใช้จ่ายเงินเมื่อมันมาถึงเรือนจำ: The Shawshank Redemption (1994) | I just didn't expect the storm would last as long as it has. | ผมก็ไม่ได้คาดหวังว่าพายุจะนานเท่าที่มันมี The Shawshank Redemption (1994) | The best, everybody knows that. | เท่าที่ที่นี่เคยเห็น ใครๆ ก็รู้ Don Juan DeMarco (1994) | So we stayed as far away from her as possible. | ดังนั้นจึงอยู่ให้ไกลเธอที่สุดเท่าที่จะทำได้ Don Juan DeMarco (1994) | DeMarco, the greatest lover the world has ever known. | นักรักที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่โลกรู้จัก Don Juan DeMarco (1994) | It was supposed to be cut and dried. | ผมก็ตอบทุกอย่างเท่าที่ผมรู้ In the Mouth of Madness (1994) | I'll try and continue... this emergency broadcast as long as we can hold out here. | ผมจะพยายาม ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ ให้นานที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ In the Mouth of Madness (1994) | As far as I'm concerned there is nothing a guy can do that comes close. | และเท่าที่ฉันรู้มา ไม่มีอะไรที่ ผู้ชายทำแล้วใกล้เคียงแบบนั้นเลย ฉันพูดถูกมั้ยทุกคน The One with the East German Laundry Detergent (1994) | Аs soon as you're through You'll feel mighty sliсk | เร็วที่สุดเท่าที่คุณผ่าน คุณจะรู้สึกเนียนยิ่งใหญ่ Snow White and the Seven Dwarfs (1937) | Soon as I saw there was no one about, I made myself at home. | เร็วที่สุดเท่าที่ฉันเห็นไม่มีใคร เกี่ยวกับ ฉันทำเองที่บ้าน Pinocchio (1940) | - Here, as soon as possible. A whirlwind romance. | - ที่นี่ครับ เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ Rebecca (1940) | I suppose she was the most beautiful creature I ever saw. | ผมว่าหล่อนเป็นสิ่งที่สวยที่สุดเท่าที่ผมเคยเห็นมา Rebecca (1940) | It's a lovely room, isn't it? Loveliest room you've ever seen. | ห้องสวยใช่มั้ยล่ะคะ สวยที่สุดเท่าที่คุณเคยเห็นมา Rebecca (1940) | Black Jack Brady was his name. The most important arrest I ever made. | ชื่อของมันคือ แบล็ค เเจ็ค บราดี้ เป็นการจับกุมครั้งสําคัญที่สุดเท่าที่ฉันเคยทํามา Rebecca (1940) | I only know as much as you do. | ฉันเพียงรู้มากที่สุดเท่าที่คุณทำ 12 Angry Men (1957) | That's the most fantastic story ever. | นั่นเป็นเรื่องที่ยอดเยี่ยมที่สุดเท่าที่เคย 12 Angry Men (1957) | Come on, speed it up. He can walk twice as fast as that. | Come on, ความเร็วขึ้น เขาสามารถเดินสองครั้งให้เร็วที่สุดเท่าที่ 12 Angry Men (1957) | When he's in bed, he heard the body hit the floor, heard the woman scream, got to his front door as fast as he could, heard somebody running and assumed it was the boy. | เมื่อเขาอยู่ในเตียงเขาได้ยินร่างกายกระแทกพื้น, ได้ยินเสียงกรีดร้องของผู้หญิงที่ได้รับไปที่ประตูหน้าของเขาให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ได้ยินคนที่ทำงานและคิดว่ามันเป็นเด็ก 12 Angry Men (1957) | His mind was on the horses, I think, as much as it was on the baseball. | จิตใจของเขาอยู่บนม้าฉันคิดว่า มากที่สุดเท่าที่มันเป็นเบสบอล The Old Man and the Sea (1958) | The fish never changed his course nor his direction all that night... ... as far as the old man could tell from watching the stars. | ปลาไม่เคยเปลี่ยนแปลง หลักสูตรมิได้ของเขา ทุกทิศทางในคืนนั้นเท่าที่เก่า ชายชราคนหนึ่งสามารถบอกได้ จากการดูดาว The Old Man and the Sea (1958) | He was a very big mako shark... ... built to swim as fast as the fastest fish of the sea. | เขาเป็นปลาฉลาม มาโค ใหญ่ มากสร้างขึ้นเพื่อว่ายน้ำ เร็วที่สุดเท่าที่ปลาที่เร็วที่สุด ของทะเล The Old Man and the Sea (1958) | You've been up that temple again. | คุณไม่ดีเท่าที่พี่สาวของคุณมาที่บ้าน Help! (1965) | -Where is Carson? -All I know is Carson re-enlisted. | คาร์สันอยู่ไหน เท่าที่รู้ คาร์สันกลับเข้ากองทัพ The Good, the Bad and the Ugly (1966) | Wallace will punch your friend as long as the song goes. | วอลเลซจะอัดเพื่อนนาย นานเท่าที่เพลงยังบรรเลง The Good, the Bad and the Ugly (1966) | Empty your water bottles into the roller. | ขวดน้ำเข้าไปในลูกกลิ้ง เราจำเป็นต้องมีน้ำหนักมาก ที่สุดเท่าที่เราจะได้รับ How I Won the War (1967) | -I'm as much a son as you or Mike. | - ฉันลูกชายมากเท่าที่คุณไมค์ The Godfather (1972) | It's as cold as they come. | มันเย็นที่สุดเท่าที่พวกเขามา The Godfather (1972) | I waited as long as I could. | ฉันรอนานที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้ว The Little Prince (1974) | Whatever's safe, right? | ก็เท่าที่รับไหว Jaws (1975) |
| กำหนดท่าที | [kamnot thāthī] (v, exp) EN: determine a position ; determine a stance FR: arrêter une position | การแก้ไขเท่าที่ทำได้ | [kān kaēkhai thao thī tham dāi] (n, exp) EN: provisional solution | ความระมัดระวังเท่าที่จำเป็น | [khwām ramatrawang thao thī jampen] (n, exp) EN: necessary diligence | มีท่าที | [mī thāthī] (v, exp) EN: appear ; it looks like ; there is a sign (of) ; there is an indication (of) ; the outlook is | เปลี่ยนท่าที | [plīen thāthī] (v, exp) EN: change one's attitude ; turn one's point ; change one's mind ; sing a different tune ; change one's ideas ; come over FR: changer d'attitude | แสดงท่าที | [sadaēng thāthī] (v, exp) EN: act ; behave ; do ; conduct ; perform ; appear ; show sign (of) ; give an indication (of) FR: agir ; se comporter ; se conduire ; montrer des signes de | สงวนท่าที | [sa-ngūan thāthī] (v, exp) EN: be reserved ; be careful of one's manners ; reserve FR: être réservé ; avoir de la retenue ; réserver | สงวนท่าที | [sa-ngūan thāthī] (adj) EN: noncommittal ; guarded ; reserved | เท่าที่จะ...ได้ | [thao thī ja ... dāi] (x) FR: autant que ; le plus que | เท่าที่จำเป็น | [thao thī jampen] (adv) EN: as much as necessary | ท่าที | [thāthī] (n) EN: attitude ; reaction ; manner FR: attitude [ f ] ; comportement [ m ] ; intention [ f ] | ท่าที | [thāthī] (n) EN: sign ; indication | ท่าที | [thāthī] (n) EN: stance ; position FR: position [ f ] | ตราบเท่าที่ | [trāpthao thī] (x) EN: as long as ; until FR: tant que ; aussi longtemps que | หยั่งดูท่าที | [yang dū thāthī] (v, exp) EN: probe; explore; sound out | ยังไม่แสดงท่าที | [yang mai sadaēng thāthī] (v, exp) EN: uncommitted | หยั่งท่าที | [yang thāthī] (v, exp) EN: sound out ; probe ; canvass |
| AFAIK | (phrase, slang) ย่อมาจาก As Far As I Know หมายถึง เท่าที่ข้าพเจ้าทราบนั้น, เป็นศัพท์แสลงยุคอินเทอร์เน็ต | condescension | (n) การกระทำที่แสดงให้เห็นว่าผู้กระทำเชื่อว่าตนเองสำคัญหรือฉลาดกว่าผู้อื่น เช่น He gave us very friendly advice without a trace of condescension. เขาให้คำแนะนำที่เป็นมิตรมากๆ กับพวกเรา โดยไม่ได้มีท่าทีว่าเขาคิดว่าตนเองสำคัญหรือฉลาดกว่าเราแต่อย่างใด |
| accost | (vt) ทัก (ด้วยท่าทีที่ไม่สุภาพหรือขู่ให้กลัว), See also: เข้าไปทัก | as long as | (conj) ตราบเท่าที่, See also: จนกว่า | as far as it goes | (idm) เท่าที่จะเป็นได้ (มักใช้กล่าวถึงสิ่งที่มีไม่พอ) | as far as possible | (idm) มากเท่าที่มากได้ | as far as someone is concerned | (idm) เท่าที่ทำได้, See also: เท่าที่ทราบ | at full speed | (idm) เร็วเท่าที่จะเร็วได้, See also: เร็วมาก, เร็วเต็มพิกัด, เร็วเต็มที่ | at full tilt | (idm) เร็วเท่าที่จะเร็วได้, See also: เร็วมาก, เร็วเต็มพิกัด, เร็วเต็มที่ | at this rate | (idm) อย่างที่เป็นอยู่, See also: เท่าที่เป็นอยู่ | backtrack | (vi) กลับคำ, See also: เปลี่ยนท่าที, Syn. recant, back-pedal | behavior | (n) พฤติกรรม, See also: การกระทำตัว, พฤติการณ์, การแสดงอาการ, ท่าที, Syn. conduct, manners, behaviour | behaviour | (n) พฤติกรรม, See also: การกระทำตัว, พฤติการณ์, การแสดงอาการ, ท่าที, Syn. conduct, manners, behavior | bodge | (vt) ทำหรือซ่อมแซมได้ไม่ดีเท่าที่ควรจะเป็น, Syn. botch | brush-off | (n) การทำท่าทีไม่สนใจ (อย่างไม่เป็นมิตรและไม่สุภาพ) | calculate | (vt) คาดการณ์ว่า, See also: คาดว่าจะเกิดขึ้น โดยใช้ข้อมูลเท่าที่มีอยู่, Syn. estimate, judge, gauge | carry on | (phrv) กังวล, See also: วิตก, มีท่าทีตื่นเต้น | change someone's tune | (idm) ทำให้เปลี่ยนท่าที ทัศนคติ หรือพฤติกรรม (จากเลวไปดี), See also: เปลี่ยนท่าที, เปลี่ยนทัศนคติ, เปลี่ยนพฤติกรรม | cut prices to the bone | (idm) ลดราคามากเท่าที่จะมากได้แต่ไม่ขาดทุน | do one's best | (idm) ทำบางสิ่งให้ดีที่สุด, See also: เท่าที่จะทำได้ | do one's bit | (idm) ช่วยเท่าที่จะทำได้, See also: เท่าที่ช่วยได้ | ever | (adv) เคย, See also: เท่าที่เคยมา | make the most of | (idm) ทำให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ | Money burns a hole in someone's pocket. | (idm) คนใช้เงินอย่างเทน้ำเทท่า, See also: คนใช้เงินมากเท่าที่จะมากได้ | on the face of it | (idm) อย่างผิวเผิน, See also: อย่างไม่จริงจัง, เท่าที่เห็น | so far as someone is concerned | (idm) เท่าที่ทำได้, See also: เท่าที่ทราบ | to the best of one's ability | (idm) เท่าที่ความสามารถจะมี | to the best of one's knowledge | (idm) เท่าที่รู้ | to the nth degree | (idm) สุดยอด, See also: ดีที่สุดเท่าที่ทำได้ | imaginable | (adj) ที่สามารถนึกภาพได้, See also: เท่าที่จะนึกออก, Syn. conceivable, thinkable, possible | insofar as | (conj) ตราบเท่าที่ (ทางการ) | mien | (n) ลักษณะท่าทาง, See also: ท่าที, สีหน้า, Syn. appearance, look, carriage, manner | outguess | (vt) เดาท่าทีหรือเจตนา, Syn. anticipate, predict | reserved | (adj) ซึ่งสงวนท่าที, See also: ไว้ตัว, Syn. restrained, shy, silent | reticence | (n) ความเงียบ, See also: การสงวนท่าที, Syn. closeness, hesitation, shyness, silence | for all I know | (sl) เท่าที่รู้, See also: เท่าที่ทราบ | go the limit | (sl) ทำให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ | show | (vt) แสดงทัศนคติ, See also: แสดงท่าที, แสดงความรู้สึก | tall | (adv) ด้วยท่าทีสง่างาม, See also: ด้วยท่าทีภาคภูมิใจ, ด้วยท่าทีที่มั่นใจ, Syn. confidently | what | (conj) มากเท่าที่, Syn. as much as, so far as | worldful | (adj) ซึ่งมากเท่าที่จะมีอยู่ในโลกได้ |
| a gogo | (อาโก' โก) มากเท่าที่คุณต้องการ, ไม่มีขอบเขต, เดินเพ่นพ่าน, จังหวะเต้นรำอะโกโก้, เวที่เต้นรำจังหวะอะโกโก้, Syn. a Go go, a go-go, au gogo | all | (ออล) n., adj., adv. ทั้งหมด, จำนวนทั้งหมด, ทั้งมวล, ทั่วทุก, ตลอด, เท่าที่มีทั้งหมด, ล้วน, แท้, สูงสุด, ที่สุด. -above all ก่อนอื่น. -after all อย่างไรก็ตาม, ในที่สุด. -once and for all ในที่สุด. -all but เกือบจะ, จวนเจียน | anechoic | (แอนนิโค' อิค) adj. ซึ่งมีเสียงก้องต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้, ไม่มีเสียงสะท้อนกลัย | attitude | (แอท'ทิทูด) n. ท่าทาง, กิริยาท่าทาง, การวางตัว, ทัศนคติ, ท่าในการบิน, ท่าที, เจตคติ, Syn. manner, mood, behaviour | available | (อะเวล'ละเบิล) adj. เหมาะที่ใช้, มี, หาได้, หาง่าย, ใช้ประโยชน์ได้, เท่าที่จะหาได้, กำไร. -availability, -availableness n., Syn. accessible, obtainable | baud | (บอด) เป็นหน่วยวัดความเร็วของการถ่ายโอนข้อมูลผ่านโมเด็ม 1 บอดเท่ากับจำนวนบิตที่ส่งได้ใน 1 ครั้ง ถ้าส่งได้ครั้งละ 2 บิต 1 บอดก็จะเท่ากับ 2 บิต โมเด็มจะดีหรือไม่ ก็ดูที่ความเร็วจากหน่วยวัดนี้ โดยปกติ เท่าที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน มีขนาดความเร็ว 300 บอด (ประมาณ 37 ตัวอักษร) และ 1, 200 บอด (ประมาณ 150 ตัวอักษร) | behavior | (บิเฮฟ'วิเออะ) n. ความประพฤติ, การกระทำตัว, พฤติกรรม, อาการ, ท่าที, Syn. manners | behavioral | (บิเฮฟ'วิเออเริล) adj. เกี่ยวกับพฤติกรรม, เกี่ยวกับการทำตัวหรืออาการท่าทีของสัตว์ | behaviour | (บิเฮฟ'วิเออะ) n. ความประพฤติ, การกระทำตัว, พฤติกรรม, อาการ, ท่าที, Syn. manners | behavioural | (บิเฮฟ'วิเออเริล) adj. เกี่ยวกับพฤติกรรม, เกี่ยวกับการทำตัวหรืออาการท่าทีของสัตว์ | bellyful | (เบล'ลีฟูล) n. ปริมาณเท่าที่จะทนได้ที่สุด | bug | (บัก) { bugged, bugging, bugs } n. แมลง, เชื้อจุลินทรีย์, ความบกพร่อง, แฟน, คนคลั่ง, เครื่องดักฟัง, ความคลั่ง, เหยื่อตกปลาที่คล้ายแมลง vt. รบกวน, ติดตั้งเครื่องดักฟังในที่ลับ, Syn. fault, defect จุดบกพร่องหมายถึง ปัญหาที่เกิดขึ้นกับโปรแกรมอันเนื่องมาจากคำสั่งในโปรแกรมนั้นเอง ซึ่งทำให้การทำงานของโปรแกรมไม่ถูกต้อง มีข้อผิดพลาด หรือไม่ราบรื่นเท่าที่ควร นอกจากปัญหาเกี่ยวกับโปรแกรมแล้ว อาจเป็นปัญหาเกี่ยวกับตัวเครื่องก็ได้ คำนี้มาจากคำ bug ที่แปลว่า ตัวด้วง ตัวแมลง ที่ชอบทำให้คอมพิวเตอร์สมัยก่อนเสีย เกิดการลัดวงจรขึ้น การแก้ไขจุดบกพร่องของโปรแกรม จึงใช้คำว่า "debug" | condescension | (คอนดิเซน'เชิน) n. การยอมรับ, การถ่อมตัวลงมา, การก้มหัวลง, ท่าทีที่กรุณา, ท่าทีที่เอื้อเฟื้อ., See also: condescensive adj. ดูcondescension, Syn. condescendence | cramful | (แครม'ฟูล) adj. ให้เต็มที่สุดเท่าที่จะเต็มได้, ยัดเยียด | graphics adapter card | ตัวปรับภาพหมายถึงแผ่นวงจร (card) ที่เมื่อนำไปเสียบเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วทำให้จอภาพแสดงภาพได้ เท่าที่รู้จักกันในเวลานี้มีชื่อเรียกว่า CGA EGA VGA และ SVGA ถ้าปราศจากแผ่นวงจรเหล่านี้ แม้โปรแกรมจะเป็นโปรแกรมภาพ ก็จะแสดงภาพไม่ได้ ดู CGA EGA VGA และ SVGA | imaginable | (อิแมจ'จะนะเบิล) adj. เท่าที่จะนึกภาพได้, เท่าที่จะเป็นไปได้, เท่าที่จะคิดคะนึงได้., See also: imaginableness n. imaginably adv., Syn. unreal, visiionary, fanciful | insofar | (อินซะฟาร์') adj. ตราบเท่าที่ | insomuch | (อินโซมัชฺ') adv. ดังนั้น, ตราบเท่าที่, ถึงขั้นนี้, Syn. inasmuch | lung | (ลัง) n. ปอด. -Phr. (at the top of one's lungs ดังที่สุดเท่าที่จะดังได้, ดังสุดกู่) | monospacing | ห่างเท่ากันหมดหมายถึง การกำหนดให้อักษรแต่ละตัวมีช่องไฟเท่ากันหมดไม่ว่าจะเป็น i หรือ m ตรงข้ามกับ proportional spacing ซึ่งหมายถึง อักษรแต่ละตัวจะใช้เนื้อที่เท่าที่จำเป็น ดู proportional pitch ประกอบ | natural language processi | การประมวลผลภาษาธรรมชาติหมายถึง การที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำการประมวลผลได้โดยใช้โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาธรรมชาติ พูดง่าย ๆ ก็คือ สามารถใช้ภาษาธรรมดา ๆ สั่งการให้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามได้ ในปัจจุบัน คอมพิวเตอร์จะใช้ภาษาเฉพาะที่มีกฎเกณฑ์ ไวยากรณ์ และศัพท์ของตนเอง ที่เรียกว่า ภาษาเชิงมนุษย์ (human oriented language) เช่น ภาษา C ภาษา BASIC ภาษา COBOL ฯ ส่วนภาษาธรรมชาตินั้น หมายถึง ภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย แม้ว่าในปัจจุบัน จะมีการ พัฒนาด้านนี้กันไปไกลมาแล้ว แต่ก็สรุปได้ว่า ยังใช้การไม่ได้ดีเท่าที่ควร ทั้งนี้อาจเป็นเพราะภาษานั้นมีความสลับซับซ้อนเป็นอย่างมาก ยากที่จะแปลหรือตีความให้ตาย ตัวได้ | pomp | (พอมพฺ) n. พิธีฉลองที่เอิกเกริก, การวางท่าทีโอ่อ่า, การแสดงที่โอ้อวดหรือหยิ่งยโส ความผึ่งผาย, Syn. splendor | promise | (พรอม'มิส) n. สัญญา, คำมั่นสัญญา, ลักษณะหรือท่าทีที่ดี. vt. สัญญา, ให้คำมั่นสัญญา, เป็นเครื่องบอก, รับปากจะแต่งงาน, ทำให้มั่นใจ. vi. เป็นเครื่องบอก, แสดงอาการว่าจะเป็น, | reserve | (รีเซิร์ฟว') vt. สงวน, จอง, รักษาไว้สำรอง n. ทุนสำรอง, เงินสะสม, คนสำรอง, ที่สงวน, กองหนุน, สิ่งที่สงนไว้, ป่าสงวน, เขตสงวน, ความสงบเสงี่ยม, การสงวนท่าที, การไม่พูดมาก, -Phr. (in reserve สำรองไว้ในอนาคต, สิ่งทดแทน, อะไหล่, ส่วนสำรอง, อวัยวะสำรอง) | reserved | (รีเซิร์ฟวดฺ') adj. สงวนไว้, สำรองไว้, จองไว้, รักษาไว้, สงบเสงี่ยม, สงวนท่าที, See also: reservedness n. | reticence | (เรท'ทิเซินซฺ) n. การพูดน้อย, การไม่พูด, การเงียบ, การสงวนท่าที, Syn. reticency | reticent | (เรท'ทิเซินทฺ) adj. เงียบ, ไม่พูด, ระมัดระวัง, พิถีพิถัน, อำพราง, สงวนท่าที. | what | (วอท) pron. อะไร, เท่าไร, ใด ๆ , สิ่งที่, คนที่, เท่าที่, ชนิดใด, n. อะไร, ลักษณะที่แท้จริง, adj. อะไรก็ตาม, เท่าไร interj. อะไรกัน! conj. มากเท่าที่จะ ตราบใด so what แล้วมีอะไรล่ะ |
| attitude | (n) อาการ, ท่าที, ท่าทาง | extant | (adj) ยังมีอยู่, ซึ่งโผล่ออกมา, เท่าที่มีอยู่ | imaginable | (adj) ที่นึกฝันได้, เท่าที่จะเป็นไปได้ | inasmuch | (adv) เท่าที่, ดังนั้น, เช่นนั้น, เนื่องจาก | insomuch | (adv) จนกระทั่งว่า, ดังนั้น, ตราบเท่าที่, ถึงขั้นนี้ | outlook | (n) ลักษณะ, ทัศนะ, สายตา, ทัศนียภาพ, ท่าที | promise | (vt) สัญญา, ตกลง, แสดงท่าทีว่า, รับปากว่า | promissory | (adj) ซึ่งให้สัญญาไว้, ซึ่งแสดงท่าที่ว่า, ซึ่งให้คำมั่น | reserve | (n) การสงวนท่าที, เขตสงวน | reticence | (n) เงื่อนงำ, ความขรึม, การสงวนท่าที, การเงียบ | reticent | (adj) มีเงื่อนงำ, ขรึม, เงียบ, สงวนท่าที | what | (adj) อะไร, สิ่งที่, เท่าที่, แท้ๆ, พิลึก, เท่าไร |
| as far as | ตราบเท่าที่ | jitti | (n) บุคคลที่งั่งที่สุดเท่าที่สามารถหาพบได้ ตั้งแต่มนุษย์ถือกำเนิดขึ้นมาบนโลกใบนี้ | Leave no stone unturned | (idioms) พยายามทำทุกสิ่งทุกอย่างเท่าที่จะทำได้ The police left no stone unturned in search for the missing pupil.= ตำรวจพยายามทุกอย่างที่จะค้นหาเด็กนักเรียนที่หายไป ; | look | (n) รูปร่างหน้าตา = appearance; ท่าที = aspect, See also: aspect, A. -, Syn. appearance | post-haste | (adv) เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ | so far so good | จนถึงตอนนี้ ทุกอย่างก็ดี ไม่มีปัญหา, เท่าที่ผ่านมาก็ดี, ไม่มีปัญหาอะไร, ทุกอย่างยังคงราบรื่นดี |
| 成るべく | [なるべく, narubeku] (adv) เท่าที่เป็นไปได้, อย่างไรก็ตาม | 存分 | [ぞんぶん, zonbun] (adj, adv) เต็มที่, เท่าที่ต้องการ | 愛想 | [あいそう, aisou] 1.อัธยาศัย 2.ท่าทีเป็นมิตร 3.การต้อนรับขับสู้ | 態度 | [たいど, taido] (n) ท่าที, ทัศนคติ, กิริยาท่าทาง, มารยาท | 放題 | [ほうだい, houdai] ...เท่าที่ต้องการ、มีไม่้อั้น (นิยมใชเติมหลังคำกริยา) | 何気無く | [なにげなく, nanigenaku] ไม่ตั้งใจ, ไม่แสดงท่าทีใดๆ |
| 和らげる | [やわらげる, yawarageru] TH: ลดท่าทีให้อ่อนน้อมลง EN: to moderate |
| reichen | (vi) |reichte, hat gereicht| เพียงพอ เช่น so lange die Vorräte reichen ตราบเท่าที่ยังมีของ (วลีนี้พบบ่อยในเยอรมนีเวลาที่มีการโฆษณาลดราคาสินค้า), Syn. langen | bald | (adv) เร็วๆ นี้ เช่น Er kommt bald wieder. เขาจะกลับมาเร็วๆ นี้, so bald wie möglich เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ | je | (adv) เคย, เท่าที่เคยมา เช่น Sie ist glcklicher als je. เธอมีความสุขกว่าที่เคยเป็น, Syn. jemals | je zuvor | (adv) เท่าที่เคยเป็นมาก่อนหน้านี้ |
|
เพิ่มคำศัพท์
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Are you satisfied with the result?
Discussions | | |