กั้นหยั่น | น. มีดปลายแหลม มีคม ๒ ข้าง ส่วนของใบมีดตั้งแต่กั่นถึงปลายใหญ่เท่ากัน เป็นอาวุธ สอดเข้าฝัก ใช้เหน็บเอว. |
ขาหยั่ง | (-หฺยั่ง) น. ไม้ ๓ อันผูกปลายรวมกันและกางออกไป สำหรับตั้งหรือห้อยของต่าง ๆ. |
แม่หยั่วเมือง | น. คำเรียกพระสนมเอกครั้งโบราณ, เขียนว่า แม่ยั่วเมือง หรือ แม่อยั่วเมือง ก็มี. |
หยั่ง | ก. วัดดูเพื่อให้รู้ตื้นลึก เช่น เอาถ่อหยั่งน้ำ, คาดคะเนดู เช่น หยั่งใจ. |
หยั่งทราบ, หยั่งรู้ | ก. เล็งรู้ความจริง, ค้นหาเพื่อให้รู้ความจริง. |
หยั่งเสียง | ก. ลองพูดหรือทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อฟังความคิดเห็นจากผู้อื่นหรือคนจำนวนมาก, ซาวเสียง ก็ว่า. |
หยั่วเมือง | ว. คำเรียกพระสนมเอกครั้งโบราณ ว่า แม่หยั่วเมือง, อยั่วเมือง หรือ ยั่วเมือง ก็ว่า. |
กระแต ๑ | น. ชื่อฆ้องวงขนาดเล็ก ใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์มอญ ลักษณะร้านฆ้องเป็นรูปเว้าหงายขึ้น คล้ายฆ้องมอญแต่ปลายไม่สูง วงหนึ่งมีลูกฆ้อง ๑๑ ลูก, ฆ้องขนาดเล็กลูกเดียวแขวนกับไม้ ใช้มือหิ้วหรือแขวนไม้กับไม้ขาหยั่ง ใช้ตีเป็นสัญญาณในการอยู่เวรยามหรือแจ้งข่าวสารต่าง ๆ, ทั้ง ๒ ชนิดเรียกว่า ฆ้องกระแต. |
กระยาง ๑ | น. ขาหยั่ง เช่น อ้ายเหล่าเที่ยววิด พบหนองป้องปิด ทำเปนเชิงราง เอาไม้สามอัน ปักไว้เปนกระยาง แขวนโพงตรงกลาง สาดนํ้าเอาปลา (คำพากย์เรื่องสุบิน), เขียนเป็น กระหยาง ก็มี เช่น ปักไว้เปนกระหยาง (สุบินคำพากย์). |
กลองทัด | น. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง มีรูปทรงกระบอก ตรงกลางป่องออกเล็กน้อย ขึ้นหนัง ๒ หน้า มีหูเรียกว่า หูระวิง สำหรับร้อยไม้ขาหยั่ง ใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์ ชุดหนึ่งอาจมี ๒-๓ ใบ, ถ้าใช้ใบเดียวแขวนที่หอกลองในวัด เรียกว่า กลองเพล. |
กั่น | น. ส่วนที่ถัดจากโคนอาวุธ เช่นหอก ดาบ หรือเครื่องมือ เช่นสิ่ว บุ้ง สำหรับหยั่งลงไปในด้าม. |
โคน ๒ | น. ชื่อเห็ดหลายชนิดในสกุล Termitomyces วงศ์ Amanitaceae ขึ้นบริเวณจอมปลวก ดอกเห็ดรูปร่ม ยอดแหลม สีขาวนวลจนถึงนํ้าตาลดำ ด้านล่างมีครีบก้านยาวตั้งตรง โคนเรียวเล็กหยั่งลึกลงไปถึงรังปลวก กินได้ เช่น ชนิด T. fuliginosusHeim. |
ฆ้องโหม่ง | น. ฆ้องขนาดใหญ่รองลงมาจากฆ้องชัย มีเชือกร้อยรูทั้ง ๒ ที่ใบฉัตร แขวนห้อยในแนวดิ่งกับขาหยั่งหรือคานไม้ หัวไม้ที่ใช้ตีพันด้วยผ้าหรือเชือกให้เป็นปุ่มโตอ่อนนุ่ม เวลาตีจะมีเสียงดังโหม่ง ๆ ใช้ตีกำกับจังหวะในวงปี่พาทย์ วงเครื่องสาย วงมโหรี และวงเถิดเทิง, สมัยโบราณใช้ตีในเวลากลางวันเป็นสัญญาณบอกเวลา “โมง” คู่กับกลองที่ตีเป็นสัญญาณในเวลากลางคืนบอกเวลา “ทุ่ม”. |
จังกา | น. ไม้ขาหยั่ง. |
ชิมลาง | ก. หยั่งดูท่าทีหรือเหตุการณ์ว่าจะดีหรือร้าย. |
เชิง ๒ | ท่าที, ท่วงที, เช่น คุมเชิง หยั่งเชิง ลองเชิง |
โชงโลง | น. เครื่องมือชนิดหนึ่งสำหรับวิดน้ำ ลักษณะคล้ายลูกฟักผ่าซีกและตัดครึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ มีคันยาวต่อออกไปทางท้ายสำหรับจับ ผูกโยงแขวนไว้กับขาหยั่ง แล้วจับคันจ้วงน้ำสาดออกไปยังที่ที่ต้องการ, ชงโลง ก็ว่า, อีสานเรียก กะโซ้, พายัพเรียก กระโจ้, ปักษ์ใต้เรียก โพง. |
ซาวเสียง | ก. ลองพูดหรือทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อฟังความคิดเห็นจากผู้อื่นหรือคนจำนวนมาก, หยั่งเสียง ก็ว่า. |
ญาณ, ญาณ- | (ยาน, ยานะ-, ยานนะ-) น. ปัญญาหยั่งรู้หรือกำหนดรู้ที่เกิดจากอำนาจสมาธิ, ความสามารถหยั่งรู้เป็นพิเศษ. |
ตื้น | ว. ตํ่าลงไปจากขอบน้อยกว่าปรกติ เช่น ชามก้นตื้น, หยั่งลงไปได้ไม่ไกลจากผิวหน้าหรือขอบบน เช่น นํ้าตื้น คลองตื้น, เข้าไปไม่ไกลจากขอบเป็นต้น เช่น ตรอกตื้น |
ทางใน | น. การหยั่งรู้ด้วยพลังจิต, โดยปริยายหมายถึงการนึกเดาเอาเอง. |
ทาบทาม | ว. หยั่งใจเขาดู, ลองหยั่งเสียงดู. |
นั่งทางใน | ก. นั่งเข้าสมาธิเพื่อหยั่งรู้ด้วยพลังจิต. |
นิพพิทาญาณ | น. ความรู้ที่ทำให้เบื่อหน่ายในทุกข์, ปัญญาสามารถหยั่งเห็นสังขารด้วยความหน่าย. |
บรรลาย ๑ | (บัน-) ก. ปราย, โปรย, เช่น หยั่งหยาดวลาหกบรรลาย (อุเทน). |
ปริญญา | (ปะริน-) น. ความกำหนดรู้, ความหยั่งรู้, ความรู้รอบ |
พรม ๑ | ตุ้มสำหรับหยั่งนํ้าตื้นลึกเมื่อเรือเดินใกล้ฝั่ง |
พล, พล- | (พน, พนละ-, พะละ-) น. กำลัง, มักใช้ประกอบคำอื่น เช่น พระทศพล อันเป็นพระนามพระพุทธเจ้า หมายความว่า ทรงมีพระญาณอันเป็นกำลัง ๑๐ ประการ มี ฐานาฐานญาณ คือ ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและสิ่งที่มิใช่ฐานะเป็นต้น |
มอระกู่ | น. เครื่องสูบยาของชาวอาหรับ ลักษณะเป็นขวดทรงสูงหรือหม้อมีขาหยั่ง ด้านบนมีถ้วยสำหรับใส่ยาเส้นผสมเครื่องเทศ เครื่องหอม หรือผลไม้ มีฝาปิด มีท่อต่อจากถ้วยยาลงมาถึงก้นขวดที่มีน้ำหล่ออยู่ เมื่อดูดจะทำให้ควันผ่านน้ำขึ้นมา, เขียนเป็น มรกู่ มระกู่ มะระกู่ หรือ มาระกู่ ก็มี เช่น ออกจากเก๋งเล็งแลเห็นแต่แขก ด้วยแปลงแปลกปลอมปนคนทั้งหลาย มีตุ้งก่ามาระกู่เหมือนผู้ชาย พระมุ่งหมายมองตามดูทรามเชย (อภัย) (ช.). |
แม่ยั่วเมือง | น. คำเรียกพระสนมเอกครั้งโบราณ, เขียนว่า แม่หยั่วเมือง หรือ แม่อยั่วเมือง ก็มี. |
แม่อยั่วเมือง | น. คำเรียกพระสนมเอกครั้งโบราณ, เขียนว่า แม่ยั่วเมือง หรือ แม่หยั่วเมือง ก็มี. |
ยั่วเมือง | ว. คำเรียกพระสนมเอกครั้งโบราณ ว่า แม่ยั่วเมือง, อยั่วเมือง หรือ หยั่วเมือง ก็ว่า. |
แย็บ | โดยปริยายหมายความว่า ลองเชิง, หยั่งดูท่าที. |
โยคาพจร, โยคาวจร | (โยคาพะจอน, -วะจอน) น. ผู้หยั่งลงสู่ความเพียร, ผู้มีความเพียร, (มักใช้เรียกพระภิกษุผู้เรียนสมถะและวิปัสสนา). |
รากแก้ว | น. รากเดิม, รากแรกที่เป็นรากหลักของพืช มักจะหยั่งลึกลงไปในดินและมีรากแขนงซึ่งมีขนาดเล็กกว่า. |
ล้วง | ก. เอามือสอดเข้าไปในที่ซึ่งเป็นช่องเป็นรู เช่น เดินเอามือล้วงกระเป๋ากางเกง, โดยปริยายหมายความว่า หยั่งเอาความรู้ความคิดที่เขาปิดบังไว้ เช่น ล้วงความลับ ล้วงข้อสอบ. |
ลอง ๒ | หยั่งท่าที เช่น ลองชวนเขาไปเที่ยวซิ ลองเกี้ยวเขาดู. |
ลองเชิง | ก. หยั่งท่าทีดูว่ามีความสามารถแค่ไหน เช่น นักมวยประหมัดเบา ๆ ลองเชิงคู่ต่อสู้, คะนอง, ตื่นเต้น, โลดโผน. |
ล้ำลึก | ว. ลึกมากจนยากที่จะหยั่งถึง, ลึกล้ำ ก็ว่า. |
ลึก | หยั่งรู้ได้ยาก เช่น ความคิดลึก |
ลึกซึ้ง | ว. ลึกมากจนยากที่จะหยั่งรู้ได้ เช่น ปัญหาลึกซึ้ง คิดลึกซึ้ง. |
ลึกล้ำ | ว. ลึกมากจนยากที่จะหยั่งถึง เช่น ปัญญาลึกล้ำ จิตมนุษย์สุดลึกล้ำ, ล้ำลึก ก็ว่า. |
เลียบเคียง, เลียบ ๆ เคียง ๆ | ก. หาทางใช้คำพูดหรือแสดงอาการกรายเข้าไปใกล้ ๆ เพื่อหยั่งเชิงเขาดู เช่น เลียบ ๆ เคียง ๆ เพื่อจะขอยืมเงิน. |
สัจญาณ | (สัดจะ-) น. ความรู้เรื่องแห่งความจริง, ในพระพุทธศาสนาประสงค์เอาปรีชาหยั่งรู้อริยสัจ. |
อคาธ | (อะคาด) ว. หยั่งไม่ถึง. |
อยั่วเมือง | ว. คำเรียกพระสนมเอกครั้งโบราณ ว่า แม่อยั่วเมือง, หยั่วเมือง หรือ ยั่วเมือง ก็ว่า. |