ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: ราชสีห์, -ราชสีห์- |
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่ น้ำนมราชสีห์ | น. กล้วยชนิดหนึ่ง ผลคล้ายกล้วยกรัน สุกรสหวานเย็น มีกลิ่นหอม. | น้ำนมราชสีห์ | ชื่อไม้ล้มลุกขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล Euphorbia วงศ์ Euphorbiaceae ใบออกตรงข้ามกัน ทุกส่วนมียางขาวคล้ายนํ้านม ใช้ทำยาได้ เช่น ชนิด E. hirta L. ต้นและใบมีขน. | ราชสีห์ | น. พญาสิงโต, สิงหราช หรือ สีหราช ก็เรียก | ราชสีห์ | สัตว์ในนิยาย ถือว่ามีความดุร้ายและมีกำลังมาก, สิงห์ ก็เรียก. | ราชสีห์ตัวผู้ | น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์บุรพอาษาฒ มี ๓ ดวง, ดาวสัปคับช้าง ดาวปุรพษาฒ หรือ ดาวบุพพาสาฬหะ ก็เรียก. | ราชสีห์ตัวเมีย | น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อุตราษาฒ มี ๕ ดวง, ดาวแตรงอน ดาวอุตตรอาษาฒ หรือ ดาวอุตตราสาฬหะ ก็เรียก. | ราชสีห์สองตัวอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้ | น. คนที่มีอำนาจหรืออิทธิพลพอ ๆ กันอยู่รวมกันไม่ได้, เสือสองตัวอยู่ถํ้าเดียวกันไม่ได้ หรือ จระเข้สองตัวอยู่ถํ้าเดียวกันไม่ได้ ก็ว่า. | กฎหมายตราสามดวง | น. ประมวลกฎหมายโบราณของไทยซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดเกล้าฯ ให้ชำระและปรับปรุงแก้ไขตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงต้นรัตนโกสินทร์ เมื่อทำเสร็จแล้วได้ประทับดวงตราพระราชสีห์ พระคชสีห์ และบัวแก้ว ไว้เป็นสำคัญ จึงเรียกว่า กฎหมายตราสามดวง. | เกสรี | (เกสะรี, เกดสะรี) น. สิงโต, สิงห์, ราชสีห์. | ไกรสิทธิ | (ไกฺรสิด) น. ราชสีห์ เช่น สูจงนฤมิตรเป็นราชไกรสิทธิ (ม. คำหลวง มัทรี). | คชสีห์ | น. สัตว์ในนิยายมีรูปเหมือนราชสีห์ แต่มีงวงเหมือนช้าง. | ตรา | (ตฺรา) น. เครื่องหมายทำเป็นรูปต่าง ๆ มีลวดลายประดับ สำหรับประทับเป็นสัญลักษณ์แทนบุคคลหรือองค์กรเป็นต้น เช่น ตราพระราชสีห์ ตราพระคชสีห์ ตราบัวแก้ว หรือสำหรับเป็นเครื่องประดับในจำพวกราชอิสริยาภรณ์ เช่น ตราช้างเผือก หรือสำหรับเป็นเครื่องหมายการค้า เช่น ผ้าตรานกอินทรี. | ตะแก, ตะแก่ | ตาแก่ เช่น ตะแกก็กลับกลักพริกกลักงาว่าใส่สารตราพระราชสีห์ (ม. ร่ายยาว ชูชก). | แตรงอน | ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อุตราษาฒ มี ๕ ดวง, ดาวราชสีห์ตัวเมีย ดาวอุตตราอาษาฒ หรือ ดาวอุตตราสาฬหะ ก็เรียก. | นรสิงห์ | (นอระ-) น. คนที่เก่งกล้าดุจราชสีห์, อวตารปางหนึ่งของพระนารายณ์ มีหน้าเป็นสิงห์ตัวเป็นมนุษย์. | นรสีห์ | (นอระ-) น. คนที่เก่งกล้าดุจราชสีห์, สัตว์หิมพานต์พวกหนึ่ง ท่อนบนเป็นมนุษย์ผู้ชาย ท่อนล่างเป็นราชสีห์. | นักษัตร ๑, นักษัตร- | (นักสัด, นักสัดตฺระ-) น. ดาว, ดาวฤกษ์, มี ๒๗ หมู่ คือ ๑. อัศวินี, อัสสนี (ดาวม้า ดาวคอม้า ดาวคู่ม้า หรือ ดาวอัศวยุช) มี ๗ ดวง ๒. ภรณี (ดาวก้อนเส้า) มี ๓ ดวง ๓. กฤติกา, กฤตติกา, กัตติกา (ดาวธงสามเหลี่ยม หรือ ดาวลูกไก่) มี ๘ ดวง ๔. โรหิณี (ดาวพราหมี ดาวปลาตะเพียน หรือ ดาวคางหมู) มี ๗ ดวง ๕. มฤคศิระ, มฤคเศียร, มิคสิระ (ดาวหัวเต่า ดาวหัวเนื้อ ดาวศีรษะเนื้อ ดาวศีรษะโค ดาวมฤคศิรัส หรือ ดาวอาครหายณี) มี ๓ ดวง ๖. อารทรา (ดาวอัททา ดาวตัวโค หรือ ดาวตาสำเภา) มี ๑ ดวง ๗. ปุนัพสุ, ปุนัพพสู (ดาวหัวสำเภา ดาวสำเภาทอง ดาวสะเภา ดาวยามเกา หรือ ดาวตาเรือชัย) มี ๓ ดวง ๘. บุษยะ, บุษย์, ปุษยะ, ปุสสะ (ดาวปุยฝ้าย ดาวพวงดอกไม้ ดาวดอกบัว ดาวโลง ดาวปู ดาวสมอสำเภา หรือ ดาวสิธยะ) มี ๕ ดวง ๙. อาศเลษา, อสิเลสะ (ดาวเรือน หรือ ดาวนกอยู่ในปล่อง) มี ๕ ดวง ๑๐. มฆะ, มฆา, มาฆะ (ดาวโคมูตร ดาววานร ดาวงอนไถ หรือ ดาวงูผู้) มี ๕ ดวง ๑๑. บุรพผลคุนี, ปุรพผลคุนี, ปุพพผลคุนี (ดาววัวตัวผู้ หรือ ดาวงูเมีย) มี ๒ ดวง ๑๒. อุตรผลคุนี, อุตตรผลคุนี (ดาวเพดาน หรือ ดาววัวตัวเมีย) มี ๒ ดวง ๑๓. หัสต, หัสตะ, หัฏฐะ (ดาวศอกคู้ หรือ ดาวศีรษะช้าง) มี ๕ ดวง ๑๔. จิตระ, จิตรา (ดาวต่อมนํ้า ดาวไต้ไฟ ดาวตาจระเข้ หรือ ดาวเสือ) มี ๑ ดวง ๑๕. สวาดิ, สวาตี, สวัสติ (ดาวช้างพัง หรือ ดาวงูเหลือม) มี ๕ ดวง ๑๖. วิศาขา, วิสาขะ (ดาวคันฉัตร หรือ ดาวศีรษะกระบือ) มี ๕ ดวง ๑๗. อนุราธ, อนุราธะ, อนุราธา (ดาวประจำฉัตร หรือ ดาวนกยูง) มี ๔ ดวง ๑๘. เชษฐะ, เชษฐา (ดาวงาช้าง ดาวช้างใหญ่ ดาวคอนาค หรือ ดาวแพะ) มี ๑๔ ดวง ๑๙. มูล, มูละ, มูลา (ดาวช้างน้อย หรือ ดาวแมว) มี ๙ ดวง ๒๐. ปุรพษาฒ, บุรพอาษาฒ, บุพพาสาฬหะ (ดาวสัปคับช้าง หรือ ดาวราชสีห์ตัวผู้) มี ๓ ดวง ๒๑. อุตราษาฒ, อุตตรอาษาฒ, อุตตราสาฬหะ (ดาวแตรงอน หรือ ดาวราชสีห์ตัวเมีย) มี ๕ ดวง ๒๒. ศรวณะ, ศระวณ, สาวนะ (ดาวหลักชัย หรือ ดาวพระฤๅษี) มี ๓ ดวง ๒๓. ธนิษฐะ, ธนิษฐา (ดาวศรวิษฐา ดาวเศรษฐี ดาวไซ หรือ ดาวกา) มี ๔ ดวง ๒๔. ศตภิษัช, สตภิสชะ (ดาวพิมพ์ทอง หรือ ดาวยักษ์) มี ๔ ดวง ๒๕. บุรพภัทรบท, ปุพพภัททะ (ดาวโปฐบท ดาวแรดตัวผู้ หรือ ดาวหัวเนื้อทราย) มี ๒ ดวง ๒๖. อุตรภัทรบท, อุตตรภัทรบท, อุตตรภัททะ (ดาวแรดตัวเมีย หรือ ดาวไม้เท้า) มี ๒ ดวง ๒๗. เรวดี (ดาวปลาตะเพียน หรือ ดาวนาง) มี ๑๖ ดวง. | บุพพาสาฬหะ, บุรพอาษาฒ, ปุรพษาฒ | (-พาสานหะ, -พาสานละหะ, บุระพะอาสาด, บุบพะอาสาด, ปุระพะสาด) น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๐ มี ๓ ดวง เห็นเป็นรูปปากนกหรือช้างพลาย, ดาวสัปคับช้าง หรือ ดาวราชสีห์ตัวผู้ ก็เรียก. | บุรพภัทรบท, ปุพพะภัททะ | (-พัดทฺระบด, ปุบพะพัดทะ) น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๕ มี ๒ ดวง เห็นเป็นรูปราชสีห์ตัวผู้หรือเพดานตอนหน้า, ดาวโปฐบท ดาวแรดตัวผู้ หรือ ดาวหัวเนื้อทราย ก็เรียก. | บุรพอาษาฒ, บุพพาสาฬหะ, ปุรพษาฒ | (-อาสาด, บุบพาสานหะ, บุบพาสานละหะ, ปุระพะสาด) น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๐ มี ๓ ดวง เห็นเป็นรูปปากนกหรือช้างพลาย, ดาวสัปคับช้าง หรือ ดาวราชสีห์ตัวผู้ ก็เรียก. | ปุพพภัททะ, บุรพภัทรบท | (ปุบพะ-, บุระพะพัดทฺระบด, บุบพะพัดทฺระบด) น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๕ มี ๒ ดวง เห็นเป็นรูปราชสีห์ตัวผู้หรือเพดานตอนหน้า, ดาวโปฐบท ดาวแรดตัวผู้ หรือ ดาวหัวเนื้อทราย ก็เรียก. | ปุรพษาฒ, บุรพอาษาฒ, บุพพาสาฬหะ | (ปุระพะ-, บุระพะ-, บุบพะ-, บุบพาสานหะ, บุบพาสานละหะ) น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๐ มี ๓ ดวง เห็นเป็นรูปปากนกหรือช้างพลาย, ดาวสัปคับช้าง หรือ ดาวราชสีห์ตัวผู้ ก็เรียก. | มฤคราช | น. ราชสีห์. | มฤคินทร์, มฤเคนทร์ | (มะรึคิน, -เคน) น. ราชสีห์. | ราช ๑, ราช- | (ราด, ราดชะ-) น. พระเจ้าแผ่นดิน, พญา (ใช้แก่สัตว์) เช่น นาคราช คือ พญานาค สีหราช คือ พญาราชสีห์, คำนี้มักใช้ประกอบกับคำอื่น, ถ้าคำเดียวมักใช้ว่า ราชา. | ไว้ชีวิต | ก. ให้มีชีวิตอยู่ต่อไป, ปล่อยให้รอดชีวิต, เช่น ราชสีห์ไว้ชีวิตหนู. | สรภะ | (สะระ-) น. สัตว์ในนิยายว่ามี ๘ ขา มีกำลังยิ่งกว่าราชสีห์. | สัปคับช้าง | น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์บุรพอาษาฒ มี ๓ ดวง, ดาวราชสีห์ตัวผู้ ดาวปุรพษาฒ หรือ ดาวบุพพาสาฬหะ ก็เรียก. | สิงห-, สิงห์ | (สิงหะ-) น. สัตว์ในนิยาย ถือว่ามีความดุร้ายและมีกำลังมาก, ราชสีห์ ก็เรียก | สิงหนาท | น. พระราชดำรัสอันเป็นที่น่าเกรงขามของคนทั้งปวง เหมือนเสียงของราชสีห์เป็นที่น่าเกรงขามของสัตว์ทั้งปวง, เสียงตวาดของนักรบเพื่อให้เป็นที่เกรงขามของข้าศึก, สีหนาท ก็ว่า. | สิงหราช | น. พญาราชสีห์, สีหราช ก็ว่า. | สีห-, สีห์, สีหะ | น. ราชสีห์ เช่น ราชสีห์อาจจะตั้งใจหมายความว่า สีหะ ตัวที่เป็นนายฝูง (สาส์นสมเด็จ). (ดู สิงห-, สิงห์). | สีหราช | น. พญาราชสีห์, สิงหราช ก็ว่า. | สีหไสยา, สีหไสยาสน์ | น. ท่านอนอย่างราชสีห์ คือ นอนตะแคงขวา แขนซ้ายพาดไปตามลำตัว เท้าซ้ายซ้อนบนเท้าขวา มือขวารองรับศีรษะด้านข้าง. | สุรสีหนาท | น. พระดำรัสอันเป็นที่น่าเกรงขามของคนทั้งปวงเหมือนเสียงของราชสีห์เป็นที่น่าเกรงขามของสัตว์ทั้งปวง, เสียงตวาดของนักรบเพื่อให้เป็นที่เกรงขามของข้าศึก. | อิงค์ | น. ท่าทาง, อาการ, มักใช้เป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น พุทธสิหิงค์ ซึ่งเป็นนามพระพุทธรูป หมายความว่า พระพุทธรูปที่มีท่าทางสง่างามดุจราชสีห์. | อุตรภัทรบท, อุตตรภัทรบท, อุตตรภัททะ | (อุดตะระพัดทฺระบด, อุดตะระพัดทะ) น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๖ มี ๒ ดวง เห็นเป็นรูปราชสีห์ตัวเมียหรือเพดานตอนหลัง, ดาวแรดตัวเมีย หรือ ดาวไม้เท้า ก็เรียก. | อุตราษาฒ, อุตตราอาษาฒ, อุตตราสาฬหะ | (อุดตะราสาด, อุดตะราอาสาด, อุดตะราสานหะ) น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๑ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูปครุฑหรือช้างพัง, ดาวแตรงอน หรือ ดาวราชสีห์ตัวเมีย ก็เรียก. |
|
| | | lion | (ไล'เอิน) n. สิงโต, ราชสีห์, ชายที่แข็งแรงมากและกล้าหาญมาก, ผู้ที่มีชื่อเสียง, บุคคลสำคัญ, สิ่งสำคัญ, Syn. dignitary |
| 獅子 | [しし, shishi] (n) สิงโต ราชสีห์, See also: R. 獅子座 |
|
เพิ่มคำศัพท์
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Are you satisfied with the result?
Discussions | | |