กระดี่ ๑ | น. ชื่อปลานํ้าจืดในสกุล Trichogaster วงศ์ Belontiidae เช่นเดียวกับปลาสลิดแต่มีขนาดเล็กกว่า ครีบท้องยาวยื่นเป็นเส้น มี ๓ ชนิด คือ กระดี่หม้อ [ T. trichopterus (Pallas) ] ข้างตัวมีลายหลายเส้นพาดขวาง มีจุดดำที่กลางลำตัวและคอดหางแห่งละ ๑ จุด ขนาดยาวได้ถึง ๑๕ เซนติเมตร, สลาก หรือ สลาง ก็เรียก, กระดี่นาง [ T. microlepis (Günther) ] สีขาวนวล และ กระดี่นางฟ้าหรือกระดี่มุก [ T. leeri (Bleeker) ] พบเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม, บางท้องถิ่นในแถบอีสานเรียก กระเดิด. |
กระโห้ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Catlocarpio siamensis Boulenger ในวงศ์ Cyprinidae หัวโตมากโดยเฉพาะปลาขนาดเล็ก เกล็ดใหญ่ ลำตัวด้านหลังสีเทาดำ หางและครีบสีแดงคลํ้าหรือส้ม พบในแม่นํ้าใหญ่หลายสายของประเทศไทย เคยพบขนาดยาวได้ถึง ๓ เมตร จัดเป็นปลานํ้าจืดในกลุ่มปลาตะเพียนที่ใหญ่ที่สุดในโลก, กระมัน หรือ หัวมัน ก็เรียก. |
ก้าง ๒ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Channa orientalis (Schneider) ในวงศ์ Channidae คล้ายปลาช่อนซึ่งเป็นปลาสกุลเดียวกัน แต่ตัวเล็กกว่า เว้นแต่ปลาก้างนั้นเกล็ดข้างตัวมีราว ๔๑-๔๕ เกล็ด ขอบครีบต่าง ๆ เป็นสีส้ม มักพบหลบอยู่ตามแหล่งน้ำตื้นที่มีใบไม้จมอยู่ ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร, ขี้ก้าง ก็เรียก. |
กุแล | ทั้งหมดเป็นปลาผิวนํ้า อยู่กันเป็นฝูง ปลาขนาดเล็กอาจเข้ามาอยู่ใกล้ฝั่งหรือในนํ้ากร่อย, หลังเขียว ก็เรียก. |
เก๋า ๑ | น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Serranidae (Epinephelidae) ปลาเหล่านี้เมื่อมีขนาดเล็กมักเรียก เก๋า เมื่อมีขนาดกลางและขนาดโตมักเรียก กะรัง หรือหมอทะเล ส่วนขนาดโตมากเรียก หมอทะเล ส่วนใหญ่ลำตัวยาว ป้อม ล่ำสั้น แบนข้างเล็กน้อย ปลายครีบต่าง ๆ มนกลม เฉพาะปลายครีบหางของบางชนิดเว้า บ้างก็ตัดตรง เกล็ดเล็กคลุมทั่วตัวรวมทั้งหัวและล้ำไปบนครีบเดี่ยว ลำตัวรวมทั้งครีบมักมีสีต่าง ๆ โดยเปลี่ยนไปตามขนาด เป็นแต้ม ด่าง ดวง ลาย หรือจุดประคล้ำทึบ แต่บางชนิดก็มีสีแดงหรือเทาโดยตลอด พบอาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเลและชายฝั่งที่มีที่หลบซ่อน แต่ส่วนใหญ่จะพบบริเวณใกล้หรือในเขตปะการัง ชนิด Epinephelus merra Bloch, E. sexfasiatus (Valenciennes), Cephalopholis boenak (Bloch) ยาวเพียงไม่เกิน ๒๖ เซนติเมตร ส่วนชนิด Promicrops lanceolatus (Bloch) ขนาดยาวไม่ถึง ๒.๗ เซนติเมตร และเป็นปลากระดูกแข็งชนิดหนึ่งที่ใหญ่ที่สุดของโลก ชื่อ เก๋า ตุ๊กแก กะรัง เป็นชื่อทั่วไปที่มักใช้เรียกปลาเกือบทุกชนิดในวงศ์นี้ที่มีขนาดไม่โตนัก สำหรับชื่อ กะรัง และหมอทะเล มักพบเรียกปลาพวกนี้ที่มีขนาดโตจนถึงยาว ๐.๕-๑.๕ เมตร ส่วน หมอทะเล ใช้เรียกชนิด P. l. (Bloch) . |
ข้าวปั้น | ชื่ออาหารแบบญี่ปุ่นชนิดหนึ่ง ทำจากข้าวญี่ปุ่นซึ่งปรุงรสด้วยน้ำตาล น้ำส้ม เกลือ เป็นต้น ปั้นเป็นก้อนขนาดพอคำ มีหน้าเป็นปลาดิบสด ปลาหมึก กุ้ง ไข่ เป็นต้น กินกับซอสญี่ปุ่น. |
ข้าวเม่า ๒ | น. ชื่อปลาทะเลและปลานํ้าจืดหลายชนิด ในสกุล Ambassis วงศ์ Ambassidae หรือมีผู้รวมไว้กับวงศ์ Centropomidae เป็นปลาขนาดเล็ก ยาวได้ถึง ๑๕ เซนติเมตร ลำตัวแบนข้าง ค่อนข้างใส ก้านครีบแข็ง แหลม และมักชี้กางทำให้ทิ่มตำเมื่อจับต้อง ยังพบมีผู้เรียกปลาทะเลชนิด Ephippus orbis Bloch ในวงศ์ Ephippidae และปลานํ้าจืดในสกุล Chela วงศ์ Cyprinidae ว่า ปลาข้าวเม่า ด้วย, สำหรับปลาในวงศ์ Ambassidae เกล็ดข้าวเม่า หรือ แป้น ก็เรียก. |
ค็อด | น. ชื่อปลาทะเลขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีถิ่นกำเนิดแถบเขตหนาวของซีกโลกด้านเหนือ มีหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Gadidae ลำตัวยาวได้ถึง ๑๗๕ เซนติเมตร แบนข้างเล็กน้อย และเรียวไปทางข้างหาง เป็นปลาล่าเหยื่อ อยู่เป็นฝูงโดยเฉพาะขณะเดินทางเพื่อสืบพันธุ์ คนไทยรู้จักชื่อปลาค็อดมานาน คือ น้ำมันตับปลาปลาค็อด. |
เงือก ๒ | น. สัตว์นํ้าในนิยาย เล่ากันว่าท่อนบนเป็นคน ท่อนล่างเป็นปลา. |
จาด ๒ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Neolissochilus stracheyi ในวงศ์ Cyprinidae ปากเล็ก ลำตัวยาว เกล็ดใหญ่ รูปร่างคล้ายทรงกระบอก ลำตัวสีเงิน ด้านหลังสีเขียวเข้ม อาศัยอยู่ในแหล่งนํ้าสะอาดใกล้ต้นนํ้า เป็นปลาขนาดใหญ่ ยาวได้ถึง ๑ เมตร, พลวง หรือ โพ ก็เรียก. |
ฉนาก | (ฉะหฺนาก) น. ชื่อปลาทะเลขนาดใหญ่ในสกุล Anoxypristis และ Pristis วงศ์ Pristidae เป็นปลากระดูกอ่อนอยู่ในกลุ่มปลากระเบน ขนาดยาวได้ถึง ๒ เมตร มีเหงือก ๕ คู่อยู่ใต้ส่วนหัว บริเวณปลายสุดของหัวมีแผ่นกระดูกยื่นยาวมาก ขอบทั้ง ๒ ข้างมีซี่กระดูกแข็งคล้ายฟันเลื่อยเรียงห่างกันอย่างสมํ่าเสมอข้างละ ๑ แถวโดยตลอด ชนิด A. Cuspidata Latham หรือ P. cuspidatus Latham มี ๑๖-๒๙ คู่, ชนิด P. microdon Latham มี ๑๔-๒๓ คู่. |
ฉลาม | (ฉะหฺลาม) น. ชื่อปลาทะเลหลายวงศ์ในอันดับ Lamniformes เป็นปลากระดูกอ่อน ขนาดยาวได้ถึง ๒๑.๔ เมตร ส่วนใหญ่มีช่องเหงือก ๕ คู่อยู่ข้างส่วนหัว แฉกบนของหางยกสูงขึ้นและยาวมาก ตัวผู้ขอบในของครีบท้องขยายใหญ่มีแท่งอวัยวะสืบพันธุ์ เรียกว่า ตะเกียบหรือเดือย บางชนิดเป็นปลาผิวนํ้า เช่น ฉลามหนู [ Scoliodon sorrakowah (Cuvier) หรือ S. laticaudus Müller & Henle ], ฉลามเสือ เสือทะเล พิมพา หรือ ตะเพียนทอง [ Galeocerdo cuvieri (Peron & Le Sueur) ] บางชนิดอยู่ตามพื้นท้องทะเล เช่น ฉลามกบหรือฉลามหิน [ Chiloscyllium plagiosum (Bennett) ] บางชนิดอยู่ในนํ้าลึกมาก เช่น ฉลามนํ้าลึก ( Squalus acanthiasLinn.) บางชนิดขนาดใหญ่มาก เช่น ฉลามวาฬ ( Rhincodon typus Smith) ชนิดที่หัวแผ่แบน เรียก ฉลามหัวค้อน หรือ อ้ายแบ้ เช่น ชนิด Sphyrna leweni (Griffith & Smith). |
ชฎาพอก | น. ลอมพอกที่ประดับมาลัยรักร้อย และมีเกี้ยวรัดรอบส่วนที่ต่อขึ้นไปเป็นปลายชฎา. |
ช้างน้ำ | น. สัตว์ในนิยาย มีรูปร่างเหมือนช้าง มีงวงและงาคล้ายช้าง หางเป็นปลา. |
ซาบะ | น. ชื่อปลาทะเลขนาดกลาง มี ๓ ชนิด คือ ชนิด Scomber australasicus Cuvier ชนิด S. japonicas Houttuyn และชนิด S. scombrus Linn. ในวงศ์ Scombridae ลำตัวกลมยาว เรียวไปทางคอดหาง ชนิดแรกมีลวดลายสีน้ำเงินเข้มเป็นเส้นทะแยงหยักเรียงขนานชิดกันเป็นระเบียบอยู่เหนือเส้นข้างตัว ที่ต่ำลงไปจนถึงท้องลวดลายจะแตกเป็นจุดประสีเทาจางกระจายอยู่ทั่วไป ส่วนชนิดที่ ๒ มีลวดลายหยิกหยักสีน้ำเงินจางกว่า และกินบริเวณเกือบถึงแนวกลางลำตัว ๒ ชนิดแรกเป็นปลาฝูง พบกระจายพันธุ์อยู่ในเขตมหาสมุทรแปซิฟิกและอินเดีย ชนิดที่ ๓ มีลายสีน้ำเงินเป็นริ้วขวางอยู่ครึ่งบนของลำตัว พบอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกตอนเหนือและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน. |
ด้อง ๑ | น. ชื่อปลานํ้าจืดหลายชนิด ในสกุล Pterocryptis วงศ์ Siluridae ปากอยู่ต่ำเล็กน้อย หนวดยาวถึงโคนครีบอก ไม่มีเกล็ด ลักษณะคล้ายปลาเนื้ออ่อนพวกที่มีครีบหลัง เว้นแต่มีครีบก้นต่อเนื่องกับครีบหางที่มีขอบกลม ครีบอกมีก้านแข็งคล้ายเงี่ยง ขนาดยาวได้ถึง ๒๒ เซนติเมตร เป็นปลาหายาก. |
ตะพัด ๒ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Scleropages formosus (Müller & Schlegel) ในวงศ์ Osteoglossidae เป็นปลาโบราณที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน ลำตัวยาว แบนข้างตลอด แนวด้านข้างของสันหลังตรงโดยตลอด แนวสันท้องโค้ง ปากเชิดขึ้น ครีบหลังและครีบก้นอยู่ใกล้ครีบหางมาก ขอบหางกลม เกล็ดใหญ่ เส้นข้างตัวอยู่ใกล้แนวสันท้อง พื้นลำตัวเป็นสีเงินอมเทาหรือสีฟ้า พบเฉพาะบริเวณแหล่งนํ้าเขตภูเขาในจังหวัดตราดและจันทบุรี รวมทั้งบางจังหวัดในเขตภาคใต้ เช่น สุราษฎร์ธานี ขนาดยาวได้ถึง ๙๐ เซนติเมตร, มังกร ก็เรียก. |
ป่น | ก. ทำให้แหลกละเอียดด้วยการตำเป็นต้น เช่น ป่นเกลือ ป่นปลา ป่นพริก. |
ปลาเงินปลาทอง | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Carassius auratus (Linn.) ในวงศ์ Cyprinidae ซึ่งมีประวัติการคัดเลือกพันธุ์มานานจนมีลักษณะรูปร่างหลากหลายเพื่อเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เกล็ดทั่วลำตัวมักมีสีเงินหรือทอง แต่ก็อาจเป็นสีดำหรือด่าง ตัวที่มีสีเหลืองหรือแดงส้ม เรียก ปลาทอง กินทั้งพืชและสัตว์รวมทั้งอาหารสำเร็จรูป ขนาดยาวได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร. |
ปลาตู้ | น. ปลาที่เลี้ยงไว้ดูเล่นในตู้กระจก มักเป็นปลาที่มีรูปร่างสวยงามมีสีสันต่าง ๆ. |
ปลาทอง ๒ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Carassius auratus (Linn.) ในวงศ์ Cyprinidae เกล็ดสีเหลืองหรือสีแดงส้ม เลี้ยงเป็นปลาสวยงาม. (ดู ปลาเงินปลาทอง). |
แป้น ๒ | น. ชื่อปลาทะเลหรือปลานํ้ากร่อยในสกุล Leiognathus, Secutor และ Gazza วงศ์ Leiognathidae ส่วนใหญ่เป็นปลาขนาดเล็ก ลำตัวป้อม แบนข้างมาก มักมีสีเงินหรือสีเนื้อ อาจพบเป็นชื่อเรียกปลาข้าวเม่าในสกุล Ambassis วงศ์ Ambassidae ด้วย. |
ผมนาง | น. ชื่อปลาทะเลชนิด Alectis ciliaris (Bloch), A. indicus (Rüppell), Carangoides armatus (Rüppell) และ C. hedlandensis (Whitley) ในวงศ์ Carangidae รูปร่างแตกต่างกัน ส่วนใหญ่ลำตัวสั้น กว้าง แบนข้างมาก คอดหางเล็ก เกล็ดละเอียด เว้นแต่ที่ส่วนปลายของเส้นข้างตัว โดยเฉพาะบริเวณคอดหางเกล็ดจะขยายใหญ่เป็นสันแข็ง มีกระดูกเป็นหนาม ๒ อัน โผล่อยู่หน้าครีบก้น และพับลงในร่องได้ ที่สำคัญคือ ต่างก็มีส่วนหน้าของทั้งครีบหลังตอนที่ ๒ และครีบก้นที่เป็นเส้นยาวมาก ลำตัวสีเงิน เฉพาะใกล้สันหลังเป็นสีฟ้าอมเทา ในระยะที่เป็นปลาขนาดเล็กจะมีลายพาดขวางเป็นบั้งสีเทาอยู่หลายแถบ เส้นครีบที่เป็นลายยาวมีสีคลํ้าหรือดำ จึงได้ชื่อว่า ผมนาง เฉพาะปลาขนาดเล็กของชนิด A. indicus (Rüppell) ยังมีครีบท้องยาวมากและมีขนาดยาวได้ถึง ๑๕๐ เซนติเมตร, โฉมงาม ก็เรียก. |
ผีเสื้อ ๒ | น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในวงศ์ Chaetodontidae ยกเว้นปลาโนรี ( Heniochusspp.) ลำตัวสั้น กว้าง แบนข้างมาก ปากเล็ก บางชนิดปากยื่นยาวเป็นท่ออยู่ปลายสุดของหัว มีเกล็ดหนามคลุมถึงบนครีบหลัง ครีบก้น และครีบหาง สีสวยสด แตกต่างกันตามชนิด มักเป็นบั้ง แถบ หรือจุดคละกันหลายสี อาศัยอยู่ตามแนวหินปะการัง กินสัตว์น้ำขนาดเล็กหรือสาหร่าย ขนาดยาวตั้งแต่ ๑๐-๓๐ เซนติเมตร มีการนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม. |
ม้าน้ำ ๑ | น. ชื่อสัตว์ในวรรณคดี ท่อนบนเป็นม้า ท่อนล่างเป็นปลา. |
เล่งฮื้อ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Hypophthalmichthys molitrix (Valenciennes) ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวป้อม ท้องเป็นสันแหลม ตาอยู่ค่อนไปทางจะงอยปากแต่ต่ำกว่าแนวแกนลำตัว เกล็ดเล็กในแนวเส้นข้างตัวมี ๑๐๗-๑๑๕ เกล็ด เป็นปลาที่ชาวจีนนำมาเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่น ๆ ในบ่อเดียวกัน ขนาดยาวได้ถึง ๑ เมตร. |
สร้อยนกเขา | ชื่อปลาทะเลในสกุล Diagramma และ Plectorhynchus วงศ์ Haemulidae โดยเฉพาะชนิดที่มีจุดสีเข้มกระจายหรือเรียงเป็นแถวอยู่ข้างตัว หรือบนหัวและครีบ ที่พบทั่วไป คือ ชนิด D. pictum (Thunberg) ที่ขณะเป็นปลาขนาดเล็กจะมีแถบกว้างสีดำหรือม่วงดำพาดตามยาวตลอดลำตัวและครีบรวม ๓-๔ แถบ ขณะโตขึ้นแถบเหล่านี้จะแตกออกกลายเป็นจุดใหญ่และเล็กลงตามลำดับ ปลาที่มีขนาดโตมีสีเทาและจุดเหล่านี้จะเล็กลงอีกจนอาจจางหายไปจากบริเวณหัวและท้องคงปรากฏอยู่เฉพาะบริเวณหลัง ครีบหลัง และครีบหางเท่านั้นขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร, สร้อยปากหมู ข้างตะเภา หรือ ตะเภา ก็เรียก. |
สลิด ๒ | (สะหฺลิด) น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Trichogaster pectoralis Regan ในวงศ์ Belontiidae รูปร่างคล้ายปลากระดี่ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน มีเกล็ดเล็กและไม่มีจุดดำข้างตัว แต่มีลายสีคลํ้าหลายแนวพาดเฉียงตลอดข้างลำตัว และมีขนาดโต กว่าถึง ๒๐ เซนติเมตร พบตามแหล่งนํ้าตื้นและนิ่งที่มีพืชน้ำ เช่น หนอง คลอง บึง ทั่วไป ทำรังเป็นหวอดที่ผิวนํ้า นำมาเลี้ยงและทำเป็นปลาตากแห้งได้คุณภาพดี, คำสุภาพเรียกว่า ปลาใบไม้. |
สะตือ ๒ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Chitala Lopsis (Bleeker) ในวงศ์ Notopteridae รูปร่างคล้ายปลากราย แต่ไม่มีจุดดำเด่น มีจุดสีนํ้าตาลกระจายอยู่ทั่วตัว กินสัตว์น้ำขนาดเล็กในเวลากลางคืน พบทั่วไปแต่เป็นปลาหายาก ขนาดยาวได้ถึง ๑.๕ เมตร. |
สิงโต ๓ | น. ชื่อปลาทะเลในสกุล Pteroisและ Dendrochirusวงศ์ Scorpaenidae โดยเฉพาะชนิด P. volitans (Linn.) ส่วนหัวมีหนามแข็งและติ่งหรือริ้วเนื้อ ว่ายน้ำเชื่องช้ามากขณะที่ครีบต่าง ๆ โดยเฉพาะครีบอกและครีบหลังซึ่งมีขนาดใหญ่และยาวจะแผ่กว้าง ลำตัวโดยเฉพาะครีบต่าง ๆ มีสีฉูดฉาดเป็นริ้วลายหรือจุด ส่วนใหญ่เป็นสีแดงส้มสะดุดตา ก้านครีบแข็งมีพิษรุนแรง หากินสัตว์อื่นในเวลากลางคืน จัดเป็นปลาเด่นชนิดหนึ่งของปลาทะเลประเภทสวยงาม ขนาดยาวได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร. |
ไส้ตัน ๒ | น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กทุกชนิดโดยเฉพาะในสกุล Encrasicholinaรวมทั้งในสกุล Stolephorusวงศ์ Engraulidae หรือ Engraulididae รูปร่างกลมยาว แบนข้างเล็กน้อยหรือปานกลาง ปากกว้างมาก และอยู่ต่ำกว่าจะงอยปาก เกล็ดเป็นแบบเรียบและบาง ครีบอกอยู่ใกล้แนวสันท้อง ระหว่างครีบอก และครีบท้องมีหนามแหลมเล็กมาก ๒-๗ อัน มีสีเด่นเพียงแถบสีเงินพาดตลอดข้างลำตัว อยู่รวมกันเป็นฝูงใกล้ผิวน้ำเพื่อหากินแพลงก์ตอนบริเวณใกล้ฝั่ง ใช้ทำน้ำปลาที่มีคุณภาพดีหรือทำเป็นปลาตากแห้งทั้งตัว โดยเฉลี่ยยาว ๕-๑๐ เซนติเมตร บางชนิดยาวถึง ๑๕ เซนติเมตร มีชื่อเรียกที่รู้จักกันดีอีก คือ กะตัก ชื่ออื่น ๆ ที่แตกต่างกันตามขนาดหรือตามท้องถิ่นจากปลาขนาดเล็กถึงโตตามลำดับ คือ สายไหม เส้นขนมจีน ข้าวสาร หัวไม้ขีด หัวอ่อน และ ชินชัง นอกจากนี้ก็ยังมีชื่อ กล้วย มะลิ และ เก๋ย. |
หางนกยูง ๒ | น. ชื่อปลาน้ำจืดขนาดเล็กที่ออกลูกเป็นตัว ชนิด Poecilia reticulata Peters ในวงศ์ Poeciliidae มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ นำเข้ามาเลี้ยงและขยายพันธุ์เป็นปลาสวยงาม ลำตัวยาว แบนข้าง คอดหางใหญ่ ปากเล็กเชิดขึ้น ตาโต ตัวผู้มีขนาดโตได้ยาวเพียง ๓ เซนติเมตร ส่วนตัวเมียยาวได้ถึง ๖ เซนติเมตร, กินยุง ก็เรียก. |
หางเหลือง | น. ชื่อปลาทะเลบางชนิดในสกุล Caesio และ Pterocaesio วงศ์ Caesionidae ที่มีสีเหลืองไม่มากก็น้อยบนลำตัวหรือครีบโดยเฉพาะครีบหาง และมีจุดสีดำที่มุมบนของฐานครีบอก โดยเฉพาะชนิด C. cuning (Bloch) ขนาดยาวได้ถึง ๔๗ เซนติเมตร อีกชนิดหนึ่งคือ C. xanthosota Bleeker ที่มีความยาวถึง ๓๗ เซนติเมตร ทั้ง ๒ ชนิดนี้รูปร่างคล้ายปลากะพง คือ ลำตัวป้อม แบนข้าง ส่วนในสกุล Pterocaesio ลำตัวค่อนข้างกลมยาว ทั้งหมดมีแนวสันหลังโค้งพอ ๆ กับ แนวสันท้อง เป็นปลาฝูง มักพบอาศัยอยู่ตามแนวปะการัง, เหลืองปล้องหม้อ หรือ เหลือง ก็เรียก. |
ไหล ๑ | น. ชื่อปลารูปร่างกลมยาวและเคลื่อนที่คล้ายงู มีหลายวงศ์ในหลายอันดับ ส่วนใหญ่ไม่มีเกล็ด มีเมือกมาก เช่น ไหลนาหรือไหลบึง [ Monopterus albus (Zuiew) ] ในวงศ์ Monopteridae ส่วนชนิดที่มักพบในน้ำกร่อย ได้แก่ชนิด Ophisternon bengalensis (M’ clelland) ในวงศ์ Synbranchidae นอกจากนี้ก็เป็นปลาไหลทะเลทุกชนิดทุกสกุล ในวงศ์ Muraenidae, Muraenesocidae, Ophichthyidae, อีสานเรียก เอียน หรือ เอี่ยน สำหรับปลาไหลนา. |
อวตาร | (อะวะตาน) ก. แบ่งภาคมาเกิดในโลก (ใช้แก่พระนารายณ์) เช่น พระนารายณ์อวตารเป็นปลา. |